จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
1989 เป็นสตูดิโออัลบั้มลำดับที่ห้าของนักร้องอเมริกัน เทย์เลอร์ สวิฟต์ ออกจำหน่ายวันที่ 27 ตุลาคม ค.ศ. 2014 โดยค่ายบิกแมชีนเรเคิดส์ เธอเริ่มทำอัลบั้มในปีที่อัลบั้มเรดออกจำหน่าย และระหว่างที่มีสื่อคอยติดตามทำข่าวเกี่ยวกับเธอบ่อยครั้ง ตลอดเวลาการเขียนเพลง 2 ปี เธอร่วมงานกับโปรดิวเซอร์อย่างแมกซ์ มาร์ติน และเชลล์แบ็ก ซึ่งมาร์ตินได้รับหน้าที่เป็นผู้ดูแลการผลิตร่วมกับสวิฟต์ด้วย ชื่ออัลบั้มมีแรงบันดาลใจจากกลิ่นอายเพลงป็อปในคริสต์ทศวรรษ 1980 โดยเฉพาะในปีเกิดของเธอ
อัลบั้มเป็นการแยกทางจากแนวดนตรีจากคันทรีในอัลบั้มก่อนหน้า และสวิฟต์กล่าวว่าเป็น "อัลบั้มเพลงป็อปอย่างเป็นทางการอัลบั้มแรก" ของเธอ[3] หากเทียบกับงานเพลงชุดก่อนหน้า การผลิตอัลบั้ม 1989 จะใช้การโปรแกรมเสียงกลอง เครื่องสังเคราะห์เสียง เสียงเบสที่เป็นจังหวะ เสียงร้องประสานที่ดัดแปลงแล้ว และกีตาร์ 1989 ได้รับคำวิจารณ์จากนักวิจารณ์เพลงร่วมสมัยส่วนใหญ่ว่าเป็นที่ชื่นชอบ นักวิจารณ์รู้สึกว่าการผลิตเพลงทำได้ดี สื่อสิ่งพิมพ์จำนวนมาก เช่น ไทม์ โรลลิงสโตน และพิตช์ฟอร์กมีเดีย จัดอันดับให้เป็นหนึ่งในอัลบั้มที่ดีที่สุดใน ค.ศ. 2014
หลังจากเปิดตัวที่อันดับที่ 1 บนชาร์ตบิลบอร์ด 200 อัลบั้ม 1989 ขายได้ 1.287 ล้านชุดในสัปดาห์แรก ยอดขายรวมในสหรัฐอเมริกาในสัปดาห์แรกของอัลบั้มสูงสุดนับตั้งแต่ ค.ศ. 2002 และทำให้สวิฟต์เป็นศิลปินคนแรกที่ขายอัลบั้มเดียวได้หนึ่งล้านชุดหรือมากกว่าในระยะเวลาหนึ่งสัปดาห์ได้ถึง 3 อัลบั้ม อัลบั้ม 1989 กลายเป็นอัลบั้มที่ขายดีที่สุดใน ค.ศ. 2014 ในสหรัฐอเมริกา และขายได้มากกว่า 5.5 ล้านอัลบั้มนับถึงเดือนธันวาคม ค.ศ. 2015[4] และขายได้ 8.6 ล้านอัลบั้มทั่วโลก อัลบั้มออกซิงเกิล 5 ซิงเกิล ได้แก่ "เชกอิตออฟ" "แบลงก์สเปซ" "แบดบลัด" ทั้งหมดขึ้นอันดับหนึ่งในสหรัฐอเมริกา ขณะที่ "สไตล์" ขึ้นสูงสุดที่อันดับที่ 6 "ไวล์ดิสต์ดรีมส์" ขึ้นสูงสุดที่อันดับที่ 5 และ "เอาต์ออฟเดอะวูดส์" ขึ้นสูงสุดที่อันดับที่ 18 ซิงเกิลห้าซิงเกิลแรกขึ้นอันดับหนึ่งบนชาร์ตอะดัลต์ท็อป 40 และเมนสตรีมท็อป 40 และได้รับการรับรองระดับแพลตินัมหลายครั้งจากสมาคมผู้ประกอบกิจการเพลงของสหรัฐอเมริกา (RIAA)
สวิฟต์ได้เข้าชิงรางวัลแกรมมี 8 สาขาสำหรับอัลบั้ม 1989 รวมถึงรางวัลอัลบั้มเพลงแห่งปี เป็นอัลบั้มที่สามของสวิฟต์ นอกจากรางวัลสูงสุดแล้ว อัลบั้มยังได้เข้าชิงอัลบั้มเพลงป็อปยอดเยี่ยม ซิงเกิล "เชกอิตออฟ" และ "แบลงก์สเปซ" ได้เข้าชิงรางวัลบันทึกเสียงแห่งปี เพลงแห่งปี และการแสดงเดี่ยวป็อปแห่งปี ซิงเกิลที่สี่ "แบดบลัด" เข้าชิงรางวัลการแสดงคู่หรือกลุ่มป็อปยอดเยี่ยม และมิวสิกวิดีโอยอดเยี่ยม
รายชื่อเพลง[แก้]
อัลบั้มฉบับมาตรฐานจะมีเพลงรวมอยู่ 13 เพลง และฉบับดีลักซ์จะมี 19 เพลง[5][6]
|
1. | "เวลคัมทูนิวยอร์ก" | |
- เท็ดเดอร์
- โนล ซานคาเนลลา
- สวิฟต์
| 3:32 |
---|
2. | "แบลงก์สเปซ" | | | 3:51 |
---|
3. | "สไตล์" |
- สวิฟต์
