ฟุตบอลทีมชาติอังกฤษ

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
ทีมชาติอังกฤษ
Shirt badge/Association crest
ฉายาThe Three Lions
สิงโตคำราม (ฉายาในภาษาไทย)
สมาคมสมาคมฟุตบอล
สมาพันธ์ยูฟ่า (ยุโรป)
หัวหน้าผู้ฝึกสอนแกเร็ท เซาท์เกต
กัปตันแฮร์รี เคน
ติดทีมชาติสูงสุดปีเตอร์ ชิลตัน (125)
ทำประตูสูงสุดแฮร์รี เคน (54)
สนามเหย้าสนามกีฬาเวมบลีย์
อันดับฟีฟ่า
อันดับปัจจุบัน 3 Steady (15 กุมภาพันธ์ 2024)[1]
อันดับสูงสุด3 (สิงหาคม ค.ศ. 2012)
อันดับต่ำสุด27 (กุมภาพันธ์ ค.ศ. 1996)
เกมระดับนานาชาติครั้งแรก
ธงชาติสกอตแลนด์ สกอตแลนด์ 0–0 อังกฤษ ธงชาติอังกฤษ
(Partick, สกอตแลนด์; 30 พฤศจิกายน ค.ศ. 1872)
ชนะสูงสุด
ธงชาติอังกฤษ อังกฤษ 13–0 ไอร์แลนด์ ธงชาติไอร์แลนด์
(เบลฟาสต์, ไอร์แลนด์; 31 กรกฎาคม ค.ศ. 1882)
แพ้สูงสุด
ธงชาติฮังการี ฮังการี 7–1 อังกฤษ ธงชาติอังกฤษ
(บูดาเปสต์, ฮังการี; 23 พฤษภาคม ค.ศ. 1954)
ฟุตบอลโลก
เข้าร่วม15 (ครั้งแรกใน 1950)
ผลงานดีที่สุดชนะเลิศ (1966)
ฟุตบอลชิงแชมป์แห่งชาติยุโรป
เข้าร่วม9 (ครั้งแรกใน 1968)
ผลงานดีที่สุดรองชนะเลิศ (2020)
ยูฟ่าเนชันส์ลีก รอบสุดท้าย
เข้าร่วม1 (ครั้งแรกใน 2019)
ผลงานดีที่สุดอันดับ 3, 2019

ฟุตบอลทีมชาติอังกฤษ ทีมฟุตบอลตัวแทนจาก ชาติอังกฤษ สำหรับในการแข่งขันฟุตบอลระหว่างชาติ ในการแข่งขันฟุตบอลโลก และฟุตบอลชิงแชมป์แห่งชาติยุโรป โดยทีมชาติอังกฤษเป็นไม่กี่ทีมที่ไม่มีสิทธิในการแข่งขันกีฬาโอลิมปิก เนื่องจากเหตุผลทางการเมืองที่ประเทศอังกฤษไม่ถือว่าเป็นประเทศ

ทีมชาติอังกฤษมีผลงานสูงสุดคือ ชนะเลิศฟุตบอลโลก 1 ครั้งในปี 1966 ได้อันดับรองชนะเลิศฟุตบอลชิงแชมป์แห่งชาติยุโรปในปี 2020 และได้ที่สาม ยูฟ่าเนชันส์ลีก 1 ครั้งในยูฟ่าเนชันส์ลีก 2019 รอบสุดท้าย

ประวัติทีม[แก้]

อังกฤษถือเป็นชาติที่มีประวัติของกีฬาฟุตบอลเก่าแก่ที่สุดชาติหนึ่ง โดยจัดตั้งทีมชาติขึ้นมาพร้อม ๆ กับสมาคมฟุตบอล หรือเอฟเอ และพร้อม ๆ กับสกอตแลนด์ ในวันที่ 5 มีนาคม ค.ศ. 1870 จากนั้นวันที่ 30 พฤศจิกายน ค.ศ. 1872 ตัวแทนทีมชาติสกอตแลนด์จัดแข่งขันกับอังกฤษ ที่แฮมิลตันเครสเซนท์ ถือเป็นการแข่งขันระดับนานาชาตินัดแรก เพราะทั้งสองทีมถูกเลือก และมีการดำเนินกิจการแยกกัน โดยอิสระ ไม่ได้ทำงานเป็นสมาคมเดียวกัน จากนั้นตลอด 40 ปีถัดมา อังกฤษจะจัดการแข่งขันนัดพิเศษ "บริติชโฮมแชมเปียนชิป" ระหว่างชาติในสหราชอาณาจักรสี่ชาติ คือ อังกฤษ, สกอตแลนด์, เวลส์ และไอร์แลนด์

