ข้ามไปเนื้อหา

สโมสรฟุตบอลพิษณุโลก

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
พิษณุโลก เอฟซี
ชื่อเต็มสโมสรฟุตบอลพิษณุโลก
ฉายาขุนพลนเรศวร
ก่อตั้ง2004; 21 ปีที่แล้ว (2004)
( ทีมฟุตบอลจังหวัดพิษณุโลก )
2007; 18 ปีที่แล้ว (2007)
( สโมสรฟุตบอลพิษณุโลก หรือ พิษณุโลก เอฟซี)
2011; 14 ปีที่แล้ว (2011)
( พิษณุโลก ทีเอสวาย เอฟซี )
2015; 10 ปีที่แล้ว (2015)
( สโมสรฟุตบอลพิษณุโลก เอฟซี 2015)
2019; 6 ปีที่แล้ว (2019)
( สโมสรฟุตบอลพิษณุโลก เอฟซี)
สนามสนามกีฬาองค์การบริหารส่วนจังหวัดพิษณุโลก, อำเภอเมืองพิษณุโลก
จังหวัดพิษณุโลก
เจ้าของบริษัท สโมสรฟุตบอลพิษณุโลก จำกัด
ประธานศิริพงษ์ ฐาราชวงศ์ศึก
ผู้ฝึกสอนจงสฤษดิ์ วุฒิช่วย
ลีกไทยลีก 3
2566–67ไทยลีก 3 โซนภาคเหนือ, อันดับที่ 3

สโมสรฟุตบอลพิษณุโลก เป็นสโมสรฟุตบอลอาชีพในประเทศไทย โดยเป็นทีมจากจังหวัดพิษณุโลก ปัจจุบันเข้าร่วมการแข่งขันในไทยลีก 3 โซนภาคเหนือ

ประวัติ

[แก้]

พ.ศ. 2547-2550

[แก้]

ในอดีตที่ผ่านมามีทีมฟุตบอลมากมายที่ผลัดเปลี่ยนหมุนเวียนกันเข้าร่วมการแข่งขันในนามตัวแทนของจังหวัดพิษณุโลก เช่นการแข่งขันยามาฮ่าไทยแลนด์คัพ และการแข่งขันกีฬาแห่งชาติ เป็นต้น จนกระทั่งในปี 2547-2548 ทีมฟุตบอลจังหวัดพิษณุโลกได้เข้าร่วมการแข่งขันฟุตบอลโปรวิลเชี่ยลลีก ดิวิชั่น 2 โดยมี พล.ท.พิพัฒน์ เด็ดแก้ว เป็นผู้ก่อตั้งและควบคุมทีมในขณะนั้น โดยในครั้งนั้น ทีมฟุตบอลจังหวัดพิษณุโลกสามารถทำผลงานได้ดี โดยได้ตำแหน่งรองชนะเลิศการแข่งขันฟุตบอลโปรวิลเชี่ยลลีก ดิวิชั่น 2 รอบคัดเลือกโซนภาคเหนือ หลังจากที่ในนัดชิงชนะเลิศต้องพ่ายให้กับทีมฟุตบอลจังหวัดเชียงใหม่ไป 0-1 ที่จังหวัดพิจิตรเป็นเจ้าภาพ แต่ยังได้สิทธิเข้าไปเล่นในรอบสุดท้ายการแข่งขันฟุตบอลโปรวิลเชี่ยลลีก ดิวิชั่น 2 ระดับประเทศ ที่จังหวัดสกลนคร และสามารถทำผลงานได้อย่างยอดเยี่ยมโดยสามารถคว้าตำแหน่งชนะเลิศมาครองได้ โดยการเบียดชนะเจ้าภาพอย่างทีมฟุตบอลจังหวัดสกลนครมาได้ 1-0 ซึ่งส่งผลให้ทีมฟุตบอลจังหวัดพิษณุโลกได้โควตาขึ้นมาเล่นในการแข่งขันฟุตบอลโปรวิลเชี่ยลลีก ดิวิชั่น 1 ในปีถัดมา

