โฟล์กลอร์ (อัลบั้มเทย์เลอร์ สวิฟต์)

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
โฟล์กลอร์
Taylor Swift - Folklore.png
สตูดิโออัลบั้มโดย
วางตลาด24 กรกฎาคม ค.ศ. 2020 (2020-07-24)
บันทึกเสียง2020
สตูดิโอ
  • ลองก์พอนด์ (ฮูดสันแวลลีย์ นิวยอร์ก)
  • คิตตีคอมมิตตี (ลอสแอนเจลิส)
  • โรกคัสโตเมอร์ (นครนิวยอร์ก)
  • อิเล็กทริกเลดี (นครนิวยอร์ก)
  • คอนเวย์รีเคิดดิง (ลอสแอนเจลิส)
แนวเพลง
ความยาว63:29 (ฉบับมาตรฐาน)
ค่ายเพลงรีพับลิก
โปรดิวเซอร์
ลำดับอัลบั้มของเทย์เลอร์ สวิฟต์
ไลฟ์ฟรอมเคลียร์แชนแนลสตริป 2008
(2019)
โฟล์กลอร์
(2020)
โฟล์กลอร์: เดอะลองพอนด์สตูดิโอเซสชันส์ (ฟรอมเดอะดิสนีย์+ สเปเชียล)
(2020)
ซิงเกิลจากโฟล์กลอร์
  1. "คาร์ดิแกน"
    จำหน่าย: 27 กรกฎาคม ค.ศ. 2020
  2. "เอ็กไซล์"
    จำหน่าย: 3 สิงหาคม ค.ศ. 2020
  3. "เบ็ตตี"
    จำหน่าย: 17 สิงหาคม ค.ศ. 2020

โฟล์กลอร์ (อังกฤษ: Folklore) เป็นสตูดิโออัลบั้มลำดับที่ 8 ของนักร้องและนักแต่งเพลงชาวอเมริกัน เทย์เลอร์ สวิฟต์ เป็นอัลบั้มเซอร์ไพรส์เปิดตัวผ่านค่ายเพลงรีพับลิกเรเคิดส์ ในวันที่ 24 กรกฎาคม ค.ศ. 2020 เธอใช้ช่วงเวลาในเหตุการณ์การระบาดทั่วของไวรัสโคโรนาในการแต่งเพลง หลังจากที่ยกเลิกคอนเสิร์ตทัวร์ของอัลบั้มก่อนหน้า เลิฟเวอร์ (2019) ในระหว่างการกักตัวเธอรู้สึกว่า โฟล์กลอร์ คือ "การรวบรวมบทเพลงและเรื่องราวที่เลื่อนไหลอยู่ในจิตใต้สำนึก" โดยมีโปรดิวเซอร์คือแอรอน เดสส์เนอร์ และแจ็ก แอนโตนอฟฟ์ ในการบันทึกเสียง เธอใช้ช่วงเวลาบันทึกที่สตูดิโอในตัวที่พักของเธอในลอสแอนเจลิส ขณะที่เดสส์เนอร์และแอนโตนอฟฟ์ทำงานในฮูดสันแวลลีย์และนครนิวยอร์กตามลำดับ

อัลบั้มนี้เป็นอัลบั้มที่แตกต่างจากแนวป็อปเดิมที่เทย์เลอร์เคยทำ โฟล์กลอร์ ให้ความกลมกล่อมด้วยแนวเพลงเซนติเมนทอลบัลลาดที่ไพเราะ ซึ่งขับเคลื่อนด้วยเสียงดนตรีนีโอคลาสซิซิสซึม ด้วยแนวเพลงอินดีโฟล์ก ออลเทอร์นาทิฟร็อก และอิเล็กโทรคูสติก ได้รับอิทธิพลจากความเหงาในช่วงกักตัว ในอัลบั้มสวิฟต์พาสำรวจในอรรถบทของการหลบหนีจากโลกของความเป็นจริง ความเข้าอกเข้าใจ ความคิดถึง และความโรแมนติก โดยใช้ชุดของตัวละคร เรื่องเล่าสมมติ และโครงเรื่องหลัก ซึ่งตรงกันข้ามกับโทนอัตชีวประวัติของโปรเจ็กต์ก่อนหน้าของเธอ ชื่ออัลบั้มได้รับแรงบันดาลใจจากแนวเพลงอันยาวนานของดนตรีโฟล์ก ในขณะที่สุนทรียภาพสะท้อนให้เห็นถึงคอตเทจคอล

เมื่อโฟล์กลอร์ ได้วางจำหน่าย ได้สร้างสถิติใหม่ เป็นอัลบั้มศิลปินหญิงที่มีการสตรีมมากที่สุดภายใน 24 ชั่วโมงแรกในสปอติฟาย เพลงสามเพลงไต่ขึ้นถึง 10 อันดับแรกของชาร์ตเพลงในแปดประเทศ ได้แก่ เพลง "คาร์ดิแกน" "เดอะวัน" และ "เอ็กไซล์" ซิงเกิลนำของอัลบั้มสามารถครองอันดับหนึ่งบนบิลบอร์ดฮอต 100 ในสหรัฐ โฟล์กลอร์ ยังติดอันดับชาร์ตในประเทศต่าง ๆ และได้รับการรับรองระดับแพลตตินัมในออสเตรเลีย เดนมาร์ก นิวซีแลนด์ นอร์เวย์ สหราชอาณาจักร และสหรัฐอเมริกา เป็นอัลบั้มอันดับหนึ่งบนบิลบอร์ด 200 ของสวิฟต์ในสหรัฐอเมริกา ซึ่งครองตำแหน่งสูงสุดเป็นเวลาแปดสัปดาห์และกลายเป็นอัลบั้มที่ขายดีที่สุดในปี ค.ศ. 2020

อัลบั้มได้รับการวิจารณ์ชื่นชมอย่างกว้างขวาง โดยกล่าวถึงการเน้นที่น้ำหนักทางอารมณ์ เนื้อเพลงบทกวี และจังหวะที่ผ่อนคลาย นักวิจารณ์อ้างว่าสาระสำคัญของการทบทวนความคิดหรือความรู้สึกของตัวเองนั้น เหมาะสมกับช่วงเวลาสำหรับการระบาดครั้งใหญ่นี้ และมองว่าเสียงเพลงของสวิฟต์เป็นการสร้างสรรค์ผลงานศิลปะขึ้นมาใหม่ อัลบั้มนี้ติดอันดับในการจัดอันดับสิ้นปี ค.ศ. 2020 จำนวนมาก เรียกได้ว่าเป็นอัลบั้มหัวใจของล็อกดาวน์โควิด-19 ซึ่งได้รับรางวัลอัลบั้มแห่งปี จากงานรางวัลแกรมมี ครั้งที่ 63 ทำให้สวิฟต์เป็นผู้หญิงคนแรกในประวัติศาสตร์ที่คว้ารางวัลเกียรติยศนี้ถึง 3 อัลบั้มรวมจากผลงาน เฟียร์เลส (2008) และ 1989 (2014) เธอได้พูดคุยถึงโฟล์กลอร์ และการแสดงสดในสารคดีคอนเสิร์ตของดิสนีย์+ ในโฟล์กลอร์: เดอะลองพอนด์สตูดิโอเซสชันส์ ฉายครั้งแรกในวันที่ 25 พฤศจิกายน ค.ศ. 2020 และเปิดตัวผลงานภาคต่อของโฟล์กลอร์ คือ เอฟเวอร์มอร์ (2020) ในสองสัปดาห์ต่อมาศิลปินเพลงหลายคนกล่าวถึงโฟล์กลอร์ว่าเป็นที่มาของแรงบันดาลใจ

ภูมิหลัง[แก้]

ในเดือนเมษายน ค.ศ. 2020 เทย์เลอร์ สวิฟต์ได้วางแผนทัวร์ เลิฟเวอร์เฟสต์ ซึ่งเป็นทัวร์คอนเสิร์ตครั้งที่ 6 ของเธอเพื่อสนับสนุนสตูดิโออัลบั้มชุดที่ 7 เลิฟเวอร์ (2019) แต่ถูกยกเลิกหลังจากการระบาดของโควิด-19[1] ในวันที่ 23 กรกฎาคม ค.ศ. 2020 รูปภาพเก้ารูปถูกอัปโหลดไปยังบัญชีอินสตาแกรมของสวิฟต์ โดยทั้งหมดไม่มีคำบรรยาย เป็นรูปขาวดำภาพนักร้องยืนอยู่คนเดียวในป่า ต่อจากนั้นเธอโพสต์อีกครั้งในบัญชีโซเชียลมีเดียทั้งหมดของเธอ โดยประกาศว่าสตูดิโออัลบั้มชุดที่ 8 ของเธอจะวางจำหน่ายในเวลาเที่ยงคืน สวิฟต์กล่าวว่า: "หลายสิ่งที่ฉันวางแผนไว้ในช่วงซัมเมอร์นี้กลับไม่จบลงเสียที แต่มีบางอย่างที่ฉันไม่ได้วางแผนไว้ว่าจะเกิดขึ้น และสิ่งนั้นก็คือสตูดิโออัลบั้มชุดที่ 8 ของฉันที่ชื่อว่าโฟล์กลอร์" เธอได้เผยแพร่ภาพเป็นปกอัลบั้มและเปิดเผยรายการเพลง[2] เดอะวอลล์สตรีทเจอร์นัลให้ความเห็นว่าการประกาศที่น่าประหลาดใจนี้ "ทำให้แฟน ๆ และธุรกิจเพลงนั้นตั้งตัวไม่ทัน"[3] บิลบอร์ดระบุว่า "ทำให้โลกดนตรีป็อปที่มืดบอด" กลายเป็น "ข่าวที่น่าตื่นเต้น" ในช่วงล็อกดาวน์[4] โฟล์กลอร์ได้รับการเปิดตัวออกมาสิบเอ็ดเดือนหลังจากอัลบั้มเลิฟเวอร์ ซึ่งเร็วที่สุดสำหรับสตูดิโออัลบั้มของสวิฟต์ในเวลานั้น โดยเอาชนะช่องว่างระยะเวลาระหว่าง เรพิวเทชัน (2017) และเลิฟเวอร์ถึงหนึ่งปีกับเก้าเดือน ในอีกโพสต์หนึ่งสวิฟต์ประกาศว่ามีมิวสิกวิดีโอสำหรับเพลง "คาร์ดิแกน" จะเปิดตัวพร้อมกับอัลบั้ม[5]

ในระหว่างการนับถอยหลังสู่มิวสิกวิดีโอเพลง "คาร์ดิแกน" รอบปฐมทัศน์บนยูทูบสวิฟต์บอกใบ้ว่าเนื้อเพลงของอัลบั้มมีไข่อีสเตอร์ที่เป็นเอกลักษณ์ของเธอหลายอย่าง: "สิ่งหนึ่งที่ฉันตั้งใจทำในอัลบั้มนี้คือใส่ไข่อีสเตอร์ไว้ในเนื้อเพลงมากกว่าแค่วิดีโอ ฉันสร้างส่วนโค้งของตัวละครและธีมที่เกิดซ้ำ ๆ โดยกำหนดว่าใครร้องเพลงเกี่ยวกับใคร... ตัวอย่างเช่น มีคอลเลกชันเพลงสามเพลงที่ฉันเรียกว่ารักสามเศร้าของวัยรุ่น (Teenage Love Triangle) สามเพลงนี้สำรวจรักสามเส้าจากมุมมองของคนทั้งสาม ที่มีช่วงเวลาต่าง ๆ ในชีวิต"[6] เธอเรียกอัลบั้มนี้ว่า "ความโหยหาและเต็มไปด้วยการหลีกหนีจากโลกของความเป็นจริง ความเศร้า สวยงาม ความน่าสลดใจ เช่นเดียวกับอัลบั้มภาพที่เต็มไปด้วยภาพต่าง ๆ และเรื่องราวทั้งหมดเบื้องหลังภาพนั้น"[7] โดยอธิบายว่าเพลง "คาร์ดิแกน" เป็นเพลงที่สำรวจ "ความรักที่หายไป และเหตุใดความรักของหนุ่มสาวจึงมักติดตรึงอยู่ในความทรงจำของเราอย่างถาวร" และชี้ให้เห็นถึงแทร็กที่เขียนขึ้นเอง "มายเทียร์ริโคเชต์" ซึ่งเป็นเพลงแรกที่เธอขึ้นของอัลบั้ม[8][7]

แนวคิด[แก้]

สวิฟต์ไม่ได้คาดหวังที่จะสร้างอัลบั้มใหม่ในช่วงต้นปี ค.ศ. 2020[9] แต่หลังจากยกเลิกทัวร์เลิฟเวอร์เฟสต์[1] สวิฟต์ได้กักตัวอยู่ที่บ้าน ในระหว่างนี้เธอได้ดูภาพยนตร์หลายเรื่อง เช่น หน้าต่างชีวิต (1954), ดับโหด แอล.เอ.เมืองคนโฉด (1997), อัศจรรย์แดนฝัน มหัศจรรย์เขาวงกต (2006), เจน แอร์ หัวใจรักนิรันดร (2011), แมริเอจ สตอรี่ (2019),[9] และเดอะลาสต์แดนซ์ (2020),[10] และอ่านหนังสือมากกว่าที่เธอเคยอ่าน หนังสือ "ว่าด้วยอดีต โลกที่ไม่มีอยู่จริง" เช่น รีเบคกา (1938) โดยดาฟเน ดู โมริเยร์[11] นิยายเรื่องนี้เป็นแรงบันดาลใจให้สวิฟต์ก้าวไปไกลกว่าสไตล์การแต่งเพลงอัตชีวประวัติตามปกติที่เธอเคยทำ[9] และทดลองกับจุดยืนการเล่าเรื่องที่แตกต่างกัน เธอปล่อยให้จินตนาการของเธอ "โลดแล่น" ทำให้เกิดภาพและภาพที่ตามมาก็กลายเป็นโฟล์กลอร์[12]

มันเริ่มต้นด้วยการเห็นภาพต่าง ๆ ที่ผุดขึ้นมาในความคิด และทำให้ฉันตื่นเต้นสงสัย รูปวาดดวงดาวล้อมรอบแผลเป็น เสื้อคาร์ดิแกนเก่า ๆ ที่กลิ่นของความสูญเสียไม่เคยจางหายตลอด 20 ปี เรือรบจมลงใต้มหาสมุทร ดำดิ่งลงไปลึกขึ้นเรื่อย ๆ ต้นไม้พลิ้วไหวในป่าแห่งวัยเยาว์ เสียงเงียบที่บอกว่า "หนีกันเถอะ" และก็ไม่เคยทำมัน ดวงอาทิตย์ที่เปียกโชกในเดือนสิงหาคม จิบไปเหมือนขวดไวน์ ดิสโกบอลกระจกลอยอยู่เหนือฟลอร์เต้นรำ กวักมือกวักเรียกขวดวิสกี้ มือถือผ่านพลาสติก ด้ายเส้นเดียวที่เชื่อมโยงคุณเข้ากับโชคชะตาไม่ว่าจะดีหรือร้าย จากนั้นไม่นานก็ผุดภาพของใบหน้า ชื่อคน และกลายเป็นตัวละคร ฉันค้นพบว่าตัวเองไม่เพียงแค่เขียนเรื่องราวของตัวเองเท่านั้น แต่ยังเขียนเกี่ยวกับหรือจากมุมมองของผู้คนที่ฉันไม่เคยพบ คนที่ฉันรู้จัก หรือคนที่ฉันหวังว่าจะไม่มีอยู่จริง

– สวิฟต์ถึงพูดแนวทางการพัฒนาของ โฟล์กลอร์, บิลบอร์ด[12]

การประพันธ์และการบันทึก[แก้]

