กองการบินทหารเรือ
กองการบินทหารเรือ | |
---|---|
เครื่องหมายอากาศยานกองทัพเรือไทย | |
ประจำการ | 7 ธันวาคม พ.ศ. 2464[1] |
ประเทศ | ไทย |
เหล่า | กองทัพเรือไทย |
รูปแบบ | การบินนาวี |
กำลังรบ | กำลังพล 1,200 นาย [2] อากาศยานมากกว่า 49 ลำ[3] |
วันสถาปนา | 7 ธันวาคม[1] |
เครื่องหมายสังกัด | |
เครื่องหมายอากาศยาน |
กองการบินทหารเรือ (อังกฤษ: Royal Thai Naval Air Division หรือ RTNAD[4]) เป็นการบินนาวีของกองทัพเรือไทย สังกัดกองเรือยุทธการ ก่อตั้งขึ้นเมื่อวันที่ 7 ธันวาคม พ.ศ. 2464[5] กองการบินทหารเรือประกอบไปด้วยกองบิน 2 กองบิน และหน่วยบิน 1 หน่วยของเรือหลวงจักรีนฤเบศร ปฏิบัติการด้วยอากาศยานปีกตรึง 23 ลำ และเฮลิคอปเตอร์ 26 ลำ[3]จากอู่ตะเภา สงขลา และภูเก็ต กองบิน 1 มี 3 ฝูงบิน; กองบิน 2 มี 3 ฝูงบิน และอีก 1 กองบินสำหรับหน่วยบินเรือหลวงจักรีนฤเบศร
ประวัติ
[แก้]การก่อตั้งกองการบินทหารเรือเริ่มต้นขึ้นเมื่อ พ.ศ. 2464 เมื่อพลเรือเอก พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหลวงชุมพรเขตอุดมศักดิ์ พระราชทานความเห็นต่อสภาบัญชาการ กระทรวงทหารเรือ ครั้งที่ 3 เมื่อวันที่ 23 พฤศจิกายน พ.ศ. 2464[1] ให้ก่อตั้งกองบินทะเลขึ้นโดยใช้สัตหีบเป็นฐาน และเริ่มต้นจากเครื่องบินทะเล 2 ลำ และเสนอให้ นายนาวาเอก พระประติยัตินาวายุทธ (พลเรือโท พระยาราชวังสัน) ซึ่งกำลังไปศึกษาดูงานที่ยุโรปศึกษาระเบียบเกี่ยวกับการจัดหาเครื่องบินทะเล และเลือกนายทหารที่มีคุณสมบัติเหมาะสมไปฝึกหัดการบินกับกรมการบินทหารบก[5] ซึ่งต่อมาสภาบัญชาการอนุมัติข้อเสนอนี้เมื่อวันที่ 7 ธันวาคม พ.ศ. 2469[1] และมอบหมายให้กรมหลวงชุมพรเขตอุดมศักดิ์ดำเนินโครงการต่อ[5]
จากนั้นในยุคของสมเด็จเจ้าฟ้าอัษฏางค์ภานุพันธ์ทรงมีดำริที่จะจัดตั้งแผนกการบินทหารเรือขึ้นตามแบบของประเทศตะวันตก เนื่องจากในสงครามโลกครั้งที่หนึ่งเป็นเครื่องพิสูจน์แล้วว่าอากาศยานมีบทบาทสำคัญในการป้องกันประเทศ ซึ่งการปฏิบัติการทางทะเลก็มีความสำคัญเช่นกันในการรักษาทะเลและชายฝั่ง รวมไปถึงการลาดตระเวน โจมตี คุ้มกัน หรือการช่วยเหลือผู้ประสบภัยซึ่งอากาศยานทางบกอาจจะไม่สามารถปฏิบัติการห่างจากฝั่งมากได้ และการปฏิบัติการร่วมกับเรือรบจะต้องมีความเข้าใจในการรบทางเรือ มีความสามารถในการขึ้นลงในทะเลสำหรับการส่งกำลังบำรุงจากเรือในทะเลได้ สามารถปฏิบัติการได้จากทุกพื้นที่ กระทรวงทหารเรือจึงจัดตั้งหน่วยบินนาวีขึ้น