พระเจนดุริยางค์ (ปิติ วาทยะกร)

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
(เปลี่ยนทางจาก พระเจนดุริยางค์)
ศาสตราจารย์ เสวกโท

พระเจนดุริยางค์
(ปีติ วาทยะกร)

เกิดปิเตอร์ ไฟท์
13 กรกฎาคม พ.ศ. 2426
จังหวัดพระนคร ประเทศสยาม
เสียชีวิต25 ธันวาคม พ.ศ. 2511 (85 ปี)
จังหวัดพระนคร ประเทศไทย
อาชีพ
  • นักแต่งเพลง
  • ศาสตราจารย์
คู่สมรสเบอร์ธา, บัวคำ และลิ้ม
บุตร10 คน
บุพการี
  • จาคอบ ไฟท์ (บิดา)
  • ทองอยู่ (มารดา)
ลายมือชื่อ

ศาสตราจารย์ เสวกโท พระเจนดุริยางค์ (ปีติ วาทยะกร) ท.ช. ท.ม. ต.จ.ว. ว.ป.ร. ๔ ป.ป.ร. ๕ ภ.ป.ร. ๔ ชื่อเดิม ปิเตอร์ ไฟท์ (Peter Feit) หรือ ปิเตอร์ ไฟท์ วาทยะกร[1] (13 กรกฎาคม พ.ศ. 2426 – 25 ธันวาคม พ.ศ. 2511) เป็นขุนนางชาวไทย

พระเจนดุริยางค์เป็นบุคคลสำคัญในวงการดนตรีของประเทศไทย ผู้ริเริ่มการบันทึกเพลงไทยเดิมด้วยโน้ตสากลโดยเทียบเสียงให้ตรงกับเครื่องดนตรีไทยทุกชิ้น เรียกว่า เพลงไทยประสานเสียง (Thai Music Harmony) ของ กรมศิลปากร

เป็นอาจารย์วิชาดนตรีผู้ทุ่มเทสนับสนุนศิษย์เอก ครูเอื้อ สุนทรสนาน และครูชลหมู่ ชลานุเคราะห์ (นักเชลโล่ ,ผู้เรียบเรียงและอำนวยเพลงวงดุริยางค์สากลกรมศิลปากร) ครูประสาน สุทัศน์ ณ อยุธยา (นัก Cello, Double Bass และผู้เรียบเรียงเสียงประสานแห่งวงดุริยางค์สากลกรมศิลปากร) รวมทั้งเป็นผู้วางรากฐานวงดุริยางค์ทหารอากาศ และวงดุริยางค์ตำรวจ

ประวัติ[แก้]

วัยต้น[แก้]

เกิดที่ตำบลบ้านทะวาย อำเภอบ้านทะวาย จังหวัดพระนคร เป็นบุตรของนายจาคอบ ไฟท์ (Jacob Feit หรือ Veit) ชาวอเมริกันเชื้อสายเยอรมัน[2] กับนางทองอยู่ ชาวไทยเชื้อสายมอญ[3] มีภรรยาสามคนคือ นางเบอร์ธา, นางบัวคำ และนางลิ้ม มีบุตรธิดารวมทั้งสิ้น 10 คน

เริ่มเข้าเรียนหนังสือที่โรงเรียนอัสสัมชัญ บางรัก เมื่อ พ.ศ. 2433 จบการศึกษาหลักสูตรภาษาฝรั่งเศสและภาษาอังกฤษเมื่อ พ.ศ. 2433

เริ่มเรียนดนตรีกับบิดาเมื่ออายุ 10 ขวบ ต่อจากนั้นได้ศึกษาดนตรีด้วยตนเองมาโดยตลอดจนมีความรู้และความชำนาญอย่างแตกฉาน และได้เดินทางไปศึกษาต่อมหาวิทยาลัยดนตรีเฟรเดริก ชอแป็ง ที่กรุงวอร์ซอ ประเทศโปแลนด์

วัยหนุ่ม[แก้]

สมัครเข้าเป็นครูโรงเรียนอัสสัมชัญขณะอายุได้ 18 ปี เมื่อ พ.ศ. 2444 หลังจากนั้นอีกสองปีจึงเข้ารับราชการในกรมรถไฟหลวง กระทั่งได้รับพระราชทานบรรดาศักดิ์เป็น ขุนเจนรถรัฐ เมื่อวันที่ 30 มีนาคม พ.ศ. 2456