การแต่งเพลงในอัลบั้มโฟล์กลอร์ เทย์เลอร์ สวิฟต์ได้เน้นไปที่แนวการหลบหนีจากโลกของความเป็นจริงและศิลปะจินตนิยม[11] เธอได้เชิญโปรดิวเซอร์ 2 คนเพื่อมาร่วมทำงาน ได้แก่ แจ็ก แอนโตนอฟฟ์ ผู้ทำงานร่วมกันมานาน ซึ่งทำงานร่วมกับเธอในอัลบั้ม 1989 (2014) เรพิวเทชัน และเลิฟเวอร์ และทำงานร่วมกันครั้งแรกกับแอรอน เดสส์เนอร์ มือกีตาร์ของวงอินดีร็อกอเมริกันเดอะเนชันเนล[13] เนื่องจากความกังวลเกี่ยวกับโควิด-19 สวิฟต์ แอนโตนอฟฟ์ และเดสส์เนอร์ต้องกักตัวด้วยระยะที่ไกลกัน การทำโฟล์กลอร์จึงเป็นการทำงานผ่านการแลกเปลี่ยนไฟล์ในรูปแบบดิจิทัลของเครื่องดนตรีและเสียงร้องอย่างต่อเนื่อง[14] อัลบั้มนี้เกิดจากกระบวนการดีไอวาย[15] ผสมและออกแบบโดยบุคลากรที่กระจายอยู่ในทั่วสหรัฐอเมริกา[4]

ผู้ชายกำลังเล่นกีตาร์บนเวที
ผู้ชายที่เล่นกีตาร์สีแดง
โฟล์กลอร์ มีการผลิตโดยแอรอน เดสส์เนอร์ (ภาพ ซ้าย) และแจ็ก แอนโตนอฟฟ์ (ขวา); ส่วนใหญ่เดสส์เนอร์จะเป็นผู้ผลิตเพลง

เนื่องจากโรคระบาด สตูดิโออัดเสียงทั้งหมดจึงถูกปิดลง ดังนั้นสวิฟต์จึงสร้างโฮมสตูดิโอที่บ้านของเธอในลอสแอนเจลิสขึ้นมา โดยใช้ชื่อว่าคิตตีคอมมิตตี โดยได้รับความช่วยเหลือจากวิศวกรอย่างลอรา ซิสก์[9] กับแอนโตนอฟฟ์นั้นสวิฟต์ทำเพลงห้าเพลงจากอัลบั้มนี้ด้วย โดยการดำเนินงานจากนครนิวยอร์ก ขณะที่ซิสก์บันทึกเสียงร้องของสวิฟต์ในลอสแอนเจลิส "มายเทียร์ริโคเชต์" เป็นเพลงแรกที่เขียนขึ้นของโฟล์กลอร์ สวิฟต์แต่งเกี่ยวกับความสัมพันธ์ระหว่างเธอกับสกอตต์ บอร์เชตตา ผู้ก่อตั้งค่ายเพลงเก่าของเธอซึ่งกำลังจะถึงจุดจบอย่างกะทันหัน[9] แอนโตนอฟฟ์ทำการปรับขั้นตอนการเขียนเพลง "มิเรอร์บอล" และ "ออกัสต์" กับ "เอาต์ออฟเดอะวุดส์" (2016)[16] สวิฟต์กล่าวว่า "มิเรอร์บอล" เป็นผลงานที่เกิดจากการหลังยกเลิกงานเลิฟเวอร์เฟสต์ ซึ่งเป็นบทกวีสำหรับแฟน ๆ ในการการปลอบใจด้วยดนตรีและคอนเสิร์ตของเธอ[17] เธอเขียนเพลง "ออกัสต์" เกี่ยวกับชู้หญิงคนหนึ่งที่สมมติขึ้น และ "ดิสอิสมีไทร์อิง" โดยอิงจากเรื่องเล่าหลาย ๆ เรื่อง เช่น การรับมือกับการเสพติด และสุขภาพจิตของเธอเองในปี ค.ศ. 2016–2017 เมื่อเธอรู้สึกว่าเธอ "ไม่มีค่าอะไรเลย"[9]

ในช่วงปลายเดือนเมษายน สวิฟต์ได้ติดต่อไปยังเดสส์เนอร์ เพื่อขอให้เขาร่วมเขียนในบางเพลงจากระยะไกล เขาทำงานใน 11 เพลงจากทั้งหมด 16 เพลงของอัลบั้ม ในอีกไม่กี่เดือนข้างหน้า[18] เดสส์เนอร์ "คิดว่าคงต้องใช้เวลาสักพักกว่าจะได้ไอเดียเพลง" และ "ไม่มีความคาดหวังถึงสิ่งที่เราสามารถทำได้จากระยะทางที่ห่างไกล" แต่ก็แปลกใจที่ "ไม่กี่ชั่วโมงหลังจากแชร์เพลง โทรศัพท์ของฉันก็สว่างขึ้นพร้อมกับบันทึกเสียงเพลงที่แต่งขึ้นเองของเทย์เลอร์—การเคลื่อนไหวไม่เคยที่จะหยุดนิ่งเลย”[19] สวิฟต์และเดสส์เนอร์ "ติดต่อกันทุกวันเป็นเวลาสามหรือสี่เดือนผ่านทางข้อความและโทรศัพท์"[20] เขาจะคอยส่งโฟลเดอร์เสียงดนตรีให้เธอ และเธอจะเขียนเพลงใน "บรรทัดบนสุดทั้งหมด"—ทำนองและเนื้อร้อง และ "เขาไม่รู้ว่าเพลงนี้จะเกี่ยวกับอะไร จะเรียกมันว่าอะไร ที่[เธอ]กำลังจะขับร้อง"[11] เพลงที่ทั้งคู่เขียนก็คือ "คาร์ดิแกน" ซึ่งมีพื้นฐานอ้างอิงมาจากภาพร่างของเดสส์เนอร์คนหนึ่งที่ชื่อว่า "เมเปิล"[19] "คาร์ดิแกน" ตามด้วย "เซเวน" และ "พีซ"[21] เมื่อได้ยินทำนองประกอบของ "พีซ" สวิฟต์รู้สึกถึง "ความสงบในทันที" ที่ปลุกความรู้สึกสงบสุข แต่รู้สึกว่าตัวเธอเองเขียนเพลงซับซ้อนเกินไป "มันขัดแย้งกัน" ความรู้สึกตรงกันข้ามกับเสียงที่สงบนิ่งของเพลง[9] และเธอได้บันทึกเสียงใหม่ในเทคเดียว[20]

สวิฟต์แต่งเพลง "เอ็กไซล์" และ "เบ็ตตี" ร่วมกับแฟนหนุ่มของเธอโจ อัลวิน เป็นนักแสดงชาวอังกฤษ เธอพัฒนาเพลง "เอ็กไซล์" เป็นเพลงคู่และเดสส์เนอร์ได้บันทึกร่างการร้องเพลงของเธอทั้งในส่วนของชายและหญิง และสวิฟต์ชอบเสียงของจัสติน เวอร์นอนจากวงบอนอีแวร์ เดสส์เนอร์ส่งเพลงให้เวอร์นอน ซึ่งเขาก็ชอบเพลงนี้ และได้เพิ่มเนื้อเพลงของตัวเองในบางส่วนและก็ได้ร่วมร้องในเพลงนี้[19]

เทย์เลอร์ได้เปิดประตูศิลปินให้ไม่รู้สึกกดดันที่จะมี "เดอะบ็อป" ในการทำแผ่นเสียงที่เธอทำขึ้น ในขณะที่การแข่งกับรายการวิทยุของเพลงป็อปในระดับสูง เธอได้สร้างสถิติที่ต้านต่อเพลงป็อปขึ้นมา

— เดสส์เนอร์พูดถึงทิศทางเสียงใหม่ของสวิฟต์ในโฟล์กลอร์, บิลบอร์ด[22]

โฟล์กลอร์ถูกเขียนและบันทึกไว้เป็นความลับโดยสวิฟต์ แฟนหนุ่ม ครอบครัว ทีมผู้บริหาร แอนโตนอฟฟ์ และเดสส์เนอร์ รับรู้ถึงการสร้างอัลบั้มนี้ เธอไม่ได้เปิดเผยข่าวหรือเปิดอัลบั้มให้เพื่อน ๆ ฟังเหมือนเช่นผลงานที่ผ่านมา[9] เมื่อใกล้ถึงจุดสิ้นสุดของกระบวนการบันทึกเสียงของโฟล์กลอร์ เดสส์เนอร์ได้ติดต่อไปยังผู้ร่วมงานประจำของเขา ซึ่งรวมถึงเพื่อนร่วมวงเดอะเนชันเนล เพื่อจัดหาเครื่องดนตรีจากระยะไกล[21] ไบรซ์เรียบเรียงเพลงหลายเพลง ขณะที่ไบรอัน เดเวนดอร์ฟตีกลองในเพลง "เซเวน"[13] เดสส์เนอร์เก็บความเกี่ยวข้องของสวิฟต์ไว้เป็นความลับไม่ให้ครอบครัวและเพื่อนร่วมงานของเขาทราบจนกว่าจะมีการประกาศ[23] ในขณะที่ถ่ายทำมิวสิกวิดีโอเพลง "คาร์ดิแกน" สวิฟต์สวมหูฟังและลิปซิงก์เพลง เพื่อป้องกันไม่ให้รั่วไหล[24] เดสส์เนอร์ระบุว่าค่ายเพลงของสวิฟต์ชื่อรีพับลิกเรเคิดส์ก็ไม่รู้ถึงอัลบั้มนี้จนกระทั่งหลายชั่วโมงก่อนเปิดตัว[20]

ดนตรีและเนื้อเพลง[แก้]

อัลบั้มโฟล์กลอร์รุ่นมาตรฐานมีความยาวประมาณ 1 ชั่วโมง 3 นาที ประกอบด้วยเพลง 16 เพลง ในขณะที่รุ่นดีลักซ์จะเพิ่มเพลงโบนัส "เดอะเลกส์" เป็นเพลงที่ 17 บอนอีแวร์แสดงในเพลง "เอ็กไซล์" ซึ่งเป็นเพลงที่ 4 อัลบั้มประพันธ์และอำนวยการสร้างโดยสวิฟต์ เดสส์เนอร์ แอนโตนอฟฟ์ และอัลวิน พร้อมเครดิตการประพันธ์เพิ่มเติมให้กับเวอร์นอน นักร้องนำวงบอนอีแวร์ในเพลง "เอ็กไซล์"[13][25] เป็นอัลบั้มแรกของสวิฟต์ที่มีป้ายกำกับเนื้อหาที่ผู้ปกครองควรแนะนำ[26]

องค์ประกอบ[แก้]

นักวิจารณ์ส่วนใหญ่จัดประเภทแนวเพลงอัลบั้มโฟล์กลอร์เป็นออลเทอร์เนทิฟ อินดีโฟล์ก และอิเล็กโทรโฟล์ก โดยจัดแยกออกจากแนวป็อปสุดโต่งและเสียงที่ขับเคลื่อนด้วยซินท์ของผลงานก่อนหน้าของสวิฟต์[27][28] นอกจากนี้ยังจัดรวมไว้ในแนวเพลงอินดีร็อก[29] อิเล็กทรอนิกา[30] ดรีมป็อป[31] คันทรี[32] และมีองค์ประกอบโฟล์กร็อก[33] ฮันนาห์ มิลเรียจากเอ็นเอ็มอีเขียนวิจารณ์อัลบั้มว่า "ดำดิ่งสู่โลกของโฟล์ก ออลเทอร์นาทิฟร็อก และอินดี"[32] ในขณะที่แกรี ไรอันจากนิตยสารฉบับเดียวกันจัดว่าเป็นอินดีโทรนิกาและแชมเบอร์ป็อป[34] เคเลน เบลล์จากเอ็กซ์แคม กล่าวว่า โฟล์กลอร์เป็นแผ่นเสียงป็อปที่ผ่อนคลาย[35] คริส วิลแมนแห่งวาไรเอตี[36] และจิลเลียน เมปส์แห่งพิตช์โฟร์ก ระบุว่าเป็นแนวเพลงแชมเบอร์ป็อป[37] ไมเคิล ซัมชันแห่งป็อปแมตเทอร์ส อธิบายว่าเป็นการผสมผสานระหว่าง แชมเบอร์ป็อปและออลต์-โฟร์ก[38] และไรซา บรูเนอร์จากนิตยสารไทม์ ถือว่าเป็นแนว "ออลเทอร์นาทิฟป็อปโฟล์ก"[39] นักข่าวเพลงอแมนดา เปตรูซิช นักวิจารณ์จากเดอะนิวยอร์กเกอร์ รู้สึกว่าโฟล์กลอร์เป็นแผ่นเสียงที่ "ไม่มีแนวเพลง" ซึ่งเป็นบรรยากาศแนวไปทางป็อปมากกว่าโฟล์ก[40] ด้วยความไม่เห็นด้วยของจอน คารามานิกานักวิจารณ์ของเดอะนิวยอร์กไทมส์เรียกอัลบั้มนี้ว่าเป็นอัลบั้มที่มีกลิ่นอายความเป็นร็อกละทิ้งความเป็นป็อป[41] สเปนเซอร์ คอนฮาเบอร์จากดิแอตแลนติก กล่าวว่าอัลบั้มนี้เป็น "การแหวกว่ายดนตรีคลาสสิกที่สลับซับซ้อนและการประพันธ์ดนตรีโฟล์ก" จัดขึ้นพร้อมกับดนตรีอิเล็กทรอนิกส์[42]

เป็นอัลบั้มที่ไม่เหมาะกับการออกอากาศในรายการวิทยุเพลงป็อป[6][43] โฟล์กลอร์หลีกเลี่ยงเพลงในกระแสหลักเหมือนผลงานเก่า ๆ ของเธอ[36] ซึ่งประกอบด้วยเพลงบัลลาดจังหวะช้า ๆ แบบภาพยนตร์[19][44][36] ที่มีความเป็นมินิมอล[37] ผลิตแบบโลไฟ[45]และท่วงทำนองเพลงที่สง่างาม ที่มีการหยิบยืมการแต่งเพลงแบบดั้งเดิมมาใช้ในสมัยใหม่[44] โดยสร้างขึ้นจากเครื่องดนตรีนีโอคลาสสิก อาทิ เสียงเปียโนที่มีความนุ่มนวล[30] เบาบาง[37] และกังวาน[44] เสียงมูดดี[37] ปิ๊ก[44] และเสียงอึกทึกของกีตาร์[30] เสียงกลิต (glitchy) และมีองค์ประกอบแฟรกเชอร์อิเล็กทรอนิกส์ (fractured electronic)[30] เสียงการสั่นอ่อน ๆ ของเพอร์คัชชัน[35][46] กลองโปรแกรมที่กลมกล่อม เมลโลตรอน[36] การประสานเสียงที่กว้างไกล[37] ด้วยสตริงที่เบาหวิว[31] และแตรที่ลุ่มลึก[47]

แนวบทเพลง[แก้]

โฟล์กลอร์ประกอบด้วยเพลงที่สำรวจมุมมองที่แตกต่างจากชีวิตของสวิฟต์ รวมถึงการเล่าเรื่องของบุคคลที่สาม[47]ที่เขียนขึ้นจากมุมมองของตัวละครที่สอดแทรกอยู่ในเพลง[19] สไตล์การแต่งเพลงผสมผสานระหว่างเพลงบัลลาดกับประสบการณ์อัตชีวประวัติและการเล่าเรื่องที่ขับเคลื่อนด้วยตัวละคร[48] และโดดเด่นเป็นพิเศษด้วยธีมของความโหยหา การหลบหนีจากโลกของความเป็นจริง[49] การโหยหาอดีต[19] การทบทวนความคิด[50] และความร่วมรู้สึก[42] แม้ว่าสวิฟต์จะเลือกใช้เสียงใหม่ อัลบั้มนี้ยังคงไว้ซึ่งสไตล์การแต่งเพลงที่เป็นเครื่องหมายการค้าของเธอ เช่น การส่งความโศกเศร้าและความหลงใหลในนวนิยายพัฒนาบุคคล (Bildungsroman)[51]

เมื่อเปรียบเทียบกับผลงานเก่า ๆ ของเธอแล้ว โฟล์กลอร์สะท้อนให้เห็นถึงการรับรู้ตนเองที่ลึกซึ้งยิ่งขึ้นไปของสวิฟต์[30] การใคร่ครวญ[38] และการเล่าเรื่องที่มีชีวิตชีวา[32] ซึ่งแสดงให้เห็นระดับที่สูงขึ้นของการเล่าเรื่องสมมติและลดการอ้างอิงตนเองน้อยลง[36] จนถึงจุดสูงสุดในวิธีการมองจากภายนอก[42] ในส่วนเนื้อเพลงเป็นทั้งเรื่องส่วนตัวและเรื่องที่แต่งขึ้น และทั้งสองอย่างผสมผสานกันในบางครั้ง[52] ช่วงอารมณ์และการเล่าเรื่องของโฟล์กลอร์กว้างขึ้นโดยขยายจุดสนใจจากเรื่องราวส่วนตัวของสวิฟต์ไปสู่ตัวละครและตัวตนในจินตนาการ[50]