และได้รับการสนับสนุนจากกระทรวงกลาโหม กองทัพเรือจึงส่งนายทหารเรือ 2 นาย คือ เรือเอก หลวงพลสินธวาณัติก์ และเรือเอก เจริญ ทุมมานนท์ ไปศึกษาต่อวิชาการบินและตรวจการณ์จากกรมอากาศยานทหารบก แต่ในช่วงหลังสงครามโลกครั้งที่หนึ่งได้เกิดสภาวะเศรษฐกิจตกต่ำทั่วโลกรวมไปถึงประเทศไทย ทำให้ต้องลดค่าใช้จ่ายของรัฐบาลในพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทำให้การบินทหาเรือไม่ได้รับการสานต่อในยุคดังกล่าวซึ่งยังอยู่ในระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์[5]
ภายหลังการเปลี่ยนแปลงการปกครอง พ.ศ. 2475 เมื่อวันที่ 24 พฤศจิกายน พ.ศ. 2476 พลเรือตรี พระยาราชวังสัน เสนาธิการทหารเรือ และ พลตรี พระเฉลิมอากาศ เจ้ากรมอากาศยานทหารบก ได้ร่วมกันสำรวจชายฝั่งทะเลในอ่าวไทยเพื่อหาข้อมูลเกี่ยวกับการบินและการสร้างฐานบิน โดยได้ข้อสรุปว่าบริเวณอ่าวสัตหีบ (จุกเสม็ด) อำเภอสัตหีบ จังหวัดชลบุรี มีความเหมาะสมในการสร้างสนามบินและที่ทำการของหน่วยบินนาวี และพิจารณาพื้นที่อีกแห่งในจังหวัดจันทบุรีสำหรับการสร้างสนามบินอีกแห่งหนึ่ง รวมถึงได้ส่งนายทหารเรือไปศึกษาวิชาการบินจากทหารบกในกรมอากาศยานทหารบกเพิ่มขึ้นจนมีนักบินที่มีความพร้อมมากขึ้น แต่ก็ยังไม่สามารถก่อตั้งหน่วยบินขึ้นมาได้ ทำได้เพียงเตรียมความพร้อมรอวันและเวลาที่จะได้ก่อตั้งหน่วยบินนาวี[5]
กระทั่งในปี พ.ศ. 2481 กองทัพเรือได้ก่อตั้งหมวดบินทะเลขึ้น สังกัดกองเรือรบ ประกอบด้วยเครื่องบินแบบวาตานาเบ จำนวน 6 ลำ ฝูงบินตั้งอยู่ที่ ตำบลจุกเสม็ด บริเวณอ่าวสัตหีบ และกระทรวงกลาโหมได้แต่งตั้งหม่อมเจ้ารังสิยากร อาภากร เป็นผู้ดำรงตำแหน่งผู้บังคับหมวดบินทะเล ต่อมาในปี พ.ศ. 2485 กระทรวงกลาโหมได้ยกฐานะหมวดบินทะเลขึ้นมาเป็นกองบินทหารเรือ สังกัดกองเรือรบ กระทั่งเกิดสงครามมหาเอเชียบูรพา กองทัพเรือจึงได้สั่งซื้อเครื่องบินแบบ นากาซิมา มาประจำการเพิ่มอีก 27 ลำ รวมถึงสั่งซื้อเครื่องบินแบบซีโร่จำนวน 3 ลำ เพื่อเข้าร่วมกันกับฝ่ายสัมพันธมิตรในการตรวจการณ์และปฏิบัติการรวมถึงการช่วยเหลือกู้ภัยในตลอดช่วงสงครามมหาเอเชียบูรพา[5]
หลังสงครามสิ้นสุดลงในปี พ.ศ. 2488 กองทัพเรือได้ดำเนินการปรับปรุงสนามบินและซื้อเครื่องบินสื่อสารขนาดเล็กแบบแอล-4 มาจำนวนหนึ่ง เครื่องบินฝึกแบบที่ 6 จำนวน 12 ลำ เครื่องบินฝึกแบบไทเกอร์มอธ สั่งซื้อจากอังกฤษจำนวน 30 ลำ เครื่องบินโจมตีแบบไฟร์ฟลายจำนวนหนึ่ง เครื่องบินสะเทินน้ำสะเทินบก แบบกรัมมันวิตเยียนจำนวน 6 ลำ เครื่องบินสื่อสารแบบโบนันซ่ากับแบบไปเปอร์คับสเปเชียลอีกส่วนหนึ่ง จนกระทั่งมีความพร้อม จึงได้แยกตัวออกมาจากกองเรือรบมาเป็นหน่วยขึ้นตรงของกองทัพเรือเมื่อวันที่ 17 กันยายน พ.ศ. 2491[5]
