ข้ามไปเนื้อหา

ฉบับร่าง:สงครามสมรส

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
  • ความคิดเห็น: ส่วนเนื้อเรื่องมีลักษณะไม่เป็นสารานุกรมและละเมิดลิขสิทธิ์เว็บอื่น Just Sayori. OK🡼 (have a chat) 18:25, 25 มิถุนายน 2567 (+07)

รายงานละเมิดลิขสิทธิ์

สงครามสมรส
แนวดราม่า ครอบครัว โรแมนติก
สร้างโดยเดอะ วัน เอ็นเตอร์ไพรส์
เค้าโครงจากคดีรักร้าง
บทประพันธ์เวฬุวลี
บทละครโทรทัศน์พิมพ์มาดา พัฒนอลงกรณ์
วรรณถวิล สุขน้อย
พิมสิรินทร์ พงษ์วานิชสุข
กำกับโดยสันต์ ศรีแก้วหล่อ
นักแสดงทักษอร ภักดิ์สุขเจริญ
ชาคริต แย้มนาม
ภรภัทร ศรีขจรเดชา
ลภัสลัล จิรเวชสุนทรกุล
ผู้ประพันธ์ดนตรีแก่นเรื่องอรัณย์ หนองพล
Bee ETC
อมรสุดา กาญจนภี
อัจฉริยา ดุลยไพบูลย์
ชลทัศน์ ชาญศิริเจริญกุล
ดนตรีแก่นเรื่องเปิดรักที่ไม่มีคำถาม - จิ๋ว ปิยนุช
ดนตรีแก่นเรื่องปิดรักที่ไม่มีคำถาม - จิ๋ว ปิยนุช
อย่าเลย - แอ๊ค โชคชัย
ประเทศแหล่งกำเนิดประเทศไทย
ภาษาต้นฉบับภาษาไทย
จำนวนตอน21
การผลิต
ควบคุมงานสร้างถกลเกียรติ วีรวรรณ
นิพนธ์ ผิวเณร
ความยาวตอน80 นาที
ออกอากาศ
สถานีโทรทัศน์ช่องวัน 31 , oneD
ออกอากาศ18 มีนาคม พ.ศ. 2567 –
3 มิถุนายน พ.ศ. 2567

สงครามสมรส เป็นละครโทรทัศน์ไทยแนวดราม่า ครอบครัว โรแมนติก สร้างจากเค้าโครงบทประพันธ์จากเรื่อง คดีรักร้าง ของ เวฬุวลี (เวฬุรีย์ เมธาวินิจ) ที่ได้รับรางวัลจากการประกวดช่องวันอ่านเอา หมวดนิยายดรามาครอบครัว[1] ผลิตโดย บริษัท เดอะ วัน เอ็นเตอร์ไพรส์ จำกัด (มหาชน) เขียนบทโทรทัศน์โดย พิมพ์มาดา พัฒนอลงกรณ์, ถวิล สุขน้อย และ พิมสิรินทร์ พงษ์วานิชสุข กำกับการแสดงโดย สันต์ ศรีแก้วหล่อ นำเเสดงโดย ทักษอร ภักดิ์สุขเจริญ, ชาคริต แย้มนาม, ภรภัทร ศรีขจรเดชา, ลภัสลัล จิรเวชสุนทรกุล ออกอากาศทางช่องวัน 31 ทุกวันจันทร์ - อังคาร เวลา 20.30 น. ระหว่างวันที่ 18 มีนาคม - 3 มิถุนายน พ.ศ. 2567[2]

ละครเรื่องนี้มีความแตกต่างจากละครเรื่องอื่น ๆ โดยการดำเนินเรื่องด้วยการว่าความในศาลเป็นหลัก (Courtroom Drama) ในการตีแผ่ปัญหาครอบครัว คดีชู้สาว การฟ้องหย่า และสิทธิในการเลี้ยงดูบุตร[3] รวมถึงให้ความรู้ในด้านข้อกฎหมาย สุขภาพจิต การใช้ชีวิต และการดูแลบุตร[4]

งานสร้าง

[แก้]

