ข้ามไปเนื้อหา

ประเทศจอร์เจีย

พิกัด: 42°00′N 43°30′E / 42.000°N 43.500°E / 42.000; 43.500
จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
(เปลี่ยนทางจาก Georgia (country))

42°00′N 43°30′E / 42.000°N 43.500°E / 42.000; 43.500

จอร์เจีย

საქართველო  (จอร์เจีย)
คำขวัญ
ძალა ერთობაშია
Dzala ertobashia
("พลังอยู่ในเอกภาพ")
เพลงชาติ
თავისუფლება
Tavisupleba
("อิสรภาพ")
พื้นที่ภายใต้การควบคุมอยู่ในสีเขียวเข้ม พื้นที่อ้างสิทธิแต่ไม่ได้ควบคุมอยู่ในสีเขียวอ่อน
พื้นที่ภายใต้การควบคุมอยู่ในสีเขียวเข้ม พื้นที่อ้างสิทธิแต่ไม่ได้ควบคุมอยู่ในสีเขียวอ่อน
เมืองหลวง
และเมืองใหญ่สุด
ทบิลีซี
41°43′N 44°47′E / 41.717°N 44.783°E / 41.717; 44.783
ภาษาราชการจอร์เจีย (ทั่วประเทศ)
อับคาเซีย (อับคาเซีย)[1][2]
กลุ่มชาติพันธุ์
(ค.ศ. 2014[a])
86.8% ชาวจอร์เจีย
6.2% ชาวอาเซอร์ไบจาน
4.5% ชาวอาร์มีเนีย
0.7% ชาวรัสเซีย
2.1% อื่น ๆ
ศาสนา
(ค.ศ. 2014)
88.1% คริสต์
—83.4% ออร์ทอดอกซ์จอร์เจีย
—5.7% นิกายอื่น ๆ
10.7% อิสลาม
1.2% อื่น ๆ / ไม่มี[3]
การปกครองรัฐเดี่ยว ระบบรัฐสภา สาธารณรัฐรัฐธรรมนูญ
ซาลอเม ซูราบิชวีลี
อีรากลี ฆารีบัชวีลี
Shalva Papuashvili
สภานิติบัญญัติรัฐสภา
วันก่อตั้ง
• Colchis และ Iberia
ประมาณ 13 ปีก่อนคริสต์ศักราช – ค.ศ. 580
ค.ศ. 786–1008
ค.ศ. 1008
ค.ศ. 1463–1810

12 กันยายน ค.ศ. 1801

26 พฤษภาคม ค.ศ. 1918
25 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 1921
• เป็นเอกราชจากสหภาพโซเวียต
ประกาศ
ขั้นสุดท้าย


9 เมษายน ค.ศ. 1991
25 ธันวาคม ค.ศ. 1991
24 สิงหาคม ค.ศ. 1995
พื้นที่
• รวม
69,700 ตารางกิโลเมตร (26,900 ตารางไมล์) (อันดับที่ 119)
ประชากร
• ค.ศ. 2021 ประมาณ
3,728,573 [a][4]
4,012,104 [b] (อันดับที่ 128)
• สำมะโนประชากร ค.ศ. 2014
3,713,804 [a][5]
57.6 ต่อตารางกิโลเมตร (149.2 ต่อตารางไมล์) (อันดับที่ 137)
จีดีพี (อำนาจซื้อ) ค.ศ. 2019 (ประมาณ)
• รวม
46.05 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ[a][6] (อันดับที่ 112)
12,409 ดอลลาร์สหรัฐ[a][6] (อันดับที่ 101)
จีดีพี (ราคาตลาด) ค.ศ. 2019 (ประมาณ)
• รวม
17.83 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ[6] (อันดับที่ 118)
4,285 ดอลลาร์สหรัฐ[a][7] (อันดับที่ 107)
จีนี (ค.ศ. 2019)positive decrease 35.9[8]
ปานกลาง
เอชดีไอ (ค.ศ. 2019)เพิ่มขึ้น 0.812[9]
สูงมาก · อันดับที่ 61
สกุลเงินลารี (₾) (GEL)
เขตเวลาUTC+4 (เวลาจอร์เจีย GET)
รูปแบบวันที่วว/ดด/ปปปป
ขับรถด้านขวา
รหัสโทรศัพท์+995
รหัส ISO 3166GE
โดเมนบนสุด.ge, .გე
เว็บไซต์
www.gov.ge
  1. ^ ข้อมูลไม่รวมพื้นที่ที่อ้างสิทธิ์
  2. ^ ข้อมูลรวมพื้นที่ที่อ้างสิทธิ์

