ข้ามไปเนื้อหา

เดอะสตาร์ ไอดอล

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เดอะสตาร์ ไอดอล
อังกฤษThe Star Idol
ประเภทประกวดร้องเพลง
สร้างโดยเดอะ วัน เอ็นเตอร์ไพรส์
เสนอโดยภคชนก์ โวอ่อนศรี
พีรวัส แสงโพธิรัตน์
กรรมการ
บรรยายโดยภคชนก์ โวอ่อนศรี
ผู้ประพันธ์ดนตรีแก่นเรื่องจักรวาร เสาธงยุติธรรม
ดนตรีแก่นเรื่องเปิดเพื่อดาวดวงนั้น
ประเทศแหล่งกำเนิดประเทศไทย
ภาษาต้นฉบับภาษาไทย
จำนวนตอน16 ตอน
การผลิต
ผู้อำนวยการผลิตถกลเกียรติ วีรวรรณ
สุธาสินี บุศราพันธ์
ชวิศฐานิต ชัยชาติ
ผู้อำนวยการสร้างสราวุธ น้อยน้ำเที่ยง
ศุภกร คดดี
กรธัช โสณเจตน์
สถานที่ถ่ายทำแอ็กซ์ สตูดิโอ
กล้องหลายมุมกล้อง
ความยาวตอน120 นาที
บริษัทผู้ผลิตซีเนริโอ
ออกอากาศ
เครือข่ายช่องวัน 31
ออกอากาศ22 สิงหาคม 2564 (2564-08-22) –
5 ธันวาคม 2564 (2564-12-05)

เดอะสตาร์ ไอดอล (อังกฤษ: The Star Idol) เป็นการแข่งขัน เดอะสตาร์ ค้นฟ้าคว้าดาว ในรูปแบบใหม่ เน้นการหาศิลปินรุ่นใหม่เพื่อประดับวงการ เริ่มรับสมัครผู้เข้าแข่งขันตั้งแต่เดือนพฤษภาคม พ.ศ. 2563 แต่ได้หยุดการรับสมัครลงเนื่องจากการระบาดทั่วของโควิด-19 ในประเทศไทย ก่อนกลับมาเปิดรับสมัครอีกครั้งในเดือนกุมภาพันธ์ พ.ศ. 2564 ในปีนี้มีการเปลี่ยนรูปแบบรายการใหม่ทั้งหมดให้คล้ายกับรายการ The Golden Song เวทีเพลงเพราะ และมีการเปลี่ยนกรรมการเป็นทรงยศ สุขมากอนันต์, ณพสิน แสงสุวรรณ, ธนนท์ จำเริญ และศรัณย์รัชต์ ดีน เนื่องจากเป็นการเปลี่ยนรูปแบบเพื่อเฟ้นหาศิลปินรุ่นใหม่ ทางรายการจึงได้ปรับช่วงอายุผู้เข้าแข่งขันจากเดิมเป็น 15 - 25 ปี ก่อนปรับเป็น 27 ปีในภายหลัง โดยไม่จำกัดสัญชาติผู้เข้าแข่งขัน[1][2]

การรับสมัคร

[แก้]

เดอะสตาร์ ไอดอล มีการประกาศเปิดรับสมัครผู้เข้าแข่งขันตั้งแต่ต้นปี พ.ศ. 2563 แต่ต่อมาได้เลื่อนและเปิดรับสมัครผู้เข้าแข่งขันผ่านระบบออนไลน์เพียงช่องทางเดียว ก่อนเปิดรับสมัครคัดเลือกอีกครั้งที่อาคารจีเอ็มเอ็ม แกรมมี่ เพลส ผ่านการส่งข้อมูลส่วนตัวเพื่อนัดหมายเข้าแข่งขันล่วงหน้าทางหน้าแฟนเพจของเดอะสตาร์ ในเดือนกุมภาพันธ์ พ.ศ. 2564 ปีนี้รายการไม่เปิดให้มีการเดินเข้าตึกเพื่อมาสมัครแข่งขันที่เคยใช้ในซีซั่นที่ผ่านมา ตามนโยบายของจีเอ็มเอ็ม แกรมมี่ และเดอะ วัน เอ็นเตอร์ไพรส์ ในการป้องกันการแพร่ระบาดของโควิด-19

การสมัคร ผู้สมัครต้องอัปโหลดคลิปวิดีโอแสดงความสามารถของตัวเองความยาวไม่เกิน 2 นาที โดยสามารถแสดงความสามารถอะไรก็ได้ เช่น เล่นละคร เล่นดนตรี โชว์ความสามารถพิเศษ หรือหากเป็นการร้องเพลงจะต้องใช้เพลงของจีเอ็มเอ็ม แกรมมี่ในการร้อง เช่นเดียวกับเดอะสตาร์ 12 ผู้สมัคร 1 คนสามารถส่งคลิปวิดีโอได้หลายคลิป แต่คณะกรรมการจะคัดเลือกคลิปที่ดีที่สุดมาใช้ในการตัดสินเพื่อเข้าสู่รอบคัดเลือกรอบ 2

รอบคัดเลือก

[แก้]

รอบคัดเลือก 2

[แก้]

