ข้ามไปเนื้อหา

สงครามหกวัน

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
สงครามหกวัน
ส่วนหนึ่งของ ความขัดแย้งอาหรับ–อิสราเอล

แผนที่การเคลื่อนพลและการเปลี่ยนแปลงดินแดนระหว่างสงครามหกวัน ดินแดนอิสราเอลก่อนสงครามแสดงด้วยสีน้ำเงิน ส่วนดินแดนที่อิสราเอลยึดได้ระหว่างสงครามแสดงด้วยสีเขียวเฉดต่าง ๆ
วันที่5–10 มิถุนายน ค.ศ. 1967
(6 วัน)
สถานที่
ผล อิสราเอลชนะ
ดินแดน
เปลี่ยนแปลง
อิสราเอลยึดครองที่ราบสูงโกลันจากซีเรีย เวสต์แบงก์ (รวมเยรูซาเลมตะวันออก) จากจอร์แดน และงฉนวนกาซาและคาบสมุทรไซนายจากอียิปต์[1][2]
คู่สงคราม
 อิสราเอล

 สหสาธารณรัฐอาหรับ
 ซีเรีย
 จอร์แดน
 อิรัก
 ซาอุดีอาระเบีย
 คูเวต
มีส่วนร่วมเล็กน้อย
 เลบานอน

 ปากีสถาน
ผู้บังคับบัญชาและผู้นำ
เลวี เอชโคล
โมเช ดายัน
ยิตซัค ราบิน
เดวิด เอลาซาร์
อูซี นาร์คิส
Yeshayahu Gavish
อิสราเอล ทัล
โมร์เดคาย ฮอด
ชโลโม เออร์เรล
Aharon Yariv
Ezer Weizman
Rehavam Ze'evi
ญะมาล อับดุนนาศิร
อับดุลฮะกีม อามิร
มุฮัมมัด เฟาซี
อับดุลมุนอิม ริยาฎ
นูรุดดีน อัลอะตาซี
ฮาฟิซ อัลอะซัด
อะห์มัด ซุวีดานี
สมเด็จพระราชาธิบดีฮุสเซนแห่งจอร์แดน
ซัยด์ อิบน์ ชากิร
อะซัด ฆ็อนมา
อับดุรเราะห์มาน อาริฟ
ชากิร มะห์มูด ชุกรี [ar]
ฟัยศ็อล บิน อับดุลอะซีซ
ซุลฏอน อิบน์ อับดุลอะซีซ
กำลัง

50,000 นาย
กำลังสำรอง 214,000 นาย
เครื่องบินรบ 250[3]–300 ลำ[4]
รถถัง 800 คัน[5]

รวมทั้งหมด: 264,000 นาย
ส่งไป 100,000 นาย

อียิปต์: 240,000 นาย
ซีเรีย, จอร์แดน และอิรัก: 307,000 นาย
เครื่องบินรบ 957 ลำ
รถถัง 2,504 คัน [5]
ซาอุดีอาระเบีย: 20,000 นาย[6][7]
เลบานอน: เครื่องบินรบ 2 ลำ[ต้องการอ้างอิง]
รวม: 567,000 นาย

ส่งไป 240,000 นาย
ความสูญเสีย

เสียชีวิต 776–983 นาย

ถูกจับเป็นเชลย 15 นาย[8]

รถถังถูกทำลาย 400 คัน[9]

เครื่องบินถูกทำลาย 46 ลำ

อียิปต์: เสียชีวิตหรือสูญหาย 9,800–15,000 นาp
ถูกจับเป็นเชลย 4,338 นาย
จอร์แดน: เสียชีวิต 696–700 นาย
บาดเจ็บ 2,500 นาย
ถูกจับเป็นเชลย 533 นาย
ซีเรีย: เสียชีวิต 1,000–2,500 นาย
ถูกจับเป็นเชลย 367–591 นาย
อิรัก: เสียชีวิต 10 นาย
บาดเจ็บ 30 นาย
เลบานอน: เสียเครื่องบิน 1 ลำ[ต้องการอ้างอิง]