จอร์เจีย (อังกฤษ: Georgia; จอร์เจีย: საქართველო, อักษรโรมัน: Sakartvelo, ออกเสียง: [sɑkʰɑrtʰvɛlɔ] ( ฟังเสียง)) เป็นประเทศที่ตั้งอยู่ในภูมิภาคคอเคซัส ซึ่งเป็นจุดตัดระหว่างยุโรปตะวันออกและเอเชียตะวันตก จอร์เจียมีพรมแดนทางทิศตะวันตกติดกับทะเลดำ ทางทิศเหนือและทิศตะวันออกติดกับรัสเซีย ทางทิศตะวันตกเฉียงใต้ติดกับตุรกี ทางทิศใต้ติดกับอาร์เมเนีย และทางทิศตะวันออกเฉียงใต้ติดกับอาเซอร์ไบจาน จอร์เจียครอบคลุมพื้นที่กว่า 69,700 ตารางกิโลเมตร (26,900 ตารางไมล์) และมีประชากรราว 3.7 ล้านคน (ไม่นับรวมดินแดนจอร์เจียที่ถูกรัสเซียยึดครอง)[11] จอร์เจียเป็นประเทศประชาธิปไตยแบบมีผู้แทน ซึ่งปกครองในรูปแบบสาธารณรัฐรัฐเดี่ยวในระบอบรัฐสภา[13][14] โดยมีทบิลีซีเป็นเมืองหลวง และยังเป็นที่ตั้งของประชากรจอร์เจียประมาณหนึ่งในสามของประชากรทั้งหมด

ภูมิศาสตร์

[แก้]
ที่ตั้ง

ทางตอนใต้ของเทือกเขาคอเคซัส

  • ทิศเหนือ จรดพรมแดนรัสเซีย
  • ทิศตะวันออก จรดพรมแดนอาเซอร์ไบจาน
  • ทิศใต้จรดพรมแดนอาร์มีเนีย และตุรกี
  • ทิศตะวันตก ติดชายฝั่งทะเลดำ
พื้นที่

69,700 ตารางกิโลเมตร หรือ 26,911 ตารางไมล์ ความหนาแน่นของประชากร 206 คนต่อตารางไมล์

การแบ่งเขตการปกครอง

[แก้]

จอร์เจียแบ่งเป็น 9 จังหวัด (mkhare) จังหวัดต่าง ๆ แบ่งย่อยลงไปเป็นเขต (raioni) 2 สาธารณรัฐปกครองตนเอง (avtonomiuri respublika) และ 1 นคร (k'alak'i) * ดังนี้

หมายเลข เขตการปกครอง เมืองหลวง
1 สาธารณรัฐปกครองตนเองอับฮาเซีย (Abkhazia) ซูฮูมี (Sukhumi)
2 ซาเมเกรลอ-เซมอสวาเนตี (Samegrelo-Zemo Svaneti) ซุกดีดี (Zugdidi)
3 กูเรีย (Guria) โอซูร์เกตี (Ozurgeti)
4 สาธารณรัฐปกครองตนเองอัดจารา (Adjara) บาตูมี (Batumi)
5 ราชา-เลชคูมีและคเวมอสวาเนตี อัมบรอลาอูรี (Ambrolauri)
(Racha-Lechkhumi and Kvemo Svaneti)
6 อีเมเรตี (Imereti) คูไตซี (Kutaisi)
7 ซัมซเค-จาวาเคตี (Samtskhe-Javakheti) อะคัลต์ซีเค (Akhaltsikhe)
8 ชีดาคาร์ตลี (Shida Kartli) กอรี (Gori)
9 มซเคตา-มเตียเนตี (Mtskheta-Mtianeti) มซเคตา (Mtskheta)
10 คเวมอคาร์ตลี (Kvemo Kartli) รุสตาวี (Rustavi)
11 คาเคตี (Kakheti) เตลาวี (Telavi)
12 ทบิลิซี* (Tbilisi)
จอร์เจียตะวันตกเฉียงเหนือ