ในปี พ.ศ. 2498 กองบินทหารเรือมีขนาดโครงสร้างที่ใหญ่ขึ้น มีนักบินประมาณ 30 นาย เครื่องบิน 74 ลำ 11 แบบ มีโรงเรียนการบินทหารเรือ โรงเรีนยช่างเครื่องบินซึ่งมีศักยภาพในการผลิตบุคลากรดูแลกองบินของตนเอง ซึ่งในปีนั้นเองก็เกิดเหตุการณ์กบฏแมนฮัตตันเมื่อวันที่ 29 มิถุนายน พ.ศ. 2494 จึงทำให้รัฐบาลได้เข้าควบคุมกองบินทหารเรือซึ่งมีแสงยานุภาพที่เป็นที่น่ากังวลต่อรัฐบาลขณะนั้น และให้กองทัพอากาศเป็นผู้ดูแลและโอนหน่วยงานภายในทั้งหมดไปขึ้นเป็นกองบินน้อยที่ 7 ทำให้บุคลากรทั้งหมดที่เคยสังกัดในกองทัพเรือได้ย้ายไปสังกัดในเหล่าทัพอากาศ มีนาวาโท บุญชู จันทรุเบกษา เป็นผู้บังคับการกองบินคนแรกของกองบินน้อยที่ 7[5]
จากความจำเป็นในการใช้กำลังทางอากาศของกองทัพเรือ ทำให้ 9 ปีต่อมา กองทัพเรือได้รับอนุญาตให้ก่อตั้งหน่วยบินขึ้นอีกครั้ง ชื่อว่าหมวดบินทหารเรือ ตั้งอยู่ในพื้นที่ของกองทัพอากาศ ประกอบไปด้วยเครื่องบินสะเทินน้ำสะเทินบกแบบ เอชยู 16 ดี ซึ่งได้จากสหรัฐตามความช่วยเหลือทางทหาร[5]
ต่อมา กองบินทหารเรือมีเครื่องบินประจำการอยู่กับฐานทัพอากาศมากขึ้น จึงเกิดความไม่สะดวกในการปฏิบัติการ ดังนั้นในปี พ.ศ. 2507 กองทัพเรือจึงได้สร้างสนามบินขึ้นมาที่บ้านอู่ตะเภา จังหวัดระยอง โดยใช้งบประมาณของกองทัพเรือในการก่อสร้าง โดยประเทศสหรัฐได้ช่วยเหลือในการก่อสร้างและขอใช้สนามบินทหารเรืออู่ตะเภาบางส่วนเป็นการตอบแทน ซึ่งหลังจากนั้นกิจการการบินของกองทัพเรือจึงได้รับการขยายอัตราขึ้นเป็นกองบินทหารเรือในวันที่ 28 กรกฎาคม พ.ศ. 2514 และจากภารกิจที่สูงขึ้นและมากขึ้น จึงได้รับการขยายอัตราอีกครั้งขึ้นเป็น กองการบินทหารเรือ เมื่อวันที่ 14 พฤษภาคม พ.ศ. 2533 โดยถือเอาวันที่สภาบัญชาการ กระทรวงทหารเรืออนุมัติให้จัดตั้งกองการบินเป็นวันสถาปนากองการบินทหารเรือ[5]
โครงสร้าง
[แก้]กองการบินทหารเรือ เป็นหน่วยรบในสังกัดกองเรือยุทธการ มีหน่วยงานภายใน[4] ดังนี้
- กองบัญชาการ
- แผนกธุรการ
- แผนกการเงิน
- กองกำลังพล
- กองข่าว
- กองยุทธการ
- กองส่งกำลังบำรุง
- กองสื่อสาร
- กองงบประมาณ
- กองวิทยาการและนิรภัยการบิน
- กองแผนการช่าง
กองการบินทหารเรือแบ่งออกเป็น 6 กรม สอดคล้องกับหน่วยบังคับบัญชาเพิ่มเติมอีก 1 หน่วย ประกอบไปด้วย[6]