เรื่องเล่าที่บรรยายไว้ในโฟล์กลอร์ ได้แก่ ผีที่ตามหาฆาตกรที่งานศพ, เด็กหญิงวัยเจ็ดขวบกับเพื่อนที่บอบช้ำ, หญิงม่ายชราคนหนึ่งถูกชาวเมืองปฏิเสธ, การฟื้นฟูผู้ติดสุรา และรักสามเส้าระหว่างตัวละครเบตตี เจมส์ และผู้หญิงนิรนาม[53][54]ตามที่ปรากฎในเพลง "คาร์ดิแกน" "เบ็ตตี" และ "ออกัสต์" โดยแต่ละเพลงในสามเพลงนี้เขียนขึ้นจากมุมมองของตัวละครแต่ละตัวในช่วงเวลาต่าง ๆ ในชีวิต[6] แอน พาวเวอร์สจากเอ็นพีอาร์ ได้กำหนดโฟล์กลอร์ ว่า "กายนั้นสร้างขึ้นจากความทรงจำ ความรู้สึกร่วมกันของโลก สร้างขึ้นจากตำนาน และเรื่องราวที่ได้ยินมา" ตามแนวคิดที่ว่า "เราแต่ละคนมีโฟล์กลอร์เป็นของตัวเอง" โดยอัลบั้มนี้เป็นโฟล์กลอร์ของสวิฟต์[55] หลายเพลงในอัลบั้มมีความเป็นภาพยนตร์ที่มีคุณภาพแทรกอยู่ในเนื้อเพลง[56] และอ้างอิงถึงวัตถุและปรากฏการณ์ในธรรมชาติ เช่น สุริยุปราคา ดาวเสาร์ แสงออโรรา ท้องฟ้าสีชมพูอมม่วง อากาศเค็ม วัชพืช และวีสเตียเรีย[57]

การกำกับศิลป์[แก้]

ตั้งแต่เริ่มต้น เทย์เลอร์มีความคิดที่ชัดเจนว่าเธอต้องการอะไรสำหรับวิชวลของอัลบั้ม เราดูงานแนวเซอร์เรียลิสต์ ซึ่งเป็นภาพที่เล่นกับขนาดของมนุษย์ในธรรมชาติ เรายังดูออโตโครม แอมโบรไทป์ และหนังสือนิทานภาพในยุคแรก ๆ จากทศวรรษที่ 1940 ด้วย

— เบธ การ์ราแบรนต์, ไอ-ดี[58]

ภาพปกอัลบั้ม บรรจุภัณฑ์ และวิดีโอเนื้อเพลงของโฟล์กลอร์ถูกสร้างขึ้นด้วยวิธีดีไอวาย[9] สวิฟต์ร่วมมือกับช่างภาพเบธ การ์ราแบรนต์ สำหรับงานศิลปะ โดยไม่มีทีมเทคนิคเนื่องจากความกังวลเรื่องโควิด-19 การถ่ายภาพดังกล่าวเป็นการเปลี่ยนแปลงจากการถ่ายภาพเก่า ๆ ของสวิฟต์ ซึ่งเธอจะมี "คน 100 คนอยู่ในกองถ่าย คอยสั่งการร่วมกับคนอื่น ๆ ในลักษณะที่เป็นคณะการทำงาน" เธอจัดสไตล์ตัวเอง ทั้งทรงผม เมคอัพ และเสื้อผ้า และกำหนดมูดบอร์ดให้การ์ราแบรนต์โดยเฉพาะ[9] ภาพถ่ายมีลักษณะเป็นสีเทา ฟิลเตอร์ขาวดำ[59][43]

ภาพปก[แก้]

ภาพปกอัลบั้มรุ่นมาตรฐานแสดงให้เห็นว่าสวิฟต์เป็นผู้สำรวจในศตวรรษที่ 18 ที่กำลังเดินละเมออยู่ในชุดนอน[9] เธอเห็นตัวเองยืนอยู่คนเดียวในป่าที่มีหมอกปกคลุมด้วยหมอกยามเช้า[60]สวมเสื้อโค้ทลายสกอตยาวกระดุมสองแถวในทุ่งหญ้าสีขาว[61]จ้องมองไปที่ต้นไม้ที่มีความสูง[62] ในขณะที่ปกด้านหลัง เธอยืนหันหลังให้กล้อง สวมแจ็กเก็ตยีนส์บุด้วยผ้าแฟลนเนลตัวหลวม ๆ โอบรอบแขนของเธอ และสวมเสื้อคลุมลูกไม้สีขาว ทำทรงผมมวยถักหลวม ๆ สองอันต่ำลงมาเหนือต้นคอ คล้ายกับตุ๊กตาอเมริกันเกิร์ล เคิร์สเตน ลาร์สัน[61][60]ชื่ออัลบั้มเขียนด้วยอักษรโรมันตัวเอียงที่ชวนให้นึกถึง "ลายมือหวัดแบบตำนานแห่งนาร์เนีย"[63][64]

ตราสัญลักษณ์ของ โฟล์กลอร์

ในเดือนธันวาคม ค.ศ. 2020 จิมมี คิมเมลสัมภาษณ์สวิฟต์เกี่ยวกับการที่มีคำว่า "วูดเวล" บนหน้าปกของโฟล์กลอร์ ฉบับ "ไฮด์แอนด์ซีก" ซึ่งบางคนสงสัยว่าจะเป็นชื่ออัลบั้มใหม่หลังจากอัลบั้มเอฟเวอร์มอร์; สวิฟต์ได้ปฏิเสธและบอกว่าเธอนั้นไม่ได้เปิดเผยชื่ออัลบั้มโฟล์กลอร์ให้ใครรู้จนกระทั่งก่อนเปิดตัว และใช้ชื่อ "วูดเวล" เป็นชื่อรหัสลับ ซึ่งรวมอยู่ในอาร์ตเวิร์กสำหรับการอ้างอิง แต่ถุกตีพิมพ์ในผลิตภัณฑ์โดยบังเอิญเท่านั้น

สุนทรียะและแฟชั่น[แก้]

สะท้อนให้เห็นถึงลวดลายกวีของการหลบหนีจากโลกของความเป็นจริง[65] โฟล์กลอร์มองว่าสวิฟต์โอบรับความเป็นชนบท[43] เน้นธรรมชาติ[59] คอตเทจคอร์[61][66] สุนทรียภาพสำหรับโปรเจ็กต์นี้ โดยหลีกหนีจาก "เทศกาลเทคคัลเลอร์" ของอัลบั้มก่อนอย่างเลิฟเวอร์[67] มิวสิกวิดีโอของ "คาร์ดิแกน" บอกเล่าความขยายออกไปของคอตเทจคอร์ และเริ่มด้วยการที่เธอนั่งที่เปียโนวินเทจในกระท่อมแสนสบายในป่า วิดีโอนำเสนอป่าที่ปกคลุมด้วยมอสส์ และน้ำตกที่ไหลออกจากเปียโน สวิฟต์ขายแบบจำลองของ "เสื้อคาร์ดิแกนโฟล์กลอร์" ในรูปแบบสายถักสีครีม ปักดาวสีเงินที่ข้อศอกหนา ๆ ของแขนเสื้อ และท่อและปุ่มสีน้ำเงินกรมท่าที่เธอสวมในวิดีโอลงบนเว็บไซต์ของเธอ[61]

นิตยสารดับเบิลยู มองว่าเสื้อคาร์ดิแกนเป็น "pièce de résistance" (แปลว่า อาหารจานสำคัญ) ของสุนทรียภาพ และคิดว่าผลงานศิลปะปกทั้งแปดเล่มของโฟล์กลอร์มีสวิฟต์ที่ "เที่ยวเล่นในป่าเหมือนราชินีแห่งคอตเทจคอร์"[68] ไอริชดิอินดีเพ็นเดนต์ กล่าวว่าเธอกลายเป็น "นักแต่งเพลงในชนบทที่สื่อสารกับนกและต้นไม้" โดยสวมเสื้อสเวตเตอร์ "สไตล์-เดอะแคลนซีบราเธอรส์"[69] อาร์ทีอีขอบคุณที่สวิฟต์สวมใส่คาร์ดิแกนเสื้อที่ทำให้ "กลับมาอยู่บนแผนอีกครั้ง"[70] ถ้าสังเกตว่ายุคอัลบั้มของเธอถูกกำหนดโดยโทนสี แฟชั่น และวัฒนธรรมของตนเอง ทีนโว้กก็ได้อธิบายว่า โฟล์กลอร์ถือเป็นเสื้อผ้าที่เรียบง่ายในโทนสีกลาง โดยคาร์ดิแกนช่วยให้เข้าใจบทบาทของอารมณ์ที่สื่อผ่านเสื้อผ้า[71] แนวทางคอตเทจคอร์ได้รับการฟื้นตัวบนอินเทอร์เน็ตหลังจากที่วิฟต์ใช้เป็นสุนทรียศาสตร์[72] ด้วยยอดขายเสื้อสเวตเตอร์แอเรนถักด้วยมือพุ่งสูงขึ้นในไอร์แลนด์และสหรัฐอเมริกา[73]

เมื่อเปรียบเทียบกับอัลบั้มที่ผ่านมาของเธอเดอะการ์เดียน ได้อธิบายลักษณะของอัลบั้ม 1989 ที่ดูเรียบหรูและอ่อนโยน เรพิวเทชัน ที่มีสไตล์โกธิคและอันตราย และ เลิฟเวอร์ ที่มีสีที่สดใสและพาสเทล ในขณะที่ โฟล์กลอร์ มีลักษณะที่เป็นเอกรงค์ (Monochrome) ของนักแต่งเพลงที่หวนคืนสู่รากเหง้าของความเป็นชาวโฟล์ก[50] รีไฟเนร์รีได้ขนานนามสุนทรียะนี้ว่าสวิฟต์ได้กลับมาเป็น "ตัวตนที่แท้จริง" ของเธอ[74] และเปรียบเทียบรูปลักษณ์ใหม่ของเธอกับรูปลักษณ์ของ "กุหลาบอังกฤษคลาสสิก" นิตยสารโว้กพบว่าสวิฟต์เลือกใช้จานสีแบบพาสทอรัล (Pastoral) และดึงความคล้ายคลึงกับมิวสิกวิดีโอของซิงเกิล "เซฟแอนด์ซาวด์" ในปี ค.ศ. 2012 ของเธอ[75] เว็บไซต์บีตส์เพอร์มินิตถือเป็นสุนทรียภาพที่ทำให้นึกถึงผลงานของจิตรกรแกรนต์ วูด, แอนดรูว์ ไวเอท และไลโอเนล วอลเดน โดยเฉพาะอย่างยิ่งงานศิลปะอเมริกันโกธิคของวูด[62] วอลทรูได้ให้คำนิยามโฟล์กลอร์ว่าเป็น "ภาพยนตร์สยองขวัญอินดีย้อนยุคขาวดำที่น่าขนลุก" ที่เห็นถึงต้นแบบต่อภาพยนตร์เกินวิสัยต่าง ๆ โดยเฉพาะหนังสยองขวัญจากค่ายเอ24 ด้วยเพลงที่ทำให้นึกถึงภาพในโรงภาพยนตร์[67] ความสวยงามของอัลบั้มถูกนำไปเปรียบเทียบกับภาพจริงในภาพยนตร์หลายเรื่อง เช่น อีวาโนโวดเตสตโว (1962), ปิกนิกแอตแฮงกิงร็อก (1975), สอดรู้ สอดเห็น สอดเป็น สอดตาย (1999), แพนส์แลบรินธ์ (2006), บาบาดุค ปลุกปีศาจ (2014), เดอะวิทช์ (2015), เล่ห์ลวง พิศวาส ปรารถนา (2017), จิตหลอนซ่อนลวง (2017), เดอะไลท์เฮาส์ (2019), เทศกาลสยอง (2019) และสี่ดรุณี (2019)[67][76][61][75]

การเปิดตัวและการประชาสัมพันธ์[แก้]

โฟล์กลอร์เป็นอัลบั้มเซอร์ไพรส์ นับเป็นครั้งแรกที่สวิฟต์ละทิ้งการออกอัลบั้มแบบดั้งเดิมของเธอ โดยเลือกที่จะออกวางจำหน่ายกะทันหัน เธอกล่าวว่า "ถ้าคุณทำสิ่งที่คุณรัก คุณควรเผยแพร่มันออกไปให้โลกเห็น" เธอเปิดตัวอัลบั้มผ่านสื่อสังคมออนไลน์ในวันที่ 23 กรกฎาคม ค.ศ. 2020 เพียง 16 ชั่วโมงก่อนที่จะปล่อยสู่แพลตฟอร์มเพลงดิจิทัลในเวลาเที่ยงคืน[77] สวิฟต์แจ้งให้รีพับลิกเรเคิดส์ทราบเกี่ยวกับอัลบั้มใหม่เพียงไม่กี่ชั่วโมงก่อนวางจำหน่าย[78] ด้วยเหตุนี้จึงไม่มีวางจำหน่ายอย่างแพร่หลายหรือวางบนร้านค้าปลีก โดยเฉพาะในสัปดาห์แรก[78] ซีดีรุ่นดีลักซ์และแผ่นเสียงไวนิลพร้อมปกสำรองอีก 7 แผ่น จำหน่ายบนเว็บไซต์ของสวิฟต์เท่านั้น[79] ซีดี "อินเดอะทรีส์" ของโฟล์กลอร์รุ่นมาตรฐาน วางจำหน่ายในวันที่ 7 สิงหาคม ค.ศ. 2020[80] ในขณะที่ซีดี "มีตมีบีไฮด์เดอะมอล" จัดทำขึ้นเฉพาะสำหรับทาร์เก็ต[81] ก่อนหน้านี้โฟล์กลอร์รุ่นดีลักซ์แบบพิเศษเฉพาะทางกายภาพซึ่งมีโบนัสแทร็กเพลง "เดอะเลกส์" เผยแพร่บนแพลตฟอร์มดิจิทัลเมื่อวันที่ 18 สิงหาคม ค.ศ. 2020[25]

ตั้งแต่วันที่ 20 สิงหาคม ค.ศ. 2020 มีการวางจำหน่ายซีดีโฟล์กลอร์พร้อมลายเซ็นในจำนวนจำกัด ได้ถูกส่งไปยังร้านแผ่นเสียงอินดีหลายแห่งในสหรัฐอเมริกาและสกอตแลนด์ เพื่อสนับสนุนธุรกิจขนาดเล็กที่ได้รับผลกระทบจากการแพร่ระบาด[82][83] สวิฟต์ได้ส่งเสื้อคาร์ดิแกนโฟล์กลอร์ของเธอ ไปให้เพื่อนคนดังและผู้ปรารถนาดี[84] อัลบั้มรวมแทร็กโฟล์กลอร์สี่เพลงได้รับการเผยแพร่สู่การสตรีม โดยพิจารณาจากบทเนื้อเพลงต่าง ๆ ; ดิอิสเคฟฟิสซึมแชปเตอร์, เดอะสลีปเลสไนตส์แชปเตอร์, เดอะซอลต์บ็อกซ์เฮาส์แชปเตอร์ และเดอะยาห์ไอโชว์อัพแอตยัวร์ปาร์ตีแชปเตอร์ซอลต์บ็อกซ์ วางจำหน่ายในเดือนสิงหาคม–กันยายน ค.ศ. 2020[85] สตูดิโออัลบั้มชุดที่ 9 ของสวิฟต์ เอฟเวอร์มอร์ เป็นภาคต่อของโฟล์กลอร์ เธอเรียกว่า "อัลบั้มพี่น้อง"[86]

ซิงเกิล[แก้]