ตอนที่ 1 - 6 ออกอากาศ 22 สิงหาคม - 26 กันยายน 2564

ในรอบนี้รายการจะนำผู้เข้าแข่งขันที่ผ่านจากรอบออดิชันทั้งแบบออฟไลน์และออนไลน์มาแข่งขันรวมกัน โดยการแข่งขันในรอบนี้เป็นรอบคัดเลือกแบบน็อคเอาท์ ผู้เข้าแข่งขันจะต้องร้องเพลงคนละ 1 เพลง แต่ระหว่างการร้องกรรมการสามารถสั่งหยุดการแข่งขันได้เมื่อกดปุ่มสัญญาณหยุดการแข่งขันตั้งแต่สองเสียงขึ้นไป เมื่อถูกสั่งหยุดการแข่งขันกรรมการมีสิทธิ์ที่จะพิจารณาต่อด้วยการให้แสดงความสามารถอื่น ๆ หรืออาจไม่พิจารณาต่อและให้ตกรอบก็ได้ ผู้ที่ได้รับคะแนนเสียงจากกรรมการมากกว่าสามเสียงขึ้นไป จะได้เข้าสู่รอบต่อไป แต่ถ้าไม่ก็ตกรอบทันทีเช่นกัน

ในรอบนี้จะคัดเลือกผู้เข้าแข่งขันที่ผ่านการออดิชั่นรอบแรกทั้งหมด 100 คน ให้เหลือ 20 คนที่มีคะแนนสูงสุดเพื่อเข้าแข่งขันในรอบคัดเลือกรอบ 3 ต่อไป

รายชื่อผู้เข้ารอบ 20 คนสุดท้าย เรียงตามลำดับการเรียกชื่อเพื่อพิจารณาเข้ารอบ
ที่ ผู้เข้าแข่งขัน ภูมิลำเนา เพลงที่ใช้ประกวด 20 คนสุดท้าย
1
ภีม - กฤษฏ์ ศตพรวรากุล สระบุรี รู้ยัง (ต้น ธนษิต)
2
ฟาร์ - ณิชา โสภณพงษ์ นนทบุรี ความทรงจำ (แอม เสาวลักษณ์)
3
หนอนน้ำ - กิจนารัตน์ นันทนรุ่งเรือง นนทบุรี แสนล้านนาที (เบล สุพล)
4
เฟริสท์ - กนกณภัส กองแก้ว เพชรบูรณ์ ความรัก (บอดี้สแลม)
5
เต้ - ดนุพร เห็นพร้อม เชียงใหม่ ดูโง่ ๆ (เสือ ธนพล)
6
ตั้งต้น - จิณภพ ปรารถนาสันติ ภูเก็ต จังหวะหัวใจ (บี้ สุกฤษฎิ์)
7
ภูมิ - พงศ์รชตะ ไชยศิวามงคล กาฬสินธุ์ ยาพิษ (บอดี้สแลม)
8
ไมค์ - ธนพล เถินมงคล ชัยภูมิ ขีดเส้นใต้ (กบ ทรงสิทธิ์)
9
พอร์ช - ตฏิณนนท์ บวรวงศ์วรรณ์ นครราชสีมา ผิดที่ไว้ใจ (ซิลลี่ ฟูลส์)
10
หมีพูห์ - พลวรรธน์ บิลสะเล็ม สมุทรปราการ คืนที่หนึ่ง (ชิน ชินวุฒ)
11
มายด์ - วรัชยา บุญญาลงกรณ์ ลำปาง Señorita (Shawn Mendes, Camila Cabello)
12
ไดร์ม่อน - ณรกร ณิชกุลธนโชติ ราชบุรี ไม่ต้องรู้ว่าเราคบกันแบบไหน (ดา เอ็นโดรฟิน)
13
นิวเยียร์ - มณิสรา โรจนรักษ์ นนทบุรี จีนี่จ๋า (2002 ราตรี)
14
ตัส - ทศวรรษ สิงอุปโป อุดรธานี เรา (ค็อกเทล)
15
อิฐ - รามิล จรูญศักดิ์ กรุงเทพมหานคร แปลไม่ออก (บิวกิ้น พุฒิพงศ์)
16
ไฟว์ - ศิรา สิทธิจารธรรม กรุงเทพมหานคร เกินคำว่ารัก (แคลช)
17
กรณ์ - พลัฏฐ์ ชยุตนิธิโรจน์ ปทุมธานี ช่วงนี้ (อะตอม ชนกันต์)
18
เฟิร์ส - กันตภณ ฤทธิสุวรรณ กรุงเทพมหานคร คำอธิษฐานด้วยน้ำตา (โดม จารุวัฒน์)
19
โอ - ณัทฐ์สุทธา สราญสิริบริรักษ์ ลำพูน เป็นไปไม่ได้ (ดิ อิมพอสซิเบิล)
20
แมดดอค - Maddoc "Madd" Devies กรุงเทพมหานคร ออเจ้าเอย (พีท พล)
21
เตียวหุย - เพชรปรัชญา เหลืองเดชานุรักษ์ เชียงใหม่ ตราบธุลีดิน (ปู่จ๋าน ลองไมค์)
22
เอินเอิน - ฟาติมา เดชะวลีกุล อุบลราชธานี คิดถึงนะ (แพรว คณิตกุล)
23
ครีมมี่ - พลอยปภัส อิสระพงศ์พร นนทบุรี Love The Way You Lie (Eminem ft. Rihanna)
24
ซีมายด์ - ศุภรดา ตั้งชีววิทยาพงษ์ ประจวบคีรีขันธ์ ความเชื่อ (บอดี้สแลม)
25
พอกี้ - ทวีพลธรรม สุวิทยาวัฒน์ กรุงเทพมหานคร มีผลต่อหัวใจ (นนท์ ธนนท์)
26
สตางค์ - ภัทรดนัยฏฟ์ สว่างวรรณ นนทบุรี ปาฏิหารย์ที่รอคอย (ป๊อป ปองกูล)
27
ไข่มุก - เพิร์ลรดา งามรุ่งศิริ กรุงเทพมหานคร ในวันที่เราต้องไกลห่าง (ลุลา)
28
เดียร์เดียร์ - ปริชญา รังสิชัยนิรันดร์ กรุงเทพมหานคร เรื่องของชั้น (M.Y.B.) (จีน่า เดอซูซ่า)
29
เพชร - จักรเพชร ภิบาล น่าน ไม่สมศักดิ์ศรี (ไท ธนาวุฒิ)
30
คอปเปอร์ - เดชาวัต พรเดชาพิพัฒ นครราชสีมา แค่เพียง.. (ตู่ ภพธร)
31
กริช - รัชกฤช อารยชาญศิริ สระบุรี Please (อะตอม ชนกันต์)
32
พี - พีรวิชญ์ พลอยนำพล นครปฐม ฝันถึงแฟนเก่า (ทรีแมนดาวน์)
33
บูม - สหรัฐ เทียมปาน กรุงเทพมหานคร อยู่คนเดียว (เบิร์ด ธงไชย)
34
เพลง - นิรชา มีหล้า กรุงเทพมหานคร ถ่านไฟเก่า (เบิร์ด ธงไชย)
35
พิม - ณิชชญา อู่นนทกานต์ กรุงเทพมหานคร รักแท้หรือแค่เหงา (โบ สุนิตา)
36
โอ๊ค - นันทิพัทธ์ ไกรทัศน์ ภูเก็ต ทางของฝุ่น (อะตอม ชนกันต์)
37
ต้า - ณัฐสุดา เมนะเนตร กรุงเทพมหานคร ใจให้ไป (โอ้ เสกสรรค์)