- กองบิน 1
- กองบิน 2
- สถานีการบิน
- ศูนย์ซ่อม
- กองควบคุมปฏิบัติการทางอากาศ
- กองรักษาความปลอดภัย และ
- หน่วยบินเรือหลวงจักรีนฤเบศร
สนามบินกองทัพเรือ
[แก้]กองทัพเรือประกอบด้วยสนามบินในสังกัด ดังนี้
- สนามบินทหารเรืออู่ตะเภา[7] รับผิดชอบพื้นที่ตอนเหนือของอ่าวไทย
- สนามบินทหารเรือสงขลา รับผิดชอบเพื้นที่ตอนใต้ของอ่าวไทย
- สนามบินทหารเรือภูเก็ต รับผิดชอบพื้นที่ทะเลอันดามัน
- สนามบินทหารเรือจันทบุรี ใช้เป็นสนามบินปฏิบัติการส่วนหน้าของนาวิกโยธิน
- สนามบินทหารเรือนราธิวาส ใช้เป็นสนามบินปฏิบัติการส่วนหน้าของนาวิกโยธิน
ฝูงบิน | สถานะ | บทบาท | ประเภท | ||
---|---|---|---|---|---|
กองบิน 1 | |||||
101 | พร้อม | ค้นหาและกู้ภัย | อากาศยานตรวจการณ์ทางทะเล | ||
102 | พร้อม | การสงครามผิวน้ำ และ การสงครามปราบเรือดำน้ำ | อากาศยานตรวจการณ์ทางทะเล | ||
103 | พร้อม | ควบคุมอากาศยานหน้า | อากาศยานตรวจการณ์ทางทะเล | ||
104 | พร้อม | การเฝ้าตรวจทางทะเล | อากาศยานไร้คนขับ | ||
กองบิน 2 | |||||
201 | พร้อม | ขนส่งทางทหาร | อากาศยานตรวจการณ์ทางทะเล | ||
202 | พร้อม | ขนส่งทางทหาร | เฮลิคอปเตอร์ | ||
203 | พร้อม | การสงครามผิวน้ำ และ ขนส่งทางทหาร | เฮลิคอปเตอร์ | ||
หน่วยบินเรือหลวงจักรีนฤเบศร | |||||
1 | ไม่พร้อม | ||||
2 | พร้อม | การสงครามปราบเรือดำน้ำ และ ขนส่งทางทหาร | เฮลิคอปเตอร์ |
ฝูงบิน
[แก้]ฝูงบินในประจำการกองการบินทหารเรือ ประกอบไปด้วย[8]
ฝูงบิน | ยุทโธปกรณ์ | กองบิน | ฐานบิน | หมายเหตุ |
---|---|---|---|---|
ฝูงบิน 101 | ดอร์เนียร์ 228 | กองบิน 1 | อู่ตะเภา | |
ฝูงบิน 102 | ฟอกเกอร์ เอฟ-27 | กองบิน 1 | อู่ตะเภา | |
ฝูงบิน 103 | เซสนา 337 ซูเปอร์สกายมาสเตอร์ | กองบิน 1 | อู่ตะเภา | |
ฝูงบิน 104 | ชีเบล คัมค็อพแทร์ เอส-100, Aeronautics Defense Orbiter | กองบิน 1 | อู่ตะเภา | |
ฝูงบิน 201 | ฟอกเกอร์ เอฟ-27, Embraer ERJ-135LR | กองบิน 2 | อู่ตะเภา | |
ฝูงบิน 202 | เบลล์ 212, ยูโรคอปเตอร์ อีซี145 | กองบิน 2 | อู่ตะเภา | |
ฝูงบิน 203 | ซิคอร์สกี้ เอส-76, ซูเปอร์ลิงซ์ 300 | กองบิน 2 | อู่ตะเภา | |
ฝูงบิน 1 | - | หน่วยบินเรือหลวงจักรีนฤเบศร | อู่ตะเภา | |
ฝูงบิน 2 | เอส-70บี ซีฮอว์ก, เอ็มเอช-60เอส ไนท์ฮอว์ก | หน่วยบินเรือหลวงจักรีนฤเบศร | อู่ตะเภา |
อากาศยาน
[แก้]อากาศยานประจำการ
[แก้]อากาศยาน | แหล่งกำเนิด | แบบ | จำนวน | หมายเหตุ | |
