โควิดเป็นศูนย์
โควิดเป็นศูนย์ (อังกฤษ: Zero-COVID) เป็นนโยบายด้านสาธารณสุขที่ใช้ในบางประเทศระหว่างการระบาดทั่วของโควิด-19[1] นโยบายนี้ซึ่งเป็นการ "ควบคุมและหยุดยั้งขั้นสูงสุด" ได้มีการใช้มาตรการทางสาธารณสุขต่าง ๆ เช่น การติดตามผู้สัมผัสใกล้ชิด การตรวจเชื้อในหมู่คนจำนวนมาก การปิดพรมแดน การล็อกดาวน์ และการใช้ซอฟต์แวร์ เพื่อที่จะหยุดยั้งการแพร่กระจายของโรคโควิด-19 ในทันทีที่ตรวจพบ โดยมีจุดมุ่งหมายเพื่อให้พื้นที่กลับมาปลอดโรค และกลับมาเริ่มกิจกรรมทางเศรษฐกิจและสังคมได้เป็นปกติ[1][2]
นโยบายโควิดเป็นศูนย์ได้เคยมีการใช้ในระดับที่แตกต่างกันในหลายประเทศ เช่น ออสเตรเลีย แคนาดา[3] จีนแผ่นดินใหญ่ ฮ่องกง[4] นิวซีแลนด์ สิงคโปร์ สกอตแลนด์[5] เกาหลีใต้[6] ไต้หวัน[7] ไทย ตองกา[8] และเวียดนาม อย่างไรก็ตาม ในช่วงปลายปี พ.ศ. 2564 เนื่องจากการระบาดของสายพันธุ์เดลตาและสายพันธุ์โอมิครอนที่แพร่กระจายได้ง่ายขึ้น และการเข้าถึงวัคซีนโควิด-19 ทำให้หลายประเทศประกาศเลิกใช้นโยบายนี้ ปัจจุบัน จีนแผ่นดินใหญ่[9] ฮ่องกง[10] ไต้หวัน[11] ตองกา[12] และออสเตรเลียตะวันตก[13] ยังคงใช้นโยบายโควิดเป็นศูนย์อยู่
นโยบายนี้แตกต่างจากนโยบายลดการติดเชื้อ ซึ่งมีเป้าหมายเพื่อลดผลกระทบของเชื้อไวรัสต่อสังคม แต่ยังยอมรับให้มีการติดเชื้อในพื้นที่ได้ในระดับหนึ่งอยู่[14][2] ผู้สนับสนุนนโยบายโควิดเป็นศูนย์ให้เหตุผลถึงอัตราการเสียชีวิตที่ต่ำกว่า และการเติบโตทางเศรษฐกิจที่สูงกว่า ของประเทศที่ใช้นโยบายนี้[14] และอ้างว่านโยบายโควิดเป็นศูนย์สามารถทำให้ชีวิตกลับมาสู่สภาวะปกติได้เร็วขึ้น[14] ส่วนผู้คัดค้านนโยบายนี้ให้เหตุผลว่า การจะกำจัดเชื้อโควิด-19 ซึ่งเป็นเชื้อทางเดินหายใจนั้น เป็นเรื่องที่เป็นไปไม่ได้พอ ๆ กับการพยายามจะกำจัดโรคหวัดหรือไข้หวัดใหญ่[15] มีการศึกษาพบว่า ในพื้นที่ที่มีการติดเชื้อสูงนั้น การจะทำให้การติดเชื้อกลายเป็นศูนย์ จะต้องใช้การล็อกดาวน์อย่างเข้มงวดนานถึง 3 เดือน[16]
อ้างอิง
[แก้]- ↑ 1.0 1.1 Anna Llupià, Rodríguez-Giralt, Anna Fité, Lola Álamo, Laura de la Torre, Ana Redondo, Mar Callau and Caterina Guinovart (2020) What Is a Zero-COVID Strategy เก็บถาวร 2022-01-03 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, Barcelona Institute for Global Health - COVID-19 & response strategy. "The strategy of control and maximum suppression (zero-COVID) has been implemented successfully in a number of countries. The objective of this strategy is to keep transmission of the virus as close to zero as possible and ultimately to eliminate it entirely from particular geographical areas. The strategy aims to increase the capacity to identify and trace chains of transmission and to identify and manage outbreaks, while also integrating economic, psychological, social and healthcare support to guarantee the isolation of cases and contacts. This approach is also known as “Find, Test, Trace, Isolate and Support” (FTTIS)"
- ↑ 2.0 2.1 Li, Zhongjie; Chen, Qiulan; Feng, Luzhao; Rodewald, Lance; Xia, Yinyin; Yu, Hailiang; Zhang, Ruochen; An, Zhijie; Yin, Wenwu; Chen, Wei; Qin, Ying; Peng, Zhibin; Zhang, Ting; Ni, Daxin; Cui, Jinzhao; Wang, Qing; Yang, Xiaokun; Zhang, Muli; Ren, Xiang; Wu, Dan; Sun, Xiaojin; Li, Yuanqiu; Zhou, Lei; Qi, Xiaopeng; Song, Tie; Gao, George F; Feng, Zijian (4 June 2020). "Active case finding with case management: the key to tackling the COVID-19 pandemic". The Lancet. 396 (10243): 63–70. doi:10.1016/S0140-6736(20)31278-2. PMC 7272157. PMID 32505220.
