โรงพยาบาลยันฮี

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
โรงพยาบาลยันฮี
แผนที่
ภูมิศาสตร์
ที่ตั้ง454 ถนนจรัญสนิทวงศ์ แขวงบางอ้อ เขตบางพลัด กรุงเทพมหานคร, ไทย
หน่วยงาน
ประเภทโรงพยาบาลเอกชน
บริการสุขภาพ
จำนวนเตียง400 เตียง
ประวัติ
เปิดให้บริการ24 ตุลาคม พ.ศ. 2527
ลิงก์
เว็บไซต์th.yanhee.net

โรงพยาบาลยันฮี เป็นโรงพยาบาลเอกชน ให้การรักษาพยาบาลโรคทั่วไป ทั้งในระดับปฐมภูมิ ทุติยภูมิ และตติยภูมิในบางสาขา มีศูนย์การรักษา 37 ศูนย์ ครอบคลุมตั้งแต่ศูนย์ศัลยกรรมตกแต่ง ศูนย์รักษา โรคทั่วไป ศูนย์ทันตกรรม และศูนย์แพทย์ทางเลือก มีจุดเด่นด้านการเป็นสถานพยาบาลเสริมความงาม[1]

ประวัติ[แก้]

โรงพยาบาลยันฮีเริ่มก่อตั้งเมื่อ พ.ศ. 2527 โดยเริ่มจากยันฮีโพลีคลินิกแห่งที่ 1 เมื่อวันที่ 24 ตุลาคม พ.ศ. 2527 เป็นตึกแถว 2 คูหา สูง 4 ชั้น ธุรกิจดังกล่าวเกิดจากการลงขันกับแพทย์รวม 7 คน ด้วยเงินทุนก้อนแรก 2 ล้านบาท สาเหตุที่ใช้ชื่อว่า "ยันฮี" เพราะตั้งอยู่หน้าการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.) ซึ่งเดิมคือ การไฟฟ้ายันฮี[2]

ต่อมา พ.ศ. 2532 ได้เปิดยันฮีโพลีคลินิกแห่งที่ 2 บนพื้นที่ 1 ไร่ รองรับผู้ป่วยได้ 28 เตียง ตั้งอยู่บนถนนจรัญสนิทวงศ์ ซอยจรัญสนิทวงศ์ 90 จนเมื่อวันที่ 25 ตุลาคม พ.ศ. 2540 ได้เปิดเป็นโรงพยาบาลขนาด 400 เตียง เป็นอาคารสูง 10 ชั้น[3] บนเนื้อที่ประมาณ 10 ไร่ มีอาคารที่ชื่อ อาคารยันฮี และเมื่อวันที่ 24 ตุลาคม พ.ศ. 2552 เปิดอาคารอีกหลังชื่อ อาคารอินเตอร์ 1 และเปิด อาคารอินเตอร์ 2 เมื่อวันที่ 30 กันยายน พ.ศ. 2552[4]

โรงพยาบาลยันฮีได้ขยายธุรกิจสร้างโรงพยาบาลยันฮี เนิร์สซิ่งโฮม เปิดให้บริการเมื่อ พ.ศ. 2560

ศูนย์การรักษา[แก้]

ศูนย์ความงาม[แก้]

  • ศูนย์ศัลยกรรมตกแต่ง
  • ศูนย์ผิวหนังและเลเซอร์
  • ศูนย์แปลงเพศ
  • ศูนย์เส้นเลือดขอด
  • ศูนย์จุดซ่อนเร้น
  • ศูนย์กำจัดขน
  • ศูนย์แก้ไขศัลยกรรมตกแต่งที่ไม่พึงพอใจจากที่อื่น
  • ศูนย์สัก เพื่อการรักษาและความงาม
  • ศูนย์เปลี่ยนเสียง
  • ศูนย์เสริมสร้างเต้านม
  • ศูนย์ลดน้ำหนัก

ศูนย์ทันตกรรมทั่วไป[แก้]

  • ศูนย์ศัลยกรรมขากรรไกร
  • ศูนย์รักษาโรคทั่วไป

ศูนย์ตรวจสุขภาพ[แก้]

  • ศูนย์ศัลยกรรมทั่วไป
  • ศูนย์หัวใจ
  • ศูนย์ศัลยกรรมกระดูกและข้อ
  • ศูนย์ VO2-Max
  • ศูนย์ศัลยกรรมระบบทางเดินปัสสาวะ
  • ศูนย์สูติ-นรีเวช
  • ศูนย์ทางเดินอาหารและตับ
  • ศูนย์กุมารเวช
  • ศูนย์ผู้สูงอายุ
  • ศูนย์จักษุ
  • ศูนย์วัยทอง
  • ศูนย์เลสิค
  • ศูนย์เบาหวาน
  • ศูนย์ไตเทียม
  • ศูนย์กายภาพบำบัด
  • ศูนย์หู คอ จมูก และโรคภูมิแพ้
  • ศูนย์อายุรกรรม
  • ศูนย์ฝังเข็ม
  • ศูนย์แพทย์ทางเลือก

ศูนย์ล้างลำไส้[แก้]

  • ศูนย์คีเลชั่น
  • ศูนย์ไฮเปอร์แบริค (HBO)
  • ศูนย์แพทย์แผนไทย
  • ศูนย์รักษาโรคด้วยกัญชา

อ้างอิง[แก้]

  1. "ยันฮีทุ่ม1.6พันล้านหวังเป็นฮับความงาม". โพสต์ทูเดย์.
  2. สาวิตรี รินวงษ์. "'วินิจฉัย-ตัดสินใจ' สูตรบริหารโรงพยาบาลยันฮี". กรุงเทพธุรกิจ.
  3. "Yanhee Hospital". health-tourism.com.
  4. "วันก่อตั้ง รพ. ยันฮี".