แรกเริ่มเลยนั้น อังกฤษไม่มีสนามเหย้าถาวร อังกฤษเข้าเป็นสมาชิกสหพันธ์ฟุตบอลนานาชาติ หรือ ฟีฟ่า ในปี ค.ศ. 1906 และได้ลงเล่นแข่งขันในระดับนานาชาติกับประเทศอื่น นอกเหนือจากในรายการบริติชโฮมแชมเปียนชิป เป็นครั้งแรก ในการแข่งขันรายการของภูมิภาคยุโรปกลาง ในปี ค.ศ. 1908 จากนั้นในปี ค.ศ. 1923 มีการเปิดใช้สนามกีฬาเวมบลีย์ ที่เป็นสนามเหย้าของอังกฤษมาจนถึงปัจจุบัน อย่างไรก็ดีอังกฤษเคยมีปัญหากับฟีฟ่าและถอนตัวไปในปี ค.ศ. 1928 ก่อนกลับเข้าร่วมอีกครั้งในปี ค.ศ. 1946 ทำให้ไม่ได้เล่นฟุตบอลโลก จนกระทั่งปี ค.ศ. 1950 ที่อังกฤษแพ้แก่สหรัฐอเมริกา 0–1 ถือเป็นหนึ่งในการแข่งขันที่พ่ายแพ้อย่างน่าอับอายในประวัติศาสตร์ของอังกฤษ

จนถึงปัจจุบัน อังกฤษได้แชมป์ฟุตบอลโลกมาแล้วทั้งหมดหนึ่งครั้ง คือ ฟุตบอลโลก 1966 ที่อังกฤษเป็นเจ้าภาพเอง และไม่เคยได้แชมป์ฟุตบอลชิงแชมป์แห่งชาติยุโรปเลย มีผลงานดีที่สุดคือ ได้อันดับ 2 ในฟุตบอลชิงแชมป์แห่งชาติยุโรป 2020

ผลงาน[แก้]

ฟุตบอลโลก[แก้]

ทีมชาติอังกฤษ ชนะเลิศฟุตบอลโลก 1 ครั้ง ในฟุตบอลโลก 1966 นับจากการแข่งทั้งหมด ทีมชาติอังกฤษ เข้าฟุตบอลโลกรอบสุดท้ายทั้งหมด 15 ครั้ง (ฟุตบอลโลก 2018 เป็นครั้งที่ 15) ซึ่งอังกฤษเริ่มเล่นครั้งแรกในฟุตบอลโลก 1950 ซึ่งในครั้งแรกนั้นแม้จะผ่านรอบคัดเลือกแต่ตกรอบแรกไป ซึ่งหลังจากนั้นทีมอังกฤษผ่านรอบคัดเลือกมาตลอดทุกปีต่อเนื่องกัน จนกระทั่งชนะเลิศในฟุตบอลโลก 1966 แต่หลังจากนั้นใน ฟุตบอลโลก 1974, 1988 และ 1994 ทีมชาติอังกฤษไม่ผ่านรอบคัดเลือก โดยใน ฟุตบอลโลก 2006 ทีมชาติอังกฤษเข้าสู่รอบก่อนรองชนะเลิศและแพ้ โปรตุเกสไปจากการยิงจุดโทษ ในฟุตบอลโลก 2010 ทีมชาติอังกฤษก็ต้องตกรอบตั้งแต่รอบ 16 ทีมสุดท้าย โดยแพ้เยอรมนีไป 1–4 เมื่อวันอาทิตย์ที่ 27 มิถุนายน ค.ศ. 2010 ในฟุตบอลโลก 2014 ทีมชาติอังกฤษเป็นทีมที่ต้องตกรอบแรกเมื่อแข่ง 2 นัด เป็นฝ่ายแพ้ต่ออิตาลี 2–1 และแพ้ต่ออุรุกวัยไป 2–1 เช่นกัน ซึ่งนับเป็นครั้งแรกในรอบ 56 ปีด้วย ที่อังกฤษตกรอบแรกฟุตบอลโลก[2] ต่อมาในการแข่งขันฟุตบอลโลก 2018 ทีมชาติอังกฤษสามารถเข้าถึงรอบรองชนะเลิศได้ โดยสามารถคว้าอันดับ 4 ได้ในบั้นปลาย นับเป็นครั้งที่ 3 ของทีมชาติอังกฤษที่สามารถเข้าถึงรอบรองชนะเลิศในการแข่งขันฟุตบอลโลกได้