รถถังถูกทำลายหลายร้อยคัน
เครื่องบินถูกทำลายมากกว่า 452 ลำ

ผู้รักษาสันติภาพของสหประชาชาติเสียชีวิต 15 คน (อินเดีย 14 คน, บราซิล 1 คน)[10]

เยรูซาเลม: พลเมืองอิสราเอลบาดเจ็บมากกว่า 1,000 คน, เสียชีวิต 20 คน[11]
เจ้าหน้าที่กองทัพเรือสหรัฐ, เหล่านาวิกโยธิน และเอ็นเอสเอเสียชีวิต 34 นาย[12][13]
เหล่านาวิกโยธินโซเวียตเสียชีวิต 17 นาย (ถูกกล่าวหา)[14]
พลเมืองปาเลสไตน์พลัดถิ่น 413,000 คน[15]

สงครามหกวัน (อังกฤษ: Six-Day War; ฮีบรู: מִלְחֶמֶת שֵׁשֶׁת הַיָּמִים; อาหรับ: النكسة, an-Naksah, แปลว่า ความปราชัย หรือ حرب 1967, Ḥarb 1967, 'สงคราม ค.ศ. 1967') หรือ สงครามมิถุนายน มีอีกชื่อว่า สงครามอาหรับ–อิสราเอล ค.ศ. 1967 หรือ สงครามอาหรับ–อิสราเอลครั้งที่สาม เป็นสงครามสู้รบกันระหว่างอิสราเอลและแนวร่วมรัฐอาหรับ (นำโดย อียิปต์ ซีเรีย และจอร์แดน) ระหว่างวันที่ 5 ถึง 10 มิถุนายน ค.ศ. 1967

เท้าความถึงสงครามอาหรับ-อิสราเอล ค.ศ. 1948 ความสัมพันธ์ระหว่างอิสราเอลกับประเทศอาหรับที่อยู่ติดกันยังไม่เป็นปกติหลังสงคราม ใน ค.ศ. 1956 อิสราเอลบุกครองคาบสมุทรไซนายของอียิปต์ โดยมีวัตถุประสงค์ข้อหนึ่งเพื่อเปิดช่องแคบติรานที่อียิปต์สั่งห้ามเรืออิสราเอลผ่านตั้งแต่ ค.ศ. 1950 สุดท้ายอิสราเอลถูกบีบให้ถอนกำลังออก แต่ได้รับคำมั่นว่าช่องแคบติรานจะเปิดให้เรือผ่านได้ มีการวางกำลังฉุกเฉินของสหประชาชาติตามเส้นเขตแดน แต่ไม่มีความตกลงลดกำลังทหาร[16] ในช่วงไม่กี่เดือนก่อนเดือนมิถุนายน ค.ศ. 1967 ความขัดแย้งสูงขึ้นอย่างอันตราย อิสราเอลย้ำจุดยืนว่าการปิดช่องแคบติรานไม่ให้เรืออิสราเอลผ่านได้ถือเป็นเหตุแห่งสงคราม ฝ่ายประธานาธิบดีญะมาล อับดุนนาศิรแห่งอียิปต์ประกาศปิดช่องแคบห้ามเรืออิสราเอลผ่านในเดือนพฤษภาคม กับทั้งสั่งระดมพลอียิปต์ตามเขตแดนกับอิสราเอล และขับไล่กำลังสหประชาชาติออกจากพื้นที่[17][10]

