พ.ศ. 2488
หน้าตา
บทความนี้ยังต้องการเพิ่มแหล่งอ้างอิงเพื่อพิสูจน์ความถูกต้อง |
ศตวรรษ: | |
---|---|
ปี: |
ปฏิทินสุริยคติไทย | 2488 |
ปฏิทินกริกอเรียน | 1945 MCMXLV |
Ab urbe condita | 2698 |
ปฏิทินอาร์มีเนีย | 1394 ԹՎ ՌՅՂԴ |
ปฏิทินอัสซีเรีย | 6695 |
ปฏิทินบาไฮ | 101–102 |
ปฏิทินเบงกอล | 1352 |
ปฏิทินเบอร์เบอร์ | 2895 |
ปีในรัชกาลอังกฤษ | 9 Geo. 6 – 10 Geo. 6 |
พุทธศักราช | 2489 |
ปฏิทินพม่า | 1307 |
ปฏิทินไบแซนไทน์ | 7453–7454 |
ปฏิทินจีน | 甲申年 (วอกธาตุไม้) 4641 หรือ 4581 — ถึง — 乙酉年 (ระกาธาตุไม้) 4642 หรือ 4582 |
ปฏิทินคอปติก | 1661–1662 |
ปฏิทินดิสคอร์เดีย | 3111 |
ปฏิทินเอธิโอเปีย | 1937–1938 |
ปฏิทินฮีบรู | 5705–5706 |
ปฏิทินฮินดู | |
- วิกรมสมวัต | 2001–2002 |
- ศกสมวัต | 1867–1868 |
- กลียุค | 5046–5047 |
ปฏิทินโฮโลซีน | 11945 |
ปฏิทินอิกโบ | 945–946 |
ปฏิทินอิหร่าน | 1323–1324 |
ปฏิทินอิสลาม | 1364–1365 |
ปฏิทินญี่ปุ่น | ศักราชโชวะ 20 (昭和20年) |
ปฏิทินจูเช | 34 |
ปฏิทินจูเลียน | กริกอเรียนลบ 13 วัน |
ปฏิทินเกาหลี | 4278 |
ปฏิทินหมินกั๋ว | ROC 34 民國34年 |
พุทธศักราช 2488 ตรงกับปีคริสต์ศักราช 1945 เป็นปีปกติสุรทินที่วันแรกเป็นวันจันทร์ตามปฏิทินกริกอเรียน และเป็น
ผู้นำประเทศไทย
[แก้]- พระมหากษัตริย์: พระบาทสมเด็จพระปรเมนทรมหาอานันทมหิดล พระอัฐมรามาธิบดินทร (2 มีนาคม พ.ศ. 2478 – 9 มิถุนายน พ.ศ. 2489)
- นายกรัฐมนตรี:
เหตุการณ์
[แก้]มกราคม
[แก้]- 2 มกราคม - สงครามโลกครั้งที่ 2: ฝ่ายพันธมิตรใช้เครื่องบินทิ้งระเบิดถล่มสะพานพระราม 6
- 17 มกราคม - สงครามโลกครั้งที่สอง : กองทัพสหภาพโซเวียตเข้าโจมตีกรุงวอร์ซอ เมืองหลวงของประเทศโปแลนด์
- 27 มกราคม - กองทัพแดงปล่อยตัวนักโทษ 7,500 คน ที่นาซีกักขังไว้ในค่ายกักกันเอาส์ชวิตซ์ (Auschwitz) ประเทศโปแลนด์
- 27 มกราคม - ก่อตั้ง ธนาคารกรุงศรีอยุธยา
กุมภาพันธ์
[แก้]- 4 กุมภาพันธ์ - วินสตัน เชอร์ชิลล์ แฟรงคลิน ดี. รูสเวลท์ และโจเซฟ สตาลิน พบกันในที่ประชุมร่วมยอลตา
- 13 กุมภาพันธ์ - สงครามโลกครั้งที่สอง : กองกำลังสหภาพโซเวียตยึดเมืองบูดาเปสต์ของฮังการี จากนาซี
- 14 กุมภาพันธ์ - กองทัพอากาศอังกฤษ เริ่มการระเบิดเมืองเดรสเดนในประเทศเยอรมนี ส่งผลให้เกิดพายุเพลิงคร่าชีวิตพลเรือนหลายหมื่นคน
