วันทอง

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
(เปลี่ยนทางจาก วันทอง (ละครโทรทัศน์))
วันทอง
สร้างโดยเดอะ วัน เอ็นเตอร์ไพรส์
เค้าโครงจากนิพนธ์ ผิวเณร
พิมพ์มาดา พัฒนอลงกรณ์
พิมสิรินทร์ พงษ์วาณิชสุข
จุติมา แย้มศิริ
บทประพันธ์บทประพันธ์ :
ดัดแปลงจากเสภา เรื่อง ขุนช้างขุนแผน[1]
บทละครโทรทัศน์พิมพ์มาดา พัฒนอลงกรณ์
พิมสิรินทร์ พงษ์วาณิชสุข
จุติมา แย้มศิริ
กำกับโดยสันต์ ศรีแก้วหล่อ
นักแสดงณวัฒน์ กุลรัตนรักษ์
ชาคริต แย้มนาม
ดาวิกา โฮร์เน่
กฤษกร กนกธร
ผู้ประพันธ์ดนตรีแก่นเรื่องอภิสิทธิ์ วงศ์โชติ
ดนตรีแก่นเรื่องเปิดสองใจ - ดา เอ็นโดรฟิน[2]
ดนตรีแก่นเรื่องปิดสองใจ - ดา เอ็นโดรฟิน
ประเทศแหล่งกำเนิดไทย
ภาษาต้นฉบับไทย
จำนวนตอน16 ตอน
การผลิต
ผู้จัดละครถกลเกียรติ วีรวรรณ
นิพนธ์ ผิวเณร
ความยาวตอน130 นาที
ออกอากาศ
สถานีโทรทัศน์ช่องวัน
ออกอากาศ1 มีนาคม พ.ศ. 2564 –
20 เมษายน พ.ศ. 2564
5 มกราคม พ.ศ. 2565 – 29 มกราคม พ.ศ. 2565 (ออกอากาศซ้ำ)

วันทอง เป็นละครโทรทัศน์ไทย ผลิตโดยเดอะ วัน เอ็นเตอร์ไพรส์ นำแสดงโดยณวัฒน์ กุลรัตนรักษ์ ชาคริต แย้มนาม ดาวิกา โฮร์เน่[3] และกฤษกร กนกธร กำกับโดยสันต์ ศรีแก้วหล่อ ออกอากาศตอนแรกในวันที่ 1 มีนาคม พ.ศ. 2564

เนื้อเรื่องมีเนื้อหาตีความใหม่ของเสภาเรื่อง ขุนช้างขุนแผน ในมุมมองของวันทอง เป็นเหตุการณ์สมัยอยุธยาตอนกลาง โดยวันทองเป็นหนึ่งในตัวละครเด่น สาวงามแห่งเมืองสุพรรณ ลูกสาวของบ้านผู้มีฐานะดี มีนิสัยเจ้าคารม ชอบประชดประชัน เสียดสี วันทองเป็นที่หมายปองของชาย 2 คน คือ ขุนช้างและขุนแผน นำไปสู่การแก่งแย่งกันระหว่างทั้งสอง[4]

ผู้เขียนบทประกอบด้วยพิมพ์มาดา พัฒนอลงกรณ์ พิมสิรินทร์ พงษ์วานิชสุข และจุติมา แย้มศิริ เริ่มต้นเขียนบทจากการอ่านนวนิยายก่อนเป็นพื้นฐานและค้นคว้าหาข้อมูลทางประวัติศาสตร์ ปรับตัวละครให้สร้างความรู้สึกว่า "วันทองเกิดผิดยุค" ใช้เวลาเขียนบทนาน 1 ปี 3 เดือน[5]

นักแสดง[แก้]

