อำเภอสหัสขันธ์

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
อำเภอสหัสขันธ์
การถอดเสียงอักษรโรมัน
 • อักษรโรมันAmphoe Sahatsakhan
ศูนย์ศึกษาวิจัยและพิพิธภัณฑ์ไดโนเสาร์ภูกุ้มข้าว หรือ พิพิธภัณฑ์สิรินธร (อังกฤษ: Sirindhorn Museum) เป็นศูนย์วิจัยเกี่ยวกับไดโนเสาร์และพิพิธภัณฑ์ไดโนเสาร์แห่งแรกของประเทศไทย
ศูนย์ศึกษาวิจัยและพิพิธภัณฑ์ไดโนเสาร์ภูกุ้มข้าว หรือ พิพิธภัณฑ์สิรินธร (อังกฤษ: Sirindhorn Museum) เป็นศูนย์วิจัยเกี่ยวกับไดโนเสาร์และพิพิธภัณฑ์ไดโนเสาร์แห่งแรกของประเทศไทย
คำขวัญ: 
สหัสขันธ์รื่นรมย์ พระพรหมภูสิงห์ สวยยิ่งเขื่อนลำปาว
ภูค่าวพระนอน พักผ่อนแหลมโนนวิเศษ
อาณาเขตไดโนเสาร์ ภูกุ้มข้าวสัตว์โลกล้านปี
แผนที่จังหวัดกาฬสินธุ์ เน้นอำเภอสหัสขันธ์
แผนที่จังหวัดกาฬสินธุ์ เน้นอำเภอสหัสขันธ์
พิกัด: 16°42′48″N 103°31′12″E / 16.71333°N 103.52000°E / 16.71333; 103.52000
ประเทศ ไทย
จังหวัดกาฬสินธุ์
พื้นที่
 • ทั้งหมด316.402 ตร.กม. (122.163 ตร.ไมล์)
ประชากร
 (2564)
 • ทั้งหมด42,627 คน
 • ความหนาแน่น134.72 คน/ตร.กม. (348.9 คน/ตร.ไมล์)
รหัสไปรษณีย์ 46140
รหัสภูมิศาสตร์4609
ที่ตั้งที่ว่าการที่ว่าการอำเภอสหัสขันธ์ ถนนหลักเมือง ตำบลโนนบุรี อำเภอสหัสขันธ์ จังหวัดกาฬสินธุ์ 46140
สารานุกรมประเทศไทย ส่วนหนึ่งของสารานุกรมประเทศไทย

สหัสขันธ์ [สะ-หัด-สะ-ขัน][1] เป็นอำเภอหนึ่งของจังหวัดกาฬสินธุ์ อดีตเป็นอำเภอที่เคยมีอาณาเขตพื้นที่ขนาดใหญ่มากที่สุดในจังหวัดกาฬสินธุ์ ซึ่งพื้นที่อำเภอสหัสขันธ์ครอบคลุมพื้นที่อำเภอสมเด็จ[2][3] อำเภอท่าคันโท[4][5] อำเภอหนองกุงศรี[4] อำเภอคำม่วง[6][7] อำเภอสามชัย บางส่วนของอำเภอห้วยเม็ก[8] ในปัจจุบัน ซึ่งแยกการปกครองออกเรื่อยมา อำเภอนี้เป็นที่ตั้งของศูนย์ศึกษาวิจัยและพิพิธภัณฑ์ไดโนเสาร์ภูกุ้มข้าว

 พระมหาธาตุเจดีย์ที่วัดพุทธนิมิต (ภูค่าว)
พระพุทธนิมิตเหล็กไหลที่วัดพุทธนิมิต (ภูค่าว) ทั้งองค์มีเนื้อสีดำ
ซากดึกดำบรรพ์ของไดโนเสาร์ที่ภูกุ้มข้าว อำเภอสหัสขันธ์ จังหวัดกาฬสินธุ์ พบโดยพระครูวิจิตรสหัสคุณ(หา สุภโร) เจ้าอาวาสวัดสักกะวันปัจจุบันมีสมณศักดิ์ในราชทินนามที่ พระเทพมงคลวชิรมุนี (หา สุภโร) ในปีพ.ศ. 2537 และได้เริ่มทำการขุดค้นอย่างเป็นระบบ โดยคณะสำรวจไดโนเสาร์จากกรมทรัพยากรธรณี ตั้งแต่ปลายปีพ.ศ. 2537

ประวัติ[แก้]