  ชนะเลิศ    รองชนะเลิศ    อันดับที่ 3     อันดับที่ 4  

สถิติในฟุตบอลโลก สถิติในฟุตบอลโลกรอบคัดเลือก ผู้จัดการทีม
ปี ค.ศ. ผลลัพธ์ อันดับ แข่ง ชนะ เสมอ แพ้ ได้ เสีย แข่ง ชนะ เสมอ แพ้ ได้ เสีย
อุรุกวัย 1930 ไม่ได้เป็นสมาชิกฟีฟ่า ไม่ได้เข้าร่วมการแข่งขัน ไม่มี
อิตาลี 1934 ไม่ได้เป็นสมาชิกฟีฟ่า
ฝรั่งเศส 1938
บราซิล 1950 รอบแบ่งกลุ่ม อันดับ 8 3 1 0 2 2 2 3 3 0 0 14 3 วินเทอร์บอตตอม
สวิตเซอร์แลนด์ 1954 รอบ 8 ทีมสุดท้าย อันดับ 7 3 1 1 1 8 8 3 3 0 0 11 4
สวีเดน 1958 รอบแบ่งกลุ่ม อันดับ 11 4 0 3 1 4 5 4 3 1 0 15 5
ชิลี 1962 รอบ 8 ทีมสุดท้าย อันดับ 8 4 1 1 2 5 6 4 3 1 0 16 2
อังกฤษ 1966 ชนะเลิศ อันดับ 1 6 5 1 0 11 3 เข้ารอบในฐานะเจ้าภาพ แรมซีย์
เม็กซิโก 1970 รอบ 8 ทีมสุดท้าย อันดับ 8 4 2 0 2 4 4 เข้ารอบฐานะแชมป์เก่า แรมซีย์
เยอรมนีตะวันตก 1974 ไม่ผ่านรอบคัดเลือก 4 1 2 1 3 4
อาร์เจนตินา 1978 6 5 0 1 15 4 เรวี
สเปน 1982 รอบแบ่งกลุ่มรอบ 2 อันดับ 6 5 3 2 0 6 1 8 4 1 3 13 8 กรีนวู้ด
เม็กซิโก 1986 รอบ 8 ทีมสุดท้าย อันดับ 8 5 2 1 2 7 3 8 4 4 0 21 2 ร็อบสัน
อิตาลี 1990 อันดับที่ 4 อันดับที่ 4 7 3 3 1 8 6 6 3 3 0 10 0
สหรัฐ 1994 ไม่ผ่านรอบคัดเลือก 10 5 3 2 26 9 เทย์เลอร์
ฝรั่งเศส 1998 รอบ 16 ทีมสุดท้าย อันดับที่ 9 4 2 1 1 7 4 8 6 1 1 15 2 ฮอดเดิ้ล
เกาหลีใต้ ญี่ปุ่น 2002 รอบ 8 ทีมสุดท้าย อันดับที่ 6 5 2 2 1 6 3 8 5 2 1 16 6 คีแกน, วิลกินสัน, เอริกซอน[3]
เยอรมนี 2006 อันดับที่ 7 5 3 2 0 6 2 10 8 1 1 17 5 เอริกซอน
แอฟริกาใต้ 2010 รอบ 16 ทีมสุดท้าย อันดับที่ 13 4 1 2 1 3 5 10 9 0 1 34 6 กาเปลโล
บราซิล 2014 รอบแบ่งกลุ่ม อันดับที่ 26 3 0 1 2 2 4 10 6 4 0 31 4 ฮอดจ์สัน
รัสเซีย 2018 อันดับที่ 4 อันดับที่ 4 7 3 1 3 12 8 10 8 2 0 18 3 อัลลาไดซ์, เซาธ์เกต[4]
ประเทศกาตาร์ 2022 รอบก่อนรองชนะเลิศ อันดับที่ 6 5 3 1 1 13 4 10 8 2 0 39 3 เซาท์เกต
รวม ชนะเลิศ 1 สมัย 16/22 74 32 22 20 104 68 122 84 27 11 314 70

ฟุตบอลชิงแชมป์แห่งชาติยุโรป[แก้]

