ข้ามไปเนื้อหา

ประเทศโปรตุเกส

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
(เปลี่ยนทางจาก โปรตุเกส)
สาธารณรัฐโปรตุเกส

República Portuguesa (โปรตุเกส)
ธงชาติประเทศโปรตุเกส
ธงชาติ
ตราแผ่นดินของประเทศโปรตุเกส
ตราแผ่นดิน
คำขวัญ
Esta é a ditosa Pátria minha amada
("นี่คือบ้านเกิดแสนสุขอันเป็นที่รักของฉัน")
ที่ตั้งของ ประเทศโปรตุเกส  (เขียวเข้ม)

– ในยุโรป  (เขียว & เทาเข้ม)
– ในสหภาพยุโรป  (เขียว)

เมืองหลวง
และเมืองใหญ่สุด
ลิสบอน
38°46′N 9°9′W / 38.767°N 9.150°W / 38.767; -9.150
ภาษาราชการโปรตุเกส
มีรังดา[หมายเหตุ 1]
กลุ่มชาติพันธุ์
ศาสนา
(ค.ศ. 2011)
เดมะนิมชาวโปรตุเกส
การปกครองรัฐเดี่ยว สาธารณรัฐระบอบกึ่งประธานาธิบดี[4]
มาร์แซลู รึเบลู ดึ โซซา
ลูวิช มงตึเนกรู
สภานิติบัญญัติสมัชชาสาธารณรัฐ
การก่อตั้ง
ค.ศ. 868
ค.ศ. 1095
24 มิถุนายน ค.ศ. 1128
25 กรกฎาคม ค.ศ. 1139
5 ตุลาคม ค.ศ. 1143
1 ธันวาคม ค.ศ. 1640
23 กันย่ายน ค.ศ. 1822
5 ตุลาคม ค.ศ. 1910
25 เมษายน ค.ศ. 1974
25 เมษายน ค.ศ. 1976[หมายเหตุ 3]
1 มกราคม ค.ศ. 1986
พื้นที่
• รวม
92,212 ตารางกิโลเมตร (35,603 ตารางไมล์)[5] (อันดับที่ 109)
1.2 (ใน ค.ศ. 2015)[6]
ประชากร
• สำมะโนประชากร ค.ศ. 2021
ลดลงเป็นกลาง 10,344,802[7]
112.2[8] ต่อตารางกิโลเมตร (290.6 ต่อตารางไมล์)
จีดีพี (อำนาจซื้อ) ค.ศ. 2022 (ประมาณ)
• รวม
เพิ่มขึ้น 419.7 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ[9] (อันดับที่ 52)
เพิ่มขึ้น 40,805 ดอลลาร์สหรัฐ[9] (อันดับที่ 45)
จีดีพี (ราคาตลาด) ค.ศ. 2022 (ประมาณ)
• รวม
เพิ่มขึ้น 251.9 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ[9] (อันดับที่ 51)
เพิ่มขึ้น 24,495 ดอลลาร์สหรัฐ[9] (อันดับที่ 45)
จีนี (ค.ศ. 2020)Negative increase 33.0[10]
ปานกลาง
เอชดีไอ (ค.ศ. 2019)เพิ่มขึ้น 0.864[11]
สูงมาก · อันดับที่ 38
สกุลเงินยูโร () (EUR)
เขตเวลาUTC (WET)
UTC−1 (แอตแลนติก/อะโซร์ส)
• ฤดูร้อน (เวลาออมแสง)
UTC+1 (WEST)
UTC (แอตแลนติก/อะโซร์ส)
หมายเหตุ: โปรตุเกสแผ่นดินใหญ่และมาเดราใช้เวลา WET/WEST โดยที่อะโซร์สช้ากว่า 1 ชั่วโมง
รูปแบบวันที่วว/ดด/ปปปป
ขับรถด้านขวามือ
รหัสโทรศัพท์+351
รหัส ISO 3166PT
โดเมนบนสุด.pt
  1. ^ ภาษามีรังดาที่มีผู้ใช้งานในภูมิภาค Terra de Miranda ได้รับการยอมรับอย่างเป็นทางการใน ค.ศ. 1999 (Lei n.° 7/99 de 29 de Janeiro),[1] ในการให้สิทธิ์ในการใช้งานอย่างเป็นทางการ[2] ภาษามือโปรตุเกสก็ได้รับการยอมรับเช่นกัน
  2. ^ ตามประเทศที่ถือสัญชาติ
  3. ^ รัฐธรรมนูญของโปรตุเกสที่นำมาใช้ในปี 1976 มีการแก้ไขย่อย ๆ หลายครั้ง ใน ค.ศ. 1982 และ 2005
ปราสาทแห่งกีมารานช์ (Castle of Guimarães) ที่ถูกสร้างขึ้นในคริสต์ศตวรรษที่ 10 ถือเป็นสัญลักษณ์ประจำชาติของประเทศโปรตุเกส เรียกได้อีกชื่อหนึ่งว่า "ต้นกำเนิดของโปรตุเกส" ศึกแห่งเซามาเมเด (São Mamede) เกิดขึ้นใกล้ ๆ กับที่นี่ใน พ.ศ. 1671

โปรตุเกส (โปรตุเกส: Portugal [puɾtuˈɣaɫ] ปุรตุกาล) หรือชื่อทางการคือ สาธารณรัฐโปรตุเกส (โปรตุเกส: República Portuguesa) เป็นรัฐเอกราชซึ่งมีแผ่นดินใหญ่ตั้งอยู่บนคาบสมุทรไอบีเรียทางทิศตะวันตกเฉียงใต้ของทวีปยุโรป มีพรมแดนติดกับประเทศสเปนทางทิศเหนือและทิศตะวันออกซึ่งถือเป็นพรมแดนที่ต่อเนื่องกันที่ยาวที่สุดในสหภาพยุโรป และติดกับมหาสมุทรแอตแลนติกทางทิศตะวันตกและทิศใต้ อาณาเขตของโปรตุเกสยังรวมถึงหมู่เกาะอะโซร์ส และมาเดราบริเวณมหาสมุทรแอตแลนติกซึ่งมีสถานะเป็นเขตพื้นที่ปกครองตนเอง โปรตุเกสมีสภาพเป็นรัฐเดี่ยวซึ่งปกครองด้วยระบบกึ่งประธานาธิบดี มีประชากรประมาณ 11 ล้านคน ภาษาโปรตุเกสเป็นภาษาราชการ ในขณะที่ภาษามีรังดาได้รับการรับรองโดยรัฐให้เป็นภาษาถิ่น โปรตุเกสมีเมืองหลวงและเมืองที่ใหญ่ที่สุดคือลิสบอน และยังเป็นหนึ่งในศูนย์กลางทางด้านการท่องเที่ยวร่วมกับโปร์ตูและอัลการ์วึ

โปรตุเกสเป็นหนึ่งในประเทศที่เก่าแก่ที่สุดในทวีปยุโรป[12] อาณาเขตทั้งหมดเริ่มมีมนุษย์เข้ามาตั้งรกรากตั้งแต่ยุคก่อนประวัติศาสตร์ ในเวลาต่อมาได้กลายเป็นที่อยู่อาศัยของชาวเคลต์, ฟินิเชีย และพ่อค้าชาวกรีกโบราณ ก่อนจะถูกปกครองโดยชาวโรมัน ตามด้วยการรุกรานของชาววิซิกอทซึ่งเป็นกลุ่มชนเจอร์แมนิก และหลังจากคาบสมุทรไอบีเรียถูกรุกรานโดยชาวมัวร์ พื้นที่ส่วนใหญ่ได้กลายเป็นส่วนหนึ่งของอัลอันดะลุสก ซึ่งปกครองโดยอาหรับและชาวมุสลิมในแอฟริกาเหนือ โปรตุเกสในฐานะประเทศได้ก่อตั้งขึ้นในสมัยเรกองกิสตา เคาน์ตีแห่งโปรตุเกสซึ่งหมายถึงสองมณฑลในยุคกลางที่ต่อเนื่องกันในภูมิภาครอบ ๆ บรากาและโปร์ตูได้ก่อตั้งขึ้นใน ค.ศ. 868 และมีชื่อเสียงจากเหตุการณ์สมรภูมิเซามาเมเดใน ค.ศ. 1128 ราชอาณาจักรโปรตุเกสได้รับการประกาศอย่างเป็นทางการใน ค.ศ. 1139 และปลดแอกจากราชอาณาจักรเลออนใน ค.ศ. 1143[13]