"คาร์ดิแกน" เป็นซิงเกิลนำของอัลบั้มโฟล์กลอร์[87] มาพร้อมกับมิวสิกวิดีโอที่โพสต์บนยูทูบ กำกับโดยสวิฟต์ และอำนวยการสร้างโดยจิล ฮาร์ดิน ทั้งคู่วางจำหน่ายในวันที่ 24 กรกฎาคม ค.ศ. 2020 พร้อมกับอัลบั้ม[5] เปิดให้บริการในรูปแบบวิทยุป็อปของสหรัฐอเมริกาและป็อปสำหรับผู้ใหญ่ ในวันที่ 27 กรกฎาคม[88][89] เพลงเปิดตัวที่อันดับหนึ่งในชาร์ตบิลบอร์ดฮอต 100 กลายเป็นอันดับสูงสุดอันดับที่หกของสวิฟต์ และเป็นเพลงเปิดตัวอันดับหนึ่งครั้งที่สอง[90] บิลบอร์ดสังเกตเห็นการเปิดตัวโฟล์กลอร์บนวิทยุที่มีความแตกต่างจากคนอื่น ซึ่งมีไม่กี่เพลงที่ได้รับการเลื่อนระดับเป็นวิทยุหลายรูปแบบพร้อมกัน ในขณะที่ "คาร์ดิแกน" ส่งผลกระทบต่อสถานีวิทยุป็อปและผู้ใหญ่ร่วมสมัย[91] "เอ็กซ์ไซล์" ถูกส่งไปยังวิทยุออลเทอร์นาทิฟสำหรับผู้ใหญ่ในวันที่ 3 สิงหาคม ค.ศ. 2020 ซึ่งตอนแรกขึ้นสูงสุดที่อันดับหกในฮอต 100[92][90] ในขณะที่ "เบ็ตตี" ถูกส่งไปยังสถานีวิทยุคันทรีในวันที่ 17 สิงหาคม[93] หลังจากขึ้นถึงอันดับหกในชาร์ตเพลงฮอตคันทรี[94] "เดอะวัน" เปิดตัวเป็นซิงเกิลโปรโมตในเยอรมนีเมื่อวันที่ 9 ตุลาคม ค.ศ. 2020 ;[95] "เดอะวัน" ยังสามารถครองชาร์ตถึงอันดับสี่ในฮอต 100 อีกด้วย[90] ในวันที่ 24 กรกฎาคม ค.ศ. 2021 ซึ่งเป็นวันครบรอบคั้งแรกของโฟล์กลอร์ เพลง "เดอะเลกส์" เวอร์ชันออร์เคสตราดั้งเดิมก็ได้รับการปล่อยตัวเป็นซิงเกิลโปรโมตด้วย[96]

ภาพยนตร์และอัลบั้มบันทึกการแสดงสด[แก้]

สารคดีคอนเสิร์ตชื่อ โฟล์กลอร์: เดอะลองพอนด์สตูดิโอเซสชันส์ เผยแพร่ทางดิสนีย+ เมื่อวันที่ 25 พฤศจิกายน ค.ศ. 2020 กำกับและอำนวยการสร้างโดยสวิฟต์ โดยได้เห็นเธอแสดงเพลงจากอัลบั้มโฟล์กลอร์ทั้งหมด ในบรรยากาศส่วนตัวที่ลองก์พอนด์สตูดิโอ และแบ่งปันเรื่องราวเบื้องหลังเพลงร่วมกับแอนโตนอฟฟ์และเดสส์เนอร์[14] นอกเหนือจากรอบปฐมทัศน์ของภาพยนตร์แล้ว อัลบั้มบันทึกการแสดงสดลำดับที่ 3 ของสวิฟต์ โฟล์กลอร์: เดอะลองพอนด์สตูดิโอเซสชันส์ (ฟรอมเดอะดิสนีย์+ สเปเชียล) ซึ่งมีเวอร์ชันอะคูสติกจากในภาพยนตร์ ก็ได้รับการเผยแพร่บนแพลตฟอร์มสตรีมมิงต่าง ๆ[97][98]

ผลการตอบรับ[แก้]

ค่าประเมินโดยนักวิจารณ์
ผลคะแนน
ที่มาค่าประเมิน
เมทาคริติก88/100[101]
เอนีดีเซ็นต์มิวสิก?8.5/10[100]
คะแนนคำวิจารณ์
ที่มาค่าประเมิน
ออลมิวสิก4/5 starsStar full.svgStar full.svgStar full.svgStar empty.svg[102]
แอนด์อิตโดนต์สต็อปB+
ชิคาโกทริบิว3.5/4 starsStar full.svgStar full.svgStar half.svg[103]
เดอะเดลีเทลิกราฟ5/5 starsStar full.svgStar full.svgStar full.svgStar full.svg[44]
เอนเตอร์เทนเมนต์วีกลีA[104]
เดอะการ์เดียน5/5 starsStar full.svgStar full.svgStar full.svgStar full.svg[30]
เอ็นเอ็มอี4/5 starsStar full.svgStar full.svgStar full.svgStar empty.svg[32]
พิตช์โฟร์ก8.0/10[37]
โรลลิงสโตน4.5/5 starsStar full.svgStar full.svgStar full.svgStar half.svg[6]
เดอะซิดนีย์มอนิงเฮรัลด์5/5 starsStar full.svgStar full.svgStar full.svgStar full.svg

โฟล์กลอร์ได้รับเสียงชื่นชมอย่างกว้างขวางจากนักวิจารณ์ดนตรีซึ่งยกย่องน้ำหนักทางอารมณ์และการแต่งเพลงอย่างใคร่ครวญ[105] เรียกได้ว่าเป็นผลงานที่สงบเสงี่ยมและซับซ้อนที่สุดของสวิฟต์[106] เมทาคริติกซึ่งให้คะแนนปกติจาก 100 แก่บทวิจารณ์จากสื่อสิ่งพิมพ์ระดับมืออาชีพ อัลบั้มนี้ได้รับคะแนนเฉลี่ย 88 จากบทวิจารณ์ 27 บท ซึ่งบ่งชี้ว่าเป็นผลงาน "เสียงไชโยโห่ร้องสากล"[101] โฟล์กลอร์ได้รับการยกย่องอย่างกว้างขวางว่าเป็นอัลบั้มที่ดีที่สุดของสวิฟต์ และเป็นอัลบั้มบุกเบิกของปี ค.ศ. 2020[48][107]

ร็อบ เชฟฟีลด์ จากโรลลิงสโตน ยกย่องความสามารถในการแต่งเพลงของสวิฟต์ที่ดึงเอา "ปัญญาที่ลึกที่สุด ความเห็นอกเห็นใจ และความร่วมรู้สึก" ของเธอออกมา ทำให้โฟล์กลอร์เป็นอัลบั้มที่คุ้นเคยที่สุดของเธอจนถึงตอนนี้[6] นอกจากนี้จากการสังเกตการเล่าเรื่องที่มีชีวิตชีวาของอัลบั้มนี้เต็มไปด้วยจินตนาการและอุปมา จิลเลียน เมปส์ จากพิตช์โฟร์กถือว่าโฟล์กลอร์เป็นการก้าวที่เติบโตในงานศิลปะของสวิฟต์ ในขณะที่ยังคงรักษาแกนกลางของเธอในฐานะนักแต่งเพลงที่มีชื่อเสียง[37] มาร์ก ซาเวจ จากบีบีซีจัดให้โฟล์กลอร์เป็นการบันทึกอินดีที่เกี่ยวข้องกับความคิดถึงและความผิดพลาดที่สะท้อนกลับของเวลา[108] นักวิจารณ์หลายคนต่างยินดีกับแนวทางดนตรีใหม่ของสวิฟต์เช่น คริส วิลแมนจากวาไรเอตีมองว่าโฟล์กลอร์เป็น "อัลบั้มอันดับหนึ่ง" และการเปลี่ยนแปลงสไตล์ดนตรี "เป็นการกระทำที่จริงจังของการทำความสะอาดพาเล็ตโซนิก" ของสวิฟต์[36]

นักวิจารณ์หลายคนยินดีกับแนวทางดนตรีใหม่ของสวิฟต์ คริส วิลแมนจากวาไรเอตี มองว่าโฟล์กลอร์เป็น "อัลบั้มอันดับหนึ่ง" และการเปลี่ยนแปลงสไตล์ดนตรีเป็น "การกระทำในการการล้างจานสีเสียงที่รุนแรง" ของสวิฟต์[36] ลอรา สเนปส์จากเดอะการ์เดียน ถือว่ามีความเหนียวแน่นที่สุดและทดลองมากที่สุดในบรรดาผลงานของสวิฟต์[30] มอรา จอห์นสตันจากเอนเตอร์เทนเมนต์วีกลีถือว่าอัลบั้มนี้เป็นการเคลื่อนไหวที่กล้าหาญของป็อปสตาร์อย่างสวิฟต์ในการท้าทายผู้ฟัง[104] รอยซิน โอคอนเนอร์จากดิอินดีเพ็นเดนต์ยกย่องอัลบั้มนี้ว่า "ประณีต, กวีนิพนธ์ที่ใช้เปียโนเป็นหลัก" ซึ่งเธอพบว่าชุดเพลงของสวิฟต์นั้นไม่ธรรมดา[109] สตีเฟน โธมัส เออร์เลอไวน์จากออลมิวสิก มีทัศนคติเชิงบวกต่ออัลบั้มนี้ แต่รู้สึกว่าแนวดนตรีของสวิฟต์ไม่ใช่ "เทคนิคใหม่อย่างแม่นยำ"[102] ตามข้อตกลง แอนนี ซาเลสกีจากดิเอวีคลับ ถือว่าอัลบั้มยังไม่ใช่การทดลองอย่างสมบูรณ์ แต่ก็เป็นมุมมองศิลปะใหม่ของของสวิฟต์[110] ในคอลัมน์คอนซูเมอร์ไกด์ที่ตีพิมพ์ในซับสแตก เผยแพร่โดยโรเบิร์ต คริสเกา ได้รับความสนใจจากเพลง "เซเวน" และ "เบ็ตตี" ในธีมเยาวชนมากที่สุดมากกว่าเพลงสำหรับผู้ใหญ่ ซึ่งเขาสรุปว่า "เป็นเพลงป็อปที่ขับร้องอย่างไพเราะ ขับร้องได้ไพเราะจับใจ" เขาแยก "เดอะลาสต์เกรตอเมริกันไดนาสตี" เป็นเพลงเดียวที่ไม่สามารถทนได้เนื่องจากมันทำให้เขานึกถึง "เทย์เลอร์ สวิฟต์ มหาเศรษฐีคนดัง"[111] ในการวิจารณ์ที่หลากหลาย จอน คารามานิกา นักวิจารณ์ของเดอะนิวยอร์กไทมส์ ยกย่องการแต่งเพลงของสวิฟต์ แต่รู้สึกว่าอัลบั้มนี้เต็มไปด้วย "ความอ้างว้าง" และ "หมกมุ่น" ในแนวเพลงอินดีร็อก[41]

รายการสิ้นปี[แก้]

สิ่งพิมพ์จำนวนมากระบุโฟล์กลอร์ในรายชื่ออัลบั้มที่ดีที่สุดของปี ค.ศ. 2020 รวมถึงอันดับหนึ่งจากบิลบอร์ด[4] ลอสแอนเจลิสไทมส์[112] โรลลิงสโตน[113] อินไซเดอร์[114] เอ็นเจ.คอม[115] เซาต์ไชนามอนิงโพสต์[116] อัพพร็อกซ์[117] ยูเอสเอทูเดย์[118] อัสวีกลี[119] วาไรเอตี[120] และวอลลาวอลลายูเนียนบูลเลตติน[121] โฟล์กลอร์อันดับที่ 3 ในการจัดอันดับอัลบั้มที่มีการกล่าวถึงมากที่สุดของเมทาคริติกในรายการสิ้นปี ค.ศ. 2020[122] ในเพลง "เดอะ 1"[123] "คาร์ดิแกน"[124] "เดอะลาสต์เกรตอเมริกันไดนาสตี"[125] "เอ็กไซล์"[126] "มิเรอร์บอล"[127] "เซเวน"[128] "ออกัสต์"[129] "ดิสอิสมีไทร์อิง"[130] "อินวิซิเบิลสตริง"[131] และ "เบ็ตตี"[132] ยังได้รับการเสนอชื่อให้เป็นหนึ่งในเพลงที่ดีที่สุดของปี ค.ศ. 2020

รายการอันดับสิ้นปีของ โฟล์กลอร์
วิจารณ์/เผยแพร่ รายการ อันดับ อ้างอิง
บีบีซี อัลบั้มที่ดีที่สุดของปี 2020
3
บิลบอร์ด 50 อันดับอัลบั้มที่ดีที่สุดของปี 2020
1
เอนเตอร์เทนเมนต์วีกลี 15 อัลบั้มที่ดีที่สุดของปี 2020
5
เดอะการ์เดียน 50 อัลบั้มที่ดีที่สุดของปี 2020
9
ดิอินดีเพ็นเดนต์ 40 อัลบั้มที่ดีที่สุดของปี 2020
10
ลอสแอนเจลิสไทมส์ 10 อัลบั้มที่ดีที่สุดของปี 2020
1
เอ็นเอ็มอี 50 อัลบั้มที่ดีที่สุดของปี 2020
2
พิตช์โฟร์ก 50 อัลบั้มที่ดีที่สุดของปี 2020
29
โรลลิงสโตน 50 อัลบั้มที่ดีที่สุดของปี 2020
1
ไทม์ 10 อัลบั้มที่ดีที่สุดของปี 2020
1

รางวัล[แก้]

รางวัลและการเสนอชื่อของ โฟล์กลอร์
ปี องค์กร รางวัล ผล Ref.
2020 อเมริกันมิวสิกอะวอดส์ อัลบั้มป็อป/ร็อกสุดโปรด เสนอชื่อเข้าชิง
แอปเปิลมิวสิกอะวอดส์ นักแต่งเพลงแห่งปี (โฟล์กลอร์) ชนะ
อาเรียมิวสิกอะวอดส์ ศิลปินนานาชาติยอดเยี่ยม (โฟล์กลอร์) เสนอชื่อเข้าชิง
เดนนิชมิวสิกอะวอดส์ อัลบั้มนานาชาติแห่งปี ชนะ
อี! พีเพิลส์ชอยซ์อะวอดส์ อัลบั้มแห่งปี 2020 เสนอชื่อเข้าชิง
กินเนสส์เวิลด์เรเคิด อัลบั้มที่สตรีมมากที่สุดในวันแรกบนสปอติฟาย (ผู้หญิง) ชนะ
เน็ตอีสมิวสิก อัลบั้มตะวันตกยอดนิยม ชนะ
อัลบั้มเพลงโฟล์กยอดนิยม ชนะ
2021 บิลบอร์ดมิวสิกอะวอดส์ อัลบั้มยอดนิยมบิลบอร์ด 200 เสนอชื่อเข้าชิง
รางวัลกาฟฟา อัลบั้มนานาชาติแห่งปี เสนอชื่อเข้าชิง
รางวัลแกรมมี อัลบั้มแห่งปี ชนะ
อัลบั้มเพลงป็อปยอดเยี่ยม เสนอชื่อเข้าชิง
เจแปนโกลด์ดิสอะวอดส์ อัลบั้มตะวันตกที่ดีที่สุด 3 อัลบั้ม ชนะ
รางวัลจูโน อัลบั้มนานาชาติแห่งปี เสนอชื่อเข้าชิง
ไอฮาร์ตเรดิโอมิวสิกอะวอดส์ อัลบั้มป็อปที่ดีที่สุด ชนะ
2022 เทคอะวอดส์ ความสำเร็จด้านความคิดสร้างสรรค์ที่โดดเด่น – การผลิตแผ่นเสียง/อัลบั้ม เสนอชื่อเข้าชิง

การสืบทอด[แก้]

การเปิดตัวของโฟล์กลอร์ทำให้เกิดความสนใจอย่างมากกับคำว่า "โฟล์กลอร์" บนอินเทอร์เน็ตในวงกว้าง การตอบสนองต่อกระแสหลักนี้ อเมริกันโฟล์กลอร์โซไซเอตีได้เปิดตัวเว็บไซต์ชื่อ "What is Folklore?" และมีส่วนร่วมในการรณรงค์ออนไลน์เพื่อให้ความรู้แก่ผู้สนใจเกี่ยวกับการศึกษาคติชนวิทยา มีการจ้างนักโฟล์กลิสต์เพื่อเผยแพร่วิชาการแก่ประชาชนทั่วไปทางสื่อสังคมออนไลน์[151] ปริมาณการเข้าชมของ Metacritic พุ่งสูงขึ้นประมาณครึ่งล้านครั้งหลังจากการเปิดตัวของโฟล์กลอร์ มาร์ก ดอยล์ผู้ก่อตั้งเว็บไซต์กล่าวว่า "ไม่มีอะไรที่เหมือนกับเทย์เลอร์ สวิฟต์อีกแล้ว" ซึ่งอัลบั้มของเขา "มีปริมาณการเข้าชมและการมีส่วนร่วมของผู้ใช้เป็นจำนวนมาก" ไปยังไซต์เมื่อใดก็ตามที่มีการเผยแพร่[152]

