ข้ามไปเนื้อหา

เดอะสตาร์ ค้นฟ้าคว้าดาว

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เดอะสตาร์ ค้นฟ้าคว้าดาว
ภาพสัญลักษณ์รายการเดอะสตาร์ ค้นฟ้าคว้าดาว
ประเภทเรียลลิตีโชว์
สร้างโดยเอ็กแซ็กท์ (ฤดูกาลที่ 1-10)
เดอะ วัน เอ็นเตอร์ไพรส์ และ กันตนา กรุ๊ป (ฤดูกาลที่ 11 - ปัจจุบัน)
พิธีกรภคชนก์ โวอ่อนศรี
เอกชัย เอื้อสังคมเศรษฐ์
วราวุธ โพธิ์ยิ้ม
พีรวัส แสงโพธิรัตน์
กรรมการเพชร มาร์
สุธีศักดิ์ ภักดีเทวา
อรนภา กฤษฎี
บรรยายโดยภคชนก์ โวอ่อนศรี
ดนตรีแก่นเรื่องเปิด"เพื่อดาวดวงนั้น"
ประเทศแหล่งกำเนิดประเทศไทย
ภาษาต้นฉบับภาษาไทย
จำนวนฤดูกาล14
การผลิต
ผู้อำนวยการผลิตถกลเกียรติ วีรวรรณ (เดอะ วัน เอ็นเตอร์ไพรส์)
จาฤก กัลย์จาฤก (กันตนา)
ออกอากาศ
เครือข่ายโมเดิร์นไนน์ทีวี, แอ็กซ์แชนแนล
ออกอากาศ7 ตุลาคม 2546 (2546-10-07) –
27 เมษายน 2557 (2557-04-27)
เครือข่ายช่องวัน 31
ออกอากาศ17 มกราคม 2558 (2558-01-17) –
22 พฤษภาคม 2559 (2559-05-22)
ออกอากาศ22 สิงหาคม 2564 (2564-08-22) –
22 มกราคม 2566 (2566-01-22)
การแสดงที่เกี่ยวข้อง
เดอะสตาร์วันนี้
10 Years of Love เดอะสตาร์ ทีวี สเปเชียล

เดอะสตาร์ ค้นฟ้าคว้าดาว เป็นการประกวดร้องเพลงในแนวเรียลลิตี้โชว์ จัดทำครั้งแรกโดยบริษัทเอ็กแซ็กท์ ในเครือจีเอ็มเอ็ม แกรมมี่ ออกฉายทางโมเดิร์นไนน์ทีวี และย้ายช่องออกอากาศเป็นทางช่องวัน 31 ตั้งแต่ฤดูกาลที่ 11 เป็นต้นมา

พิธีกรและกรรมการ

[แก้]
กรรมการ ฤดูกาล
1 2 3 4 5 6 7 8 9 10 11 12 ไอดอล 2022
เพชร มาร์
อรนภา กฤษฎี
สุธีศักดิ์ ภักดีเทวา
ยุทธนา บุญอ้อม
เมทินี กิ่งโพยม
ปองศักดิ์ รัตนพงษ์
ทรงยศ สุขมากอนันต์
ธนนท์ จำเริญ
ศรัณย์รัชต์ ดีน
ณพสิน แสงสุวรรณ
ธนิดา ธรรมวิมล
จารุวัฒน์ เชี่ยวอร่าม
พิธีกร ฤดูกาล
1 2 3 4 5 6 7 8 9 10 11 12 ไอดอล 2022
พนมกร ตังทัตสวัสดิ์
ณัฐฐาวีรนุช ทองมี
ภคชนก์ โวอ่อนศรี
เอกชัย เอื้อสังคมเศรษฐ์
วราวุธ โพธิ์ยิ้ม
พีรวัส แสงโพธิรัตน์

รูปแบบและกติกาการแข่งขัน

[แก้]

รายการเริ่มต้นโดยการรับสมัครผู้เข้าแข่งจากทั่วประเทศไทย โดยแบ่งออกเป็น 4 ช่วงในแต่ละภาค ได้แก่ ภาคกลาง ภาคอีสาน ภาคเหนือ และภาคใต้ โดยการคัดเลือก กรรมการสามคน คือ เพชร มาร์, สุธีศักดิ์ ภักดีเทวา และอรนภา กฤษฎี จะเป็นผู้วิจารณ์และตัดสิน ผู้ผ่านการคัดเลือกจากแต่ละภาคเข้าร่วมแข่งขันร้องเพลง และแข่งขันกันอีกรอบเพื่อหาตัวแทน 8 คน มาแข่งในรอบสุดท้าย จนได้ผู้ชนะเลิศ

