The Golden Song เวทีเพลงเพราะ
The Golden Song เวทีเพลงเพราะ | |
---|---|
ประเภท | การประกวดร้องเพลง |
สร้างโดย | ชวิศฐานิต ชัยชาติ |
พิธีกร | |
กรรมการ | |
ดนตรีโดย | จักรวาร เสาธงยุติธรรม |
ประเทศแหล่งกำเนิด | ประเทศไทย |
ภาษาต้นฉบับ | ภาษาไทย |
จำนวนฤดูกาล | 6 |
จำนวนตอน | 124+29 (ณ 27 สิงหาคม 2566) |
การผลิต | |
ผู้อำนวยการผลิต |
|
สถานที่ถ่ายทำ | แอ็กซ์ สตูดิโอ |
กล้อง | หลายกล้อง |
ความยาวตอน | 90-120 นาที |
บริษัทผู้ผลิต | เดอะ วัน เอ็นเตอร์ไพรส์ |
ออกอากาศ | |
เครือข่าย | ช่องวัน 31 |
ออกอากาศ | 1 กันยายน 2562 – ปัจจุบัน |
การแสดงที่เกี่ยวข้อง | |
The Golden Singer เวทีเสียงเพราะ |
The Golden Song เวทีเพลงเพราะ เป็นรายการโทรทัศน์ประเภทเรียลลิตีโชว์ประกวดร้องเพลงที่มุ่งเน้นการถ่ายทอด ส่งเสริม และอนุรักษ์เพลงไทยในยุคดั้งเดิมเป็นหลัก ผลิตโดย บริษัท เดอะ วัน เอ็นเตอร์ไพรส์ จำกัด (มหาชน) ออกอากาศทางช่องวัน 31 ครั้งแรกเมื่อวันที่ 1 กันยายน พ.ศ. 2562 จนถึงปัจจุบัน ออกอากาศมาแล้วทั้งหมด 6 ฤดูกาล
รูปแบบรายการ
[แก้]The Golden Song เวทีเพลงเพราะ เป็นรายการประกวดร้องเพลงที่ใช้เพลงไทยที่มีชื่อเสียงในยุคดั้งเดิม เช่น เพลงไทยเดิม เพลงสุนทราภรณ์ เพลงลูกกรุง และเพลงไทยสากลที่บันทึกเสียงและได้รับความนิยมในยุค 70 และยุค 80 ซึ่งในรายการจะเรียกบทเพลงกลุ่มนี้ว่า "บทเพลงทองคำ (Golden Song)" มาเป็นโจทย์หลักในการประกวด เพื่อการส่งเสริมและอนุรักษ์เป็นหลัก ซึ่งผู้เข้าแข่งขันทุกคนจะได้รับคำแนะนำในการร้องเพลงเหล่านี้จาก ครูเจี๊ยบ - นนทิยา จิวบางป่า นักร้องยอดเยี่ยมแห่งประเทศไทย จากการประกวดร้องเพลงถ้วยพระราชทานชิงชนะเลิศแห่งประเทศไทย หรือในชื่อ นิสสัน อวอร์ด เมื่อปี พ.ศ. 2531 และทุกบทเพลงจะถูกเรียบเรียงดนตรีใหม่โดย หนึ่ง - จักรวาร เสาธงยุติธรรม โปรดิวเซอร์ดนตรีที่มีชื่อเสียง ให้มีความทันสมัย และเข้ากับรูปแบบการถ่ายทอดบทเพลงของผู้เข้าแข่งขันแต่ละคน[1] โดยการแข่งขันในแต่ละฤดูกาลแบ่งออกเป็น 4 รอบ ดังนี้
รอบทดสอบความสามารถ
[แก้]ผู้เข้าแข่งขันจะต้องร้องเพลงที่เลือกมา ภายในเวลา 90 วินาที หากกรรมการต้องการฟังผู้เข้าแข่งขันร้องเพลงต่อจนจบเพลง สามารถกดปุ่มที่ตั้งไว้ด้านหน้าคณะกรรมการได้จนกว่าจะครบกำหนดเวลา โดยเกณฑ์การเข้ารอบมีดังนี้
- ฤดูกาลที่ 1