อัลบั้มนี้ได้รับบริบทเป็นโครงการล็อกดาวน์โดยนักวิจารณ์[153] และได้รับชื่อเสียงในฐานะอัลบั้มกักตัวตามแบบฉบับ[154] เดอะการ์เดียนให้ความเห็นว่าโฟล์กลอร์เป็นการพักผ่อนจากเหตุการณ์วุ่นวาย[50] เดลีเทเลกราฟเรียกมันว่า "งดงาม, ชัยชนะจากการล็อกดาวน์ที่เห็นอกเห็นใจ"[44] เอ็นเอ็มอีกล่าวถึงอัลบั้มว่าจะถูกจดจำในฐานะ "หัวใจของอัลบั้มล็อกดาวน์" ที่ "รู้สึกเหมือนเป็นเพื่อนที่สมบูรณ์แบบสำหรับความเหงาที่แปลกประหลาด" ในปี ค.ศ. 2020[155][136] อินไซเดอร์ระบุว่าโฟล์กลอร์จะเป็นที่รู้จักในชื่อ "ผลงานชิ้นเอกที่แท้จริงของการล็อกดาวน์"[114] โรลลิงสโตนกล่าวว่าอัลบั้มนี้อาจถูกจารึกไว้ในประวัติศาสตร์ว่าเป็น "อัลบั้มกักกันที่เด็ดขาด" เพื่อมอบความสบายและระบาย "ในเวลาที่เราต้องการมากที่สุด"[113] บิลบอร์ดประกาศว่าโฟล์กลอร์จะได้รับการชื่นชมในฐานะหนึ่งในอัลบั้มที่มีอิทธิพลมากที่สุดของสวิฟต์[4] อัพพร็อกซ์สังเกตว่าโฟล์กลอร์เปลี่ยนโทนเสียงของดนตรีอย่างไรในปี ค.ศ. 2020[156] และผลกระทบที่มีต่อภูมิทัศน์ทางวัฒนธรรมของปีนั้นเป็นที่ "ไม่สามารถวัดได้"[117]

ในรายการที่มอบรางวัลให้กับผลงานสร้างสรรค์ในช่วงการกักตัว วอลทรูจัดให้โฟล์กลอร์เป็น "รายละเอียดที่ดีที่สุดในรูปแบบดนตรี" ประจำปี ค.ศ. 2020 สำหรับการจัดการกับความเหงาและความคิดที่เกี่ยวข้อง [157] โว้กจัดอันดับให้อัลบั้มนี้อยู่ท่ามกลางช่วงเวลาที่ดีที่สุดของวัฒนธรรมการล็อกดาวน์[158] เดอะวีก เรียกว่า "ศิลปะการแพร่ระบาดใหญ่ครั้งแรก" เพื่อการตั้ง "มาตรฐานสูง" เพื่อโครงการที่ได้รับแรงบันดาลใจจากการแพร่ระบาดในอนาคต[159] ไฟแนนเชียลไทมส์ เรียกว่า "อัลบั้มล็อกดาวน์ยอดเยี่ยมชุดแรก"[160] ในขณะที่ฮอตเพรส เรียกว่า "สุดยอดอัลบั้มแรกของยุคล็อคดาวน์"[161] พิจารณาจากคำพิพากษ์และความสำเร็จทางการค้า ทอม ฮัลล์สรุปได้ว่าสวิฟต์ "จับจิตวิญญาณของเวลา" ด้วยโฟล์กลอร์[162] บิลบอร์ดยกให้โฟล์กลอร์และเอฟเวอร์มอร์เป็นตัวอย่างที่ดีที่สุดของอัลบั้มนวัตกรรมจากศิลปินที่ปรับเปลี่ยนกระบวนการสร้างสรรค์ของพวกเขาในช่วงโรคระบาด[163] และในรายการชื่อ "25 ช่วงเวลาทางดนตรีที่กำหนดไตรมาสแรกของปี ค.ศ. 2020" เรียกอัลบั้มว่า "ชนการค้า" และ "แกรมมีที่รัก" ซึ่งหมายถึง "หนึ่งในหัวใจของการกักตัวแบบเต็มยาว"[164]

โลกของฉันรู้สึกเปิดกว้างขึ้นอย่างสร้างสรรค์ มีจุดหนึ่งที่ฉันต้องทำในฐานะนักแต่งเพลงที่เขียนแต่เพลงแนวไดอารี ซึ่งฉันรู้สึกว่ามันไม่ยั่งยืนสำหรับอนาคตของฉันที่ก้าวไปข้างหน้า สิ่งที่ฉันรู้สึกหลังจากที่เรานำเสนอโฟล์กลอร์ก็คือ "โอ้ ว้าว ผู้คนสนใจสิ่งนี้เหมือนกัน สิ่งนี้รู้สึกดีจริง ๆ สำหรับชีวิตของฉัน และรู้สึกดีจริง ๆ สำหรับความคิดสร้างสรรค์ของฉัน... มันก็รู้สึกดีสำหรับพวกเขาด้วย"

— สวิฟต์เล่าถึงวิธีที่โฟล์กลอร์เปลี่ยนกระบวนการสร้างสรรค์ของเธอให้ก้าวไปข้างหน้า, แอปเปิลมิวสิก 1[165]

การสร้างและการต้อนรับอย่างคลั่งไคล้ต่อโฟล์กลอร์ สนับสนุนให้สวิฟต์เปิดตัว เอฟเวอร์มอร์ สวิฟต์เองให้เครดิตโฟล์กลอร์ที่นำเสนอแนวความคิดใหม่ในการแต่งเพลงในละครของเธอ ซึ่งส่งผลต่อผลงานเพลงของเธอที่ปล่อยออกมาในภายหลัง[48] โฟล์กลอร์เป็นอัลบั้มยอดนิยมประจำปี ค.ศ. 2020 โดยจีเนียส[166] และสวิฟต์ยังเป็นสิ่งที่ผู้คนค้นหาสูงสุด[167] เธอยังเป็นนักดนตรีเดี่ยวที่ทำรายได้สูงสุดในโลกในปี ค.ศ. 2020[168] และผู้ทำรายได้สูงสุดในสหรัฐฯ จากรายได้ของเธอจากอัลบั้มในปี ค.ศ. 2020 เพียงอย่างเดียว[169]

ร่วมสมัย[แก้]

เฮย์ลีย์ วิลเลียมส์จากวงพาร์อะมอร์บรรยายสตูดิโออัลบั้มเดี่ยวชุดที่สองของเธอชื่อ ฟาวเวอร์สฟอร์แวซัส / เดสกันโซส ว่าเป็นโฟล์กลอร์ของเธอ[170] ฟีบี บริดเจอรส์เสนอว่าการบันทึกเพลงครั้งต่อไปของเธออาจได้รับแรงบันดาลใจจากโฟล์กลอร์[171] นักวิจารณ์ตั้งข้อสังเกตถึงอิทธิพลของโฟล์กลอร์ในอัลบั้มเปิดตัวของโอลิเวีย โรดริโก ซาวเออร์ (2021) และซิงเกิลนำ "ไดเวอรส์ไลเซินซ์"[172][173] นักร้องนักแต่งเพลงชาวสเปน ซาฮารา เปิดตัวเพลงชื่อ "เทย์เลอร์" เพื่อยกย่องเธอและให้เครดิตโฟล์กลอร์ที่สนับสนุนให้เธอแต่งเพลงอีกครั้งหลังจากห่างเหินหลายเดือน[174] มีอา ดิมซิช นักร้องชาวโครเอเชียยกย่องให้อัลบั้มเพลงโฟล์กลอร์เป็นแรงบันดาลใจของเพลง "เกลตีเพลสเชอร์" ซึ่งเป็นเพลงของเธอในการเป็นตัวแทนของโครเอเชียในการประกวดเพลงยูโรวิชันปี 2022[175][176] คริสตินา เพร์รีและซาบรินา คาร์เพนเทอร์ยกเครดิตให้โฟล์กลอร์ด้วยการกระตุ้นให้พวกเขาแสดงอารมณ์อย่างตรงไปตรงมาในเพลงโดยไม่ต้องกังวลกับความคาดหวังจากภายนอก[177][178] นักร้องและนักแต่งเพลงชาวญี่ปุ่นอังกฤษ รินะ ซาวายามะ อ้างถึงลักษณะบทกวีและเรื่องสมมติของโฟล์กลอร์เป็นแหล่งแรงบันดาลใจสำหรับสตูดิโออัลบั้มชุดที่ 2 ของเธอ โฮลด์เดอะเกิร์ล (2022)[179] แอบบี แมคโดนัลด์นักเขียนของบริดเจอร์ตันกล่าวว่าเพลง "อิลิลซิตแอฟแฟรส์" เป็นแรงบันดาลใจให้เขียนบทในตอน "ชะตากรรมที่คิดไม่ถึง" ของฤดูกาลที่สองของละคร[180] มายา ฮอว์ก นักร้องนักแต่งเพลงและนักแสดงชาวอเมริกันได้รับแรงบันดาลใจจากการแต่งเพลงของโฟล์กลอร์ในสตูดิโออัลบั้มชุดที่สองของเธอ มอสส์ (2022)[181] หลักจากโฟล์กลอร์ ศิลปินเช่นฮอว์ก[182]แล้วก็มี เกรซี เอบรามส์,[183] เอ็ด ชีแรน,[184] คิงพรินเซส,[185] และเกิร์ลอินเรด[186] เลือกที่จะทำงานร่วมมือกับเดสส์เนอร์และบันทึกเพลงที่ลองก์พอนด์สตูดิโอของเขา[185]

รายชื่อเพลง[แก้]

รายการเพลง โฟล์กลอร์
ลำดับชื่อเพลงประพันธ์โปรดิวเซอร์ยาว
1."The 1"เดสส์เนอร์3:30
2."Cardigan"
  • สวิฟต์
  • เดสส์เนอร์
เดสส์เนอร์3:59
3."The Last Great American Dynasty"
  • สวิฟต์
  • เดสส์เนอร์
เดสส์เนอร์3:51
4."Exile" (featuring Bon Iver)
เดสส์เนอร์4:45
5."My Tears Ricochet"สวิฟต์4:15
6."Mirrorball"
  • สวิฟต์
  • แอนโตนอฟฟ์
  • แอนโตนอฟฟ์
  • สวิฟต์
3:29
7."Seven"
  • สวิฟต์
  • เดสส์เนอร์
เดสส์เนอร์3:28
8."August"
  • สวิฟต์
  • แอนโตนอฟฟ์
  • แอนโตนอฟฟ์
  • สวิฟต์
4:21
9."This Is Me Trying"
  • สวิฟต์
  • แอนโตนอฟฟ์
  • แอนโตนอฟฟ์
  • สวิฟต์
3:15
10."Illicit Affairs"
  • สวิฟต์
  • แอนโตนอฟฟ์
  • แอนโตนอฟฟ์
  • สวิฟต์
3:10
11."Invisible String"
  • สวิฟต์
  • เดสส์เนอร์
เดสส์เนอร์4:12
12."Mad Woman"
  • สวิฟต์
  • เดสส์เนอร์
เดสส์เนอร์3:57
13."Epiphany"
  • สวิฟต์
  • เดสส์เนอร์
เดสส์เนอร์4:49
14."Betty"
  • สวิฟต์
  • บาวเวอรี
  • เดสส์เนอร์
  • แอนโตนอฟฟ์
  • สวิฟต์
4:54
15."Peace"
  • สวิฟต์
  • เดสส์เนอร์
เดสส์เนอร์3:54
16."Hoax"
  • สวิฟต์
  • เดสส์เนอร์
เดสส์เนอร์3:40
ความยาวทั้งหมด:63:29
แทร็กโบนัสรุ่นดีลักซ์
ลำดับชื่อเพลงประพันธ์โปรดิวเซอร์ยาว
17."The Lakes"
  • สวิฟต์
  • แอนโตนอฟฟ์
  • แอนโตนอฟฟ์
  • สวิฟต์
3:32
ความยาวทั้งหมด:67:01

ชาร์ต[แก้]

การรับรอง[แก้]

การรับรองการจำหน่ายของ โฟล์กลอร์
ประเทศ การรับรอง จำนวนหน่วยที่รับรอง/ยอดขาย
Australia (ARIA)[253] Platinum 70,000double-dagger
Belgium (BEA)[254] Gold 15,000double-dagger
Denmark (IFPI Danmark)[255] Platinum 20,000double-dagger
New Zealand (RMNZ)[256] 2× Platinum 30,000double-dagger
Norway (IFPI Norway)[257] Platinum 20,000*
Poland (ZPAV)[258] Gold 10,000double-dagger
Spain (PROMUSICAE)[259] Gold 20,000double-dagger
United Kingdom (BPI)[260] Platinum 300,000double-dagger
United States (RIAA)[261] 2× Platinum 2,000,000double-dagger

*ตัวเลขยอดขายขึ้นกับการรับรองอย่างเดียว
double-daggerตัวเลขสตรีมมิงและยอดขายขึ้นอยู่กับการรับรองเพียงอย่างเดียว

ประวัติการจำหน่าย[แก้]

วันที่เผยแพร่และรูปแบบของ โฟล์กลอร์
ภูมิภาค วันที่ รูปแบบ ฉบับ ค่าย อ้างอิง
หลากหลาย 24 กรกฎาคม 2020 มาตรฐาน รีพับลิก [262]
สหราชอาณาจักร 4 สิงหาคม 2020 ซีดี ดีลักซ์ อีเอ็มไอ [263]
หลากหลาย 7 สิงหาคม 2020 รีพับลิก [264]
ญี่ปุ่น ซีดี ยูนิเวอร์แซล [265]
พิเศษ [266]

อ้างอิง[แก้]