ปี 2549 ทีมฟุตบอลจังหวัดพิษณุโลกได้เข้าร่วมการแข่งขันฟุตบอลไทยแลนด์โปรวิลเชี่ยลลีก ดิวิชั่น1 ซึ่งถือว่าเป็นลีกสูงสุดที่มีการกีฬาแห่งประเทศไทยเป็นผู้จัดการแข่งขัน โดยในปีนี้เองดูเหมือนจะเป็นการชิมลางการรวมลีกการแข่งขันของ 2 ลีกที่มาจาก การกีฬาแห่งประเทศไทย กับ สมาคมฟุตบอลแห่งประเทศไทย ซึ่งการแข่งขันฟุตบอลไทยแลนด์โปรวินเชี่ยลลีก ดิวิชั่น1 ประจำปี 2549 ได้ดึงแชมป์และรองแชมป์ของปีก่อนหน้านี้ อย่างทีมฟุตบอลจังหวัดชลบุรีกับทีมฟุตบอลจังหวัดสุพรรณบุรีขึ้นไปเล่นในระดับไทยแลนด์ลีกสูงสุด และส่งทีมอย่าง ทีโอทีกับการท่าเรือฯ ในชุดที่ถือว่าเป็นชุดบีเข้าร่วมการแข่งขันฟุตบอลไทยแลนด์โปรวินเชี่ยลลีก ดิวิชั่น1 อีกด้วย โดยในปีนั้นได้มีกฎให้ทุกทีมที่เข้าร่วมแข่งขันจะต้องมีตราสัญลักษณ์ประจำสโมสร ดังนั้น ทีมฟุตบอลจังหวัดพิษณุโลก จึงได้มีตราสัญลักษณ์ประจำสโมสรเป็นครั้งแรก และใช้สนามกีฬากลางจังหวัดพิษณุโลกเป็นสนามเหย้า โดยในฤดูกาลนั้นทีมฟุตบอลจังหวัดพิษณุโลกทำผลงานจบลงด้วยอันดับที่ 6 ของตารางการแข่งขัน

ปี 2550 ทีมฟุตบอลจังหวัดพิษณุโลกได้จดทะเบียนเป็นบริษัทนิติบุคคลในนาม สโมสรฟุตบอลพิษณุโลก หรือ พิษณุโลก เอฟซี (PHITSANULOK FOOTBALL CLUB) โดยมี พล.ท.พิพัฒน์ เด็ดแก้ว เป็นประธานสโมสร ซึ่งในปีนั้นได้มีการรวมลีกการแข่งขันอย่างเป็นทางการของการกีฬาแห่งประเทศไทยกับสมาคมฟุตบอลแห่งประเทศไทยเป็นครั้งแรก โดย พิษณุโลก เอฟซี ได้เข้าร่วมในการแข่งขันฟุตบอลไทยแลนด์ลีก ดิวิชั่น 1 ประจำปี 2550 สายบี โดยมี ไทยแลนด์พรีเมียร์ลีกเป็นลีกสูงสุด แต่ก่อนจะเปิดฤดูกาลสโมสรเกือบได้รับโอกาสเข้าไปแข่งขันเพลย์ออฟเพื่อหาอีก 1 ทีมขึ้นไปเล่นในไทยแลนด์พรีเมียร์ลีก แต่ข้อสรุปกลับให้เป็นทีมจังหวัดนครปฐม (นครปฐม ฮันเตอร์ เอฟซี) ทีมอันดับ 3 จากปีก่อน ขึ้นไปเล่นแทนในท้ายที่สุด

ในช่วงครึ่งฤดูกาลแรก พิษณุโลก เอฟซี สามารถทำผลงานได้อย่างยอดเยี่ยม โดยมีโอกาสที่จะเบียดแย่งตำแหน่งแชมป์กลุ่มกับทีมฟุตบอลจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย แต่ก็ต้องไปพ่ายที่บ้านของจุฬาลงกรณ์ 3-0 จึงมีโอกาสเพียงแค่ทำอันดับสูงสุดเป็นสถิติอยู่ที่อันดับ 2 เท่านั้น แต่ในเลกที่ 2 นี่เองที่สโมสรเริ่มประสบปัญหาในด้านการเงินจึงส่งผลให้ผลงานของสโมสรเริ่มตกต่ำลงมาตามลำดับจนต้องอยู่ในสถานการณ์ของการหนีตกชั้นอย่างไม่น่าเชื่อ ซึ่งในปีนั้นจะมีทีมที่ต้องตกชั้นถึงสายละ 5 ทีมด้วยกัน แต่สุดท้ายภายใต้การบริหารของ พล.ท.พิพัฒน์ เด็ดแก้ว ที่พยายามประคับประคองสโมสรให้อยู่รอด จึงทำให้สโมสรสามารถคว้าอันดับที่ 5 ของสายบี รอดพ้นการตกชั้นที่ต้องลุ้นกันจนถึงนัดสุดท้ายอย่างหวุดหวิด ด้วยการเอาชนะ ฉะเชิงเทรา เอฟซี ไปด้วยสกอร์ 7-0 โดยในนัดนั้นสโมสรใช้สนามกีฬาพระองค์ดำในบริเวณมหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงครามส่วนทะเลแก้วเป็นสนามเหย้า

