สำนักข่าวกรองแห่งชาติ
National Intelligence Agency | |
ภาพรวมสำนัก | |
---|---|
ก่อตั้ง | 1 มกราคม พ.ศ. 2497 |
สำนักก่อนหน้า |
|
ประเภท | ส่วนราชการ |
เขตอำนาจ | ภาคกลาง |
สำนักงานใหญ่ | เลขที่ 321 วังปารุสกวัน ถนนราชดำเนินนอก แขวงดุสิต เขตดุสิต กรุงเทพมหานคร 10300[1] |
บุคลากร | 790 คน (พ.ศ. 2566)[2] |
งบประมาณต่อปี | 715,172,300 บาท (พ.ศ. 2568)[3] |
ฝ่ายบริหารสำนัก |
|
ต้นสังกัดสำนัก | สำนักนายกรัฐมนตรี |
เว็บไซต์ | เว็บไซต์ของสำนักข่าวกรองแห่งชาติ |
สำนักข่าวกรองแห่งชาติ (อักษรย่อ: สขช.) (อังกฤษ: National Intelligence Agency: NIA) เป็นหน่วยงานราชการระดับกรม ในสังกัดสำนักนายกรัฐมนตรี เป็นหน่วยข่าวพลเรือนระดับชาติหน่วยเดียวของประเทศไทย มีผู้อำนวยการเป็นข้าราชการพลเรือนสามัญ
สำนักข่าวกรองแห่งชาติมีสำนักงานตั้งอยู่ภายในที่ดินของวังปารุสกวัน ที่ถนนราชดำเนินนอก แขวงดุสิต เขตดุสิต กรุงเทพมหานคร
ประวัติ
[แก้]สำนักข่าวกรองแห่งชาติ เกิดขึ้นในช่วงที่ต่างประเทศเริ่มมีการพัฒนาองค์การข่าวกรองอย่างจริงจัง ทำให้รัฐบาลในสมัยของจอมพล ป. พิบูลสงคราม เล็งเห็นว่าประเทศไทยจำเป็นจะต้องมีหน่วยงานของรัฐที่กำกับดูแลและดำเนินการเกี่ยวกับข่าวสารต่าง ๆ ทั้งในทางปกติและทางลับ
รัฐบาลจึงได้จัดตั้ง กรมประมวลราชการแผ่นดิน สังกัดทบวงคณะรัฐมนตรีฝ่ายการเมืองขึ้น เมื่อวันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2497 โดยได้มีการแต่งตั้งให้พลตำรวจเอก เผ่า ศรียานนท์ อธิบดีกรมตำรวจในขณะนั้น เป็นอธิบดีกรมประมวลราชการแผ่นดินคนแรก (อีกตำแหน่งหนึ่ง)
ต่อมาในสมัยจอมพล สฤษดิ์ ธนะรัชต์ ได้มีการเปลี่ยนชื่อกรมประมวลราชการแผ่นดินเป็น กรมประมวลข่าวกลาง เมื่อวันที่ 2 ธันวาคม พ.ศ. 2502 และมีการเปลี่ยนชื่ออีกครั้งในรัฐบาลของพลเอก เปรม ติณสูลานนท์ เป็น สำนักข่าวกรองแห่งชาติ ตั้งแต่วันที่ 30 สิงหาคม พ.ศ. 2528 มีฐานะเป็นหน่วยข่าวแห่งชาติ ขึ้นตรงต่อนายกรัฐมนตรี
อำนาจหน้าที่
[แก้]สำนักข่าวกรองแห่งชาติ มีอำนาจหน้าที่ตามพระราชบัญญัติดังนี้[4]
- มาตรา 5 พระราชบัญญัติข่าวกรองแห่งชาติ พ.ศ. 2562
- พระราชบัญญัติข้อมูลข่าวสารของราชการ พ.ศ. 2540
- ระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยการรักษาความปลอดภัยแห่งชาติ พ.ศ. 2552
- ระเบียบว่าด้วยการรักษาความลับของทางราชการ พ.ศ. 2544
จากพระราชบัญญัติที่เกี่ยวข้องดังกล่าว อำนาจหน้าที่ของสำนักข่าวกรองแห่งชาติ เป็นการปฏิบัติงานด้านข่าวกรอง การต่อต้านข่าวกรอง ข่าวกรองด้านการสื่อสารและการรักษาความปลอดภัยของภาคพลเรือน การติดตามสถานการณ์ทั้งภายในและในต่างประเทศที่มีผลกระทบต่อความมั่นคง เพื่อรายงานต่อนายกรัฐมนตรีและสภาความมั่นคงแห่งชาติ รวมถึงกระจายข่าวกรองที่มีผลกระทบต่อความมั่นคงของชาติไปยังหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในการใช้งานเพื่อความเหมาะสม เป็นหน่วยงานกลางของประเทศในการประสานกิจการข่าวกรอง และเสนอนโยบายรวมถึงมาตรการในด้านข่าวกรองและการต่อต้านข่าวกรอง การรักษาความปลอดภัยภาคพลเรือต่อนายกรัฐมนตรี สภาความมั่นคงแห่งชาติ รวมถึงหน่วยงานราชการและรัฐวิสาหกิจ
โครงสร้าง
[แก้]สำนักข่าวกรองแห่งชาติ ประกอบด้วย 4 ส่วน[5] ดังนี้
- ภารกิจข่าวกรองและต่อต้านข่าวกรองในประเทศ
- สำนัก 1
- สำนัก 2
- สำนัก 3
- สำนัก 4
- สำนัก 5
- สำนัก 6
- ภารกิจข่าวกรองและต่อต้านข่าวกรองต่างประเทศ
- สำนัก 7
- สำนัก 8
- สำนัก 9
- ภารกิจข่าวกรองและต่อต้านข่าวกรองทางเทคนิค
- สำนัก 11
- ศูนย์เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร
- กอง 1
- กอง 2
- ภารกิจบริหาร
- สำนัก 10
- สำนักอำนวยการ
- สถาบันการข่าวกรอง
อ้างอิง
[แก้]- ↑ "ติดต่อสำนักข่าวกรองแห่งชาติ". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2020-09-29. สืบค้นเมื่อ 2018-12-24.
- ↑ รายงานประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2566 สำนักข่าวกรองแห่งชาติ
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, พระราชบัญญัติงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๖๘, เล่ม ๑๔๑ ตอนที่ ๕๙ ก หน้า ๓, ๓๐ กันยายน ๒๕๖๗
- ↑ "อำนาจหน้าที่ของสำนักข่าวกรองแห่งชาติ". สำนักข่าวกรองแห่งชาติ.
{{cite web}}
: CS1 maint: url-status (ลิงก์) - ↑ "โครงสร้างสำนักข่าวกรองแห่งชาติ". สำนักข่าวกรองแห่งชาติ.
{{cite web}}
: CS1 maint: url-status (ลิงก์)