ข้ามไปเนื้อหา

กล้วยไม้

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
กล้วยไม้
ช่วงเวลาที่มีชีวิตอยู่: 80–0Ma หลังยุคครีเทเชียส – ปัจจุบัน
ภาพลงสีจาก คุนสท์ฟอร์เมินแดร์นาทัวร์ ของแอ็นสท์ เฮ็คเคิล ใน ค.ศ. 1904
การจำแนกชั้นทางวิทยาศาสตร์
อาณาจักร: Plantae
ไม่ได้จัดลำดับ: Angiosperms
ไม่ได้จัดลำดับ: Monocots
อันดับ: Asparagales
วงศ์: Orchidaceae
Juss.[1]
สกุลต้นแบบ
Orchis
Tourn. ex L.
วงศ์ย่อย
แผนที่การกระจายพันธุ์ของกล้วยไม้ทั่วโลก

กล้วยไม้ หรือ เอื้อง เป็นพืชดอกที่มีความหลากหลายมากที่สุดกลุ่มหนึ่ง โดยมีประมาณ 899 สกุล และมีประมาณ 27,000 ชนิดที่มีการยอมรับ[2][3] คิดเป็น 6–11% ของพืชมีเมล็ด[4] มีการค้นพบราว ๆ 800 ชนิดทุก ๆ ปี มีสกุลใหญ่ ๆ คือ Bulbophyllum (2,000 ชนิด), Epidendrum (1,500 ชนิด), Dendrobium (1,400 ชนิด) และ Pleurothallis (1,000 ชนิด) สายพันธุ์ของกล้วยไม้ที่ขึ้นและเติบโตในป่าเรียกว่า กล้วยไม้ป่า

กล้วยไม้จัดอยู่ในกลุ่มพืชใบเลี้ยงเดี่ยว อยู่ในวงศ์กล้วยไม้ (Orchidaceae) สามารถแบ่งตามลักษณะการเติบโตได้ดังนี้

  • กล้วยไม้อากาศ (Epiphyte) คือ กล้วยไม้ที่เกาะหรืออิงอาศัยอยู่บนต้นไม้อื่น โดยมีรากเกาะอยู่กับกิ่งไม้หรือลำต้น
  • กล้วยไม้ดิน (Terrestrial) คือ กล้วยไม้ที่ขึ้นอยู่ตามพื้นดินที่ปกคลุมด้วยอินทรีย์วัตถุ
กล้วยไม้ในอุทยานแห่งชาติ

การจำแนก

[แก้]

วงศ์ย่อยต่าง ๆ ของกล้วยไม้ ได้แก่

  • Apostasioideae Rchb. f. เป็นกลุ่มไม้ที่เติบโตบนพื้นดินในป่า มี 2 สกุล คือ Apostasia และ Neuwiedia
  • Cypripedioideae Lindley เป็นกลุ่มไม้ที่เกิดบนพื้นดิน โขดหิน และบนซากอินทรีย์วัตถุ มี 4 สกุล คือ Cypripedium, Paphiopedilum (สกุลรองเท้านารี) , Phragmipedium และ Selenipedium
  • Spiranthoideae Dressler ไม่พบกล้วยไม้ไทย และลูกผสมไทยที่เกิดในวงศ์ย่อยนี้
  • Orchidoideae ไม่พบในไทย
  • Epidendroideae วงศ์ย่อยนี้มีความหลากหลายด้านที่อยู่อาศัย และรูปร่างลักษณะ มีหลายสกุลในวงศ์นี้ที่พบ และนิยมปลูกในประเทศไทย ได้แก่ สกุล Vanilla สกุลต่าง ๆ ในกลุ่มแคทลียา สกุลหวาย และ สกุลสิงโตกลอกตา
  • VANDOIDEAE Endlicher ได้แก่ กลุ่มแวนด้า

การกระจายพันธุ์

[แก้]

พืชในวงศ์กล้วยไม้นั้นสามารถพบได้ทั่วโลก มีถิ่นอาศัยในหลาย ๆ ภูมิประเทศยกเว้นทะเลทรายและธารน้ำแข็ง โดยส่วนมากจะพบในเขตร้อนของโลก คือทวีปเอเชีย, ทวีปอเมริกาใต้ และทวีปอเมริกากลาง นอกจากนั้นยังพบเหนือวงกลมอาร์กติก, ตอนใต้ของปาตาโกเนีย และบนเกาะแมคควารี ใกล้กับทวีปแอนตาร์กติกา