ประวัติศาสตร์

[แก้]

ประวัติศาสตร์ของจอร์เจียมียาวนานกว่า 2,500 ปี และภาษาจอร์เจียก็เป็นหนึ่งในภาษาเก่าแก่ที่สุดในโลกที่ยังมีการใช้อยู่ กรุงทบิลิซี (เมืองหลวง) ซึ่งมีอายุกว่า 1,500 ปี ตั้งอยู่ในหุบเขาที่งดงามซึ่งถูกแบ่งโดยแม่น้ำคูรา/มึตควารี (Mtkvari) พื้นที่ส่วนใหญ่ของจอร์เจียถูกยึดครองโดยเปอร์เซีย ตุรกี อาหรับและมองโกล ในระหว่างคริสต์ศตวรรษที่ 7 ถึง 18 ซึ่งเป็นเวลา 11 ศตวรรษที่จอร์เจียถูกปกครองโดยเผ่าต่าง ๆ ทั้งนี้ ในระหว่างศตวรรษที่ 11 ถึง 12 จอร์เจียได้รับการคุ้มครองจากรัสเซีย ซึ่งในที่สุดรัสเซียก็ได้ผนวกจอร์เจียเป็นส่วนหนึ่งของรัสเซีย และเนรเทศราชวงศ์จอร์เจียในปี ค.ศ. 1801 (พ.ศ. 2344) อย่างไรก็ตาม ยังมีประชาชนจอร์เจียจำนวนหนึ่งที่ต่อต้านการปกครองของรัสเซีย เมื่อระบบกษัตริย์ (Tsarist) ของรัสเซียถูกโค่นลง สาธารณรัฐประชาธิปไตยจอร์เจียก็ได้ก่อตั้งขึ้นในวันที่ 26 พฤษภาคม ค.ศ. 1918 (พ.ศ. 2461) และภายในเดือนมีนาคม ค.ศ. 1921 (พ.ศ. 2464) กองทัพแดง (Red Army) ของสหภาพโซเวียตก็ได้เข้ายึดครองจอร์เจียอีกครั้งหนึ่ง ทำให้จอร์เจียเป็นสาธารณรัฐหนึ่งของสหภาพโซเวียต ในวันที่ 9 เมษายน ค.ศ. 1991 (พ.ศ. 2534) สภาสูงสุดของสาธารณรัฐจอร์เจียก็ได้ประกาศเอกราชจากสหภาพโซเวียต

จอร์เจียประสบปัญหาความขัดแย้งด้านเชื้อชาติตั้งแต่ประกาศเอกราช และเพิ่งเริ่มมีเสถียรภาพในปี ค.ศ. 1995 (พ.ศ. 2538) อย่างไรก็ตาม ปัญหาคนพลัดถิ่นภายใน (internally displaced persons--IDPs) กว่า 230,000 คน ก็ยังคงเป็นอุปสรรคต่อพัฒนาการการเมืองท้องถิ่น ปัญหาความขัดแย้งในดินแดนอับฮาเซียและเซาท์ออสซีเชียซึ่งต้องการแยกตัวออกจากจอร์เจียยังคงเป็นเรื่องที่ละเอียดอ่อน ยังคงต้องอาศัยกองกำลังสันติภาพของรัสเซีย และองค์การระหว่างประเทศในการรักษาสันติภาพ ซึ่งต้องมีการเจรจาอย่างต่อเนื่อง ปัจจุบัน การเจรจาระหว่างจอร์เจียกับเซาท์ออสซีเชียมีความคืบหน้าพอสมควร ในขณะที่การเจรจาระหว่างจอร์เจียกับอับฮาเซียยังคงหาผลสรุปไม่ได้