อำเภอสหัสขันธ์ มีประวัติความเป็นมายาวนาน ก่อตั้งขึ้นเป็นชุมชนร่วมสมัยกับการก่อตั้งเมืองกาฬสินธุ์ ชื่อว่า "บ้านพันลำ" เมื่อ พ.ศ. 2410 ตรงกับสมัยรัชการที่ 4 พระยาชัยสุนทร (ท้าวกิ่ง) เจ้าเมืองกาฬสินธุ์ ขอตั้งบ้านพันลำขึ้นเป็นเมืองสหัสขันธ์ โดยขึ้นตรงต่อเมืองกาฬสินธุ์ ต่อมา พ.ศ. 2425 เมืองสหัสขันธ์ได้ขอสมัครไปขึ้นกับเมืองกระมาลาไสย (กมลาไสย) เมื่อ พ.ศ. 2431 แต่งตั้งให้อุปฮาดบัวจากเมืองกมลาไสยเป็นพระประชาชนบาล (บัว) เป็นเจ้าเมืองสหัสขันธ์และได้ย้ายที่ทำการเมืองไปตั้งอยู่ “บ้านโคก” ต่อมาราษฎรเมืองสหัสขันธ์ร้องทุกข์ต่อกรมหลวงประจักษ์ศิลปาคม กล่าวโทษพระประชาชนบาล (บัว) ให้ออกจากตำแหน่งเจ้าเมืองสหัสขันธ์และแต่งตั้งราชบุตรแสนรักษาเจ้าเมืองสหัสขันธ์ ต่อมาเมื่อ พ.ศ. 2433 ได้แต่งตั้งให้ท้าวขัติยวงศาเป็นพระประชาชนบาลเจ้าเมืองสหัสขันธ์ให้ขึ้นตรงต่อเมืองกมลาไสย

ต่อมามีการปรับปรุงระบบการปกครองสมัยรัชกาลที่ 5 เมื่อ พ.ศ. 2452 ให้เมืองกาฬสินธุ์และเมืองกมลาไสยขึ้นกับมณฑลร้อยเอ็ด ต่อมาได้ยุบมณฑลร้อยเอ็ดไปขึ้นกับมณฑลนครราชสีมาหลังจากนั้นกาฬสินธุ์ถูกยุบเป็นอำเภอหลุบขึ้นตรงต่อจังหวัดมหาสารคามจนกระทั่งเมื่อ พ.ศ. 2490 ได้ยกฐานะกาฬสินธุ์เป็นจังหวัด กมลาไสยและสหัสขันธ์จึงเป็นอำเภอของจังหวัดกาฬสินธุ์และในปี พ.ศ. 2510 อำเภอสหัสขันธ์ได้ย้ายที่ทำการอีกครั้งนึง เนื่องจากมีการสร้างเขื่อนลำปาวโดยย้ายจากตำบลโนนศิลาไปอยู่ที่ตำบลภูสิงห์ในปัจจุบัน

กล่าวโดยสรุป ปี พ.ศ. 2410 ท้าวแสนได้พาสมัครพรรคพวกอพยพออกจากเมืองกาฬสินธุ์ไปตั้งที่บ้านโคกพันลำ แล้วขอพระราชทานตั้งเมือง โปรดเกล้าฯ ให้ยกบ้านโคกพันลำขึ้นเป็นเมืองสหัสขันธ์ โดยการแยกออกจากเมืองกาฬสินธุ์เนื่องจากเมื่อ พ.ศ. 2409 ราชวงศ์ (เกษ) ได้เกิดความขัดแย้งกับพระยาชัยสุนทร (กิ่ง) เจ้าเมืองกาฬสินธุ์ จึงกราบบังคมทูลขอแยกเมืองไปตั้งอยู่บริเวณบ้านสระบัว ริมน้ำปาวฝั่งตะวันตก (เมืองกมลาไสย) และขอให้ตั้งเมืองสหัสขันธ์ ณ บ้านพันลำ พร้อมขอให้ท้าวแสนเป็นเจ้าเมืองสหัสขันธ์ ต่อมาเมื่อ พ.ศ. 2433 ได้แต่งตั้งท้าวแสนเป็นพระชาชนบาล เจ้าเมืองสหัสขันธ์ให้ขึ้นตรงต่อเมืองกมลาไสย