- หากผู้เข้าแข่งขันได้รับการกดปุ่มจากคณะกรรมการ 3 คนขึ้นไป ผู้เข้าแข่งขันจะได้ขับร้องจนจบเพลง และผ่านเข้ารอบคัดกรองทันที
- หากผู้เข้าแข่งขันได้รับการกดปุ่มจากคณะกรรมการ 2 คน เมื่อครบ 90 วินาที จะหยุดบรรเลงเพลง แต่กรรมการอีก 2 คนที่ยังไม่กดปุ่มให้จะพิจารณาผู้เข้าแข่งขันอีกครั้ง
- หากผู้เข้าแข่งขันได้รับการกดปุ่มจากคณะกรรมการเพียง 1 คน หรือไม่ได้รับการกดปุ่มเลย เมื่อครบ 90 วินาที จะหยุดบรรเลงเพลง และผู้เข้าแข่งขันจะตกรอบทันที
- ตั้งแต่ฤดูกาลที่ 2 เป็นต้นมา
- หากผู้เข้าแข่งขันได้รับการกดปุ่มจากคณะกรรมการ 3 คนขึ้นไป ผู้เข้าแข่งขันจะได้ขับร้องจนจบเพลง และกรรมการจะพิจารณาผู้เข้าแข่งขันอีกครั้ง หากได้รับคะแนนเสียงตั้งแต่ 3 เสียงขึ้นไป ผู้เข้าแข่งขันจะผ่านเข้ารอบคัดกรอง
- หากผู้เข้าแข่งขันได้รับการกดปุ่มจากคณะกรรมการเพียง 1 หรือ 2 คน หรือไม่ได้รับการกดปุ่มเลย เมื่อครบ 90 วินาที จะหยุดบรรเลงเพลง และผู้เข้าแข่งขันจะตกรอบทันที
หลังเสร็จสิ้นการแข่งขันในรอบนี้ คณะกรรมการจะคัดกรองผู้เข้าแข่งขันอีกครั้ง เพื่อให้เหลือผู้เข้าแข่งขันในรอบที่ 2 จำนวน 24 คน (ฤดูกาลที่ 1) หรือ 42 คน (ฤดูกาลที่ 2) หรือ 36 คน (ตั้งแต่ฤดูกาลที่ 3 เป็นต้นมา)
ปุ่ม Golden Voice
[แก้]ปุ่มนี้เป็นปุ่มที่เพิ่มเข้ามาในฤดูกาลที่ 3 ตั้งไว้ด้านหน้าของคณะกรรมการ โดยผู้เข้าแข่งขันที่ได้รับการกดปุ่มนี้จากคณะกรรมการ จะได้สิทธิ์ผ่านเข้าสู่รอบที่ 2 ทันที โดยไม่ต้องผ่านการคัดกรองจากคณะกรรมการซ้ำ ซึ่งมีการปรับเปลี่ยนรูปแบบการใช้งานปุ่มนี้ ดังนี้
- ฤดูกาลที่ 3 กรรมการมีสิทธิ์กดปุ่มคนละ 1 ครั้ง ทำให้จะมีผู้เข้าแข่งขันที่ได้รับปุ่มนี้ จำนวน 4 คน
- ฤดูกาลที่ 4 และ 5 นอกจากกรรมการแล้ว พิธีกรยังมีสิทธิ์อีก 1 ครั้งในการกดปุ่มนี้ ทำให้จะมีผู้เข้าแข่งขันที่ได้รับปุ่มนี้จำนวน 5 คน
- ฤดูกาลที่ 6 กรรมการทุกคนมีสิทธิ์กดปุ่มร่วมกันเพียง 1 ครั้ง ทำให้จะมีผู้เข้าแข่งขันที่ได้รับปุ่มนี้เพียง 1 คน
ฤดูกาล | กรรมการ | พิธีกร | |||
---|---|---|---|---|---|
โจ้ สุธีศักดิ์ | เม้า สุดา | กบ สุวนันท์ | กัน นภัทร | เกลือ กิตติ/คริส พีรวัส | |
3 | มอส ตรีมินทร์ | แตงกวา ดลหทัยกร | หนู จันทร | หญิง กัลยกร | — |
4 | คูณ ธเนศ | มิวสิค วราภรณ์ | ภูมิ แก้วฟ้าเจริญ | เนฟวี่ ภัทรกันต์ | โดโด้ อภิชัย |
5 | ใบเตย ศิริลักษณ์ | ปิ๊ก บวรลักษณ์ | น้ำทิพย์ วรินธิรา | ดา ญาดา | เมจิ ภัทรานิษฐ์ |
