คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม
Faculty of Pharmacy, Mahasarakham University | |
ชื่อย่อ | ภ. / PC |
---|---|
คติพจน์ | รอบรู้เรื่องยา นำประชาสร้างสุขภาพ |
สถาปนา | 13 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2542 |
คณบดี | ผศ.ดร.ภญ.ชนัตถา พลอยเลื่อมแสง[1] |
ที่อยู่ | อาคารเภสัชศาสตร์สิรินธร เลขที่ 41 หมู่ 20 ต.ขามเรียง อ.กันทรวิชัย จ.มหาสารคาม 44150 |
วารสาร | วารสารเภสัชศาสตร์อีสาน |
สี | สีเขียวมะกอก |
มาสคอต | ถ้วยยาไฮเกีย, โกร่งบดยา, เรซิพี (℞)และเฉลว |
สถานปฏิบัติ | สถานปฏิบัติการเภสัชกรรมชุมชน ร้านยามหาวิทยาลัย |
เว็บไซต์ | http://pharmacy.msu.ac.th/ |
คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม (อังกฤษ : Faculty of Pharmacy, Mahasarakham University) เป็นหน่วยงานระดับคณะวิชาสังกัดมหาวิทยาลัยมหาสารคาม จัดตั้งขึ้นเป็นลำดับที่ 7 ของมหาวิทยาลัยมหาสารคาม โดยสภามหาวิทยาลัย มีมติให้จัดตั้ง คณะเภสัชศาสตร์และวิทยาศาสตร์สุขภาพขึ้นเป็นหน่วยงานภายในมหาวิทยาลัยเมื่อวันที่ 13 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2542 ก่อนที่จะทอนชื่อเหลือเพียง คณะเภสัชศาสตร์ ในปี 2548 หลังจากที่สาขาวิชาสาธารณสุขศาสตร์ แยกตัวไปจัดจั้งเป็นคณะสาธารณสุขศาสตร์ และโอนย้ายสาขาวิชาการแพทย์แผนไทยประยุกต์ไปสังกัดคณะแพทยศาสตร์ คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม นับเป็นคณะเภสัชศาสตร์แห่งที่ 12 ของประเทศไทย และเป็นแห่งที่ 3 ของภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
ประวัติ
[แก้]มหาวิทยาลัยมหาสารคาม ได้เริ่มมีแนวคิดการก่อตั้งคณะเภสัชศาสตร์เมื่อปี พ.ศ. 2539 โดยได้จัดทำโครงการจัดตั้งคณะเภสัชศาสตร์ขึ้นในสังกัดคณะวิทยาศาสตร์ การดำเนินงานในระยะแรกเป็นการเตรียมความพร้อมด้านอาจารย์ด้วยการคัดเลือกบุคคลเข้ารับทุนศึกษาต่อในระดับ ปริญญาโทและเอก
ต่อมาในปี พ.ศ. 2541 มหาวิทยาลัยมหาสารคามและกระทรวงสาธารณสุข ได้จัดทำข้อตกลงความร่วมมือจัดการศึกษาหลักสูตรสาธารณสุขศาสตรบัณฑิต โดยให้อยู่ในความรับผิดชอบของโครงการจัดตั้งคณะเภสัชศาสตร์ ทำให้พันธกิจของโครงการมีขอบเขตความรับผิดชอบ 2 สาขาวิชา คือ สาขาวิชาเภสัชศาสตร์และสาขาวิชาสาธารณสุขศาสตร์ จึงมีการเปลี่ยนชื่อโครงการให้เหมาะสมและสอดคล้องกับพันธกิจที่เพิ่มขึ้น เป็น "โครงการจัดตั้งคณะเภสัชศาสตร์และวิทยาศาสตร์สุขภาพ"
วันที่ 13 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2542 สภามหาวิทยาลัยมหาสารคาม มีมติให้จัดตั้ง "คณะเภสัชศาสตร์และวิทยาศาสตร์สุขภาพ (Faculty of Pharmacy and Health Sciences)" ขึ้นเป็นหน่วยงานภายในมหาวิทยาลัยลำดับที่ 7 ของมหาวิทยาลัย นับเป็นคณะเภสัชศาสตร์แห่งที่ 12 ของประเทศไทยและเป็นแห่งที่ 3 ของภาคตะวันออกเฉียงเหนือถัดจากมหาวิทยาลัยขอนแก่นและมหาวิทยาลัยอุบลราชธานี โดยมีศาสตราจารย์อาร์เอ็มอี ริชาร์ด (Prof. RME Richards, OBE) ดำรงตำแหน่งรักษาการคณบดีเป็นคนแรก ในช่วงปีการศึกษา 2541-2544 และได้เปิดสอนระดับปริญญาตรี 3 หลักสูตร ดังนี้
