ผลงานวิดีโอของเทย์เลอร์ สวิฟต์

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

เทย์เลอร์ สวิฟต์ นักร้องนักแต่งเพลงชาวอเมริกันเคยปรากฏในมิวสิกวิดีโอ 60 ตัว สารคดี 5 เรื่อง อัลบั้มวิดีโอ 3 อัลบั้ม และภาพยนตร์สั้น 1 เรื่อง ตลอดจนแสดงบทบาทในภาพยนตร์และรายการโทรทัศน์มากมาย หลังจากออกอัลบัมเปิดตัว (2006)[1] เธอออกมิวสิกวิดีโอให้ซิงเกิล "ทิม แม็กกรอว์" "เทียร์ดรอปส์ออนมายกีตาร์" "อาวเวอร์ซอง" และ "พิกเชอร์ทูเบิร์น" ทั้งหมดกำกับโดยเทรย์ แฟนจอย และออกเผยแพร่ในช่วงปี 2006–2008 เพลง "เทียร์ดรอปส์ออนมายกีตาร์" ได้เข้าชิงรางวัลเอ็มทีวีวิดีโอมิวสิกอะวอดส์สาขาศิลปินหน้าใหม่ เธอออกมิวสิกวิดีโอตามมาอีกสามตัวในปี 2008 "บิวตีฟูลอายส์" จากอีพีในชื่อเดียวกับเพลง "เชนจ์" เพลงประกอบเอทีแอนด์ทีทีมยูเอสเอ และ "เลิฟสตอรี" จากอัลบั้มที่สอง เฟียร์เลส (2008)[2][3] เพลง "เลิฟสตอรี" เข้าชิงรางวัลซีเอ็มทีมิวสิกอะวอดส์ 2009 สองรางวัล ได้แก่ วิดีโอแห่งปี และวิดีโอผู้หญิงแห่งปี วิดีโอเพลง "ยูบีลองวิทมี" ได้รับรางวัลวิดีโอผู้หญิงยอดเยี่ยมในงานประกาศรางวัลเอ็มทีวีวิดีโอมิวสิกอะวอดส์ 2009 ระหว่างกล่าวรับรางวัล เธอถูกคานเย เวสต์ เข้ามาขัดจังหวะ ทำให้เกิดประเด็นถกเถียงและสื่อให้ความสนใจ

อั้ลบัมที่สาม สปีกนาว (2010) มีซิงเกิล "ไมน์"[4] เธอกำกับมิวสิกวิดีโอเองร่วมกับโรแมน ไวต์ ซึ่งเคยกำกับวิดีโอให้เธอมาแล้วสองตัว ตามด้วยเพลง "แบ็กทูดีเซมเบอร์" วิดีโอที่แสดงความโศกเศร้าหลังอกหัก และเพลง "มีน" บอกเล่าเกี่ยวกับการกลั่นแกล้ง เธอออกวิดีโอเพลง "เดอะสตอรีออฟอัส" "สปากส์ฟาย" และ "อาวเวอส์" ทั้งหมดออกในปี 2011 ปีถัดมา เธอออกอัลบั้มที่สี่ เรด (2012) นำมาด้วยมิวสิกวิดีโอซิงเกิลแรก "วีอาร์เนเวอร์เอเวอร์เกตติงแบ็กทูเกเตอร์" วิดีโอเพลง "ไอนิวยูเวอร์ทรับเบิล" ได้รับรางวัลเอ็มทีวีวิดีโอมิวสิกอะวอดส์สาขาวิดีโอผู้หญิงยอดเยี่ยม ในปี 2013 สวิฟต์ออกมิวสิกวิดีโอห้าตัว สี่ตัวมาจากอัลบัมเรด[5] ได้แก่ "22" "เอเวอรีติงแฮสเชนจด์" "เรด" และ "เดอะลาสต์ไทม์" และอีกหนึ่งเพลงร่วมแสดงกับทิม แม็กกรอว์ ในเพลง "ไฮเวย์โดนต์แคร์"