  ชนะเลิศ    รองชนะเลิศ    อันดับที่ 3,ผ่านเข้าถึงรอบรองชนะเลิศ  

สถิติฟุตบอลชิงแชมป์แห่งชาติยุโรป สถิติฟุตบอลชิงแชมป์แห่งชาติยุโรปรอบแบ่งกลุ่ม ผู้จัดการทีม
ปี ค.ศ. รอบ อันดับ ม. ช. ส.* พ. ประตูได้ ประตูที่เสีย จำนวนนัด ช. ส. พ. ประตูได้ ประตูที่เสีย
ฝรั่งเศส 1960 ไม่ได้เข้าร่วม  –  –  –  –  –  –
สเปน 1964 ไม่ผ่านรอบคัดเลือก 2 0 1 1 3 6 วินเทอร์บอตตอม, แรมซีย์[5]
อิตาลี 1968 อันดับ 3 3rd of 4 2 1 0 1 2 1 8 6 1 1 18 6 แรมซีย์
เบลเยียม 1972 ไม่ผ่านรอบคัดเลือก[6] 8 5 2 1 16 6 แรมซีย์
สหพันธ์สาธารณรัฐสังคมนิยมยูโกสลาเวีย 1976 ไม่ผ่านรอบคัดเลือก 6 3 2 1 11 3 เรวี
อิตาลี 1980 รอบแบ่งกลุ่ม 6th of 8 3 1 1 1 3 3 8 7 1 0 22 5 กรีนวู้ด
ฝรั่งเศส 1984 ไม่ผ่านรอบคัดเลือก 8 5 2 1 23 3 ร็อบสัน
เยอรมนีตะวันตก 1988 รอบแบ่งกลุ่ม 7th of 8 3 0 0 3 2 7 6 5 1 0 19 1
สวีเดน 1992 รอบแบ่งกลุ่ม 7th of 8 3 0 2 1 1 2 6 3 3 0 7 3 เทย์เลอร์
อังกฤษ 1996 รอบรองชนะเลิศ 3rd of 16 5 2 3 0 8 3 เข้ารอบในฐานะเจ้าภาพ เวนาเบิลส์
เบลเยียม เนเธอร์แลนด์ 2000 รอบแบ่งกลุ่ม 11th of 16 3 1 0 2 5 6 10 4 4 2 16 5 ฮอดเดิ้ล, คีแกน[7]
โปรตุเกส 2004 รอบ 8 ทีมสุดท้าย 5th of 16 4 2 1 1 10 6 8 6 2 0 14 5 เอริกซอน
ออสเตรีย สวิตเซอร์แลนด์ 2008 ไม่ผ่านรอบคัดเลือก 12 7 2 3 24 7 แม็คคลาเรน
โปแลนด์ ยูเครน 2012 รอบ 8 ทีมสุดท้าย 5th of 16 4 2 2 0 5 3 8 5 3 0 17 5 กาเปลโล, ฮอดจ์สัน[8]
ฝรั่งเศส 2016 รอบ 16 ทีมสุดท้าย 12th of 24 4 1 2 1 4 4 10 10 0 0 31 3 ฮอดจ์สัน
ยุโรป 2020 รองชนะเลิศ 2nd 7 5 2 0 11 2 8 7 0 1 37 6 เซาธ์เกต
เยอรมนี 2024 รอผลการแข่งขัน รอผลการแข่งขัน
รวม รองชนะเลิศ 10/16 38 15 13 10 51 37 108 73 24 11 248 64


นับตั้งแต่ฟุตบอลชิงแชมป์แห่งชาติยุโรป 1968 เป็นต้นมา อังกฤษยังไม่เคยชนะในการแข่งขันนัดแรกเลย แม้จะได้ผ่านเข้าร่วมแข่งขันทุกครั้งก็ตาม ล่าสุดในฟุตบอลชิงแชมป์แห่งชาติยุโรป 2016 ก็เสมอต่อรัสเซียไป 1–1 โดยถูกรัสเซียยิงประตูตีเสมอได้ในช่วงทดเวลาบาดเจ็บครึ่งหลังนาทีที่ 2[9]

ยูฟ่าเนชันส์ลีก[แก้]

  ชนะเลิศ    รองชนะเลิศ    อันดับที่ 3     อันดับที่ 4  

สถิติยูฟ่าเนชันส์ลีก ผู้จัดการทีม
ปี ดิวิชัน กลุ่ม อันดับ ม. ช. ส. พ. ประตูได้ ประตูที่เสีย
โปรตุเกส 2018–19 เอ 4 3 6 2 2 2 7 8 เซาธ์เกต
อิตาลี 2020–21 เอ 2 9 6 3 1 2 7 4 เซาธ์เกต
2022–23 เอ ยังไม่ประกาศ รอผลการแข่งขัน
รวม อันดับ 3 6 2 2 2 7 8