- 23 กุมภาพันธ์ - กลุ่มนาวิกโยธินสหรัฐอเมริกา ปักธงบนเกาะอิโวะจิมะที่อยู่ห่าง 1,045 กิโลเมตร ทางตะวันตกเฉียงเหนือของญี่ปุ่น หลังจากชัยชนะในศึกแห่งอิโวะจิมะ ภาพถ่ายการปักธงได้รับรางวัลพูลิตเซอร์
- 28 กุมภาพันธ์ – ทีมฟุตบอลทีมชาติอาร์เจนตินาชนะเลิศการแข่งขันฟุตบอลชิงแชมป์แห่งชาติอเมริกาใต้ ครั้งที่ 18 ณ สนามกีฬานาซีโอนัล กรุงซานเตียโก ประเทศชิลี
มีนาคม
[แก้]- 3 มีนาคม ทหารฝ่ายสัมพันธมิตรยึดกรุงมะนิลาคืนจากญี่ปุ่นได้ในวันนี้
- 9 มีนาคม - สงครามโลกครั้งที่สอง : เครื่องบินทิ้งระเบิดของสหรัฐ ถล่มเมืองโตเกียวของญี่ปุ่น ทำให้เกิดพายุเพลิง คร่าชีวิตชาวญี่ปุ่นประมาณ 100,000 คน
- 12 มีนาคม - สมเด็จพระนโรดมสีหนุประกาศเอกราชของกัมพูชา
- 16 มีนาคม - ฝ่ายสัมพันธมิตรยึดเกาะอิโวจิมาสำเร็จ
- 22 มีนาคม - ก่อตั้งสันนิบาตอาหรับ ณ กรุงไคโร ประเทศอียิปต์
เมษายน
[แก้]- 1 เมษายน - ศึกแห่งโอกินาวาในสงครามโลกครั้งที่สอง : ทหารสหรัฐ ยกพลขึ้นบกที่เกาะโอกินาวา ประเทศญี่ปุ่น
- 5 เมษายน - โจซิป โบรซ ติโต ยอมให้ทหารโซเวียต เข้าสู่ดินแดนยูโกสลาเวียเป็นการชั่วคราว
- 7 เมษายน - เรือรบยามาโตะของญี่ปุ่นจมลง 200 กิโลเมตร ทางเหนือของโอกินาวา
- 11 เมษายน - สงครามโลกครั้งที่สอง : กองกำลังสหรัฐ บุกสลายค่ายกักกันบูเคนวอลด์ของนาซีเยอรมัน
- 14 เมษายน - สงครามโลกครั้งที่สอง : เครื่องบินทิ้งระเบิดของสหรัฐ ถล่มกรุงเทพมหานคร ทำให้โรงไฟฟ้าวัดเลียบและวัดราชบุรณราชวรวิหาร (พระอารามหลวง) ถูกทำลายพินาศสิ้น
- 16 เมษายน - สงครามโลกครั้งที่สอง : กองทัพแดงเริ่มเปิดฉากบุกเข้าสู่กรุงเบอร์ลิน
- 20 เมษายน - สงครามโลกครั้งที่สอง : กองทัพสหรัฐอเมริกาได้ยึดครองไลพ์ซิจ
- 25 เมษายน - มีการเจรจาก่อตั้งสหประชาชาติที่ซานฟรานซิสโก
- 30 เมษายน - อดอล์ฟ ฮิตเลอร์ และภรรยา กระทำอัตวินิบาตกรรม ขณะกองทัพแดงบุกเข้าใกล้ที่ซ่อนของเขาในกรุงเบอร์ลิน
พฤษภาคม
[แก้]- 5 พฤษภาคม - สงครามโลกครั้งที่สอง: กองทัพพันธมิตรปลดปล่อยราชอาณาจักรเดนมาร์ก
- 8 พฤษภาคม - สงครามโลกครั้งที่สอง: สงครามในยุโรปสิ้นสุดลง เมื่อนาซีเยอรมนีประกาศยอมจำนน นับเป็นวันแห่งชัยชนะในทวีปยุโรป VE Day (Victory in Europe day)