รอบ Open Stage

[แก้]

ตอนที่ 7 - 8 ออกอากาศ 3 - 10 ตุลาคม 2564

ในรอบนี้ผู้เข้าแข่งขันจะต้องจัดโชว์ของตัวเองคนละ 1 เพลง เมื่อการแสดงจบลงคณะกรรมการจะพิจารณาให้คะแนนเป็นรายบุคคล กรรมการ 1 คน ให้คะแนนได้สูงสุด 100 คะแนน รวม 400 คะแนน โดยในรอบนี้มีกติกาพิเศษ คือกรรมการสามารถกดปุ่ม "Star Buzzer" ได้คนละ 1 ครั้ง เมื่อได้สัญญาณ Star Buzzer จากกรรมการ ไม่ว่าผู้เข้าแข่งขันจะอยู่ในระหว่างการแสดง หลังกรรมการให้คะแนน หรือผู้เข้าแข่งขันกำลังจะตกรอบ ผู้เข้าแข่งขันคนนั้นจะผ่านเข้าสู่รอบถัดไปทันที ในรอบนี้จะคัดเลือกผู้เข้าแข่งขันให้เหลือ 12 คน โดยจะมี 4 คนที่เข้ารอบจากสัญญาณ Star Buzzer และอีก 8 คน เป็นผู้ที่มีคะแนนสะสมสูงสุด 8 อันดับแรก

รายชื่อผู้เข้าแข่งขัน เรียงตามลำดับคะแนนจากมากที่สุดไปน้อยที่สุด
  ผู้ที่ได้รับสัญญาณ Star Buzzer
  ผู้เข้าแข่งขันตกรอบเพราะคะแนนไม่ถึง 8 อันดับแรก
ที่ ผู้เข้าแข่งขัน ภูมิลำเนา เพลงที่ใช้ประกวด คะแนนรวม
พิม - ณิชชญา อู่นนทกานต์ กรุงเทพมหานคร Problem (Ariana Grande/Iggy Azalea)
NONT
บูม - สหรัฐ เทียมปาน กรุงเทพมหานคร เธอเป็นแฟนฉันแล้ว (กะลา)
NUM
คอปเปอร์ - เดชาวัต พรเดชาพิพัฒ นครราชสีมา ความรักกำลังก่อตัว (นนท์ ธนนท์)
319
YONG
โอ - ณัทฐ์สุทธา สราญสิริบริรักษ์ ลำพูน เธอผู้ไม่แพ้ (เบิร์ด ธงไชย)
LYDIA
1
ภูมิ - พงศ์รชตะ ไชยศิวามงคล กาฬสินธุ์ Hello Mama (ไททศมิตร)
371
2 (เสมอ)
เพลง - นิรชา มีหล้า กรุงเทพมหานคร รักที่เป็นจริง (นิว-จิ๋ว)
357
2 (เสมอ)
กรณ์ - พลัฏฐ์ ชยุตนิธิโรจน์ ปทุมธานี กระแซะเข้ามาซิ (เปาวลี พรพิมล)
357
4
เอินเอิน - ฟาติมา เดชะวลีกุล อุบลราชธานี ลาลาลอย (เดอะทอยส์)
350
5
มายด์ - วรัชยา บุญญาลงกรณ์ ลำปาง คืนนี้ไม่เหมือนคืนนั้น (เบิร์ด ธงไชย)
349
6
โอ๊ค - นันทิพัทธ์ ไกรทัศน์ ภูเก็ต ระวัง...คนกำลังเหงา (บี้ สุกฤษฎิ์)
339
7
เตียวหุย - เพชรปรัชญา เหลืองเดชานุรักษ์ เชียงใหม่ จิ๊จ๊ะ (ซิลลี่ฟูลส์)
338
8
แมดดอค - Maddoc "Madd" Devies กรุงเทพมหานคร Too Much, So Much, Very Much (เบิร์ด ธงไชย)
330
9
เพชร - จักรเพชร ภิบาล น่าน ดวงเดือน (โจอี้ ภูวศิษฐ์)
329
10
กริช - รัชกฤช อารยชาญศิริ สระบุรี แพ้คำว่ารัก (แคลอรี่ส์ บลาห์ บลาห์)
320
11
ครีมมี่ - พลอยปภัส อิสระพงศ์พร นนทบุรี หนึ่งคำที่ล้นใจ (พิจิกา)
316
12
เดียร์เดียร์ - ปริชญา รังสิชัยนิรันดร์ กรุงเทพมหานคร เหรอ (ซาซ่า/บุดด้า เบลส)
304
13
พอร์ช - ตฏิณนนท์ บวรวงศ์วรรณ์ นครราชสีมา เพียงรัก (ซิลลี่ฟูลส์)
303
14
ภีม - กฤษฏ์ ศตพรวรากุล สระบุรี มีหัวใจแต่ไม่อยากรัก (เป็ก ผลิตโชค)
283
15
ไข่มุก - เพิร์ลรดา งามรุ่งศิริ กรุงเทพมหานคร O.K. นะคะ (แคทรียา อิงลิช)
282
16
หนอนน้ำ - กิจนารัตน์ นันทนรุ่งเรือง นนทบุรี L.O.V.E (คูณสามซูเปอร์แก๊งค์)
280