ทีมงานผู้ฝึกสอน[แก้]

ผู้จัดการทีม อังกฤษ แกเร็ท เซาท์เกต
ผู้ช่วยผู้จัดการทีม อังกฤษ แซมมี ลี
ผู้ฝึกสอนทีมชุดแรก อังกฤษ สตีฟ ฮอลแลนด์
ผู้ฝึกสอนผู้รักษาประตู เวลส์ Martyn Margetson
แพทย์ประจำทีมชุดแรก อังกฤษ เอียน บีสลีย์
ผู้ฝึกสอนด้านสมรรถภาพทางกาย อังกฤษ คริส เนวิล
หมอนวด อังกฤษ มาร์ก เซอโทรี
นักกายภาพบำบัด อังกฤษ แกรี เลวิน

ผู้เล่น[แก้]

ผู้เล่นชุดปัจจุบัน[แก้]

รายชื่อผู้เล่นที่ถูกเรียกตัวเพื่อลงแข่งขันนัดกระชับมิตรกับสวิตเซอร์แลนด์ และโกตดิวัวร์ ในวันที่ 26 และ 29 มีนาคม ค.ศ. 2022

ข้อมูลการลงเล่นและการทำประตูนับถึงวันที่ 29 มีนาคม ค.ศ. 2022 หลังจากการพบกับโกตดิวัวร์

0#0 ตำแหน่ง ผู้เล่น วันเกิด (อายุ) ลงเล่น ประตู สโมสร
1 1GK นิก โพป (1992-04-19) 19 เมษายน ค.ศ. 1992 (31 ปี) 8 0 อังกฤษ นิวคาสเซิล
13 1GK เฟรเซอร์ ฟอร์สเตอร์ (1988-03-17) 17 มีนาคม ค.ศ. 1988 (35 ปี) 6 0 อังกฤษ ทอตนัมฮอตสเปอร์
22 1GK จอร์แดน พิกฟอร์ด (1994-03-07) 7 มีนาคม ค.ศ. 1994 (29 ปี) 43 0 อังกฤษ เอฟเวอร์ตัน

2 2DF เบน ไวต์ (1997-10-08) 8 ตุลาคม ค.ศ. 1997 (26 ปี) 4 0 อังกฤษ อาร์เซนอล
3 2DF ไทริก มิตเชลล์ (1999-09-01) 1 กันยายน ค.ศ. 1999 (24 ปี) 2 0 อังกฤษ คริสตัล พาเลซ
5 2DF ไทโรน มิงส์ (1993-03-13) 13 มีนาคม ค.ศ. 1993 (30 ปี) 17 2 อังกฤษ แอสตัน วิลลา
6 2DF แฮร์รี แมไกวร์ (1993-03-05) 5 มีนาคม ค.ศ. 1993 (31 ปี) 42 7 อังกฤษ แมนเชสเตอร์ ยูไนเต็ด
12 2DF ลู้ก ชอว์ (1995-07-12) 12 กรกฎาคม ค.ศ. 1995 (28 ปี) 21 2 อังกฤษ แมนเชสเตอร์ ยูไนเต็ด
15 2DF มาร์ก เกฮี (2000-07-13) 13 กรกฎาคม ค.ศ. 2000 (23 ปี) 1 0 อังกฤษ คริสตัล พาเลซ
16 2DF คอเนอร์ โคอาดี (1993-02-25) 25 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 1993 (31 ปี) 9 1 อังกฤษ วุลเวอร์แฮมป์ตัน วอนเดอเรอส์
17 2DF ไคล์ วอล์กเกอร์-ปีเตอส์ (1997-04-13) 13 เมษายน ค.ศ. 1997 (26 ปี) 2 0 อังกฤษ เซาแทมป์ตัน