- 11 พฤษภาคม - ทหารเยอรมันในแนวรบด้านตะวันออกยอมจำนนทั้งหมด
- 10 พฤษภาคม - ทหารญี่ปุ่นที่เววักยอมจำนนต่อฝ่ายสัมพันธมิตร
มิถุนายน
[แก้]- 8 มิถุนายน - ก่อตั้ง ธนาคารกสิกรไทย
- 21 มิถุนายน - สงครามโลกครั้งที่สอง : ศึกแห่งโอกินาวาสิ้นสุดลง
- 26 มิถุนายน - ประเทศสมาชิกลงนามในกฎบัตรสหประชาชาติ ณ ซานฟรานซิสโก รัฐแคลิฟอร์เนีย มีสมาชิกร่วมก่อตั้ง 51 ประเทศ
กรกฎาคม
[แก้]- 16 กรกฎาคม - โครงการแมนฮัตตัน : การทดลองระเบิดนิวเคลียร์ครั้งแรกของโลกใน "แผนปฏิบัติการทรินิตี" มีขึ้นในทะเลทรายใกล้เมืองอลามากอร์โด รัฐนิวเม็กซิโก สหรัฐอเมริกา
- 17 กรกฎาคม - วินสตัน เชอร์ชิลล์, โจเซฟ สตาลิน และแฮร์รี เอส. ทรูแมน หารือกันในการประชุมร่วมพอตส์แดม เพื่อตัดสินใจหาแนวทางการปกครองเยอรมนีหลังสงครามโลกครั้งที่สอง
- 30 กรกฎาคม - สงครามโลกครั้งที่สอง: เรือดำน้ำญี่ปุ่นยิงตอร์ปิโด 2 ลูก ถล่ม เรือรบอินเดียแนโพลิส ของสหรัฐ ขณะมุ่งหน้าไปยังฟิลิปปินส์ ทำให้ลูกเรือ 883 คน เสียชีวิต เป็นการสูญเสียลูกเรือคราวเดียวกันครั้งใหญ่ที่สุดในประวัติศาสตร์ของกองทัพเรือสหรัฐอเมริกา
- 30 กรกฎาคม - รัฐบาลไทยแต่งตั้งคณะกรรมการอิสลามประจำจังหวัดเฉพาะสี่จังหวัดภาคใต้เป็นครั้งแรก หลังจากมีการฟื้นฟูตำแหน่งเกี่ยวกับศาสนาอิสลาม
สิงหาคม
[แก้]- 6 สิงหาคม - สหรัฐอเมริกาทิ้งระเบิดนิวเคลียร์ (ลิตเติลบอย) ถล่มนครฮิโรชิมา ประเทศญี่ปุ่น ทำให้มีผู้เสียชีวิตทันที 80,000 คน สิ้นปีมีผู้เสียชีวิตอีก 60,000 คน จากการได้รับกัมมันตภาพรังสี คาดว่ามีผู้เสียชีวิตรวมจากเหตุการณ์นี้ราว 200,000 คน
- 8 สิงหาคม-สงครามโลกครั้งที่สอง:สหภาพโซเวียตประกาศสงครามกับจักรวรรดิญี่ปุ่นบุกพรมแดนในแมนจูเรีย
- 9 สิงหาคม -
- สหรัฐอเมริกาทิ้งระเบิดนิวเคลียร์แฟตแมน เหนือเมืองนางาซากิ ประเทศญี่ปุ่น
- สหภาพโซเวียตยกกองทัพจากไซบีเรียเข้าสู่เกาหลีเหนือโดยไม่มีการต่อต้าน
- 14 สิงหาคม - ญี่ปุ่นประกาศยอมแพ้ต่อฝ่ายสัมพันธมิตรในสงครามโลกครั้งที่สอง
- 15 สิงหาคม -
- ญี่ปุ่นรับข้อตกลงในเอกสารยอมจำนน ถือเป็นการสิ้นสุดสงครามโลกครั้งที่สอง
- ประเทศเกาหลีได้รับเอกราชหลังจากการยอมจำนนของญี่ปุ่น