- หลักสูตรสาธารณสุขศาสตรบัณฑิต ต่อเนื่อง 2 ปี รับนิสิตรุ่นแรกในปี 2541
- หลักสูตรเภสัชศาสตรบัณฑิต (PharmD) ต่อเนื่อง 2 ปี รับนิสิตรุ่นแรกในปี 2542
- หลักสูตรเภสัชศาสตรบัณฑิต (PharmD) รับนิสิตรุ่นแรกในปี 2543
ปีการศึกษา 2545 ได้เปิดหลักสูตรใหม่เพิ่มขึ้นอีก 2 หลักสูตร ระดับปริญญาตรี ได้แก่ หลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาการแพทย์แผนไทยประยุกต์ ต่อเนื่อง 2 ปี ระดับปริญญาโทได้แก่ หลักสูตรสาธารณสุขศาสตรมหาบัณฑิต คณะจึงมีขอบเขตความรับผิดชอบเพิ่มขึ้นเป็น 3 สาขาวิชา ได้แก่ สาขาวิชาเภสัชศาสตร์ สาขาวิชาสาธารณสุขศาสตร์ และสาขาวิชาการแพทย์แผนไทยประยุกต์
ในปีการศึกษา 2546 มีการแยกสาขาวิชาสาธารณสุขศาสตร์ออกไปจัดตั้งเป็นคณะสาธารณสุขศาสตร์ และในเดือนมกราคม 2547 มีการย้ายสาขาวิชาการแพทย์แผนไทยประยุกต์ออกไปสังกัดคณะแพทยศาสตร์ ส่งผลให้ในวันที่ 8 กุมภาพันธ์ 2548 สภามหาวิทยาลัยมหาสารคาม ได้ปรับปรุงระเบียบและเปลี่ยนชื่อคณะเภสัชศาสตร์และวิทยาศาสตร์สุขภาพ เป็น "คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม" เรียกชื่อเป็นภาษาอังกฤษว่า "Faculty of Pharmacy, Mahasarakham University"[2]
ปัจจุบัน คณะเภสัชศาสตร์ เป็นหน่วยงานในกำกับของมหาวิทยาลัยมหาสารคาม แบ่งการบริหารออกเป็น 3 ภาควิชาและสำนักงานเลขานุการคณะเภสัชศาสตร์ จัดการเรียนการสอน ระดับประกาศนียบัตรจำนวน 1 สาขา ปริญญาตรีจำนวน 1 สาขาวิชา ระดับปริญญาโทจำนวน 3 สาขาวิชา และระดับปริญญาเอกจำนวน 1 สาขาวิชา รวมทั้งสิ้น 6 สาขาวิชา มีบุคลากรทั้งหมด 75 คน และนิสิตทั้งหมด 642 คน [3]
สัญลักษณ์
[แก้]- สัญลักษณ์ประจำคณะ
สัญลักษณ์ประจำคณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม คือ ถ้วยยาไฮเกีย, โกร่งบดยา, เรซิพี (℞) และเฉลว
- สีประจำคณะ
- ต้นไม้/ดอกไม้ประจำคณะ
ต้นจำปีสิรินธร คือต้นไม้ประจำคณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม
หน่วยงานภายในคณะ
[แก้]คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม แบ่งการบริหารหน่วยงานภายในดังนี้
การบริหารงานภายในคณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม | ||
---|---|---|
ด้านการบริหารงาน | ด้านการเรียนการสอน | ด้านการวิจัยและพัฒนา |
|
|
|
หลักสูตรการศึกษา
[แก้]คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม จัดการเรียนการสอนใน 4 ระดับการศึกษา คือ ระดับประกาศนียบัตรก่อนปริญญาตรี ปริญญาตรี ปริญญาโท และปริญญาเอกทั้งหมด 5 หลักสูตร 6 สาขาวิชา ได้แก่
หลักสูตรที่เปิดสอนในคณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม[4] | ||
---|---|---|
ระดับปริญญาบัณฑิต | ระดับปริญญามหาบัณฑิต | ระดับปริญญาดุษฎีบัณฑิต |
หลักสูตรเภสัชศาสตรบัณฑิต (ภ.บ.)
