เดวิด เอลาซาร์
บทความนี้ยังต้องการเพิ่มแหล่งอ้างอิงเพื่อพิสูจน์ความถูกต้อง คุณสามารถพัฒนาบทความนี้ได้โดยเพิ่มแหล่งอ้างอิงตามสมควร เนื้อหาที่ขาดแหล่งอ้างอิงอาจถูกลบออก |
เดวิด เอลาซาร์ | |
---|---|
![]() เดวิด เอลาซาร์ (เดโด) | |
ชื่อเล่น | เดโด, บิ๊กดี |
เกิด | 27 สิงหาคม ค.ศ. 1925 ซาราเยโว ราชอาณาจักรแห่งชาวเซิร์บ โครแอต และสโลวีน |
เสียชีวิต | 15 เมษายน ค.ศ. 1976 เยรูซาเลม ประเทศอิสราเอล | (50 ปี)
รับใช้ | พอลแมค กองกำลังป้องกันอิสราเอล |
ประจำการ | ค.ศ. 1942–1973 |
ชั้นยศ | พลโท |
บังคับบัญชา | ผู้อำนวยการฝ่ายปฏิบัติการ เสนาธิการ |
การยุทธ์ | สงครามอาหรับ–อิสราเอล ค.ศ. 1948 วิกฤตการณ์คลองสุเอซ สงครามหกวัน สงครามยมคิปปูร์ |
เดวิด "เดโด" เอลาซาร์ (ฮีบรู: דוד אלעזר; เกิด 27 สิงหาคม ค.ศ. 1925 – 15 เมษายน ค.ศ. 1976) เป็นเสนาธิการคนที่เก้าของกองกำลังป้องกันอิสราเอล (IDF) ซึ่งทำหน้าที่ในอัตราตั้งแต่ ค.ศ. 1972 ถึง 1974 เขาถูกบังคับให้ลาออกในผลพวงของสงครามยมคิปปูร์
ชีวิตช่วงต้น[แก้]
เดวิด (เดโดย) เอลาซาร์ เกิดที่เมืองซาราเยโว และเป็นผู้สืบสายเลือดเซฟาร์ดี เขาอพยพไปยังปาเลสไตน์ในปี ค.ศ. 1940 กับโครงการเยาวชนเอลียาห์และอาศัยอยู่ที่คิบบุตซ์เอียน เซมเมอร์ ต่อมาเขาได้เข้าร่วมกับพอลแมค และต่อสู้ในยุทธการที่สำคัญมากมายในช่วงสงครามประกาศอิสรภาพของอิสราเอล รวมทั้งยุทธการที่อารามซาน ไซมอน ในเยรูซาเลม ในฐานะทหารคนหนึ่ง เขาได้รับยศในระดับสูง แล้วในที่สุด ก็ได้ทำหน้าที่เป็นผู้บัญชาการกองพันฮาพอร์ตซิมที่มีชื่อเสียงของกองพลน้อยฮาเรล

เอลาซาร์ยังคงอยู่ในกองกำลังป้องกันอิสราเอลหลังสงคราม โดยถ่ายโอนไปยังกองกำลังติดอาวุธในสงครามไซนายปี ค.ศ. 1956 เขาทำหน้าที่ในฐานะรองผู้บัญชาการกองกำลังของคาอิม บาร์-เลฟ โดยเข้ารับตำแหน่งผู้บัญชาการกองพลยานเกราะในปี ค.ศ. 1961 เขายังคงอยู่ในตำแหน่งนี้จนกระทั่งปี ค.ศ. 1964 เมื่อเขาได้รับการแต่งตั้งเป็นหัวหน้าของหน่วยบัญชาการภาคเหนือ[1] ซึ่งเป็นตำแหน่งที่เขาดำรงอยู่จนถึงปี ค.ศ. 1969[2] ในช่วงสงครามหกวันของปี ค.ศ. 1967 เขาเป็นผู้สนับสนุนที่สำคัญสำหรับการยึดครองยุทธศาสตร์ที่ราบสูงโกลัน[3] ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของประเทศซีเรีย และเขาคุมการเข้ายึดครองในเวลาเพียงสองวัน
หลังสงคราม เอลาซาร์ทำหน้าที่เป็นหัวหน้าเจ้าหน้าที่ฝ่ายปฏิบัติการของบุคลากรทั่วไป และวันที่ 1 มกราคม ค.ศ. 1972 เขาได้รับการแต่งตั้งเป็นเสนาธิการทหาร[4]
เสนาธิการทหาร[แก้]
เดือนแรกของการดำรงตำแหน่งของเขาถูกใช้ต่อสู้กับการก่อการร้าย เมื่อวันที่ 30 พฤษภาคม กองทัพแดงญี่ปุ่นได้สังหารพลเรือน 25 คนและบาดเจ็บอีก 71 คนในการโจมตีท่าอากาศยานลอด ซึ่งเป็นศูนย์กลางการขนส่งชั้นนำของอิสราเอล (ดู: การสังหารหมู่ที่ท่าอากาศยานลอด) เมื่อวันที่ 5 กันยายนของปีดังกล่าว ได้มีกลุ่มอื่นโจมตีนักกีฬาอิสราเอลในโอลิมปิกฤดูร้อน 1972 ที่มิวนิก การโจมตีดังกล่าวเป็นที่รู้จักในฐานะการสังหารหมู่ที่มิวนิก เพื่อตอบสนองต่อการโจมตีเหล่านี้ เอลาซาร์ได้สั่งการปะทะฐานปาเลสไตน์ในประเทศซีเรียและเลบานอนครั้งใหญ่สุด เครื่องบินไอพ่นสามลำของซีเรียถูกยิงตก และเฟดายีนหลายสิบคนถูกฆ่าตายด้วยการระดมยิงปืนใหญ่อย่างหนัก ในปฏิบัติการสปริงออฟยูธ ซึ่งเกิดขึ้นในคืนวันที่ 9–10 เมษายน ค.ศ. 1973 ชาวปาเลสไตน์อีกหลายสิบคนซึ่งรวมถึงผู้นำปาเลสไตน์หลายคนถูกลอบสังหารในเบรุตโดยกองกำลังป้องกันอิสราเอล[5]