---|---|---|---|---|---|
อากาศยานปีกตรึง | |||||
ฟอกเกอร์ เอฟ-27 | เนเธอร์แลนด์ | การสงครามปราบเรือดำน้ำ, ขนส่งทางทหาร |
2 MK400 3 MK200 |
[3] | |
ดอร์เนียร์ 228 | เยอรมนี | ค้นหาและกู้ภัย | 7 | ใช้ในโครงการฝนหลวงด้วย[3] | |
NAX seaplane | ไทย | ค้นหาและกู้ภัย | 4 | หมายเลขลำดับ NAX-01 ถึง NAX-04 สร้างขึ้นในท้องถิ่นโดย โครงการวิจัยเครื่องบินทางทะเล กองทัพเรือ[9] | |
CASA/IPTN CN-235 | สเปน | อากาศยานตรวจการณ์ทางทะเล | (+3) | อยู่ระหว่างสั่งซื้อ 3 ลำ[3] | |
Embraer ERJ-135LR | บราซิล | อากาศยานขนส่งบุคคลสำคัญ | 2 | [3] | |
เซสนา 337 ซูเปอร์สกายมาสเตอร์ | สหรัฐ | อากาศยานควบคุมอากาศยานหน้า | 4 H-SP 3 SP 2 G |
[3] | |
เฮลิคอปเตอร์ | |||||
ซิคอร์สกี้ เอส-76บี | สหรัฐ | ค้นหาและกู้ภัย, ขนส่งทางทหาร |
5 | [3] | |
เวสต์แลนด์ซูเปอร์ลิงซ์ 300 | สหราชอาณาจักร | การสงครามผิวน้ำ | 2 | [3] | |
เอส-70บี ซีฮอว์ก | สหรัฐ | การสงครามปราบเรือดำน้ำ | 6 | หน่วยบินเรือหลวงจักรีนฤเบศร[3] | |
เอ็มเอช-60เอส ไนท์ฮอว์ก | สหรัฐ | ขนส่งทางทหาร | 2 | หน่วยบินเรือหลวงจักรีนฤเบศร[3] | |
ยูโรคอปเตอร์ อีซี145 | เยอรมนี | ขนส่งทางทหาร | 5 | [3] | |
Bell UH-1N Twin Huey | สหรัฐ | ขนส่งทางทหาร | 7 | [3] | |
อากาศยานเฝ้าตรวจไร้คนขับ | |||||
Aeronautics Orbiter 3B | อิสราเอล | อากาศยานเฝ้าตรวจไร้คนขับ | ไม่ทราบ | ใช้งานมาตั้งแต่ปี 2563[10] | |
Elbit Hermes 900 | อิสราเอล | อากาศยานเฝ้าตรวจไร้คนขับ | ไม่ทราบ | สั่งซื้อในปี 2565[10] | |
Aeronautics Defense Dominator | อิสราเอล | อากาศยานเฝ้าตรวจไร้คนขับ | ไม่ทราบ | [จัดทำโดยแหล่งข้อมูลบางส่วน แต่ยังไม่เห็นภาพเผยแพร่][10] | |
Boeing Insitu RQ-21 Blackjack | สหรัฐ | อากาศยานเฝ้าตรวจไร้คนขับ | ไม่ทราบ | [จัดทำโดยแหล่งข้อมูลบางส่วน แต่ยังไม่เห็นภาพเผยแพร่][10] | |
DTI U-1 'Sky Scout' | ไทย | อากาศยานเฝ้าตรวจไร้คนขับ | ไม่ทราบ | ไม่ทราบว่ามีเพียงการประจำการในกองทัพบกหรือไม่ (ใช้งานมาตั้งแต่ปี 2560)[10] | |
DTI D-Eyes 02 | ไทย | อากาศยานเฝ้าตรวจไร้คนขับ | ไม่ทราบ | ไม่ทราบว่ามีเพียงการประจำการในกองทัพบกหรือไม่ (ใช้งานมาตั้งแต่ปี 2560)[10] | |
อากาศยานเฝ้าตรวจไร้คนขับขึ้นลงทางดิ่ง | |||||
TOP Falcon-V | จีน ไทย |
อากาศยานเฝ้าตรวจไร้คนขับขึ้นลงทางดิ่ง | ไม่ทราบ | ใช้งานมาตั้งแต่ปี 2560[10] | |
