สโมสรฟุตบอลเมืองกาญจน์ ยูไนเต็ด
ลิงก์ข้ามภาษาในบทความนี้ มีไว้ให้ผู้อ่านและผู้ร่วมแก้ไขบทความศึกษาเพิ่มเติมโดยสะดวก เนื่องจากวิกิพีเดียภาษาไทยยังไม่มีบทความดังกล่าว กระนั้น ควรรีบสร้างเป็นบทความโดยเร็วที่สุด |
ชื่อเต็ม | สโมสรฟุตบอลเมืองกาญจน์ ยูไนเต็ด | ||
---|---|---|---|
ฉายา | ค้างคาวมหากาฬ | ||
ก่อตั้ง | พ.ศ. 2552 | ||
สนาม | สนามกีฬาจังหวัดกาญจนบุรี | ||
ความจุ | 18,000 ที่นั่ง | ||
ประธาน | พีรศักดิ์ ทิพยะวัฒน์ | ||
ผู้จัดการ | กฤษฎา แสงจันทร์ | ||
ผู้ฝึกสอน | ธนะวิทย์ ชวศิลป | ||
ลีก | ไทยแลนด์ อเมเจอร์ลีก | ||
2566 | โซนภาคตะวันตก, รอบแพ้คัดออก | ||
|
สโมสรฟุตบอลเมืองกาญจน์ ยูไนเต็ด เป็นสโมสรฟุตบอลสมัครเล่นในประเทศไทย โดยเป็นทีมจากจังหวัดกาญจนบุรี เคยแข่งขันในไทยลีก 2 เมื่อฤดูกาล 2564–65 ปัจจุบันเล่นในไทยแลนด์ อเมเจอร์ลีก โซนภาคตะวันตก
ประวัติสโมสร
[แก้]สโมสรฟุตบอลเมืองกาญจน์ ก่อตั้งขึ้นโดยชูศักดิ์ แม้นทิม ใน พ.ศ. 2552 โดยเข้าร่วมการแข่งขันฟุตบอลอาชีพครั้งแรก โดยใช้ชื่อ "สโมสรฟุตบอลเมืองกาญจน์ เอฟซี" โดยร่วมการแข่งขันฟุตบอลลีกภูมิภาค ดิวิชัน 2 ฤดูกาล 2553 มี ฐิติ สุโกรัตน์ เป็นหัวหน้าผู้ฝึกสอนคนแรก
ต่อมาในปี พ.ศ. 2555 ได้มีการเปลี่ยนแปลงการบริหารงานสโมสร โดย อิศเรศ รัศมีฤกษ์เศรษฐ์ ได้เข้ามาดำรงตำแหน่งประธานสโมสร ประเทศ บุญยงค์ เป็นผู้จัดการทีม และประเสริฐ ช้างมูล เป็นหัวหน้าผู้ฝึกสอน โดยได้เปลี่ยนชื่อสโมสรเป็น "สโมสรฟุตบอลเมืองกาญจน์ ยูไนเต็ด" โดยใช้ชื่อดังกล่าวเข้าร่วมการแข่งขัน ตั้งแต่ฤดูกาล 2556 เป็นต้นมา
ในการประชุมสภากรรมการ สมาคมกีฬาฟุตบอลแห่งประเทศไทย ครั้งที่ 4 ประจำปี 2565 เมื่อวันที่ 28 มิถุนายน พ.ศ. 2565 ได้มีมติพิจารณากรณีเกี่ยวกับสโมสรที่จะเข้าร่วมการแข่งขัน ไทยลีก 2 ฤดูกาล 2565–66 โดยสโมสรฟุตบอลเมืองกาญจน์ ยูไนเต็ด ไม่ได้รับใบอนุญาตในการเข้าร่วมการแข่งขัน (Club Licensing)[1]
ตราสโมสร
[แก้]ตราประจำสโมสรเป็นรูปค้างคาว โดยมีที่มาจากค้างคาวคุณกิตติซึ่งเป็นสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมที่เล็กที่สุดในโลก โดยถูกค้นพบครั้งแรกที่จังหวัดกาญจนบุรี
สนามเหย้า
[แก้]สโมสรฟุตบอลเมืองกาญจน์ใช้สนามกีฬาจังหวัดกาญจนบุรี (กลีบบัว) เป็นสนามเหย้า โดยสนามแห่งนี้รองรับผู้ชมได้ถึง 18,000 คน เคยถูกใช้งานในไทยลีกและกีฬาเยาวชนแห่งชาติมาแล้ว
ผู้เล่น
[แก้]ผู้เล่นชุดปัจจุบัน
[แก้]หมายเหตุ: ธงชาติที่ปรากฏบ่งบอกให้ทราบว่าผู้เล่นคนนั้นสามารถเล่นให้กับชาติใดตามกฎของฟีฟ่าตามความเหมาะสม เพราะผู้เล่นบางคนอาจถือสองสัญชาติ
|
|
ผลงานของสโมสรในแต่ละฤดูกาล
[แก้]ฤดูกาล | ลีก[2] | เอฟเอคัพ | ลีกคัพ | ผู้ทำประตูสูงสุด | จำนวนประตู | ||||||||
---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|
ลีก | แข่ง | ชนะ | เสมอ | แพ้ | ประตูได้ | ประตูเสีย | คะแนน | อันดับ | |||||
2561 | ไทยลีก 3 โซนตอนบน |
26 | 7 | 9 | 10 | 34 | 41 | 30 | อันดับ 8 | ไม่ได้เข้าร่วม | ไม่ได้เข้าร่วม | ||
2562 | ไทยลีก 3 โซนตอนบน |
24 | 4 | 11 | 9 | 24 | 35 | 23 | อันดับ 10 | รอบคัดเลือก | รอบแรก | ||
2563–64 | ไทยลีก 3 โซนภาคตะวันตก |
17 | 13 | 3 | 1 | 50 | 13 | 42 | อันดับ 1 | รอบ 8 ทีมสุดท้าย | รอบคัดเลือกรอบสอง | ||
2564–65 | ไทยลีก 2 | 34 | 14 | 10 | 10 | 70 | 62 | 52 | อันดับ 7 | รอบ 64 ทีมสุดท้าย | รอบเพลย์ออฟ | ลีอังดรู อัสซัมเซา | 17 |
2566 | ไทยแลนด์ อเมเจอร์ลีก โซนภาคตะวันตก |
2 | 2 | 0 | 1 | 18 | 3 | 6 | N/A | ไม่ได้เข้าร่วม | ไม่สามารถเข้าร่วม |
ชนะเลิศ | รองชนะเลิศ | เลื่อนชั้น | ตกชั้น |
อ้างอิง
[แก้]- ↑ สรุปรายชื่อสโมสรที่ได้สิทธิ์เข้าร่วมการแข่งขัน M-150 แชมเปี้ยนชิพ ฤดูกาล 2565/66
- ↑ King, Ian; Schöggl, Hans & Stokkermans, Karel (20 March 2014). "Thailand – List of Champions". RSSSF. สืบค้นเมื่อ 29 October 2014. Select link to season required from chronological list.