|
หลักสูตรเภสัชศาสตรมหาบัณฑิต (ภ.ม.)
หลักสูตรวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต (วท.ม.)
|
หลักสูตรปรัชญาดุษฎีบัณฑิต (ปร.ด.)
|
ระดับประกาศนียบัตรบัณฑิต |
---|
หลักสูตรการฝึกอบรมระยะสั้น
|
กีฬาโฮมหมอเกมส์
[แก้]กีฬาโฮมหมอเกมส์ หรือ กีฬาสานสัมพันธ์นิสิตกลุ่มสาขาวิทยาศาสตร์สุขภาพ[5] เป็นกิจกรรมที่สร้างความสัมพันธ์อันดีและความสามัคคีต่อกันระหว่างนิสิตในสายวิชาชีพเดียวกัน จัดโดยโดยสโมสรนิสิตคณะสาธารณสุขศาสตร์ สโมสรนิสิตคณะพยาบาลศาสตร์ สโมสรนิสิตคณะเภสัชศาสตร์ สโมสรนิสิตคณะแพทยศาสตร์ และสโมสรคณะสัตวแพทยศาสตร์
กีฬาสานสัมพันธ์ดังกล่าว จัดขึ้นเพื่อให้นิสิตตระหนักถึงความสำคัญของการสร้างเสริมสุขภาพด้วยการออกกำลังกาย เป็นการสร้างความคุ้นเคยและความสัมพันธ์อันดีระหว่างนิสิตในสายวิชาชีพเดียวกัน เนื่องจากอนาคตต้องมีการทำงานร่วมกัน เป็นแบบอย่างที่ดีให้กับนิสิตในมหาวิทยาลัย ซึ่งเป็นการใช้เวลาว่างให้เกิดประโยชน์ อีกทั้งสอดคล้องกับนโยบายสร้างเสริมสุขภาพของมหาวิทยาลัยมหาสารคามอีกด้วย โดยในงานได้มีการเดินขบวนพาเหรดของสโมสรนิสิตแต่ละคณะ และการแข่งขันกีฬาประเภทต่างๆ ประกอบด้วย ฟุตซอล, บาสเกตบอล, วอลเลย์บอล, ตะกร้อ, เปตอง และกีฬฮาเฮ อาทิ ชักเย่อ, วิ่งกระสอบ เป็นต้น ซึ่งมีผู้เข้าร่วมโครงการกว่า 500 คน ประกอบด้วย นิสิต อาจารย์ ของคณะสาธารณสุขศาสตร์, คณะพยาบาลศาสตร์, คณะเภสัชศาสตร์, คณะแพทยศาสตร์ และคณะสัตวแพทยศาสตร์
ทำเนียบคณบดี
[แก้]รายนามคณบดีคณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม ตั้งแต่ก่อตั้งจนถึงปัจจุบันมีดังนี้
ทำเนียบคณบดีคณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม | ||
---|---|---|
รายนามคณบดี | วาระการดำรงตำแหน่ง | อ้างอิง |
1. Prof. RME Richards, O.B.E. | 13 ก.พ. 2542 - 17 เม.ย. 2545 | |
2. รศ.ดร.อรุณศรี ปรีเปรม | 18 เม.ย. 2545 - 17 เม.ย. 2547 | [6] |
3. รศ.ดร.พุฒิพงศ์ สัตยวงศ์ทิพย์ | 18 เม.ย. 2547 - 4 มิ.ย. 2551 | [7] |
4. ผศ.ดร.จันทร์ทิพย์ กาญจนศิลป์ | 18 ต.ค. 2551 - 31 มี.ค. 2559 | [8] (สองวาระ) |
5. ผศ.ดร.ภญ.ชนัตถา พลอยเลื่อมแสง | 1 เม.ย. 2560 - ปัจจุบัน | [9][10] (สองวาระ) |
การรับบุคคลเข้าศึกษาและอันดับของคณะ
[แก้]อันดับคณะเภสัชศาสตร์ | ||||
---|---|---|---|---|
โดยผลการสอบใบประกอบวิชาชีพเภสัชกรรม | ||||
ปีการศึกษา | อันดับ(ร้อยละที่ผ่าน) | |||
