ผลต่างระหว่างรุ่นของ "พระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าอุรุพงษ์รัชสมโภช"

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
Phudis Sornsetthee (คุย | ส่วนร่วม)
อ้างอิ้งจากกำหนดการเผาพระศพ
ป้ายระบุ: การแก้ไขแบบเห็นภาพ แก้ไขจากอุปกรณ์เคลื่อนที่ แก้ไขจากเว็บสำหรับอุปกรณ์เคลื่อนที่
Armonthap (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
ป้ายระบุ: แก้ไขจากอุปกรณ์เคลื่อนที่ แก้ไขจากเว็บสำหรับอุปกรณ์เคลื่อนที่
บรรทัด 1: บรรทัด 1:
{{Infobox royalty
{{Infobox royalty
| image = Urubongs_Rajsombhoj_and_Prajadhipok_Sakdidej.jpg
| image = Urubongs Rajsombhoj.jpg
| caption = พระองค์เจ้าอุรุพงษ์รัชสมโภช (ซ้าย) ทรงฉายกับ[[พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว]] (ขวา) เมื่อทรงพระเยาว์
| caption = พระองค์เจ้าอุรุพงษ์รัชสมโภช
| title = พระเจ้าบรมวงศ์เธอ ชั้น 5<br>พระองค์เจ้าชั้นเอก
| title = พระเจ้าบรมวงศ์เธอ ชั้น 5<br>พระองค์เจ้าชั้นเอก
| birth_date = {{วันเกิด|2436|10|15}}
| birth_date = {{วันเกิด|2436|10|15}}

รุ่นแก้ไขเมื่อ 01:00, 3 มกราคม 2565

พระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าอุรุพงษ์รัชสมโภช
พระเจ้าบรมวงศ์เธอ ชั้น 5
พระองค์เจ้าชั้นเอก
พระองค์เจ้าอุรุพงษ์รัชสมโภช
ประสูติ15 ตุลาคม พ.ศ. 2436
สิ้นพระชนม์20 กันยายน พ.ศ. 2452 (15 ปี)
ราชวงศ์จักรี
พระบิดาพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว
พระมารดาเจ้าจอมมารดาเลื่อน ในรัชกาลที่ 5

พระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าอุรุพงษ์รัชสมโภช (15 ตุลาคม พ.ศ. 2436 – 20 กันยายน พ.ศ. 2452) เป็นพระราชบุตรพระองค์ที่ 95 ในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ประสูติแต่เจ้าจอมมารดาเลื่อน

พระประวัติ

พระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าอุรุพงษ์รัชสมโภช ประสูติเมื่อวันอาทิตย์ เดือน 11 ขึ้น 4 ค่ำ ปีมะเส็ง เบญจศก จ.ศ. 1255 ตรงกับวันที่ 15 ตุลาคม พ.ศ. 2436 เป็นพระราชโอรสในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว โปรดให้ตามเสด็จรับใช้ใกล้ชิด มาตั้งแต่ยังทรงพระเยาว์เช่นเมื่อคราวเสด็จประพาสต้นครั้งที่ 2 ปี พ.ศ. 2449 และเสด็จประพาสยุโรปครั้งที่ 2 ปี พ.ศ. 2450 พระองค์ก็ได้ตามเสด็จสมเด็จพระบรมชนกนาถด้วยทั้ง 2 ครั้ง เมื่อทรงเจริญถึงวัยที่จะเสด็จไปทรงศึกษาต่อต่างประเทศ เช่นเดียวกับพระราชโอรสพระองค์อื่น ก็ทรงให้เว้นเสีย และให้จ้างครูชาวต่างชาติเข้ามาสอนหนังสือถึงในพระตำหนัก แทนที่จะต้องเสด็จไปศึกษาในต่างประเทศ นอกจากนี้ พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวยังทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้สร้างตำหนักขึ้นภายในพระราชวังดุสิตและพระราชทานนามว่า "ตำหนักราชฤทธิ์รุ่งโรจน์" เพื่อพระราชทานให้ประทับอยู่ใกล้ ๆ[1]

พระเจ้าลูกยาเธอ พระองค์เจ้าอุรุพงษ์รัชสมโภช ประชวรด้วยโรคไส้ตัน สิ้นพระชนม์ด้วยวัยเพียงไม่ถึง 16 พรรษา เมื่อวันพฤหัสบดี เดือน 12 ขึ้น 8 ค่ำ ปีมะเส็งเบญจศก จ.ศ. 1255 ตรงกับวันที่ 20 กันยายน พ.ศ. 2452[2] พระราชทานเพลิงพระศพ ณ พระเมรุ วัดเบญจมบพิตรดุสิตวนาราม

พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงโทมนัสยิ่งนักที่พระราชโอรสสิ้นพระชนม์ ในวันคล้ายวันพระราชสมภพของพระองค์ โปรดเกล้าฯ ให้สร้างสะพานข้ามคลอง เพื่อให้ประชาชนใช้ประโยชน์เป็นสาธารณกุศล ที่เชิงสะพานทั้งสองฝั่งมีพระรูปปั้นหินอ่อนของพระองค์เจ้าอุรุพงศ์รัชสมโภช พระราชทานชื่อสะพานว่า สะพานอุรุพงษ์ จนถึงปัจจุบัน ไม่มีสะพานแห่งนี้แล้ว คงเหลือแต่ชื่อ สะพานอุรุพงษ์ ข้ามแม่น้ำเพชรบุรี อาคารอุรุพงษ์ ภายในวิทยาลัยอาชีวศึกษาเพชรบุรี ถนนอุรุพงษ์ และสี่แยกอุรุพงษ์ ถนนในเขตพื้นที่กรุงเทพมหานคร

พระเกียรติยศ

พระอิสริยยศ

  • 15 ตุลาคม พ.ศ. 2436 – 20 กันยายน พ.ศ. 2452 : พระเจ้าลูกยาเธอ พระองค์เจ้าอุรุพงษ์รัชสมโภช
  • 23 ตุลาคม พ.ศ. 2453 : พระเจ้าน้องยาเธอ พระองค์เจ้าอุรุพงษ์รัชสมโภช
  • 26 พฤศจิกายน พ.ศ. 2468 : พระเจ้าพี่ยาเธอ พระองค์เจ้าอุรุพงษ์รัชสมโภช
  • 10 กรกฎาคม พ.ศ. 2478 : พระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าอุรุพงษ์รัชสมโภช[3]

ตำแหน่ง

  • 22 เมษายน พ.ศ. 2452 กำกับราชการกรมมหาดเล็ก[4]

เครื่องราชอิสริยาภรณ์

พงศาวลี

อ้างอิง

  1. ราชกิจจานุเบกษา, ข่าวพระเจ้าลูกยาเธอ พระองค์เจ้าอุรุพงษ์รัชสมโภชมีมงคลการเสด็จขึ้นตำหนัก, เล่ม 24, ตอน 52, 29 มีนาคม พ.ศ. 2450, หน้า 1409
  2. ข่าวสิ้นพระชนม์
  3. ประกาศ คำนำพระนามพระบรมวงศานุวงศ์
  4. แจ้งความกรมมหาดเล็ก
  5. "พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ ปฐมจุลจอมเกล้าฝ่ายหน้า" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. เล่ม 22 (ตอน 50): หน้า 1150. 11 มีนาคม ร.ศ. 124. สืบค้นเมื่อ 19 มีนาคม พ.ศ. 2564. {{cite journal}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= และ |date= (help)
  6. "พระราชทานเหรียญรัตนาภรณ์ รัชกาลปัจจุบันฝ่ายหน้า" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. เล่ม 25 (ตอน 35): หน้า 1012. 29 พฤศจิกายน ร.ศ. 127. สืบค้นเมื่อ 19 มีนาคม พ.ศ. 2564. {{cite journal}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= และ |date= (help)
  • สมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอ เจ้าฟ้ากัลยาณิวัฒนา กรมหลวงนราธิวาสราชนครินทร์จุฬาลงกรณราชสันตติวงศ์ พระนามพระราชโอรส พระราชธิดา และพระราชนัดดา. กรุงเทพ : สำนักพิมพ์บรรณกิจ, พิมพ์ครั้งที่ 4, พ.ศ. 2548. 136 หน้า. หน้า หน้าที่. ISBN 974-221-746-7
  • อรณี แน่นหนา. นามนี้มีที่มา. กรุงเทพ : สำนักพิมพ์ประพันธ์สาส์น, พ.ศ. 2545. 216 หน้า. หน้า หน้าที่. ISBN 974-230-848-9
  • กิตติพงษ์ วิโรจน์ธรรมากูร. ย้อนรอยราชสกุลวงศ์ "วังหลวง". กรุงเทพ : สำนักพิมพ์ดอกหญ้า, พิมพ์ครั้งที่ 4 พ.ศ. 2549. 304 หน้า. หน้า หน้าที่. ISBN 974-941-205-2
  • ธำรงศักดิ์ อายุวัฒนะ. ราชสกุลจักรีวงศ์ และราชสกุลสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช. กรุงเทพ : สำนักพิมพ์บรรณกิจ, พิมพ์ครั้งที่ 3 พ.ศ. 2544. 490 หน้า. หน้า หน้าที่. ISBN 974-222-648-2

แหล่งข้อมูลอื่น