การกระจายพันธุ์โดยสังเขปมีดังนี้:

อนุกรมวิธาน

[แก้]

ในระบบ APG II (2003) พืชวงศ์นี้ถูกจัดอยู่ในอันดับ Asparagales ซึ่งปัจจุบันมีอยู่ห้าวงศ์ย่อยที่ได้รับการยอมรับ แผนภาพวิวัฒนาการชาติพันธุ์นี้แยกตามระบบของ APG :

Apostasioideae: 2 สกุล 16 ชนิด, เอเชียตะวันตกเฉียงใต้

Cypripedioideae: 5 สกุล 130 ชนิด, เขตอบอุ่นอย่างอเมริกาเขตร้อน และเอเชียเขตร้อน

 Monandrae 

Vanilloideae: 15 สกุล 180 ชนิด, เขตร้อนชื้นและพื้นที่ใกล้เขตร้อน, ทางตะวันออกของอเมริกาเหนือ

Epidendroideae: มากกว่า 500 สกุล ประมาณ 20,000 ชนิด, พบทั่วโลก

Orchidoideae: 208 สกุล 3,630 ชนิด, พบทั่วโลก

ประวัติศาสตร์

[แก้]

กล้วยไม้เป็นพืชใบเลี้ยงเดี่ยว ในวงศ์ Orchidaceae เป็นไม้ตัดดอกยอดนิยม เนื่องจากมีลักษณะดอกและสีสันลวดลายสวยงาม เป็นไม้ตัดดอกที่มีอายุการใช้งานได้นาน กล้วยไม้เป็นพืชเศรษฐกิจที่มีความสำคัญของไทย เพราะเป็นไม้ส่งออกขายต่างประเทศทำรายได้เข้า ประเทศปีละหลายร้อยล้านบาท มีการปลูกเลี้ยงอย่างครบวงจร ตั้งแต่การผสมเกสร เพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อ เลี้ยงลูกกล้วยไม้ เลี้ยงต้นกล้วยไม้จน กระทั่งให้ดอก ตัดดอกบรรจุหีบห่อและส่งออกเอง

แหล่งกำเนิดกล้วยไม้ป่าที่สำคัญของโลกมี 2 แหล่งใหญ่ ๆ ด้วยกันคือ ลาตินอเมริกา กับเอเชียแปซิฟิค สำหรับในลาตินอเมริกาเป็น อาณาบริเวณอเมริกากลางติดต่อกับเขตเหนือของอเมริกาใต้ ส่วนแหล่งกำเนิดกล้วยไม้ป่าในภูมิภาคเอเชียและแปซิฟิค จากการค้นพบประเทศไทยมีพันธุ์กล้วยไม้ป่าเป็นจำนวนมาก แสดงให้เห็นว่าประเทศไทยมีสภาพแวดล้อมเอื้ออำนวยต่อการเจริญงอกงามของ กล้วยไม้มาก และกล้วยไม้ป่าที่ในพบในภูมิภาคแถบนี้มีลักษณะเด่นที่เป็นเอกลักษณ์ของตนเอง แตกต่างจากกล้วยไม้ในภูมิภาคลาตินอเมริกา

ดูเพิ่ม

[แก้]

อ้างอิง

[แก้]
  1. Angiosperm Phylogeny Group (2009). "An update of the Angiosperm Phylogeny Group classification for the orders and families of flowering plants: APG III". Botanical Journal of the Linnean Society. 161 (2): 105–121. doi:10.1111/j.1095-8339.2009.00996.x. ISSN 0024-4074. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2017-05-25. สืบค้นเมื่อ 26 June 2013.
  2. "CLASSIFICATION OF ORCHIDACEAE IN THE AGE OF DNA DATA". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2019-09-27. สืบค้นเมื่อ 2009-03-31.
  3. [1]
  4. Taxonomic exaggeration and its effects on orchid conservation[ลิงก์เสีย]

แหล่งข้อมูลอื่น

[แก้]