ล็อกดาวน์โควิด-19

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

เนื่องจากการระบาดทั่วของโควิด-19 จึงมีการใช้มาตรการที่ไม่ใช้ยาจำนวนหนึ่งที่เรียกรวมกันว่า ล็อกดาวน์ (อังกฤษ: lockdown) ซึ่งประกอบด้วยคำสั่งให้อยู่ติดบ้าน เคอร์ฟิว การกักบริเวณ การตั้งเขตสุขาภิบาล (cordon sanitaires) และข้อจำกัดทางสังคมอื่นที่คล้ายกัน ในหลายประเทศและดินแดนทั่วโลก ข้อจำกัดเหล่านี้เป็นไปเพื่อลดการระบาดของ SARS-CoV-2 ซึ่งเป็นเชื้อไวรัสก่อโรคโควิด-19[1] ข้อมูล ณ เดือนเมษายน 2563 พบว่าประชากรราวกึ่งหนึ่งของโลกอยู่ภายใต้มาตรการล็อกดาวน์อย่างใดอย่างหนึ่ง โดยมีประชากรกว่า 3.9 พันล้านคนในประเทศหรือดินแดนกว่า 90 แห่งได้รับคำขอร่วมมือหรือคำสั่งให้อยู่ติดบ้านจากรัฐบาล[2] แม้ว่ามาตรการล็อกดาวน์จะมีมาแล้วหลายร้อยปี แต่ไม่มีครั้งใดมีขอบเขตกว้างขวางมากเท่าครั้งนี้

การวิจัยและกรณีศึกษาพบว่าล็อกดาวน์มีประสิทธิภาพในการลดการระบาดของโควิด-19 เป็นการลดความชันของกราฟผู้ป่วย[3] คำแนะนำขององค์การอนามัยโลกในเรื่องเคอร์ฟิวและล็อกดาวน์ระบุว่า มาตรการดังกล่าวควรเป็นไปในช่วงสั้น ๆ เพื่อจัดระเบียบใหม่ ปรับสมดุลทรัพยากรและพักเจ้าหน้าที่สาธารณสุขที่แบกรับจำนวนผู้ป่วยมาก และในการรักษาสมดุลระหว่างการจำกัดและการใช้ชีวิตตามปกติ WHO แนะนำว่าการตอบสนองต่อโรคระบาดทั่วประกอบด้วยการรักษาสุขอนามัยส่วนบุคคลอย่างเข้มงวด การติดตามการสัมผัสอย่างมีประสิทธิภาพ และการแยกตัวเมื่อป่วย[4]

มาตรการที่ประเทศและดินแดนต่าง ๆ ทั่วโลกใช้นั้นมีความเข้มงวดแตกต่างกันไป บางแห่งห้ามเดินทางโดยสิ้นเชิง ส่วนบางแห่งห้ามเดินทางเป็นบางช่วงเวลา ในหลายกรณีจะอนุญาตให้เปิดเฉพาะธุรกิจที่มีความสำคัญขาดไม่ได้เท่านั้น สถานศึกษาถูกปิดทั่วประเทศหรือปิดในท้องถิ่นใน 63 ประเทศ ซึ่งมีผลต่อประชากรนักเรียนนักศึกษาโลกประมาณร้อยละ 47[5][6]

การวางข้อจำกัดนี้มีผลกระทบทางสังคมและเศรษฐกิจ ทำให้เกิดการประท้วงในบางประเทศและดินแดน

อ้างอิง[แก้]

  1. "Coronavirus: 7 dead, 229 infected in Italy as Europe braces for COVID-19". NBC News. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 16 May 2020. สืบค้นเมื่อ 29 February 2020.
  2. Sandford, Alasdair (2020-04-02). "Coronavirus: Half of humanity on lockdown in 90 countries". euronews (ภาษาอังกฤษ). เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 19 May 2020. สืบค้นเมื่อ 2021-06-15.
  3. Perra, Nicola (2021-02-13). "Non-pharmaceutical interventions during the COVID-19 pandemic: A review". Physics Reports. 913: 1–52. arXiv:2012.15230. Bibcode:2021PhR...913....1P. doi:10.1016/j.physrep.2021.02.001. ISSN 0370-1573. PMC 7881715. PMID 33612922.
  4. Doyle, Michael (11 October 2020). "WHO doctor says lockdowns should not be main coronavirus defence". ABC. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 22 October 2020. สืบค้นเมื่อ 25 October 2020.
  5. "COVID-19 Educational Disruption and Response". UNESCO. 4 March 2020. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 19 March 2020. สืบค้นเมื่อ 28 March 2020.
  6. Aristovnik A, Keržič D, Ravšelj D, Tomaževič N, Umek L (October 2020). "Impacts of the COVID-19 Pandemic on Life of Higher Education Students: A Global Perspective". Sustainability. 12 (20): 8438. doi:10.3390/su12208438.