4 3MF ดีคลัน ไรซ์ (1999-01-14) 14 มกราคม ค.ศ. 1999 (25 ปี) 29 2 อังกฤษ อาร์เซนอล
8 3MF เจมส์ วอร์ด-พราวส์ (1994-11-01) 1 พฤศจิกายน ค.ศ. 1994 (29 ปี) 10 2 อังกฤษ เซาแทมป์ตัน
10 3MF จูด เบลลิงงัม (2003-06-29) 29 มิถุนายน ค.ศ. 2003 (20 ปี) 12 0 สเปน เรอัลมาดริด
14 3MF จอร์แดน เฮนเดอร์สัน (1990-06-17) 17 มิถุนายน ค.ศ. 1990 (33 ปี) 69 2 อังกฤษ ลิเวอร์พูล
19 3MF เมสัน เมานต์ (1999-01-10) 10 มกราคม ค.ศ. 1999 (25 ปี) 27 4 อังกฤษ [[สโมสรฟุตบอลเเมนเชสเตอร์

ยูไนเต็ด|เเมนเชสเตอร์ ยูไนเต็ด]]


7 4FW ราฮีม สเตอร์ลิง (1994-12-08) 8 ธันวาคม ค.ศ. 1994 (29 ปี) 74 19 อังกฤษ แมนเชสเตอร์ซิตี
11 4FW แจ็ก กรีลิช (1995-09-10) 10 กันยายน ค.ศ. 1995 (28 ปี) 20 1 อังกฤษ แมนเชสเตอร์ซิตี
18 4FW ฟิล โฟเดน (2000-05-28) 28 พฤษภาคม ค.ศ. 2000 (23 ปี) 15 2 อังกฤษ แมนเชสเตอร์ซิตี
20 4FW แฮร์รี เคน (กัปตัน) (1993-07-28) 28 กรกฎาคม ค.ศ. 1993 (30 ปี) 69 49 เยอรมนี ไบเอิร์นมิวนิก
23 4FW เอมีล สมิท ราว (2000-07-28) 28 กรกฎาคม ค.ศ. 2000 (23 ปี) 3 1 อังกฤษ อาร์เซนอล

ถูกเรียกตัวเมื่อเร็ว ๆ นี้[แก้]

รายชื่อผู้เล่นที่เคยถูกเรียกตัวในรอบ 12 เดือนล่าสุด:

ตำแหน่ง ผู้เล่น วันเกิด (อายุ) ลงเล่น ประตู สโมสร ถูกเรียกครั้งล่าสุด
GK แซม จอห์นสตัน (1993-03-25) 25 มีนาคม ค.ศ. 1993 (30 ปี) 3 0 อังกฤษ เวสต์บรอมมิช อัลเบียน v. ธงชาติสวิตเซอร์แลนด์ สวิตเซอร์แลนด์, 26 มีนาคม 2022
GK แอรอน แรมส์เดล (1998-05-14) 14 พฤษภาคม ค.ศ. 1998 (25 ปี) 1 0 อังกฤษ อาร์เซนอล v. ธงชาติสวิตเซอร์แลนด์ สวิตเซอร์แลนด์, 26 มีนาคม 2022
GK ดีน เฮนเดอร์สัน (1997-03-12) 12 มีนาคม ค.ศ. 1997 (26 ปี) 1 0 อังกฤษ แมนเชสเตอร์ ยูไนเต็ด ฟุตบอลชิงแชมป์แห่งชาติยุโรป 2020

DF ไคล์ วอล์กเกอร์ (1990-05-28) 28 พฤษภาคม ค.ศ. 1990 (33 ปี) 65 0 อังกฤษ แมนเชสเตอร์ซิตี v. ธงชาติซานมารีโน ซานมารีโน, 15 พฤศจิกายน 2021
DF เบน ชิลเวลล์ (1996-12-21) 21 ธันวาคม ค.ศ. 1996 (27 ปี) 17 1 อังกฤษ เชลซี v. ธงชาติซานมารีโน ซานมารีโน, 15 พฤศจิกายน 2021
DF คีแรน ทริปเปียร์ (1990-09-19) 19 กันยายน ค.ศ. 1990 (33 ปี) 35 1 อังกฤษ นิวคาสเซิล ยูไนเต็ด v. ธงชาติฮังการี ฮังการี, 12 ตุลาคม 2021
DF ฟีกาโย โทโมรี (1997-12-19) 19 ธันวาคม ค.ศ. 1997 (26 ปี) 2 0 อิตาลี เอซี มิลาน v. ธงชาติฮังการี ฮังการี, 12 ตุลาคม 2021
DF เทรนต์ อเล็กซานเดอร์-อาร์โนลด์ (1998-10-07) 7 ตุลาคม ค.ศ. 1998 (25 ปี) 16 1 อังกฤษ ลิเวอร์พูล v. ธงชาติสวิตเซอร์แลนด์ สวิตเซอร์แลนด์, 26 มีนาคม 2022
DF จอห์น สโตนส์ (1994-05-28) 28 พฤษภาคม ค.ศ. 1994 (29 ปี) 55 3 อังกฤษ แมนเชสเตอร์ ซิตี v. ธงชาติโกตดิวัวร์ โกตดิวัวร์, 29 มีนาคม 2022
DF รีซ เจมส์ (1999-12-08) 8 ธันวาคม ค.ศ. 1999 (24 ปี) 10 0 อังกฤษ เชลซี v. ธงชาติสวิตเซอร์แลนด์ สวิตเซอร์แลนด์, 26 มีนาคม 2022

