ข้ามไปเนื้อหา

ประเทศยูโกสลาเวีย

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
ยูโกสลาเวีย

Jugoslavija
Југославија
ค.ศ. 1918–1992
ค.ศ. 1941–1945: เยอรมนีครอบครอง
ยูโกสลาเวียในสมัยระหว่างสงคราม (บน) และสงครามเย็น (ล่าง)
ยูโกสลาเวียในสมัยระหว่างสงคราม (บน) และสงครามเย็น (ล่าง)
เมืองหลวง
และเมืองใหญ่สุด
เบลเกรด
44°49′N 20°27′E / 44.817°N 20.450°E / 44.817; 20.450
ภาษาราชการเซอร์เบีย-โครเอเชีย
มาซิโดเนีย (ตั้งแต่ ค.ศ. 1944)
สโลวีเนีย (ตั้งแต่ ค.ศ. 1944)
เดมะนิมชาวยูโกสลาฟ
การปกครองราชาธิปไตยแบบสืบทอด
(ค.ศ. 1918–1941)
สาธารณรัฐสหพันธ์
(ค.ศ. 1945–1992)
ประวัติศาสตร์ 
1 ธันวาคม ค.ศ. 1918
6 เมษายน ค.ศ. 1941
24 ตุลาคม ค.ศ. 1945
29 พฤศจิกายน ค.ศ 1945
27 เมษายน ค.ศ. 1992
ประชากร
• 1955
17,522,438[1]
• 1965
19,489,605[2]
• 1975
21,441,297[3]
• 1985
23,121,383[4]
• 1991
23,532,279[5]
สกุลเงินดีนาร์ยูโกสลาเวีย
รหัสโทรศัพท์38
โดเมนบนสุด.yu
ก่อนหน้า
ถัดไป
เซอร์เบีย
มอนเตเนโกร
รัฐแห่งชาวสโลวีน โครแอต และเซิร์บ
ออสเตรีย-ฮังการี
ฟีอูเม
โครเอเชีย
สโลวีเนีย
มาซิโดเนีย
บอสเนียและเฮอร์เซโกวีนา
สหพันธ์สาธารณรัฐยูโกสลาเวีย
ปัจจุบันเป็นส่วนหนึ่งของบอสเนียและเฮอร์เซโกวีนา
โครเอเชีย
คอซอวอ[a]
มอนเตเนโกร
มาซิโดเนียเหนือ
เซอร์เบีย
สโลวีเนีย

ยูโกสลาเวีย (/ˌjɡˈslɑːviə/; บอสเนีย-โครเอเชีย-มอนเตเนโกร-เซอร์เบีย: Jugoslavija / Југославија, [juɡǒslaːʋija]; สโลวีเนีย: Jugoslavija, [juɡɔˈslàːʋija]; มาซิโดเนีย: Југославија, [juɡɔˈsɫavija];[A] แปลว่า ดินแดนแห่งชาวสลาฟใต้) เป็นอดีตประเทศในคาบสมุทรบอลข่านและยุโรปกลางที่ดำรงอยู่ตั้งแต่ในช่วงศตวรรษที่ 20 ซึ่งก่อตั้งขึ้นภายหลังจากสงครามโลกครั้งที่หนึ่งยุติลงในปี ค.ศ. 1918[B] ภายใต้ชื่อ ราชอาณาจักรแห่งชาวเซิร์บ โครแอต และสโลวีน โดยการรวมตัวของรัฐแห่งชาวสโลวีน โครแอต และเซิร์บ (ตั้งอยู่ทางตอนใต้สุดของอดีตจักรวรรดิออสเตรีย-ฮังการี) พร้อมด้วยราชอาณาจักรเซอร์เบีย โดยเป็นสหภาพแห่งแรกที่สามารถรวมชาวสลาฟใต้ให้เป็นรัฐเอกราช ซึ่งแต่เดิมดินแดนแห่งนี้เคยเป็นส่วนหนึ่งของจักรวรรดิออตโตมันและออสเตรีย-ฮังการีมาหลายศตวรรษ สมเด็จพระเจ้าปีเตอร์ที่ 1 แห่งเซอร์เบียเป็นพระมหากษัตริย์พระองค์แรกแห่งราชอาณาจักร ราชอาณาจักรได้รับการยอมรับจากสากล เมื่อวันที่ 13 กรกฎาคม ค.ศ. 1922 จากการประชุมเอกอัครราชทูตในกรุงปารีส[7] ชื่ออย่างเป็นทางการของราชอาณาจักรถูกเปลี่ยนเป็น ราชอาณาจักรยูโกสลาเวีย เมื่อวันที่ 3 ตุลาคม ค.ศ. 1929