6 | อ๊อด อภินันท์ | — |
รอบแบ่งสาย
[แก้]ในรอบแบ่งสายนี้ผู้เข้าแข่งขันจะถูกแบ่งสายเพื่อแข่งขันขับร้องบทเพลงภายในสายของตน และคัดเลือกผู้เข้าแข่งขันให้ผ่านเข้ารอบต่อไปตามจำนวนที่กำหนด โดยมีการแข่งขันจำนวน 3 รูปแบบ ดังนี้
- รูปแบบที่ 1: ใช้ในรอบที่ 2 ของฤดูกาลที่ 1, 2, 4, 6 และรอบที่ 3 ของฤดูกาลที่ 3 ผู้เข้าแข่งขันแต่ละสายจะได้รับโจทย์เพลงเพื่อให้ผู้เข้าแข่งขันเลือกบทเพลงมาขับร้อง หลังจากร้องเพลงเสร็จสิ้น ผู้เข้าแข่งขันสามารถเลือกเปิดคะแนนรายบุคคลจากกรรมการได้ 1 คน ผู้เข้าแข่งขันที่ได้รับคะแนนรวมมากที่สุดจำนวน 2 คนจะผ่านเข้ารอบ โดยจะประกาศผลและเปิดเผยคะแนนรวมในช่วงท้าย
- รูปแบบที่ 2: ใช้ในรอบที่ 2 ของฤดูกาลที่ 3 โดยผู้เข้าแข่งขันจะเลือกบทเพลงมาขับร้องแข่งขันกันภายในสายของตน และเมื่อแข่งขันครบทุกคนแล้ว กรรมการจะเลือกผู้เข้าแข่งขันเข้ารอบต่อไปคนละ 1 คน
- รูปแบบที่ 3: ใช้ในรอบที่ 2 ของฤดูกาลที่ 5 เป็นรูปแบบผสมระหว่างรูปแบบที่ 1 และ 2 ผู้เข้าแข่งขันจะเลือกบทเพลงมาขับร้องแข่งขันกันภายในสายของตน หลังจากร้องเพลงเสร็จสิ้น ผู้เข้าแข่งขันสามารถเลือกเปิดคะแนนรายบุคคลจากกรรมการได้ 1 คน ผู้เข้าแข่งขันที่ได้รับคะแนนรวมมากที่สุดจำนวน 2 คนจะผ่านเข้ารอบ โดยจะประกาศผลและเปิดเผยคะแนนรวมในช่วงท้าย
หลังจบการแข่งขันรอบแบ่งสาย จะมีผู้เข้าแข่งขันผ่านเข้ารอบรองชนะเลิศจำนวน 12 คน
รอบรองชนะเลิศ
[แก้]ในรอบนี้ ผู้เข้าแข่งขันทั้ง 12 คน จะถูกแบ่งออกเป็น 2 กลุ่ม กลุ่มละ 6 คน (ในฤดูกาลที่ 3 แบ่งเป็น 3 กลุ่ม กลุ่มละ 4 คน) และขับร้องบทเพลงร่วมกับศิลปินที่มีชื่อเสียง ผู้เข้าแข่งขันที่ได้รับคะแนนรวมมากที่สุดจำนวน 3 คน (หรือ 2 คนในฤดูกาลที่ 3) ในแต่ละสาย จะผ่านเข้ารอบชิงชนะเลิศ โดยจะประกาศผลผู้เข้ารอบและเปิดเผยคะแนนรวมในช่วงท้าย โดยไม่มีการเปิดคะแนนรายบุคคล
รอบชิงชนะเลิศ
[แก้]ในรอบนี้จะแบ่งการแข่งขันออกเป็น 2 รอบ ดังนี้
- รอบเก็บคะแนน: ผู้เข้าแข่งขันจะขับร้องบทเพลงแข่งขันกันคนละ 1 เพลง เมื่อแข่งขันครบทุกคนแล้ว จะประกาศผลและเปิดเผยคะแนนรวมเฉพาะผู้ที่ได้รับคะแนนต่ำสุดและสูงสุดในรอบเก็บคะแนน ซึ่งจะนำไปรวมกับคะแนนในรอบตัดสินต่อไป
- รอบตัดสิน: ผู้เข้าแข่งขันจะขับร้องบทเพลงแข่งขันกันอีก 1 เพลง เมื่อแข่งขันครบทุกคนแล้ว จะเปิดเผยคะแนนรวมของผู้เข้าแข่งขันทุกคน และประกาศผลผู้ที่ได้รับคะแนนสูงสุด 3 อันดับแรก รองชนะเลิศอันดับ 2 และผู้ชนะเลิศประจำฤดูกาล ตามลำดับ