ในศตวรรษที่ 15 และ 16 จักรวรรดิโปรตุเกส ได้กลายเป็นมหาอำนาจและเป็นศูนย์กลางทางการค้า การเมือง และการทหารของโลก[14] ในช่วงเวลาดังกล่าวซึ่งเป็นยุคแห่งการสำรวจ นักสำรวจชาวโปรตุเกสได้บุกเบิกการสำรวจทางทะเลด้วยการค้นพบบราซิลสมัยอาณานิคม ใน ค.ศ. 1500 โปรตุเกสยังได้ผูกขาดการค้าเครื่องเทศในช่วงเวลานี้ และส่งผลต่อวัฒนธรรมบางส่วนของชาวเอเชียมาจนถึงปัจจุบัน สนธิสัญญาตอร์เดซิยัสแบ่งเขตอิทธิพลในดินแดนที่ค้นพบใหม่นอกยุโรประหว่างจักรวรรดิโปรตุเกสกับราชบัลลังก์กัสติยา และยังขยายอิทธิพลทางการทหารและวัฒนธรรมไปสู่ทวีปเอเชีย อย่างไรก็ตาม เหตุการณ์ต่าง ๆ ในศตวรรษที่ 18 อาทิ แผ่นดินไหวในลิสบอน ค.ศ. 1755 การยึดครองของประเทศในช่วงสงครามนโปเลียน และเอกราชของบราซิล ส่งผลให้ความยิ่งใหญ่ของโปรตุเกสเสื่อมถอยลง[15] ซึ่งตามมาด้วยสงครามเสรีนิยม ระหว่างฝ่ายเสรีนิยมกับผู้นิยมระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์ ในการสืบราชสันตติวงศ์ซึ่งกินเวลาตั้งแต่ ค.ศ. 1828 ถึง 1834 การปฏิวัติใน ค.ศ. 1910 ได้โค่นล้มระบอบราชาธิปไตยที่ยาวนานมาหลายศตวรรษ ก่อนที่สาธารณรัฐที่ 1 ซึ่งเป็นประชาธิปไตยจะก่อตั้งขึ้นในช่วงเวลาสั้น ๆ และถูกแทนที่ด้วย อึชตาดูโนวู หรือสาธารณรัฐที่ 2 ซึ่งเป็นระบอบเผด็จการ กระนั้น ระบอบประชาธิปไตยก็ได้รับการฟื้นฟูอีกครั้งภายหลังการปฏิวัติคาร์เนชัน ใน ค.ศ. 1974 และเป็นจุดสิ้นสุดของสงครามอาณานิคมโปรตุเกส ซึ่งตามมาด้วยการได้รับเอกราชของดินแดนโพ้นทะเลเกือบทั้งหมด

โปรตุเกสได้ทิ้งอิทธิพลทางวัฒนธรรม สถาปัตยกรรม และภาษาไปทั่วโลก โดยมีผู้พูดภาษาโปรตุเกสประมาณ 250 ล้านคน[16] โปรตุเกสเป็นประเทศพัฒนาแล้ว[17] พร้อมด้วยระบบเศรฐกิจที่มั่นคงและคุณภาพชีวิตที่ดีของประชากร[18][19][20] รายได้หลักมาจากการบริการและการท่องเที่ยว ถือเป็นหนึ่งในประเทศที่มีปริมาณทองคำสำรองในธนาคารกลางมากที่สุดของโลก และยังเต็มไปด้วยทรัพยากรที่สำคัญรวมถึงมีปริมาณลิเทียมมากเป็นอันดับ 8 ของโลก[21][22] ซึ่งคิดเป็นปริมาณการส่งออกสูงถึง 49% ของจีดีพีรวมใน ค.ศ. 2022[23] โปรตุเกสยังได้รับการจัดอันดับสูงในด้านดัชนีสันติภาพโลก ประชาธิปไตย เสรีภาพสื่อ ดัชนีรัฐบอบบาง และทักษะทางภาษาอังกฤษ[24] โปรตุเกสเป็นสมาชิกของสหประชาชาติ สหภาพยุโรป พื้นที่เชงเกน สภายุโรป และเป็นสมาชิกผู้ร่วมก่อตั้งของเนโท ยูโรโซน องค์การเพื่อความร่วมมือและการพัฒนาทางเศรษฐกิจ และประชาคมผู้ใช้ภาษาโปรตุเกสโลก

ภูมิศาสตร์

[แก้]

สภาพภูมิประเทศและอากาศ

[แก้]

อาณาเขตของโปรตุเกสประกอบด้วยพื้นที่บนคาบสมุทรไอบีเรีย (ซึ่งชาวโปรตุเกสส่วนใหญ่เรียกว่าทวีป) และหมู่เกาะสองแห่งในมหาสมุทรแอตแลนติก ได้แก่ หมู่เกาะมาเดราและอะซอเรส อยู่ระหว่างละติจูด 30° ถึง 42° N และลองจิจูด 32° ถึง 6° W แผ่นดินใหญ่ของโปรตุเกสแยกจากแม่น้ำสายหลักคือแม่น้ำเทกัสซึ่งไหลมาจากสเปนและแยกย้ายกันไปที่ปากแม่น้ำทากัสในลิสบอน ก่อนที่จะลงสู่มหาสมุทรแอตแลนติก ภูมิประเทศทางตอนเหนือเป็นภูเขาโดยมีที่ราบสูงหลายแห่ง ในขณะที่ทางใต้ รวมทั้งภูมิภาคแอลการ์ฟและภูมิภาคอเลนเตโจมีลักษณะเป็นที่ราบลุ่ม[25]

ยอดเขาที่สูงที่สุดของโปรตุเกสมีชื่อเดียวกันว่า Mount Pico บนเกาะ Pico ใน Azores ภูเขาไฟโบราณซึ่งมีขนาด 2,351 ม. (7,713 ฟุต) นี้เป็นสัญลักษณ์ของอะซอเรส ในขณะที่ Serra da Estrela บนแผ่นดินใหญ่ (ยอดเขาสูง 1,991 ม. (6,532 ฟุต) เหนือระดับน้ำทะเล) เป็นสถานที่ท่องเที่ยวตามฤดูกาลที่สำคัญสำหรับนักเล่นสกีและ ผู้ที่ชื่นชอบกีฬาฤดูหนาว

เขตเศรษฐกิจจำเพาะของโปรตุเกส ซึ่งเป็นเขตทะเลที่โปรตุเกสมีสิทธิพิเศษในการสำรวจและการใช้ทรัพยากรทางทะเล มีพื้นที่กว่า 1,727,408 ตารางกิโลเมตร ถือเป็นเขตเศรษฐกิจจำเพาะที่ใหญ่เป็นอันดับ 3 ของสหภาพยุโรปและใหญ่เป็นอันดับที่ 20 ของโลก[26]

ภูมิอากาศของประเทศโปรตุเกส เป็นแบบยุโรปตอนใต้ ฤดูร้อน จะมีอากาศร้อนจัดระหว่างช่วงเดือนมิถุนายนถึงเดือนกันยายน โดยมีอุณหภูมิเฉลี่ย 28-36 องศาฯ ฤดูหนาวตั้งแต่เดือนตุลาคม ถึงเดือนมีนาคม อุณหภูมิประมาณ 0-12 องศา ฯ ฤดูใบไม้ผลิ ระหว่างเดือนเมษายน-พฤษภาคม อุณหภูมิเฉลี่ยประมาณ 10-18 องศาเซลเซียส[27][28]