พ.ศ. 2551-2560

[แก้]

ปี 2551 พิษณุโลก เอฟซี ได้มีการเปลี่ยนตราสัญลักษณ์ประจำสโมสร แต่สถานการณ์ของสโมสรก็ยังไม่ดีขึ้นโดยยังมีปัญหาทางด้านการเงินติดตามมาจากปีก่อน ทำให้ต้องเสียผู้เล่นฝีเท้าดีหลายคนออกจากทีมไปและส่งผลให้สโมสรทำผลงานได้อย่างตกต่ำ โดยอยู่ที่อันดับที่ 16 ซึ่งเป็นอันดับสุดท้ายของตารางต้องตกชั้นลงไปเล่นในดิวิชั่น 2 ในปีถัดไป สำหรับสนามเหย้าที่ใช้การแข่งขันในเลกแรกของฤดูกาลนั้นยังเป็น สนามกีฬาพระองค์ดำ ในบริเวณมหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงครามส่วนทะเลแก้ว ภายหลังในเลกที่ 2 จึงได้ย้ายกลับมาใช้ สนามกีฬาจังหวัดพิษณุโลก เป็นสนามเหย้า

ปี 2552 พิษณุโลก เอฟซี ยังมีโอกาสที่จะหนีรอดการตกชั้นเพื่อที่จะหาทีมไปเล่นแทนสโมสรฟุตบอลธนาคารกรุงเทพที่ต้องยุบสโมสรไป ด้วยการต้องไปแข่งขันเพลย์ออฟกับอีก 3 ทีม คือ สโมสรฟุตบอลราชวิถี, สโมสรฟุตบอลฮอนด้า และสมาคมกีฬาจังหวัดนครสวรรค์ แต่ท้ายที่สุดสโมสรก็ต้องผิดหวังเมื่อต้องพ่ายให้กับสมาคมกีฬาจังหวัดนครสวรรค์ไป 1-2 ที่สนามกีฬากลางจังหวัดพิจิตร ซึ่งทำให้สโมสรต้องตกชั้นลงมาเล่นใน ดิวิชั่น 2 ลีกภูมิภาค โซนภาคเหนือ อย่างแน่นอน สำหรับผลงานในปีนี้ พิษณุโลก เอฟซี ทำผลงานได้ไม่ดีนักจนทำให้ พล.ท.พิพัฒน์ เด็ดแก้ว ต้องวางมือให้กลุ่มผู้บริหารชุดใหม่เข้ามาทำทีมแทน โดยสุดท้ายสโมสรจบฤดูกาลที่อันดับ 6 ของตารางลีกภูมิภาค โซนภาคเหนือ

ปี 2553 พิษณุโลก เอฟซี ยังทำผลงานในลีกภูมิภาคได้ไม่ดีนักจากการขาดความพร้อมในหลายๆ ด้าน ทั้งด้านการบริหารจัดการและความมุ่งมั่นของตัวผู้เล่น ส่งผลให้สโมสรทำผลงานได้แย่กว่าปีก่อน โดยจบฤดูกาลที่อันดับ 7 ของตารางลีกภูมิภาค โซนภาคเหนือ

ปี 2554 พิษณุโลก เอฟซี สามารถทำผลงานได้ดีด้วยสถิติไม่แพ้ใครในเลกที่ 1 และในเลกที่ 2 สโมสรได้ บริษัท ไทยเส็งยนต์การเกษตร จำกัด เข้ามาเป็นผู้สนับสนุนทางการเงินแก่สโมสร พร้อมเปลี่ยนชื่อสโมสรจาก พิษณุโลก เอฟซี เป็น พิษณุโลก ทีเอสวาย เอฟซี ตั้งแต่การแข่งขันในเลกที่ 2 เป็นต้นไป ซึ่งสโมสรสามารถทำผลงานได้ดีอย่างต่อเนื่องจนสามารถจบฤดูกาลได้ด้วยการชนะเลิศ ลีกภูมิภาค โซนภาคเหนือ (แพ้เพียงนัดเดียวจากการแข่งขันทั้งหมด 30 นัด) ได้สิทธิ์เข้าไปแข่งขันในรอบแชมป์เปี้ยนลีก ส่วนผลการแข่งขันรอบแชมป์เปี้ยนลีกนั้น สโมสรจบการแข่งขันด้วยการได้อันดับที่ 4 ของกลุ่ม A พลาดการเลื่อนชั้นขึ้นสู่ดิวิชั่น 1 อย่างน่าเสียดาย

