พาต้า
ที่ตั้ง | 630/253 ถนนสมเด็จพระปิ่นเกล้า แขวงบางยี่ขัน เขตบางพลัด กทม. 10700 |
---|---|
เปิดให้บริการ | พาต้าอินทรา (พ.ศ. 2518 - 2546) พาต้าปิ่นเกล้า (พ.ศ. 2525 - ปัจจุบัน) พาต้าหัวหมาก (พ.ศ. 2535 - 2547) |
ผู้บริหารงาน | บริษัท ห้างสรรพสินค้าปิ่นเกล้า จำกัด |
จำนวนชั้น | 7 ชั้น (พาต้าปิ่นเกล้า) |
พาต้า เป็นห้างสรรพสินค้าอยู่ภายใต้การดำเนินงานของ บริษัท ห้างสรรพสินค้าปิ่นเกล้า จำกัด เป็นธุรกิจของตระกูลเสริมศิริมงคล ในอดีต พาต้ามีอยู่ 3 สาขา ได้แก่ พาต้าหัวหมาก พาต้าปิ่นเกล้า และพาต้าอินทรา (ย่านประตูน้ำ) ในปี พ.ศ. 2539 พาต้ายังมีแผนเปิดสาขาบางบัวทอง บริเวณตลาดสมบัติบุรีในปัจจุบัน และสาขา แม่กลองแต่โครงการก็ถูกยกเลิกไปจากภาวะเศรษฐกิจฟองสบู่ 2540[1] ปัจจุบันเหลือเพียงสาขาเดียว คือ พาต้าปิ่นเกล้า
ประวัติ
[แก้]เดิมพาต้าใช้ชื่อว่า ไทย ช้อปปิ้ง เป็นร้านค้า 7 คูหา ในโรงแรมอินทรา ประตูน้ำ เปิดเมื่อ 3 ตุลาคม 2516 ด้วยทุนทรัพย์ 3 แสนบาทของวินัย เสริมศิริมงคลและครอบครัว จนประสบความสำเร็จและขยายมาเป็นห้างสรรพสินค้าพาต้าเมื่อวันที่ 3 กันยายน 2518 [2][3]เพิ่มเงินทุนเป็น 1 ล้านบาท เป็นพาต้าสาขาแรก ให้บริการจนถึง พฤศจิกายน 2546 โดยมีระยะเวลาเช่า 30 ปีกับบริษัท บาโซมา จำกัด เจ้าของโรงแรมอินทรา รีเจนท์ และ อินทรา อาเขต[4]
สาขาที่ 2 คือสาขาปิ่นเกล้า[5] เปิดเมื่อวันที่ 24 ธันวาคม พ.ศ. 2525 โดยทางพาต้าเลือกเอาวันเปิดเพื่อให้สอดคล้องกับพระราชพิธีสมโภชกรุงรัตนโกสินทร์ 200 ปี โดยห้างสรรพสินค้าตั้งอยู่ในอาคารสูง 15 ชั้น พื้นที่ 11 ไร่ ถือเป็นห้างสรรพสินค้าแห่งแรกในย่านฝั่งธนบุรี เป็นห้างแห่งแรกของเมืองไทยที่มีลิฟต์แก้ว ในปี 2526 เปิดตัวโรงภาพยนตร์พาต้า เธียร์เตอร์ที่สาขานี้ พาต้ายังเคยเปิดพาต้าสุกี้เมื่อปี 2530 เป็นอาคารตึกแถว 6 ห้อง สูง 4 ชั้น ใกล้พาต้าปิ่นเกล้า[2] ในอดีตพาต้าปิ่นเกล้า มีกิจกรรมมากมาย เช่น งานศิลปวัฒนธรรม งานล้านนาไทยเทรดแฟร์ อีสานเทรดแฟร์ ทักษิณเทรดแฟร์ เทศกาลของดี 73 จังหวัด และการประกวดพาต้าหนูน้อยคนเก่ง