สิ่งมีชีวิต

[แก้]

โปรตุเกสตั้งอยู่บนลุ่มน้ำเมดิเตอเรเนียน ซึ่งเป็นจุดที่มีดอกไม้นานาพันธุ์มากเป็นอันดับสามของโลก เนื่องจากบริบททางภูมิศาสตร์และภูมิอากาศ - ระหว่างมหาสมุทรแอตแลนติกและเมดิเตอร์เรเนียน - โปรตุเกสมีความหลากหลายทางชีวภาพในระดับสูงทั้งบนบกและในทะเล พื้นที่กว่า 22% ของพื้นที่ทั้งหมดรวมอยู่ในเครือข่าย Natura 2000 ซึ่งรวมถึงพื้นที่อนุรักษ์พิเศษ 62 แห่ง และที่อยู่อาศัยตามธรรมชาติที่มีภูมิทัศน์ที่ได้รับการคุ้มครองกว่า 88 ประเภท[29] ยูคาลิปตัส (สวนที่ไม่ใช่พืชพื้นเมืองในเชิงพาณิชย์) ไม้ก๊อกโอ๊คและต้นสนทะเลรวมกันเป็น 71% ของพื้นที่ป่าไม้ทั้งหมดของโปรตุเกสภาคพื้นทวีป ตามด้วยต้นโอ๊กโฮล์ม ต้นสนหิน และต้นโอ๊กอื่น ๆ โปรตุเกสอยู่ในลำดับที่สองของยุโรปในแง่ประเทศที่มีการคุกคามสิ่งมีชีวิตในธรรมชาติมากที่สุด[30][31]

ประวัติศาสตร์

[แก้]

โปรตุเกสคือดินแดนที่เป็นต้นกำเนิดของอารยธรรมแตกต่างกันไปอย่างต่อเนื่องในช่วง 3,500 ปีที่ผ่านมา ทั้งอารยธรรมของชาวไอบีเรีย (Iberians) ชาวเคลต์ (Celts) ชาวฟีนีเชีย (Phoenicians) และชาวคาร์เทจ (Carthaginians) ชาวกรีก (Greeks) ชาวโรมัน (Romans) ชาวเผ่าเยอรมัน (Germanic tribespeople) รวมถึงอารยธรรมของชาวอาหรับ (Arabians) ล้วนเคยเหยียบย่ำบนแผ่นดินโปรตุเกสมาแล้วทั้งสิ้น ในชื่อ "โปรตุเกส" นั้นก็บ่งบอกถึงประวัติศาสตร์สมัยโบราณส่วนใหญ่ของประเทศนี้ไปแล้ว เนื่องจากรากศัพท์ของคำว่าโปรตุเกสนั้น คือชื่อที่ชาวโรมันตั้งให้ชื่อว่า "Portus Cale" อาจเป็นไปได้ว่าคำนี้จะมาจากการสมาสคำระหว่างภาษากรีกและภาษาละตินซึ่งมีความหมายว่า "ท่าเรือที่สวยงาม" ในระหว่างคริสต์ศตวรรษที่ 15 และ คริสต์ศตวรรษที่ 16 นั้นโปรตุเกสคือประเทศมหาอำนาจทางเศรษฐกิจ การเมือง และวัฒนธรรม โดยจักรวรรดิโปรตุเกสนั้นแผ่ขยายอำนาจของตนไปทั่วโลก เมื่อหลังจากที่ประเทศมหาอำนาจอื่น ๆ พัฒนาขึ้นในด้านการล่าอาณานิคมแล้ว โปรตุเกสจึงเสื่อมถอยลงไป

ประเทศโปรตุเกสในปัจจุบันนี้มีรากฐานมาจากการปฏิวัติเรียกร้องประชาธิปไตย ที่ทำการล้มล้างระบอบการปกครองแบบเผด็จการ (หรือการบริหารแบบพรรคเดียว) ซึ่งถูกก่อตั้งขึ้นมาตั้งแต่ปี พ.ศ. 2469 (ค.ศ. 1926) จนถูกโค่นล้มในปี พ.ศ. 2517 (ค.ศ. 1974) จากนั้นในภายหลังจึงเข้ามาเป็นสมาชิกของประชาคมเศรษฐกิจยุโรป หรือ European Economic Community (สหภาพยุโรปในปัจจุบัน) ในปี พ.ศ. 2529 (ค.ศ. 1986) ประเทศโปรตุเกสพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมของตนขึ้นมาอย่างรวดเร็วในช่วง 20-30 ปีที่ผ่านมาในคริสต์ศตวรรษที่ 20

ยุคลูซิทาเนีย

[แก้]

ในช่วงต้น ๆ หนึ่งสหัสวรรษก่อนคริสตกาล ชาวเซลต์ได้ทำการรุกรานโปรตุเกสจากภูมิภาคยุโรปตอนกลางอยู่หลายระลอกด้วยกัน รวมถึงแต่งงานข้ามเผ่ากับชาวไอบีเรียซึ่งเป็นประชากรท้องถิ่น ก่อให้เกิดชาวเซลต์ลูกครึ่งไอบีเรียออกมา นักสำรวจชาวกรีกในยุคนั้นตั้งชื่อภูมิภาคนี้ว่า "ออร์ฟิอุสซา" (Orphiussa) (มาจากภาษากรีก หมายความว่า "แดนแห่งพญางู" เนื่องจากชาวพื้นเมืองที่นั่นนับถืองูพิษ ต่อมาพ.ศ. 305 (ก่อนคริสตกาล 238 ปี) ชาวคาร์เทจเข้ามาตั้งถิ่นฐานตามแนวชายฝั่งบนคาบสมุทรไอบีเรีย ในช่วงนี้มีเผ่าย่อย ๆ หลายเผ่าอาศัยอยู่กระจัดกระจายกันไป ส่วนใหญ่มักจะเป็นชาวลูซิทาเนีย (Lusitanians) ที่อาศัยอยู่ระหว่างแม่น้ำดูโร (Douro) และแม่น้ำเทโฮ (Tegus หรือ Tejo) และชาวแคลเลไค (Callaeci) ที่อาศัยอยู่ทางตอนเหนือของแม่น้ำดูโรรวมอยู่กับเผ่าอื่น ๆ รวมถึงชาวโคนิไอ (Conii) ที่ตั้งถิ่นฐานอยู่ทางตอนใต้ของโปรตุเกสมาเป็นเวลานาน และชาวเซลติไค (Celtici) ชนรุ่นหลังของชาวเซลต์ที่เข้ามาตั้งถิ่นฐาน พวกเขาอาศัยอยู่ที่อเลนเทโฮ (Alentejo)