  • วันที่ 14 เมษายน 2455 แยกมณฑลอิสาณออกเป็น 2 มณฑล ได้แก่ มณฑลอุบลราชธานี โดยให้มณฑลอุบลราชธานีมีเขตปกครองตลอดท้องที่ 3 จังหวัด คือ จังหวัดสุรินทร์ จังหวัดขุขันธ์ จังหวัดอุบลราชธานี กับมณฑลร้อยเอ็จ[9] โดยให้มณฑลร้อยเอ็จมีเขตปกครองตลอดท้องที่ 3 จังหวัด คือ จังหวัดมหาสารคาม จังหวัดกาฬสินธุ์ จังหวัดร้อยเอ็จ และให้โอนเมืองสหัสขันธ์ ของมณฑลอิสาณ มาขึ้นการปกครองกับมณฑลร้อยเอ็จ ตั้งเป็นอำเภอสหัสขันธ์ จังหวัดกาฬสินธุ์
  • วันที่ 25 ธันวาคม 2464 ท้องที่มีฐานะเป็น "อำเภอสหัสขันธ์" จังหวัดกาฬสินธุ์ มณฑลร้อยเอ็จ มีเขตการปกครองตลอดท้องที่ ได้แก่ ตำบลโพน ตำบลมหาไชย ตำบลโคกเครือ ตำบลโนนศิลา และตำบลหมูม่น[10][11]
  • วันที่ 1 มิถุนายน 2473 ตั้งตำบลท่าคันโท แยกออกจากตำบลโคกเครือ[12]
  • วันที่ 21 กุมภาพันธ์ 2474 ยุบจังหวัดกาฬสินธุ์ รวมเข้ากับจังหวัดมหาสารคาม[13] ทำให้ท้องที่อำเภอเมืองกาฬสินธุ์ อำเภอกมลาไสย อำเภอยางตลาด อำเภอสหัสขันธ์ และอำเภอกุฉินารายณ์ โอนไปขึ้นการปกครองกับจังหวัดมหาสารคาม
  • วันที่ 31 พฤษภาคม 2479 เปลี่ยนแปลงเขตอำเภอสหัสขันธ์ และอำเภอยางตลาด โดยโอนพื้นที่หมู่ 15 บ้านพิมูล และพื้นที่หมู่ 17 บ้านคำใหญ่ (ในขณะนั้น) ของตำบลโคกเครือ อำเภอสหัสขันธ์ ไปขึ้นกับตำบลอิตื้อ อำเภอยางตลาด จังหวัดมหาสารคาม[8]
  • วันที่ 17 เมษายน 2482 เปลี่ยนแปลงชื่อตำบลมหาไชย เป็น ตำบลแซงบาดาล และเปลี่ยนแปลงชื่อตำบลโคกเครือ เป็น ตำบลสหัสขันธ์[14]
  • วันที่ 12 สิงหาคม 2490 แยกพื้นที่อำเภอกาฬสินธุ์ อำเภอกมลาไสย อำเภอยางตลาด อำเภอสหัสขันธ์ และอำเภอกุฉินารายณ์ จากจังหวัดมหาสารคาม มาตั้งเป็น จังหวัดกาฬสินธุ์[15][16] มีการปกครองทั้งหมด 5 อำเภอ
  • วันที่ 6 มกราคม 2496 ตั้งตำบลสมเด็จ แยกออกจากตำบลหมูม่น ตั้งตำบลสำราญ แยกออกจากตำบลโนนศิลา และตำบลโพน ตั้งตำบลหนองบัว แยกออกจากตำบลสหัสขันธ์[17]
  • วันที่ 15 ตุลาคม 2499 จัดตั้งสุขาภิบาลโนนศิลา ในท้องที่บางส่วนของตำบลโนนศิลา[18]
  • วันที 23 ธันวาคม 2501 ตั้งตำบลทุ่งคลอง แยกออกจากตำบลสำราญ และตำบลโพน[19]
  • วันที่ 22 สิงหาคม 2504 จัดตั้งสุขาภิบาลสี่แยก ในท้องที่บางส่วนของตำบลสมเด็จ[20]
  • วันที่ 2 ตุลาคม 2505 แยกพื้นที่ตำบลท่าคันโท และตำบลสหัสขันธ์ จากอำเภอสหัสขันธ์ ไปตั้งเป็น กิ่งอำเภอท่าคันโท[4] และให้ขึ้นการปกครองกับอำเภอสหัสขันธ์
  • วันที่ 15 ธันวาคม 2505 ก่อสร้างเขื่อนลำปาว[21] ในท้องที่อำเภอเมืองกาฬสินธุ์ อำเภอสหัสขันธ์ อำเภอยางตลาด อำเภอกมลาไสย กิ่งอำเภอท่าคันโท อำเภอสหัสขันธ์ จังหวัดกาฬสินธุ์ และอำเภอกุมภวาปี อำเภอหนองหาน จังหวัดอุดรธานี
  • วันที่ 11 สิงหาคม 2507 แยกพื้นที่ตำบลสมเด็จ ตำบลหมูม่น และตำบลแซงบาดาล จากอำเภอสหัสขันธ์ ไปตั้งเป็น กิ่งอำเภอสมเด็จ[2] และให้ขึ้นการปกครองกับอำเภอสหัสขันธ์
  • วันที่ 30 มีนาคม 2508 ตั้งตำบลนามะเขือ แยกออกจากตำบลโนนศิลา และตำบลหมูม่น[22]
  • วันที่ 27 กรกฎาคม 2508 ยกฐานะกิ่งอำเภอท่าคันโท อำเภอสหัสขันธ์ เป็น อำเภอท่าคันโท[5]
  • วันที่ 5 มีนาคม 2511 จัดตั้งสุขาภิบาลโนนบุรี ในท้องที่บางส่วนของตำบลนามะเขือ[23] และยุบสุขาภิบาลโนนศิลา เนื่องจากอยู่ในเขตน้ำท่วมตามโครงการชลประทานลำปาว[24] ราษฎรไม่อาจตั้งบ้านเรือนอยู่ในเขตสุขาภิบาล