ยูโกสลาเวียถูกยึดครองโดยฝ่ายอักษะ เมื่อวันที่ 6 เมษายน ค.ศ. 1941 ในปี ค.ศ. 1943 สหพันธ์ประชาธิปไตยยูโกสลาเวียได้จัดตั้งขึ้นโดยพลพรรคยูโกสลาเวีย ในปี ค.ศ. 1944 กษัตริย์ปีเตอร์ที่ 2 ซึ่งในขณะนั้นได้ลี้ภัยออกนอกประเทศ ได้ยอมรับรัฐบาลของพลพรรคว่าเป็นรัฐบาลที่ถูกต้องตามกฎหมาย ระบอบราชาธิปไตยถูกยกเลิกในเวลาต่อมาในเดือนพฤศจิกายน ค.ศ. 1945 ยูโกสลาเวียจึงเปลี่ยนชื่อเป็น "สหพันธ์สาธารณรัฐประชาชนยูโกสลาเวีย" ในปี ค.ศ. 1946 เมื่อมีการจัดตั้งรัฐบาลคอมมิวนิสต์ขึ้น ทำให้ได้รับดินแดนอิสเตรีย, รีเยกา, และซาดาร์จากอิตาลี ผู้นำของพลพรรคนามว่า ยอซีป บรอซ ตีโต ปกครองประเทศในฐานะประธานาธิบดีแห่งยูโกสลาเวียจนกระทั่งเขาเสียชีวิตในปี ค.ศ. 1980 ในปี ค.ศ. 1963 ประเทศได้มีการเปลี่ยนชื่ออีกครั้งเป็น "สหพันธ์สาธารณรัฐสังคมนิยมยูโกสลาเวีย" หรืออักษรย่อคือ (SFRY)

สหพันธ์สาธารณรัฐสังคมนิยมยูโกสลาเวียประกอบไปด้วยสาธารณรัฐย่อยทั้งหมด 6 แห่ง ได้แก่ สาธารณรัฐสังคมนิยมบอสเนียและเฮอร์เซโกวีนา (SR Bosnia and Herzegovina), สาธารณรัฐสังคมนิยมโครเอเชีย (SR Croatia), สาธารณรัฐสังคมนิยมมาซิโดเนีย (SR Macedonia), สาธารณรัฐสังคมนิยมมอนเตเนโกร (SR Montenegro), สาธารณรัฐสังคมนิยมเซอร์เบีย (SR Serbia), และสาธารณรัฐสังคมนิยมสโลวีเนีย (SR Slovenia) โดยเซอร์เบียยังประกอบไปด้วยจังหวัดปกครองตนเองสังคมนิยมอีก 2 แห่ง ได้แก่ วอยวอดีนา และคอซอวอ ซึ่งภายหลังจากปี ค.ศ. 1974 จังหวัดเหล่านี้ก็แทบจะมีสถานะเทียบเท่ากับสาธารณรัฐย่อยอื่น ๆ ในสหพันธ์แล้ว[8][9] ภายหลังจากวิกฤตการณ์ทางเศรษฐกิจและการเมืองในช่วงทศวรรษที่ 1980 และการเติบโตขึ้นของลัทธิชาตินิยม, ยูโกสลาเวียจึงล่มสลายตามพรมแดนของสหพันธ์ โดยในช่วงแรกยูโกสลาเวียได้แตกออกเป็น 5 สาธารณรัฐ ซึ่งนำไปสู่สงครามยูโกสลาเวีย ที่เกิดขึ้นตั้งแต่ปี ค.ศ. 1993 จนสิ้นสุดในปี ค.ศ. 2017 เมื่อศาลอาญาระหว่างประเทศของอดีตยูโกสลาเวียได้จับกุมผู้นำทางการเมืองและทางทหารของอดีตยูโกสลาเวียในข้อหาอาชญากรรมสงคราม, การฆ่าล้างเผ่าพันธ์ุ, และ อาชญากรรมอื่นๆ ที่ก่อขึ้นระหว่างการเกิดสงคราม