ก่อนคริสตกาล 219 ปี ทหารชาวโรมันชุดแรกเข้ามาทำการรุกรานคาบสมุทรไอบีเรีย และขับไล่ชาวคาร์เทจออกไประหว่างสงครามพิวนิค (Punic Wars) การพิชิตโปรตุเกสของชาวโรมันเริ่มต้นขึ้นทางตอนใต้ขึ้นมา, ในตอนใต้นี้เอง ที่ทำให้พวกเขาพบกับชาวพื้นเมืองที่เป็นมิตรเผ่าแรกคือเผ่าโคนิไอ หลายทศวรรษต่อมา ชาวโรมันก็ค่อย ๆ ขยายวงแหวนแห่งการปกครองออกไป แต่ในที่สุด เมื่อ พ.ศ. 349 (194 ปีก่อนคริสตกาล) เกิดการกบฏขึ้นทางตอนเหนือ โดยชาวลูซิเทเนียที่ในที่สุดก็สามารถตรึงกำลังพวกโรมันเอาไว้ได้ ได้ทำการยึดอาณาเขตคืนมาจากชาวโรมัน และปล้นสดมภ์เมืองโคนิสทอร์จิส (Conistorgis) ซึ่งเป็นเมืองหลวงของเผ่าโคนิไอ ด้วยเหตุผลที่ว่าชาวโคนิไอนี้ผูกมิตรชิดเชื้อกับโรม ผู้นำของชาวลูซิเทเนีย วิเรียธิอุส (Viriathus) เป็นผู้นำการขับไล่ทหารโรมันออกจากคาบสมุทรไอบีเรีย ทำให้โรมต้องส่งกองทหารโรมันมาเป็นจำนวนมาก แต่ไม่เป็นผลสำเร็จ ต่อมาทางโรมจึงทำการประนีประนอมโดยการเปลี่ยนสัญชาติชาวลูซิเทเนียให้เป็นชาวโรมัน ด้วยการมอบสิทธิ์ละติน (Latinius หรือ Latin Right) ให้กับชาวลูซิเทเนียในปี พ.ศ. 616 (ค.ศ. 73)

ยุคอาณาจักร

[แก้]

ในช่วงคริสต์ศตวรรษที่ 5 ชาวเผ่าอนารยชนเยอรมัน (ส่วนใหญ่คือเผ่าซูวี (Suevi) และชาววิสิกอธ) ได้ทำการรุกรานคาบสมุทรไอบีเรีย, ก่อตั้งอาณาจักรของตนเองขึ้น และกลายเป็นชาวพื้นเมืองไอบีเรียในที่สุด มีชาวเผ่ากลุ่มน้อยเช่นชาวแวนดัล (Vandals) เผ่าซิลิงไก (Silingi) และเผ่าฮาสดิงไก (Hasdingi) รวมถึงชาวซาร์มาเทีย (หรือ ชาวอลัน - Alans) อาศัยอยู่ด้วย แต่ต่อมาพวกเขาโดนเนรเทศหรือจำกัดถิ่นที่อยู่โดยชาววิสิกอธ (Visigoths)

การรุกรานของชาวมุสลิมเกิดขึ้นในปี พ.ศ. 1254 (ค.ศ. 711) บรรดาขุนนางที่ถูกขับไล่ออกมาอพยพไปยังทางตอนเหนือที่ยังไม่ได้ทำการยึดครอง ณ ที่ราบสูงแอสทูเรีย (Asturia) จากจุดนั้นพวกเขามีจุดมุ่งหมายในการยึดดินแดนคืนมาจากชาวมัวร์ (Moors) ซึ่งส่วนใหญ่เป็นเบอร์เบอร์ และชาวอาหรับจำนวนหนึ่ง ซึ่งใช้เวลาไม่นานนักในการยึดคืนมาเนื่องมาจากการยึดดินแดนคืนครั้งใหญ่ของชาวคริสต์หรือ Reconquista ในปี พ.ศ. 1411 (ค.ศ. 868) เคานต์วีมารา เปเรช (Count Vímara Peres) เป็นผู้ยึดดินแดนระหว่างแม่น้ำมีโนและดูโรคืนมาได้ ดินแดนดังกล่าวเป็นที่รู้จักกันได้นามว่า Portucale (ซึ่งก็คือโปรตุเกสในปัจจุบัน)

ยุคเสรีนิยม

[แก้]

ยุคสาธารณรัฐ

[แก้]

การเมืองปกครอง

[แก้]

โปรตุเกสเป็นสาธารณรัฐประชาธิปไตยกึ่งประธานาธิบดีนับตั้งแต่การให้สัตยาบันรัฐธรรมนูญปี 1976 โดยมีลิสบอนซึ่งเป็นเมืองที่ใหญ่ที่สุดของประเทศมีฐานะเป็นเมืองหลวง[32] รัฐธรรมนูญอนุญาตให้มีการแบ่งหรือแยกอำนาจระหว่างสี่ฝ่ายที่เรียกว่า "องค์กรแห่งอธิปไตย" ได้แก่ ประธานาธิบดีแห่งสาธารณรัฐ รัฐบาล สมัชชาแห่งสาธารณรัฐ และศาล[33]

ประธานาธิบดีซึ่งได้รับเลือกให้ดำรงตำแหน่งห้าปีมีบทบาทในการบริหารประเทศ ประธานาธิบดีคนปัจจุบันคือ มาร์แซลู รึเบลู ดึ โซซา สมัชชาแห่งสาธารณรัฐเป็นสภาเดียวที่ประกอบด้วยผู้แทนสูงสุด 230 คนจากการเลือกตั้งในระยะสี่ปี รัฐบาลจะนำโดยนายกรัฐมนตรี (ปัจจุบันคือ อังตอนียู กอชตา) และรวมถึงรัฐมนตรีและเลขาธิการแห่งรัฐ ศาลแบ่งออกเป็นหลายระดับ ได้แก่ ฝ่ายตุลาการ ฝ่ายบริหาร และการคลัง ศาลฎีกาเป็นศาลสุดท้ายในการพิพากษา และมีศาลรัฐธรรมนูญที่มีสมาชิกสิบสามคนทำหน้าที่ดูแลความชอบธรรมตามรัฐธรรมนูญของกฎหมาย

ประมุขแห่งรัฐโปรตุเกสเป็นประธานาธิบดีแห่งสาธารณรัฐ ซึ่งได้รับเลือกให้ดำรงตำแหน่งห้าปีโดยการลงคะแนนเสียงแบบสากลโดยตรง อำนาจประธานาธิบดีรวมถึงการแต่งตั้งนายกรัฐมนตรีและสมาชิกคนอื่น ๆ ของรัฐบาล (ซึ่งประธานาธิบดีคำนึงถึงผลการเลือกตั้งสภานิติบัญญัติ) การขับไล่นายกรัฐมนตรีให้พ้นจากตำแหน่ง และการยุบสภาแห่งสาธารณรัฐ (เพื่อเรียกการเลือกตั้งล่วงหน้า) การคัดค้านกฎหมาย (ซึ่งอาจถูกแทนที่โดยสมัชชา) และประกาศภาวะสงครามหรือการปิดล้อม ประธานาธิบดียังมีอำนาจกำกับดูแลและสำรองและเป็นอดีตผู้บัญชาการทหารสูงสุดแห่งกองทัพ ประธานาธิบดีได้รับคำแนะนำเกี่ยวกับประเด็นสำคัญ ๆ จากสภาแห่งรัฐ ซึ่งประกอบด้วยเจ้าหน้าที่พลเรือนอาวุโส 6 คน อดีตประธานาธิบดีคนใดก็ตามที่ได้รับการเลือกตั้งภายใต้รัฐธรรมนูญ ค.ศ. 1976 สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร 5 คนที่ได้รับเลือก และประธานาธิบดี 5 คนที่ได้รับเลือก

การแบ่งเขตการปกครอง

[แก้]

สาธารณรัฐโปรตุเกสแบ่งออกเป็น 18 เขต (distritos) กับ 2 เขตปกครองตนเอง (regiões autónomas) ได้แก่