ปี 2555 พิษณุโลก ทีเอสวาย เอฟซี มีการเปลี่ยนแปลงหลายด้านทั้งฝ่ายจัดการและผู้เล่นของสโมสร โดยมีการปรับเปลี่ยนหัวหน้าผู้ฝึกสอนเป็น นายไพบูลย์ เลิศวิมลรัตน์ ส่วนนายสิทธิพล เอี่ยมสง่า หรือโค้ชโหน่ง ให้ดำรงตำแหน่งประธานฝ่ายเทคนิค ส่วนผู้จัดการทีมยังคงเดิมคือ พ.ต.ท.ชาญชัย หาแก้ว และมีการรับนักเตะใหม่เข้ามาเสริมทีมอีกจำนวน 21 คน เพื่อทดแทนนักเตะเดิมที่ขอย้ายทีมออกไป (ส่วนใหญ่ย้ายไปอยู่กับ นครสวรรค์ เอฟซี) พร้อมสร้างนักเตะหน้าใหม่ซึ่งเป็นคนพิษณุโลกเข้าสู่ทีมชุดใหญ่อีก 3 คน คือ อานนท์ แก้วอ่วม, เอกภาพ แกล้วกสิกิจ และ สราวุฒิ อิ่มอรชร สำหรับในด้านงบประมาณในปี 2555 ทางสโมสรได้ตั้งไว้ถึง 12 ล้านบาท โดยภาครัฐได้รับการสนับสนุนจากจังหวัดพิษณุโลก, องค์การบริหารส่วนจังหวัดพิษณุโลก และเทศบาลนครพิษณุโลก ส่วนผู้สนับสนุนหลักภาคเอกชน ได้แก่ ไทยเส็งยนต์การเกษตร, กลุ่มแกรนด์สปอต, กลุ่มอีซูซุฮกอันตึ้ง, เอสเอ็นเอ็นลิสซิ่ง, เอไอเอ และไอเดียเฟอร์นิเจอร์ โดยในปี 2555 สโมสรวางเป้าหมายในการเข้าสู่รอบแชมป์เปี้ยนลีกเพื่อเลื่อนชั้นขึ้นไปเล่นในศึกดิวิชั่น 1 ในฤดูกาลหน้าต่อไป นอกจากนี้ ทางสโมสรยังได้เปิดตัวแมสคอตใหม่ 2 ตัว ที่จะออกมาร่วมเชียร์กับเหล่าบรรดาแฟนบอลที่ข้างสนาม คือ "ช้างศึก" เป็นแมสคอตช้างสีม่วงที่สวมเสื้อแข่งของสโมสร และ "Violo" แมสคอตขุนศึกที่พร้อมรบในทุกสนามแข่ง ซึ่งคาดว่าจะสามารถสร้างสีสันในการแข่งขันได้ไม่น้อยและจะเป็นที่รักของเหล่าแฟนบอลของสโมสรอย่างแน่นอน

สำหรับผลการแข่งขันฤดูกาล 2555 สโมสรสามารถจบฤดูกาลในอันดับ 2 ของลีกภูมิภาค โซนภาคเหนือ (อันดับ 1 ได้แก่ สโมสรเชียงใหม่ เอฟซี) ได้สิทธิ์เข้าไปแข่งขันในรอบแชมป์เปี้ยนลีก ส่วนผลการแข่งขันรอบแชมป์เปี้ยนลีกนั้น สโมสรจบการแข่งขันด้วยการได้อันดับที่ 3 ของกลุ่ม A โดยมี คะแนน+เฮดทูเฮด+ประตูได้เสีย เท่ากับสโมสรระยอง ยูไนเต็ด ทำให้ต้องตัดสินด้วยจำนวนประตูที่ยิงได้ โดยสโมสรสามารถยิงประตูได้ 10 ประตู ซึ่งน้อยกว่าสโมสรระยอง ยูไนเต็ดที่ยิงได้ 13 ประตู ทำให้สโมสรระยอง ยูไนเต็ดได้สิทธิเลื่อนชั้นสู่ไทยลีก ดิวิชั่น 1 ในฤดูกาล 2556 ไปครอง