  1. 1.0 1.1 Lipshutz, Jason (July 24, 2020). "Taylor Swift's Folklore: There's Nothing Quiet About This Songwriting Tour De Force". Billboard. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ July 24, 2020. สืบค้นเมื่อ July 24, 2020.
  2. O'Kane, Caitlin (July 23, 2020). "Taylor Swift announces surprise album, recorded 'in isolation'". CBS News. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ August 2, 2020. สืบค้นเมื่อ September 3, 2020.
  3. Shah, Neil (July 23, 2020). "Taylor Swift's New Album Folklore Is Making a Surprise Debut". The Wall Street Journal. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ September 9, 2020. สืบค้นเมื่อ September 3, 2020.
  4. 4.0 4.1 4.2 4.3 4.4 "The 50 Best Albums of 2020: Staff Picks". Billboard. December 7, 2020. สืบค้นเมื่อ December 8, 2020.
  5. 5.0 5.1 Reilly, Nick (July 23, 2020). "Taylor Swift to release surprise eighth album Folklore tonight". NME. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ August 6, 2020. สืบค้นเมื่อ July 23, 2020.
  6. 6.0 6.1 6.2 6.3 6.4 Sheffield, Rob (July 24, 2020). "Taylor Swift Leaves Her Comfort Zones Behind on the Head-Spinning, Heartbreaking 'Folklore'". Rolling Stone. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ July 24, 2020. สืบค้นเมื่อ July 24, 2020.
  7. 7.0 7.1 Cohen, Jess (July 24, 2020). "Taylor Swift's Folklore Album Lyrics Decoded: Love, Loss and a 'Mad Woman'". E!. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ July 24, 2020. สืบค้นเมื่อ July 28, 2020.
  8. Kircher, Madison Malone (July 24, 2020). "Wrap Yourself Up in Taylor Swift's 'Cardigan' Music Video". Vulture. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ July 26, 2020. สืบค้นเมื่อ July 28, 2020.
  9. 9.00 9.01 9.02 9.03 9.04 9.05 9.06 9.07 9.08 9.09 9.10 Suskind, Alex (December 9, 2020). "Taylor Swift broke all her rules with Folklore – and gave herself a much-needed escape". Entertainment Weekly. สืบค้นเมื่อ December 8, 2020.
  10. Warner, Denise (November 25, 2020). "11 Things We Learned From Taylor Swift's Folklore: The Long Pond Studio Sessions". Billboard. สืบค้นเมื่อ December 3, 2020.
  11. 11.0 11.1 11.2 Doyle, Patrick (November 13, 2020). "Musicians on Musicians: Taylor Swift & Paul McCartney". Rolling Stone. สืบค้นเมื่อ November 13, 2020.
  12. 12.0 12.1 "'It Started With Imagery': Read Taylor Swift's Primer For Folklore". Billboard. July 24, 2020. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ July 24, 2020. สืบค้นเมื่อ July 25, 2020.
  13. 13.0 13.1 13.2 Strauss, Matthew; Minsker, Evan (July 24, 2020). "Taylor Swift Releases New Album Folklore: Listen and Read the Full Credits". Pitchfork. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ September 10, 2020. สืบค้นเมื่อ July 24, 2020.
  14. 14.0 14.1 Blistein, Jon (November 24, 2020). "Taylor Swift to Release New Folklore Film, The Long Pond Studio Sessions". Rolling Stone. สืบค้นเมื่อ November 24, 2020.
  15. "Taylor Swift unveils William Bowery's identity, and more revelations from Folklore concert film". Entertainment Weekly. สืบค้นเมื่อ December 26, 2020.
  16. "jack antonoff on Instagram: "folklore :: working with taylor is a full connection to all of the wonder of making music. knowing her and making work with her gives me…"". Instagram. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ September 10, 2020. สืบค้นเมื่อ August 4, 2020.
  17. Hess, Liam (November 27, 2020). "5 Things We Learned Watching Taylor Swift's Surprise New Folklore Documentary". British Vogue. สืบค้นเมื่อ November 30, 2020.
  18. Kaufman, Gil (July 23, 2020). "Taylor Swift Was Bummed About Her Summer Plans Not Panning Out, So She's Releasing a New Album... Tonight". Billboard. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ July 23, 2020. สืบค้นเมื่อ July 23, 2020.
  19. 19.0 19.1 19.2 19.3 19.4 19.5 Gerber, Brady (July 27, 2020). "The Story Behind Every Song on Taylor Swift's Folklore". Vulture. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ July 28, 2020. สืบค้นเมื่อ July 29, 2020.
  20. 20.0 20.1 20.2 Sodomsky, Sam (July 24, 2020). "The National's Aaron Dessner Talks Taylor Swift's New Album Folklore". Pitchfork. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ July 25, 2020. สืบค้นเมื่อ July 31, 2020.
  21. 21.0 21.1 Blistein, Jon (July 24, 2020). "How Aaron Dessner and Taylor Swift Stripped Down Her Sound on Folklore". Rolling Stone. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ July 29, 2020. สืบค้นเมื่อ July 31, 2020.
  22. Havens, Lyndsey (September 17, 2020). "'There Were Fireworks, Musically': Aaron Dessner Opens Up About Making Folklore With Taylor Swift". Billboard. สืบค้นเมื่อ September 19, 2020.
  23. Richard, Will (July 26, 2020). "Aaron Dessner says he kept Taylor Swift collaboration secret from 8-year-old daughter". NME. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ August 1, 2020. สืบค้นเมื่อ August 1, 2020.
  24. Shaffer, Claire (July 31, 2020). "Taylor Swift's Cinematographer: How We Shot Folklore Video During a Pandemic". Rolling Stone. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ August 2, 2020. สืบค้นเมื่อ August 2, 2020.
  25. 25.0 25.1 Kaufman, Gil (August 18, 2020). "Listen to a Delightful Bonus Song From the Deluxe Edition of Taylor Swift's Folklore". Billboard. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ August 19, 2020. สืบค้นเมื่อ August 18, 2020.
  26. Urbanek, Sydney (November 26, 2020). "Folklore: The Long Pond Studio Sessions review – A triumphant debut from Taylor Swift". Little White Lies. สืบค้นเมื่อ November 29, 2020.
  27. Grein, Paul (August 4, 2020). "Will the Grammys Classify Taylor Swift's Folklore as Pop or Alternative?". Billboard. สืบค้นเมื่อ November 23, 2020.
  28. 28.0 28.1 Bruner, Raisa; Chow, Andrew R. (November 27, 2020). "The 10 best albums of 2020". Time. สืบค้นเมื่อ November 27, 2020.
  29. Johnson, Ellen (July 24, 2020). "Taylor Swift Morphs Her Sound Yet Again on the Stunning Folklore". Paste. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ July 25, 2020. สืบค้นเมื่อ July 25, 2020.
  30. 30.0 30.1 30.2 30.3 30.4 30.5 30.6 Snapes, Laura (July 24, 2020). "Taylor Swift: Folklore review – bombastic pop makes way for emotional acuity". The Guardian. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ July 24, 2020. สืบค้นเมื่อ July 24, 2020.
  31. 31.0 31.1 Nguyen, Giselle Au-Nhien (July 24, 2020). "Taylor Swift's new album is a fever dream you won't want to wake up from". The Sydney Morning Herald. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ July 24, 2020. สืบค้นเมื่อ July 24, 2020.
  32. 32.0 32.1 32.2 32.3 Mylrea, Hannah (July 24, 2020). "Taylor Swift – 'Folklore' review: pop superstar undergoes an extraordinary indie-folk makeover". NME. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ August 28, 2020. สืบค้นเมื่อ July 24, 2020.
  33. Winograd, Jeremy (August 23, 2021). "Review: Big Red Machine's How Long Do You Think It's Gonna Last? Is a Group Effort". Slant Magazine. สืบค้นเมื่อ August 25, 2021.
  34. Ryan, Gary (March 9, 2021). "The best lockdown albums – ranked on order of greatness". NME. สืบค้นเมื่อ March 9, 2021.
  35. 35.0 35.1 Bell, Kaelen (July 27, 2020). "Despite Her Best Efforts, Taylor Swift's Folklore Is Still a Pop Album". Exclaim!. สืบค้นเมื่อ February 21, 2021.
  36. 36.0 36.1 36.2 36.3 36.4 36.5 36.6 Willman, Chris (July 24, 2020). "Taylor Swift's Folklore: Album Review". Variety. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ July 24, 2020. สืบค้นเมื่อ July 24, 2020.
  37. 37.0 37.1 37.2 37.3 37.4 37.5 37.6 Mapes, Jillian (July 27, 2020). "Taylor Swift: folklore". Pitchfork. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ August 28, 2020. สืบค้นเมื่อ July 27, 2020.
  38. 38.0 38.1 "The 60 Best Albums of 2020". PopMatters. December 7, 2020. สืบค้นเมื่อ December 7, 2020.
  39. อ้างอิงผิดพลาด: ป้ายระบุ <ref> ไม่ถูกต้อง ไม่มีการกำหนดข้อความสำหรับอ้างอิงชื่อ :10
  40. Petrusich, Amanda (July 24, 2020). "Taylor Swift's Intimate 'Indie' Album, Folklore". The New Yorker. สืบค้นเมื่อ November 23, 2020.
  41. 41.0 41.1 Caramanica, Jon (July 26, 2020). "Taylor Swift, a Pop Star Done With Pop". The New York Times. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ September 10, 2020. สืบค้นเมื่อ July 28, 2020.
  42. 42.0 42.1 42.2 อ้างอิงผิดพลาด: ป้ายระบุ <ref> ไม่ถูกต้อง ไม่มีการกำหนดข้อความสำหรับอ้างอิงชื่อ :28
  43. 43.0 43.1 43.2 Keefe, Jonathan (July 27, 2020). "Review: With Folklore, Taylor Swift Mines Pathos from a Widening Worldview". Slant Magazine. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ September 10, 2020. สืบค้นเมื่อ July 27, 2020.
  44. 44.0 44.1 44.2 44.3 44.4 44.5 McCormick, Neil (July 24, 2020). "Taylor Swift, Folklore review: an exquisite, empathetic lockdown triumph". The Daily Telegraph. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ September 10, 2020. สืบค้นเมื่อ July 24, 2020.
  45. Brown, Helen (December 11, 2020). "Taylor Swift's new album Evermore is full of haunting tales – review". The Independent. สืบค้นเมื่อ September 24, 2021.
  46. อ้างอิงผิดพลาด: ป้ายระบุ <ref> ไม่ถูกต้อง ไม่มีการกำหนดข้อความสำหรับอ้างอิงชื่อ Carson
  47. 47.0 47.1 McKenna, Lyndsey (July 24, 2020). "Stream Taylor Swift's New Album, Folklore". NPR. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ July 24, 2020. สืบค้นเมื่อ July 25, 2020.
  48. 48.0 48.1 48.2 Weatherby, Taylor (March 10, 2021). "Taylor Swift's Road To Folklore". Grammy.com. สืบค้นเมื่อ November 24, 2021.
  49. McRedmond, Finn (July 24, 2020). "Taylor Swift: Folklore review – A triumph of wistful, escapist melancholy". The Irish Times. สืบค้นเมื่อ September 24, 2021.
  50. 50.0 50.1 50.2 50.3 50.4 Bromwich, Kathryn (December 8, 2020). "The 50 best albums of 2020, No 9: Taylor Swift – Folklore". The Guardian. สืบค้นเมื่อ December 30, 2020.
  51. อ้างอิงผิดพลาด: ป้ายระบุ <ref> ไม่ถูกต้อง ไม่มีการกำหนดข้อความสำหรับอ้างอิงชื่อ :21
  52. 52.0 52.1 "The 50 Best Albums of 2020". Pitchfork. December 8, 2020. สืบค้นเมื่อ December 8, 2020.
  53. Sheffield, Rob (November 25, 2020). "The Thanksgiving Miracle of Taylor Swift's Acoustic Folklore Session". Rolling Stone. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ February 17, 2021. สืบค้นเมื่อ September 23, 2021.
  54. Lipshutz, Jason (July 24, 2021). "Taylor Swift Releases 'The Lakes (Original Version)' on Folklore One-Year Anniversary: Listen Now". Billboard. สืบค้นเมื่อ September 23, 2021.
  55. "Let's Talk About Taylor Swift's Folklore". NPR. July 28, 2020. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ July 30, 2020. สืบค้นเมื่อ July 30, 2020.
  56. Ahlgrim, Callie (July 30, 2020). "Every detail and Easter egg you may have missed on Taylor Swift's new album Folklore". Insider. สืบค้นเมื่อ August 5, 2020.
  57. Opperman, Jeff (March 12, 2021). "Taylor Swift Is Bringing Us Back to Nature". The New York Times. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ December 28, 2021. สืบค้นเมื่อ March 12, 2021.
  58. Whitfield, Zoe (September 24, 2020). "Meet the photographer behind Taylor Swift's Folklore artwork". ไอ-ดี. สืบค้นเมื่อ October 16, 2020.
  59. 59.0 59.1 Frank, Allegra (July 24, 2020). "The 6 songs that explain Taylor Swift's new album, Folklore". Vox. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ July 25, 2020. สืบค้นเมื่อ August 3, 2020.
  60. 60.0 60.1 Decker, Megan (July 23, 2020). "Taylor Swift Did Her Own Hair For Her Folklore Drop". Refinery29. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ September 10, 2020. สืบค้นเมื่อ July 27, 2020.
  61. 61.0 61.1 61.2 61.3 61.4 Huber, Eliza (July 24, 2020). "Will Prairie & Cottagecore Fashion Define Taylor Swift's Folklore Era?". Refinery29. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ September 10, 2020. สืบค้นเมื่อ July 27, 2020.
  62. 62.0 62.1 Wohlmacher, John (July 27, 2020). "Album Review: Taylor Swift – Folklore". Beats Per Minute. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ July 28, 2020. สืบค้นเมื่อ July 28, 2020.
  63. Spellings, Sarah (July 23, 2020). "Taylor Swift Unveils a Surprisingly Moody Look for Her New Album". Vogue. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ July 28, 2020. สืบค้นเมื่อ August 15, 2020.
  64. "Taylor Swift Appears to Alter Folklore Album Merch After The Folklore Calls Her Out". InStyle. July 28, 2020. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ August 9, 2020. สืบค้นเมื่อ August 15, 2020.
  65. Bowman, Emma (August 9, 2020). "The Escapist Land Of 'Cottagecore', From Marie Antoinette To Taylor Swift". NPR. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ August 31, 2020.
  66. Valentine, Claire (July 24, 2020). "18 Folklore Lyrics For Your Next Cottagecore Post". Nylon. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ September 10, 2020. สืบค้นเมื่อ July 27, 2020.
  67. 67.0 67.1 67.2 Handler, Rachel (July 28, 2020). "Taylor Swift's Freaky Folklore Movie Mood Board". Vulture. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ August 1, 2020. สืบค้นเมื่อ August 15, 2020.
  68. Munzenrieder, Kyle (July 23, 2020). "Taylor Swift Has Discovered Cottagecore". W. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ August 23, 2020.
  69. Power, Ed (July 28, 2020). "The arrival of Taylor Swift's Folklore is proof folk music is having a moment – but she's late to the shindig". Irish Independent. สืบค้นเมื่อ November 3, 2020.
  70. "A brief history of the cardigan, from Coco Chanel to Taylor Swift". RTÉ. July 27, 2020. สืบค้นเมื่อ November 13, 2020.
  71. Haran, Samantha (October 21, 2020). "On Taylor Swift's 'Cardigan' and the Importance of Sentimental Value to Clothing". Teen Vogue. สืบค้นเมื่อ October 26, 2020.
  72. Clark, Lucie (July 27, 2020). "What is cottagecore? The phenomenon made popular by Taylor Swift". Vogue Australia. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ September 10, 2020.
  73. Corr, Julieanne (January 17, 2021). "Taylor photo sparks Swift sales jump for Aran sweaters". The Times. สืบค้นเมื่อ January 17, 2021.
  74. Midkiff, Sarah (October 22, 2020). "The Coziest Costume Of 2020 Is Taylor Swift-Inspired, Duh". Refinery29. สืบค้นเมื่อ October 26, 2020.
  75. 75.0 75.1 อ้างอิงผิดพลาด: ป้ายระบุ <ref> ไม่ถูกต้อง ไม่มีการกำหนดข้อความสำหรับอ้างอิงชื่อ :5