รัฐบาลจอร์เจียยึดมั่นในแนวทางการปฏิรูปเศรษฐกิจให้สอดคล้องกับนโยบายของ IMF และ World Bank และให้ความสำคัญกับการบูรณะเส้นทางสายไหม ในฐานะที่เป็น Eurasian corridor โดยจะใช้ที่ตั้งทางภูมิศาสตร์ของจอร์เจียเป็นสะพานเชื่อมการค้าระหว่างยุโรป และเอเชีย

การเมือง

[แก้]

จอร์เจียเป็นประเทศที่แยกตัวออกมาจากสหภาพโซเวียต (คอมมิวนิสต์) ช่วงหลังสงครามเย็น ซึ่งก่อนที่จะแยกออกมานั้นมีชื่อประเทศว่า "สาธารณรัฐสังคมนิยมโซเวียตจอร์เจีย" แต่ก็ยังไม่ได้การรับรองจากประเทศใด ๆ ทำให้เกิดการต่อสู้เพื่อแบ่งแยกดินแดนจากคนต่างเชื้อสายในประเทศเดียวกันเองอยู่เสมอ ส่วนเมืองที่รัสเซียให้การสนับสนุนก็ได้ออกมาในรูปแบบของชนกลุ่มน้อยที่ต่อต้านรัฐบาลจอร์เจียซึ่งทางรัสเซียถือหางอยู่ จอร์เจียถือเป็นรัฐกันชนอีกแห่งที่จะสามารถเชื่อมต่อไปยังยุโรปตะวันออกได้ และในอดีตทางยุโรปตะวันออกก็ถือได้ว่าเป็นเขตอิทธิพลของระบอบคอมมิวนิสต์ ซึ่งถือได้ว่าเป็นภัยต่อความมั่นคงของชาวยุโรปและโดยเฉพาะกับยุโรปตะวันตกเป็นอย่างมาก และเมื่อวันที่ 8 สิงหาคม 2551 ก็ได้ประกาศสงครามและสู้รบอย่างเป็นทางการกับทางรัสเซียแล้ว เพราะเนื่องจากถูกทหารรัสเซียบุกเข้าโจมตีทางเซาท์ออสซีเชียก่อนหน้านี้เป็นเวลา 2 วันแล้ว

นโยบายต่างประเทศ

[แก้]

แม้ว่าจอร์เจียจะเป็นประเทศเล็ก ๆ ในภูมิภาคคอเคซัส แต่ในบริบทของการช่วงชิงอิทธิพลทางการเมืองระหว่างประเทศมหาอำนาจ อาทิ รัสเซีย สหรัฐฯ รวมถึงสหภาพยุโรป จอร์เจียมีบทบาทสำคัญด้วยที่ตั้งที่ใกล้กับอิรัก อิหร่าน และตุรกี และยังตั้งอยู่บนเส้นทางขนส่งน้ำมันและก๊าซธรรมชาติบากู-ทบีลีซี-เจย์ฮาน นอกจากนี้ ปัญหาการแบ่งแยกดินแดนภายในจอร์เจีย (ดินแดนอับฮาเซีย, เซาท์ออสซีเชีย และ อัดจารา) ยังทำให้จอร์เจียสามารถเป็นเครื่องมือในการต่อรองระหว่างรัสเซียกับสหรัฐฯ และชาติตะวันตกอื่น ๆ ได้

ความสัมพันธ์

[แก้]

จอร์เจีย - ไทย

[แก้]