- 16 สิงหาคม - วันสันติภาพไทย : หลังสงครามโลกครั้งที่สองยุติลง ปรีดี พนมยงค์ ผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ ออกประกาศให้การประกาศสงครามของไทยต่อสหรัฐอเมริกาและราชอาณาจักรบริเตนใหญ่เป็นโมฆะ และคืนดินแดนที่ได้มาระหว่างสงครามคือสหรัฐไทยเดิมและสี่รัฐมาลัยให้อังกฤษ
- 17 สิงหาคม - ประเทศอินโดนีเซียประกาศเอกราช
- 19 สิงหาคม - สหรัฐอเมริกาประกาศว่าการประกาศสงครามของไทยเป็นโมฆะเพราะขัดกับเจตจำนงของประชาชน
- 31 สิงหาคม - พันตรี ควง อภัยวงศ์ ลาออกจากตำแหน่งนายกรัฐมนตรี
กันยายน
[แก้]- 2 กันยายน -
- ญี่ปุ่นลงนามในเอกสารยอมจำนนบนเรือรบมิสซูรีของสหรัฐ ที่ทอดสมอในอ่าวโตเกียว เป็นการสิ้นสุดสงครามโลกครั้งที่สองอย่างเป็นทางการ
- โฮจิมินห์ ประกาศสถาปนาสาธารณรัฐประชาธิปไตยเวียดนาม ซึ่งต่อมาหลังจาการรวมประเทศใช้ชื่อว่าสาธารณรัฐสังคมนิยมเวียดนาม
- 11 กันยายน - เครื่องบินทิ้งระเบิด พุ่งชนตึกเอ็มไพร์สเตต ทำให้มีผู้เสียชีวิต 40 คน
- 17 กันยายน - หม่อมราชวงศ์เสนีย์ ปราโมช เข้ารับตำแหน่งนายกรัฐมนตรี
ตุลาคม
[แก้]- 6 ตุลาคม - ประกาศใช้ตราพระราชบัญญัติการธนาคารพาณิชย์ พ.ศ. 2488
- 21 ตุลาคม - สตรีได้รับสิทธิในการออกเสียงเลือกตั้งเป็นครั้งแรกในประเทศฝรั่งเศส
- 24 ตุลาคม - วันก่อตั้งสหประชาชาติ
พฤศจิกายน
[แก้]- 28 พฤศจิกายน - เกิดแผ่นดินไหวในประเทศปากีสถาน ทำให้เกิดคลื่นสึนามิ มีผู้เสียชีวิตมากกว่า 4,000 คน
ธันวาคม
[แก้]- 5 ธันวาคม - พระบาทสมเด็จพระปรเมนทรมหาอานันทมหิดลเสด็จนิวัตประเทศไทย
- 5 ธันวาคม - เครื่องบินทิ้งระเบิดตอร์ปิโดในเที่ยวบินที่ 19 ของกองทัพเรือสหรัฐอเมริกา สูญหายไปในสามเหลี่ยมเบอร์มิวดา ขณะฝึกบินนอกชายฝั่งฟลอริดา
- 27 ธันวาคม -
- นานาชาติให้สัตยาบันในข้อตกลงเบร็ตตันวูดส์ นำไปสู่การก่อตั้งกองทุนการเงินระหว่างประเทศ และธนาคารระหว่างประเทศเพื่อการบูรณะและการพัฒนา
- เนเธอร์แลนด์ให้เอกราชแก่อินโดนีเซียอย่างสมบูรณ์
ไม่ทราบวัน
[แก้]- ก่อตั้ง องค์การอาหารและการเกษตรแห่งสหประชาชาติ
- ค้นพบ ธาตุโพรมีเทียม
เหตุการณ์ที่ยังคงดำเนินอยู่
[แก้]วันเกิด
[แก้]มกราคม
[แก้]- 1 มกราคม
- ยฺเหวียน เหอผิง ผู้กำกับภาพยนตร์ชาวจีน
- 2 มกราคม - สโลโบดัน พราลยัค นายพลชาวโครแอต
- 7 มกราคม
- ราฟาเอล เฮอร์รีร่า แชมป์โลกมวยสากลชาวเม็กซิโก
- โอลเล เวสต์ลิง
- 10 มกราคม