วันที่ 24 สิงหาคม พ.ศ. 2460 พระบาทสมเด็จพระมงกุฏเกล้าเจ้าอยู่หัว โปรดเกล้าฯ ให้โอนมาเป็นผู้ช่วยปลัดกรมเครื่องสายฝรั่ง กรมมหรสพพร้อมกับรับพระราชทานยศชั้นหุ้มแพรต่อมาได้รับพระราชทานบรรดาศักดิ์เป็น หลวงเจนดุริยางค์ เมื่อวันที่ 22 พฤศจิกายน พ.ศ. 2460 ในตำแหน่งครูวงเครื่องสายฝรั่งหลวง และทำหน้าที่ผู้สอนวิชาดนตรีสากลให้สามัคยาจารยสมาคมและผลักดันให้วิชาขับร้อง (ด้วยโน้ต) เป็นวิชาเลือกในการสอบเลื่อนวิทยฐานะทั้งชุดของครูประถมและครูมัธยม

ต่อมาได้รับพระราชทานบรรดาศักดิ์เป็น พระเจนดุริยางค์ ถือศักดินา 600 เมื่อวันที่ 30 ธันวาคม พ.ศ. 2465

พ.ศ. 2477 วงเครื่องสายฝรั่งหลวงที่กำกับดูแลอยู่ ได้โอนย้ายสังกัดไปยังกรมศิลปากร และส่งผลต่อหน้าที่การงานโดยตรง คือ การประพันธ์ทำนองเพลงชาติไทย ทำให้ต้องถูกออกจากราชการ โดยกล่าวหาว่า รับราชการมาเป็นระยะเวลา 30 ปี

วัยปลาย[แก้]

ปี พ.ศ. 2480 กรมศิลปากรได้ส่งท่านไปศึกษาดูงานเกี่ยวกับการดนตรีเป็นระยะเวลา 10 เดือน และได้ร่างโครงการการศึกษาวิชาดนตรีตามแบบอารยประเทศเสนอต่อกรมศิลปากร แต่ถูกปฏิเสธ

โอนสังกัดไปสอนในวงดุริยางค์ทหารอากาศและเข้ารับราชการเมื่อ พ.ศ. 2483 เมื่ออายุได้ 57 ปี จนเกษียณอายุราชการในปี พ.ศ. 2486 หลังเกษียณอายุราชการแล้ว ได้รับเชิญจากกรมศิลปากรอีกครั้ง เป็นอาจารย์ในมหาวิทยาลัยศิลปากร โดยดำรงตำแหน่ง ศาสตราจารย์การดนตรี เพื่อปรับปรุงวงดุริยางค์สากลของกรมศิลปากร

ต่อมาวันที่ 9 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2488 ได้รับพระบรมราชานุญาตให้กลับคืนมีบรรดาศักดิ์ดังเดิม[4]

ปี พ.ศ. 2497 ได้ลาออกจากกรมศิลปากร และกรมตำรวจได้ขอยืมตัวให้ไปช่วยก่อตั้งวงดุริยางค์สากลกรมตำรวจและทำงานด้านดนตรี จนถึงแก่อนิจกรรมเมื่อวันที่ 25 ธันวาคม พ.ศ. 2511 สิริ อายุได้ 85 ปี 5 เดือน

ผลงาน[แก้]

บรรดาศักดิ์[แก้]

  • 30 มีนาคม พ.ศ. 2456 ขุนเจนรถรัฐ ถือศักดินา 400[6]
  • 22 พฤศจิกายน พ.ศ. 2460 หลวงเจนดุริยางค์[7]
  • 30 ธันวาคม พ.ศ. 2465 พระเจนดุริยางค์ ถือศักดินา 600[8]

ยศและตำแหน่ง[แก้]

  • นายเวรกองเดินรถ
  • 29 สิงหาคม 2458 – รองอำมาตย์โท[9]
  • 31 กรกฎาคม 2459 – รองอำมาตย์เอก[10]
  • 24 สิงหาคม พ.ศ. 2460 - ผู้ช่วยปลัดกรมเครื่องสายฝรั่ง กรมมหรสพ[11]
  • 24 สิงหาคม พ.ศ. 2460 - หุ้มแพร
  • 8 ธันวาคม พ.ศ. 2460 - นายหมู่ใหญ่ ครูแตรวง[12]
  • 4 มกราคม พ.ศ. 2462 - จ่า[13]
  • 20 กุมภาพันธ์ 2462 – นายหมวดตรี[14]
  • 9 เมษายน พ.ศ. 2463 - ปลัดกรมดนตรีฝรั่งหลวง[15]
  • 21 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2463 - นายหมวดโท[16]
  • นายหมวดเอก
  • รองหัวหมื่น