ในวันที่ 5 มิถุนายน อิสราเอลเปิดฉากโจมตีทางอากาศต่อสนามบินของอียิปต์ ซึ่งในทีแรกอ้างว่าเป็นฝ่ายถูกโจมตีก่อน แต่ภายหลังระบุว่าการโจมตีดังกล่าวเป็นการชิงโจมตีตัดหน้า[10] ฝ่ายอียิปต์ยังไม่ทันตั้งตัว และกองทัพอากาศอียิปต์เกือบทั้งหมดถูกทำลายโดยฝ่ายอิสราเอลสูญเสียพลเพียงเล็กน้อย ทำให้อิสราเอลครองเวหาได้ ในเวลาเดียวกัน อิสราเอลปิดฉากโจมตีทางบกเข้าสู่ฉนวนกาซาและคาบสมุทรไซนาย ซึ่งอียิปต์ยังไม่ทันได้ตั้งตัวอีกหน หลังการต่อสู้ขัดขืนในระยะแรกอยู่บ้าง นาศิรประกาศถอนกำลังออกจากไซนาย ด้านกองทัพอิสราเอลไล่รุดไปทางทิศตะวันตกเพื่อติดตามอียิปต์ ทำให้เสียไพร่พลอย่างหนัก และพิชิตไซนายได้ในที่สุด[18] สำหรับจอร์แดนซึ่งเข้าเป็นกติกาสัญญาป้องกันกับอียิปต์หนึ่งสัปดาห์ก่อนเกิดสงครามนั้น ในความตกลงพรรณนาว่ากรณีเกิดสงครามขึ้น จอร์แดนจะไม่มีบทบาทเชิงรุกแต่จะพยายามเหนี่ยวรั้งอิสราเอลเพื่อไม่ให้ได้ดินแดนไปเพิ่ม[19] จากนั้นในวันที่ห้า ซีเรียเข้าร่วมสงครามด้วยการระดมยิงด้วยอาวุธใส่อิสราเอลทางเหนือ[20]

ประเทศอียิปต์และจอร์แดนตกลงหยุดยิงในวันที่ 8 มิถุนายน และซีเรียตกลงในวันที่ 9 มิถุนายน มีการลงนามหยุดยิงกับอิสราเอลในวันที่ 11 มิถุนายน หลังสงคราม อิสราเอลทำให้กองทัพอียิปต์ ซีเรียและจอร์แดนเป็นอัมพาต โดยฆ่าทหารข้าศึกไปกว่า 20,000 นาย แต่เสียกำลังพลไปไม่ถึง 1,000 นาย ความสำเร็จของอิสราเอลเป็นผลมาจากยุทธศาสตร์ที่เตรียมไว้อย่างดี ความเป็นผู้นำที่เลวของรัฐอาหรับ และคุณภาพของผู้นำและยุทธศาสตร์ทางทหารที่เลวของรัฐอาหรับ

อิสราเอลยึดฉนวนกาซาและคาบสมุทรไซนายจากอียิปต์ ยึดเวสต์แบงก์ รวมเยรูซาเล็มตะวันออกจากจอร์แดน และที่ราบสูงโกลันจากซีเรีย ฐานะในเวทีโลกของอิสราเอลดีขึ้นมากหลังจากนั้น ส่วนอียิปต์ จอร์แดนและซีเรียเสียหน้าอย่างมาก ทำให้ประธานาธิบดีนาศิรลาออก การพลัดถิ่นของประชากรพลเรือนอันเนื่องจากสงครามนี้มีผลในระยะยาว เนื่องจากชาวปาเลสไตน์ 280,000 ถึง 325,000 หนีหรือถูกขับไล่ออกจากเวสต์แบงก์[21] และกว่า 100,000 คนหนีออกจากที่ราบสูงโกลัน.[22] ส่วนในโลกอาหรับ ชุมชนชนกลุ่มน้อยยิวหลบหนีหรือถูกขับไล่[23] หลังจากความขัดแย้งนี้ อียิปต์ได้ปิดคลองสุเอซจนถึง ค.ศ. 1975 ก่อให้เกิดวิกฤตการณ์พลังงานคริสต์ทศวรรษ 1970 และวิกฤตการณ์น้ำมัน ค.ศ. 1973 เนื่องจากผลกระทบต่อการขนส่งน้ำมันจากตะวันออกกลางไปยังยุโรปผ่านคลองสุเอซ[24][25]

ภูมิหลัง

[แก้]
ณ วันที่ 22 พฤษภาคม ค.ศ. 1967 ประธานาธิบดีนาศิรกล่าวแก่นักบินของเขาที่ลานบินบีรญิฟญาฟะฮ์ในคาบสมุทรไซนายว่า: "พวกยิวเป็นภัยต่อสงคราม—เรากล่าวแก่พวกเขาว่าอะฮ์ลัน วะซะฮ์ลัน (ยินดีต้อนรับ)!"[26]