ส่วนสาขาที่ 3 พาต้าหัวหมาก (ตั้งอยู่ถนนรามคำแหง ปากซอยรามคำแหง 30) เปิดเมื่อวันที่ 20 พฤศจิกายน พ.ศ. 2535 แต่เปิดได้ไม่นานก็ปิดตัวไป[6] สาขานี้เป็นอาคารสูง 5 ชั้น มีพื้นที่การขาย 50,000 ตารางเมตร มีซูเปอร์มาร์เก็ตครอบคลุมพื้นที่ 5,000 ตารางเมตร โรงภาพยนตร์ 3 โรง มีลานโบว์ลิง สนุกเกอร์คลับ และสวนสนุก[2]
พาต้าปิ่นเกล้า
[แก้]พาต้าปิ่นเกล้า เปิดพื้นที่ให้บริการทั้งสิ้น 7 ชั้น โดยชั้น 1 เป็นแผนกสินค้าเครื่องสำอาง และใช้เป็นพื้นที่จัดกิจกรรมส่งเสริมการขายสินค้ารายการต่าง ๆ ชั้นที่ 2 เป็นแผนกสินค้าจิปาถะ ของเล่น ไลฟ์สไตล์ รองเท้า อุปกรณ์กีฬา และของเล่น ส่วนชั้น 3 แผนกอุปกรณ์เครื่องใช้ไฟฟ้า ร้านค้าไอที และชั้น 4 ได้เปิดให้พื้นที่ส่วนหนึ่งเป็นสำนักจัดหางานกรุงเทพมหานครที่ 6 ส่วนชั้น 6 และชั้น 7 เป็นที่ตั้งของสวนสัตว์พาต้า
จากข้อมูลปี 2560 บริษัท ห้างสรรพสินค้าปิ่นเกล้า จำกัด มีรายได้ 114 ล้านบาท โดยกำไร 7 แสนบาท[7] พาต้ามีพื้นที่ทั้งหมด 30,000 ตร.ม. [8]โดยมีสัดส่วนพื้นที่ 25-30% โดยปัจจุบันพาต้าแบ่งพื้นที่ให้เช่าทำธุรกิจ[9] เช่น แมคโดนัลด์, บิ๊กซี (สร้างในพื้นที่ โลตัส โก เฟรช เดิม พื้นที่ 3,000 ตารางเมตร[10] ซึ่งย้ายไปยังสาขาปิ่นเกล้า), มิสเตอร์ ดี.ไอ.วาย, ธนาคารกรุงเทพ, วัตสัน และสถานที่ออกกำลังกายราชันยิม เป็นต้น[11][12] พาต้ามีรายได้จากพันธมิตรประมาณ 30% จากสัดส่วนคิดรายได้พาด้าได้ดังนี้ แผนกดีพาร์ทเมนท์สโตร์ 65-70% แผนกซูเปอร์มาร์เก็ต 20-25% รายได้ค่าเช่าและรายได้อื่น 10% [13]นอกจากนี้ในปี 2561 พาต้าเปิดโรงแรมราคาประหยัด ในชื่อ Tuk Tuk Hostel ในพื้นที่ติดกับห้างพาต้า ปิ่นเกล้า[14]
ปัจจุบันพาต้าปิ่นเกล้าอยู่ในการบริหารของทายาทของตระกูลเสริมสิริมงคลรุ่นที่ 2 เข้ามาสานต่อ ตั้งแต่กันยายน 2563[15]และมีการประกาศลดล้างสต๊อก ลดทั้งห้าง เริ่มตั้งแต่ 8 ตุลาคม - 30 พฤศจิกายน ก่อนเตรียมปรับปรุงรีโนเวตพาต้าแบบใหม่ในรอบ 39 ปี [16] [17][18] โดยก่อนหน้านี้ มีกระแสข่าวว่าห้างพาต้าได้ปิดตัวพร้อมประกาศขายที่ดิน 2 