MF เจสซี ลินการ์ด (1992-12-15) 15 ธันวาคม ค.ศ. 1992 (31 ปี) 32 6 อังกฤษ แมนเชสเตอร์ ยูไนเต็ด v. ธงชาติฮังการี ฮังการี, 12 ตุลาคม 2021
MF แคลวิน ฟิลลิปส์ (1995-12-02) 2 ธันวาคม ค.ศ. 1995 (28 ปี) 19 0 อังกฤษ ลีดส์ ยูไนเต็ด v. ธงชาติซานมารีโน ซานมารีโน, 15 พฤศจิกายน 2021

FW เจดอน แซนโช (2000-03-25) 25 มีนาคม ค.ศ. 2000 (23 ปี) 23 3 อังกฤษ แมนเชสเตอร์ยูไนเต็ด v. ธงชาติฮังการี ฮังการี, 12 ตุลาคม 2021
FW มาร์คัส แรชฟอร์ด (1997-10-31) 31 ตุลาคม ค.ศ. 1997 (26 ปี) 46 12 อังกฤษ แมนเชสเตอร์ยูไนเต็ด v. ธงชาติแอลเบเนีย แอลเบเนีย, 12 พฤศจิกายน 2021
FW บูกาโย ซากา (2001-09-05) 5 กันยายน ค.ศ. 2001 (22 ปี) 14 4 อังกฤษ อาร์เซนอล v. ธงชาติสวิตเซอร์แลนด์ สวิตเซอร์แลนด์, 26 มีนาคม 2022
FW ดอมินิก แคลเวิร์ต-ลูอิน (1997-03-16) 16 มีนาคม ค.ศ. 1997 (26 ปี) 11 4 อังกฤษ เอฟเวอร์ตัน v. ธงชาติฮังการี ฮังการี, 2 กันยายน 2021
FW แทมมี อับราฮัม (1997-10-02) 2 ตุลาคม ค.ศ. 1997 (26 ปี) 10 3 อิตาลี โรมา v. ธงชาติสวิตเซอร์แลนด์ สวิตเซอร์แลนด์, 26 มีนาคม 2022

หมายเหตุ:

  • RET ผู้เล่นที่เกษียณจากทีมชาติ

สถิติ[แก้]

ผู้เล่นที่ลงแข่งมากที่สุด[แก้]

ข้อมูล ณ วันที่ 10 กันยายน 2019
ผู้เล่นที่มีชื่อเป็น ตัวหนา คือผู้เล่นที่ยังเล่นอยู่ในสโมสร

ปีเตอร์ ชิลตัน คือผู้รักษาประตูที ติดทีมชาติสูงที่สุดในประวัติศาสตร์ทีมชาติอังกฤษ โดยลงเล่นไปทั้งหมด 125 นัด
# ชื่อ ช่วงเวลา ลงเล่น ประตู ตำแหน่ง
1 ปีเตอร์ ชิลตัน 1970–1990 125 0 GK
2 เวย์น รูนีย์ 2003–2016 120 53 FW
3 เดวิด เบคแคม 1996–2009 115 17 MF
4 สตีเวน เจอร์ราร์ด 2000–2014 114 21 MF
5 บ็อบบี มัวร์ 1962–1973 108 2 DF
6 แอชลีย์ โคล 2001–2014 107 0 DF
7 บ็อบบี ชาร์ลตัน 1958–1970 106 49 FW
แฟรงก์ แลมพาร์ด 1999–2014 106 29 MF
9 บิลลี ไรต์ 1946–1959 105 3 DF
10 ไบรอัน ร็อบสัน 1980–1991 90 26 MF
11 ไมเคิล โอเวน 1998–2008 89 40 FW
12 เคนนี แซนซัม 1979–1988 86 1 DF
13 แกรี เนวิล 1995–2007 85 0 DF
14 เรย์ วิลกินส์ 1976–1986 84 3 MF
15 ริโอ เฟอร์ดินานด์ 1997–2011 81 3 DF
16 แกร์รี ลินิเกอร์ 1984–1992 80 48 FW
17 จอห์น บาร์นส์ 1983–1995 79 11 MF
18 สจ๊วต เพียรซ 1987–1999 78 5 DF
จอห์น เทร์รี 2003–2012 78 6 DF
20 เทร์รี่ บุทเชอร์ 1980–1990 77 3 DF

