นิสสัย เวชชาชีวะ

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
นิสสัย เวชชาชีวะ
โฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี
ดำรงตำแหน่ง
14 ตุลาคม พ.ศ. 2516 – 15 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2518
นายกรัฐมนตรีสัญญา ธรรมศักดิ์
ก่อนหน้าพันเอก อาจศึก ดวงสว่าง
ถัดไปวีระ มุสิกพงศ์
ข้อมูลส่วนบุคคล
เกิด1 เมษายน พ.ศ. 2475
เสียชีวิต13 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2564 (88 ปี)
คู่สมรสมารินา เวชชาชีวะ

นายนิสสัย เวชชาชีวะ อดีตกรรมการอิสระ บริษัท เนชั่นมัลติมีเดียกรุ๊ป จำกัด (มหาชน) อดีตโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี อดีตอธิบดีกรมสารนิเทศ ในรัฐบาลของนายสัญญา ธรรมศักดิ์ อดีตผู้อำนวยการสนธิสัญญาการป้องกันร่วมกันแห่งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ กรมองค์การระหว่างประเทศ และเป็นบิดาของนายสุรนันทน์ เวชชาชีวะ

ประวัติ[แก้]

นิสสัย เวชชาชีวะ เกิดเมื่อวันที่ 1 เมษายน พ.ศ. 2475 เป็นบุตรของนายโฆสิต เวชชาชีวะ (น้องชายของพระบำราศนราดูร (หลง เวชชาชีวะ) อดีตปลัดกระทรวงสาธารณสุข และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข) กับนางสุเพี้ยน เวชชาชีวะ มีน้องชายที่มีชื่อเสียง 2 คน คือ ศาสตราจารย์ นายแพทย์ อรรถสิทธิ์ เวชชาชีวะ บิดาของนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ อดีตนายกรัฐมนตรี คนที่ 27 ของไทย และ วิทยา เวชชาชีวะ อดีตปลัดกระทรวงการต่างประเทศ

ด้านชีวิตครอบครัว นายนิสสัย เวชชาชีวะ สมรสกับนางมารินา เวชชาชีวะ มีบุตรชายคือ สุรนันทน์ เวชชาชีวะ

นิสสัย เวชชาชีวะ เข้ารับการศึกษาชั้นมัธยมศึกษาที่โรงเรียนอัสสัมชัญศรีราชา จากนั้นได้ไปศึกษาต่อที่สหรัฐอเมริกา จนสำเร็จการศึกษาปริญญาตรี สาขาเศรษฐศาสตร์ จากมหาวิทยาลัยบอสตัน และปริญญาโท จากมหาวิทยาลัยนิวยอร์ก และผ่านการศึกษาอบรมหลักสูตรของวิทยาลัยป้องกันราชอาณาจักร รุ่นที่ 17[1]

24 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2564 พระบาทสมเด็จพระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัว​ โปรดเกล้าโปรดกระหม่อม​ฯ พระราชทานเพลิงศพ ณ เมรุ วัดธาตุทองกรุงเทพมหานคร

การทำงาน[แก้]

งานการทูต[แก้]

นิสสัย เวชชาชีวะ เป็นข้าราชการพลเรือนสามัญ สังกัดกระทรวงการต่างประเทศ เคยดำรงตำแหน่ง หัวหน้ากองการหนังสือพิมพ์ กรมสารนิเทศ

ในวันที่ 1 พฤษภาคม พ.ศ. 2516 มีมติคณะรัฐมนตรีตั้งแต่เป็น ผู้อำนวยการสนธิสัญญาการป้องกันร่วมกันแห่งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ กรมองค์การระหว่างประเทศ [2]วันที่ 29 มกราคม พ.ศ. 2517 ได้รับแต่งตั้งเป็น ที่ปรึกษาสำนักงานปลัดกระทรวงการต่างประเทศ [3]วันที่ 1 ตุลาคม พ.ศ. 2517 ได้รับแต่งตั้งเป็นเอกอัครราชทูต ประจำกระทรวง สำนักงานปลัดกระทรวงต่างประเทศ[4]วันที่ 1 สิงหาคม พ.ศ. 2518 ได้รับแต่งตั้งเป็นอธิบดีกรมสารนิเทศ[5]