พันล้าน[19] ซึ่งทางผู้บริหารของห้างจะมายืนยันว่าไม่เป็นความจริง[20] ตั้งแต่สิ้นเดือนมกราคม 2565 อาคารพาต้าปิ่นเกล้าได้ปิดให้บริการทั้งหมด เพื่อบูรณะครั้งใหญ่[21] นอกไปจากปรับปรุงโฉมใหม่ของพาต้าปิ่นเกล้าแล้ว ยังมีข่าวภายในธุรกิจค้าปลีกว่าพาต้าได้ติดต่อเจรจาซื้อที่เอดิสันศรีย่านตั้งแต่ปี 2560 เพื่อทำอสังหาริมทรัพย์ โดยคาดการณ์ว่าเมื่อ รถไฟฟ้ามหานคร สายฉลองรัชธรรม ช่วงเตาปูน-ราษฎร์บูรณะ ซึ่งผ่านถนนสามเสนอาจทำให้เกิดการลงทุนมากขึ้น
ในปี 2566 พาต้าปิ่นเกล้ามีการปรับปรุงพื้นที่ รีโนเวทใหม่ทั้งหมด ในรอบ 40 ปี โดยทายาทเข้ามาสานต่อ รวมถึงมีการประกาศหาทีมออกแบบห้าง โดนแผนพัฒนาระบุว่าจะเสร็จภายใน ไตรมาสที่ 4 ปี 2566[22][23]
อ้างอิง
[แก้]- ↑ "สถานการณ์บังคับพาต้าแปลงโฉมตัวเอง" (PDF). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2019-07-30. สืบค้นเมื่อ 30 กรกฎาคม 2562.
{{cite news}}
: ตรวจสอบค่าวันที่ใน:|access-date=
(help) - ↑ 2.0 2.1 2.2 "กำเนิดพาต้าปิ่นเกล้า" (PDF). สืบค้นเมื่อ 30 กรกฎาคม 2562.
{{cite news}}
: ตรวจสอบค่าวันที่ใน:|access-date=
(help)[ลิงก์เสีย] - ↑ อ้างอิงผิดพลาด: ป้ายระบุ
<ref>
ไม่ถูกต้อง ไม่มีการกำหนดข้อความสำหรับอ้างอิงชื่อผู้จัดการรฉบับปี 2547
- ↑ ""อินทรา"รุ่นที่3รื้อค้าปลีกปิดพาต้า-แพลทินัมเสียบ". ผู้จัดการรายวัน. 8 มีนาคม 2547. สืบค้นเมื่อ 30 กรกฎาคม 2562.
{{cite news}}
: ตรวจสอบค่าวันที่ใน:|access-date=
(help)[ลิงก์เสีย] - ↑ "ห้างสรรพสินค้าพาต้า ตำนานค้าปลีก ที่ยังมีลมหายใจ ท่ามกลางมรสุมดิสรัปชัน". โพสต์ทูเดย์. 18 มิถุนายน 2562. สืบค้นเมื่อ 30 กรกฎาคม 2562.
{{cite news}}
: ตรวจสอบค่าวันที่ใน:|access-date=
(help) - ↑ "The Survivors ผ่ายุทธศาสตร์ทางรอดห้างฯ เล็ก". ผู้จัดการออนไลน์. 1 ตุลาคม 2547. สืบค้นเมื่อ 30 กรกฎาคม 2562.
{{cite news}}
: ตรวจสอบค่าวันที่ใน:|access-date=
(help) - ↑ "ส่องรายได้ "พาต้า" หลังเจอข่าวลือปิดกิจการ ทั้งที่ยังยืนหยัดต่อสู้กับห้างใหม่ๆ". สนุก.คอม. 21 มิถุนายน 2562. สืบค้นเมื่อ 30 กรกฎาคม 2562.