  • วันที่ 25 กุมภาพันธ์ 2512 ยกฐานะกิ่งอำเภอสมเด็จ อำเภอสหัสขันธ์ เป็น อำเภอสมเด็จ[3]
  • วันที่ 26 สิงหาคม 2512 ตั้งตำบลภูสิงห์ แยกออกจากตำบลนามะเขือ[25]
  • วันที่ 28 กันยายน 2515 แยกพื้นที่ตำบลทุ่งคลอง ตำบลโพน และตำบลสำราญ จากอำเภอสหัสขันธ์ ไปตั้งเป็น กิ่งอำเภอคำม่วง[6] และให้ขึ้นการปกครองกับอำเภอสหัสขันธ์
  • วันที่ 24 สิงหาคม 2516 จัดตั้งสภาตำบลหนองบัว สภาตำบลโนนศิลา สภาตำบลภูสิงห์ สภาตำบลสำราญ สภาตำบลนามะเขือ (เฉพาะนอกเขตสุขาภิบาลโนนบุรี) สภาตำบลโพน และสภาตำบลทุ่งคลอง[26] ในท้องที่อำเภอสหัสขันธ์ จังหวัดกาฬสินธุ์
  • วันที่ 17 มิถุนายน 2518 ตั้งตำบลสหัสขันธ์ แยกออกจากตำบลภูสิงห์ ตำบลนามะเขือ ตำบลโนนศิลา[27] และจัดตั้งสภาตำบลสหัสขันธ์
  • วันที่ 1 สิงหาคม 2518 โอนพื้นที่หมู่ 3 บ้านสะอาดนาทม และพื้นที่หมู่ 4 บ้านหนองสองห้อง (ในขณะนั้น) ของตำบลหนองบัว อำเภอสหัสขันธ์ ไปขึ้นกับตำบลลำปาว อำเภอเมืองกาฬสินธ์ และโอนพื้นที่ตำบลหนองบัว (เว้นแต่พื้นที่หมู่ 3 บ้านสะอาดนาทม) และพื้นที่หมู่ 4 บ้านหนองสองห้อง อำเภอสหัสขันธ์ ไปขึ้นกับกิ่งอำเภอหนองกุงศรี อำเภอท่าคันโท[28]
  • วันที่ 8 กันยายน 2519 ยกฐานะกิ่งอำเภอคำม่วง อำเภอสหัสขันธ์ เป็น อำเภอคำม่วง[7]
  • วันที่ 16 พฤศจิกายน 2519 ตั้งตำบลสำราญใต้ แยกออกจากตำบลสำราญ[29]
  • วันที่ 5 สิงหาคม 2523 ตั้งตำบลนิคม แยกออกจากตำบลภูสิงห์[30] และจัดตั้งสภาตำบลนิคม
  • วันที่ 4 กรกฎาคม 2524 ตั้งตำบลโนนบุรี แยกออกจากตำบลภูสิงห์ ตั้งตำบลโนนแหลมทอง แยกออกจากตำบลโนนศิลา และตำบลนามะเขือ[31] และจัดตั้งสภาตำบลโนนบุรี (เฉพาะนอกเขตสุขาภิบาลโนนบุรี) กับจัดตั้งสภาตำบลโนนแหลมทอง
  • วันที่ 8 มิถุนายน 2525 ตั้งตำบลโนนน้ำเกลี้ยง แยกออกจากตำบลสหัสขันธ์[32] และจัดตั้งสภาตำบลโนนน้ำเกลี้ยง
  • วันที่ 25 ธันวาคม 2539 ยกฐานะสภาตำบลโนนศิลา สภาตำบลสหัสขันธ์ สภาตำบลโนนแหลมทอง และสภาตำบลนามะเขือ อำเภอสหัสขันธ์ จังหวัดกาฬสินธุ์ เป็นองค์การบริหารส่วนตำบลโนนศิลา องค์การบริหารส่วนตำบลสหัสขันธ์ องค์การบริหารส่วนตำบลโนนแหลมทอง และองค์การบริหารส่วนตำบลนามะเขือ[33] ตามลำดับ
  • วันที่ 25 พฤษภาคม 2542 ยกฐานะจากสุขาภิบาลโนนบุรี เป็นเทศบาลตำบลโนนบุรี[34] ด้วยผลของกฎหมาย
  • วันที่ 15 ตุลาคม 2542 ยกฐานะสภาตำบลโนนน้ำเกลี้ยง สภาตำบลภูสิงห์ และสภาตำบลนิคม อำเภอสหัสขันธ์ จังหวัดกาฬสินธุ์ เป็นองค์การบริหารส่วนตำบลโนนน้ำเกลี้ยง องค์การบริหารส่วนตำบลภูสิงห์ และองค์การบริหารส่วนตำบลนิคม[35] ตามลำดับ
  • วันที่ 6 กรกฎาคม 2547 ยุบสภาตำบลโนนบุรี รวมกับเทศบาลตำบลโนนบุรี[36]
  • วันที่ 1 มีนาคม 2551 จัดตั้งองค์การบริหารส่วนตำบลโนนน้ำเกลี้ยง อำเภอสหัสขันธ์ ขึ้นเป็น เทศบาลตำบลโนนน้ำเกลี้ยง[37]
  • วันที่ 11 มีนาคม 2551 จัดตั้งองค์การบริหารส่วนตำบลนิคม อำเภอสหัสขันธ์ ขึ้นเป็น เทศบาลตำบลนิคม[38]
  • วันที่ 27 มีนาคม 2551 จัดตั้งองค์การบริหารส่วนตำบลภูสิงห์ อำเภอสหัสขันธ์ ขึ้นเป็น เทศบาลตำบลภูสิงห์[39]
  • วันที่ 27 ตุลาคม 2552 จัดตั้งองค์การบริหารส่วนตำบลนามะเขือ อำเภอสหัสขันธ์ ขึ้นเป็น เทศบาลตำบลนามะเขือ[40] และจัดตั้งองค์การบริหารส่วนตำบลโนนศิลา อำเภอสหัสขันธ์ ขึ้นเป็น เทศบาลตำบลโนนศิลา[41]
พระพรหมภูมิปาโล ประดิษฐานอยู่ที่พำนักสงฆ์พุทธาวาส บนยอดเขาภูสิงห์