ภายหลังการล่มสลาย สาธารณรัฐมอนเตเนโกรและเซอร์เบียได้รวมกันและจัดตั้งสหพันธรัฐใหม่ นั่นก็คือ "สหพันธ์สาธารณรัฐยูโกสลาเวีย" (FRY) หรือที่รู้จักกันตั้งแต่ปี ค.ศ. 2003 จนถึง ค.ศ. 2006 ในชื่อ "ประเทศเซอร์เบียและมอนเตเนโกร" โดยเป็นรัฐที่กล่างอ้างว่าสืบทอดต่อจากสหพันธ์สาธารณรัฐสังคมนิยมยูโกสลาเวีย แต่การกล่าวอ้างถูกคัดค้านโดยอดีตสาธารณรัฐอื่น ๆ แต่ท้ายที่สุด เรื่องนี้ได้จบลงจากการยอมรับการตัดสินของคณะกรรมการอนุญาโตตุลาการยูโกสลาเวียเกี่ยวกับการสืบทอดรัฐยูโกสลาเวีย[10] และในปี ค.ศ. 2003 ชื่ออย่างเป็นทางการก็ได้ถูกเปลี่ยนเป็นเซอร์เบียและมอนเตเนโกร ซึ่งต่อมารัฐแห่งนี้ได้ล่มสลายเนื่องจากการประกาศเอกราชของมอนเตเนโกรและเซอร์เบียในปี ค.ศ. 2006 พร้อมด้วยคอซอวอ[a] โดยมีปัญหาข้อพิพาทเกี่ยวกับการประกาศเอกราชในปี ค.ศ. 2008

ภูมิหลัง

[แก้]

แนวคิดยูโกสลาเวียในฐานะรัฐเดียวสำหรับชาวสลาฟใต้ทั้งหมด เกิดขึ้นในช่วงปลายศตวรรษที่ 17 และได้รับความโดดเด่นผ่านขบวนการอิลลีเรียนในศตวรรษที่ 19 ชื่อนี้สร้างขึ้นจากการรวมกันของคำชาวสลาฟ "jug" (ใต้) และ "slaveni" (สลาฟ) ความเคลื่อนไหวไปสู่การสร้างยูโกสลาเวียอย่างเป็นทางการเร่งขึ้นหลังจากการประกาศคอร์ฟูในปี 1917 ระหว่างคณะกรรมการยูโกสลาเวียและรัฐบาลแห่งราชอาณาจักรเซอร์เบีย