ละคร สงครามสมรส เริ่มถ่ายทำเมื่อช่วงเดือนกรกฎาคม พ.ศ. 2566 โดยใช้ชื่อเดียวกับนิยาย คือ คดีรักร้าง[5] ต่อมาเมื่อวันที่ 28 พฤศจิกายน พ.ศ. 2566 ช่องวัน 31 ได้เปิดตัวละครโทรทัศน์ที่จะออกอากาศในปี พ.ศ. 2567 ซึ่งรวมถึงการเปิดตัวละครเรื่องนี้ที่เปลี่ยนชื่อเป็น สงครามสมรส[6] และมีพิธีบวงสรวงละครเรื่องนี้ที่อาคารจีเอ็มเอ็ม แกรมมี่ เพลส เมื่อวันที่ 9 มีนาคม พ.ศ. 2567[7]

นักแสดง

[แก้]
ละครโทรทัศน์ พ.ศ. 2567
ตัวละคร นักแสดงหลัก
บัวบงกช (บัว)[8] ทักษอร ภักดิ์สุขเจริญ
ปรเมศวร์ ตรีไพศาลสกุล (เมศ) ชาคริต แย้มนาม
ภาวินท์ ชนะกรชัย (วินท์) ภรภัทร ศรีขจรเดชา
อรนลิน วสันต์วานิช (ลิน) ลภัสลัล จิรเวชสุนทรกุล
ปณต ตรีไพศาลสกุล (ณต) ด.ช.พันธ์ชนกชนม์ พันธ์สังข์
ตัวละคร นักแสดงสมทบ
ศลิษา (ษา) ปานวาด เหมมณี
ญาดา อมรไกร (ดา) เฌอมาวีร์ สุวรรณภาณุโชค
ชนิกานต์ ธาดาหิรัญ (เดียร์) อลิชา หิรัญพฤกษ์
กนกพล ธิติจินดา (พล) พาทิศ พิสิฐกุล
เจ้าสัวอัคระ วสันต์วานิช อธิวัฒน์ สนิทวงศ์ ณ อยุธยา
ปวีณา ตรีไพศาลสกุล ไปรมา รัชตะ
กรกาญจน์ มหาตั้งตระกูล วราไพรินทร์ ธนวริสพร
ภวิตา อมรไกร (เพลิน) ด.ญ.พาขวัญ สหวงษ์
อรรถพล วสันต์วานิช (อรรถ) พศุฑย์ พงศ์พศุตม์
วิรงรอง (วิ) อัจฉรียา โพธิพิพิธธนากร
เอกรัตน์ วสันต์วานิช (เอก) ภานุวัตร ถวิลจินดารัตน์
ธีร์ นรินทร์ ภูวนเจริญ
ตัวละคร นักแสดงรับเชิญ
ท่านผู้พิพากษาหญิง กณิการ์ วีรวรรณ
พ่อของญาดา ชลัฏ ณ สงขลา
ทนายความส่วนตัวของปรเมศวร์ ติณณภพ ผดุงธรรม
- โมฬีวรรณ พันธรักษ์
เต๊นท์ ศรัณย์ นราประเสริฐกุล

เพลงประกอบละคร

[แก้]

การตอบรับ

[แก้]

ละคร สงครามสมรส นอกจากตีแผ่ปัญหาภายในครอบครัว ยังให้ความรู้ในด้านข้อกฎหมาย สุขภาพจิต การใช้ชีวิต และการดูแลบุตร ทำให้ละครเรื่องนี้ประสบความสำเร็จอย่างมาก โดยมีผู้ชมทางทีวีมากกว่า 10 ล้านคน และบนสื่อสังคมทุกช่องทางมากกว่า 220 ล้านวิว[4] ส่งผลให้มีเรตติ้งสูงที่สุดของละครโทรทัศน์ไทยในช่วงเวลาไพรม์ไทม์ของปี พ.ศ. 2567 และสูงที่สุดของช่องวัน 31 แทนวันทอง[11]

ภายหลังละครจบลง ในสื่อสังคมยังมีการเปรียบเทียบละครกับเหตุการณ์จริง ที่ ณพสิน แสงสุวรรณ ฟ้องภรรยาในข้อหายักยอกเงินบริษัท และวิพากษ์วิจารณ์คำพูดในการแถลงข่าวบางส่วนของณพสินเมื่อวันที่ 7 มิถุนายน พ.ศ. 2567 โดยเปรียบเทียบว่ามีความใกล้เคียงกับการแสดงออกของตัวละครปรเมศวร์ในละครสงครามสมรสอย่างมาก[12]

