ข้ามไปเนื้อหา

ฉบับร่าง:คณะอุตสาหกรรมเกษตร มหาวิทยาลัยเชียงใหม่

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
  • ความคิดเห็น: ยังคงมีปัญหาเดิมกับการตรวจรอบก่อนหน้า (มีแต่การลบเนื้อหาบางส่วนออก ไม่ได้มีการปรับเนื้อหาที่มีอยู่เดิม)
    ขอบคุณครับ -- Chainwit. พูดคุย 〉 03:00, 6 ธันวาคม 2567 (+07)
  • ความคิดเห็น: 1. เนื้อหาหลายส่วนเหมือนเป็นการประชาสัมพันธ์ภาควิชาในคณะ
    2. ไม่มีแหล่งอ้างอิงทุติยภูมิอื่นใด นอกจากแหล่งของมหาวิทยาลัยเอง ซึ่งแสดงให้เห็นถึงความไม่โดดเด่นขององค์กรตามมาตรฐานวิกิพีเดียครับ Timekeepertmk (คุย) 08:56, 9 กันยายน 2567 (+07)

คณะอุตสาหกรรมเกษตร
มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
Faculty of Agro-Industry, Chiang Mai University
ชื่อย่อAGRO CMU
สถาปนา19 ธันวาคม พ.ศ. 2535 (32 ปี)
คณบดีรองศาสตราจารย์ ดร.ยุทธนา พิมลศิริผล
ที่อยู่
155 ม.2 ต.แม่เหียะ อ.เมือง จ.เชียงใหม่ 50100
สีทอง
เว็บไซต์https://www.agro.cmu.ac.th/

คณะอุตสาหกรรมเกษตร มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ (อังกฤษ: Faculty of Agro-Industry, Chiang Mai University) เป็นคณะสังกัดมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ จัดตั้งเมื่อวันที่ 19 ธันวาคม 2535 เป็นคณะที่ 13 ของมหาวิทยาลัยเชียงใหม่

ประวัติ [1]

[แก้]

คณะอุตสาหกรรมเกษตร มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ จัดตั้งขึ้นเมื่อวันที่ 18 ธันวาคม พ.ศ. 2535 ตามมาตรา 13 ทวิ แห่ง พระราชกฤษฎีกาจัดตั้งส่วนราชการในมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ (ฉบับที่ 3) พ.ศ. 2535 ซึ่งประกาศลงในราชกิจจานุเบกษา เมื่อวันที่ 18 ธันวาคม พ.ศ. 2535 โดยให้มีผลในวันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาคือในวันที่ 19 ธันวาคม พ.ศ. 2535 นับเป็นคณะที่ 13 ของมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ และต่อมาในปี พ.ศ. 2542 ได้ย้ายที่ทำการคณะฯมาที่สถานีวิจัยและฝึกอบรมการเกษตรแม่เหียะ ต.แม่เหียะ อ.เมือง จ.เชียงใหม่ ในปี พ.ศ.2536 คณะรัฐมนตรีมีมติกำหนดให้สาขาอุตสาหกรรมเกษตร เป็นสาขาขาดแคลน เนื่องจากรัฐบาลได้เห็นว่าอุตสาหกรรมเกษตรเป็นแนวทางที่สำคัญแนวทางหนึ่งที่จะช่วยพัฒนาคุณภาพชีวิตของเกษตรกร

คณะอุตสาหกรรมเกษตร มีปณิธานในการดำเนินงาน คือ มุ่งเน้นการผลิตบัณฑิตให้มีคุณภาพ และมีจิตสำนึกที่ดีต่อสังคม เป็นสถาบันการศึกษาที่เน้นการวิจัยในเชิงเอกลักษณ์ของภาคเหนือ

นอกจากนี้ยังมุ่งเน้นการเป็นสถาบันวิชาการทางอุตสาหกรรมเกษตรที่มีความเป็นสากล สร้างความร่วมมือทางวิชาการระหว่างองค์กรภาครัฐและภาคเอกชน ทั้งในระดับประเทศและระดับนานาชาติ โดยมี รองศาสตราจารย์ ดร.ยุทธนา พิมลศิริผล ดำรงตำแหน่งคณบดี ในปัจจุบัน

ทำเนียบคณบดี [2]

[แก้]

คณะอุตสาหกรรมเกษตร มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ มีรายนามคณบดีตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน ดังต่อไปนี้