หนึ่งในการตัดสินใจของเอลาซาร์ในระหว่างที่เขาดำรงตำแหน่งคือการสั่งให้สอยเครื่องบินไอพ่นโดยสารของประเทศลิเบียซึ่งหลงเข้าไปในน่านฟ้าอิสราเอล และถูกสงสัยว่าอยู่ในภารกิจการก่อการร้ายเมื่อเครื่องบินดังกล่าวไม่ตอบสนอง เครื่องบินถูกยิงร่วงโดยกองทัพอากาศอิสราเอลเหนือคาบสมุทรไซนายภายใต้คำสั่งโดยตรงจากเอลาซาร์ ซึ่งสังหารพลเรือนไปกว่า 100 คน หลังจากนั้นไม่นานก็พบว่านี่เป็นเครื่องบินพลเรือนที่เกิดข้อผิดพลาดในการนำทางเท่านั้น
ในวันที่ 27 พฤษภาคม ค.ศ. 1973 กองกำลังป้องกันอิสราเอลได้ประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินและกองกำลังสำรองถูกเรียกขึ้นมาเพื่อตอบโต้การเคลื่อนไหวของกองทหารอียิปต์ ทว่าภาวะฉุกเฉินถูกยกเลิกเมื่อเห็นได้ชัดว่านี่เป็นเพียงการฝึกซ้อม เหตุการณ์นี้มีผลกระทบอย่างมากต่อกองเสนาธิการ เนื่องจากทำให้พวกเขาเชื่อว่ากองกำลังอียิปต์ไม่ได้เตรียมพร้อมสำหรับการทำสงครามในช่วงยมคิปปูร์ของปลายปีนั้น อย่างไรก็ตาม หลังจากสงครามมันก็เห็นได้ชัดว่าการซ้อมรบเหล่านี้ดำเนินการบ่อยครั้ง โดยชาวอียิปต์เป็นส่วนหนึ่งของอุบายอย่างรอบคอบ อันหมายถึงการสร้างความพึงพอใจในบรรดาชาวอิสราเอลเกี่ยวกับความตั้งใจที่แท้จริง ของการเคลื่อนไหวของกองทหารอียิปต์ในเวลาที่เกิดการโจมตีจริง
ส่วนวันที่ 13 กันยายน ทางอิสราเอลได้ยิงเครื่องบินไอพ่นขับไล่ของซีเรียร่วงสิบสามลำ ซึ่งพยายามจมอากาศยานอิสราเอล
สงครามยมคิปปูร์[แก้]
เหตุการณ์ที่นำไปสู่สงคราม[แก้]
ในปี ค.ศ. 1957 อิสราเอลถูกบังคับภายใต้ความกดดันของอเมริกา ให้ถอนตัวจากคาบสมุทรไซนายที่ได้ครอบครองหลังจากได้โจมตีประเทศอียิปต์เมื่อปีก่อน การปิดช่องแคบติรานต่อเรืออิสราเอลโดยประธานาธิบดีอียิปต์ ญะมาล อับดุนนาศิร ในปี ค.ศ. 1967 เป็นหนึ่งในสาเหตุสำคัญของสงครามปี ค.ศ. 1967 ในระหว่างที่อิสราเอลยึดครองคาบสมุทรไซนายอีกครั้ง
อ้างอิง[แก้]
- ↑ "David "Dado" Elazar" (ภาษาฮิบรู). Palmach.org.il. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2012-03-10. สืบค้นเมื่อ 2018-12-05.
- ↑ Talhami, Ghada Hashem (2017). American Presidents and Jerusalem (ภาษาอังกฤษ). Lexington Books. p. 80. ISBN 9781498554299.
- ↑ Maoz, Zeev (2006). Defending the Holy Land (ภาษาอังกฤษ). University of Michigan Press. pp. 109–110. ISBN 0472115405.
- ↑ "David Elazar, The IDF's 9th Chief of Staff". IDF Official Website. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2011-05-30.
- ↑ Gal Perl Finkel, Don't 'poke the bear' in Syria, The Jerusalem Post, October 6, 2018.
หนังสืออ่านเพิ่ม[แก้]

- Ḥanokh Barṭov; David Elazar (1981). Dado, 48 years and 20 days. Ma'ariv Book Guild.