ที่ตั้งและอาณาเขต[แก้]

อำเภอสหัสขันธ์ มีอาณาเขตติดต่อกับเขตการปกครองข้างเคียงดังต่อไปนี้

การแบ่งเขตการปกครอง[แก้]

การปกครองส่วนภูมิภาค[แก้]

อำเภอสหัสขันธ์แบ่งพื้นที่การปกครองออกเป็น 8 ตำบล 85 หมู่บ้าน

1. ภูสิงห์ (Phu Sing) 9 หมู่บ้าน 5. นิคม (Nikhom) 7 หมู่บ้าน
2. สหัสขันธ์ (Sahatsakhan) 13 หมู่บ้าน 6. โนนแหลมทอง (Non Laem Thong) 12 หมู่บ้าน
3. นามะเขือ (Na Makhuea) 12 หมู่บ้าน 7. โนนบุรี (Non Buri) 11 หมู่บ้าน
4. โนนศิลา (Non Sila) 13 หมู่บ้าน 8. โนนน้ำเกลี้ยง (Non Nam Kliang) 8 หมู่บ้าน

การปกครองส่วนท้องถิ่น[แก้]

ท้องที่อำเภอสหัสขันธ์ประกอบด้วยองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น 8 แห่ง ได้แก่

สถานที่สำคัญ[แก้]

  • วัดพุทธนิมิต (ภูค่าว) ตั้งอยู่บ้านนาสีนวล ตำบลสหัสขันธ์ เป็นที่ประดิษฐานพระพุทธรูป ไสยาสน์ตะแคงซ้าย ไม่มีเกตุมาลา นอกจากนี้ภายในวัดยังมีโบสถ์ที่ประดับตกแต่งสวยงาม และวิหารที่ประดิษฐานพระพุทธรูปและพระเครื่องจำนวนมาก นอกจากนี้ภายในวัดยังมีอุโบสถไม้ที่วิจิตรงดงามโดยก่อสร้างจากไม้ขนาดใหญ่นำขึ้นมาจากใต้เขื่อนลำปาว หอพระเครื่องที่มีพระเครื่องประดับประดาตกแต่งไว้หลายแสนองค์  และพระมหาธาตุเจดีย์ที่ สร้างจากหินทรายเฉพาะยอดมหาธาตุเจดีย์มีมูลค่ากว่า 25 ล้านบาทมีทั้งทองคำ 30 กิโลกรัมและประดับตกแต่งด้วยเพชรนิลจินดา มากมาย  นอกจากนี้เป็นที่ประดิษฐานของพระบรมสารีริกธาตุของพระสัมมาสัมพุทธเจ้าจากประเทศเนปาล

อ้างอิง[แก้]