{{cite news}}
: ตรวจสอบค่าวันที่ใน:|access-date=
(help) - ↑ ห้างพาต้าโต้ข่าวลือ ยืนยันไม่ปิดกิจการหรือขายห้าง
- ↑ พาต้า ห้างไทยที่อยู่มานาน แม้ไม่เกิดแต่ยังไม่ตาย
- ↑ เทสโก้เสียบพาต้าผุดโฉมใหม่ ผู้จัดการรายวัน 24 พฤศจิกายน 2547
- ↑ "'ห้างพาต้า ปิ่นเกล้า' ออกแถลงการณ์ ยืนยัน 'ยังไม่ปิดกิจการ' หลังข่าวลือปิดห้างสะพัดโซเชียล". เดอะสแตนดาร์ด. 18 มิถุนายน 2562. สืบค้นเมื่อ 30 กรกฎาคม 2562.
{{cite news}}
: ตรวจสอบค่าวันที่ใน:|access-date=
(help) - ↑ "ห้างสรรพสินค้าพาต้า ตำนานค้าปลีก ที่ยังมีลมหายใจ ท่ามกลางมรสุมดิสรัปชัน". โพสต์ทูเดย์. 18 มิถุนายน 2562. สืบค้นเมื่อ 30 กรกฎาคม 2562.
{{cite news}}
: ตรวจสอบค่าวันที่ใน:|access-date=
(help) - ↑ The Survivors ผ่ายุทธศาสตร์ทางรอดห้างฯ เล็ก
- ↑ "ไม่ปรับไม่รอด! ห้างพาต้า ปิ่นเกล้า เบนเข็มเปิดโฮสเทล Tuk Tuk Hostel". โพซิชันนิ่งแม็ก. 17 พฤษภาคม 2561. สืบค้นเมื่อ 30 กรกฎาคม 2562.
{{cite news}}
: ตรวจสอบค่าวันที่ใน:|access-date=
(help) - ↑ เมื่อห้างพาต้าได้เวลาปรับเปลี่ยนเพื่อไปต่อ
- ↑ ยกเครื่องใหม่ “พาต้า ปิ่นเกล้า” ปรับใหญ่รอบ 39 ปี สู้ศึกรีเทลระอุ
- ↑ “พาต้า ปิ่นเกล้า” ประกาศลดล้างสต๊อกทั้งห้าง เริ่ม 8 ต.ค.-30 พ.ย. และเตรียมพบโฉมใหม่เร็วๆ นี้
- ↑ "ไม่ปิดแต่เปลี่ยนแน่ พาต้าปิ่นเกล้า เทขายของลดราคา ก่อนเปลี่ยนโฉม". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2021-10-23. สืบค้นเมื่อ 2021-10-23.
- ↑ ประกาศขายห้างพาต้า ปิ่นเกล้า ราคาเกือบ 2 พันล้าน หรืออวสานห้างในตำนาน
- ↑ ปี 62 แล้ว...ใครปล่อยข่าวอีก? "พาต้า ปิ่นเกล้า" ยันไม่ปิดกิจการ-ไม่ขายห้าง
- ↑ จับตาก้าวที่ท้าทาย เมื่อ ‘พาต้า ปิ่นเกล้า’ หนึ่งในตำนานห้างไทยอายุ 39 ปี ประกาศปรับโฉมใหม่ สู้ศึก ‘รีเทล’
- ↑ "เอาจริง! ปลุกชีวิต"พาต้าปิ่นเกล้า" ห้างสรรพสินค้าในตำนานย่านฝั่งธนฯ". เนชั่นทีวี. 2023-02-24.
- ↑ BRIGHTTV.CO.TH. "'ห้างพาต้า' เตรียมปรับโฉมใหม่ในรอบ 40 ปี หลังทายาทเข้ามารับไม้ต่อ | BRIGHTTV.CO.TH". LINE TODAY.