- ร็อด สจ๊วต นักร้อง นักแต่งเพลงชาวอังกฤษ
- 14 มกราคม - ฝั่ม จี ลาน ผู้วิจัยเศรษฐกิจชาวเวียดนาม
- 15 มกราคม - เจ้าหญิงไมเคิลแห่งเคนต์
- 29 มกราคม - อิบราฮิม โบบาการ์ ไคตา นายกรัฐมนตรีมาลี
กุมภาพันธ์
[แก้]- 5 กุมภาพันธ์
- วิภารัตน์ เปรื่องสุวรรณ นักร้องลูกทุ่งชาวไทย
- เซย์ ซัม นักการเมืองกัมพูชา
- 6 กุมภาพันธ์ - บ็อบ มาร์เลย์ นักร้องชาวจาเมกา (เสียชีวิต 11 พฤษภาคม พ.ศ. 2524)
- 8 กุมภาพันธ์ - รีโน บาริลลารี นักถ่ายภาพชาวอิตาลี
- 9 กุมภาพันธ์ - มีอา ฟาร์โรว์ นักแสดงชาวอเมริกัน
- 14 กุมภาพันธ์ - เจ้าชายฮันส์-อาดัมที่ 2 แห่งลิกเตนสไตน์
- 17 กุมภาพันธ์
- พีท โพสเทลเวท นักแสดงชาวอังกฤษ (เสียชีวิต 2 มกราคม พ.ศ. 2554)
- 20 กุมภาพันธ์ - จอร์จ สมูท นักฟิสิกส์ดาราศาสตร์และนักจักรวาลวิทยาชาวอเมริกัน
มีนาคม
[แก้]- 3 มีนาคม
- มุน ฮี-ซัง นักการเมืองชาวเกาหลีใต้
- 15 มีนาคม - เจี้ย ยฺเหวียน นักแสดงชาวฮ่องกง (เสียชีวิต 16 พฤศจิกายน พ.ศ. 2520)
- 28 มีนาคม - โรดรีโก ดูแตร์เต ประธานาธิบดีฟิลิปปินส์
- 30 มีนาคม - เอริก แคลปตัน นักร้อง นักดนตรี นักแต่งเพลงชาวอังกฤษ
เมษายน
[แก้]- 2 เมษายน - ลินดา ฮันต์ นักแสดงชาวอเมริกัน
- 14 เมษายน - ริตชี แบล็กมอร์ นักกีตาร์ นักดนตรีชาวอังกฤษ
- 20 เมษายน
- เตนเซน ประธานาธิบดีพม่า
- ไมเคิล แบรนดอน นักแสดงชาวอเมริกัน
- สุจิตต์ วงษ์เทศ นักเขียนชาวไทย ศิลปินแห่งชาติ
พฤษภาคม
[แก้]- 1 พฤษภาคม - โยโกะ อะกิ นักแต่งเพลง, นักร้อง, นักเขียนชาวญี่ปุ่น
- 9 พฤษภาคม - ยุพพ์ ไฮน์เคส นักฟุตบอล ผู้จัดการทีมชาวเยอรมัน
- 15 พฤษภาคม - เจ้าชายดูอาร์ท ปิโอ ดยุกแห่งบรากันซา
- 16 พฤษภาคม - ฉวีวรรณ พันธุ ราชินีหมอลำ , ศิลปินแห่งชาติ สาขาศิลปการแสดง (หมอลำ)
- 19 พฤษภาคม - พีต ทาวน์เซนด์ นักกีตาร์ นักร้อง นักแต่งเพลง และนักประพันธ์ชาวอังกฤษ
- 31 พฤษภาคม - โลร็อง บากโบ ประธานาธิบดีคนที่ 4 แห่งโกตดิวัวร์
มิถุนายน
[แก้]- 1 มิถุนายน - เฟิง ชุ้ยฟาน นักแสดงและผู้กำกับภาพยนตร์ชาวฮ่องกง
- 6 มิถุนายน - ช็อง อก-จิน นักวอลเลย์บอลชาวเกาหลีเหนือ
- 11 มิถุนายน - ทิว สุโขทัย นักร้องลูกทุ่งชาวไทย (เสียชีวิต 3 กรกฎาคม พ.ศ. 2513)
- 14 มิถุนายน - ฮิโระชิ มิยะอุชิ นักแสดงชาวญี่ปุ่น