  1. ราชบัณฑิตยสถาน. อ่านอย่างไร และ เขียนอย่างไร ฉบับราชบัณฑิตยสถาน. พิมพ์ครั้งที่ 16. กรุงเทพฯ : ราชบัณฑิตยสถาน, 2546.
  2. 2.0 2.1 "ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง แบ่งท้องที่การปกครองอำเภอสหัสขันธ์ตั้งเป็นกิ่งอำเภอ" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 81 (74 ง): 2102. August 11, 1964. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2012-03-24. สืบค้นเมื่อ 2019-08-15.
  3. 3.0 3.1 "พระราชกฤษฎีกาจัดตั้งอำเภอสมเด็จ อำเภอสีชมพู อำเภอหนองบัวแดง อำเภอบ้านแท่น อำเภอดอนตูม อำเภอนากลาง อำเภอศรีบุญเรือง และอำเภอป่าติ้ว พ.ศ. ๒๕๑๒" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 86 (16 ก): 225–228. February 25, 1969. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2012-03-24. สืบค้นเมื่อ 2019-08-15.
  4. 4.0 4.1 4.2 "ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง แบ่งท้องที่ตั้งเป็นกิ่งอำเภอ" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 79 (90 ง): 2097–2098. October 2, 1962. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2012-05-04. สืบค้นเมื่อ 2019-09-14.
  5. 5.0 5.1 "พระราชกฤษฎีกาตั้งอำเภอศรีสวัสดิ์ อำเภอสังขละบุรี อำเภอท่าคันโท อำเภอดอกคำใต้ อำเภอแม่ใจ อำเภอจุน อำเภอขามทะเลสอ อำเภอไพศาลี อำเภอท่าวังผา อำเภอบ้านกรวด อำเภอเด่นชัย อำเภอปทุมรัตน์ อำเภอกะเปอร์ อำเภออากาศอำนวย อำเภอดอนเจดีย์ อำเภอจอมพระ และอำเภอสามโก้ พ.ศ. ๒๕๐๘" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 82 (59 ก): 565–569. July 27, 1965. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2008-10-01. สืบค้นเมื่อ 2019-08-15.
  6. 6.0 6.1 "ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง แบ่งท้องที่อำเภอสหัสขันธ์ จังหวัดกาฬสินธุ์ ตั้งเป็นกิ่งอำเภอคำม่วง" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 89 (144 ง): (ฉบับพิเศษ) 5. September 28, 1972. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2012-04-27. สืบค้นเมื่อ 2019-08-15.
  7. 7.0 7.1 "พระราชกฤษฎีกาตั้งอำเภอเลาขวัญ อำเภอคำม่วง คำเภอพิปูน อำเภอศรีเทพ อำเภอนาแห้ว อำเภอส่องดาว อำเภอควนกาหลง อำเภอค่ายบางระจัน อำเภอบ้านตาขุน และอำเภอกุดจับ พ.ศ. ๒๕๑๙" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 93 (109 ก): (ฉบับพิเศษ) 31-34. September 8, 1976. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2007-09-27. สืบค้นเมื่อ 2019-08-15.
  8. 8.0 8.1 "ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง โอนหมู่บ้าน" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 53 (0 ง): 484–485. May 31, 1936.
  9. "พระบรมราชโองการ ประกาศ แยกมณฑลอิสานออกเป็น ๒ มณฑล คือ มณฑลอุบลราชธานี ๑ มณฑลร้อยเอ็ด ๑" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 29 (0 ก): 8–9. April 14, 1912.
  10. "ประกาศกระทรวงศึกษาธิการ เรื่อง ใช้พระราชบัญญัติประถมศึกษา พ.ศ. ๒๔๖๔ [ในท้องที่มณฑลร้อยเอ็ด]" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 38 (0 ก): 511–518. December 25, 1921.
  11. "แก้คำผิด ราชกิจจานุเบกษา แผนกกฤษฎีกา เล่ม ๓๘ ตอน ๓๙ แผนกกระทรวงศึกษาธิการ ประกาศใช้พระราชบัญญัติประถมศึกษา พุทธศักราช ๒๔๖๔ ในท้องที่มณฑลร้อยเอ็ด หน้า ๕๑๑,๕๑๔" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 39 (0 ง): 1018–1019. July 23, 1922.
  12. "ประกาศกระทรวงธรรมการ เรื่อง การใช้พระราชบัญญัติประถมศึกษา พ.ศ. ๒๔๖๔ สำหรับตำบลท่าคันโท ซึ่งแยกจากตำบลโคกเครือ ท้องที่อำเภอสหัสขันธ์ จังหวัดกาฬสินธุ์" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 47 (0 ก): 76. June 1, 1930.
  13. "พระบรมราชโองการ ประกาศ ยุบรวมท้องที่บางมณฑลและบางจังหวัด" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 48 (0 ก): 576–578. February 21, 1931. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2008-04-09. สืบค้นเมื่อ 2020-12-18.