โดยผู้ชนะเลิศจะได้รับเงินรางวัลจำนวน 500,000 บาท และถ้วยรางวัลสีทอง (ตั้งแต่ฤดูกาลที่ 5 ผู้ชนะเลิศจะได้รับถ้วยรางวัลพระราชทานจากสมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี[2]) ส่วนรองชนะเลิศอันดับ 1 และรองชนะเลิศอันดับ 2 จะได้รับถ้วยรางวัลสีเงินและสีทองแดงตามลำดับ
ผู้ดำเนินรายการ
[แก้]พิธีกร
[แก้]ในรายการนี้มีพิธีกรจำนวน 2 คน โดยมี เกลือ - กิตติ เชี่ยววงศ์กุล เป็นพิธีกรหลักในทุกฤดูกาล ส่วนพิธีกรคู่ของเกลือมีการเปลี่ยนแปลงตามฤดูกาล โดยในฤดูกาลที่ 1 คือ ป้อง - ณวัฒน์ กุลรัตนรักษ์ ซึ่งเป็นรายการแรกที่ป้องทำหน้าที่พิธีกร[3] อย่างไรก็ตาม ป้องได้ถอนตัวหลังจบฤดูกาลนั้นเนื่องจากมีภารกิจในการถ่ายทำละคร จึงมีการเปลี่ยนตัวพิธีกรคู่ในฤดูกาลที่ 2 เป็น แท่ง - ศักดิ์สิทธิ์ แท่งทอง จนกระทั่งในฤดูกาลที่ 3 จึงมีการเปลี่ยนตัวพิธีกรคู่อีกครั้งเป็น คริส - พีรวัส แสงโพธิรัตน์ และทำหน้าที่มาจนถึงปัจจุบัน[4]
นอกจากนี้ ตั้งแต่ฤดูกาลที่ 5 ยังมี ภูมิ แก้วฟ้าเจริญ รองชนะเลิศอันดับ 1 จากฤดูกาลที่ 4 ทำหน้าที่พิธีกรในภาคสนาม เพื่อสัมภาษณ์ผู้เข้าแข่งขันในรอบทดสอบความสามารถอีกด้วย[5]
พิธีกร | ฤดูกาล | |||||
---|---|---|---|---|---|---|
1 | 2 | 3 | 4 | 5 | 6 | |
กิตติ เชี่ยววงศ์กุล | ✔ | |||||
ณวัฒน์ กุลรัตนรักษ์ | ✔ | |||||
ศักดิ์สิทธิ์ แท่งทอง | ✔ | |||||
พีรวัส แสงโพธิรัตน์ | ✔ | |||||
ภูมิ แก้วฟ้าเจริญ | ✔ (ภาคสนาม) |
กรรมการและผู้เรียบเรียงดนตรี
[แก้]ในรายการนี้มีคณะกรรมการจำนวน 4 คน ได้แก่ โจ้ - สุธีศักดิ์ ภักดีเทวา ศิลปินที่เป็นทายาทโดยตรงของทนงศักดิ์ ภักดีเทวา นักร้องลูกกรุงที่มีชื่อเสียง, เม้า - สุดา ชื่นบาน ศิลปินแห่งชาติ, กบ - สุวนันท์ ปุณณกันต์ นักแสดงที่มีชื่อเสียง และ กัน - นภัทร อินทร์ใจเอื้อ ผู้ชนะเลิศจากเดอะสตาร์ ค้นฟ้าคว้าดาว ปี 6 ที่มีประสบการณ์กับเพลงลูกกรุงจากการแสดงละคร ลูกกรุง และผู้เรียบเรียงดนตรีคือ หนึ่ง - จักรวาร เสาธงยุติธรรม ทำหน้าที่ในทุกฤดูกาล[1]
กรรมการ | ฤดูกาล | |||||
---|---|---|---|---|---|---|
1 | 2 | 3 | 4 | 5 | 6 | |
สุธีศักดิ์ ภักดีเทวา | ✔ | |||||
สุดา ชื่นบาน | ✔ | |||||
สุวนันท์ ปุณณกันต์ | ✔ | |||||
นภัทร อินทร์ใจเอื้อ | ✔ | |||||
ผู้เรียบเรียงดนตรี | ฤดูกาล | |||||
1 | 2 | 3 | 4 | 5 | 6 | |
