ข้ามไปเนื้อหา

แอลทีวี เอ-7 คอร์แซร์ 2

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เอ-7 คอร์แซร์ 2
ข้อมูลทั่วไป
บทบาทเครื่องบินโจมตี
ชาติกำเนิด สหรัฐ
บริษัทผู้ผลิตลิง-เทมโค-วูท
ผู้ใช้งานหลักกองทัพเรือสหรัฐ
กองทัพอากาศสหรัฐ
กองทัพอากาศโปรตุเกส
กองทัพอากาศกรีก
ราชนาวีไทย
จำนวนที่ผลิต1,569
ประวัติ
เริ่มใช้งานกุมภาพันธ์ พ.ศ. 2510
เที่ยวบินแรก26 กันยายน พ.ศ. 2508
ปลดประจำการพ.ศ. 2534 (กองทัพอากาศสหรัฐ)
พ.ศ. 2542 (กองทัพอากาศโปรตุเกส)
พัฒนาจากเอฟ-8 ครูเซเดอร์

เอ-7 คอร์แซร์ 2 (อังกฤษ: A-7 Corsair II) เป็นเครื่องบินโจมตีขนาดเบาบนเรือบรรทุกเครื่องบินที่เริ่มเข้ามาแทนที่เอ-4 สกายฮอว์คของกองทัพเรือสหรัฐและเข้ารวมรบในสงครามเวียดนาม คอร์แซร์ถูกใช้โดยกองทัพอากาศสหรัฐเช่นเดียวกับกองกำลังรักษาดินแดนทางอากาศ เพื่อเข้าแทนที่เอ-1 สกายไรเดอร์ เอฟ-100 ซูเปอร์เซเบอร์ และเอฟ-105 ธันเดอร์ชิฟ คอร์แซร์ยังถูกใช้โดยกรีซในทศวรรษที่ 1970 และโปรตุเกสและไทยในทศวรรษที่ 1980 โครงสร้างของเอ-7 มีพื้นฐานมาจากเอฟ-8 ครูเซเดอร์ที่ผลิตโดยวูท มันเป็นหนึ่งในเครื่องบินรบรุ่นแรกๆ ที่มีหน้าจอแบบฮัด (head-up display) ระบบนำร่อง และเครื่องยนต์เทอร์โบแฟน

รายละเอียด เอ-7 คอร์แซร์ 2

[แก้]
  • ผู้สร้าง:บริษัทแอลทีวี แอโรสเปส (สหรัฐอเมริกา)
  • ประเภท:เจ๊ตขับไล่ยุทธวีธี ประจำเรือบรรทุกอากาศยาน
  • เครื่องยนต์:เทอร์โบแฟน อัลลิสัน ทีเอฟ 41-เอ-2 (รอลส์-รอยซ์ อาร์บี 168-62 สเปย์) ให้แรงขับ 6804 กิโลกรัม ไม่มีสันดาปท้าย 1 เครื่อง
  • กางปีก:11.8 เมตร
  • ยาว:14.06 เมตร
  • สูง:4.9 เมตร
  • พื้นที่ปีก:34.83 ตารางเมตร
  • น้ำหนักเปล่า: 7,969 กิโลกรัม
  • น้ำหนักวิ่งขั้นสูง: กว่า 19,050 กิโลกรัม ทางดิ่ง และ 12,690 กิโลกรัม เมื่อวิ่งขึ้นระยะสั้น
  • อัตราเร็วขั้นสูง: 0.92 มัค ที่ระดับน้ำทะเลเมื่อไม่ติดอาวุธ และ 0.87 มัค ที่ระดับน้ำทะเลเมื่อบรรทุกลูกระเบิดขนาด 250 ปอนด์ 12 ลูก
  • รัศมีทำการรบ: 825 กิโลเมตร เมื่อบินสูง-ต่ำ-สูง ด้วยความเร็วเฉลี่ย 856 กิโลเมตร/ชั่วโมง และ บรรจุลูกระเบิดขนาด 250 ปอนด์ 12 ลูก
  • พิสัยบินไกลสุด: 4,465 กิโลเมตร เมื่อบรรจุเชื้อเพลิงเต็มที่
  • อาวุธ:ปืนใหญ่อากาศ เอ็ม 61 เอ วัลแคน ขนาด 20 มม พร้อมกระสุน 1,000 นัด ที่ใต้ลำตัวส่วนหัวด้านซ้าย มีอัตรายิงเร็ว 4,000-5,000 นัด/นาที
    • อาวุธปล่อยอากาศสู่อากาศ AIM-9 Sidewinder 2 ลูก
    • อาวุธปลอ่ยอากาศสู่พื้น
    • จรวด
    • ลูกระเบิด
    • ถังเชื้อเพลิงอะไหล่
    • รวมเป็นน้ำหนักสูงถึง 9,072 กิโลกรัม ที่ใต้ลำตัว 2 ตำบล และ ใต้ปีก ข้างละ 3 ตำบล

[1]

อ้างอิง

[แก้]
  1. อภิวัตน์ โควินทรานนท์,อากาศยาน1979ฉบับเครื่องบิน,เอวิเอชั่น ออบเซิร์ฟเวอร์,กรุงเทพ,2522