รอบคัดเลือก 8 คนสุดท้าย

[แก้]

ตอนที่ 9-10 ออกอากาศ 17-24 ตุลาคม 2564

รอบคัดเลือก 8 คนสุดท้าย ถูกจัดและบันทึกเทปขึ้นในวันอาทิตย์ที่ 8 ตุลาคม พ.ศ. 2564 ณ แอ็กซ์ สตูดิโอ จังหวัดปทุมธานี โดยช่องวัน 31 ออกอากาศ ณ วันที่ 17 และ 24 ตุลาคม 2564 ตั้งแต่เวลา 18.00 น. เป็นต้นไป ในรอบนี้ผู้เข้าแข่งขันทั้ง 12 คนจะต้องจัดโชว์ของตัวเองคนละ 1 เพลงเหมือนรอบ Open Stage ภายใต้โจทย์ "เพลงยุค 90" เมื่อการแสดงจบลงคณะกรรมการจะพิจารณาให้คะแนนเป็นรายบุคคล ในรอบนี้จะคัดเลือกผู้เข้าแข่งขันให้เหลือ 8 คนสุดท้าย โดยแบ่งเป็น 6 คนที่มีคะแนนสูงที่สุด และอีก 2 คน จากการพิจารณาผู้เข้าแข่งขั้นในลำดับที่ 7 - 12 ร่วมกับการใช้ปุ่ม "เซฟชีวิต" โดยกรรมการสองในสี่ต้องใช้ปุ่มเซฟชีวิตพร้อมกัน ถึงจะสามารถพาผู้เข้าแข่งขันเข้าสู่รอบแข่งขันจริงได้

ที่ ผู้เข้าแข่งขัน ภูมิลำเนา เพลงที่ใช้ประกวด 8 คนสุดท้าย
1
พิม - ณิชชญา อู่นนทกานต์ กรุงเทพมหานคร หลับตา (แต๋ม ชรัส)
2
บูม - สหรัฐ เทียมปาน กรุงเทพมหานคร ลึกสุดใจ (โจ จิรายุส และ ก้อง สหรัถ)
3
คอปเปอร์ - เดชาวัต พรเดชาพิพัฒ นครราชสีมา พรุ่งนี้...ไม่สาย (ทาทา ยัง)
4
โอ - ณัทฐ์สุทธา สราญสิริบริรักษ์ ลำพูน เอาไปเลย (ไมโคร)
5
ภูมิ - พงศ์รชตะ ไชยศิวามงคล กาฬสินธุ์ ลน (อ่ำ อัมรินทร์)
6
เพลง - นิรชา มีหล้า กรุงเทพมหานคร อย่าทำ อย่าทำ (นัท มีเรีย)
7
กรณ์ - พลัฏฐ์ ชยุตนิธิโรจน์ ปทุมธานี ฉันจะฝันถึงเธอ (ศรัณย่า ส่งเสริมสวัสดิ์)
8
เอินเอิน - ฟาติมา เดชะวลีกุล อุบลราชธานี รบกวนมารักกัน (ทาทา ยัง)
9
มายด์ - วรัชยา บุญญาลงกรณ์ ลำปาง อีรุงตุงนัง (ญาญ่าญิ๋ง)
10
โอ๊ค - นันทิพัทธ์ ไกรทัศน์ ภูเก็ต ไว้ใจ (หนุ่ย อำพล)
11
เตียวหุย - เพชรปรัชญา เหลืองเดชานุรักษ์ เชียงใหม่ คืนจันทร์ (โลโซ)
12
แมดดอค - Maddoc "Madd" Devies กรุงเทพมหานคร พริกขี้หนู (เบิร์ด ธงไชย)