จักรวาร เสาธงยุติธรรม | ✔ |
ภาพรวมแต่ละฤดูกาล
[แก้]ฤดูกาลปกติ
[แก้]ฤดูกาล | ออกอากาศตอนแรก | ออกอากาศรอบชิงชนะเลิศ | จำนวนตอน | ผู้ชนะเลิศ | รองชนะเลิศอันดับ 1 | รองชนะเลิศอันดับ 2 |
---|---|---|---|---|---|---|
1 | 1 กันยายน พ.ศ. 2562 | 22 ธันวาคม พ.ศ. 2562 | 17 | โชคชัย หมู่มาก (แอ๊ค) | ภาสกรณ์ รุ่งเรืองเดชาภัทร์ (สปาย) | ซาจีร่า มูฮัมหมัด (เอ็มม่า) |
2 | 12 มกราคม พ.ศ. 2563 | 12 กรกฎาคม พ.ศ. 2563 | 26 | สรวีย์ ธนพูนหิรัญ (ผิงผิง) | กรวิชญ์ ศรีสงคราม (สิทธิ์) | ธนัชศลักษณ์ ฮัดสัน (อลิศ) |
3 | 8 พฤศจิกายน พ.ศ. 2563 | 11 กรกฎาคม พ.ศ. 2564 | 30+3 | วศิน พรพงศา (วิน) | วิภู กำเหนิดดี (วิภู) | ชนิตา แดงสำราญ (หมิว) |
4 | 12 ธันวาคม พ.ศ. 2564 | 19 มิถุนายน พ.ศ. 2565 | 26 | ทิพย์รมิดา พันตาวงษ์กบิล (พลอย) | ภูมิ แก้วฟ้าเจริญ (ภูมิ) | สุกันยา ขวดสาลี่ (โลตัส) |
5 | 29 มกราคม พ.ศ. 2566 | 30 กรกฎาคม พ.ศ. 2566 | 25+1 | กนิษฐา ศรีลุปะบาต (เบลโลล่า) | วรินธิรา สายลาด (น้ำทิพย์) | บวรลักษณ์ นวมศิริ (ปิ๊ก) |
6 | 18 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2567 | 25 สิงหาคม พ.ศ. 2567 | 26 | พันธนนท์ วังกะหาด (โก๊ะตุลย์) | อุดมศักดิ์ สุวรรณกูฏ (อู๊ด) | ดวงพร พงศ์ผาสุก (ปุ้ย) |
ตอนพิเศษ
[แก้]ชื่อตอน | วันที่ออกอากาศ | จำนวนตอน |
---|---|---|
Best of The Golden Song/ ดีที่สุดของ The Golden Song |
|
7 |
The Golden Song Hits รวมเพลงเพราะประจำสัปดาห์ | 8 มกราคม - 30 เมษายน พ.ศ. 2565 | 16 |
เบิร์ด ธงไชย & The Golden Song | 26 มิถุนายน และ 3 กรกฎาคม พ.ศ. 2565 | 2 |
การตอบรับ
[แก้]The Golden Song เวทีเพลงเพราะ ได้รับกระแสตอบรับอย่างดี และมีเรตติ้งจากกลุ่มผู้รับชมที่อาศัยอยู่ในตัวเมืองของจังหวัดต่าง ๆ มากที่สุด เมื่อเทียบกับรายการอื่น ๆ ที่ออกอากาศในช่วงเวลาเดียวกัน[6] เนื่องจากทำให้ผู้รับชมรายการได้หวนระลึกถึงบทเพลงที่ตนเคยฟังในยุคเก่า แต่มีดนตรีทันสมัยและไพเราะมากขึ้นจากการเรียบเรียงดนตรีโดยหนึ่ง จักรวาร[7]
นอกจากนี้ The Golden Song เวทีเพลงเพราะ ยังเป็นหนึ่งในรายการโทรทัศน์ที่ทรงโปรดของสมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี โดยมีภาพถ่ายฝีพระหัตถ์รายการนี้เมื่อวันที่ 14 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2564 เป็นหนึ่งในภาพที่ได้รับการจัดแสดงในนิทรรศการภาพถ่ายฝีพระหัตถ์ "ธรรมดาแบบใหม่ : New Normal" เมื่อปี พ.ศ. 2565 ณ หอศิลปวัฒนธรรมแห่งกรุงเทพมหานคร[8] จนกระทั่งพระองค์ได้พระราชทานถ้วยรางวัลชนะเลิศให้กับรายการตั้งแต่ฤดูกาลที่ 5 เป็นต้นมา[2]