หลังวิกฤตการณ์คลองสุเอซใน ค.ศ. 1956 ประเทศอียิปต์เห็นชอบให้กองกำลังฉุกเฉินแห่งสหประชาชาติ (UNEF) ตั้งฐานปฏิบัติการในคาบสมุทรไซนายเพื่อรับประกันว่าทุกฝ่ายจะปฏิบัติตามข้อตกลงหยุดยิง ค.ศ. 1949[27][28][29] ในปีต่อ ๆ มาเกิดการปะทะเล็กน้อยตามแนวชายแดนอิสราเอล–ชาติอาหรับโดยเฉพาะชายแดนด้านซีเรียอยู่เรื่อย ๆ และในเดือนพฤศจิกายน ค.ศ. 1966 รัฐบาลซีเรียได้ลงนามในข้อตกลงป้องกันประเทศร่วมกับอียิปต์[30] ไม่นานหลังจากการลงนามนี้ อิสราเอลเริ่มตอบโต้การรบแบบกองโจรขององค์การปลดปล่อยปาเลสไตน์ (PLO)[31][32] ซึ่งรวมถึงการวางระเบิดที่มีผู้เสียชีวิต 3 ราย[33] กองกำลังป้องกันประเทศอิสราเอลเข้าโจมตีหมู่บ้านอัสซะมัวะอ์ในเขตเวสต์แบงก์ซึ่งอยู่ในบังคับของประเทศจอร์แดน[34] กองทัพจอร์แดนส่งทหารเข้าสกัดกั้นแต่ก็แพ้กลับมาอย่างรวดเร็ว[35] สมเด็จพระราชาธิบดีฮุสเซนแห่งจอร์แดนทรงต่อว่าประธานาธิบดีอียิปต์ญะมาล อับดุนนาศิร ที่ไม่ส่งกองหนุนมาช่วยเหลือจอร์แดนตามข้อตกลง และยังทรงกล่าวว่าอียิปต์เอาแต่ "หลบอยู่ใต้กระโปรงกองกำลังฉุกเฉินยูเอ็น"[36][37][38][39]

เดือนพฤษภาคม ค.ศ. 1967 ประธานาธิบดีอับดุนนาศิรได้รับการข่าวผิดพลาดจากสหภาพโซเวียตว่าอิสราเอลกำลังยกทัพเข้าชายแดนซีเรีย[40] อับดุนนาศิรมีคำสั่งให้กองทัพอียิปต์จัดแนวรับไว้สองแห่ง[41] คือบริเวณคาบสมุทรไซนายฝั่งชายแดนอิสราเอล (16 พฤษภาคม) และมีคำสั่งให้ UNEF ถอนกำลังจากฉนวนกาซาและไซนาย (19 พฤษภาคม) และส่งกองทัพอียิปต์เข้าประจำตำแหน่งแทน UNEF ที่เมืองท่าตากอากาศชาร์เมลเชคเพื่อเฝ้าระวังช่องแคบตีรอน[42][43] รัฐบาลอิสราเอลออกแถลงการณ์ย้ำคำประกาศใน ค.ศ. 1957 ว่าการกระทำใด ๆ ที่ปิดช่องแคบอาจถือเป็นเหตุแห่งสงครามหรือการก่อสงครามโดยชอบธรรม[44][45] แต่ประธานาธิบดีอียิปต์ก็ยังคงปิดช่องแคบติรานไม่ให้เรือสัญชาติอิสราเอลใช้ในวันที่ 22–23 พฤษภาคม.[46][47][48]

ในวันที่ 30 พฤษภาคม ประเทศจอร์แดนและอียิปต์ลงนามในกติกาสัญญาร่วมป้องกันประเทศ หนึ่งวันต่อมา กองทัพอิรักยกกำลังพลและหน่วยยานเกราะเข้าสู่จอร์แดนตามคำเชิญของจอร์แดน[49] และภายหลังยังมีกองทัพอียิปต์ส่งเข้ามาสมทบ ในวันที่ 1 มิถุนายน อิสราเอลสามารถจัดตั้งรัฐบาลแห่งชาติจากทุกพรรคการเมือง รัฐบาลแห่งชาติอิสราเอลได้มีมติในวันที่ 4 มิถุนายนให้ทำสงคราม เช้าวันต่อมา กองทัพอิสราเอลเปิดฉากโจมตีด้วยปฏิบัติการโฟกัส ซึ่งเป็นปฏิบัติการโจมตีทางอากาศขนานใหญ่แบบไม่ทันตั้งตัว ถือเป็นจุดเริ่มต้นของสงครามหกวัน