- 15 มิถุนายน - สมสะหวาด เล่งสะหวัด รองนายกรัฐมนตรีลาว
- 17 มิถุนายน - เอดดี เมิกซ์ นักจักรยานอาชีพชาวเบลเยียม
- 19 มิถุนายน
- ราดอวาน คาราจิช นักการเมืองสาธารณรัฐเซิร์ปสกา
- ออง ซาน ซูจี กวี นักการเมือง และผู้ได้รับรางวัลโนเบลสาขาสันติภาพชาวพม่า
- 20 มิถุนายน - ฮัสซัน อับชีร ฟาราห์ ทหารและนักการเมืองชาวโซมาเลีย
- 21 มิถุนายน - พิศาล อัครเศรณี ผู้กำกับ นักแสดง นักแสดงภาพยนตร์ชาวไทย (เสียชีวิต 4 ธันวาคม พ.ศ. 2561)
- 24 มิถุนายน - สุชาติ สวัสดิ์ศรี ศิลปินแห่งชาติ สาขาวรรณศิลป์
- 25 มิถุนายน
- คาร์ลี ไซมอน นักร้อง-นักแต่งเพลง นักดนตรีชาวอเมริกัน
กรกฎาคม
[แก้]- 7 กรกฎาคม
- เฟเลติ เซเวเล นายกรัฐมนตรีคนที่ 14 ของประเทศตองงา
- 13 กรกฎาคม
- สุวรรณ วลัยเสถียร นักกฎหมายและนักการเมืองชาวไทย
- 17 กรกฎาคม
- คิม จุง-บก นักวอลเลย์บอลหญิงชาวเกาหลีเหนือ
- อาเลกซานดาร์ คาราจอร์เจวิช
- 21 กรกฎาคม - เสิ่น เตี้ยนเสีย นักแสดงชาวจีน (เสียชีวิต 19 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2551)
- 24 กรกฎาคม - จาง ถงจู่ ผู้กำกับภาพยนตร์ และนักแสดงชาวฮ่องกง
- 26 กรกฎาคม - เฮเลน เมียร์เรน นักแสดงชาวอังกฤษ
- 28 กรกฎาคม - จิม เดวิส ผู้เขียนการ์ตูน
- 30 กรกฎาคม
- ปาทริก มอดียาโน นักประพันธ์ชาวฝรั่งเศส รางวัลโนเบลสาขาวรรณกรรม
- 31 กรกฎาคม - วิลเลียม เวลด์ นักการเมืองอเมริกัน
สิงหาคม
[แก้]- สิงหาคม - เจ้า จี้ผิง นักแต่งเพลงจากมณฑลส่านซี
- 1 สิงหาคม - ดักลาส โอเชอร์ออฟ นักฟิสิกส์ชาวยิว อเมริกัน
- 4 สิงหาคม - คอร์ราโด ดัล ฟับโบร นักบอบสเลดชาวอิตาลี
- 8 สิงหาคม - อัสทรีด ฟรางค์ นักแสดงชาวเยอรมัน
- 11 สิงหาคม - ประวิตร วงษ์สุวรรณ ทหารและนักการเมืองชาวไทย
- 12 สิงหาคม
- ฌ็อง นูแวล สถาปนิกชาวฝรั่งเศส
- 14 สิงหาคม
- วิม เวนเดอส์ นักถ่ายทำภาพยนตร์ นักเขียนบท นักถ่ายภาพ และนักเขียนชาวเยอรมัน
- สตีฟ มาร์ติน นักแสดงชาวอเมริกัน
- 19 สิงหาคม
- ชาลส์ เวลสลีย์ ดยุกที่ 9 แห่งเวลลิงตัน
- สาวิตต์ โพธิวิหค นักการเมืองชาวไทย
- เอียน กิลแลน นักร้องและนักแต่งเพลงชาวอังกฤษ
- 21 สิงหาคม - ปรีดา จุลละมณฑล นักจักรยานทีมชาติไทย (เสียชีวิต 28 มีนาคม พ.ศ. 2553)
- 24 สิงหาคม - วินซ์ แม็กแมน นักธุรกิจชาวอเมริกัน
- 31 สิงหาคม
- ยิตซัก เพิร์ลแมน นักไวโอลิน
- แวน มอร์ริสัน นักร้องไอร์แลนด์
กันยายน
[แก้]- 11 กันยายน - ฟรันซ์ เบคเคนเบาเออร์ นักฟุตบอลชาวเยอรมัน (เสียชีวิต 7 มกราคม พ.ศ. 2567)
- 12 กันยายน - ยุมิโกะ ฟุจิตะ นักแสดงหญิงชาวญี่ปุ่น
- 15 กันยายน - นครินทร์ ชาทอง ศิลปินแห่งชาติ สาขาการแสดงพื้นบ้าน (เสียชีวิต 28 ธันวาคม พ.ศ. 2563)
- 21 กันยายน - เจอร์รี บรักไฮเมอร์ โปรดิวเซอร์ภาพยนตร์และโทรทัศน์ ชาวอเมริกัน
- 30 กันยายน
- เอฮุด โอลเมิร์ต นายกรัฐมนตรีคนที่ 12 ของอิสราเอล
ตุลาคม
[แก้]- 1 ตุลาคม - ราม นาถ โกวินท์ ประธานธิบดีอินเดีย
- 2 ตุลาคม - ดอน แม็กลีน นักร้อง-นักแต่งเพลงชาวอเมริกัน
- 4 ตุลาคม
- คลิฟตัน เดวิส นักแสดง, นักร้อง, นักแต่งเพลง, รัฐมนตรี และนักประพันธ์ชาวอเมริกัน
- 12 ตุลาคม
- ดัสตี โรดส์ นักมวยปล้ำอาชีพและผู้ฝึกสอนชาวอเมริกัน (เสียชีวิต 11 มิถุนายน พ.ศ. 2558)
- โวลฟรัม เบอร์เกอร์ นักแสดงชายชาวออสเตรีย
- 13 ตุลาคม - เดซี เบาเตอร์เซอ นักการเมืองซูรินาเม
- 18 ตุลาคม - โนะริโอะ วะกะโมะโตะ นักพากย์ชาวญี่ปุ่น
- 21 ตุลาคม - สมเด็จพระมเหศวรนโรดม จักรพงศ์
- 24 ตุลาคม - สุลต่านชะรอฟุดดีน อิดริส ชาห์
- 31 ตุลาคม -
พฤศจิกายน
[แก้]- 3 พฤศจิกายน
- แกร์ท มึลเลอร์ นักฟุตบอลชาวเยอรมัน
- 5 พฤศจิกายน - สมเด็จพิชัยเสนา เตีย บัญ นักการเมืองกัมพูชา
- 10 พฤศจิกายน - ทองลุน สีสุลิด นายกรัฐมนตรีลาว
- 11 พฤศจิกายน
- ดานิเอล ออร์เตกา นักการเมืองนิการากัว
- 12 พฤศจิกายน
- นีล ยัง นักร้อง-นักแต่งเพลงชาวแคนาดา
- 15 พฤศจิกายน - บ็อบ กันตัน นักแสดงละครเวทีและภาพยนตร์ชาวอเมริกัน
- 21 พฤศจิกายน - โกลดี ฮอว์น นักร้อง ชาวอเมริกัน
- 28 พฤศจิกายน - สมเด็จพระราชาธิบดีพีเรนทระแห่งเนปาล (เสียชีวิต 1 มิถุนายน พ.ศ. 2544)
ธันวาคม
[แก้]- 1 ธันวาคม
- เบ็ตต์ มิดเลอร์ นักร้อง นักแสดง ดาราตลก ชาวอเมริกัน
- 5 ธันวาคม - โมเช คัตซาฟ ประธานาธิบดีอิสราเอล
- 7 ธันวาคม
- ไคลฟ์ รัสเซลล์ นักแสดงชาวสก็อต
- โมฮัมเหม็ด ออสมาน จาวารี ทนายความและนักการเมืองชาวโซมาเลีย
- 9 ธันวาคม
- ฮวัง ฮเย-ซุก อดีตนักวอลเลย์บอลหญิงชาวเกาหลีเหนือ
- 12 ธันวาคม - ชุมพล กาญจนะ นักการเมืองชาวไทย
- 17 ธันวาคม
- แจ๊กเกอลีน วิลสัน นักเขียนชาวอังกฤษ