อัลบั้มที่ห้า 1989 (2014) ออกมิวสิกวิดีโอเพลง "เชกอิตออฟ" และ "แบลงก์สเปซ" เมื่อปี 2014 เพลง "แบลงก์สเปซ" เป็นมิวสิกวิดีโอที่มีผู้ชมถึง 1 พันคนเร็วที่สุดบนวีโว[6][7] มีเพลง "สไตล์" "แบดบลัด" และ "ไวล์ดิสต์ดรีมส์" เมื่อปี 2015 "เอาต์ออฟเดอะวุดส์" และ "นิวโรแมนติกส์" เมื่อปี 2016 วิดีโอเพลง "แบลงก์สเปซ" และ "แบดบลัด" ซึ่งได้เคนดริก ลามาร์ มาร้องรับเชิญ ได้รับสี่รางวัลจากงานเอ็มทีวีวิดีโอมิวสิกอะวอดส์ เพลง "แบดบลัด" ได้รางวัลวิดีโอแห่งปี และเพลงร้องร่วมยอดเยี่ยม และได้รับรางวัลแกรมมีสาขามิวสิกวิดีโอยอดเยี่ยม สวิฟต์ปล่อยมิวสิกวิดีโอสี่ตัวให้กับอัลบั้มที่หกของเธอ เรพิวเทชัน (2017) ได้แก่ "ลุกวอตยูเมดมีดู" "เรดีฟอร์อิต" "เอนด์เกม" ที่ร่วมงานกับเอ็ด ชีแรน และแรปเปอร์ ฟิวเจอร์ และ "เดลิเคต" อัลบั้มที่เจ็ด เลิฟเวอร์ (2019) สวิฟต์ปล่อยมิวสิกวิดีโอสี่ตัว ซิงเกิลแรก "มี!" ที่ได้ เบรนดอน ยูรี จากวง แพนิคแอดเดอะดิสโก มาร้องรับเชิญ เธอกำกับมิวสิกวิดีโอเองร่วมกับ เดฟ เมเยอร์ มิวสิกวิดีโอของเพลง "ยูนีดทูคาล์มดาวน์"และ "เลิฟเวอร์" เธอกำกับร่วมกับ ดรูว์ เคอรช์ "เดอะแมน" เป็นมิวสิกวิดีโอแรกที่เธอกำกับเองคนเดียว วิดีโอของเพลง "มี!" และ "ยูนีดทูคาล์มดาวน์" ชนะสามรางวัล ได่แก่ วิดีโอแห่งปี วิดีโอดีเด่น และเอฟเฟกต์ภาพดีเด่นในงานประกาศรางวัลเอ็มทีวีวิดีโอมิวสิกอะวอดส์ 2019 รางวัลวิดีโอแห่งปีทำให้ สวิฟต์เป็นศิลปินคนที่สองที่กำกับวิดีโอที่ชนะด้วยตัวเอง เธอยังเริ่มเขียนและกำกับมิวสิกวิดีโอของเธอเอง เช่น มิวสิกวิดีโอ "คาร์ดิแกน" และ "วิลโลว์" ในปี ค.ศ. 2020 และ "แอนตี-ฮีโร" และ "บีจิวเวลด์" ในปี ค.ศ. 2022 เธอเปิดตัวในฐานะผู้กำกับภาพยนตร์ด้วย ออลทูเวล: เดอะชอร์ตฟิล์ม (2021) ซึ่งเขียนบทและกำกับเอง

นอกจากมิวสิกวิดีโอ สวิฟต์ยังออกวิดีโออัลบัมอีกสี่ตัว ได้แก่ เทย์เลอร์ สวิฟต์ แอนด์เดฟ เลปพาร์ด (2009) สปีกนาวเวิลด์ทัวร์ – ไลฟ์ (2011) เจอร์นีย์ทูเฟียร์เลส (2011) และ เดอะ 1989 เวิลด์ทัวร์ไลฟ์ (2015) เธอเคยปรากฏในรายการโทรทัศน์ ซีเอสไอ: ไครม์ซีนอินเวสติเกชัน เมื่อปี 2009 แซเทอร์เดย์ไนต์ไลฟ์ ปี 2009 และนิวเกิร์ลในปี 2013 เธอเคยแสดงในภาพยนตร์เรื่องวาเลนไทน์เดย์ หวานฉ่ำ วันรักก้องโลก เคยให้เสียงตัวละครในภาพยนตร์แอนิเมชันเรื่อง คุณปู่โลแรกซ์ มหัศจรรย์ป่าสีรุ้ง เธอยังเคยปรากฏในภาพยนตร์โฆษณาหลายตัว ได้แก่ แบนด์ฮีโร (2009) โคคาโคลา (2014) และแอปเปิลมิวสิก (2016)

อ้างอิง[แก้]

  1. "Taylor Swift". iTunes Store. 2006. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ September 10, 2016. สืบค้นเมื่อ September 23, 2016. {{cite web}}: ไม่รู้จักพารามิเตอร์ |deadurl= ถูกละเว้น แนะนำ (|url-status=) (help)
  2. "Beautiful Eyes – Taylor Swift". AllMusic. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ March 5, 2016. สืบค้นเมื่อ September 27, 2016. {{cite web}}: ไม่รู้จักพารามิเตอร์ |deadurl= ถูกละเว้น แนะนำ (|url-status=) (help)
  3. "Fearless". iTunes Store. 2008. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ October 14, 2016. สืบค้นเมื่อ September 23, 2016. {{cite web}}: ไม่รู้จักพารามิเตอร์ |deadurl= ถูกละเว้น แนะนำ (|url-status=) (help)
  4. "Speak Now". iTunes Store. 2010. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ November 19, 2016. สืบค้นเมื่อ September 23, 2016. {{cite web}}: ไม่รู้จักพารามิเตอร์ |deadurl= ถูกละเว้น แนะนำ (|url-status=) (help)
  5. "Red". iTunes Store. 2012. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ September 16, 2016. สืบค้นเมื่อ September 23, 2016. {{cite web}}: ไม่รู้จักพารามิเตอร์ |deadurl= ถูกละเว้น แนะนำ (|url-status=) (help)
  6. "1989". iTunes Store. 2014. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ September 23, 2016. สืบค้นเมื่อ September 23, 2016. {{cite web}}: ไม่รู้จักพารามิเตอร์ |deadurl= ถูกละเว้น แนะนำ (|url-status=) (help)
  7. Strecker, Erin (July 6, 2015). "Taylor Swift's 'Blank Space' the Fastest Video to Reach 1 Billion Views on Vevo". Billboard. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ May 8, 2016. สืบค้นเมื่อ August 10, 2016. {{cite news}}: ไม่รู้จักพารามิเตอร์ |deadurl= ถูกละเว้น แนะนำ (|url-status=) (help)