ผลที่ตามมา

[แก้]

ปฏิบัติการโจมตีทางอากาศของอิสราเอลสามารถทำลายกองทัพอากาศอียิปต์กว่า 90 เปอร์เซ็นต์ ส่งผลให้อิสราเอลครองอากาศเหนืออียิปต์ ซีเรียและจอร์แดน[50] ขณะเดียวกัน กองทัพอิสราเอลโจมตีฉนวนกาซาและคาบสมุทรไซนายทางภาคพื้นดิน ทำให้อียิปต์ที่ถูกโจมตีทั้งทางอากาศและพื้นดินเสียขวัญอย่างมาก ภายในสามวันหลังจากนั้น อิสราเอลสามารถตีโต้กองทัพจอร์แดนและซีเรียที่เข้าช่วยเหลืออียิปต์ และยึดครองเขตเวสต์แบงก์และที่ราบสูงโกลันไว้ได้[51] วันที่ 7 มิถุนายน คณะมนตรีความมั่นคงแห่งสหประชาชาติเรียกร้องให้มีการหยุดยิง อียิปต์และจอร์แดนตกลงหยุดยิงในวันต่อมา อิสราเอลและซีเรียตกลงหยุดยิงในวันที่ 10 มิถุนายน เป็นอันสิ้นสุดสงครามหกวัน[52]

หลังสงคราม อิสราเอลสูญเสียกำลังพลน้อยกว่า 1,000 นาย ขณะที่อียิปต์และจอร์แดนสูญเสียกำลังพลกว่า 20,000 นาย นอกจากนี้อิสราเอลยังยึดครองฉนวนกาซา คาบสมุทรไซนาย เวสต์แบงก์และที่ราบสูงโกลัน ถึงแม้จะมีการตกลงหยุดยิง แต่ความล้มเหลวในการเจรจาสันติภาพระหว่างอิสราเอลและชาติอาหรับนำไปสู่สงครามครั้งใหม่อย่างสงครามการบั่นทอนกำลัง และสงครามยมคิปปูร์

แผนภาพ

[แก้]
แผนที่ชุดสงครามหกวัน
แผนที่การรบในคาบสมุทรไซนาย, 5–6 มิถุนายน
แผนที่การรบในคาบสมุทรไซนาย, 5–6 มิถุนายน 
แผนที่การพิชิตไซนาย, 7–8 มิถุนายน
แผนที่การพิชิตไซนาย, 7–8 มิถุนายน 
แผนที่การรบในดินแดนยื่นของจอร์แดน, 5–7 มิถุนายน
แผนที่การรบในดินแดนยื่นของจอร์แดน, 5–7 มิถุนายน 
แผนที่การรบในที่ราบสูงโกลัน, 9–10 มิถุนายน
แผนที่การรบในที่ราบสูงโกลัน, 9–10 มิถุนายน 

หมายเหตุ

[แก้]