ผู้เข้ารอบ 8 คนสุดท้าย

[แก้]
ลำดับ
ที่เข้ารอบ
ผู้เข้ารอบ หมายเลขประจำตัว
ของ 8 คนสุดท้าย
วันเกิด 2คนสุดท้าย
1 ภูมิ พงศ์รชตะ ไชยศิวามงคล หมายเลข 4 29 มิถุนายน พ.ศ. 2545 (22 ปี)
2 บูม สหรัฐ เทียมปาน หมายเลข 7 9 มีนาคม พ.ศ. 2547 (20 ปี)
3 คอปเปอร์ เดชาวัต พรเดชาพิพัฒ หมายเลข 8 18 เมษายน พ.ศ. 2549 (18 ปี)
4 แมดดอค แมดดอค เดวีส หมายเลข 1 28 พฤศจิกายน พ.ศ. 2549 (17 ปี)
5 โอ ณัทฐ์สุทธา สราญสิริบริรักษ์ หมายเลข 3 26 พฤษภาคม พ.ศ. 2541 (26 ปี)
6 เอินเอิน ฟาติมา เดชะวลีกุล หมายเลข 5 6 มีนาคม พ.ศ. 2548 (19 ปี)
7 พิม ณิชชญา อู่นนทกานต์ หมายเลข 2 10 สิงหาคม พ.ศ. 2544 (23 ปี)
8 กรณ์ พลัฏฐ์ ชยุตนิธิโรจน์ หมายเลข 6 18 พฤษภาคม พ.ศ. 2541 (26 ปี)

ตารางสรุปการแข่งขัน

[แก้]
รหัส ชื่อ คะแนนโหวตประจำสัปดาห์ ตำแหน่งที่ได้รับ/
โจทย์เพลงในสัปดาห์ที่ไม่ได้ไปต่อ
1 2 3 4 5 6
*7 บูม - สหรัฐ เทียมปาน  2   1  2  2  2 ชนะเลิศ
*4 ภูมิ - พงศ์รชตะ ไชยศิวามงคล  5   5  5 4   1 รองชนะเลิศ
*3 โอ - ณัทฐ์สุทธา สราญสิริบริรักษ์ 7  6  1  1 3 เพลงดัง 100 ล้านวิว และเพลงประกอบภาพยนตร์หรือละคร
*5 เอินเอิน - ฟาติมา เดชะวลีกุล  6   2 4 3 เพลงคู่กับศิลปิน
*8 คอปเปอร์ - เดชาวัต พรเดชาพิพัฒ  1 4 3 เพลงแดนซ์
*6 กรณ์ - พลัฏฐ์ ชยุตนิธิโรจน์  4 3 เพลงร็อค
*1 แมดดอค - แมดดอค เดวีส 8 Be Myself เพลงที่บ่งบอกตัวตน
*2 พิม - ณิชชญา อู่นนทกานต์ 3
  แสดงถึงคะแนนที่มากที่สุดจากการโหวต
  แสดงถึงคะแนนที่น้อยที่สุดจากการโหวต
  แสดงถึงผู้ที่ถูกคัดออกในสัปดาห์นั้น
  แสดงถึงผู้ที่ได้ไปต่อเป็นคนสุดท้ายในสัปดาห์นั้น
  แสดงถึงผู้ชนะเลิศของรายการ
  แสดงถึงรองชนะเลิศอันดับ 1

ลำดับการเรียกชื่อของ 8 ผู้เข้ารอบสุดท้าย

[แก้]

การประกาศชื่อของผู้เข้ารอบต่อไป (ตามลำดับ จนถึงผู้ที่ไม่ได้ไปต่อ)

ลำดับ สัปดาห์
1 2 3 4 5 6
1   บูม   ภูมิ  บูม  บูม  บูม บูม
2   ภูมิ   บูม  โอ  โอ  ภูมิ ภูมิ
3   กรณ์   เอินเอิน   ภูมิ   ภูมิ โอ
4   เอินเอิน   โอ  เอินเอิน เอินเอิน
5  คอปเปอร์  คอปเปอร์ คอปเปอร์
6   โอ กรณ์
7 พิม
8 แมคดอค

ลำดับเพลงและเหตุการณ์ในการแข่งขัน

[แก้]

สัปดาห์ที่ 1

[แก้]

ตอนที่ 11 ออกอากาศ 31 ตุลาคม 2564

ในสัปดาห์ที่ 1 เป็นการแข่งขันในหัวข้อ "Be Myself เพลงที่บ่งบอกถึงตัวตน" (31 ตุลาคม พ.ศ. 2564) มีรายละเอียดดังนี้