เขต[34]
  เขต เนื้อที่ จำนวนประชากร   เขต เนื้อที่ จำนวนประชากร
1 ลิสบอน (Lisbon) 2,761 ตร.กม. 2,250,533 คน 10 กวาร์ดา (Guarda) 5,518 ตร.กม. 160,939 คน
2 ไลรีอา (Leiria) 3,517 ตร.กม. 470,930 คน 11 กูอิงบรา (Coimbra) 3,947 ตร.กม. 430,104 คน
3 ซังตาไร (Santarém) 6,747 ตร.กม. 453,638 คน 12 อาไวรู (Aveiro) 2,808 ตร.กม. 714,200 คน
4 ซือตูบัล (Setúbal) 5,064 ตร.กม. 851,258 คน 13 วีเซว (Viseu) 5,007 ตร.กม. 377,653 คน
5 แบฌา (Beja) 10,225 ตร.กม. 152,758 คน 14 บรากังซา (Bragança) 6,608 ตร.กม. 136,252 คน
6 ฟารู (Faro) 4,960 ตร.กม. 451,006 คน 15 วีลาเรียล (Vila Real) 4,328 ตร.กม. 206,661 คน
7 แอวูรา (Évora) 7,393 ตร.กม. 166,706 คน 16 โปร์ตู (Porto) 2,395 ตร.กม. 1,817,117 คน
8 ปูร์ตาแลกรือ (Portalegre) 6,065 ตร.กม. 118,506 คน 17 บรากา (Braga) 2,673 ตร.กม. 848,185 คน
9 กัชแตลูบรังกู (Castelo Branco) 6,675 ตร.กม. 196,264 คน 18 เวียนาดูกัชแตลู (Viana do Castelo) 2,255 ตร.กม. 244,836 คน
เขตปกครองตนเอง
เขตปกครองตนเอง เนื้อที่ จำนวนประชากร
อะโซร์ส (Azores) 2,333 ตร.กม. 246,772 คน
มาเดรา (Madeira) 801 ตร.กม. 267,785 คน

กฎหมาย

[แก้]

ระบบกฎหมายของโปรตุเกสเป็นส่วนหนึ่งของระบบกฎหมายแพ่ง หรือที่เรียกว่าระบบกฎหมายครอบครัวภาคพื้นทวีป กฎหมายหลัก ได้แก่ รัฐธรรมนูญ (1976 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติม) ประมวลกฎหมายแพ่งของโปรตุเกส (1966 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติม) และประมวลกฎหมายอาญาของโปรตุเกส (1982 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติม) กฎหมายที่เกี่ยวข้องอื่นๆ ได้แก่ ประมวลกฎหมายพาณิชย์ (1888 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติม) และประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง (1961 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติม) ศาลสูงสุดของประเทศ ได้แก่ ศาลฎีกาและศาลรัฐธรรมนูญ กระทรวงสาธารณะ นำโดยอัยการสูงสุดแห่งสาธารณรัฐ ประกอบขึ้นเป็นหน่วยงานอิสระของพนักงานอัยการ กฎหมายของโปรตุเกสถูกนำมาใช้ในอดีตอาณานิคมและดินแดนและยังคงเป็นอิทธิพลสำคัญสำหรับประเทศเหล่านั้น โปรตุเกสเป็นประเทศแรกในโลกที่ยกเลิกการจำคุกตลอดชีวิต (ใน ค.ศ. 1884) และเป็นหนึ่งในประเทศแรกๆ ที่ยกเลิกโทษประหารชีวิต โทษจำคุกสูงสุดคือ 25 ปี

โปรตุเกสยังขึ้นชื่อในเรื่องการลดทอนความเป็นอาชญากรรมต่อการใช้ยาสามัญทั้งหมดในปี 2001 ซึ่งเป็นประเทศแรกในโลกที่ทำเช่นนั้น โปรตุเกสยกเลิกการครอบครองยาทั้งหมดที่ยังคงผิดกฎหมายในประเทศพัฒนาแล้วอื่น ๆ อย่างมีประสิทธิภาพ รวมถึงกัญชา โคเคน เฮโรอีน และแอลเอสดี แม้ว่าการครอบครองจะเป็นเรื่องถูกกฎหมาย การค้ามนุษย์และการครอบครองที่ "เกิน 10 วัน" ยังคงมีโทษจำคุกและปรับ ผู้ที่ติดยาเสพติดในปริมาณเล็กน้อยจะได้รับเลือกให้ไปสถานบำบัดรักษา และอาจปฏิเสธการรักษาโดยไม่มีผลที่ตามมา แม้จะมีการวิพากษ์วิจารณ์จากประเทศอื่น ๆ ในยุโรปซึ่งระบุว่าการบริโภคยาของโปรตุเกสจะเพิ่มขึ้นอย่างมาก แต่การใช้ยาโดยรวมลดลงพร้อมกับจำนวนผู้ติดเชื้อเอชไอวีซึ่งลดลง 50 เปอร์เซ็นต์ภายในปี 2009 การใช้ยาในกลุ่มบุคคลอายุ 16 ถึง 18 ปีก็เช่นกัน ลดลง[35][36][37]

สิทธิของ LGBTI เพิ่มขึ้นอย่างมากในปีที่ผ่านมา เมื่อวันที่ 27 สิงหาคม 2003 โปรตุเกสได้เพิ่มกฎหมายการจ้างงานต่อต้านการเลือกปฏิบัติบนพื้นฐานของรสนิยมทางเพศ และเมื่อวันที่ 24 กรกฎาคม 2004 รัฐธรรมนูญได้เพิ่มรสนิยมทางเพศเป็นส่วนหนึ่งของการคุ้มครองจากการเลือกปฏิบัติ เมื่อวันที่ 31 พฤษภาคม 2010 โปรตุเกสกลายเป็นประเทศที่หกในยุโรปและประเทศที่แปดในโลกที่รับรองการสมรสของคนเพศเดียวกันในระดับชาติอย่างถูกกฎหมาย กฎหมายมีผลบังคับใช้เมื่อวันที่ 5 มิถุนายน 2010[38]

นโยบายการต่างประเทศ

[แก้]
อังตอนียู กูแตรึช เลขาธิการสหประชาชาติคนปัจจุบัน และอดีตนายกรัฐมนตรีของโปรตุเกส

ในปี 1996 โปรตุเกสร่วมก่อตั้ง Community of Portuguese Language Countries (CPLP) หรือที่รู้จักในชื่อ Lusophone Commonwealth ซึ่งเป็นองค์กรระหว่างประเทศและสมาคมทางการเมืองของประเทศ Lusophone ในสี่ทวีป โดยที่ภาษาโปรตุเกสเป็นภาษาราชการ สำนักงานใหญ่ระดับโลกของ CPLP อยู่ใน Penafiel Palace ในลิสบอน

อังตอนียู กูแตรึช ซึ่งดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีโปรตุเกสตั้งแต่ปี 1995-2002 เข้ารับตำแหน่งเลขาธิการสหประชาชาติเมื่อวันที่ 1 มกราคม 2017 ทำให้เขาเป็นเลขาธิการคนแรกจากยุโรปตะวันตกตั้งแต่เคิร์ตวัลด์ไฮม์แห่งออสเตรีย (1972–1981) อดีตหัวหน้ารัฐบาลคนแรกที่ได้เป็นเลขาธิการและเป็นเลขาธิการคนแรกที่เกิดหลังจากการก่อตั้งองค์การสหประชาชาติเมื่อวันที่ 26 มิถุนายน 1945 โปรตุเกสและสหราชอาณาจักรแบ่งปันความตกลงทางทหารที่เก่าแก่ที่สุดในโลกผ่านกลุ่มพันธมิตรแองโกล-โปรตุเกส (สนธิสัญญาวินด์เซอร์) ซึ่งลงนามในปี 1373

ความสัมพันธ์กับประเทศไทย

[แก้]
ความสัมพันธ์โปรตุเกส – ไทย
Map indicating location of โปรตุเกส and ไทย

โปรตุเกส

ไทย
  • การทูต

โปรตุเกสมีความสัมพันธ์กับประเทศไทยเป็นเวลายาวนานตั้งแต่สมัยกรุงศรีอยุธยา ชาวโปรตุเกสกลุ่มแรกเดินทางถึงประเทศไทยเมื่อ ค.ศ.1511 (พ.ศ. 2054) ซึ่งทำให้เกิดความสัมพันธ์ทางการค้า สังคม การเมืองและการแลกเปลี่ยนทางวัฒนธรรม สรุปแล้วโปรตุเกสเป็นชาติตะวันตกชาติแรกที่เริ่มเข้ามาติดต่อกับไทย มีการแลกเปลื่ยนการเยือนของบุคคลสำคัญระหว่างกันโดยตลอด