- มาร์ติน
- เชลล์แบ็ก
- อาลี พายามี
| | 3:51 |
---|
4. | "เอาต์ออฟเดอะวูดส์" | |
- แอนโทนอฟฟ์
- สวิฟต์
- มาร์ติน[a]
| 3:55 |
---|
5. | "ออลยูแฮดทูดูวอสสเตย์" | |
- มาร์ติน
- เชลล์แบ็ก
- แมตต์แมน & โรบิน
| 3:13 |
---|
6. | "เชกอิตออฟ" | | | 3:39 |
---|
7. | "ไอวิชยูวูด" | |
- แอนโทนอฟฟ์
- สวิฟต์
- เกร็ด เคิร์สติน[b]
- มาร์ติน[a]
| 3:27 |
---|
8. | "แบดบลัด" | | | 3:31 |
---|
9. | "ไวล์ดิสต์ดรีมส์" | | | 3:40 |
---|
10. | "ฮาวยูเก็ตอะเกิร์ล" | | | 4:07 |
---|
11. | "ดิสเลิฟ" | สวิฟต์ | | 4:10 |
---|
12. | "ไอโนว์เพลซิส" | |
- เท็ดเดอร์
- ซานคาเนลลา
- สวิฟต์
| 3:15 |
---|
13. | "คลีน" | | | 4:30 |
---|
ความยาวทั้งหมด: | 48:41 |
---|
|
14. | "วันเดอร์แลนด์" | | | 4:05 |
---|
15. | "นิวโรแมนติกส์" | | | 3:50 |
---|
ความยาวทั้งหมด: | 56:36 |
---|
|
14. | "วันเดอร์แลนด์" | | | 4:05 |
---|
15. | "ยูอาร์อินเลิฟ" | |
- แอนโทนอฟฟ์
- สวิฟต์
- มาร์ติน[a]
| 4:27 |
---|
16. | "นิวโรแมนติกส์" | | | 3:50 |
---|
17. | "ไอโนว์เพลซิส" (บันทึกคำพูด) | | | 3:36 |
---|
18. | "ไอวิชยูวูด" (บันทึกคำพูด) | | | 1:47 |
---|
19. | "แบลงก์สเปซ" (บันทึกคำพูด) | | | 2:11 |
---|
ความยาวทั้งหมด: | 68:36 |
---|
- หมายเหตุ
อ้างอิง[แก้]
- ↑ "Taylor Swift – 1989 – Album Reviews". Consequence of Sound. สืบค้นเมื่อ February 7, 2015.
- ↑ Sheffield, Rob (October 24, 2014). "Taylor Swift, 1989, review: 'When it comes to Taylor Swift and supercatchy Eighties pop gloss, too much is never enough'". Rolling Stone. Wenner Media LLC. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2014-10-25. สืบค้นเมื่อ October 24, 2014.
- ↑ Mansfield, Brian (August 18, 2014). "Taylor Swift debuts 'Shake It Off,' reveals '1989' album". USA Today. สืบค้นเมื่อ August 19, 2014.
- ↑ Caulfield, Keith (August 10, 2015). "Drake's 'If You're Reading This' Becomes First Million-Selling Album Released in 2015". Billboard. Prometheus Global Media. สืบค้นเมื่อ August 10, 2015.
- ↑ "1989 by Taylor Swift". iTunes Store (US). Apple Inc. สืบค้นเมื่อ August 19, 2014.
- ↑ "1989 (Deluxe Edition) by Taylor Swift". iTunes Store (ES). Apple Inc. สืบค้นเมื่อ August 19, 2014.
- ↑ References for bonus tracks on 1989 deluxe edition:
|
---|
|
สตูดิโออัลบั้ม | |
---|
บันทึกเสียงใหม่ | |
---|
อีพี | |
---|
อัลบั้มบันทึกการแสดงสด | |
---|
ทัวร์คอนเสิร์ต | |
---|
ภาพยนตร์ | |
---|
ครอบครัว | |
---|
บทความที่เกี่ยวข้อง | |
---|
|
|
---|
1958–1979 | |
---|
1980–1999 | |
---|
2000–2019 | |
---|
2020–ปัจจุบัน | |
---|
|
---|
คริสต์ทศวรรษ 1960 | |
---|
คริสต์ทศวรรษ 1990 | |
---|
คริสต์ทศวรรษ 2000 | |
---|
คริสต์ทศวรรษ 2010 | |
---|
คริสต์ทศวรรษ 2020 | |
---|