รอบสุดท้ายการแข่งขันจะเป็นการประกวดร้องเพลงตามรูปแบบเพลงที่กำหนด หลังสิ้นสุดการร้อง กรรมการจะวิจารณ์การร้อง รวมถึงการแสดงที่ผ่านมา เมื่อจบรายการจะมีการให้คะแนนจากทาง 100 เสียงในห้องส่ง โดยนับเป็นคะแนน 10% ของคะแนนทั้งหมด และให้ผู้ชมทางบ้านทั้งประเทศส่งคะแนนเข้ามาผ่านทางเอสเอ็มเอสเพื่อโหวต โดยนับเป็นคะแนนอีก 90% ผู้ที่ได้คะแนนน้อยที่สุดในแต่ละสัปดาห์จะถูกคัดออก (ทางรายการจะใช้คำว่า "ไม่ได้ไปต่อ")

ตั้งแต่ปีที่ 12 เป็นต้นไป รูปแบบการแข่งขันจะเปลี่ยนจากการแข่งขันใน 4 ภาค เป็นการคัดเลือกผ่านช่องทางอินเทอร์เน็ต โดยผู้เข้าแข่งขันจะต้องส่งคลิปร้องเพลงของตัวเองความยาวไม่เกิน 3 นาที และเพลงที่ใช้ต้องเป็นเพลงของจีเอ็มเอ็ม แกรมมี่ ในการส่งเข้าร่วมการคัดเลือก และกรรมการทั้งสามคนคือ ยุทธนา บุญอ้อม, เมทินี กิ่งโพยม และปองศักดิ์ รัตนพงษ์ เป็นกรรมการในการคัดเลือก และเปิดคัดเลือกเพิ่มเติมที่ บริษัท จีเอ็มเอ็ม วัน ทีวี จำกัด อาคารจีเอ็มเอ็ม แกรมมี่ เพลส ตามรูปแบบการแข่งขันปกติ จากนั้นจะเข้าสู่รอบคัดเลือก 8 คนสุดท้าย จากผู้สมัครที่ผ่านการคัดเลือกจากช่องทางอินเทอร์เน็ต และการรับสมัครปกติ มาเข้าแข่งขัน โดยเป็นการแข่งขันแบบ Knockout คือทราบผลทันทีหลังจากการแข่งขัน โดยผู้ผ่านเข้ารอบต้องได้คะแนนจากกรรมการ 2 ใน 3 ขึ้นไป ถึงจะผ่านเข้ารอบต่อไป และจะคัดแบบนี้จนกว่าจะเหลือ 8 คนสุดท้ายในที่สุด รวมถึงการแข่งขันในรอบสุดท้ายได้ปรับเปลี่ยนกติกาการให้คะแนนเป็น 3 ส่วน ได้แก่ คะแนนจาก 100 เสียงในห้องส่งคิดเป็น 10% (ให้คะแนนหลังจากการร้องของทุกคนเสร็จสิ้น) คะแนนจากกรรมการ 3 ท่าน คิดเป็น 10% โดยกรรมการจะกดไฟเพื่อให้คะแนน โดยดาวสีเขียวจะได้ 10 คะแนน ดาวสีแดงจะได้ 0 คะแนน (ให้คะแนนหลังจากการร้องของแต่ละคนเสร็จสิ้น) และคะแนนจากผู้ชมทางบ้านทั้งประเทศส่งคะแนนเข้ามาผ่านทางเอสเอ็มเอสเพื่อโหวต โดยนับเป็นคะแนนอีก 80% ผู้ที่ได้คะแนนน้อยที่สุดในแต่ละสัปดาห์จะถูกคัดออก (ทางรายการจะใช้คำว่า "ไม่ได้ไปต่อ")

เพลงเพื่อดาวดวงนั้น

[แก้]

เพลง เพื่อดาวดวงนั้น เป็นเพลงประจำรายการเดอะสตาร์ ค้นฟ้าคว้าดาว ที่ผู้เข้ารอบ 8 คนสุดท้ายจะต้องร้องเปิดการแข่งขันในสัปดาห์แรก คำร้องโดย วิวัฒน์ ฉัตรธีรภาพ ทำนองโดย วีรภัทร์ อึ้งอัมพร โดยมีการเรียบเรียงใหม่ในแต่ละปี เริ่มใช้เพลงประจำรายการในปี 2 และใช้เพลงนี้ต่อมาในทุกปี โดยก่อนหน้านั้นใช้เพลง จุดนัดฝัน เป็นเพลงประจำรายการ เดอะสตาร์ ค้นฟ้าคว้าดาว ปี 1 แต่มีบางปีที่ไม่ได้มีการจัดทำเอ็มวีออกมา เช่น ปี 12 และ เดอะสตาร์ ค้นฟ้าคว้าดาว 2022