ปี 2555 พิษณุโลก ทีเอสวาย เอฟซี ภายใต้การนำของกุนซือใหญ่ เทเวศน์ กมลศิลป์ มีความพร้อมในทุกๆ ด้านมากกว่าทุกปีที่ผ่านมา ทั้งศักยภาพของทีมงาน หัวหน้าคณะผู้ฝึกสอน และนักเตะที่มีความสามารถ โดยเฉพาะกองเชียร์ของสโมสรที่ติดตามให้กำลังใจนักเตะขุนพลนเรศวรมาตลอด ซึ่งจะเป็นแรงสนับสนุนสำคัญที่จะทำให้สโมสรก้าวสู่ ไทยลีก ดิวิชั่น 1 ในปีนี้ ซึ่งในปี 2556 สโมสรใช้งบประมาณในการทำทีมประมาณ 14 ล้านบาท โดยได้รับการสนับสนุนจากทั้งภาคเอกชน และ อบจ.พิษณุโลก เป็นอย่างดี นอกจากนี้ ในปี 2556 สโมสรยังมีแผนในการพัฒนาทีมเยาวชนของสโมสรและส่งเข้าแข่งขันตามลีกต่างๆ เพื่อเฟ้นหานักเตะดาวรุ่งมาเป็นกำลังสำคัญของสโมรสรในระยะยาว และยังมีโครงการเปิดคลินิกฟุตบอลเพื่อเสริมทักษะฟุตบอลให้กับเยาวชนชาวพิษณุโลกเพิ่มเติมอีกด้วย

สำหรับผลการแข่งขันฤดูกาล 2556 สโมสรสามารถจบฤดูกาลในอันดับ 2 ของลีกภูมิภาค โซนภาคเหนือ (อันดับ 1 ได้แก่ สโมสรเชียงใหม่ เอฟซี) ได้สิทธิ์เข้าไปแข่งขันในรอบแชมป์เปี้ยนลีก ส่วนผลการแข่งขันรอบแชมป์เปี้ยนลีกนั้น สโมสรจบการแข่งขันด้วยการได้อันดับที่ 2 ของกลุ่ม A (อันดับ 1 ได้แก่ สโมสรร้อยเอ็ด เอฟซี)โดยมีคะแนนทิ้งห่างทีมอันดับ 3 และ 4 อย่างสโมสร ม.เกษตรศาสตร์ และ นรา ยูไนเต็ด ถึง 7 คะแนน พร้อมกับทำสถิติชนะรวดในบ้านถึง 5 นัด ทำให้สโมสรได้สิทธิเลื่อนชั้นสู่ ไทยลีก ดิวิชั่น 1 ในฤดูกาล 2557 ในที่สุด สำหรับการแข่งขันเพื่อชิงอันอับ 3 ของลีกภูมิภาค สโมสรสามารถเอาชนะ สโมสรอ่างทอง เอฟซี ด้วยประตูรวม 3 - 2 คว้าอันดับ 3 พร้อมกับเงินรางวัล 500,000 บาท ไปครอง

พ.ศ. 2561-ปัจจุบัน

[แก้]

สนามเหย้า

[แก้]
สนามกีฬาจังหวัดพิษณุโลก
"ช้างชนะศึก" กับ "Violo" ตุ๊กตาประจำสโมสร

สโมสรพิษณุโลกใช้สนามกีฬาจังหวัดพิษณุโลกเป็นสนามเหย้า ตั้งอยู่บนถนนพิษณุโลก-วัดโบสถ์ (ถนนเอกาทศรถ) ใกล้กับโรงเรียนเตรียมอุดมศึกษาภาคเหนือ คุณภาพของที่นั่งอัฒจันทร์ ซึ่งมีถึง 3 ฝั่ง มีการต่อเติมเพื่อรองรับแฟนบอลได้สูงถึง 5,200 คน แยกออกเป็นฝั่งมีหลังคาซึ่งจะมีเก้าอี้ส่วนตัวสามารถจุแฟนบอลได้ 1,200 คน ฝั่งตรงข้ามกระถางคบเพลิงไม่มีหลังคาสามารถจุแฟนบอลได้ 2,500 คน และฝั่งแปรอักษรหลังประตูทิศเหนือสามารถจุแฟนบอล 1,500 คน โดยปัจจุบันได้มีการปรับปรุงโดยทาสีใหม่เพื่อความสวยงาม นอกจากนี้ในอนาคตสนามกีฬา องค์การบริหารส่วนจังหวัดพิษณุโลก สนามเหย้าของทีม "ขุนพลนเรศวร" ยังมีโครงการที่จะปรับสร้างอัฒจันทร์เพิ่มเติมให้รอบสนามอีกด้วย เพื่อรองรับแฟนบอลของทีมที่จะเพิ่มขึ้นในอนาคต ซึ่งเป็นโครงการระยะเวลาอันใกล้นี้ด้วยงบประมาณของ องค์การบริหารส่วนจังหวัดพิษณุโลก