2552 | 4 (80.4) | |||
2553 | 7 (69.0) | |||
2554 | 9 (82.05) | |||
2555 | 6 (87.0) | |||
2556 | 7 (90.4) | |||
2560 | 2 (99.1) | |||
2561 | 2 (98.95) | |||
2562 | 1 (100.0) |
คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคามมีเกณฑ์การรับบุคคลเข้าศึกษาในหลักสูตรเภสัชศาสตรบัณฑิต (ปริญญาตรี) ทั้งสิ้น 5 โครงการ ได้แก่
- โครงการเด็กดีมีที่เรียน มหาวิทยาลัยมหาสารคาม[11]
- โครงการสนับสนุนการจัดตั้งห้องเรียนวิทยาศาสตร์ในโรงเรียนโดยกำกับดูแลของมหาวิทยาลัย (วมว.)[12]
- โครงการโควตาภาคตะวันออกเฉียงเหนือ[13]
- โครงการรับตรงร่วมกันผ่าน กสพท. (แอดมิสชัน 1)[14]
- โครงการรับกลางร่วมกัน (แอดมิสชัน 2)[15]
จากผลการรายงาน 50 อันดับของคณะทางสาขาชีวการแพทย์ของคณะกรรมการการอุดมศึกษา ประจำปี พ.ศ. 2552 โดยประเมินคุณภาพของการเรียนการสอนและงานวิจัย คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคามได้อันดับที่ 30 ในสาขาด้านชีวการแพทย์ทั้งหมด เป็นอันดับที่ 4 ในคณะเภสัชศาสตร์ทั้งหมดและเป็นอันดับ 1 ของคณะเภสัชศาสตร์ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ[16][17][18] ในส่วนผลการสอบใบประกอบวิชาชีพเภสัชกรรมโดยสภาเภสัชกรรม คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคามมีร้อยละของนิสิตผู้สอบผ่านมากเป็นอันดับต้นๆ ของคณะเภสัชศาสตร์ทั่วประเทศ โดยสถิติตั้งแต่ปี 2552 โดยสภาเภสัชกรรม มีดังนี้
- ปี พ.ศ. 2552 มีนิสิตสอบผ่านร้อยละ 80.4 (อันดับที่ 4)[19]
- ปี พ.ศ. 2553 มีนิสิตสอบผ่านร้อยละ 69.0 (อันดับ 7)[20]
- ปี พ.ศ. 2554 มีนิสิตสอบผ่านร้อยละ 82.05 (อันดับ 9)
- ปี พ.ศ. 2555 มีนิสิตสอบผ่านร้อยละ 87.0 (อันดับ 6)[21]
- ปี พ.ศ. 2556 มีนิสิตสอบผ่านร้อยละ 90.4 (อันดับ 7)[22]
- ปี พ.ศ. 2560 มีนิสิตสอบผ่านร้อยละ 99.1 (อันดับ 2)[23]
- ปี พ.ศ. 2561 มีนิสิตผ่านร้อยละ 98.95 (อันดับ 2)[24]
- ปี พ.ศ. 2562 นิสิตคณะเภสัชศาสตร์สามารถทำสถิติสอบผ่านใบประกอบวิชาชีพได้ถึง 100% (อันดับ 1) โดยมีผู้เข้าสอบ 92 คน[25]
สถานที่ตั้งและพื้นที่
[แก้]คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม ตั้งอยู่ที่อาคารเภสัชศาสตร์สิรินธร ระหว่างอาคารวิทยบริการ C (วิทยาลัยดุริยางคศิลป์) และอาคารคณะสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรศาสตร์ ด้านหลังติดกับคณะพยาบาลศาสตร์ และด้านหน้าอยู่ตรงข้ามกับสวนสุขภาพ ส่วนโรงงานฟาร์มแคร์ ตั้งอยู่บริเวณริมสระน้ำหน้าคณะพยาบาลศาสตร์ ถัดจากอาคารปฏิบัติการทางวิศวกรรมศาสตร์ 2
