ค่ายกักกัน
สำหรับความหมายอื่น ดูที่ การกักกัน
ระวังสับสนกับ ค่ายมรณะ
ค่ายกักกัน (อังกฤษ: Concentration Camp) คือสถานที่ที่รัฐใช้คุมขังนักโทษหรือกักกันบุคคลเฉพาะกลุ่มด้วยเหตุผลทางการเมือง นักโทษทางการเมือง ชนกลุ่มน้อย บุคคลที่เป็นปฏิปักษ์ต่อรัฐบาลหรือพลเมืองเชื้อชาติใดเชื้อชาติหนึ่ง นักโทษเหล่านี้จะถูกจับโดยไม่มีการสอบสวนตามกระบวนยุติธรรม และไม่มีกำหนดเวลาปล่อยตัว ทั้งยังถูกจำกัดสิทธิขั้นพื้นฐานของมนุษยชนด้วย ในแง่ประวัติศาสตร์ ค่ายกักกันที่เป็นที่รู้จักกันดีคือ ค่ายกักกันของพรรคนาซีในเยอรมันและค่ายกักกันแรงงานในสหภาพโซเวียต
ค่ายกักกันมีขึ้นเป็นครั้งแรกเมื่อเกิดสงครามบัวร์ในแอฟริกาใต้ โดยทั่วไปค่ายกักกันจะประกอบด้วยโรงทหารกระท่อมหรือกระโจมที่พักและบริเวณรอบ ๆ ค่ายจะมีป้อมยามและลวดหนามล้อมรอบ ผู้คุมค่ายและยามรักษาการณ์มีอำนาจเหนือชีวิตนักโทษและจะปกครองอย่างเข้มงวด
ค่ายกักกันที่สำคัญ ๆ ได้แก่
- ค่ายกักกันที่ดาเคา (Dachau)
- ค่ายกักกันเอาชวิทซ์ (Auschwitz)
- ค่ายกักกันเคล์มนอ (Chełmno)
- ค่ายมรณะเบวเชตซ์ (Bełżec)
- ค่ายกักกันที่ไมดาเนก (Majdanek)
- ค่ายมรณะโซบีบอร์ (Sobibor)
- ค่ายกักกันเทรบลิงคา (Treblinka)
- ค่ายกักกันบูเคนวัลด์ (Buchenwald)
- ค่ายกักกันบอกดานอฟกา (Bogdanovka)
- ค่ายกักกันดามานอฟกา (Damanovka)
- ค่ายกักกันอัคเนเซตคา (Aknecetka)
อ้างอิง[แก้]
- สมใจ ไพโรจน์ธีระรัชต์. สารานุกรมประวัติศาสตร์ยุโรปฉบับราชบัณฑิตยสถาน เล่ม C-D.
ดูเพิ่ม[แก้]
![]() |
บทความเกี่ยวกับอาคาร หรือ สถานที่สำคัญนี้ยังเป็นโครง คุณสามารถช่วยวิกิพีเดียได้โดยการเพิ่มเติมข้อมูล |