  76. Aquilina, Tyler (July 25, 2020). "Nicole Kidman shouts out Taylor Swift's Folklore fashion in Instagram post". Entertainment Weekly. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ September 10, 2020. สืบค้นเมื่อ July 27, 2020.
  77. Leight, Elias (July 23, 2020). "Taylor Swift Finally Abandoned the Traditional Album Rollout". Rolling Stone. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ August 28, 2020. สืบค้นเมื่อ July 23, 2020.
  78. 78.0 78.1 อ้างอิงผิดพลาด: ป้ายระบุ <ref> ไม่ถูกต้อง ไม่มีการกำหนดข้อความสำหรับอ้างอิงชื่อ :25
  79. Haylock, Zoe (July 23, 2020). "Which of Taylor Swift's 8 Folklore Covers Are You?". Vulture. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ July 24, 2020. สืบค้นเมื่อ July 25, 2020.
  80. Fekadu, Mesfin (August 3, 2020). "Lucky No.7: Taylor Swift nabs 7th No.1 album with Folklore". The Washington Post. สืบค้นเมื่อ November 7, 2020.
  81. "Taylor Swift – Folklore (Target Exclusive, CD)". Target. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ September 6, 2020. สืบค้นเมื่อ August 22, 2020.
  82. Hissong, Samantha (August 20, 2020). "Taylor Swift Starts Frenzy at Indie Record Stores With Surprise Signed Folklore CDs". Rolling Stone. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ August 22, 2020. สืบค้นเมื่อ August 21, 2020.
  83. Lavin, Will (September 19, 2020). "Taylor Swift sends 40 signed copies of Folklore to Edinburgh record store". NME. สืบค้นเมื่อ September 20, 2020.
  84. Tannenbaum, Emily (August 1, 2020). "All the Celebrities Who Received a Folklore Cardigan From Taylor Swift". Glamour. สืบค้นเมื่อ September 20, 2020.
  85. Rowley, Glenn (September 21, 2020). "Here are All of Taylor Swift's Folklore Chapters (So Far) in One Place". Billboard. สืบค้นเมื่อ September 23, 2020.
  86. "Taylor Swift to release surprise ninth album Evermore tonight". NME. December 10, 2020. สืบค้นเมื่อ December 10, 2020.
  87. McHenry, Jackson (July 23, 2020). "Taylor Swift Wants to Sell You a 'Cardigan' Cardigan". Vulture. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ July 23, 2020. สืบค้นเมื่อ July 27, 2020.
  88. "Hot/Modern/AC Future Releases". All Access. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ July 24, 2020. สืบค้นเมื่อ July 25, 2020.
  89. "Top 40/M Future Releases". All Access. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ July 24, 2020. สืบค้นเมื่อ July 25, 2020.
  90. 90.0 90.1 90.2 "Taylor Swift Debuts at No. 1 on Hot 100 With 'Cardigan', Is 1st Artist to Open Atop Hot 100 & Billboard 200 in Same Week". Billboard. August 3, 2020. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ August 3, 2020. สืบค้นเมื่อ August 3, 2020.
  91. Trust, Gary (January 28, 2021). "Taylor Swift's 'Coney Island' and 'No Body, No Crime' Debut on Airplay Charts, Joining 'Willow'". Billboard. สืบค้นเมื่อ January 30, 2021.
  92. "Future Releases on Triple A (AAA) Radio Stations, Independent Artist Song Releases". All Access. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ September 11, 2017. สืบค้นเมื่อ July 27, 2020.
  93. "Future Releases for Country Radio Stations". All Access. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ July 30, 2020. สืบค้นเมื่อ July 30, 2020.
  94. Asker, Jim (August 3, 2020). "Janson's Work Is 'Done' With Country Airplay Coronation; Swift, Shelton & Stefani Debut in Hot Country Songs Top 10" (PDF). Billboard Country Update: 4. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ October 8, 2020. สืบค้นเมื่อ October 3, 2020.
  95. "'The 1' – Taylor Swift veröffentlicht neue Single aus Rekord-Album Folklore" (ภาษาเยอรมัน). Universal Music Group. October 9, 2020. สืบค้นเมื่อ October 9, 2020.
  96. Kreps, Daniel (July 24, 2021). "Taylor Swift Shares Orchestral Version of 'The Lakes' on Folklore Anniversary". Rolling Stone. สืบค้นเมื่อ July 24, 2021.
  97. Spangler, Todd (November 24, 2020). "Taylor Swift Folklore Concert Film to Debut on Disney Plus". Variety. สืบค้นเมื่อ November 25, 2020.
  98. "Apple Music – Taylor Swift – Folklore: The Long Pond Studio Sessions (From the Disney+ Special) [Deluxe Edition]". Apple Music. November 25, 2020. สืบค้นเมื่อ November 25, 2020.
  99. "Taylor Swift - folklore - Reviews". Album of the Year. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ September 10, 2020. สืบค้นเมื่อ July 27, 2020.
  100. "Folklore by Taylor Swift reviews". AnyDecentMusic?. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ July 24, 2020. สืบค้นเมื่อ July 24, 2020.
  101. 101.0 101.1 "Folklore by Taylor Swift Reviews and Tracks". Metacritic. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ September 10, 2020. สืบค้นเมื่อ July 26, 2020.
  102. 102.0 102.1 Erlewine, Stephen Thomas. "folklore – Taylor Swift". AllMusic. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ July 29, 2020. สืบค้นเมื่อ July 29, 2020.
  103. Willman, Chris (July 24, 2020). "Review: Taylor Swift's 'Folklore' a reflective set created in COVID-19 isolation". Chicago Tribune. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ July 27, 2020. สืบค้นเมื่อ September 2, 2020.
  104. 104.0 104.1 Johnston, Maura (July 24, 2020). "Taylor Swift forges her own path on the confident Folklore: Review". Entertainment Weekly. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ July 24, 2020. สืบค้นเมื่อ July 25, 2020.
  105. Copsey, Rob (July 26, 2020). "Taylor Swift Folklore songs to dominate Official Singles Chart". Official Charts Company. สืบค้นเมื่อ September 11, 2020.
  106. Levine, Nick (July 26, 2020). "The Last Great American Dynasty: how Taylor Swift found her spirit animal in the eccentric heiress Rebekah Harkness". The Daily Telegraph. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ July 27, 2020. สืบค้นเมื่อ September 9, 2020.
  107. Iyer, Kahini (December 28, 2020). "How Taylor Swift Bottled 2020's Ennui in Two Sublime Albums". Arre. สืบค้นเมื่อ December 30, 2020.
  108. Savage, Mark (July 24, 2020). "Taylor Swift's Folklore sees the singer go indie". BBC News. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ September 10, 2020. สืบค้นเมื่อ July 24, 2020.
  109. O'Connor, Roisin (July 24, 2020). "Taylor Swift, Folklore review: New album is exquisite, piano-based poetry". The Independent. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ July 24, 2020. สืบค้นเมื่อ July 24, 2020.
  110. Zaleski, Annie (July 4, 2020). "Taylor Swift writes her own version of history on Folklore". The A.V. Club. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ July 27, 2020. สืบค้นเมื่อ July 30, 2020.
  111. Christgau, Robert (September 9, 2020). "Consumer Guide: September, 2020". And It Don't Stop. สืบค้นเมื่อ September 13, 2020.
  112. 112.0 112.1 Mikael, Wood (December 9, 2020). "The 10 Best Albums of 2020". Los Angeles Times. สืบค้นเมื่อ December 9, 2020.
  113. 113.0 113.1 113.2 Bernstein, Jonathan; Blistein, Jon; Dolan, Jon; Doyle, Patrick; Ehlrich, Brenna; Freeman, Jon; Grow, Kory; Hoard, Christian; Hudak, Joseph; Leight, Elias; Martoccio, Angie; Shaffer, Claire; Sheffield, Rob; Shteamer, Hank; Vozick-Levinson, Simon; Blake, Emily (December 4, 2020). "The 50 Best Albums of 2020". Rolling Stone. สืบค้นเมื่อ December 4, 2020.
  114. 114.0 114.1 Ahlgrim, Callie (December 9, 2020). "The 20 Best Albums of 2020, Ranked". Insider. สืบค้นเมื่อ December 9, 2020.
  115. Olivier, Bobby (December 20, 2020). "The 50 Albums That Saved Us From 2020". NJ.com. สืบค้นเมื่อ December 22, 2020.
  116. "The best albums of 2020, from Taylor Swift to BTS and Dua Lipa". South China Morning Post. January 15, 2021. สืบค้นเมื่อ February 6, 2021.
  117. 117.0 117.1 "The Best Albums of 2020". Uproxx. December 1, 2020. สืบค้นเมื่อ December 1, 2020.
  118. Ryan, Patrick (December 14, 2020). "The 10 best albums of 2020, including Taylor Swift, Phoebe Bridgers and Ariana Grande". USA Today. สืบค้นเมื่อ December 14, 2020.
  119. "10 Best Albums of 2020: Taylor Swift, Bob Dylan, The Weeknd and More". Us Weekly. December 24, 2020. สืบค้นเมื่อ December 24, 2020.
  120. "The Best Albums of 2020". Variety. December 14, 2020. สืบค้นเมื่อ December 14, 2020.
  121. "Walla Walla record store owner rates Taylor Swift's new album top of Top-10 for 2020". Walla Walla Union-Bulletin. December 31, 2020. สืบค้นเมื่อ January 1, 2021.
  122. Dietz, Jason. "Best of 2020: Music Critic Top Ten Lists". Metacritic. สืบค้นเมื่อ December 29, 2020.
  123. Ahlgrim, Callie (September 15, 2020). "The 16 best songs of 2020". Insider. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ September 14, 2020. สืบค้นเมื่อ December 7, 2020.
  124. "Complex Staff Picks: Our Favorite Songs and Albums of 2020". Complex. December 30, 2020. สืบค้นเมื่อ December 31, 2020.
  125. "The 100 Best Songs of 2020". Pitchfork. December 7, 2020. สืบค้นเมื่อ December 7, 2020.
  126. "The 29 Best Songs of 2020, According to Vogue Editors". Vogue. December 4, 2020. สืบค้นเมื่อ December 7, 2020.
  127. อ้างอิงผิดพลาด: ป้ายระบุ <ref> ไม่ถูกต้อง ไม่มีการกำหนดข้อความสำหรับอ้างอิงชื่อ :31
  128. Leas, Ryan (December 8, 2020). "Stereogum's 60 Favorite Songs Of 2020". Stereogum. สืบค้นเมื่อ December 8, 2020.
  129. Bernstein, Jonathan; Blistein, Jon; Blake, Emily; Dolan, Jon; Ehrlich, Brenna; Freeman, Jon; Grow, Kory; Hoard, Christian; Leight, Elias; Martoccio, Angie; Shaffer, Claire; Sheffield, Rob (December 7, 2020). "The 50 Best Songs of 2020". Rolling Stone. สืบค้นเมื่อ December 7, 2020.
  130. "All the Songs That Got Teen Vogue Editors Through 2020". Teen Vogue. December 3, 2020. สืบค้นเมื่อ December 7, 2020.
  131. Ganz, Jacob (December 3, 2020). "The 100 Best Songs Of 2020 (Nos. 40-21)". NPR. สืบค้นเมื่อ December 7, 2020.
  132. Pareles, Jon; Caramanica, Jon; Zoladz, Lindsay (December 7, 2020). "Best Songs of 2020". The New York Times. สืบค้นเมื่อ December 7, 2020.
  133. Savage, Mark (December 22, 2020). "The best albums and songs of 2020: Fiona Apple, Cardi B, Bob Dylan and Dua Lipa". BBC News. สืบค้นเมื่อ December 22, 2020.
  134. Greenblatt, Leah; Rodman, Sarah; Suskind, Alex (December 5, 2020). "The 15 Best Albums of 2020". Entertainment Weekly. สืบค้นเมื่อ December 5, 2020.
  135. "The 40 Best Albums of 2020, from Bob Dylan's Rough and Rowdy Ways to Taylor Swift's Folklore". The Independent. December 19, 2020. สืบค้นเมื่อ December 22, 2020.
  136. 136.0 136.1 "The 50 Best Albums Of 2020". NME. December 11, 2020. สืบค้นเมื่อ December 11, 2020.
  137. Shafer, Ellise (November 22, 2020). "American Music Awards 2020: The Full Winners List". Billboard. สืบค้นเมื่อ November 23, 2020.
  138. "Apple announces second annual Apple Music Awards". Apple Inc. November 18, 2020. สืบค้นเมื่อ November 19, 2020.
  139. Cooper, Nathanael (October 13, 2020). "From the back of the room to centre stage: Lime Cordiale sweep ARIA nominations". The Sydney Morning Herald. สืบค้นเมื่อ October 13, 2020.
  140. Mathiasen, Marie Holm (November 28, 2020). "Her er vinderne ved 'Danish Music Awards'" (ภาษาเดนมาร์ก). Nyheder. สืบค้นเมื่อ November 28, 2020.
  141. Malec, Brett (November 15, 2020). "People's Choice Awards 2020 Winners: The Complete List". E!. สืบค้นเมื่อ November 16, 2020.
  142. Stephenson, Kristen (July 29, 2020). "Taylor Swift breaks 24-hour streaming record on Spotify for 8th album folklore". Guinness World Records. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ July 29, 2020. สืบค้นเมื่อ July 29, 2020.
  143. "NetEase Cloud Music". Weibo. November 21, 2020. สืบค้นเมื่อ November 22, 2020.
  144. "Billboard Music Awards". The Hollywood Reporter. April 29, 2021. สืบค้นเมื่อ April 29, 2021.
  145. "Hvem er dine favoritter? STEM NU!" (ภาษาเดนมาร์ก). February 6, 2021. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ January 11, 2020. สืบค้นเมื่อ February 23, 2021.
  146. "2021 GRAMMYs: Complete Nominees List". National Academy of Recording Arts and Sciences. November 24, 2020. สืบค้นเมื่อ November 24, 2020.
  147. "ベスト3アルバム". Gold Disc (ภาษาญี่ปุ่น). สืบค้นเมื่อ March 15, 2021.
  148. Gordon, Holly (March 9, 2021). "The Weeknd, JP Saxe, Jessie Reyez and Justin Bieber lead 2021 Juno Award nominations". CBC Music.
  149. Fields, Taylor (May 28, 2021). "2021 iHeartRadio Music Awards: See The Full List Of Winners". iHeart.
  150. "2022 TEC Awards Winners". TEC Awards. สืบค้นเมื่อ August 29, 2022.
  151. Sanchez, Alexandra (July 24, 2021). "AFS Explains "What is Folklore?" in Response to Taylor Swift's New Album Release". American Folklore Society. สืบค้นเมื่อ May 25, 2021.
  152. Madden, Emma (October 19, 2022). "A New Taylor Swift LP? Metacritic Crunches the Reviews, as Fans Watch". The New York Times. สืบค้นเมื่อ October 19, 2022.
  153. Hyden, Steven (December 14, 2020). "How Taylor Swift Reinvented Herself With Folklore And Now Evermore". Uproxx. สืบค้นเมื่อ December 22, 2020.
  154. Fagen, Lucas (September 19, 2020). "Taylor Swift's Quarantine Folktales". Hyperallergic. สืบค้นเมื่อ December 6, 2020.
  155. Richards, Will (November 27, 2020). "Folklore: The Long Pond Sessions review: secrets, songs and self-isolation with Taylor Swift". NME. สืบค้นเมื่อ December 6, 2020.
  156. White, Caitlin (December 8, 2020). "Taylor Swift's Folklore Changed The Tone Of Pop in 2020". Uproxx. สืบค้นเมื่อ December 22, 2020.
  157. "The First (And Hopefully Last) Quarries in which we award the most scrappy, absurd, ingenious works that shaped our year in quarantine". Vulture. December 7, 2020. สืบค้นเมื่อ December 8, 2020.
  158. Maitland, Hayley (September 1, 2020). "The Best, Worst & Downright Ugliest Moments Of Lockdown Culture". Vogue. สืบค้นเมื่อ December 8, 2020.
  159. Lange, Jeva (July 25, 2020). "Taylor Swift has made the first great pandemic art". The Week. สืบค้นเมื่อ January 2, 2021.
  160. "Who have been the most influential women of 2020? FT readers respond". Financial Times. December 6, 2020. สืบค้นเมื่อ December 6, 2020.
  161. "Hot Press Albums of 2020: The Top 10". Hot Press. December 30, 2020. สืบค้นเมื่อ December 30, 2020.
  162. Hull, Tom (July 27, 2020). "Music Week". Tom Hull – on the Web. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ September 10, 2020. สืบค้นเมื่อ July 31, 2020.