คณะเภสัชศาสตร์ก่อตั้งขึ้นด้วยแนวคิดที่ว่า แนวโน้มของวิชาชีพเภสัชกรรมได้เริ่มเปลี่ยนไปจากเดิมที่เน้นการผลิตยา ทว่าด้วยความก้าวหน้าของวิทยาการและเทคโนโลยีในการผลิตยา ทําให้การผลิตยาในเชิงอุตสาหกรรมใช้เภสัชกรในโรงงานลดน้อยลง ดังนั้นบทบาทของเภสัชกรจึงหันมาเน้นการจัดการการใช้ยาในผู้ป่วย ซึ่งมีแนวโน้มขยายตัวและเป็นที่ต้องการเพิ่มมากขึ้น คณะเภสัชศาสตร์เริ่มต้นโดยอาศัยใช้บริเวณชั้น 1 อาคารสํานักวิทยบริการ (ตึกB) เป็นที่ทําการชั่วคราว จากนั้นจึงย้ายไปใช้ชั้น 3 ของสถาบันวิจัยวลัยรุกขเวช ต่อมาในระหว่างปี พ.ศ. 2541 - 2544 จึงได้ย้ายมาที่ชั้น 5 อาคารราชนครินทร์ และระหว่างปี พ.ศ. 2544 - 2548 ได้ย้ายมาใช้ชั้น 4 อาคารสํานักวิทยบริการ (ตึกB) จนเมื่อก่อสร้างอาคารเภสัชศาสตร์สิรินธรแล้วเสร็จจึงย้ายมาดําเนินการตั้งแต่ปี พ.ศ. 2548 เป็นต้นมา
อาคารเภสัชศาสตร์สิรินธร เริ่มก่อสร้างเมื่อวันที่ 28 กรกฎาคม พ.ศ. 2546 แล้วเสร็จเมื่อปี พ.ศ. 2548 โครงการก่อสร้างอาคารเรียนคณะเภสัชศาสตร์และวิทยาศาสตร์สุขภาพ โดยใช้งบประมาณเงินแผ่นดินปี พ.ศ. 2546 – 2547 วงเงินงบประมาณที่ใช้ในการก่อสร้างจำนวนทั้งหมด 75,950,000 บาท บริษัทผู้รับจ้าง บริษัท บิลเลียนเอ็นจิเนียริ่ง จำกัด โดยการใช้ประโยชน์เป็นอาคารเรียนคณะเภสัชศาสตร์ มีลักษณะเป็นอาคารคอนกรีตเสริมเหล็กสูงทั้งหมด 4 ชั้น พื้นที่ใช้สอย 12,000 ตารางเมตร
ต่อมาในวันที่ 11 ธันวาคม พ.ศ. 2546 สมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี เสด็จพระราชดําเนินเป็นองค์ประธานประกอบพิธีวางศิลาฤกษ์อาคารเรียนคณะเภสัชศาสตร์ และโปรดเกล้าฯ พระราชทานนามอาคารว่า “อาคารเภสัชศาสตร์สิรินธร” พร้อมทั้งพระราชทานพระฉายาลักษณ์และพระราชานุญาตอัญเชิญอักษรพระนามาภิไธย “สธ” มาประดิษฐาน ณ อาคารเรียนคณะเภสัชศาสตร์ และในวันที่ 19 ธันวาคม พ.ศ. 2549 สมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี เสด็จพระราชดําเนินทรงเปิดอาคาร “เภสัชศาสตร์สิรินธร”
ปัจจุบัน อาคารเรียนคณะเภสัชศาสตร์และวิทยาศาสตร์สุขภาพ
- ชั้น 1 สำนักงานคณะเภสัชศาสตร์, ลานเขียวมะกอก, ลานไม้โมก, ห้องสโมสรนิสิต, ห้อง Fham Care Nutrac Eutical, ห้องศูนย์เภสัชสนเทศ
- ชั้น 2 ห้องปฎิบัติการวิจัย, ห้องปฎิบัติการเภสัช, ห้องเรียน