คอนเสิร์ต

[แก้]

รวมศิลปิน

[แก้]
  • The Star War Concert (31 มกราคม 2552) (อิมแพ็ค อารีน่า เมืองทองธานี)
  • 5678 The Star in Concert (7 กรกฎาคม 2555) (อิมแพ็ค อารีน่า เมืองทองธานี)
  • 4 โพดำ คอนเสิร์ต Concert in The Theatre (12 - 14 , 20 - 21 กรกฎาคม 2556) (เมืองไทยรัชดาลัย เธียเตอร์)
  • DJs on Stage VS The Star (28 - 29 กันยายน 2556) (รอยัล พารากอน ฮอลล์)
  • 10 Years of Love The Star in Concert (27 - 29 มิถุนายน 2557) (อิมแพ็ค อารีน่า เมืองทองธานี)
  • 7 Wonders Concert (4 - 5 กรกฎาคม 2558) (อิมแพ็ค อารีน่า เมืองทองธานี)
  • 4 โพดำ ตอน Black Magic มนต์ดำ...ปิ๊ดปี๋ (25 - 26 กุมภาพันธ์ 2560) (จีเอ็มเอ็มไลฟ์เฮ้าส์)
  • 7 Wonders Concert 2018 (23 - 24 มิถุนายน 2561) (รอยัล พารากอน ฮอลล์)
  • 4 โพดำ Oh My God (26 - 27 มกราคม 2562) (รอยัล พารากอน ฮอลล์)
  • 10 ปี อสรพิษ กัน ริท โน่ โชว์ (5 - 6 ธันวาคม 2563) (เมืองไทยรัชดาลัย เธียเตอร์)
  • 4 โพดํา คอนเสิร์ต สามดอกจิก (1 - 2 เมษายน 2566 ) ( รอยัล พารากอน ฮออล์ )
  • 20 Years of love เดอะสตาร์ คอนเสิร์ต เดอะสตาร์ ปี 1-12

เฉพาะศิลปิน

[แก้]
  • Bie I Love You Too (5 กุมภาพันธ์ 2551) (เมืองไทยรัชดาลัย เธียเตอร์)
  • Bie Love Attack Concert (24 - 25 พฤษภาคม 2551) (อิมแพ็ค อารีน่า เมืองทองธานี)
  • Bie Love มากมาย (11 - 12 กรกฎาคม 2552) (อิมแพ็ค อารีน่า เมืองทองธานี)
  • Bie Love ไม่กลัว กลัวไม่ Love (8 - 10 กรกฎาคม 2554) (อิมแพ็ค อารีน่า เมืองทองธานี)
  • ถึงไหนถึงกัน คอนเสิร์ต (24 - 25 กันยายน 2554) (รอยัล พารากอน ฮอลล์)
  • Ritz Party Concert รักหนึ่งคำ จดจำตลอดไป (1 เมษายน 2555) (มูนสตาร์ สตูดิโอ)
  • Live 2 Dance Party (15 ธันวาคม 2555) (มูนสตาร์ สตูดิโอ)
  • Summer Concert คิดถึง...ซึ้งป่ะ (21 เมษายน 2556) (มูนสตาร์ สตูดิโอ)
  • NJ's Story Concert (8 - 9 มิถุนายน 2556) (หอประชุมใหญ่ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์)
  • Gun Man Show Concert (14 - 15 กันยายน 2556) (จีเอ็มเอ็มไลฟ์เฮ้าส์)
  • NJ's Concert We Belong 2gether (14 - 16 พฤศจิกายน 2557) (จีเอ็มเอ็มไลฟ์เฮ้าส์)
  • Bie Love 10 ปี ไม่มีหยุด (11 - 12 มิถุนายน 2559) (รอยัล พารากอน ฮอลล์)
  • Ritz Comeback To You Concert (17 - 18 มิถุนายน 2560) (เมืองไทยรัชดาลัย เธียเตอร์)
  • NJ's Story Concert The Original (19 สิงหาคม 2560) (จีเอ็มเอ็มไลฟ์เฮ้าส์)
  • Gam Concert My First Time (19 - 20 พฤษภาคม 2561) (รอยัล พารากอน ฮอลล์)

อ้างอิง

[แก้]

แหล่งข้อมูลอื่น

[แก้]