ลำดับการเปลี่ยนชื่อ

[แก้]
  1. ในวันที่ 1 ธันวาคม ค.ศ. 1918 ราชอาณาจักรแห่งชาวเซิร์บ โครแอต และสโลวีน ซึ่งภายหลังเปลี่ยนชื่อเป็นราชอาณาจักรยูโกสลาเวีย ในวันที่ 3 ตุลาคม ค.ศ. 1929 จนกระทั่งในช่วงสงครามโลกครั้งที่ 2 ได้ถูกฝ่ายอักษะยึดครอง
  2. ในวันที่ 29 พฤศจิกายน ค.ศ. 1945 (ภายหลังสงครามโลกครั้งที่ 2) ภายใต้ชื่อ สาธารณรัฐประชาธิปไตยยูโกสลาเวีย (DRY) ซึ่งได้เปลี่ยนชื่อมาเป็น สหพันธ์สาธารณรัฐประชาชนยูโกสลาเวีย (FPRY) และ สหพันธ์สาธารณรัฐสังคมนิยมยูโกสลาเวีย (SFRY) ในเวลาต่อมา
  3. ในปี ค.ศ. 1992 สหพันธ์สาธารณรัฐยูโกสลาเวีย (FRY) และชื่อยูโกสลาเวียได้เลิกใช้ แล้วเปลี่ยนชื่อเป็นเซอร์เบียและมอนเตเนโกรในวันที่ 4 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 2003

ประวัติ

[แก้]

การรวมตัวเป็นยูโกสลาเวีย

[แก้]

ชื่อรัฐที่รวมตัวกันในชื่อ ราชอาณาจักรแห่งชาวเซิร์บ โครแอต และสโลวีน กำเนิดขึ้นหลังการล่มสลายของจักรวรรดิออสเตรีย-ฮังการี ภายหลังสงครามโลกครั้งที่ 1

โดยมีชื่อก่อนหน้านี้ว่า ราชอาณาจักรแห่งชาวเซิร์บ โครแอต และสโลวีน

ประเทศนี้ก่อตั้งขึ้นในปี 1918 ทันทีหลังสงครามโลกครั้งที่ 1 ในชื่อราชอาณาจักรเซิร์บ โครแอต และสโลวีเนีย โดยรัฐแห่งชาวสโลวีน โครแอต และเซิร์บ และราชอาณาจักรเซอร์เบีย เรียกกันโดยทั่วไปว่า "รัฐแวร์ซาย" ต่อมารัฐบาลได้เปลี่ยนชื่อประเทศซึ่งนำไปสู่การใช้ชื่อยูโกสลาเวียอย่างเป็นทางการครั้งแรกในปี 1929

โดยมีชื่อก่อนหน้านี้ว่า สาธารณรัฐประชาธิปไตยยูโกสลาเวียและสหพันธ์สาธารณรัฐประชาชนยูโกสลาเวีย ตามลำดับ ถูกก่อตั้งขึ้นโดย จอมพล ยอซีป บรอซ ตีโต หลังกลุ่มชาวยูโกสลาฟที่ต่อต้านฝ่ายอักษะสามารถยึดประเทศของตนคืนได้ ซึ่งยูโกสลาเวียเป็นประเทศเดียวในยุโรปที่สามารถปลดปล่อยดินแดนส่วนใหญ่ในอาณาเขตของตนได้ โดยไม่มีประเทศอื่นช่วยเหลือ ซึ่งสามารถยึดคืนเซอร์เบียได้เมื่อปี ค.ศ. 1944 และยึดคืนยูโกสลาเวียทั้งหมดได้ในปี ค.ศ. 1945 สหพันธ์สาธารณรัฐประชาชาชนยูโกสลาเวียถูกก่อตั้งขึ้นเมื่อวันที่ 11 พฤศจิกายน ค.ศ. 1945 หลังกลุ่มแนวหน้าชาตินำโดยคอมมิวนิสต์ชนะการเลือกตั้ง และลงมติถอดบัลลังก์ของพระเจ้าปีเตอร์ที่ 2 โดยพระองค์ทรงปฏิเสธ แต่พระองค์ก็มิสามารถกระทำสิ่งใดได้เลย เนื่องจากตีโตได้กุมอำนาจเบ็ดเสร็จไว้หมดแล้ว