ด้านพื้นสนามหญ้าได้รับการดูแลรักษาเป็นอย่างดี ส่วนห้องต่าง ๆ สำหรับนักกีฬาและเจ้าหน้าที่ ประกอบด้วย ห้องพักนักกีฬาซึ่งมีห้องอาบน้ำและห้องน้ำในตัวทั้งสองฝั่ง ห้องรับรองห้องประชุมต่าง ๆ โดยมีการดัดแปลงเป็นสำนักงานและออฟฟิศขนาดย่อม ก่อนหน้านี้สนามกีฬาจังหวัดพิษณุโลกเคยถูกใช้เป็นสนามหลักในการแข่งขันกีฬาแห่งชาติครั้งที่ 37 (พิษณุโลกเกมส์) เมื่อปี พ.ศ. 2551

ผู้เล่น

[แก้]

ผู้เล่นชุดปัจจุบัน

[แก้]

หมายเหตุ: ธงชาติที่ปรากฏบ่งบอกให้ทราบว่าผู้เล่นคนนั้นสามารถเล่นให้กับชาติใดตามกฎของฟีฟ่าตามความเหมาะสม เพราะผู้เล่นบางคนอาจถือสองสัญชาติ

เลข ตำแหน่ง สัญชาติ ผู้เล่น
3 DF ไทย อนุยุต หมัดเหล็ม
4 DF ไทย พิษณุ สีบุตรา
5 MF ไทย นภัทร ดีประเสริฐ
6 DF ไทย ชมพู แสงโพธิ์
7 FW เกาหลีใต้ โช อู-ฮย็อก
8 MF รัสเซีย เอริค ซาเอรโค
10 MF ไทย ทิวากร ศรีกัน
11 FW ไทย จีราชัย ละดาดก
13 MF ไทย กฤษณะ ต่ายวัลย์
15 GK ไทย พีรเดช บุญเข็ม
16 MF ไทย อานุภาพ อ่องลออ
17 DF ไทย ยุวราช ดำสูงเนิน (กัปตันทีม)
18 MF ไทย ธวัชชัย อุปนันท์
19 DF ไทย มฆวัน เกิดอนันต์
22 DF ไทย ชวัลธนันชัย ศิริชู
23 GK ไทย แสงเพชร ภูคลองโยง
เลข ตำแหน่ง สัญชาติ ผู้เล่น
24 MF ไทย ชยพล ฉวีจันทร์
25 FW ไนจีเรีย วิกเตอร์ อาซิเก
27 DF ไทย รัฐพล หอมมาลา
28 DF ไทย ศักดิ์พล ประสิทธิ์สุวรรณ
30 FW ไทย สิรภัทร พรมลี
31 GK ไทย ไกรวิชญ์ สันมะโน
35 FW ไทย อานนท์ บุษผา
36 MF ไทย กิตติชัย มาตรศาลา
37 FW ไทย จักรกฤษ นิยมสุข
39 MF ไทย ณัฐวุฒิ เนื้อไม้
40 DF ไทย วันชนะ รัตนะ
42 DF ไทย พงศภัค ดวงใหญ่
71 MF ไทย ณัฐพัชร์ น้อยนอนเมือง
92 GK ไทย จตุรงค์ สิงจานุสงค์
99 FW ไทย อนุรักษ์ ยืนหาร

รายชื่อผู้ฝึกสอน

[แก้]

