อำเภอน้ำหนาว
อำเภอน้ำหนาว | |
---|---|
การถอดเสียงอักษรโรมัน | |
• อักษรโรมัน | Amphoe Nam Nao |
คำขวัญ: แผ่นดินสูงเฉียดฟ้า แหล่งป่าไม้นานาพันธุ์ มหัศจรรย์ถ้ำใหญ่น้ำหนาว รอยเท้าสัตว์ล้านปี ประเพณีเผาข้าวหลาม เลื่องลือนามข้าวพญาลืมแกง | |
![]() แผนที่จังหวัดเพชรบูรณ์ เน้นอำเภอน้ำหนาว | |
พิกัด: 16°46′6″N 101°40′18″E / 16.76833°N 101.67167°E | |
ประเทศ | ![]() |
จังหวัด | เพชรบูรณ์ |
พื้นที่ | |
• ทั้งหมด | 620.0 ตร.กม. (239.4 ตร.ไมล์) |
ประชากร (2564) | |
• ทั้งหมด | 18,667 คน |
• ความหนาแน่น | 30.11 คน/ตร.กม. (78.0 คน/ตร.ไมล์) |
รหัสไปรษณีย์ | 67260 |
รหัสภูมิศาสตร์ | 6709 |
ที่ตั้งที่ว่าการ | ที่ว่าการอำเภอน้ำหนาว หมู่ที่ 5 ตำบลน้ำหนาว อำเภอน้ำหนาว จังหวัดเพชรบูรณ์ 67260 |
![]() |
น้ำหนาว เป็นอำเภอที่ตั้งอยู่ในจังหวัดเพชรบูรณ์ ส่วนใหญ่เป็นพื้นที่ภูเขาสูง มีเขตป่าอุทยานแห่งชาติน้ำหนาว ประชากรส่วนใหญ่พูดภาษา "ไทหล่ม" เช่นเดียวกับ อำเภอหล่มเก่า และ อำเภอหล่มสัก
ที่ตั้งและอาณาเขต[แก้]
อำเภอน้ำหนาวตั้งอยู่ทางทิศตะวันออกเฉียงเหนือของจังหวัด มีอาณาเขตติดต่อกับเขตการปกครองข้างเคียงดังต่อไปนี้
- ทิศเหนือ ติดต่อกับอำเภอหล่มเก่า และอำเภอภูหลวง (จังหวัดเลย) มีแม่น้ำเลยเป็นเส้นแบ่งเขต
- ทิศตะวันออก ติดต่อกับอำเภอภูกระดึง (จังหวัดเลย) มีลำน้ำพองเป็นเส้นแบ่งเขต และอำเภอภูผาม่าน (จังหวัดขอนแก่น) มีลำน้ำเชิญเป็นเส้นแบ่งเขต
- ทิศใต้ ติดต่อกับอำเภอคอนสาร (จังหวัดชัยภูมิ) มีห้วยสนามทรายเป็นเส้นแบ่งเขต
- ทิศตะวันตก ติดต่อกับอำเภอหล่มสักและอำเภอหล่มเก่า
การแบ่งเขตการปกครอง[แก้]
การปกครองส่วนภูมิภาค[แก้]
อำเภอน้ำหนาวแบ่งพื้นที่การปกครองออกเป็น 4 ตำบล 30 หมู่บ้าน ได้แก่
1. | น้ำหนาว | (Nam Nao) | 6 หมู่บ้าน | |||
2. | หลักด่าน | (Lak Dan) | 7 หมู่บ้าน | |||
3. | วังกวาง | (Wang Kwang) | 11 หมู่บ้าน | |||
4. | โคกมน | (Khok Mon) | 6 หมู่บ้าน |
การปกครองส่วนท้องถิ่น[แก้]
ท้องที่อำเภอน้ำหนาวประกอบด้วยองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น 4 แห่ง ได้แก่
- องค์การบริหารส่วนตำบลน้ำหนาว ครอบคลุมพื้นที่ตำบลน้ำหนาวทั้งตำบล
- องค์การบริหารส่วนตำบลหลักด่าน ครอบคลุมพื้นที่ตำบลหลักด่านทั้งตำบล
- องค์การบริหารส่วนตำบลวังกวาง ครอบคลุมพื้นที่ตำบลวังกวางทั้งตำบล
- องค์การบริหารส่วนตำบลโคกมน ครอบคลุมพื้นที่ตำบลโคกมนทั้งตำบล
สถานที่สำคัญ[แก้]
![]() |
บทความเกี่ยวกับเขตการปกครองของประเทศไทยนี้ยังเป็นโครง คุณสามารถช่วยวิกิพีเดียได้โดยการเพิ่มเติมข้อมูล ดูเพิ่มที่ สถานีย่อย:ประเทศไทย |