  14. "พระราชกฤษฎีกาเปลี่ยนนามอำเภอ กิ่งอำเภอ และตำบลบางแห่ง พุทธศักราช ๒๔๘๒" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 56 (0 ก): 354–363. April 17, 1939. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2009-02-19. สืบค้นเมื่อ 2019-10-05.
  15. "พระราชบัญญัติจัดตั้งจังหวัดกาฬสินธุ์ พ.ศ. ๒๔๙๐" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 64 (36 ก): 516–517. August 12, 1947. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2012-06-07. สืบค้นเมื่อ 2019-10-05.
  16. "แก้คำผิด ราชกิจจานุเบกษา แผนกกฤษฎีกา เล่ม ๖๔ ตอนที่ ๓๖ พระราชบัญญัติจัดตั้งจังหวัดกาฬสินธุ์ พ.ศ. ๒๔๙๐ หน้า ๕๑๖" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 64 (37 ง): 2169. August 19, 1947.
  17. "ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง ตั้งและเปลี่ยนแปลงเขตตำบลในท้องที่อำเภอเมืองกาฬสินธุ์ อำเภอสหัสขันธ์ อำเภอกุฉินารายณ์ จังหวัดกาฬสินธุ์" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 70 (3 ง): 20–28. January 6, 1953.
  18. "ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง จัดตั้งสุขาภิบาลโนนศิลา อำเภอสหัสขันธ์ จังหวัดกาฬสินธุ์" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 73 (83 ง): (ฉบับพิเศษ๋) 11-12. October 15, 1956.
  19. "ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง ตั้งและเปลี่ยนแปลงเขตตำบลในท้องที่อำเภอยางตลาด และอำเภอสหัสขันธ์ จังหวัดกาฬสิทธุ์ อำเภอขาณุวรลักษณ์บุรี จังหวัดกำแพงเพชร อำเภอน้ำพอง อำเภอเมืองขอนแก่น อำเภอพล อำเภอบ้านไผ่ และอำเภอภูเวียง จังหวัดขอนแก่น อำเภอบัวใหญ่ อำเภอพิมาย และอำเภอจักราช จังหวัดนครราชสีมา อำเภอบรรพตพิสัย จังหวัดนครสวรรค์ อำเภอกระสัง จังหวัดบุรีรัมย์ อำเภอศรีมหาโพธิ์ และอำเภอกบินทร์บุรี จังหวัดปราจีนบุรี กับอำเภอตะพานหิน และอำเภอบางมูลนาก จังหวัดพิจิตร" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 75 (109 ง): 3084–3117. December 23, 1958.
  20. "ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง จัดตั้งสุขาภิบาลสี่แยก จังหวัดกาฬสินธุ์" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 78 (64 ง): 1866–1867. August 22, 1961.
  21. "พระราชกฤษฎีกากำหนดเขตที่ดินในบริเวณที่ที่จะเวนคืน ในท้องที่ตำบลอุ่มจาน ตำบลพันดอน ตำบลแชแล ตำบลตูมใต้ ตำบลสีออ ตำบลจำปี ตำบลนายูง อำเภอกุมภวาปี ตำบลบ้านจีด อำเภอหนองหาร จังหวัดอุดรธานี และตำบลท่าคันโท ตำบลสหัสขันธ์ กิ่งอำเภอท่าคันโท อำเภอสหัสขันธ์ ตำบลสำราญ ตำบลหนองบัว อำเภอสหัสขันธ์ ตำบลบึงนาเรียง ตำบลเว่อ ตำบลยางตลาด ตำบลหัวงัว ตำบลอุ่มเม่า อำเภอยางตลาด ตำบลเหนือ ตำบลหลุบ อำเภอเมืองกาฬสินธุ์ ตำบลหนองแปน ตำบลกมลาสัย อำเภอกมลาไสย จังหวัดกาฬสินธุ์ พ.ศ. ๒๕๐๕" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 79 (110 ก): (ฉบับพิเศษ) 7-10. December 15, 1962.
  22. "ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง ตั้งและเปลี่ยนแปลงเขตตำบลในท้องที่อำเภอเมืองกาฬสินธุ์ และอำเภอสหัสขันธ์ จังหวัดกาฬสินธุ์" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 82 (26 ง): 1055–1060. March 30, 1965.
  23. 23.0 23.1 "ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง จัดตั้งสุขาภิบาลโนนบุรี อำเภอสหัสขันธ์ จังหวัดกาฬสินธุ์" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 85 (23 ง): 694–695. March 5, 1968.
  24. "ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง ยุบสุขาภิบาลโนนศิลา อำเภอสหัสขันธ์ จังหวัดกาฬสินธุ์" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 85 (23 ง): 696. March 5, 1968.
  25. "ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง ตั้งและเปลี่ยนแปลงเขตตำบลในท้องที่อำเภอเมืองกาฬสินธุ์ อำเภอยางตลาด อำเภอมลาไสย และอำเภอสหัสขันธ์ จังหวัดกาฬสินธุ์" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 86 (76 ง): 2570–2580. August 26, 1969.