ทำเนียบคณบดีคณะอุตสาหกรรมเกษตร มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
รายนามคณบดี วาระการดำรงตำแหน่ง
1. รองศาสตราจารย์ ดร. นรินทร์ ทองศิริ พ.ศ. 2536 - 2539
2. รองศาสตราจารย์ ดร. นัยทัศน์ ภู่ศรันย์ พ.ศ. 2540 - 2543
3. ศาสตราจารย์ ดร.ไพโรจน์ วิริยจารี พ.ศ. 2544 - 2547
4. ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.เมธินี เห่วซึ่งเจริญ พ.ศ. 2548 - 2551
5. ศาสตราจารย์ปฏิบัติ ดร.ชรินทร์ เตชะพันธุ์ พ.ศ. 2552 - 2559
6. รองศาสตราจารย์ ดร. สุจินดา ศรีวัฒนะ พ.ศ. 2559 - 2567
7. รองศาสตราจารย์ ดร.ยุทธนา พิมลศิริผล มิถุนายน พ.ศ. 2567 - ปัจจุบัน

หน่วยงาน [3]

[แก้]
Faculty of Agro-Industry

มีการปรับโครงสร้างองค์กรใหม่ ตามประกาศมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ เรื่อง การแบ่งหน่วยงานในส่วนวิชาการและส่วนงานอื่น (ฉบับที่ 16) พ.ศ. 2567 เมื่อวันที่ 24 พฤษภาคม 2567 ทั้งนี้ ตั้งแต่วันที่ 9 มิถุนายน 2567 เป็นต้นไป โดยควบรวมศูนย์นวัตกรรมอาหารและบรรจุภัณฑ์ และวิทยาลัยการศึกษาและการจัดการทางทะเล ให้เป็นส่วนหนึ่งของคณะอุตสาหกรรมเกษตร โดยคณะอุตสาหกรรมเกษตร แบ่งหน่วยงานดังนี้

1. สำนักงานคณะ

2. สำนักวิชาอุตสาหกรรมเกษตร

3. ศูนย์นวัตกรรมอาหารและบรรจุภัณฑ์

หลักสูตร [4]

[แก้]

หลักสูตรที่เปิดสอนในคณะอุตสาหกรรมเกษตร มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ได้แก่

หลักสูตรปริญญาตรี หลักสูตรปริญญาโท หลักสูตรปริญญาเอก
สาขาวิชาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีการอาหาร สาขาวิชาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีการอาหาร สาขาวิชาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีการอาหาร
สาขาวิชาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีการอาหาร (หลักสูตรนานาชาติ) สาขาวิชาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีการอาหาร (หลักสูตรนานาชาติ) สาขาวิชาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีการอาหาร (หลักสูตรนานาชาติ)
สาขาวิชาเทคโนโลยีการพัฒนาผลิตภัณฑ์ สาขาวิชาการพัฒนาผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมเกษตร สาขาวิชาการพัฒนาผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมเกษตร
สาขาวิชาเทคโนโลยีผลิตภัณฑ์ทางทะเล
สาขาวิชาเทคโนโลยีการบรรจุ สาขาวิชาเทคโนโลยีการบรรจุ
สาขาวิชาเทคโนโลยีชีวภาพทางอุตสาหกรรมเกษตร
สาขาวิชาวิศวกรรมกระบวนการอาหาร

ศิษย์เก่าดีเด่น[5]

[แก้]

2208139 วท.บ. (วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีการอาหาร) ศิษย์เก่าดีเด่น ประจำปี 2543

2208701 วท.บ. (วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีการอาหาร) ศิษย์เก่าดีเด่น ประจำปี พ.ศ. 2545

  • อาจารย์ พวงเพชร นิธยานนท์

ศิษย์เก่าดีเด่น ประจำปี พ.ศ. 2560 สาขาวิชาการ

  • ดร. ทิพย์วรรณ ปริญญาศิริ

ศิษย์เก่าดีเด่น ประจำปี พ.ศ. 2561 สาขาบริหารราชการ

  • มัทนา เมฆาอภิรักษ์

198065 ศิษย์เก่าดีเด่น ประจำปี พ.ศ. 2562 สาขาบริหารธุรกิจ

  • ศาสตราจารย์ ดร. ไพโรจน์ วิริยจารี

2008068 ศิษย์เก่าดีเด่น ประจำปี พ.ศ. 2563 สาขาวิชาการ

  • ติณณ์สัณห์ เทพเกษตรกุล

2008085 ศิษย์เก่าดีเด่น ประจำปี พ.ศ. 2565 สาขาบริหารธุรกิจ

อ้างอิง

[แก้]

แหล่งข้อมูลอื่น

[แก้]