- ↑ MacDonald, Michael (1 May 2021). "The COVID-Zero approach: Why Atlantic Canada excels at slowing the spread of COVID-19". CTV News. สืบค้นเมื่อ 5 January 2022.
- ↑ "Hong Kong is clinging to 'zero covid' and extreme quarantine. Talent is leaving in droves". The Washington Post. สืบค้นเมื่อ 2022-01-05.
- ↑ "Scotland is aiming to eliminate coronavirus. Why isn't England?". Wired UK. ISSN 1357-0978. สืบค้นเมื่อ 2022-01-11.
- ↑ McLaughlin, Timothy (2021-06-21). "The Countries Stuck in Coronavirus Purgatory". The Atlantic. สืบค้นเมื่อ 2022-01-06.
- ↑ Hale, Erin. "After early success, Taiwan struggles to exit 'zero COVID' policy". Al Jazeera. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2022-01-01. สืบค้นเมื่อ 2022-01-02.
- ↑ Fildes, Nic (2022-01-18). "Tonga volcano relief effort complicated by 'Covid-free' policy". Financial Times. สืบค้นเมื่อ 2022-01-18.
- ↑ Normile, Dennis (19 November 2021). "'Zero COVID' is getting harder—but China is sticking with it". Science. 374 (6570): 924. doi:10.1126/science.acx9657. eISSN 1095-9203. ISSN 0036-8075. PMID 34793217. S2CID 244403712.
- ↑ Chan, Cathy (26 October 2021). "Hong Kong Rejects Plea From Global Banks to Scrap Zero-Covid". Bloomberg. สืบค้นเมื่อ 8 January 2022.
- ↑ I-chia, Lee (8 December 2021). "Taiwan has achieved 'COVID zero' status, Chen says". Taipei Times. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 9 December 2021. สืบค้นเมื่อ 2 January 2022.
- ↑ Fildes, Nic (2022-01-18). "Tonga volcano relief effort complicated by 'Covid-free' policy". Financial Times. สืบค้นเมื่อ 2022-01-18.
- ↑ "How Western Australia has managed to avoid large Covid-19 outbreaks". NPR.org. สืบค้นเมื่อ 2022-01-07.
- ↑ 14.0 14.1 14.2 Oliu-Barton, Miquel; Pradelski, Bary S R; Aghion, Philippe; Artus, Patrick; Kickbusch, Ilona; Lazarus, Jeffrey V; Sridhar, Devi; Vanderslott, Samantha (28 April 2021). "SARS-CoV-2 elimination, not mitigation, creates best outcomes for health, the economy, and civil liberties". The Lancet. 397 (10291): 2234–2236. doi:10.1016/S0140-6736(21)00978-8. PMC 8081398. PMID 33932328.
- ↑ David Livermore (March 28, 2021). "'Zero Covid' - an impossible dream". HART – Health Advisory & Recovery Team. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ January 2, 2022. สืบค้นเมื่อ January 2, 2022.
- ↑ Mégarbane, Bruno; Bourasset, Fanchon; Scherrmann, Jean-Michel (2021-09-20). "Epidemiokinetic Tools to Monitor Lockdown Efficacy and Estimate the Duration Adequate to Control SARS-CoV-2 Spread". Journal of Epidemiology and Global Health. 11 (4): 321–325. doi:10.1007/s44197-021-00007-3. ISSN 2210-6006. PMC 8451385. PMID 34734383.