  • เศรษฐกิจ

การค้าระหว่างไทย-โปรตุเกส (ค.ศ. 2012) มีมูลค่าการค้ารวม 182.7 ล้านดอลล่าร์ฯ ไทยส่งออกมูลค่า 113.73 ล้านดอลล่าร์ฯ และไทยนำเข้า 68.98 ล้านดอลล่าร์ฯ ทำให้ไทยได้เปรียบดุลการค้า 44.75 ล้านดอลล่าร์ฯ

สินค้าสำคัญที่ไทยส่งออก ได้แก่ 1.ผลิตภัณฑ์และเม็ดพลาสติก 2.ผลิตภัณฑ์ยาง 3.รองเท้าและชิ้นส่วน 4.รถยนต์และส่วนประกอบ 5.เครื่องรับวิทยุและส่วนประกอบ

สินค้าสำคัญที่ไทยนำเข้าจากโปรตุเกส 1.อุปกรณ์ และส่วนประกอบอิเล็กทรอนิกส์ 2.ชิ้นส่วน และอะไหล่รถยนต์ 3.เครื่องนุ่งห่ม 4.เครื่องจักร และส่วนประกอบ 5.กระดาษ และผลิตภัณฑ์กระดาษ

กองทัพ

[แก้]
เครื่องบินขับไล่ เอฟ-16 ไฟทิงฟอลคอน ของกองทัพอากาศโปรตุเกส

กองทัพของโปรตุเกสมีสามเหล่าทัพ ได้แก่ กองทัพเรือ กองทัพบก และกองทัพอากาศ ทำหน้าที่เป็นกองกำลังป้องกันตนเองเป็นหลักซึ่งมีภารกิจในการปกป้องบูรณภาพแห่งดินแดนของประเทศ และให้ความช่วยเหลือด้านมนุษยธรรมและความมั่นคงทั้งในและต่างประเทศ ใน ค.ศ. 2008 กองทัพทั้งสามสาขามีเจ้าหน้าที่ประจำการอยู่ 39,200 นาย รวมทั้งสตรี 7,500 คน ค่าใช้จ่ายทางการทหารของโปรตุเกสในปี 2009 อยู่ที่ 5 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ คิดเป็น 2.1% ของจีดีพี[39] การเกณฑ์ทหารถูกยกเลิกในปี 2004 อายุขั้นต่ำสำหรับการรับสมัครโดยสมัครใจคือ 18 ปี

กองทัพบก (มีบุคลากร 21,000 นาย) ประกอบด้วยสามกองพลย่อย และหน่วยย่อยอื่น ๆ กองพลทหารราบ (ส่วนใหญ่ติดตั้ง Pandur II APC) กองพลยานยนต์ (ส่วนใหญ่ติดตั้งรถถัง เลโอพาร์ท 2 และ M113 APC) และ Rapid Reaction Brigade (ประกอบด้วยพลร่ม หน่วยคอมมานโด และเรนเจอร์) กองทัพเรือ (กำลังพล 10,700 นาย โดย 1,580 นายเป็นนาวิกโยธิน) ซึ่งเป็นกองทัพเรือที่เก่าแก่ที่สุดในโลกที่ยังหลงเหลืออยู่ มีเรือรบ 5 ลำ เรือคอร์เวตต์ 7 ลำ เรือดำน้ำ 2 ลำ และเรือลาดตระเวนและช่วยอีก 28 ลำ กองทัพอากาศ (บุคลากร 7,500 นาย) มี เอฟ-16 ไฟทิงฟอลคอนเป็นเครื่องบินรบหลัก

นอกจากสามสาขาของกองทัพแล้ว ยังมี National Republican Guard ซึ่งเป็นกองกำลังรักษาความปลอดภัยที่อยู่ภายใต้กฎหมายและองค์กรทางการทหาร (กองทหารรักษาการณ์) ซึ่งประกอบด้วยบุคลากร 25,000 นาย กองกำลังนี้อยู่ภายใต้อำนาจของทั้งกระทรวงกลาโหมและกระทรวงมหาดไทย ได้จัดเตรียมกองกำลังสำหรับการเข้าร่วมปฏิบัติการระหว่างประเทศในอิรักและติมอร์ตะวันออก

ในศตวรรษที่ 20 โปรตุเกสมีส่วนร่วมในความขัดแย้งที่สำคัญสองเหตุการณ์ ได้แก่ สงครามโลกครั้งที่หนึ่ง และสงครามอาณานิคมโปรตุเกส (1961–1974) หลังการสิ้นสุดของจักรวรรดิโปรตุเกสในปี 1975 กองทัพโปรตุเกสได้เข้าร่วมในภารกิจรักษาสันติภาพในติมอร์ตะวันออก บอสเนีย คอซอวอ อัฟกานิสถาน โซมาเลีย อิรัก (นาซิริยาห์) เลบานอน มาลี และสาธารณรัฐแอฟริกากลาง[40] โปรตุเกสยังได้ดำเนินการปฏิบัติการทางทหารฝ่ายเดียวที่เป็นอิสระในต่างประเทศหลายครั้ง เช่นเดียวกับกรณีของการแทรกแซงของกองกำลังโปรตุเกสในแองโกลาในปี 1992 และในกินี-บิสเซาในปี 1998 โดยมีวัตถุประสงค์หลักในการปกป้องและถอนตัวพลเมืองโปรตุเกสและชาวต่างชาติที่ถูกคุกคามโดยพลเรือนในท้องถิ่น

เศรษฐกิจ

[แก้]

โปรตุเกสเป็นประเทศที่พัฒนาแล้วและมีรายได้สูง โดยมีค่าจีดีพีต่อหัวอยู่ที่ 74% ของค่าเฉลี่ยในสหภาพยุโรป 27 ในปี 2021 (ลดลงจาก 76% ในปี 2011) และ HDI ที่ 0.864 (สูงสุดที่ 38) ในปี 2020 ภายในสิ้นปี 2021 จีดีพีของโปรตุเกสอยู่ที่ 36,381 ดอลลาร์ต่อหัว ตามรายงานของโออีซีดี สกุลเงินประจำชาติของโปรตุเกสคือยูโร ซึ่งแทนที่โปรตุเกสเอสคูโด และประเทศนี้เป็นหนึ่งในประเทศสมาชิกดั้งเดิมของยูโรโซน ธนาคารกลางของโปรตุเกสคือ Banco de Portugal ซึ่งเป็นส่วนสำคัญของระบบธนาคารกลางยุโรป อุตสาหกรรม ธุรกิจ และสถาบันการเงินส่วนใหญ่กระจุกตัวอยู่ในเขตเมืองลิสบอนและปอร์โต เช่น เขตเซตูบัล อาวีโร บรากา โกอิมบรา เลเรีย และฟาโร เป็นศูนย์กลางทางเศรษฐกิจที่ใหญ่ที่สุดนอกพื้นที่หลักทั้งสองนี้ จากรายงานของ World Travel Awards โปรตุเกสเป็นจุดหมายปลายทางในการเล่นกอล์ฟชั้นนำของยุโรปในปี 2011 และ 2012[41][42]