  163. Havens, Lyndsey (December 29, 2020). "Taylor Swift, Dua Lipa and More Innovated in the Pandemic – But What Strategies Will Stick?". Billboard. สืบค้นเมื่อ December 29, 2020.
  164. "The 25 Musical Moments That Defined the First Quarter of the 2020s". Billboard. July 5, 2022. สืบค้นเมื่อ July 5, 2022.
  165. Countryman, Eli (December 16, 2020). "Taylor Swift Opens Up About the Creation of 'Evermore'". Variety. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ December 22, 2020. สืบค้นเมื่อ December 20, 2020.
  166. "Genius Year in Lyrics: The Top Albums Of 2020". Genius. December 30, 2020. สืบค้นเมื่อ January 4, 2020.
  167. "Genius Year in Lyrics: The Top Artists Of 2020". Genius. สืบค้นเมื่อ December 31, 2020.
  168. Christman, Ed (July 19, 2021). "Billboard's 2020 Global Money Makers: The 5 Top Highest Paid Musicians". Billboard. สืบค้นเมื่อ July 19, 2021.
  169. Christman, Ed (July 19, 2021). "Billboard's U.S. Money Makers: The Top Paid Musicians of 2020". Billboard. สืบค้นเมื่อ July 19, 2021.
  170. "Hayley Williams is releasing Flowers for Vases / Descansos tomorrow". NME. February 5, 2021. สืบค้นเมื่อ February 5, 2021.
  171. Rossignol, Derrick (August 8, 2020). "Phoebe Bridgers Hilariously Compared Taylor Swift's New Music And Hers". Uproxx. สืบค้นเมื่อ January 12, 2021.
  172. "What Will Be The Impact Of Olivia Rodrigo's 'Drivers License' And Its Historically Massive Debut?". Stereogum. January 18, 2021. สืบค้นเมื่อ January 20, 2021.
  173. Curto, Justin (January 11, 2021). "Olivia Rodrigo's 'Drivers License' Is Nothing New – of Course It's a Hit". Vulture. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ January 11, 2021. สืบค้นเมื่อ January 11, 2021.
  174. "Zahara dedica a Taylor Swift el adelanto de su próximo disco" [Zahara dedicates the advancement of her next album to Taylor Swift]. Chicago Tribune (ภาษาSpanish). March 12, 2021. สืบค้นเมื่อ March 22, 2021.{{cite news}}: CS1 maint: unrecognized language (ลิงก์)
  175. Balen, Ida (February 20, 2022). "Mia Dimšić za RTL nakon plasmana na Eurosong: 'Nisam plagirala Taylor Swift, ali njena pjesma mi je bila inspiracija'". Vijesti.hr (ภาษาโครเอเชีย). สืบค้นเมื่อ February 22, 2022.
  176. Cindrić, Marija; Paponja, Tea (February 20, 2022). "Mia Dimšić o kritikama: 'Meni svaka usporedba s Taylor Swift može bit samo kompliment'". 24sata (ภาษาโครเอเชีย). สืบค้นเมื่อ February 22, 2022.
  177. "Christina Perri on New Single 'Evergone' and the Influence of Taylor Swift's Folklore and Evermore". Consequence. March 25, 2022. สืบค้นเมื่อ March 26, 2022.
  178. "Sabrina Carpenter on 'Let Me Move You': The Travel Millis Show" (ภาษาอังกฤษแบบอเมริกัน). Apple Music. August 10, 2020. สืบค้นเมื่อ October 4, 2022.
  179. Irvin, Jack (May 31, 2022). "Rina Sawayama Says the 'Fake Stories' of Taylor Swift's Folklore Inspired Her New Album Hold the Girl". People. สืบค้นเมื่อ June 3, 2022.
  180. Rowley, Glenn (March 30, 2022). "A 'Bridgerton' Writer Used This Taylor Swift Folklore Deep Cut as Inspiration". Billboard. สืบค้นเมื่อ March 31, 2022.
  181. Krueger, Jonah (July 20, 2022). "Maya Hawke on Being Inspired by Taylor Swift's Folklore, Finding Confidence, and Stranger Things". Consequence. สืบค้นเมื่อ July 21, 2022.
  182. Robert, Moran; Shand, John; Au-Nhien Nguyen, Giselle; Ross, Annabel (September 28, 2022). "What to listen to this month: A worthwhile album from a nepo baby? Stranger things happen". The Sydney Morning Herald. สืบค้นเมื่อ October 3, 2022.
  183. Shafer, Ellise (April 5, 2022). "Gracie Abrams on How Songwriting Is 'Like Breathing', Touring With Friend Olivia Rodrigo and Making New Music With Aaron Dessner". Variety. สืบค้นเมื่อ October 3, 2022.
  184. Curto, Justin (March 8, 2022). "Ed Sheeran Is Working on His Folklore". Vulture. สืบค้นเมื่อ October 4, 2022.
  185. 185.0 185.1 "Recording's Great Escapes: Inside The World's Most Scenic, State-of-the-Art Studios". Billboard. October 10, 2022. สืบค้นเมื่อ October 10, 2022.
  186. Holden, Finlay (October 3, 2022). "Girl in Red has announced that a new single, 'October Passed Me By', is due next week". Dork. สืบค้นเมื่อ October 3, 2022.
  187. "Los discos más vendidos de la semana". Diario de Cultura (ภาษาสเปน). Argentine Chamber of Phonograms and Videograms Producers. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ August 31, 2020. สืบค้นเมื่อ August 31, 2020.
  188. "Australiancharts.com – Taylor Swift – Folklore". Hung Medien. สืบค้นเมื่อ August 9, 2020.
  189. "Austriancharts.at – Taylor Swift – Folklore" (ภาษาเยอรมัน). Hung Medien. สืบค้นเมื่อ August 5, 2020.
  190. "Ultratop.be – Taylor Swift – Folklore" (ภาษาดัตช์). Hung Medien. สืบค้นเมื่อ July 31, 2020.
  191. "Ultratop.be – Taylor Swift – Folklore" (ภาษาฝรั่งเศส). Hung Medien. สืบค้นเมื่อ July 31, 2020.
  192. "Taylor Swift Chart History (Canadian Albums)". Billboard. สืบค้นเมื่อ August 4, 2020.
  193. "Lista prodaje 37. tjedan 2020" (ภาษาโครเอเชีย). Top of the Shops. September 21, 2020. สืบค้นเมื่อ February 14, 2021.
  194. "Czech Albums – Top 100". ČNS IFPI. Note: On the chart page, select 202031 on the field besides the word "Zobrazit", and then click over the word to retrieve the correct chart data. สืบค้นเมื่อ August 3, 2020.
  195. "Danishcharts.dk – Taylor Swift – Folklore". Hung Medien. สืบค้นเมื่อ August 16, 2020.
  196. "Dutchcharts.nl – Taylor Swift – Folklore" (ภาษาดัตช์). Hung Medien. สืบค้นเมื่อ July 31, 2020.
  197. "EESTI TIPP-40 MUUSIKAS: Popmuusika võtab oma!". Eesti Ekspress. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ September 10, 2020. สืบค้นเมื่อ August 4, 2020.
  198. "Taylor Swift: Folklore" (ภาษาฟินแลนด์). Musiikkituottajat – IFPI Finland. สืบค้นเมื่อ August 16, 2020.
  199. "Lescharts.com – Taylor Swift – Folklore". Hung Medien. สืบค้นเมื่อ August 16, 2020.
  200. "Offiziellecharts.de – Taylor Swift – Folklore" (ภาษาเยอรมัน). GfK Entertainment Charts. สืบค้นเมื่อ August 14, 2020.
  201. "Top-75 Albums Sales Chart – Week 14/2021". IFPI Greece. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ April 22, 2021. สืบค้นเมื่อ July 19, 2021.
  202. "Album Top 40 slágerlista – 2020. 31. hét" (ภาษาฮังการี). MAHASZ. สืบค้นเมื่อ August 8, 2020.
  203. "TÓNLISTINN – PLÖTUR | Vika 31 – 2020" (ภาษาไอซ์แลนด์). Plötutíðindi. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ March 12, 2020. สืบค้นเมื่อ August 4, 2020.
  204. "Official Irish Albums Chart Top 50". Official Charts Company. สืบค้นเมื่อ July 31, 2020.
  205. "Italiancharts.com – Taylor Swift – Folklore". Hung Medien. สืบค้นเมื่อ August 16, 2020.
  206. "Folklore on Billboard Japan Hot Albums". Billboard Japan (ภาษาญี่ปุ่น). เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ July 29, 2020. สืบค้นเมื่อ July 29, 2020.
  207. "Taylor Swift". Oricon. สืบค้นเมื่อ August 23, 2020.
  208. "ALBUMŲ TOP100" (ภาษาลิทัวเนีย). AGATA. July 31, 2020. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ July 31, 2020. สืบค้นเมื่อ August 1, 2020.
  209. "Charts.nz – Taylor Swift – Folklore". Hung Medien. สืบค้นเมื่อ August 16, 2020.
  210. "Norwegiancharts.com – Taylor Swift – Folklore". Hung Medien. สืบค้นเมื่อ August 16, 2020.
  211. "Oficjalna lista sprzedaży :: OLiS - Official Retail Sales Chart". OLiS. Polish Society of the Phonographic Industry. สืบค้นเมื่อ August 21, 2020.
  212. "Portuguesecharts.com – Taylor Swift – Folklore". Hung Medien. สืบค้นเมื่อ August 22, 2020.
  213. "Official Scottish Albums Chart Top 100". Official Charts Company. สืบค้นเมื่อ July 31, 2020.
  214. "SK – Albums Top 100" (ภาษาเช็ก). International Federation of the Phonographic Industry. สืบค้นเมื่อ February 14, 2021.
  215. "Gaon Album Chart – Week 36, 2020". Gaon Chart (ภาษาเกาหลี). เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ September 12, 2019. สืบค้นเมื่อ September 12, 2019.
  216. "Spanishcharts.com – Taylor Swift – Folklore". Hung Medien. สืบค้นเมื่อ August 4, 2020.
  217. "Swedishcharts.com – Taylor Swift – Folklore". Hung Medien. สืบค้นเมื่อ July 31, 2020.
  218. "Swisscharts.com – Taylor Swift – Folklore". Hung Medien. สืบค้นเมื่อ August 5, 2020.
  219. "Les charts de la Suisse romande". lescharts.ch (ภาษาฝรั่งเศส). เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ September 10, 2020. สืบค้นเมื่อ August 2, 2020.
  220. "Official Albums Chart Top 100". Official Charts Company. สืบค้นเมื่อ July 31, 2020.
  221. "Official Americana Albums Chart Top 40". Official Charts Company. สืบค้นเมื่อ June 4, 2021.
  222. "Rankings (Septiembre 2020)" (ภาษาสเปน). Cámara Uruguaya del Disco. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ October 13, 2020. สืบค้นเมื่อ October 13, 2020.
  223. "Taylor Swift Chart History (Billboard 200)". Billboard. สืบค้นเมื่อ August 4, 2020.
  224. "Taylor Swift Chart History (Top Alternative Albums)". Billboard. สืบค้นเมื่อ August 8, 2020.
  225. "ARIA Top 100 Albums for 2020". Australian Recording Industry Association. สืบค้นเมื่อ January 15, 2021.
  226. "Ö3 Austria Top40 Longplay 2020". Ö3 Austria Top 40. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ December 28, 2020. สืบค้นเมื่อ December 31, 2020.
  227. "Jaaroverzichten 2020". Ultratop. สืบค้นเมื่อ December 18, 2020.
  228. "Top Canadian Albums – Year-End 2020". Billboard. January 2, 2013. สืบค้นเมื่อ December 4, 2020.
  229. "Inozemna izdanja – Godišnja lista 2020" [Foreign editions - Annual list 2020] (ภาษาโครเอเชีย). HDU. สืบค้นเมื่อ April 7, 2021.
  230. "Album Top-100 2020". Hitlisten. สืบค้นเมื่อ January 13, 2021.
  231. "Jaaroverzichten – Album 2020" (ภาษาดัตช์). MegaCharts. สืบค้นเมื่อ January 6, 2021.
  232. "Top 100 Album-Jahrescharts 2020" (ภาษาเยอรมัน). GfK Entertainment. สืบค้นเมื่อ December 18, 2020.
  233. White, Jack (January 10, 2021). "Ireland's Official Top 50 biggest albums of 2020". Official Charts Company. สืบค้นเมื่อ January 12, 2021.
  234. "Official Top 40 Albums". Recorded Music NZ. 2020. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ December 4, 2020. สืบค้นเมื่อ December 6, 2020.
  235. "Topplista – årsliste – Album 2020" (ภาษานอร์เวย์). IFPI Norway. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ January 31, 2021. สืบค้นเมื่อ April 7, 2021.
  236. "Top Vendas Acumuladas – 2020 (semana 1 a 53) – Top 100 Álbuns" [Top Accumulated Sales 2020 (Week 1 to 53) – Top 100 Albums] (PDF) (ภาษาโปรตุเกส). Audiogest. p. 1. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ March 26, 2021. สืบค้นเมื่อ April 9, 2021.
  237. "Top 100 Albumes Anual 2020". Productores de Música de España. สืบค้นเมื่อ January 15, 2021.
  238. "Schweizer Jahreshitparade 2020". hitparade.ch. สืบค้นเมื่อ December 28, 2020.
  239. "End of Year Album Chart Top 100 – 2020". Official Charts Company. สืบค้นเมื่อ January 4, 2021.
  240. 240.0 240.1 "2020 Year-End Billboard charts". Billboard. สืบค้นเมื่อ December 3, 2020.
  241. "ARIA Top 100 Albums for 2021". Australian Recording Industry Association. สืบค้นเมื่อ January 13, 2022.
  242. "Jaaroverzichten 2021". Ultratop. สืบค้นเมื่อ January 4, 2022.
  243. "Top Canadian Albums – Year-End 2021". Billboard. January 2, 2013. สืบค้นเมื่อ December 2, 2021.
  244. "Album Top-100 2021". Hitlisten. สืบค้นเมื่อ January 6, 2022.
  245. "Jaaroverzichten – Album 2021". dutchcharts.nl (ภาษาดัตช์). สืบค้นเมื่อ January 3, 2022.
  246. Griffiths, George (January 9, 2022). "Ireland's official biggest albums of 2021". Official Charts Company. สืบค้นเมื่อ January 9, 2022.
  247. "Top Selling Albums of 2021". Recorded Music NZ. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ January 24, 2022. สืบค้นเมื่อ January 24, 2022.
  248. "Top Vendas Acumuladas – 2021 – Top 100 Álbuns" [Top Accumulated Sales 2021 – Top 100 Albums] (PDF) (ภาษาโปรตุเกส). Audiogest. p. 3. เก็บ (PDF)จากแหล่งเดิมเมื่อ February 3, 2022. สืบค้นเมื่อ February 3, 2022.
  249. "Top 100 Albums Annual 2021". Productores de Música de España. สืบค้นเมื่อ January 20, 2022.
  250. Griffiths, George (January 4, 2022). "The Official Top 40 biggest albums of 2021". Official Charts Company. สืบค้นเมื่อ January 4, 2022.
  251. "Top Billboard 200 Albums – Year-End 2021". Billboard. สืบค้นเมื่อ December 3, 2021.
  252. "Top Alternative Albums – Year-End 2021". Billboard. สืบค้นเมื่อ December 3, 2021.
  253. "ARIA Charts – Accreditations – 2021 Albums" (PDF). Australian Recording Industry Association. สืบค้นเมื่อ February 6, 2022. Album/DVD certifications are on separate sheets.
  254. "Ultratop − Goud en Platina – albums 2022". Ultratop. Hung Medien. สืบค้นเมื่อ August 30, 2022.
  255. "Danish album certifications – Taylor Swift – Folklore". IFPI Danmark. สืบค้นเมื่อ September 7, 2021.
  256. "New Zealand album certifications – Taylor Swift – Folklore". Recorded Music NZ. สืบค้นเมื่อ May 14, 2022.
  257. "Norwegian album certifications – Taylor Swift – Folklore" (ภาษานอร์เวย์). IFPI Norway. สืบค้นเมื่อ November 19, 2021.
  258. "Wyróżnienia - Złote płyty CD - Archiwum - Przyznane w 2022 roku" (ภาษาโปแลนด์). Polish Society of the Phonographic Industry. สืบค้นเมื่อ October 19, 2022.
  259. "Spanish album certifications – Taylor Swift – Folklore". El portal de Música. Productores de Música de España. March 2022. สืบค้นเมื่อ March 22, 2022.
  260. "British album certifications – Taylor Swift – Folklore". British Phonographic Industry. สืบค้นเมื่อ February 11, 2022.
  261. "American album certifications – Taylor Swift – Folklore". Recording Industry Association of America. สืบค้นเมื่อ October 19, 2022.
  262. Bailey, Alyssa (July 23, 2020). "Taylor Swift Announces She'll Be Dropping Her 8th Album 'Folklore' at Midnight and Shares Tracklist". Elle. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ July 26, 2020. สืบค้นเมื่อ July 28, 2020.
  263. "Taylor Swift's Folklore gets early CD release in the UK". Official Charts Company. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ September 10, 2020. สืบค้นเมื่อ August 6, 2020.
  264. "folklore". Amazon. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ August 28, 2020. สืบค้นเมื่อ August 2, 2020.
  265. "フォークロア [CD]" (ภาษาญี่ปุ่น). Universal Music Japan. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ September 10, 2020. สืบค้นเมื่อ August 2, 2020.
  266. อ้างอิงผิดพลาด: ป้ายระบุ <ref> ไม่ถูกต้อง ไม่มีการกำหนดข้อความสำหรับอ้างอิงชื่อ physical