- ชั้น 3 ห้องปฎิบัติคอมพิวเตอร์, ห้องปฎิบัติการเภสัช, ห้องเรียน
- ชั้น 4 ห้องปฎิบัติการเภสัช, ห้องเรียน
นอกจากนี้บริเวณชั้น 1 อาคารเรียนคณะเภสัชศาสตร์ยังเคยใช้เป็นสำนักงานบัณฑิตวิทยาลัย และสำนักงานสำนักบริการวิชาการก่อนย้ายออกไป
โรงงานฟาร์มแคร์
[แก้]คณะเภสัชศาสตร์ได้จัดตั้งโรงงานฟาร์มแคร์ขึ้น โดยใช้อาคารสถานปฏิบัติการเภสัชกรรมชุมชน (เดิมเคยใช้เป็นสถานที่ทำปฏิบัติการทางเภสัชศาสตร์ ในช่วงที่ยังไม่มีอาคารเภสัชศาสตร์สิรินธร) เป็นสถานที่ผลิตยาและผลิตภัณฑ์สมุนไพร ซึ่งได้รับใบอนุญาตผลิตยาแผนโบราณเมื่อปลายปี พ.ศ. 2551[26] หลังจากนั้นจึงเริ่มขึ้นทะเบียนตำรับยาและผลิตภัณฑ์สมุนไพรออกจำหน่าย โดยในช่วงแรกซึ่งเป็นช่วงที่ยาและผลิตภัณฑ์ยังไม่ได้รับทะเบียน จึงผลิตเฉพาะยาที่ใช้ภายนอกเพื่อจำหน่ายเฉพาะในจังหวัดมหาสารคามเพื่อทดลองตลาด และการสร้างความคุ้นเคยต่อชื่อของโรงงานฟาร์มแคร์ รวมทั้งการเตรียมความพร้อมในการดำเนินการของบุคลากร โดยใช้หลักเศรษฐกิจพอเพียง ขณะนี้มีผลิตภัณฑ์ที่ได้รับทะเบียนอนุญาตการผลิตและกำลังทยอยขึ้นทะเบียนยาอีกหลายตำรับ รวมทั้งกำลังขยายการผลิตในระดับอุตสาหกรรม และปรับปรุงโรงงานให้ได้ตามเกณฑ์วิธีการที่ดีในการผลิตยาจากสมุนไพร (Good manufacturing practice for herbal medicinal products, GMP) ในขณะเดียวกัน ได้จัดตั้งโรงงานผลิตอาหารและเครื่องดื่ม ฟาร์มแคร์นูทราซูติคอล (PharmCare Nutraceutical) ที่อาคารเภสัชศาสตร์สิรินธร ชั้น 1 ซึ่งได้รับอนุญาตเป็นสถานที่ผลิตอาหารและเครื่องดื่มแล้วและผลิตเครื่องดื่มตรีผลาเป็นชนิดแรกซึ่งได้รับเลขทะเบียนแล้วเช่นกัน ในปี พ.ศ. 2555
โรงงานฟาร์มแคร์ คณะเภสัชศาสตร์ เป็นโรงงานผลิตยาจากสมุนไพรและผลิตภัณฑ์ธรรมชาติ ที่จัดตั้งขึ้นภายใต้แนวคิดที่ต้องการให้ประชาชนได้ใช้ยาจากสมุนไพรและผลิตภัณฑ์ธรรมชาติที่มีคุณภาพ ภายใต้การบูรณาการองค์ความรู้ดั้งเดิมและกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ และตอบสนองต่อการพัฒนาของประเทศ โดยอาศัยความเชี่ยวชาญของบุคลากรในมหาวิทยาลัยและความเข้มแข็งของประเทศทางด้านความอุดมสมบูรณ์ของสมุนไพร ความหลากหลายของสายพันธุ์ และภูมิปัญญาของบรรพบุรุษ โดยยาและผลิตภัณฑ์ทุกชนิดผ่านการวิจัยและการควบคุมคุณภาพทุกขั้นตอน
ร้านยามหาวิทยาลัย
