เหล่าทหารการข่าว (กองทัพบกสหรัฐ)

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เหล่าทหารการข่าว
Military Intelligence Corps
ประเทศ สหรัฐ
เหล่า กองทัพบกสหรัฐ
รูปแบบข่าวกรองทางทหาร
กองบัญชาการกองอำนวยการข่าวกรองและความมั่นคงแห่งกองทัพบกสหรัฐฟอร์ตเบลวัวร์ รัฐเวอร์จิเนีย
คำขวัญออกด้านหน้าเสมอ
เพลงหน่วย"ฟรีดอมออนพาเหรด"
ปฏิบัติการสำคัญสงครามกลางเมืองอเมริกา
สงครามโลกครั้งที่หนึ่ง
สงครามโลกครั้งที่สอง
สงครามเกาหลี
สงครามเวียดนาม
ปฏิบัติการจัสต์คอส
ปฏิบัติการพายุทะเลทราย
ปฏิบัติการเสรีภาพยั่งยืน
ปฏิบัติการเสรีภาพอิรัก
ผู้บังคับบัญชา
รองเสนาธิการกองทัพบกสหรัฐ (จี2—ข่าวกรอง)พลโท ลอรา เอ. พอตเตอร์
ผู้บังคับบัญชา (กองอำนวยการข่าวกรองและความมั่นคงแห่งกองทัพบกสหรัฐ)พลตรี มิเชล เอช. เบรเดนแคมป์
เครื่องหมายสังกัด
เครื่องหมายเหล่า
(ค.ศ. 1962–ปัจจุบัน)
แผ่นโลหะเหล่า
ตราอาร์มประจำกรมทหาร
เครื่องหมายเหล่าเดิม
(ค.ศ. 1923–1962)

เหล่าทหารการข่าว (อังกฤษ: Military Intelligence Corps) เป็นเหล่าข่าวกรองของกองทัพบกสหรัฐ ภารกิจหลักของหน่วยข่าวกรองทางทหารในกองทัพบกสหรัฐ คือการให้การสนับสนุนด้านข่าวกรองและการสงครามอิเล็กทรอนิกส์ ที่ตรงเวลา, ตรงประเด็น, แม่นยำ และสอดคล้องกัน แก่ผู้บังคับบัญชาระดับยุทธวิธี, ปฏิบัติการ และยุทธศาสตร์ กำลังรบของกองทัพบกนี้ทำข่าวกรอง ทั้งสำหรับใช้ในกองทัพบก และเพื่อการแบ่งปันในชุมชนด้านการข่าวแห่งชาติ[1]

ประวัติ[แก้]

กำลังพลข่าวกรองได้เป็นส่วนหนึ่งของกองทัพภาคพื้นทวีปตั้งแต่เริ่มก่อตั้งใน ค.ศ. 1775

ครั้นใน ค.ศ. 1776 พลเอก จอร์จ วอชิงตัน ได้มอบหมายหน้าที่หน่วยข่าวกรองแห่งแรก โดยโนวล์ตันส์เรนเจอส์ ซึ่งตั้งชื่อตามพันเอก ทอมัส โนวล์ตัน ได้กลายเป็นกองกำลังชั้นยอดที่ได้รับการจัดตั้งกลุ่มแรก ซึ่งเป็นบรรพบุรุษของหน่วยปฏิบัติการพิเศษสมัยใหม่ เช่น หน่วยจู่โจมกองทัพบกสหรัฐ, กองกำลังเดลตา และอื่น ๆ โดยเลข "1776" บนตราหน่วยข่าวกรองของกองทัพบกสหรัฐดังกล่าว หมายถึงการก่อตั้งโนวล์ตันส์เรนเจอส์

ในเดือนมกราคม ค.ศ. 1863 พลตรี โจเซฟ ฮูเกอร์ ได้ก่อตั้งสำนักสารสนเทศทางการทหารสำหรับกองทัพสหภาพระหว่างสงครามกลางเมือง ซึ่งนำโดยจอร์จ เอช. ชาร์ป ส่วนแอลลัน พิงเคอร์ตัน และลาฟาเยตต์ ซี. เบเกอร์ ได้จัดการปฏิบัติการที่คล้ายคลึงกันสำหรับผู้บังคับบัญชาภูมิภาคของตน โดยปฏิบัติการทั้งหมดเหล่านี้ได้ปิดตัวลงเมื่อสิ้นสุดสงครามกลางเมืองใน ค.ศ. 1865[2]

