ผลต่างระหว่างรุ่นของ "แหล่งโบราณคดีบ้านเชียง"

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
cat
cat
บรรทัด 34: บรรทัด 34:


[[หมวดหมู่:แหล่งโบราณคดีในประเทศไทย|บ้านเชียง]]
[[หมวดหมู่:แหล่งโบราณคดีในประเทศไทย|บ้านเชียง]]
[[หมวดหมู่:โบราณสถาน|บ้านเชียง, แหล่งโบราณคดี]]
[[หมวดหมู่:มรดกโลกไทย]]
[[หมวดหมู่:มรดกโลกไทย]]
[[หมวดหมู่:จังหวัดอุดรธานี]]
[[หมวดหมู่:จังหวัดอุดรธานี]]

รุ่นแก้ไขเมื่อ 07:01, 30 พฤษภาคม 2549

แหล่งโบราณคดีบ้านเชียง เป็นส่วนหนึ่งของโครงการวิกิประเทศไทยและสถานีย่อย โดยมีจุดมุ่งหมายเพื่อรวบรวมเรื่องราวทุกอย่างเกี่ยวกับประเทศไทย ทุกคนสามารถมีส่วนร่วมในโครงการนี้ได้ด้วยการช่วยกันพัฒนาบทความ แหล่งโบราณคดีบ้านเชียง หรือแวะไปที่หน้าโครงการหรือหน้าสถานีย่อยเพื่อดูข้อมูลเพิ่มเติม
??? บทความนี้ยังไม่ได้รับการพิจารณาตามการจัดระดับการเขียนบทความ

แม่แบบ:ตารางมรดกโลก

บ้านเชียง เป็นแหล่งโบราณคดีสำคัญแห่งหนึ่ง ที่ทำให้รับรู้ถึงการดำรงชีวิตในสมัยก่อนประวัติศาสตร์ย้อนหลังไปกว่า ๕,๐๐๐ ปี ร่องรอยของมนุษย์ในประเทศไทยสมัยดังกล่าว แสดงให้เห็นถึงวัฒนธรรมที่มีพัฒนาการแล้วในหลายๆ ด้าน โดยเฉพาะด้านความรู้ความสามารถหรือภูมิปัญญา อันเป็นเครื่องมือสำหรับช่วยให้ผู้คนเหล่านั้นสามารถดำรงชีวิตและสร้างสังคม-วัฒนธรรมของมนุษย์ได้สืบเนื่องต่อกันมาเป็นระยะเวลายาวนาน วัฒนธรรมบ้านเชียงได้ครอบคลุมถึงแหล่งโบราณคดีในภาคตะวันออกเฉียงเหนืออีกกว่าร้อยแห่ง ซึ่งเป็นบริเวณพื้นที่ที่มีมนุษย์อยู่อาศัยหนาแน่นมาตั้งแต่หลายพันปีแล้ว ด้วยเหตุนี้เององค์การยูเนสโกของสหประชาชาติจึงได้ยอมรับขึ้นบัญชีแหล่งวัฒนธรรมบ้านเชียงไว้เป็นแห่งหนึ่งในบรรดามรดกโลก

ประวัติการขุดค้นพบทางโบราณคดี

ในปี พ.ศ. 2503 หัวหน้าหน่วยศิลปากรที่ 7 จังหวัดขอนแก่นได้เข้ามาสำรวจบ้านเชียง และ รับรู้เรื่องราวการพบวัตถุโบราณจากชาวบ้าน แต่ก็มิได้ทำการอันใด จนกระทั่งปี พ.ศ. 2510 จึงได้มีนักโบราณคดีจากกองโบราณคดีมาขุดสำรวจเป็นครั้งแรก บริเวณตรงข้ามกับวัดโพธิ์ศรีใน ซึ่งก็พบหลักฐานพวกเครื่องปั้นดินเผา เครื่องใช้ที่ทำจากเหล็กและสำริด รวมทั้งโครงกระดูกจำนวนมาก หลังจากนั้น อีก 2 ปีต่อมาเราถึงได้รู้ว่าเศษภาชนะเหล่านั้นมีอายุระหว่าง 6,933 - 5,793 ปีมาแล้ว สำหรับการขุดค้นในปี พ.ศ. 2515 พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว] และ สมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ ได้เสด็จมาทอดพระเนตรด้วย อย่างไรก็ตาม ข่าวภาชนะดินเผาอายุหลายพันปีที่บ้านเชียงก็สร้างความตื่นเต้นไม่เพียงในหมู่นักโบราณคดี หากแต่เย้ายวนบรรดานักล่าสมบัติและชาวบ้านทั้งหลาย จนต้องออกประกาศห้ามขุดค้นแหล่งโบราณคดีวัฒนธรรมบ้านเชียงครองคลุมพื้นที่ถึง 9 ตำบล

การสำรวจอย่างจริงจังครั้งใหญ่เกิดขึ้นในปีพ.ศ. 2517 - 2518 เมื่อกรมศิลปากร และ พิพิธภัณฑ์มหาวิทยาลัยของ มหาวิทยาลัยเพนซิลเวเนีย ประเทศสหรัฐอเมริกา ร่วมการขุดค้นที่บ้านเชียงอย่างละเอียด

ศิลปะเครื่องปั้นดินเผา

ศิลปะเครื่องปั้นดินเผา ของบ้านเชียงนั้น สามารถแบ่งออกได้เป็น 3 ยุค ได้แก่

  1. ภาชนะดินเผาสมัยต้น อายุ 5,600-3,000 ปี มีลายเชือกทาบ ซึ่งคาดกันว่าเป็นปอกัญชา ทั้งยังมีลายขูดขีด และมีการเขียนสีบ่า โดยพบวางคู่กับโครงกระดูก บางใบใช้บรรจุศพเด็กด้วย
  2. ภาชนะดินเผาสมัยกลาง อายุ 3,000 ปี-2,300 ปี สมัยนี้เป็นสมัยที่เริ่มมีการขีดทาสีแดงแล้ว
  3. ภาชนะดินเผาสมัยปลาย อายุ 2,300 ปี-1,800 ปี เป็นยุคที่มีลวดลายที่สวยงามที่สุด ลวดลายพิสดาร สะท้อนให้เห็นถึงสภาพสังคมที่สงบสุข ก่อนที่จะกลายมาเป็นการเคลือบน้ำโคลนสีแดงขัดมัน