ในทศวรรษที่สองของศตวรรษที่ 21 เศรษฐกิจโปรตุเกสประสบกับภาวะถดถอยที่รุนแรงที่สุดนับตั้งแต่ทศวรรษ 1970 ส่งผลให้ประเทศต้องได้รับการประกันตัวจากคณะกรรมาธิการยุโรป ธนาคารกลางยุโรป และกองทุนการเงินระหว่างประเทศ (IMF) เงินช่วยเหลือที่ตกลงในปี 2011 กำหนดให้โปรตุเกสต้องเข้าสู่มาตรการรัดเข็มขัดเพื่อแลกกับการสนับสนุนเงินทุนจำนวน 78,000,000,000 ยูโร ในเดือนพฤษภาคม 2014 ประเทศออกจากเงินช่วยเหลือแต่ยืนยันคำมั่นที่จะรักษาโมเมนตัมของนักปฏิรูป ในขณะที่ออกจากเงินช่วยเหลือ เศรษฐกิจหดตัว 0.7% ในไตรมาสแรกของปี 2014; ส่วนอัตราการว่างงานยังสูงอยู่ลดลงมาอยู่ที่ 15.3%[43]

เงินเดือนเฉลี่ยในโปรตุเกสอยู่ที่ 1,011 ยูโรต่อเดือน ไม่รวมบุคคลที่ประกอบอาชีพอิสระ[44] และค่าแรงขั้นต่ำซึ่งควบคุมโดยกฎหมายคือ 705 ยูโรต่อเดือน (จ่าย 14 ครั้งต่อปี) ณ ปี 2022[45][46] สภาเศรษฐกิจโลก จัดอันดับให้โปรตุเกสอยู่ในอันดับที่ 34 ของโลกในรายงานการแข่งขันด้านเศรษฐกิจ

การท่องเที่ยว

[แก้]

โปรตุเกสเป็นสถานที่ท่องเที่ยวและพักผ่อนหย่อนใจของชาวยุโรปเหนือ เนื่องจากโปรตุเกสเป็นประเทศที่สวยงาม มีอากาศอบอุ่น ฤดูหนาวไม่หนาวจัด และ ทางภาคใต้ของโปรตุเกสมีอากาศอบอุ่นตลอดปี รวมถึงความสะดวกสบายในการเดินทางทั้ง เครื่องบิน รถยนต์ และ รถไฟ

นักท่องเที่ยวส่วนใหญ่เป็นนักท่องเที่ยวจากยุโรป ได้แก่ สเปน อังกฤษ เยอรมนี ฝรั่งเศส เนเธอร์แลนด์ อิตาลี และ ไอร์แลนด์ ส่วนนักท่องเที่ยวจากนอกทวีปยุโรป ได้แก่ บราซิล สหรัฐอเมริกา

พลังงาน

[แก้]

โปรตุเกสมีแหล่งพลังงานลมและแม่น้ำเป็นจำนวนมาก ซึ่งเป็นแหล่งพลังงานหมุนเวียนที่คุ้มค่าที่สุดสองแหล่ง ตั้งแต่เปลี่ยนศตวรรษที่ 21 มีแนวโน้มในการพัฒนาอุตสาหกรรมทรัพยากรหมุนเวียนและการลดการบริโภคและการใช้เชื้อเพลิงฟอสซิล ในปี 2006 โรงไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์ที่ใหญ่ที่สุดในโลก คือ Moura Photovoltaic Power Station เริ่มดำเนินการใกล้กับ Moura ทางตอนใต้ ในขณะที่ฟาร์มพลังงานคลื่นเชิงพาณิชย์แห่งแรกของโลกคือ Aguçadoura Wave Farm ซึ่งเปิดในภูมิภาค Norte (2008) ในสิ้นปี 2006 การผลิตไฟฟ้าของประเทศ 66% มาจากโรงไฟฟ้าถ่านหินและเชื้อเพลิง ในขณะที่ 29% มาจากเขื่อนไฟฟ้าพลังน้ำ และ 6% จากพลังงานลม

ในปี 2008 แหล่งพลังงานหมุนเวียนผลิตไฟฟ้าได้ 43% ของการใช้ไฟฟ้าของประเทศ แม้ว่าการผลิตไฟฟ้าพลังน้ำจะลดลงเมื่อเกิดภัยแล้งอย่างรุนแรง[231] ณ เดือนมิถุนายน 2010 การส่งออกไฟฟ้ามีมากกว่าการนำเข้า ในช่วงระหว่างเดือนมกราคมถึงพฤษภาคม 2010 70% ของการผลิตพลังงานของประเทศมาจากแหล่งพลังงานหมุนเวียน[47]

ประชากรศาสตร์

[แก้]

โปรตุเกสมีประชากรประมาณ 10,927,250 คน ในวันที่ 1 มีนาคม ค.ศ. 2013 ในจำนวนนี้ 3.13% เป็นผู้ย้ายถิ่นเข้าประเทศอย่างถูกกฎหมาย ซึ่งส่วนใหญ่มาจาก กาบูเวร์ดี บราซิล ยูเครน และ แองโกลา โดยส่วนใหญ่นับถือศาสนาคริสต์นิกายโรมันคาทอลิกมีคนนับถือประมาณ 94% และยังมีนิกายโปรเตสแตนต์และอื่น ๆ รวม 6% โดยทุกศาสนาอยู่ด้วยกันอย่างสันติ

ประเทศกำเนิดของชาวต่างชาติ ซึ่งเปลี่ยนมาถือสัญชาติโปรตุเกส

ในสมัยจักรวรรดิ โปรตุเกสเคยมีอาณานิคมมากมายในทวีปต่าง ๆ จึงทำให้คนจากอาณานิคมเก่า ย้ายถิ่นเข้ามาอยู่ภายในประเทศ

ผู้อพยพ

[แก้]

ในปี 2015 โปรตุเกสมีประชากร 10,341,330 คน โดยในจำนวนนี้ประมาณ 383,759 คนเป็นผู้อพยพอย่างถูกกฎหมาย คิดเป็น 3.7% ของประชากรทั้งหมด[48] ในปี 2017 โปรตุเกสมีผู้อยู่อาศัยตามกฎหมายจากต่างประเทศ 416,682 คน โดยในจำนวนนี้ 203,753 คนระบุว่าเป็นชาย และ 212,929 คนเป็นผู้หญิง ณ ปี 2020 ชาวต่างประเทศ 32,147 คนได้รับสัญชาติโปรตุเกส โดยเป็นผู้หญิง 17,021 คนและผู้ชาย 15,126 คน[49]

ศาสนา

[แก้]
อาสนวิหาร Jerónimos

จากการสำรวจสำมะโนประชากร ค.ศ. 2011 ร้อยละ 81.0% ของประชากรโปรตุเกสเป็นชาวคริสต์นิกายโรมันคาทอลิก และมีประชากรนับถือโปรเตสแตนต์จำนวนไม่มากรนักรวมถึง มุสลิม ฮินดู ซิกข์ นิกายอีสเทิร์นออร์โธด็อกซ์ พยานพระยะโฮวา บาไฮ ชุมชนพุทธ ยิว และวิญญาณนิยม อิทธิพลจากศาสนาดั้งเดิมของแอฟริกาและศาสนาจีนดั้งเดิมนั้นสัมผัสได้ในหมู่คนจำนวนมาก โดยเฉพาะอย่างยิ่งในด้านที่เกี่ยวข้องกับการแพทย์แผนจีนและการแพทย์แผนโบราณของแอฟริกา ประมาณ 6.8% ของประชากรประกาศตนว่าไม่นับถือศาสนา และ 8.3% ไม่ได้ให้คำตอบใด ๆ เกี่ยวกับศาสนาของพวกเขา[50]

วันหยุด เทศกาล และประเพณีของชาวโปรตุเกสจำนวนมากมีต้นกำเนิดหรือความหมายแฝงจากวิถิชีวิตชาวคริสเตียน ในศตวรรษที่ 13 และ 14 คริสตจักรมีอำนาจอย่างใกล้ชิดกับชาตินิยมโปรตุเกสยุคแรก และเป็นรากฐานของระบบการศึกษาของโปรตุเกส รวมถึงมหาวิทยาลัยแห่งแรก การเติบโตของจักรวรรดิโปรตุเกสโพ้นทะเลทำให้มิชชันนารีเป็นตัวแทนของอาณานิคม โดยมีบทบาทสำคัญในการศึกษาและการประกาศข่าวแก่ผู้คนจากทุกทวีป การเติบโตของขบวนการเสรีนิยมในช่วงยุคต่างๆ ที่นำไปสู่การก่อตั้งสาธารณรัฐโปรตุเกสที่หนึ่ง (ค.ศ. 1910–ค.ศ. 1926) ได้เปลี่ยนบทบาทและความสำคัญของการจัดระเบียบศาสนา