ผู้เล่นที่ทำประตูสูงสุด[แก้]

แฮร์รี เคน คือผู้เล่นที่ทำประตูสูงสุดในนามทีมชาติอังกฤษด้วยจำนวน 58 ประตู
เวย์น รูนีย์ คือผู้เล่นที่ทำประตูสูงสุดเป็นอันดับสองด้วยจำนวน 53 ประตู

ข้อมูล ณ วันที่ 19 มิถุนายน ค.ศ. 2023

ผู้เล่นที่มีชื่อเป็น ตัวหนา คือผู้เล่นที่ยังเล่นอยู่ในสโมสร

อันดับ ชื่อ ประตู ลงเล่น ค่าเฉลี่ย (ประตู/เกม) ช่วงเวลา
1 แฮร์รี เคน 58 84 0.69 2015–
2 เวย์น รูนีย์ 53 120 0.44 2003–2018
3 บ็อบบี ชาร์ลตัน 49 106 0.46 1958–1970
4 แกร์รี ลินิเกอร์ 48 80 0.60 1984–1992
5 จิมมี กรีฟส์ 44 57 0.77 1959–1967
6 ไมเคิล โอเวน 40 89 0.45 1998–2008
7 แนต ลอฟต์เฮาส์ 30 33 0.91 1950–1958
แอลัน เชียเรอร์ 30 63 0.48 1992–2000
ทอม ฟินนีย์ 30 76 0.39 1946–1958
10 วิเวียน วูดเวิร์ด 29 23 1.26 1903–1911
แฟรงก์ แลมพาร์ด 29 106 0.27 1999–2014

สถิติการแข่งขัน[แก้]

เกียรติประวัติ[แก้]

ระดับสูงสุด:

ชนะเลิศ (1): 1966
อันดับที่สี่ (2):1990, 2018
รองชนะเลิศ (1): 2020
อันดับที่สาม (1): 1968
รอบรองชนะเลิศ (1): 1996
อันดับ 3 (1): 2018–19

ระดับแคว้น:

Winners (54): (including 20 shared)
Runners-up (24): (including 7 shared)
Winners (3): 1986, 1988, 1989
Runners-up (2): 1985, 1987

ระดับเล็ก:

Winners (1): 1997
Runners-up (1): 1998
Winners (1): 1991

อื่น ๆ:

ชนะเลิศ (2): 1990, 1998

ไม่เป็นทางการ:

จำนวนแมตช์ที่ชนะเลิศ: 88
ชนะเลิศติดต่อกัน: 21

อดีตผู้เล่นคนสำคัญ[แก้]

ดูเพิ่ม[แก้]

หมายเหตุ[แก้]

อ้างอิง[แก้]

  1. "The FIFA/Coca-Cola World Ranking". FIFA. 15 กุมภาพันธ์ 2024. สืบค้นเมื่อ 15 กุมภาพันธ์ 2024.
  2. "ปี๊บอยู่ไหน!ทีมชาติอังกฤษตกรอบแรกบอลโลกในรอบ56ปี". สยามสปอร์ต. 20 June 2014. สืบค้นเมื่อ 21 June 2014.
  3. Kevin Keegan and Howard Wilkinson managed one qualifying match each: Eriksson managed the remainder of qualification and the finals campaign.
  4. Sam Allardyce managed one qualifying match: Gareth Southgate managed the remainder of the qualification and the finals campaign.
  5. England were defeated by France in a two-legged elimination round. Ramsey took over from Winterbottom between the two legs.
  6. Although England did not qualify for the finals, they reached the last eight of the competition. Only the last four teams progressed to the finals.
  7. Hoddle managed the first three qualifiers, while Keegan managed the remainder of qualification and the finals campaign.
  8. Capello managed the qualification campaign. He resigned before the tournament and was replaced by Hodgson.
  9. "ยูโร 2016 : อังกฤษ - รัสเซีย". กะปุกดอตคอม. 12 June 2016. สืบค้นเมื่อ 12 June 2016.

แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]