ละครโทรทัศน์ พ.ศ. 2564
ตัวละคร นักแสดงหลัก
พลายแก้ว / ขุนแผน ณวัฒน์ กุลรัตนรักษ์
ขุนช้าง ชาคริต แย้มนาม
พิมพิลาไลย / วันทอง ดาวิกา โฮร์เน่
พลายงาม / จมื่นไวยวรนาถ กฤษกร กนกธร
ตัวละคร นักแสดงสมทบ
สมเด็จพระพันวษา พันเอก วันชนะ สวัสดี
พระสุริยงเทวี สุจิรา อรุณพิพัฒน์
บัวคลี่ ลัลณ์ลลิน เตจะสา เวศซ์
ลาวทอง เรวิญานันท์ ทาเกิด
น้อย ภัณฑิลา วิน ปานสิริธนาโชติ
สายทอง อริศรา วงษ์ชาลี
เทพทอง ดวงตา ตุงคะมณี
แก้วกิริยา กรกช แข็งขัน
ทองประศรี ปวีณา ชารีฟสกุล
ศรีประจัน อุทุมพร ศิลาพันธ์
ขรัวตาจู รอง เค้ามูลคดี
ศรพระยา เลอวิทย์ สังข์สิทธิ์
โหงพราย วรินทร รัตนสรรค์
กุมารทอง ด.ช.พันธ์ชนกชนม์ พันธ์สังข์
ตัวละคร นักแสดงรับเชิญ
ร่างแปลงของขุนแผน พงศธร จงวิลาส
ร่างแปลงของวันทอง ศกุนตลา เทียนไพโรจน์
ขุนช้าง (วัยเด็ก) ด.ช.กิตติพัฒน์ รุ่งวัฒนไพบูลย์
พิมพิลาไลย / วันทอง (วัยเด็ก) ด.ญ.เอวาริณ เตชะณรงค์
พลายแก้ว / ขุนแผน (วัยเด็ก) ด.ช.ธนพัชญ์ จันทศร
พลายงาม / พระไวย (วัยเด็ก) ด.ช.เมลิค เอเฟ่ย์ ไอย์กูน
หมื่นหาญ ภูธฤทธิ์ พรหมบันดาล
พระพิจิตร คุณากร เกิดพันธุ์
ออกญายมราช พิบูลย์ ท้ายห้วน
ปุโรหิต วัชรชัย สุนทรศิริ
จมื่นศรี ต่อตระกูล จันทิมา
พ่อเฒ่า อัมพร ปานกระโทก
สมุนของหมื่นหาญ สมเดช แก้วลือ
พนา เบ็นซู
ชาวบ้านเมืองกรุงศรีอยุธยา อาท ลำนารายณ์
ชาวบ้านวังตะเคียน ชัชฤทธิ์ วณิชย์พูลผล
หมอแจ้ง ชาลี อิ่มมาก
แสงหล้า ษัณณัช จริยศาสตร์
กระถิน จิดาภา วัชรสินาพร
ทหารพระพิจิตร ปัญญากร ศรมยุรา
เจ๊เฮียง (เจ้าของโรงชำเราบุรุษ) พัฒน์ชนก เอี่ยมสะอาด

อ้างอิง[แก้]

  1. ฉีกภาพจำหญิงสองใจในวรรณคดี "วันทอง 2021" เล่าผ่านมุมมองใหม่ที่หลายคนไม่เคยรู้
  2. “ดา เอ็นโดรฟิน” หวนร่วมงาน “ช่องวัน 31” ปล่อยซิงเกิลใหม่ “สองใจ” ลงละคร “วันทอง”
  3. “ใหม่-ดาวิกา” เค้นอารมณ์สุดอัดอั้น เปิดฉากคดี “วันทอง” หญิงสองใจ
  4. "รู้จัก วันทอง ทำไมถึงถูกตราหน้าจนถึงปัจจุบันว่าเป็น 'หญิงสองใจ'". ทีเอ็นเอ็น.
  5. กันตพงศ์ ก้อนนาค. ""วันทอง" เรื่องของหญิงสองใจ? สัมภาษณ์ทีมเขียนบทละครตีความ วันทอง 2021". ศิลปวัฒนธรรม.