รหัส ชื่อ เพลงที่ร้อง คะแนนโหวตกลางสัปดาห์ อันดับคะแนนโหวต
(คิดเป็น 50%)
8 คนสุดท้าย The Star Idol เพื่อดาวดวงนั้น
*7 บูม - สหรัฐ เทียมปาน แรงโน้มถ่วง (ทเวนตีไฟฟ์อาเวอส์) 15.24% 2
*2 พิม - ณิชชญา อู่นนทกานต์ รักเอย (ดา เอ็นโดรฟิน) 18.78% 3
*6 กรณ์ - พลัฏฐ์ ชยุตนิธิโรจน์ กำนันทองหล่อ (ป๊อป ปองกูล feat. โอ๊ต ปราโมทย์) 4
*4 ภูมิ - พงศ์รชตะ ไชยศิวามงคล สุดใจ (ปู พงษ์สิทธิ์) 11.42% 5
*3 โอ - ณัทฐ์สุทธา สราญสิริบริรักษ์ ฤดูที่แตกต่าง (บอย โกสิยพงษ์) 7
*1 แมดดอค - แมดดอค เดวีส ขอใจเธอแลกเบอร์โทร (หญิงลี ศรีจุมพล) 8
*8 คอปเปอร์ - เดชาวัต พรเดชาพิพัฒ ภาพจำ (ป๊อป ปองกูล) 23.88% 1
*5 เอินเอิน - ฟาติมา เดชะวลีกุล ใกล้ (สครับบ์) 11.10% 6
หมายเหตุ
  • ตารางพื้นสีเหลือง หมายถึง 3 อันดับสุดท้าย (รวมกันได้ 19.58%) ไม่เปิดเผยคะแนน
  • พื้นสีแดง หมายถึง ผู้ที่มีคะแนนโหวตน้อยที่สุดในสัปดาห์นั้น ๆ ทั้งนี้รายการไม่มีการเปิดเผยคะแนนโหวตประจำสัปดาห์

ในแต่ละสัปดาห์จะมีผู้เข้าแข่งขันเดอะสตาร์ในปีที่ผ่านมา ผลัดเปลี่ยนหมุนเวียนขึ้นมาเป็นกรรมการร่วมให้คะแนน (คิดเป็น 10% ของคะแนนรวม) และร่วมร้องเพลงในช่วงที่ 6 ของรายการ ซึ่งในสัปดาห์นี้คือ นภัทร อินทร์ใจเอื้อ (กัน), วิชญาณี เปียกลิ่น (แก้ม), จารุวัฒน์ เชี่ยวอร่าม (โดม), วราวุธ โพธิ์ยิ้ม (ตั้ม) จาก 4 โพดำ และผู้ที่ไม่ได้ไปต่อในสัปดาห์นี้ มี 2 คน คือ แมดดอค เดวีส (แมดดอค หมายเลข 1) และ ณิชชญา อู่นนทกานต์ (พิม หมายเลข 2)

สัปดาห์ที่ 2

[แก้]

ตอนที่ 12 ออกอากาศ 7 พฤศจิกายน 2564

ในสัปดาห์ที่ 2 เป็นการแข่งขันในหัวข้อ "เพลงร็อค" (7 พฤศจิกายน พ.ศ. 2564) มีรายละเอียดดังนี้

รหัส ชื่อ เพลงที่ร้อง คะแนนโหวตกลางสัปดาห์ อันดับคะแนนโหวต
(คิดเป็น 50%)
*6 กรณ์ - พลัฏฐ์ ชยุตนิธิโรจน์ ไม่มีเธอไม่ตาย (แก้ม วิชญาณี) 22.05% 3
*5 เอินเอิน - ฟาติมา เดชะวลีกุล แสงสุดท้าย (บอดี้สแลม) 19.93% 2
*4 ภูมิ - พงศ์รชตะ ไชยศิวามงคล เพราะว่ารัก (เรทโทรสเปค) 5
*8 คอปเปอร์ - เดชาวัต พรเดชาพิพัฒ ซักซี้ดนึง (พาราดอกซ์) 17.94% 4
*7 บูม - สหรัฐ เทียมปาน เมื่อรักฉันเกิด (ซิลลี่ ฟูลส์) 1
*3 โอ - ณัทฐ์สุทธา สราญสิริบริรักษ์ นักโทษประหาร (แมว จิรศักดิ์) 15.92% 6
หมายเหตุ
  • ตารางพื้นสีเหลือง หมายถึง 2 อันดับสุดท้าย (รวมกันได้ 24.16%) ไม่เปิดเผยคะแนน
  • พื้นสีแดง หมายถึง ผู้ที่มีคะแนนโหวตน้อยที่สุดในสัปดาห์นั้น ๆ ทั้งนี้รายการไม่มีการเปิดเผยคะแนนโหวตประจำสัปดาห์

ในแต่ละสัปดาห์จะมีผู้เข้าแข่งขันเดอะสตาร์ในปีที่ผ่านมา ผลัดเปลี่ยนหมุนเวียนขึ้นมาเป็นกรรมการร่วมให้คะแนน (คิดเป็น 10% ของคะแนนรวม) และร่วมร้องเพลงในช่วงที่ 6 ของรายการ ซึ่งในสัปดาห์นี้คือ อรรถพล ประกอบของ (เอ็ม), ยุทธนา เปื้องกลาง (ตูมตาม), กฤษกร กนกธร (ตงตง) รวมถึงมีแขกพิเศษที่ร่วมร้องเพลง คือ วิโอเลต วอเทียร์ (วี) และผู้ที่ไม่ได้ไปต่อในสัปดาห์นี้คือ พลัฏฐ์ ชยุตนิธิโรจน์ (กรณ์ หมายเลข 6)

สัปดาห์ที่ 3

[แก้]

ตอนที่ 13 ออกอากาศ 14 พฤศจิกายน 2564

ในสัปดาห์ที่ 3 เป็นการแข่งขันในหัวข้อ "เพลงแดนซ์" (14 พฤศจิกายน พ.ศ. 2564) มีรายละเอียดดังนี้