คอนเสิร์ต
[แก้]The Golden Song เวทีเพลงเพราะ ได้จัดแสดงคอนเสิร์ตเป็นของตนเอง จำนวน 2 ครั้ง ดังนี้
ชื่อคอนเสิร์ต | วันที่ | สถานที่ | อ้างอิง |
---|---|---|---|
The Golden Song The Golden Show Concert | 4 - 6 สิงหาคม พ.ศ. 2566 | เมืองไทยรัชดาลัย เธียเตอร์ | [9] |
The Golden Song คอนเสิร์ตเพลงเพราะ | 16 - 17 มีนาคม พ.ศ. 2567 | [10] |
นอกจากนี้ ศิลปินจากรายการ The Golden Song เวทีเพลงเพราะ ยังได้ร่วมขึ้นแสดงในคอนเสิร์ตอื่น ๆ ดังนี้
ชื่อคอนเสิร์ต | วันที่ | สถานที่ | ศิลปินที่ขึ้นแสดง | อ้างอิง |
---|---|---|---|---|
ลูกกรุง In Concert 2 | 22 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2563 | เมืองไทยรัชดาลัย เธียเตอร์ |
|
[11] |
ลูกกรุง In Concert 3 | 3 และ 4 ตุลาคม พ.ศ. 2563 | แอ็ค โชคชัย ผิงผิง สรวีย์ |
[12] | |
เปิดม่านใหม่เมืองไทยรัชดาลัย | 23 และ 24 กรกฎาคม พ.ศ. 2565 |
|
[13] | |
คอนเสิร์ตแบบเบิร์ดเบิร์ดโชว์ 2023 ตอน MULTIBIRD จักรวาลธงไชย |
17-19, 25 และ 26 พฤศจิกายน พ.ศ. 2566 | อิมแพ็ค อารีน่า เมืองทองธานี |
|
[14] |
อ้างอิง
[แก้]- ↑ 1.0 1.1 ทองประสม, อลิน (26 ธันวาคม 2019). "The Golden Song เวทีเพลงเพราะ : รายการประกวดร้องเพลงที่ เพราะสมชื่อ ฟินทุกเทปตั้งแต่ต้นจนจบ". beartai BUZZ. แบไต๋. สืบค้นเมื่อ 17 กุมภาพันธ์ 2024.
{{cite news}}
: CS1 maint: url-status (ลิงก์) - ↑ 2.0 2.1 ""The Golden Song เวทีเพลงเพราะ ซีซั่น5" ฉลองครบรอบ 5 ซีซั่นสุดยิ่งใหญ่ เปิดรับสมัครนักร้องเสียงเพราะทั่วประเทศ ชิงถ้วยพระราชทาน สมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ". จีเอ็มเอ็ม แกรมมี่. 16 สิงหาคม 2022. สืบค้นเมื่อ 17 กุมภาพันธ์ 2024.
{{cite news}}
: CS1 maint: url-status (ลิงก์) - ↑ เอ็มไทย (24 กรกฎาคม 2019). "ป้อง นั่งแท่นพิธีกรครั้งแรกใน The Golden Song เวทีเพลงเพราะ". ไลน์ทูเดย์. สืบค้นเมื่อ 30 กันยายน 2022.
{{cite web}}
: CS1 maint: url-status (ลิงก์) - ↑ "ข่าวดี! "คริส พีรวัส" นั่งแท่นพิธีกรยาวๆ". ดาราเดลี่. 22 พฤศจิกายน 2021. สืบค้นเมื่อ 17 กุมภาพันธ์ 2024.