เครื่องราชอิสริยาภรณ์[แก้]

พระเจนดุริยางค์ (ปิติ วาทยะกร) ได้รับพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ทั้งไทยและต่างประเทศ ดังนี้

เครื่องราชอิสริยาภรณ์ไทย[แก้]

เครื่องราชอิสริยาภรณ์ต่างประเทศ[แก้]

  •  ฝรั่งเศส :
    • พ.ศ. 2468 – เครื่องอิสริยาภรณ์วิชาการการศึกษา ชั้นที่ 2[26]

อ้างอิง[แก้]

  1. "ส่งเครื่องราชอิศริยาภรณ์ไปพระราชทาน" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 43 (0 ง): 454. 2 พฤษภาคม 2469.
  2. Mandy Radics (18 July 2009). "Der Auswanderer-Sohn und die Hymne". Trierischer Volksfreund (ภาษาเยอรมัน).
  3. Gustaf Dietrich. "Die thailändische Nationalhymne – ihre Wurzeln reichen nach Trier" (ภาษาเยอรมัน). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 12 October 2014. สืบค้นเมื่อ 12 December 2016.
  4. "ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานพระบรมราชานุญาตให้ข้าราชการกลับคืนมีบรรดาศักดิ์" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 62 (11 ง): 127. 13 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2488. สืบค้นเมื่อ 10 ธันวาคม 2561. {{cite journal}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= และ |date= (help)
  5. เพลงชาติไทย เนื้อร้อง ประวัติที่มาจากอดีตสู่ปัจจุบัน
  6. ตั้งและเลื่อนบรรดาศักดิ์ (หน้า 57)
  7. พระราชทานบรรดาศักดิ์
  8. พระราชทานบรรดาศักดิ์ (หน้า 2889)
  9. พระราชทานยศพลเรือน (หน้า 1154)
  10. พระราชทานยศ (หน้า 1100)
  11. แจ้งความกรมมหาดเล็ก
  12. พระราชทานยศเสือป่า (หน้า 2685)
  13. ประกาศกรมบัญชาการกลางมหาดเล็ก
  14. พระราชทานยศเสือป่า
  15. ประกาศกรมบัญชาการกลางมหาดเล็ก
  16. พระราชทานยศนายเสือป่า (หน้า 4149)
  17. ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักคณะรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์, เล่ม ๗๔ ตอนที่ ๙ ง ฉบับพิเศษ หน้า ๔๕๙, ๒๓ มกราคม ๒๕๐๐
  18. ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์, เล่ม ๖๙ ตอนที่ ๗๒ ง หน้า ๔๖๕๓, ๙ ธันวาคม ๒๔๙๕
  19. ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์, เล่ม ๗๐ ตอนที่ ๒๙ ง หน้า ๒๐๕๓, ๑๒ พฤษภาคม ๒๔๙๖
  20. ราชกิจจานุเบกษา, พระราชทานเหรียญดุษฎีมาลา, เล่ม ๔๓ ตอนที่ ๐ ง หน้า ๔๓๐๒, ๖ มีนาคม ๒๔๖๙
  21. ราชกิจจานุเบกษา, พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์และเหรียญ, เล่ม ๔๖ ตอนที่ ๐ ง หน้า ๒๙๒๗, ๑ ธันวาคม ๒๔๗๒
  22. ราชกิจจานุเบกษา. ส่งเครื่องราชอิสริยาภรณ์ไปพระราชทาน, เล่ม ๔๓ ตอนที่ ๐ ง หน้า ๔๕๔, ๒ พฤษภาคม ๒๔๖๙
  23. ราชกิจจานุเบกษา, พระราชทานเหรียญรัตนาภรณ์, เล่ม ๓๖ ตอนที่ ๐ ง หน้า ๓๓๒๑, ๒๕ มกราคม ๒๔๖๒
  24. ราชกิจจานุเบกษา, พระราชทานเหรียญรัตนาภรณ์, เล่ม ๔๓ ตอนที่ ๐ ง หน้า ๓๓๐๐, ๑๒ ธันวาคม ๒๔๖๙
  25. ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเหรียญรัตนาภรณ์, เล่ม ๗๐ ตอนที่ ๗๑ ง หน้า ๔๗๒๔, ๑๐ พฤศจิกายน ๒๔๙๖
  26. ราชกิจจานุเบกษา, พระราชทานพระบรมราชานุญาตประดับตราต่างประเทศ, เล่ม ๔๒ ตอนที่ ๐ ง หน้า ๒๓๑๘, ๒๕ ตุลาคม ๒๔๖๘

แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]