ใน ค.ศ. 1885 กองทัพบกได้จัดตั้งกองพลข่าวกรองทางทหาร ครั้นใน ค.ศ. 1903 ได้รับการแต่งตั้งให้เป็นกองเสนาธิการใหม่ในระดับสูง[3]

ในเดือนมีนาคม ค.ศ. 1942 กองพลข่าวกรองทางทหารได้รับการจัดระเบียบใหม่เป็นหน่วยข่าวกรองทางทหาร เดิมประกอบด้วยคนเพียง 26 คน โดยเป็นเจ้าหน้าที่ 16 คน ซึ่งได้ขยายเพิ่มอย่างรวดเร็วอันประกอบด้วยเจ้าหน้าที่ 342 คน รวมทั้งเจ้าหน้าที่เกณฑ์และพลเรือน 1,000 คน มีหน้าที่รวบรวม, วิเคราะห์ และกระจายข่าวกรอง ซึ่งแรกเริ่มเดิมทีประกอบด้วย:

  • กองธุรการ
  • กองข่าวกรอง
  • กองต่อต้านข่าวกรอง
  • กองปฏิบัติการ
  • โรงเรียนภาษา

ในเดือนพฤษภาคม ค.ศ. 1942 อัลเฟรด แม็กคอร์แม็ก ได้จัดตั้งเหล่าพิเศษของหน่วยข่าวกรองทางทหาร ซึ่งเชี่ยวชาญด้านข่าวกรองทางการสื่อสาร

ในวันที่ 1 มกราคม ค.ศ. 1942 เหล่ากองทัพบกสหรัฐแห่งทหารสารวัตรซึ่งก่อตั้งขึ้นในสงครามโลกครั้งที่หนึ่ง ได้รับการแต่งตั้งใหม่ในฐานะเหล่าต่อต้านข่าวกรองของกองทัพบกสหรัฐ ครั้นใน ค.ศ. 1945 เหล่าพิเศษดังกล่าวได้กลายเป็นสำนักงานความมั่นคงกองทัพบก

เมื่อถึงจุดสูงสุดในช่วงต้น ค.ศ. 1946 โรงเรียนภาษาของเหล่าทหารการข่าวมีผู้สอน 160 คนและนักเรียน 3,000 คนเรียนในห้องเรียนมากกว่า 125 ห้อง โดยมีนักเรียนมากกว่า 6,000 คนสำเร็จการศึกษาเมื่อสิ้นสุดสงคราม สิ่งที่เริ่มต้นจากโครงการฝึกอบรมภาษาหน่วยข่าวกรองทางทหารรุ่นทดลองที่เปิดตัวด้วยงบประมาณ 2,000 ดอลลาร์ ในที่สุดก็กลายเป็นผู้บุกเบิกสถาบันภาษากลาโหมในปัจจุบันสำหรับนักภาษาศาสตร์หลายหมื่นคน ที่ช่วยเหลือผลประโยชน์ของชาวอเมริกันทั่วโลก[4]

ดูเพิ่ม[แก้]

อ้างอิง[แก้]

  1. United States Intelligence Community Official Website เก็บถาวร 21 ตุลาคม 2007 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน
  2. "Intelligence in the Civil War" (PDF). Central Intelligence Agency. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 25 December 2013. สืบค้นเมื่อ 2014-07-24.
  3. Theoharis, Athan G., บ.ก. (1999). The FBI: A Comprehensive Reference Guide. Phoenix, OR: The Oryx Press. p. 160. สืบค้นเมื่อ 20 May 2011.
  4. Hammons, Steve (2015-04-22). "The Japanese-American U.S. Army Intelligence Unit that helped win WWII". Defense Language and National Security Education Office. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2020-03-18. สืบค้นเมื่อ 2020-03-14.

อ่านเพิ่ม[แก้]

แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]