เอกอัครราชทูตหลายประเทศ ดำรงตำแหน่งสุดท้ายคือ เอกอัครราชทูต ณ กรุงสต็อกโฮล์ม โดยลาออกจากราชการ เมื่อวันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2534[6] ก่อนที่จะเกษียณอายุ

งานการเมือง[แก้]

นิสสัย เวชชาชีวะ ได้รับการแต่งตั้งเป็นโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี ในรัฐบาลของนายสัญญา ธรรมศักดิ์ ตั้งแต่ช่วงหลังเหตุการณ์ 14 ตุลา จนถึงปี พ.ศ. 2518 (ครม.33 และ ครม.34) และได้รับแต่งตั้งเป็นสมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาติ ในปี พ.ศ. 2516[7] ต่อมาได้รับแต่งตั้งเป็นที่ปรึกษารัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ (สุรเกียรติ์ เสถียรไทย) ในรัฐบาลของ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร และเป็นกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิในคณะกรรมการข้อมูลข่าวสารของราชการ ในวันที่ 3 กันยายน พ.ศ. 2545

ด้านการศึกษา[แก้]

นิสสัย เวชชาชีวะ เคยเป็นนายกสภาสถาบันราชภัฏมหาสารคาม[8]

เครื่องราชอิสริยาภรณ์[แก้]

อ้างอิง[แก้]

  1. "ศิษย์เก่าดีเด่นโรงเรียนอัสสัมชัญศรีราชา". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2009-04-17. สืบค้นเมื่อ 2012-01-25.
  2. มติคณะรัฐมนตรี
  3. http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2517/D/030/442.PDF
  4. http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2517/D/171/1.PDF
  5. http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2518/D/146/1.PDF
  6. ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง ให้ข้าราชการพลเรือนสามัญพ้นจากตำแหน่ง (นายนิสสัย เวชชาชีวะ)
  7. "พระบรมราชโองการ แต่งตั้งสมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาติ" (PDF). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2015-09-27. สืบค้นเมื่อ 2014-07-08.
  8. "ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง แต่งตั้งนายกสภาประจำสถาบันราชภัฏมหาสารคาม สถาบันราชภัฏพระนครศรีอยุธยา สถาบันราชภัฏอุบลราชธานี และสถาบันราชภัฏกำแพงเพชร (นายนิสัย เวชชาชีวะ, ศาสตราจารย์จรัส สุวรรณเวลา, นายภูษณ ปรีย์มาโนช, ศาสตราจารย์เกษม จันทร์แก้ว)" (PDF). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2021-05-25. สืบค้นเมื่อ 2021-05-25.
  9. ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ เก็บถาวร 2022-05-23 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๑๐๓ ตอนที่ ๑๒ ง ฉบับพิเศษ หน้า ๑, ๒๗ มกราคม ๒๕๒๙
  10. ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ เก็บถาวร 2022-09-27 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๙๗ ตอนที่ ๑๘๘ ง ฉบับพิเศษ หน้า ๓๗, ๕ ธันวาคม ๒๕๒๓
  11. ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเหรียญจักรมาลาและเหรียญจักรพรรดิมาลา[ลิงก์เสีย], เล่ม ๙๙ ตอนที่ ๑๘๔ ง ฉบับพิเศษ หน้า ๓๑๕๙, ๑๗ ธันวาคม ๒๕๒๕
  12. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเหรียญรัตนาภรณ์ เก็บถาวร 2022-11-24 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๑๐๔ ตอนที่ ๑๗๘ ง ฉบับพิเศษ หน้า ๑, ๗ กันยายน ๒๕๓๐