ตั้งแต่ พ.ศ. 2563 – ปัจจุบัน

ชื่อ-สกุล สัญชาติ ช่วงเวลา เกียรติประวัติ
อภิชาติ โมสิกะ ไทย 2563 – เมษายน 2564
ชำนาญ แพรขุนทด ไทย เมษายน – พฤศจิกายน 2564
ดาเมียน เบลลอง สวิตเซอร์แลนด์ ธันวาคม 2564 – กุมภาพันธ์ 2565
กฤษณะ ต่ายวัลย์
กฤษณ์ ภิญโญ
ไทย
ไทย
กุมภาพันธ์ – เมษายน 2565 รองชนะเลิศ ไทยลีก 3 ฤดูกาล 2564–65 – โซนภาคเหนือ
อันดับที่ 4 ไทยลีก 3 ฤดูกาล 2564–65 – รอบระดับประเทศ
อดุล หละโสะ ไทย มิถุนายน – ธันวาคม 2565
ศุภชัย กลางกระแส
กฤษณะ ต่ายวัลย์
ไทย
ไทย
ธันวาคม 2565 – มีนาคม 2566 ชนะเลิศ ไทยลีก 3 ฤดูกาล 2565–66 – โซนภาคเหนือ
จงสฤษดิ์ วุฒิช่วย ไทย มีนาคม – พฤษภาคม 2566
อานนท์ บรรดาศักดิ์ ไทย มิถุนายน – ตุลาคม 2566
วิมล จันทร์คำ ไทย ตุลาคม 2566 – ตุลาคม 2567
กฤษณะ ต่ายวัลย์ ไทย ตุลาคม – พฤศจิกายน 2567
จงสฤษดิ์ วุฒิช่วย ไทย พฤศจิกายน 2567 –

ผลงานแบ่งตามฤดูกาล

[แก้]

ผลงานแบ่งตามรายการแข่งขัน

[แก้]
ฤดูกาล/พ.ศ. ลีก ไทยเอฟเอคัพ ไทยลีกคัพ ไทยลีก 3 คัพ
ระดับ อันดับ
2548
โปรลีก 2 ชนะเลิศ
2549
โปรลีก อันดับ 6
2550
ไทยลีก ดิวิชัน 1 สาย B อันดับ 5
2551
ไทยลีก ดิวิชัน 1 อันดับ 16 (ตกชั้นสู่ ไทยลีก ดิวิชัน 2)
2552
ไทยลีก ดิวิชัน 2 ลีกภูมิภาค โซนภาคเหนือ อันดับ 6 รอบคัดเลือก รอบแรก
2553
ไทยลีก ดิวิชั่น 2 ลีกภูมิภาค โซนภาคเหนือ อันดับ 7 ไม่ได้เข้าร่วมการแข่งขัน รอบ 64 ทีม
2554
ไทยลีก ดิวิชั่น 2 ลีกภูมิภาค โซนภาคเหนือ ชนะเลิศ (เข้ารอบแชมเปี้ยนลีก) รอบคัดเลือก รอบ 3 รอบคัดเลือก รอบแรก
ไทยลีก ดิวิชั่น 2 ลีกภูมิภาค รอบแชมเปี้ยนลีก กลุ่ม A อันดับ 4
2555
ไทยลีก ดิวิชั่น 2 ลีกภูมิภาค โซนภาคเหนือ อันดับ 2 (เข้ารอบแชมเปี้ยนลีก) ไม่ได้เข้าร่วมการแข่งขัน รอบคัดเลือก รอบแรก
ไทยลีก ดิวิชั่น 2 ลีกภูมิภาค รอบแชมเปี้ยนลีก กลุ่ม A อันดับ 3
2556
ไทยลีก ดิวิชั่น 2 ลีกภูมิภาค โซนภาคเหนือ อันดับ 2 (เข้ารอบแชมเปี้ยนลีก) ไม่ได้เข้าร่วมการแข่งขัน รอบ 64 ทีม
ไทยลีก ดิวิชั่น 2 ลีกภูมิภาค รอบแชมเปี้ยนลีก กลุ่ม A อันดับ 2 (เลื่อนชั้นสู่ ไทยลีก ดิวิชั่น 1)
ไทยลีก ดิวิชั่น 2 ลีกภูมิภาค รอบชิงชนะเลิศ อันดับ 3
2557
ไทยลีก ดิวิชั่น 1 อันดับ 16 รอบคัดเลือก รอบ 2 รอบ 64 ทีม
2561
ไทยลีก 4 โซนภาคเหนือ อันดับ 3
2562
ไทยลีก 4 โซนภาคเหนือ อันดับ 4 รอบคัดเลือก รอบคัดเลือก รอบแรก
2563–64
ไทยลีก 3 โซนภาคเหนือ อันดับ 3 รอบคัดเลือก รอบคัดเลือก รอบสอง
ไทยลีก 3 รอบแชมเปียนส์ลีก โซนตอนบน[1] อันดับ 5
2564–65
ไทยลีก 3 โซนภาคเหนือ อันดับ 2 (เข้ารอบแชมเปี้ยนลีก) รอบ 32 ทีม รอบ 32 ทีม
ไทยลีก 3 รอบแชมเปี้ยนส์ลีก โซนบน อันดับ 2 (เข้ารอบชิงอันดับที่สาม)
ไทยลีก 3 รอบระดับประเทศ นัดชิงอันดับที่สาม อันดับ 4
2565–66
ไทยลีก 3 โซนภาคเหนือ ชนะเลิศ (เข้ารอบแชมเปี้ยนลีก) รอบ 16 ทีมสุดท้าย รอบ 16 ทีมสุดท้าย
ไทยลีก 3 รอบแชมเปี้ยนส์ลีก โซนบน อันดับ 3
2566–67
ไทยลีก 3 โซนภาคเหนือ อันดับ 3 รอบ 64 ทีมสุดท้าย รอบเพลย์ออฟ รอบ 32 ทีมสุดท้าย
2567–68
ไทยลีก 3 โซนภาคเหนือ รอบ 64 ทีมสุดท้าย รอบคัดเลือกรอบสอง