อ้างอิง

[แก้]
  1. เวฬุวลี (6 พฤษภาคม 2024). "'เวฬุวลี' จาก คดีรักร้าง สู่ สงครามสมรส". allmagazine online (Interview). สัมภาษณ์โดย ภิญญ์สินี. สืบค้นเมื่อ 23 มิถุนายน 2024.
  2. "สงครามสมรส ตอนจบ วาระแห่งการพิพากษาครั้งสุดท้าย และบทสรุปชีวิตของทุกคน". สนุก.คอม. 3 มิถุนายน 2024. สืบค้นเมื่อ 23 มิถุนายน 2024.{{cite news}}: CS1 maint: url-status (ลิงก์)
  3. "สงครามสมรส เมื่อรักหมดอายุก็ต้องสู้ด้วยกฎหมาย". เดอะสแตนดาร์ด. 25 มีนาคม 2024. สืบค้นเมื่อ 23 มิถุนายน 2024.{{cite news}}: CS1 maint: url-status (ลิงก์)
  4. 4.0 4.1 "แกะความสำเร็จ "สงครามสมรส" มิติใหม่แห่งละครผัวเมีย ทุบเรตติ้งกระเจิง!". ผู้จัดการออนไลน์. 20 เมษายน 2024. สืบค้นเมื่อ 23 มิถุนายน 2024.{{cite news}}: CS1 maint: url-status (ลิงก์)
  5. "ตามคาด! "คดีรักร้าง" คว้า "แอฟ-ตรี" ประชันบทบาทครั้งยิ่งใหญ่ในชั้นศาล". ดาราเดลี่. 22 กรกฎาคม 2023. สืบค้นเมื่อ 23 มิถุนายน 2024.{{cite news}}: CS1 maint: url-status (ลิงก์)
  6. "เปิดโผละครใหม่ ปี 2567 ช่องวัน 31 จัดเต็มความบันเทิง นางเอกซุปตาร์เสริมทัพสุดปัง". ไทยรัฐ. 2 ธันวาคม 2023. สืบค้นเมื่อ 23 มิถุนายน 2024.{{cite news}}: CS1 maint: url-status (ลิงก์)
  7. ""แอฟ-ตรี" นำทีมบวงสรวง "สงครามสมรส" ยกทีมประกาศสงคราม". สนุก.คอม. 9 มีนาคม 2024. สืบค้นเมื่อ 3 พฤษภาคม 2024.{{cite news}}: CS1 maint: url-status (ลิงก์)
  8. ""แอฟ" หัวจะปวด "ชาคริต" เปิดสงครามชิง "น้องเจ้าคุณ" ในละคร "สงครามสมรส"". ไทยรัฐ. 29 เมษายน 2024. สืบค้นเมื่อ 3 พฤษภาคม 2024.
  9. ""จิ๋ว ปิยนุช" ทำแฟนใจฟู หวนส่งเพลง "รักที่ไม่มีคำถาม" สุดละมุน". นิวออนไลน์. 24 มีนาคม 2024. สืบค้นเมื่อ 23 มิถุนายน 2024.{{cite news}}: CS1 maint: url-status (ลิงก์)
  10. ""แอ๊ค โชคชัย" ปลดล็อกการร้อง ส่งเพลง "อย่าเลย" ฮีลใจ". ไทยรัฐ. 12 เมษายน 2024. สืบค้นเมื่อ 23 มิถุนายน 2024.{{cite news}}: CS1 maint: url-status (ลิงก์)
  11. ""สงครามสมรส" นัมเบอร์วัน เรตติ้งทะลุ 7 ขึ้นแท่น "ละครเรตติ้งสูงที่สุด ปี 2024"". สนุก.คอม. 29 พฤษภาคม 2024. สืบค้นเมื่อ 23 มิถุนายน 2024.{{cite news}}: CS1 maint: url-status (ลิงก์)
  12. "ชาวเน็ตแห่เทียบ หนุ่ม กะลา กับ "ปรเมศวร์ สงครามสมรส" ลั่น! นึกว่ามีแค่ในละคร". ข่าวสด. 8 มิถุนายน 2024. สืบค้นเมื่อ 23 มิถุนายน 2024.{{cite news}}: CS1 maint: url-status (ลิงก์)

แหล่งข้อมูลอื่น

[แก้]