รหัส ชื่อ เพลงที่ร้อง อันดับคะแนนโหวต
(กลางสัปดาห์)
อันดับคะแนนโหวต
(วันแข่งขัน)
*4 ภูมิ - พงศ์รชตะ ไชยศิวามงคล รักคุณยิ่งกว่าใคร (ก็อต จักรพันธ์) 3 5
*5 เอินเอิน - ฟาติมา เดชะวลีกุล เด็ด (พิกซี่) 5 4
*8 คอปเปอร์ - เดชาวัต พรเดชาพิพัฒ ณ บัด NOW (บี้ สุกฤษฎิ์) 4 3
*3 โอ - ณัทฐ์สุทธา สราญสิริบริรักษ์ เจ้าช่อมาลี (มิสเตอร์ทีม) 1 1
*7 บูม - สหรัฐ เทียมปาน ด้วยรักและปลาทู (มอส ปฏิภาณ) 2 2
หมายเหตุ
  • ตารางพื้นสีเหลือง หมายถึง 2 อันดับสุดท้าย ทั้งนี้ทางรายการไม่มีการเปิดเผยคะแนนโหวตกลางสัปดาห์
  • พื้นสีแดง หมายถึง ผู้ที่มีคะแนนโหวตน้อยที่สุดในสัปดาห์นั้น ๆ ทั้งนี้รายการไม่มีการเปิดเผยคะแนนโหวตประจำสัปดาห์

ในแต่ละสัปดาห์จะมีผู้เข้าแข่งขันเดอะสตาร์ในปีที่ผ่านมา ผลัดเปลี่ยนหมุนเวียนขึ้นมาเป็นกรรมการร่วมให้คะแนน (คิดเป็น 10% ของคะแนนรวม) และร่วมร้องเพลงในช่วงที่ 6 ของรายการ ซึ่งในสัปดาห์นี้คือ กรณ์ภัสสร ด้วยเศียรเกล้า (แกรนด์), กรณ์ ศิริสรณ์ (กั้ง) และ กันต์ธีร์ ปิติธัญ (ซีดี) และผู้ที่ไม่ได้ไปต่อในสัปดาห์นี้คือ เดชาวัต พรเดชาพิพัฒ (คอปเปอร์ หมายเลข 8)

สัปดาห์ที่ 4

[แก้]

ตอนที่ 14 ออกอากาศ 21 พฤศจิกายน 2564

ในสัปดาห์ที่ 4 เป็นการแข่งขันในหัวข้อ "เพลงคู่กับศิลปิน" (21 พฤศจิกายน พ.ศ. 2564) มีรายละเอียดดังนี้

รหัส ชื่อ เพลงที่ร้อง ร้องคู่กับ อันดับคะแนนโหวต
(กลางสัปดาห์)
อันดับคะแนนโหวต
(วันแข่งขัน)
*3 โอ - ณัทฐ์สุทธา สราญสิริบริรักษ์ พูดทำไม (ตู่ ภพธร) ภพธร สุนทรญาณกิจ 3 1
*5 เอินเอิน - ฟาติมา เดชะวลีกุล คั่นกู (ไบรท์ วชิรวิชญ์) สุกฤษฎิ์ วิเศษแก้ว 4 3
*7 บูม - สหรัฐ เทียมปาน สองใจ (ดา เอ็นโดรฟิน) ธนิดา ธรรมวิมล (ดา เอ็นโดรฟิน) 1 2
*4 ภูมิ - พงศ์รชตะ ไชยศิวามงคล ดึงดัน (ค็อกเทล x ตั๊ก ศิริพร) วิชญาณี เปียกลิ่น 2 4
หมายเหตุ
  • ตารางพื้นสีเหลือง หมายถึง ผู้ที่มีคะแนนโหวตกลางสัปดาห์น้อยที่สุด ทั้งนี้ทางรายการไม่มีการเปิดเผยคะแนนโหวตกลางสัปดาห์
  • พื้นสีแดง หมายถึง ผู้ที่มีคะแนนโหวตน้อยที่สุดในสัปดาห์นั้น ๆ ทั้งนี้รายการไม่มีการเปิดเผยคะแนนโหวตประจำสัปดาห์

ในแต่ละสัปดาห์จะมีผู้เข้าแข่งขันเดอะสตาร์ในปีที่ผ่านมา ผลัดเปลี่ยนหมุนเวียนขึ้นมาเป็นกรรมการร่วมให้คะแนน (คิดเป็น 10% ของคะแนนรวม) และร่วมร้องเพลงในช่วงที่ 6 ของรายการ ซึ่งในสัปดาห์นี้คือ นภัสสร ภูธรใจ (นิว) และ ปิยนุช เสือจงพรู (จิ๋ว) รวมถึงมีแขกพิเศษที่ร่วมร้องเพลง คือ พุฒิพงศ์ อัสสรัตนกุล (บิวกิ้น) และ กฤษฏ์ อำนวยเดชกร (พีพี) และผู้ที่ไม่ได้ไปต่อในสัปดาห์นี้คือ ฟาติมา เดชะวลีกุล (เอินเอิน หมายเลข 5)

สัปดาห์ที่ 5

[แก้]

ตอนที่ 15 ออกอากาศ 28 พฤศจิกายน 2564

ในสัปดาห์ที่ 5 เป็นการแข่งขันในหัวข้อ "เพลงดัง 100 ล้านวิว" และ "เพลงประกอบภาพยนตร์ หรือละคร" (28 พฤศจิกายน พ.ศ. 2564) มีรายละเอียดดังนี้