[แก้]ร้านยามหาวิทยาลัยมหาสารคาม (University Pharmacy) เป็นสถานปฏิบัติการเภสัชกรรมชุมชน ตั้งอยู่บริเวณเขตหอพักนิสิตขามเรียง ทำหน้าที่เป็นสถานปฏิบัติการเภสัชกรรมชุมชนให้กับคณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม
แหล่งข้อมูลอื่น
[แก้]- เว็บไซต์ทางการของคณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม
- เว็บไซต์ทางการของมหาวิทยาลัยมหาสารคาม
- เว็บไซต์โรงงานฟาร์มแคร์ คณะเภสัชศาสตร์
อ้างอิง
[แก้]- ↑ คณบดีคณะเภสัชศาสตร์ เก็บถาวร 2021-04-16 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน สืบค้นเมื่อวันที่ 17 เมษายน 2564
- ↑ กองแผนงาน สำนักงานอธิการบดี : ระเบียบมหาวิทยาลัยมหาสารคาม ว่าด้วยคณะเภสัชศาสตร์ พ.ศ. ๒๕๔๘. สืบค้นเมื่อ 16 สิงหาคม 2564.
- ↑ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม : สถิติจำนวนบุคลากรและนิสิตมหาวิทยาลัยมหาสารคามปีการศึกษา 2563 โดย กองแผนงาน สำนักงานธิการบดี มหาวิทยาลัยมหาสารคาม เก็บถาวร 2021-04-18 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, สืบค้นเมื่อ 18 เมษายน 2564.
- ↑ "หลักสูตรคณะเภสัชศาสตร์". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2021-01-26. สืบค้นเมื่อ 2021-02-14.
- ↑ ข่าวประชาสัมพันธ์ มมส. [http://www.web.msu.ac.th/ssystem/msuhotnews/detailnews.php?hm=&hotnewsid=6317&uf=&qu= มมส จัดการแข่งขันกีฬาโฮมหมอเกมส์ ครั้งที่ 8.] เก็บถาวร 2022-10-06 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน สืบค้น 6 ตุลาคม 2565.
- ↑ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม, คำสั่งมหาวิทยาลัยมหาสารคามที่ 809/2545, 18 มีนาคม 2564.
- ↑ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม, คำสั่งมหาวิทยาลัยมหาสารคามที่ 1115/2551, 18 มีนาคม 2564.
- ↑ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม, คำสั่งมหาวิทยาลัยมหาสารคามที่ 1706/2551, 18 มีนาคม 2564.
- ↑ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม, คำสั่งมหาวิทยาลัยมหาสารคามที่ 1193/2560, 18 มีนาคม 2564.
- ↑ คณะเภสัชศาสตร์, รองศาสตราจารย์ ดร.ประยุกต์ ศรีวิไล อธิการบดีมหาวิทยาลัยมหาสารคาม แสดงความยินดีกับ ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ภญ.ชนัตถา พลอยเลื่อมแสง ในโอกาสเข้ารับตำแหน่งคณบดีคณะเภสัชศาสตร์ เก็บถาวร 2021-05-17 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, 17 พฤษภาคม 2564.