อ้างอิง

[แก้]
  1. "Milestones: 1961–1968". Office of the Historian. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 23 October 2018. สืบค้นเมื่อ 30 November 2018. Between June 5 and June 10, Israel defeated Egypt, Jordan, and Syria and occupied the Sinai Peninsula, the Gaza Strip, the West Bank, East Jerusalem, and the Golan Heights
  2. Weill, Sharon (2007). "The judicial arm of the occupation: the Israeli military courts in the occupied territories". International Review of the Red Cross. 89 (866): 401. doi:10.1017/s1816383107001142. ISSN 1816-3831. S2CID 55988443. On 7 June 1967, the day the occupation started, Military Proclamation No. 2 was issued, endowing the area commander with full legislative, executive, and judicial authorities over the West Bank and declaring that the law in force prior to the occupation remained in force as long as it did not contradict new military orders.
  3. Oren (2002), p. 171.
  4. Tucker (2015), pp. 540–541.
  5. 5.0 5.1 Tucker (2004), p. 176.
  6. อ้างอิงผิดพลาด: ป้ายระบุ <ref> ไม่ถูกต้อง ไม่มีการกำหนดข้อความสำหรับอ้างอิงชื่อ SAMAAI
  7. อ้างอิงผิดพลาด: ป้ายระบุ <ref> ไม่ถูกต้อง ไม่มีการกำหนดข้อความสำหรับอ้างอิงชื่อ sauditw
  8. Gawrych (2000), p. 3.
  9. Zaloga, Steven (1981). Armour of the Middle East Wars 1948–78 (Vanguard). Osprey Publishing.
  10. 10.0 10.1 10.2 "UNEF I withdrawal (16 May - 17 June 1967) - SecGen report, addenda, corrigendum". Question of Palestine (ภาษาอังกฤษแบบอเมริกัน). สืบค้นเมื่อ 2022-05-19.
  11. Oren (2002), p. 187: Over a thousand civilians were wounded, 150 seriously, 20 of them died.
  12. Gerhard, William D.; Millington, Henry W. (1981). "Attack on a SIGINT Collector, the USS Liberty" (PDF). NSA History Report, U.S. Cryptologic History series. National Security Agency. partially declassified 1999, 2003.
  13. Both USA and Israel officially attributed the USS Liberty incident as being due to mistaken identification.
  14. Ginor, Isabella and Remez, Gideon: The Soviet-Israeli War, 1967–1973: The USSR's Military Intervention in the Egyptian-Israeli Conflict, p. 23
  15. Jeremy Bowen (2003). Six Days: How the 1967 War Shaped the Middle East. Simon and Schuster, 2012. ISBN 1471114759. UNRWA put the figure at 413,000.
  16. Major General Indar Jit Rikhye (28 October 2013). The Sinai Blunder: Withdrawal of the United Nations Emergency Force Leading... Taylor & Francis. pp. 8–. ISBN 978-1-136-27985-0.
  17. "Six Day War Comprehensive Timeline". สืบค้นเมื่อ 22 January 2021.
  18. "BBC Panorama". BBC News. 6 February 2009. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 12 May 2011. สืบค้นเมื่อ 1 February 2012.
  19. Mutawi (2002), p. 183: "It is clear that King Hussein joined forces with Egypt in the knowledge that there was no possibility of overrunning Israel. Instead, he sought to preserve the status quo. He believed that he could not stand aside at a time when Arab co-operation and solidarity were vital and he was convinced that any Arab confrontation with Israel would be greatly enhanced if the Arabs fought as a unified body. The plan of action devised at his meeting with Nasser in Cairo on 30 May was established on this basis. It was envisaged that Jordan would not take an offensive role but would tie down a proportion of Israel's forces and so prevent it from using its full weight against Egypt and Syria. By forcing Israel to fight a war on three fronts simultaneously King Hussein believed that the Arabs stood a chance of preventing it from making any territorial gains while allowing the Arabs a chance of gaining a political victory, which may, eventually, lead to peace. King Hussein was also convinced that even if Jordan did not participate in the war Israel would take the opportunity to seize the West Bank once it had dealt with Syria and Egypt. He decided that for this reason, the wisest course of action was to bring Jordan into the total Arab effort. This would provide his army with two elements that were essential for its efficient operation – additional troops and air cover. When King Hussein met Nasser in Cairo it was agreed that these requirements would be met."
  20. Dunstan (2013), p. 65.
  21. Bowker 2003, p. 81.
  22. McDowall (1991), p. 84: 116,000 had fled from the Golan further into Syria, ...
  23. "Six Day War: impact on Jews in Arab Countries". sixdaywar.co.uk. สืบค้นเมื่อ 21 January 2021.
