สนามกีฬาอะห์มัด บิน อะลี

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
สนามกีฬาอะห์มัด บิน อะลี
สนามกีฬาอัรร็อยยาน
แผนที่
ชื่อเต็มสนามกีฬาอะห์มัด บิน อะลี
ที่ตั้งอุมมุลอะฟาอี อัรร็อยยาน ประเทศกาตาร์
พิกัด25°19′47″N 51°20′32″E / 25.329640°N 51.342273°E / 25.329640; 51.342273พิกัดภูมิศาสตร์: 25°19′47″N 51°20′32″E / 25.329640°N 51.342273°E / 25.329640; 51.342273
ขนส่งมวลชนสถานีอัรริฟาอ์
ความจุ45,032 ที่นั่ง[2] (ฟุตบอลโลก 2022)
21,000 ที่นั่ง (หลังฟุตบอลโลก)
พื้นผิวหญ้า
ป้ายแสดงคะแนนมี
การก่อสร้าง
ลงเสาเข็มค.ศ. 2001–2002, 2016–2018
ก่อสร้างค.ศ. 2003
เปิดใช้สนามค.ศ. 2003 (สนามกีฬาเดิม),
18 ธันวาคม ค.ศ. 2020
สร้างใหม่ค.ศ. 2016–2020
สถาปนิกBDP Pattern[1]
ผู้จัดการโครงการAECOM
ผู้รับเหมาหลักอัลบะลาฆ และลาร์เซน แอนด์ ทูวโบร
การใช้งาน
สโมสรกีฬาอัรร็อยยาน
ฟุตบอลทีมชาติกาตาร์ (บางนัด)

สนามกีฬาอะห์มัด บิน อะลี (อาหรับ: ملعب أحمد بن علي, อักษรโรมัน: Malʿab ʾAḥmad bin ʿAliyy;[3][4] อังกฤษ: Ahmad bin Ali Stadium) หรือรู้จักกันแพร่หลายในชื่อ สนามกีฬาอัรร็อยยาน (ملعب الريان) เป็นสนามกีฬาอเนกประสงค์ในเมืองอัรร็อยยาน ประเทศกาตาร์ โดยใช้สำหรับการแข่งขันฟุตบอลเป็นหลัก และเป็นที่ตั้งของสโมสรกีฬาอัรร็อยยานและสโมสรกีฬาอัลเคาะร็อยฏียาต สนามแห่งนี้ตั้งชื่อตามอะห์มัด บิน อะลี อัษษานี เจ้าผู้ครองรัฐกาตาร์ระหว่างปี พ.ศ. 2503 ถึง พ.ศ. 2515[5] สนามกีฬาเดิมสร้างขึ้นในปี พ.ศ. 2546 มีความจุที่นั่ง 21,282 ที่นั่ง เป็นหนึ่งในสนามที่ใช้จัดการแข่งขันเอเชียนเกมส์ 2006[6] ซึ่งถูกรื้อถอนในปี พ.ศ. 2558[7] เพื่อสร้างสนามกีฬาอัรร็อยยานแห่งใหม่ที่มีความจุ 45,000 ที่นั่ง[2]

สนามอยู่ห่างจากโดฮาเมืองหลวงของประเทศไปทางตะวันตกประมาณ 20 กิโลเมตร[8]

การก่อสร้าง[แก้]

สนามกีฬาอัรร็อยยานเป็นหนึ่งในแปดสนามที่ใช้ในการแข่งขันฟุตบอลโลก 2022 ที่ประเทศกาตาร์[9][10]

สนามกีฬาอะห์มัด บิน อะลี หลังเดิมถูกรื้อลงในปี พ.ศ. 2558[11] เพื่อดำเนินการสร้างสนามกีฬาอัรร็อยยานแห่งใหม่ โดยร้อยละ 90 ของเศษหินหรืออิฐที่เกิดจากการรื้อถอนสนามเดิมคาดว่าจะถูกนำมาใช้ซ้ำสำหรับการสร้างสนามใหม่ หรือใช้ในโครงการศิลปะสาธารณะ[12]

การก่อสร้างสนามแห่งใหม่เริ่มต้นขึ้นเมื่อต้นปี พ.ศ. 2559[13] ดำเนินการโดยการร่วมทุนระหว่างบริษัทอัลบะลาฆ (Al-Balagh) และบริษัทลาร์เซน แอนด์ ทูวโบร (Larsen & Toubro) หลังฟุตบอลโลกจบลง สนามจะปรับลดจำนวนที่นั่งเหลือ 21,000 ที่นั่ง[12] สนามกีฬาแห่งใหม่นี้สร้างขึ้นสำหรับการแข่งขันฟุตบอลโลก 2022 ซึ่งกาตาร์เป็นเจ้าภาพ[14]

การปรับปรุงใหม่รวมถึงเปลือกอาคารที่เป็นสื่อการจัดแสดง (media facade) ขนาดใหญ่พร้อมแผ่นผืนสังเคราะห์ที่จะทำหน้าที่เป็นหน้าจอสำหรับการฉายภาพ ข่าว โฆษณา แจ้งผลข้อมูลการแข่งขันกีฬาตามเวลาจริง ความจุของสนามเพิ่มขึ้นเป็น 40,740 ที่นั่ง[15] โดยอัฒจันทร์มีหลังคาคลุมทุกที่นั่ง

พิธีเปิดสนามกีฬามีขึ้นในวันที่ 18 ธันวาคม พ.ศ. 2563 ซึ่งเป็นวันชาติกาตาร์ และตรงกับสองปีก่อนที่ประเทศจะเป็นเจ้าภาพจัดการแข่งขันฟุตบอลโลก 2022 รอบสุดท้ายในปี พ.ศ. 2565[16] ซึ่งสนามแห่งนี้เป็นหนึ่งในสองสนามที่ใช้สำหรับการแข่งขันฟุตบอลชิงแชมป์สโมสรโลก 2020[17][18]