- ↑ ประกาศมหาวิทยาลัยมหาสารคาม เรื่อง การรับสมัครคัดเลือกบุคคลเข้าศึกษาในระดับปริญญาตรี โครงการเด็กดีมีที่เรียน ปีการศึกษา 2574 เก็บถาวร 2021-04-16 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน สืบค้นเมื่อวันที่ 17 เมษายน พ.ศ. 2564
- ↑ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม : โครงการสนับสนุนการจัดตั้งห้องเรียนวิทยาศาสตร์ในโรงเรียนโดยกำกับดูแลของมหาวิทยาลัย (วมว.) เก็บถาวร 2021-04-16 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน สืบค้นเมื่อวันที่ 17 เมษายน พ.ศ. 2564
- ↑ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม : โควตาภาคตะวันออกเฉียงเหนือ เก็บถาวร 2021-04-16 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน สืบค้นเมื่อวันที่ 17 เมษายน พ.ศ. 2564
- ↑ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม : แอดมิสชันรอบที่ 1 ผ่าน กสพท. เก็บถาวร 2021-04-16 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน สืบค้นเมื่อวันที่ 17 เมษายน พ.ศ. 2564
- ↑ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม : แอดมิสชันรอบที่ 2 ผ่าน ทปอ. เก็บถาวร 2020-10-20 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน สืบค้นเมื่อวันที่ 17 เมษายน พ.ศ. 2564
- ↑ จัดอันดับคุณภาพคณะชีวการแพทย์ 50 อันดับแรก สืบค้นเมื่อวันที่ 17 เมษายน พ.ศ. 2564
- ↑ คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย 50 อันดับคณะชีวการแพทย์ สืบค้นเมื่อวันที่ 17 เมษายน พ.ศ. 2564
- ↑ เปิด 50 อันดับสาขาด้าย "วิจัย-สอน" สืบค้นเมื่อวันที่ 17 เมษายน พ.ศ. 2564
- ↑ Unigang เก็บถาวร 2011-09-07 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน สภาเภสัชฯห่วงคุณภาพ 'หมอยา'ไทยชี้บัณฑิตเภสัชฯม.เอกชนห่วย-ส่อเค้าสั่งห้ามผลิต สืบค้นเมื่อวันที่ 17 เมษายน พ.ศ. 2564
- ↑ Unigang เก็บถาวร 2012-10-31 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน ผลการสอบใบประกอบวิชาชีพเภสัชกรรมปี 2553 สืบค้นเมื่อวันที่ 17 เมษายน พ.ศ. 2564
- ↑ Unigang เก็บถาวร 2012-10-31 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน ผลสอบใบประกอบวิชาชีพ เภสัช 2555 !! ! สืบค้นเมื่อวันที่ 17 เมษายน พ.ศ. 2564
- ↑ KM มหาวิทยาลัยศิลปากร ขอแสดงความยินดีกับผลสอบใบประกอบวิชาชีพเภสัชกรรม ปี 2556 คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร สืบค้นเมื่อวันที่ 17 เมษายน พ.ศ. 2564
- ↑ tobepharmacist ผลการสอบใบประกอบวิชาชีพเภสัชกรรม ปี 2560 สืบค้นเมื่อวันที่ 17 เมษายน พ.ศ. 2564
- ↑ tobepharmacist ผลการสอบใบประกอบวิชาชีพเภสัชกรรม ปี 2561 สืบค้นเมื่อวันที่ 17 เมษายน พ.ศ. 2564
- ↑ tobepharmacist ผลการสอบใบประกอบวิชาชีพเภสัชกรรม ปี 2562 สืบค้นเมื่อวันที่ 17 เมษายน พ.ศ. 2564
- ↑ คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม โรงงานฟาร์มแคร์ สืบค้นเมื่อวันที่ 17 เมษายน 2564