รหัส ชื่อ เพลงดัง 100 ล้านวิว เพลงประกอบภาพยนตร์ หรือละคร อันดับคะแนนโหวต
(กลางสัปดาห์)
อันดับคะแนนโหวต
(วันแข่งขัน)
*3 โอ - ณัทฐ์สุทธา สราญสิริบริรักษ์ จำเลยรัก (ฟักกลิ้งฮีโร่ ft. เทอร์โบ) คนไม่สำคัญ (พลพล พลกองเส็ง) 3 3
*4 ภูมิ - พงศ์รชตะ ไชยศิวามงคล กลับคำสาหล่า (ไมค์ ภิรมย์พร) กุมภาพันธ์ (ปีเตอร์ คอร์ป ไดเรนดัล) 1 1
*7 บูม - สหรัฐ เทียมปาน คิด(แต่ไม่)ถึง (ทิลลี่เบิร์ด) ใครคิดถึง (เบิร์ด ธงไชย) 2 2
หมายเหตุ
  • ตารางพื้นสีเหลือง หมายถึง ผู้ที่มีคะแนนโหวตกลางสัปดาห์น้อยที่สุด ทั้งนี้ทางรายการไม่มีการเปิดเผยคะแนนโหวตกลางสัปดาห์
  • พื้นสีแดง หมายถึง ผู้ที่มีคะแนนโหวตน้อยที่สุดในสัปดาห์นั้น ๆ ทั้งนี้รายการไม่มีการเปิดเผยคะแนนโหวตประจำสัปดาห์

ในแต่ละสัปดาห์จะมีผู้เข้าแข่งขันเดอะสตาร์ในปีที่ผ่านมา ผลัดเปลี่ยนหมุนเวียนขึ้นมาเป็นกรรมการร่วมให้คะแนน (คิดเป็น 10% ของคะแนนรวม) และร่วมร้องเพลงในช่วงที่ 6 ของรายการ ซึ่งในสัปดาห์นี้คือ นภัทร อินทร์ใจเอื้อ (กัน), ภาคิน คำวิลัยศักดิ์ (โตโน่) และ ธนทัต ชัยอรรถ (แกงส้ม) และผู้ที่ไม่ได้ไปต่อในสัปดาห์นี้คือ ณัทฐ์สุทธา สราญสิริบริรักษ์ (โอ หมายเลข 3)

สัปดาห์ที่ 6 (สุดท้าย)

[แก้]

ตอนที่ 16 (ตอนจบ) ออกอากาศ 5 ธันวาคม 2564

ในสัปดาห์ที่ 6 เป็นการแข่งขันรอบชิงชนะเลิศ โดย 2 คนสุดท้ายจะต้องร้องเพลงปิดท้ายการแข่งกันคนละ 1 เพลง (5 ธันวาคม พ.ศ. 2564) มีรายละเอียดดังนี้

รหัส ชื่อ เพลงที่ร้อง
*7 บูม - สหรัฐ เทียมปาน ปล่อย (ปองกูล สืบซึ้ง)
*4 ภูมิ - พงศ์รชตะ ไชยศิวามงคล ก้อนหินละเมอ (โซลอาฟเตอร์ซิกซ์)

นอกจากนี้ ยังได้รวม 6 คนที่ไม่ได้ไปต่อ ในเดอะสตาร์ ไอดอล กลับมาอีกครั้ง และยังมีรุ่นพี่จากเดอะสตาร์ปีก่อน ๆ มาร่วมเป็นกรรมการร่วมให้คะแนน (คิดเป็น 10% ของคะแนนรวม) และร่วมร้องเพลงร่วมกับผู้เข้าแข่งขันจากเดอะสตาร์ ไอดอล ทั้ง 8 คนด้วย ได้แก่ 4 โพดำ (นภัทร อินทร์ใจเอื้อ (กัน), วิชญาณี เปียกลิ่น (แก้ม), จารุวัฒน์ เชี่ยวอร่าม (โดม), วราวุธ โพธิ์ยิ้ม (ตั้ม)), ภาคิน คำวิไลศักดิ์ (โตโน่), เรืองฤทธิ์ ศิริพานิช (ริท), ศุภรุจ เตชะตานนท์ (รุจ) และ ศุภัคชญา สุขใบเย็น (เฟรม Wonderframe)

ในปีนี้เดอะสตาร์ ไอดอล คนแรกของเมืองไทย ได้แก่ สหรัฐ เทียมปาน (บูม หมายเลข 7) ส่วนรองชนะเลิศในปีนี้คือ พงศ์รชตะ ไชยศิวามงคล (ภูมิ หมายเลข 4)

รางวัล

[แก้]
ปี รางวัล สาขา เสนอชื่อเข้าชิง ผล
2565 Thailand Zocial Awards 2022[3] Best Entertainment on Social Media สาขารายการโทรทัศน์ เดอะสตาร์ ไอดอล เสนอชื่อเข้าชิง

อ้างอิง

[แก้]
  1. 15 พ.ค. เปิดรับสมัคร “THE STAR IDOL” เดินหน้าค้นหาดาวดวงใหม่แบบออนไลน์ทั่วประเทศ
  2. “The Star Idol หล่อ สวย เสียงได้” เริ่มสตาร์ทการออดิชั่น!! ผู้สมัครแท็คทีมอวดความสามารถ ร้อง-เต้นจัดเต็ม
  3. "THAILAND ZOCIAL AWARDS ครั้งที่ 10 งานประกาศรางวัลโซเชียลที่ยิ่งใหญ่ที่สุด". สปริงนิวส์. 2022-02-22. สืบค้นเมื่อ 2022-02-22.