ไทยได้สถาปนาความสัมพันธ์ทางการทูตกับจอร์เจียเมื่อวันที่ 21 กรกฎาคม ค.ศ. 1992 ฝ่ายไทยจึงมอบหมายให้สถานเอกอัครราชทูต ณ กรุงมอสโก (รัสเซีย)รับผิดชอบดูแลความสัมพันธ์ทวิภาคีไทย-จอร์เจียในช่วงแรก ต่อมา รัฐบาลไทยได้ปรับเปลี่ยนโดยมอบหมายให้สถานเอกอัครราชทูต ณ กรุงอังการา (ตุรกี) ดูแลความสัมพันธ์ไทย-จอร์เจียมาจนปัจจุบัน ในขณะที่ฝ่ายจอร์เจียได้มอบหมายให้สถานเอกอัครราชทูตจอร์เจีย ณ กรุงนิวเดลี (อินเดีย) ดูแลความสัมพันธ์จอร์เจีย-ไทย และได้แต่งตั้งนาย Tatsuya Nishimura ดำรงตำแหน่งกงสุลกิตติมศักดิ์จอร์เจียประจำประเทศไทยเมื่อวันที่ 18 มีนาคม ค.ศ. 2003 ต่อมา ได้เปลี่ยนกงสุลกิตติมศักดิ์จอร์เจียประจำประเทศไทยเป็น นายวิกร ศรีวิกรม์ ในวันที่ 8 ตุลาคม ค.ศ. 2019 ได้มีการเที่ยวบินระหว่างไทย และ จอร์เจีย โดยทำการบินจาก ท่าอากาศยานนานาชาติดอนเมือง บินตรงมายัง ทบิลีซี ในเที่ยวบิน XJ008 สายการบินไทยแอร์เอเชียเอกซ์

ในวันที่ 8 ตุลาคม ค.ศ. 2022 ได้มีการเที่ยวบินระหว่างไทย และ จอร์เจีย โดยทำการบินจาก ท่าอากาศยานนานาชาติสุวรรณภูมิ บินตรงมายัง ทบิลีซี ในเที่ยวบิน XJ908 สายการบินไทยแอร์เอเชียเอกซ์

จอร์เจีย - รัสเซีย

[แก้]

จอร์เจียมีความขัดแย้งกับรัสเซียสืบเนื่องมาจากปัญหาแบ่งแยกดินแดนในจอร์เจีย โดยจอร์เจียกล่าวหารัสเซียว่าเข้าไปแทรกแซงในปัญหาเหล่านี้ ทั้งในทางลับและโดยการส่งกองกำลังเข้าไป และยังกังวลว่ารัสเซียพยายามที่จะผนวกดินแดนจอร์เจียเข้าไปในดินแดนของตน ในขณะที่รัสเซียเห็นว่าดินแดนชายแดนของจอร์เจียบางแห่งเป็นฐานที่มั่นของกลุ่มก่อการร้ายเชชเนีย และเห็นว่ารัฐบาลจอร์เจียไม่ให้ความร่วมมือในการกวาดล้างกลุ่มกองโจรเชชเนียเหล่านี้ในดินแดนของตน

เมื่อวันที่ 6 ส.ค. 2007 เครื่องบินขับไล่ SU-25 จำนวน 2 ลำ ได้บินเข้าไปในน่านฟ้าจอร์เจีย พร้อมกับยิงขีปนาวุธ 1 ลูกไปที่หมู่บ้านแห่งหนึ่งซึ่งตั้งอยู่ไม่ไกลจากเซาท์ออสซีเชีย ทางการจอร์เจียเชื่อว่าเป็นการกระทำของรัสเซีย ส่วนทางฝ่ายรัสเซียปฏิเสธข้อกล่าวหาดังกล่าว และระบุว่ามีความเป็นไปได้ที่เครื่องบินขับไล่เป็นของจอร์เจียที่ต้องการยั่วยุให้เกิดความตึงเครียดขึ้นในพื้นที่เซาท์ออสซีเชีย เพื่อโน้มน้าวให้สหภาพยุโรปและ NATO เห็นว่า รัสเซียเป็นภัยคุกคามต่อภูมิภาคและเข้ามาให้ความช่วยเหลือจอร์เจียในกรณีที่มีความขัดแย้งกับรัสเซีย อย่างไรก็ดี ล่าสุด เมื่อวันที่ 13 ม.ค. 2551 ประธานาธิบดีซาคัชวีลี ได้ให้สัมภาษณ์แก่รายการโทรทัศน์รัสเซีย ประกาศว่า “การมีความสัมพันธ์ฉันมิตรกับรัสเซียถือเป็นผลประโยชน์แก่จอร์เจีย” และเชื่อว่าการเข้าร่วม NATO ของจอร์เจียจะไม่ส่งผลกระทบต่อความสัมพันธ์กับรัสเซีย นอกจากนี้ ยังให้ความเห็นของตนเกี่ยวกับการเมืองในบริบทโลกว่า จะสนับสนุนความสัมพันธ์กับทั้ง NATO และประเทศอื่น ๆ ทั้งตะวันออกและตะวันตก และเชื่อว่านโยบายต่างประเทศของจอร์เจียควรจะมีหลายมิติ