- 23 ธันวาคม - อันโตเนียว เซร์บันเตส แชมป์นักมวยสากลชาวโคลอมเบีย
- 24 ธันวาคม - เล็มมี นักร้อง - นักแต่งเพลงชาวอังกฤษ (เสียชีวิต 28 ธันวาคม พ.ศ. 2558)
- 27 ธันวาคม - คิม ฮุนชิ นักมวยสากลชาวเกาหลีใต้
- 30 ธันวาคม - เดวี โจนส์ นักร้อง นักแต่งเพลง และนักแสดงชาวอังกฤษ (เสียชีวิต 29 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2555)
- 31 ธันวาคม - วรยศ ศุขสายชล นักดนตรีไทย
วันถึงแก่กรรม
[แก้]- 3 กุมภาพันธ์ - โรลันด์ ไฟรซเลอร์ นักกฎหมายชาวเยอรมัน (เกิด 30 ตุลาคม พ.ศ. 2436)
- มีนาคม - แอนน์ แฟรงค์ เด็กสาวชาวยิวผู้เขียนอนุทินซึ่งภายหลังได้รับการตีพิมพ์ทั่วโลก (เกิด 12 มิถุนายน พ.ศ. 2472)
- 12 เมษายน - แฟรงคลิน ดี. รูสเวลท์ ประธานาธิบดีสหรัฐ (เกิด 30 มกราคม พ.ศ. 2424)
- 28 เมษายน - เบนิโต มุสโสลินี ผู้นำเผด็จการชาวอิตาลี (เกิด 29 กรกฎาคม พ.ศ. 2426)
- 30 เมษายน - อดอล์ฟ ฮิตเลอร์ ผู้นำเผด็จการชาวเยอรมัน (อัตวินิบาตกรรม) (เกิด 20 เมษายน พ.ศ. 2432)
- 1 พฤษภาคม - โยเซฟ เกิบเบิลส์ นายกรัฐมนตรีนาซีเยอรมัน (เกิด 29 ตุลาคม พ.ศ. 2440)
- 23 กรกฎาคม - พระราชวรวงศ์เธอ กรมหมื่นพิทยาลงกรณ์ (ประสูติ 10 มกราคม พ.ศ. 2419)
- 10 สิงหาคม - โรเบิร์ต ก็อดดาร์ด นักวิทยาศาสตร์ผู้เชี่ยวชาญจรวดชาวอเมริกัน (เกิด 5 ตุลาคม พ.ศ. 2425)
- 18 สิงหาคม - สุภาส จันทรโภส ผู้นำกลุ่มเคลื่อนไหวเพื่ออิสรภาพของชาวอินเดีย (เกิด 23 มกราคม พ.ศ. 2439)
- 26 กันยายน - เบลา บาร์ต็อก คีตกวีและนักเปียโนชาวฮังการี (เกิด 25 มีนาคม พ.ศ. 2423)
บันเทิงคดีที่อ้างอิงถึงปีนี้
[แก้]ภาพยนตร์การ์ตูน
[แก้]- สุสานหิ่งห้อย (Grave of the Fireflies) - เซตะ ตัวเอกของเรื่อง ถึงแก่กรรมในวันที่ 21 กันยายนของปีนี้[1]
รางวัล
[แก้]รางวัลโนเบล
[แก้]- สาขาเคมี – Artturi Ilmari Virtanen
- สาขาวรรณกรรม – กาเบรียลา มิสตราล
- สาขาสันติภาพ – คอร์เดลล์ ฮุล
- สาขาฟิสิกส์ – โวล์ฟกัง เอิร์นสต์ เปาลี
- สาขาสรีรวิทยาหรือการแพทย์ – อเล็กซานเดอร์ เฟลมมิง, แอร์นส์ บอริส ไชน, โฮเวิร์ด วอลเตอร์ ฟลอรีย์
อ้างอิง
[แก้]- ↑ เว็บไซต์ www.wingsee.com/ghibli/fireflies เก็บถาวร 2008-01-15 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน. เรียกข้อมูลวันที่ 30 ม.ค. 2550