สนามกีฬาแห่งนี้ใช้จัดการแข่งขันฟุตบอลอาหรับคัพ 2021 ในปี พ.ศ. 2564 จำนวนสี่นัด[19]

ฟุตบอลโลก 2022 ในสนามอะห์มัด บิน อะลี[แก้]

สนามแห่งนี้ใช้จัดการแข่งขันฟุตบอลโลก 2022 จำนวนเจ็ดนัด

วันที่ เวลา ทีมที่ 1 ผล ทีมที่ 2 รอบแข่งขัน จำนวนผู้ชม
21 พฤศจิกายน 2565 22:00 ธงชาติสหรัฐ สหรัฐ 1–1 ธงชาติเวลส์ เวลส์ กลุ่มบี 43,418
23 พฤศจิกายน 2565 22:00 ธงชาติเบลเยียม เบลเยียม 1–0 ธงชาติแคนาดา แคนาดา กลุ่มเอฟ 40,432
25 พฤศจิกายน 2565 13:00 ธงชาติเวลส์ เวลส์ 0–2 ธงชาติอิหร่าน อิหร่าน กลุ่มบี 40,875
27 พฤศจิกายน 2565 13:00 ธงชาติญี่ปุ่น ญี่ปุ่น 0–1 ธงชาติคอสตาริกา คอสตาริกา กลุ่มอี 41,479
29 พฤศจิกายน 2565 22:00 ธงชาติเวลส์ เวลส์ 0–3 ธงชาติอังกฤษ อังกฤษ กลุ่มบี 44,297
1 ธันวาคม 2565 18:00 ธงชาติโครเอเชีย โครเอเชีย 0–0 ธงชาติเบลเยียม เบลเยียม กลุ่มเอฟ 43,984
3 ธันวาคม 2565 22:00 ธงชาติอาร์เจนตินา อาร์เจนตินา 2–1 ธงชาติออสเตรเลีย ออสเตรเลีย 16 ทีมสุดท้าย 45,032

อ้างอิง[แก้]

  1. "Al-Rayyan Stadium". stadiumdb.com. 9 กรกฎาคม 2015. สืบค้นเมื่อ 3 กันยายน 2021.
  2. 2.0 2.1 "Ahmad bin Ali Stadium". fifa.com. สืบค้นเมื่อ 21 พฤศจิกายน 2022.
  3. "Ahmad Bin Ali Stadium". Supreme Committee for Delivery & Legacy. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 31 กรกฎาคม 2019. สืบค้นเมื่อ 1 เมษายน 2022.
  4. "Ahmad bin Ali Stadium". FIFA. สืบค้นเมื่อ 1 เมษายน 2022.
  5. "Qatar inaugurates fourth stadium for the 2022 World Cup in Al Rayyan". Goal. 18 ธันวาคม 2020. สืบค้นเมื่อ 1 เมษายน 2022.
  6. "Al-Rayyan Sports Club". DAGOC 2006. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 16 มกราคม 2007.
  7. "New stadium: Ahmad bin Ali Stadium, the desert dune". stadiumdb.com. 26 มกราคม 2021. สืบค้นเมื่อ 15 กุมภาพันธ์ 2022.
  8. "Ahmad Bin Ali Stadium". qatar2022.qa. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 28 ตุลาคม 2022. สืบค้นเมื่อ 21 พฤศจิกายน 2022.
  9. "2022 Qatar World Cup: Al Rayyan stadium achieves major sustainability rating". goal.com. 12 ตุลาคม 2020. สืบค้นเมื่อ 31 สิงหาคม 2021.
  10. "Al Rayyan Stadium achieves prestigious sustainability ratings". thepeninsulaqatar.com. 11 ตุลาคม 2020. สืบค้นเมื่อ 8 กันยายน 2021.
  11. "Ahmed bin Ali Stadium (Al-Rayyan Stadium) – until 2014". stadiumdb.com. สืบค้นเมื่อ 1 กุมภาพันธ์ 2022.
  12. 12.0 12.1 "Qatar Unveils Fifth World Cup Venue: Al Rayyan Stadium by Pattern Architects". archdaily.com. 23 เมษายน 2015. สืบค้นเมื่อ 5 มกราคม 2021.
  13. "Qatar 2022: Al Rayyan Stadium sees first concrete pouring". StadiumDB. 17 ตุลาคม 2016. สืบค้นเมื่อ 30 เมษายน 2017.
  14. Neha Bhatia (13 สิงหาคม 2015). "Revealed: The firms behind the construction Qatar's World Cup stadiums". Arabian Business. สืบค้นเมื่อ 13 สิงหาคม 2015.
  15. "Construction: Al-Rayyan Stadium". stadiumdb.com. 2 เมษายน 2019. สืบค้นเมื่อ 2 มิถุนายน 2019.
  16. "Al Rayyan stadium to open on Qatar National Day". Gulf Times. 3 ธันวาคม 2020. สืบค้นเมื่อ 9 ธันวาคม 2020.
  17. "Education City and Ahmad Bin Ali stadiums to host FIFA Club World Cup 2020™". FIFA. 18 มกราคม 2021. สืบค้นเมื่อ 18 มกราคม 2021.
  18. "Doha all set to host 2020 FIFA Club World Cup". iloveqatar.net. 23 มกราคม 2021. สืบค้นเมื่อ 3 กันยายน 2021.
  19. "2021 FIFA Arab Cup: Participating teams, fixtures and all you need to know". goal.com. 18 ธันวาคม 2021. สืบค้นเมื่อ 15 กุมภาพันธ์ 2022.

แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]