สาธารณรัฐประกอบของยูโกสลาเวีย

[แก้]
ชื่อสาธารณรัฐ เมืองหลวง ธงชาติ ตราแผ่นดิน ที่ตั้ง
สาธารณรัฐสังคมนิยมบอสเนียและเฮอร์เซโกวีนา ซาราเยโว
สาธารณรัฐสังคมนิยมโครเอเชีย ซาเกร็บ
สาธารณรัฐสังคมนิยมมาซิโดเนีย สกอเปีย
สาธารณรัฐสังคมนิยมมอนเตเนโกร ตีโตกราด
สาธารณรัฐสังคมนิยมเซอร์เบีย
คอซอวอ
วอยวอดีนา
เบลเกรด
พริสตีนา
นอวีซาด
สาธารณรัฐสังคมนิยมสโลวีเนีย ลูบลิยานา

การล่มสลายของอดีตยูโกสลาเวีย

[แก้]
เหตุการณ์แยกตัวกันในอดีตยูโกสลาเวีย

สงครามยูโกสลาเวีย

[แก้]

อ้างอิงและหมายเหตุ

[แก้]

หมายเหตุ

[แก้]
  1. แอลเบเนีย: Jugosllavia; อาโรมาเนียน: Iugoslavia; ฮังการี: Jugoszlávia; รูซึนพันโนเนีย: Югославия, อักษรโรมัน: Juhoslavija; สโลวัก: Juhoslávia; โรมาเนีย: Iugoslavia; เช็ก: Jugoslávie; อิตาลี: Iugoslavia; ตุรกี: Yugoslavya; บัลแกเรีย: Югославия, อักษรโรมัน: Yugoslaviya
  2. คณะกรรมการยูโกสลาเวีย นำโดยนักการเมืองชาวโครแอตจากแดลเมเชีย อานเต ตรุมบิช ได้เกลี้ยกล่อมให้ฝ่ายสัมพันธมิตรสนับสนุนการสถาปนารัฐแห่งชาวสลาฟใต้ให้เป็นอิสระ ผ่านการทำปฏิญญาคอร์ฟู เมื่อวันที่ 20 กรกฎาคม ค.ศ. 1917[6]
  1. 1.0 1.1 คอซอวอเป็นดินแดนข้อพิพาทระหว่างสาธารณรัฐคอซอวอกับสาธารณรัฐเซอร์เบีย สาธารณรัฐคอซอวอประกาศเอกราชเมื่อวันที่ 17 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2551 แต่เซอร์เบียยังคงอ้างว่าคอซอวอเป็นดินแดนอธิปไตยของตน ใน พ.ศ. 2556 ทั้งสองรัฐบาลเริ่มกระชับความสัมพันธ์ให้เป็นปกติในฐานะส่วนหนึ่งของข้อตกลงบรัสเซลส์ ปัจจุบันคอซอวอได้รับการยอมรับว่าเป็นรัฐเอกราชจากประเทศสมาชิกสหประชาชาติ 98 ชาติจาก 193 ชาติ

อ้างอิง

[แก้]
  1. "Statistical yearbook of Yugoslavia, 1955" (PDF).
  2. "Statistical yearbook of Yugoslavia, 1965" (PDF).
  3. "Statistical yearbook of Yugoslavia, 1975" (PDF).
  4. "Statistical yearbook of Yugoslavia, 1985" (PDF).
  5. "Statistical yearbook of Yugoslavia, 1991" (PDF).
  6. Spencer Tucker. Encyclopedia of World War I: A Political, Social, and Military History. Santa Barbara, California, USA: ABC-CLIO, 2005. Pp. 1189.
  7. "orderofdanilo.org". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 16 May 2009.
  8. Huntington, Samuel P. (1996). The clash of civilizations and the remaking of world order. Simon & Schuster. p. 260. ISBN 978-0-684-84441-1.
  9. "History, bloody history". BBC News. 24 March 1999. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 25 January 2009. สืบค้นเมื่อ 29 December 2010.
  10. "FR Yugoslavia Investment Profile 2001" (PDF). EBRD Country Promotion Programme. p. 3. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 28 September 2011.

แหล่งข้อมูลอื่น

[แก้]

แม่แบบ:EB1922 Poster