  24. "Suez Canal".
  25. "How the (Closure of the) Suez Canal changed the world". 31 August 2014.
  26. Ami Gluska (12 February 2007). The Israeli Military and the Origins of the 1967 War: Government, Armed Forces and Defence Policy 1963–67. Routledge. p. 152. ISBN 978-1-134-16377-9. On the evening of 22 May, President Gamal Abdul Nasser, accompanied by ... Egyptian air force base at Bir Gafgafa in Sinai and addressed the pilots and officers. ... 'The Jews are threatening war – we say to them ahlan wa-sahlan (welcome)!
  27. Rauschning, Wiesbrock & Lailach (1997), p. 30.
  28. Sachar (2007), pp. 504, 507–508.
  29. "First United Nations Emergency Force (UNEF I) – Background (Full text)". เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 8 August 2016. สืบค้นเมื่อ 29 June 2017.
  30. Gawrych (2000), p. 5. "Some sources date the agreement to 4 November, others to 7 November. Most sources simply say November."
  31. Schiff, Zeev (1974) History of the Israeli Army, Straight Arrow Books. p. 145
  32. Churchill & Churchill (1967), p. 21.
  33. Pollack (2004), p. 290.
  34. Segev (2007), pp. 149–152.
  35. Hart (1989), p. 226.
  36. Oren (2002), p. 312.
  37. Burrowes & Muzzio (1972), pp. 224–225.
  38. Shemesh, Moshe (2007). Arab Politics, Palestinian Nationalism and the Six Day War: The Crystallization of Arab Strategy and Nasir's Descent to War, 1957–1967. Sussex Academic Press. p. 118. ISBN 978-1-84519-188-7. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 1 January 2016. สืบค้นเมื่อ 27 October 2015. The Jordanian leadership's appraisal of the repercussions of the Samu' raid was a major factor in King Husayn's decision to join Nasir's war chariot by signing a joint defense pact with Egypt on May 30, 1967. This was the determining factor for Jordan's participation in the war that would soon break out.... Convinced after the Samu' raid that Israel's strategic goal was the West Bank, Husayn allied himself to Nasir out of a genuine fear that, in a comprehensive war, Israel would invade the West Bank whether or not Jordan was an active participant.
  39. Tessler (1994), p. 378: "Towards the War of June 1967: Growing tensions in the region were clearly visible long before Israel's November attack on Samu and two other West Bank towns. An escalating spiral of raid and retaliation had already been set in motion..."
  40. Herzog (1982), p. 148.
  41. Quigley (2013), p. 32.
  42. Shlaim (2007), p. 238.
  43. Mutawi (2002), p. 93: "Although Eshkol denounced the Egyptians, his response to this development was a model of moderation. His speech on 21 May demanded that Nasser withdraw his forces from Sinai but made no mention of the removal of UNEF from the Straits nor of what Israel would do if they were closed to Israeli shipping. The next day Nasser announced to an astonished world that henceforth the Straits were, indeed, closed to all Israeli ships"
  44. Cohen (1988), p. 12.
  45. "Statement to the General Assembly by Foreign Minister Meir, 1 March 1957". Israel Ministry of Foreign Affairs – The State of Israel. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 13 October 2007. สืบค้นเมื่อ 13 October 2008. Interference, by armed force, with ships of Israeli flag exercising free and innocent passage in the Gulf of Aqaba and through the Straits of Tiran will be regarded by Israel as an attack entitling it to exercise its inherent right of self-defence under Article 51 of the Charter and to take all such measures as are necessary to ensure the free and innocent passage of its ships in the Gulf and in the Straits.
  46. Morris (1999), p. 306.
  47. Gat (2003), p. 202.
  48. Colonomos, Ariel (2013). The Gamble of War: Is it Possible to Justify Preventive War?. Palgrave Macmillan. p. 25. ISBN 978-1-137-01894-6.
  49. Churchill & Churchill (1967), pp. 52 & 77.
  50. "Six-Day War". HISTORY. August 21, 2018. สืบค้นเมื่อ June 1, 2020.
  51. "Six-Day War - Causes, History, & Summary". Britannica. สืบค้นเมื่อ June 1, 2020.
  52. "1967: Israel ends six-day war". BBC News. สืบค้นเมื่อ June 1, 2020.

อ้างอิงผิดพลาด: ป้ายระบุ <ref> ชื่อ "Israel Ministry of Foreign Affairs" ซึ่งนิยามใน <references> ไม่ถูกใช้ในข้อความก่อนหน้า

อ้างอิงผิดพลาด: ป้ายระบุ <ref> ชื่อ "Israel Ministry 2004" ซึ่งนิยามใน <references> ไม่ถูกใช้ในข้อความก่อนหน้า

ข้อมูล

[แก้]

แหล่งข้อมูลอื่น

[แก้]