  26. "ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การจัดตั้งสภาตำบลตามประกาศคณะปฏิวัติ ฉบับที่ ๓๒๖ ลงวันที่ ๑๓ ธันวาคม ๒๕๑๕" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 90 (108 ง): (ฉบับพิเศษ) 1-72. August 24, 1973.
  27. "ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง ตั้งและเปลี่ยนแปลงเขตตำบลในท้องที่อำเภอกมลาไสย อำเภอเขาวง และอำเภอสหัสขันธ์ จังหวัดกาฬสินธุ์" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 92 (112 ง): 1466–1474. June 17, 1975.
  28. "พระราชกฤษฎีกาเปลี่ยนแปลงเขตอำเภอสหัสขันธ์ กับอำเภอเมืองกาฬสินธุ์ และกิ่งอำเภอหนองกุงศรี อำเภอท่าคันโท จังหวัดกาฬสินธุ์ พ.ศ. ๒๕๑๘" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 92 (146 ก): (ฉบับพิเศษ) 1-3. August 1, 1975. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2012-04-27. สืบค้นเมื่อ 2019-08-15.
  29. "ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง ตั้งและเปลี่ยนแปลงเขตตำบลในท้องที่กิ่งอำเภอคำม่วง อำเภอสหัสขันธ์ และกิ่งอำเภอห้วยเม็ก อำเภอยางตลาด จังหวัดกาฬสินธุ์" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 93 (143 ง): 3344–3350. November 16, 1976.
  30. "ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง ตั้งและเปลี่ยนแปลงเขตตำบลในท้องที่อำเภอเมืองกาฬสินธุ์ อำเภอยางตลาด อำเภอกมลาไสย อำเภอสหัสขันธ์ และอำเภอเขาวง จังหวัดกาฬสินธุ์" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 97 (118 ง): 2681–2695. August 5, 1980.
  31. "ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง ตั้งและเปลี่ยนแปลงเขตตำบลในท้องที่อำเภอเขาวง อำเภอสหัสขันธ์ กิ่งอำเภอนามน อำเภอเมืองกาฬสินธุ์ จังหวัดกาฬสินธุ์" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 98 (108 ง): (ฉบับพิเศษ) 23-34. July 4, 1981.
  32. "ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง ตั้งและเปลี่ยนแปลงเขตตำบลในท้องที่อำเภอสหัสขันธ์ อำเภอกุฉินารายณ์ จังหวัดกาฬสินธุ์" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 99 (78 ง): 2069–2076. June 8, 1982.
  33. "ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง จัดตั้งองค์การบริหารส่วนตำบล" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 113 (ตอนพิเศษ 52 ง): 1–365. December 24, 1996. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2012-01-25. สืบค้นเมื่อ 2021-10-30.
  34. 34.0 34.1 "พระราชบัญญัติเปลี่ยนแปลงฐานะของสุขาภิบาลเป็นเทศบาล พ.ศ. ๒๕๔๒" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 116 (9 ก): 1–4. February 24, 1999. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2008-04-09. สืบค้นเมื่อ 2020-06-03.
  35. "ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง จัดตั้งองค์การบริหารส่วนตำบล" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 116 (ตอนพิเศษ 82 ง): 3–38. October 15, 1999. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2012-01-25. สืบค้นเมื่อ 2021-10-30.
  36. 36.0 36.1 "ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง รวมสภาตำบลกับเทศบาล" (PDF). July 6, 2004: 1–3. {{cite journal}}: Cite journal ต้องการ |journal= (help)
  37. "จัดตั้งเทศบาลจากองค์การบริหารส่วนตำบล โนนน้ำเกลี้ยง เป็น เทศบาลตำบลโนนน้ำเกลี้ยง". March 1, 2008. {{cite journal}}: Cite journal ต้องการ |journal= (help)
  38. "จัดตั้งเทศบาลจากองค์การบริหารส่วนตำบล นิคม เป็น เทศบาลตำบลนิคม". March 11, 2008. {{cite journal}}: Cite journal ต้องการ |journal= (help)
  39. "จัดตั้งเทศบาลจากองค์การบริหารส่วนตำบล ภูสิงห์ เป็น เทศบาลตำบลภูสิงห์". March 27, 2008. {{cite journal}}: Cite journal ต้องการ |journal= (help)
  40. "จัดตั้งเทศบาลจากองค์การบริหารส่วนตำบล นามะเขือ เป็น เทศบาลตำบลนามะเขือ". October 27, 2009. {{cite journal}}: Cite journal ต้องการ |journal= (help)
  41. "จัดตั้งเทศบาลจากองค์การบริหารส่วนตำบล โนนศิลา เป็น เทศบาลตำบลโนนศิลา". October 27, 2009. {{cite journal}}: Cite journal ต้องการ |journal= (help)