ผลงานในลีกแบ่งตามฤดูกาล

[แก้]
ฤดูกาล ระดับ แข่ง ชนะ เสมอ แพ้ ประตูได้ ประตูเสีย คะแนน อันดับ
2549 โปรลีก 30 11 9 10 44 38 42 6
2550 ไทยลีก ดิวิชัน 1 สาย B 22 7 8 7 29 26 29 5
2551 ไทยลีก ดิวิชัน 1 30 4 6 20 31 76 18 16
2552 ไทยลีก ดิวิชั่น 2 ลีกภูมิภาค โซนภาคเหนือ 20 6 7 7 32 33 25 6
2553 ไทยลีก ดิวิชั่น 2 ลีกภูมิภาค โซนภาคเหนือ 30 13 7 10 36 27 46 7
2554 ไทยลีก ดิวิชั่น 2 ลีกภูมิภาค โซนภาคเหนือ 30 22 7 1 56 13 73 1
ไทยลีก ดิวิชั่น 2 ลีกภูมิภาค รอบแชมเปี้ยนลีก กลุ่ม A 10 4 1 5 13 14 13 4
2555 ไทยลีก ดิวิชั่น 2 ลีกภูมิภาค โซนภาคเหนือ 34 21 11 2 51 18 74 2
ไทยลีก ดิวิชั่น 2 ลีกภูมิภาค รอบแชมเปี้ยนลีก กลุ่ม A 10 4 2 4 10 10 14 3
2556 ไทยลีก ดิวิชั่น 2 ลีกภูมิภาค โซนภาคเหนือ 30 18 9 3 51 16 63 2
ไทยลีก ดิวิชั่น 2 ลีกภูมิภาค รอบแชมเปี้ยนลีก กลุ่ม A 10 6 1 3 12 7 19 2
2557 ไทยลีก ดิวิชั่น 1 21 6 7 8 25 34 25 14
2561 ไทยลีก 4 โซนภาคเหนือ 18 9 2 7 32 22 29 3
2562 ไทยลีก 4 โซนภาคเหนือ 27 12 9 6 43 25 45 4
2563–64 ไทยลีก 3 โซนภาคเหนือ 14 10 2 2 25 8 32 3
2564–65 ไทยลีก 3 โซนภาคเหนือ 22 11 8 3 28 15 41 2
ไทยลีก 3 รอบแชมเปี้ยนส์ลีก โซนบน 5 4 0 1 9 4 12 2
2565–66 ไทยลีก 3 โซนภาคเหนือ 22 17 5 0 60 17 56 1
ไทยลีก 3 รอบแชมเปี้ยนส์ลีก โซนบน 5 3 1 1 11 10 10 3
2566–67 ไทยลีก 3 โซนภาคเหนือ 20 10 8 2 43 22 38 3
ชนะเลิศ รองชนะเลิศ เลื่อนชั้น ตกชั้น

เกียรติประวัติ

[แก้]
  • ไทยลีก 3
    • อันดับที่ 4 ระดับประเทศ : 2564–65
    • ชนะเลิศ โซนภาคเหนือ : 2565–66
    • รองชนะเลิศ โซนภาคเหนือ : 2564–65

อ้างอิง

[แก้]

แหล่งข้อมูลอื่น

[แก้]