ภูวดล ทรงประเสริฐ

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
ภูวดล ทรงประเสริฐ บนเวทีของทางกลุ่มพันธมิตรฯ ในการชุมนุมเมื่อปี พ.ศ. 2551

ศาสตราจารย์ ภูวดล ทรงประเสริฐ (เกิด 21 มกราคม พ.ศ. 2493 [1] - ที่อำเภอฉวาง จังหวัดนครศรีธรรมราช) ศาสตราจารย์ระดับ 10[2] ประจำภาควิชาประวัติศาสตร์ คณะสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ เคยเป็นรองหัวหน้าภาควิชาประวัติศาสตร์ ​คณะสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ในเดือนธันวาคมปี พ.ศ. 2550 ถึง พฤศจิกายน ปี พ.ศ. 2554

ปัจจุบัน เกษียณอายุราชการแล้ว

ภูวดล ทรงประเสริฐ เกิดที่ตำบลจันดี อำเภอฉวาง จังหวัดนครศรีธรรมราช เข้าศึกษาระดับชั้นมัธยมศึกษาที่ โรงเรียนวัดสุทธิวราราม ปริญญาตรีและโทด้าน ประวัติศาสตร์ จากคณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ปริญญาเอก ด้านประวัติศาสตร์ จากมหาวิทยาลัยมอนาช ประเทศออสเตรเลีย

ภูวดล ทรงประเสริฐ เป็นผู้ที่เคลื่อนไหวทางด้านสังคมและการเมืองมาโดยตลอด ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2512 ขณะเรียนอยู่ปี 2 คณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เป็นนักวิชาการที่เชี่ยวชาญโดยเฉพาะทางด้านประวัติศาสตร์จีนและประวัติศาสตร์เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ เคยเขียนหนังสือเกี่ยวกับชาวจีนโพ้นทะเลหลายเล่ม เช่น ชาวจีนโพ้นทะเลในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ในปี พ.ศ. 2546 เป็นต้น และเป็นบุคคลแรกในประเทศไทยที่สอนวิชาประวัติศาสตร์เกาหลี

เป็นหนึ่งในนักวิชาการที่เข้าร่วมชุมนุมขับไล่ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร และเป็นขาประจำบนเวทีพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตยในการชุมนุมเมื่อปี พ.ศ. 2551 โดยเป็นที่ชื่นชอบอย่างมากของผู้ชุมนุม เพราะมีลีลาการปราศรัยที่เผ็ดร้อนและมีข้อมูลเชิงลึก แต่หลายครั้งก็เต็มไปด้วยอารมณ์และคำหยาบ จนกระทั่งหลังการปราศรัยเสร็จในคืนวันที่ 13 ตุลาคม พ.ศ. 2551 พล.ต.จำลอง ศรีเมือง หนึ่งในแกนนำของกลุ่มพันธมิตรฯได้ขึ้นเวทีไปตำหนิ และหลังจากนั้น ศ.ดร.ภูวดลก็มิได้ขึ้นเวทีของทางกลุ่มพันธมิตรฯอีกเลย แม้จะมีเสียงเรียกร้องจากผู้ชุมนุมก็ตาม[3] งานวิจัยที่สำคัญของอาจารย์ช่วยสร้างความรู้ความเข้าใจบทบาทของจีนโพ้นทะเลต่อการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมไทย ทุนจีนต่อการพัฒนาเศรษฐกิจดีบุกและยางพาราในภาคใต้ของประเทศไทย

เครื่องราชอิสริยาภรณ์[แก้]

อ้างอิง[แก้]

  1. http://www.gotomanager.com/news/details.aspx?id=7062
  2. http://eoffice.ku.ac.th/kuoffice/psdttj/BMW645.pdf
  3. น้อยใจโดน"จำลอง"ไล่"ลงเวที"ภูวดล"หายหน้า พธม.ฮาร์ดคอร์โหยหา[ลิงก์เสีย]
  4. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือกและเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย เก็บถาวร 2007-01-07 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๑๒๓ ตอนที่ ๒๓ ข หน้า ๑๓, ๑๘ ธันวาคม ๒๕๔๙
  5. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือกและเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย เก็บถาวร 2017-12-01 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๑๑๘ ตอนที่ ๒๒ ข หน้า ๔๖, ๔ ธันวาคม ๒๕๔๔
  6. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเหรียญจักรมาลาและเหรียญจักรพรรดิมาลา, เล่ม ๑๒๑ ตอนที่ ๔ ข หน้า ๒๑๗, ๑๐ มีนาคม ๒๕๔๗