นารายณ์ 3.0 | ไทย | อากาศยานเฝ้าตรวจไร้คนขับขึ้นลงทางดิ่ง | ไม่ทราบ | ใช้งานมาตั้งแต่ปี 2560[10] (ใช้ในกองทัพเรือและกองบัญชาการกองทัพไทย) | |
ชีเบล คัมค็อพแทร์ เอส-100 | ออสเตรีย | อากาศยานเฝ้าตรวจไร้คนขับขึ้นลงทางดิ่ง | ไม่ทราบ | ใช้งานมาตั้งแต่ 2563[10] | |
NRDO MARCUS-B | ไทย | อากาศยานเฝ้าตรวจไร้คนขับขึ้นลงทางดิ่ง | ไม่ทราบ | ใช้งานมาตั้งแต่ 2563[10] (สำหรับใช้งานบนเรือหลวงจักรีนฤเบศร).[10] |
อากาศยานในอดีต
[แก้]โครงสร้างยศ
[แก้]กลุ่มชั้นยศ | นายพล / นายทหารชั้นนายพล | นายทหารสัญญาบัตรอาวุโศ | นายทหารสัญญาบัตร | นักเรียนนายเรือ | ||||||||||||||||||||||||||||||||
---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|
รหัสเนโท | OF-10 | OF-9 | OF-8 | OF-7 | OF-6 | OF-5 | OF-4 | OF-3 | OF-2 | OF-1 | OF (D) | นักเรียนนายทหาร | ||||||||||||||||||||||||
กองทัพเรือไทย[12] |
||||||||||||||||||||||||||||||||||||
จอมพลเรือ Chom phon ruea |
พลเรือเอก Phon ruea ek |
พลเรือโท Phon ruea tho |
พลเรือตรี Phon ruea tri |
นาวาเอก Nawa ek |
นาวาโท Nawa tho |
นาวาตรี Nawa tri |
เรือเอก Ruea ek |
เรือโท Ruea tho |
เรือตรี Ruea tri |
นักเรียนนายเรือ Nak-rian nairuea |
กลุ่มชั้นยศ | นายทหารประทวนอาวุโส | นายทหารประทวน | พลสมัคร และพลทหาร | |||||||||||||||||||||||||||||||||
---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|
รหัสเนโท | OR-9 | OR-8 | OR-7 | OR-6 | OR-5 | OR-4 | OR-3 | OR-2 | OR-1 | |||||||||||||||||||||||||||
กองทัพเรือไทย[12] |
ไม่มี เครื่องหมาย | |||||||||||||||||||||||||||||||||||
พันจ่าเอก Phan cha ek |
พันจ่าโท Phan cha tho |
พันจ่าตรี Phan cha tri |
จ่าเอก Cha ek |
จ่าโท Cha tho |
จ่าตรี Cha tri |
พลทหาร Phon thahan
|
ดูเพิ่ม
[แก้]- พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหลวงชุมพรเขตอุดมศักดิ์
- กองบัญชาการกองทัพไทย
- กองทัพไทย
- ศูนย์การบินทหารบก
- กองทัพบกไทย
- กองทัพอากาศไทย
- หน่วยบัญชาการนาวิกโยธิน
- โรงเรียนนายเรือ
- อากาศยานในประจำการของกองทัพเรือไทย
อ้างอิง
[แก้]- ↑ 1.0 1.1 1.2 1.3 1.4 1.5 "History of Royal Thai Naval Air Division". www.thaiflynavy.org. 17 November 2019. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 24 October 2019. สืบค้นเมื่อ 17 November 2019.