{{cite news}}
: CS1 maint: url-status (ลิงก์) - ↑ ""The Golden Song เวทีเพลงเพราะ 6" ซีซั่นใหม่กลับมาแล้ว!! เริ่มออกอากาศเทปแรก วันอาทิตย์ที่ 18 ก.พ.นี้ 6โมงเย็น ทางช่องวัน31". บ้านเมือง. 11 กุมภาพันธ์ 2024. สืบค้นเมื่อ 17 กุมภาพันธ์ 2024.
{{cite news}}
: CS1 maint: url-status (ลิงก์) - ↑ "วินทุกเว(ที) Ways to Win EP : 1 "ครูปิ่น-ปิ่นศิริ ศิริปิ่น"….ถอดบทเรียนเวทีประกวดร้องเพลง "The Golden Song เวทีเพลงเพราะ"". บางกอกทูเดย์. 3 กุมภาพันธ์ 2023. สืบค้นเมื่อ 17 กุมภาพันธ์ 2024.
{{cite news}}
: CS1 maint: url-status (ลิงก์) - ↑ "ชวิศฐานิต ชัยชาติ : นักสร้างปรากฏการณ์เวทีเพลงเพราะ". สมาคมวารสารศาสตร์ ธรรมศาสตร์. 28 สิงหาคม 2021. สืบค้นเมื่อ 17 กุมภาพันธ์ 2024.
{{cite news}}
: CS1 maint: url-status (ลิงก์) - ↑ "The Golden Song หนึ่งในรายการโปรดของสมเด็จพระเทพฯ". ผู้จัดการออนไลน์. 16 มีนาคม 2022. สืบค้นเมื่อ 17 กุมภาพันธ์ 2024.
{{cite news}}
: CS1 maint: url-status (ลิงก์) - ↑ "กำลังโหลด 'The Golden Song The Golden Show Concert' ฉลองครบ 5 ซีซั่นแบบจัดเต็ม". เนชั่นทีวี. 7 สิงหาคม 2023. สืบค้นเมื่อ 18 กุมภาพันธ์ 2024.
- ↑ "เมนูบันเทิง-ช่องวัน 31 ผุด The Golden Song คอนเสิร์ตเพลงเพราะ". ข่าวสด. 16 กุมภาพันธ์ 2024. สืบค้นเมื่อ 18 กุมภาพันธ์ 2024.
- ↑ "'ลูกกรุง อิน คอนเสิร์ต 2' มอบความสุขยกกำลังสอง!!". คมชัดลึก. 24 กุมภาพันธ์ 2020. สืบค้นเมื่อ 18 กุมภาพันธ์ 2024.
- ↑ "ประมวลภาพความสนุก! ลูกกรุง In Concert 3 เต็มอิ่มครบอารมณ์ มอบความสุขสุดประทับใจ". ทรูไอดี. 9 ตุลาคม 2020. สืบค้นเมื่อ 18 กุมภาพันธ์ 2024.
- ↑ ""เปิดม่านใหม่เมืองไทยรัชดาลัย" ขนความสุข-ความสนุกอัดแน่น จัดเต็ม!". Gorgeous BKK. 25 กรกฎาคม 2022. สืบค้นเมื่อ 18 กุมภาพันธ์ 2024.
- ↑ ""multibird จักรวาลธงไชย" เมื่อ อดีต-อนาคต ไม่ลดความอัศจรรย์ "เบิร์ด ธงไชย" (วันที่ 2)". สนุก.คอม. 20 พฤศจิกายน 2023. สืบค้นเมื่อ 18 กุมภาพันธ์ 2024.
แหล่งข้อมูลอื่น
[แก้]- The Golden Song เวทีเพลงเพราะ
- รายการโทรทัศน์ช่องวัน 31
- รายการโทรทัศน์ไทยที่เริ่มออกอากาศตั้งแต่ พ.ศ. 2562
- รายการเรียลลิตีโชว์ไทยในคริสต์ทศวรรษ 2010
- รายการเพลงทางโทรทัศน์ไทยในคริสต์ทศวรรษ 2010
- รายการประกวดร้องเพลงในคริสต์ทศวรรษ 2010
- รายการเรียลลิตีโชว์ไทยในคริสต์ทศวรรษ 2020
- รายการเพลงทางโทรทัศน์ไทยในคริสต์ทศวรรษ 2020
- รายการประกวดร้องเพลงในคริสต์ทศวรรษ 2020
- การแข่งขันชิงถ้วยพระราชทานสมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา