ข้ามไปเนื้อหา

สถานีสะพานใหม่

พิกัด: 13°53′48″N 100°36′33″E / 13.8966°N 100.6091°E / 13.8966; 100.6091
จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
สะพานใหม่
N20

Saphan Mai
ข้อมูลทั่วไป
ที่ตั้งถนนพหลโยธิน เขตบางเขนและเขตสายไหม กรุงเทพมหานคร
พิกัด13°53′48″N 100°36′33″E / 13.8966°N 100.6091°E / 13.8966; 100.6091
เจ้าของกรุงเทพมหานคร
ผู้ให้บริการระบบขนส่งมวลชนกรุงเทพ (บีทีเอสซี)
สาย
ชานชาลา2 ชานชาลาด้านข้าง
ทางวิ่ง2
โครงสร้าง
ประเภทโครงสร้างยกระดับ
ข้อมูลอื่น
รหัสสถานีN20
ประวัติ
เริ่มเปิดให้บริการ16 ธันวาคม พ.ศ. 2563; 3 ปีก่อน (2563-12-16)
ผู้โดยสาร
25641,782,082
การเชื่อมต่อ
สถานีก่อนหน้า รถไฟฟ้าบีทีเอส สถานีต่อไป
โรงพยาบาลภูมิพลอดุลยเดช
มุ่งหน้า คูคต
สายสุขุมวิท สายหยุด
มุ่งหน้า เคหะฯ
ที่ตั้ง
แผนที่

สถานีสะพานใหม่ (อังกฤษ: Saphan Mai station; รหัส: N20) เป็นสถานีรถไฟฟ้าบีทีเอสแบบยกระดับในเส้นทางสายสุขุมวิท ยกระดับเหนือถนนพหลโยธินในพื้นที่เขตบางเขนและเขตสายไหม กรุงเทพมหานคร เป็นสถานีแรกที่เข้าสู่พื้นที่ของกองทัพอากาศและท่าอากาศยานดอนเมืองฝั่งถนนพหลโยธิน เปิดให้บริการเมื่อวันที่ 16 ธันวาคม พ.ศ. 2563

ที่ตั้ง

[แก้]

ถนนพหลโยธิน บริเวณด้านหน้าตลาดยิ่งเจริญพลาซ่า ในพื้นที่แขวงอนุสาวรีย์ เขตบางเขน และแขวงคลองถนน เขตสายไหม กรุงเทพมหานคร

สถานีสะพานใหม่ ในอดีตเคยถูกกำหนดให้เป็นสถานีปลายทางของโครงการรถไฟฟ้าสายสีเขียว ช่วงหมอชิต-สะพานใหม่ ตามมติคณะรัฐมนตรีในคราวประชุมเมื่อวันที่ 27 พฤศจิกายน พ.ศ. 2551 เห็นชอบให้ รฟม. ดำเนินการก่อสร้างงานโครงการรถไฟฟ้าสายสีเขียว ช่วงหมอชิต–สะพานใหม่ และช่วงแบริ่ง–สมุทรปราการ รวมเป็นระยะทางประมาณ 25 กิโลเมตร โดยมีศูนย์ซ่อมบำรุงอยู่ด้านทิศใต้ของท่าอากาศยานดอนเมือง ต่อมาคณะรัฐมนตรีในคราวประชุมเมื่อวันที่ 9 มีนาคม พ.ศ. 2553 ได้รับทราบผลการประชุมคณะกรรมการจัดระบบการจราจรทางบก (คจร.) ในคราวประชุมครั้งที่ 1/2553 เมื่อวันที่ 8 กุมภาพันธ์ 2553 ที่มีมติเห็นชอบในหลักการของการต่อขยายโครงการรถไฟฟ้าสายสีเขียว จากช่วงหมอชิต-สะพานใหม่ เป็น หมอชิต-สะพานใหม่-คูคต และยกเลิกศูนย์ซ่อมบำรุง บริเวณด้านทิศใต้ของสนามบินดอนเมือง โดยให้มีศูนย์ซ่อมบำรุงบริเวณตำบลคูคตแทน[1]

แผนผังของสถานี

[แก้]
U3
ชานชาลา
ชานชาลาด้านข้าง, ประตูรถจะเปิดทางด้านซ้าย
ชานชาลา 1 สายสุขุมวิท มุ่งหน้า เคหะฯ (สายหยุด)
ชานชาลา 2 สายสุขุมวิท มุ่งหน้า คูคต (โรงพยาบาลภูมิพลอดุลยเดช)
ชานชาลาด้านข้าง, ประตูรถจะเปิดทางด้านซ้าย
U2
ชั้นขายบัตรโดยสาร
ชั้นขายบัตรโดยสาร ทางออก, ศูนย์บริการผู้โดยสาร, ห้องขายบัตรโดยสาร, เครื่องขายบัตรโดยสาร, ร้านค้า
G
ระดับถนน
- ป้ายรถประจำทาง, ถนนพหลโยธิน, ตลาดยิ่งเจริญพลาซ่า

รายละเอียดของสถานี

[แก้]

รูปแบบของสถานี

[แก้]

เป็นแบบชานชาลาด้านข้าง ขนาดมาตรฐาน กว้าง 22.15 เมตร (ระยะรวมหลังคา 27.8 เมตร) ระดับชานชาลาสูงจากพื้นดิน 18 เมตร ประกอบด้วยชั้นขายบัตรโดยสารและชานชาลา มีประตูอัตโนมัติกั้นชานชาลาแบบครึ่งความสูง ในส่วนหลังคาชานชาลามีการออกแบบให้ป้องกันฝนสาดและแดดส่อง โดยใช้กระจกเชื่อมปิดหลังคาทั้งหมด[2]

สัญลักษณ์ของสถานี

[แก้]

ใช้สีเขียวเข้มตกแต่งรั้วและเสาบริเวณชานชาลา ป้ายทางเข้าและทางขึ้นสถานี เพื่อบ่งบอกว่าเป็นสถานีฝั่งพหลโยธินเหนือ

ทางเข้า-ออก

[แก้]

ประกอบด้วยทางขึ้น-ลงปกติ และทางเดินใต้รางรถไฟฟ้าได้แก่

  • 1, 3 ตลาดยิ่งเจริญพลาซ่า แอท เอ็น 20
  • 2 ชุมชนตลาดสะพานใหม่-ดอนเมือง
  • 4 ซอยพหลโยธิน 52

เวลาให้บริการ

[แก้]
ปลายทาง ขบวนแรก ขบวนสุดท้าย
สายสุขุมวิท[3]
ชานชาลาที่ 1
E23 เคหะฯ 05.23 23.23
E15 สำโรง 23.38
N9 ห้าแยกลาดพร้าว 00.08
ชานชาลาที่ 2
N24 คูคต 05.33 00.38

การเชื่อมต่อรถโดยสารประจำทาง

[แก้]

ถนนพหลโยธิน รถขสมก. สาย 114 185 503 520 522 543 1-25 รถเอกชน สาย 34E(1-2E) 39(1-4) 39(1-5) 1-31 รถหมวด 4 สาย 1009 1096

  • Handicapped/disabled access เส้นทางที่มีรถรองรับวีลแชร์

องค์การขนส่งมวลชนกรุงเทพ

[แก้]
สายที่ เขตการเดินรถที่ จุดเริ่มต้น จุดสิ้นสุด ประเภทของรถที่ให้บริการ ผู้ให้บริการ หมายเหตุ
114 1 (กปด.11) แยกลำลูกกา MRT พระนั่งเกล้า รถโดยสารประจำทางสีครีม-แดง ขสมก.
114 รถโดยสารประจำทางปรับอากาศสีส้ม (ยูโรทู) รถโดยสารประจำทางปรับอากาศสีส้ม (ยูโรทู) งดให้บริการชั่วคราว
185 1 (กปด.31) รถโดยสารประจำทาง อู่รังสิต คลองเตย รถโดยสารประจำทางสีครีม-แดง
503 สนามหลวง รถโดยสารประจำทางปรับอากาศสีส้ม (ยูโรทู)
520 2 (กปด.22) รถโดยสารประจำทาง อู่มีนบุรี ตลาดไท รถโดยสารประจำทางสีครีม–แดง
520 รถโดยสารประจำทางปรับอากาศสีส้ม (ยูโรทู)
522 (1-22E) 1 (กปด.31) รถโดยสารประจำทาง อู่รังสิต รถโดยสารประจำทาง อนุสาวรีย์ชัยสมรภูมิ รถโดยสารประจำทางปรับอากาศสีส้ม (ยูโรทู) รถบริการทางด่วน (ขาไป ขึ้นด่านงามวงศ์วาน ลงด่านพระราม 6 (คลองประปา)
ขากลับ ขึ้นด่านอนุสาวรีย์ชัยสมรภูมิ ลงด่านงามวงศ์วาน)

รถโดยสารประจำทางปรับอากาศสีฟ้า (ใช้แก๊สธรรมชาติ) งดให้บริการชั่วคราว
522 (1-22E) รถโดยสารประจำทางสีครีม–แดง
522 (1-22E) Handicapped/disabled access รถโดยสารประจำทางปรับอากาศสีฟ้า (ใช้แก๊สธรรมชาติ)
543 1 (กปด.11) รถโดยสารประจำทาง อู่บางเขน ลำลูกกา คลอง 7 รถโดยสารประจำทางปรับอากาศสีครีม-น้ำเงิน
543 Handicapped/disabled access รถโดยสารประจำทางปรับอากาศสีฟ้า (ใช้แก๊สธรรมชาติ) รถโดยสารประจำทางปรับอากาศสีฟ้า (ใช้แก๊สธรรมชาติ) งดให้บริการชั่วคราว
1-25 แยกลำลูกกา รถโดยสารประจำทางสีครีม-แดง

รถเอกชน

[แก้]
สายที่ จุดเริ่มต้น จุดสิ้นสุด ประเภทของรถที่ให้บริการ ผู้ให้บริการ หมายเหตุ
34E (1-2E) Handicapped/disabled access รังสิต การขนส่งระบบราง สถานีรถไฟกรุงเทพ (หัวลำโพง) รถโดยสารประจำทางปรับอากาศสีน้ำเงิน (ใช้พลังงานไฟฟ้า) บจก.ไทยสมายล์บัส รถบริการทางด่วน (ขาไป ขึ้นด่านวัชรพล ลงด่านอนุสาวรีย์ชัยสมรภูมิ ขากลับ ขึ้นด่านพระราม 9 ลงด่านวัชรพล)
39 (1-4) Handicapped/disabled access ม.ธรรมศาสตร์ ศูนย์รังสิต บางเขน
39 (1-5) Handicapped/disabled access รังสิต รถโดยสารประจำทาง อนุสาวรีย์ชัยสมรภูมิ บจก.ไทยสมายล์บัส (ให้บริการในนาม บจก.หลีกภัยขนส่ง)
1-31 Handicapped/disabled access ศูนย์ราชการฯ แจ้งวัฒนะ คลองหลวง คลอง 5 บจก.ไทยสมายล์บัส
34 Handicapped/disabled access รังสิต การขนส่งระบบราง สถานีรถไฟกรุงเทพ (หัวลำโพง) กรมการขนส่งทางบก มีคำสั่งตามมาตรา 41 ให้ไทยสมายล์บัส
เดินรถประจำทางสาย 34 และ 39 เส้นทางเดิม เพื่อบรรเทาความเดือดร้อนของประชาชน
39 Handicapped/disabled access ตลาดไท รถโดยสารประจำทาง อนุสาวรีย์ชัยสมรภูมิ บจก.ไทยสมายล์บัส (ให้บริการในนาม บจก.หลีกภัยขนส่ง)

รถหมวด 4

[แก้]
ถนนพหลโยธิน
สายที่ ต้นทาง ปลายทาง หมายเหตุ
รถหมวด 4
1009 สะพานใหม่ มีนบุรี
ตลาดวงศกร
1009 (เพิ่มสิน) ให้บริการในรูปแบบสองแถว
1009 (วัดเกาะ) ตลาดออเงิน
1009 (วัชรพล) ห้าแยกวัชรพล
1096 ตลาดถนอมมิตร
รามอินทรา กม.2

สถานที่ใกล้เคียง

[แก้]

อ้างอิง

[แก้]
  1. "โครงการรถไฟฟ้าสายสีเขียว-การรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2021-01-28. สืบค้นเมื่อ 2020-12-17.
  2. "รายงานการเปลี่ยนแปลงรายละเอียด โครงการระบบขนส่งมวลชนกรุงเทพมหานครส่วนต่อขยายพหลโยธิน (หมอชิต-สะพานใหม่-ลำลูกกา) ของกรุงเทพมหานคร เฉพาะช่วงสะพานใหม่-ลำลูกกา (ปัจจุบัน รฟม. เป็นผู้ดำเนินการ) กรณียกเลิกการติดตั้งแผงบังสายตาบริเวณพิพิธภัณฑ์กองทัพอากาศ". บทที่ 1 บทนำ. โครงการระบบขนส่งมวลชนกรุงเทพมหานครส่วนต่อขยายพหลโยธิน. กรุงเทพมหานคร: สำนักงานนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม. 2020-10-13. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2020-06-05. สืบค้นเมื่อ 2020-10-13.
  3. "เวลาให้บริการของรถไฟฟ้าบีทีเอส" (PDF). 2021-11-01. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2023-08-25.