จอร์เจีย - สหรัฐอเมริกา

[แก้]

จอร์เจียมีความร่วมมือทางวิชาการ (technical cooperation) กับสหรัฐ ฯ ตั้งแต่ปี ค.ศ. 2000 โดยสหรัฐ ฯ ได้ให้ความช่วยเหลือด้านยุทโธปกรณ์แก่จอร์เจีย อาทิ เฮลิคอปเตอร์ และหลังจากเหตุการณ์วินาศกรรมในสหรัฐ ฯ เมื่อวันที่ 11 กันยายน ค.ศ. 2001 ความร่วมมือระหว่างสองประเทศก็เพิ่มขึ้นมาโดยตลอด

กองทัพ

[แก้]

กองทัพบก

[แก้]

กองทัพอากาศ

[แก้]

กองทัพเรือ

[แก้]

กองกำลังกึ่งทหาร

[แก้]

เศรษฐกิจ

[แก้]

เศรษฐกิจจอร์เจียมีแนวโน้มในทางที่ดีขึ้นในระยะหลังมานี้ โดยเฉพาะหลังจากการขึ้นสู่อำนาจของประธานาธิบดี Saakashvili ในปี 2546 เนื่องจากรัฐบาลมีเป้าหมายที่แน่วแน่ในการปฏิรูปเศรษฐกิจ โดยมีนโยบายและเครื่องมือสำคัญ ได้แก่ การใช้งบประมาณอย่างมีประสิทธิภาพเพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจประเทศ การปฏิรูปภาษี (ตั้งแต่เดือนมกราคม 2548) ที่ลดอัตราภาษีลงเพื่อให้ประชาชนลดการหลบเลี่ยงภาษี กระตุ้นให้ภาคเอกชนเข้ามาลงทุนเพิ่ม และยังพัฒนาบรรยากาศการลงทุนในหมู่นักลงทุนต่างชาตินอกจากนี้ รัฐบาลยังประสบความสำเร็จในการแปรรูปรัฐวิสาหกิจ และในระยะหลังยังมีการลงทุนเพิ่มขึ้นในโครงการท่อขนส่งน้ำมัน Baku-Tbilisi-Ceyhan ซึ่งจะทำให้จอร์เจียเป็นเส้นทางผ่านสำคัญสำหรับการค้าและการลงทุนระหว่างภูมิภาคเอเชียและยุโรป

อย่างไรก็ดี ความยากจน ธุรกิจผิดกฎหมาย ตลาดมืด และการฉ้อราษฎร์บังหลวง ยังคงเป็นปัญหาสำคัญของจอร์เจีย ที่สืบทอดมาตั้งแต่สมัยประธานาธิบดี Shevardnadze ทั้งนี้ มีการประเมินว่า มีการดำเนินธุรกิจโดยมิได้ผ่านการลงทะเบียนของรัฐในจอร์เจียอยู่ถึงร้อยละ 30-50

ประชากร

[แก้]

ศาสนา

[แก้]

นับถือศาสนาคริสต์ นิกายอีสเทิร์นออร์ทอดอกซ์ 75% นับถือศาสนาอิสลาม 11% อื่น ๆ 14%

การศึกษา

[แก้]