- ↑ บำรุงสุข, สุรชาติ (18 July 2019). "เปิดข้อมูลอำนาจกำลังรบไทย". www.matichonweekly.com. สืบค้นเมื่อ 17 November 2019.
- ↑ 3.00 3.01 3.02 3.03 3.04 3.05 3.06 3.07 3.08 3.09 3.10 3.11 3.12 "History of Royal Thai Naval Air Division". www.flightglobal.com. 17 November 2019. สืบค้นเมื่อ 17 November 2019.
- ↑ 4.0 4.1 บันทึก ที่ กห 0504/ว59 ลงวันที่ 2 มีนาคม 2558 เรื่อง ขออนุมัติกำหนดชื่อภาษาอังกฤษให้แก่หน่วยงานต่าง ๆ ของ ทร (PDF). กรมข่าวทหารเรือ กองทัพเรือ. 2558.
- ↑ 5.00 5.01 5.02 5.03 5.04 5.05 5.06 5.07 5.08 5.09 "Royal Thai Navy - Detail History". www.fleet.navy.mi.th. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2024-06-04. สืบค้นเมื่อ 2024-06-06.
- ↑ Air Division (17 November 2019). "Structure of Royal Thai Naval Air Division". www.thaiflynavy.org. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2019-12-29. สืบค้นเมื่อ 17 November 2019.
- ↑ คู่มือสอบเลื่อนฐานะเป็นนายทหารสัญญาบัตร สายวิทยาการ จำพวกทหารสารวัตร (PDF). กองวิทยาการ สำนักงานผู้บังคับทหารอากาศดอนเมือง. p. 42.
- ↑ "Royal Thai Air Force Organization". rtaf.mil.th. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 28 March 2022. สืบค้นเมื่อ 16 May 2020.
- ↑ "'เครื่องบินทะเล' ลาดตระเวนชายฝั่ง". www.marinerthai.net. 3 May 2012. สืบค้นเมื่อ 17 November 2019.
- ↑ 10.00 10.01 10.02 10.03 10.04 10.05 10.06 10.07 10.08 10.09 10.10 Oryx. "Thai Thunderbirds: Thailand's Expansive UAV Fleet". Oryx. สืบค้นเมื่อ 2022-09-17.
- ↑ 11.00 11.01 11.02 11.03 11.04 11.05 11.06 11.07 11.08 11.09 11.10 11.11 11.12 11.13 11.14 11.15 11.16 11.17 11.18 11.19 11.20 World Air Forces – Historical Listings Thailand (THL), คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 25 January 2012, สืบค้นเมื่อ 30 August 2012
- ↑ 12.0 12.1 "เครื่องหมายยศทหาร" [Military Rank Insignia]. navedu.navy.mi.th. Thai Naval Education Department. สืบค้นเมื่อ 13 June 2021.
แหล่งข้อมูลอื่น
[แก้]- เว็บไซต์ทางการ (ในภาษาไทย)
- Global Security – Thailand navy