ระบบการศึกษาของจอร์เจียอยู่ในช่วงทำให้ทันสมัยตั้งแต่ ค.ศ. 2004 แม้ว่าจะมีข้อโต้แย้งก็ตาม[15][16] โดยเป็นเรื่องบังคับสำหรับเด็กทุกคนที่มีอายุ 6–14 ปี[17] ระบบโรงเรียนแบ่งออกเป็น ชั้นปฐม (6 ปี; อายุระดับ 6–12 ปี), พื้นฐาน (3 ปี; อายุระดับ 12–15 ปี) และมัธยม (3 ปี; อายุระดับ 15–18 ปี) หรืออาชีวศึกษา (2 ปี) นักเรียนที่มีปริญญาโรงเรียนมัธยมสามารถเข้าเรียนการศึกษาขั้นสูงได้ เฉพาะนักเรียนที่ผ่านการสอบระดับชาติแบบครบวงจรเท่านั้นที่จะเรียนในสถาบันการศึกษาระดับสูงกว่าที่ได้รับการรับรองจากรัฐได้ โดยตรวจวัดจากคะแนนแบบข้อสอบ[18]

มหาวิทยาลัยรัฐทบิลีซี, Corpus I

กีฬา

[แก้]

กีฬาที่นิยมในจอร์เจีย เช่น ฟุตบอล บาสเกตบอล รักบี้ มวยปล้ำ ยูโด และ ยกน้ำหนักในอดีต จอร์เจียมีชื่อเสียงทางกีฬาทางกายภาพ

ดูเพิ่ม

[แก้]

อ้างอิง

[แก้]
  1. "Article 8", Constitution of Georgia. In Abkhazian AR, also Abkhazian.
  2. "Constitution of Georgia" (PDF). Parliament of Georgia. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 10 December 2017.
  3. "საქართველოს მოსახლეობის საყოველთაო აღწერის საბოლოო შედეგები" (PDF). National Statistics Office of Georgia. 28 April 2016. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 10 October 2017. สืบค้นเมื่อ 29 April 2016.
  4. "Demographic Portal". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2020-08-03. สืบค้นเมื่อ 2020-02-09.
  5. "2014 General Population Census Main Results General Information — National Statistics Office of Georgia" (PDF). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 8 August 2016. สืบค้นเมื่อ 2 May 2016.
  6. 6.0 6.1 6.2 "World Economic Outlook Database, October 2019". IMF.org. International Monetary Fund. สืบค้นเมื่อ 14 January 2020.
  7. "World Economic Outlook Database October 2019".
  8. "GINI index (World Bank estimate) - Georgia". data.worldbank.org. World Bank. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 20 July 2018. สืบค้นเมื่อ 22 March 2020.
  9. "Human Development Report 2020" (PDF) (ภาษาอังกฤษ). United Nations Development Programme. December 15, 2020. สืบค้นเมื่อ December 15, 2020.
  10. อ้างอิงผิดพลาด: ป้ายระบุ <ref> ไม่ถูกต้อง ไม่มีการกำหนดข้อความสำหรับอ้างอิงชื่อ geostat.ge
  11. "Population and Demography". National Statistics Office of Georgia, Geostat. สืบค้นเมื่อ 29 December 2021.
  12. "Constitution of Georgia" (ภาษาอังกฤษ). The Legislative Herald of Georgia. 2020-06-29. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2023-10-27. สืบค้นเมื่อ 2022-03-25.
  13. Constitution of Georgia, Article 1.1, 7.2, 45, 52 and 54[12]
  14. "Consolidating Parliamentary Democracy in Georgia" (ภาษาอังกฤษ). UNDP Georgia. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2021-06-19. สืบค้นเมื่อ 2022-03-25.
  15. "Georgia purges education system". 29 July 2005. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 19 December 2008. สืบค้นเมื่อ 10 September 2008 – โดยทาง news.bbc.co.uk.
  16. Molly Corso (13 May 2005) Education reform rocks Georgia เก็บถาวร 31 กรกฎาคม 2016 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน. Eurasianet. United Nations Development Programme. Retrieved on 2 September 2008.
  17. Education system in Georgia[ลิงก์เสีย]. National Tempus Office Georgia. Retrieved on 2 September 2008. [ลิงก์เสีย]
  18. "Centralized university entrance examinations". National assessment and examinations center. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 26 February 2017. สืบค้นเมื่อ 31 January 2017.

ข้อมูล

[แก้]

แหล่งข้อมูลอื่น

[แก้]

รัฐบาล

[แก้]

ข้อมูลทั่วไป

[แก้]

สื่อข่าว

[แก้]