โปรตุเกสเป็นรัฐฆราวาส โดยคริสตจักรและรัฐถูกแยกออกจากกันอย่างเป็นทางการในช่วงสาธารณรัฐโปรตุเกสที่หนึ่ง และมีการกล่าวย้ำในรัฐธรรมนูญโปรตุเกสปี 1976 นอกเหนือจากรัฐธรรมนูญแล้ว เอกสารที่สำคัญที่สุดสองฉบับที่เกี่ยวข้องกับเสรีภาพทางศาสนาในโปรตุเกสคือ Concordata ปี 1940 (แก้ไขภายหลังในปี 1971) ระหว่างโปรตุเกสกับสันตะสำนักและพระราชบัญญัติเสรีภาพทางศาสนาปี 2001

ภาษา

[แก้]

ภาษาทางการของประเทศโปรตุเกสคือภาษาโปรตุเกส เป็นภาษาที่จัดอยู่ในกลุ่มภาษาโรมานซ์ ซึ่งในกลุ่มภาษานี้มีภาษาสเปน ฝรั่งเศส และ อิตาลี ด้วย มีผู้พูดภายในประเทศประมาณ 10,000,000 คน (ค.ศ. 2012) และประมาณ 203,349,200 คนทั่วโลก[51] ภาษาโปรตุเกสมาจากภาษาละตินที่พูดโดยชาวโรมันในคาบสมุทรไอบีเรียเมื่อประมาณ 2000 ปีก่อน โดยเฉพาะชาวเคลต์ ในศตวรรษที่ 15 และ 16 ภาษาแพร่กระจายไปทั่วโลกเมื่อโปรตุเกสก่อตั้งอาณาจักรอาณานิคมและการค้าระหว่างปี 1415 ถึง 1999 ภาษาโปรตุเกสเป็นภาษาแม่ใน 5 ทวีป โดยบราซิลเป็นประเทศที่พูดภาษาโปรตุเกสมากที่สุด[52]

ตามดัชนีความสามารถทางภาษาอังกฤษสากล (International English Proficiency Index) โปรตุเกสมีระดับความสามารถทางภาษาอังกฤษสูง สูงกว่าประเทศอื่น ๆ ในยุโรปที่พูดภาษาโรมานซ์ เช่น อิตาลี ฝรั่งเศส หรือสเปน[53]

สาธารณสุข

[แก้]

ตามรายงานของดัชนีพัฒนามนุษย์ อัตราการคาดหมายคงชีพของโปรตุเกสอยู่ที่ 82 ปีใน ค.ศ. 2017[54] และเป็นที่คาดหมายกันว่าอายุขัยโดยเฉลี่ยของประชากรโปรตุเกสจะเพิ่มสูงกว่า 90 ปี ใน ค.ศ. 2100[55] โปรตุเกสอยู่ในอันดับที่ 12 ในแง่ระบบสาธารณสุขที่ดีที่สุดในโลก แซงหน้าประเทศชั้นนำอื่น ๆ เช่น สหราชอาณาจักร เยอรมนี และสวีเดน[56]

ระบบสุขภาพของโปรตุเกสมีลักษณะเฉพาะโดยระบบที่มีอยู่ร่วมกันสามระบบ คือ บริการสุขภาพแห่งชาติ (Serviço Nacional de Saúde, SNS) แผนประกันสุขภาพทางสังคมแบบพิเศษสำหรับบางวิชาชีพ (ระบบย่อยด้านสุขภาพ) และการประกันสุขภาพเอกชนโดยสมัครใจหรือ SNS ซึ่งให้ความคุ้มครองที่เป็นสากล นอกจากนี้ ประมาณ 25% ของประชากรอยู่ภายใต้ระบบย่อยด้านสุขภาพ 10% โดยโครงการประกันเอกชน และอีก 7% โดยกองทุนรวม

กระทรวงสาธารณสุขมีหน้าที่รับผิดชอบในการพัฒนานโยบายด้านสุขภาพ หน่วยงานด้านสุขภาพระดับภูมิภาค 5 แห่งมีหน้าที่ดำเนินการตามวัตถุประสงค์ของนโยบายสุขภาพแห่งชาติ พัฒนาแนวทางและระเบียบวิธีปฏิบัติ และกำกับดูแลการส่งมอบบริการด้านสุขภาพ ความพยายามกระจายอำนาจมุ่งเป้าไปที่การเปลี่ยนความรับผิดชอบทางการเงินและการจัดการไปสู่ระดับภูมิภาค อย่างไรก็ตาม ในทางปฏิบัติ ความเป็นอิสระของการบริหารงานสุขภาพระดับภูมิภาคในการกำหนดงบประมาณและการใช้จ่ายถูกจำกัดไว้เฉพาะบริการปฐมภูมิเท่านั้น

การศึกษา

[แก้]
มหาวิทยาลัยเอโวรา ถือเป็นมหาวิทยาลัยที่เก่าแก่ที่สุดเป็นอันดับสองของประเทศ

ระบบการศึกษาแบ่งออกเป็นเด็กก่อนวัยเรียน (สำหรับผู้ที่อายุต่ำกว่า 6 ปี), การศึกษาขั้นพื้นฐาน (9 ปี, ในสามขั้นตอน, ภาคบังคับ), มัธยมศึกษา (3 ปี, ภาคบังคับตั้งแต่ปี 2010) และการศึกษาระดับอุดมศึกษา (แบ่งย่อยในมหาวิทยาลัยและการศึกษาโปลีเทคนิค) มหาวิทยาลัยมักจะจัดเป็นคณะ สถาบันและโรงเรียนยังนิยมใช้ชื่อสามัญสำหรับเขตการปกครองตนเองของสถาบันอุดมศึกษาของโปรตุเกส[57]

อัตราการรู้หนังสือของผู้ใหญ่ทั้งหมดคือ 99.4% การลงทะเบียนเรียนในโรงเรียนประถมศึกษาของโปรตุเกสคือ 100 เปอร์เซ็นต์ จากรายงานของ Program for International Student Assessment (PISA) ปี 2018 โปรตุเกสได้คะแนนเฉลี่ยโออีซีดีในด้านการอ่าน คณิตศาสตร์ และวิทยาศาสตร์ ค่าเฉลี่ยประสิทธิภาพในปี 2018 ใกล้เคียงกับระดับที่สังเกตได้ในปี 2009 ถึง 2015 ในด้านวิทยาศาสตร์ ประสิทธิภาพเฉลี่ยในปี 2018 ต่ำกว่าปี 2015 และกลับมาใกล้เคียงกับระดับที่สังเกตได้ในปี 2009 และ 2012

โปรตุเกสยังเป็นหนึ่งในแหล่งกำเนิดชั้นนำสำหรับนักศึกษาต่างชาติอีกด้วย นักศึกษาระดับอุดมศึกษาทั้งหมดทั้งในและต่างประเทศมีจำนวนทั้งสิ้น 380,937 คนในปี 2005

กีฬา

[แก้]
คริสเตียโน โรนัลโด ได้รับการยกย่องในฐานะหนึ่งในนักฟุตบอลที่ยิ่งใหญ่ที่สุดตลอดกาล[58]

กีฬาฟุตบอลถือว่าเป็นกีฬาที่นิยมที่สุดในโปรตุเกส ทีมที่มีชื่อเสียง เช่น สปอร์ลิชบัวอีไบฟีกา, สโมสรฟุตบอลโปร์ตู และสปอร์ติกกลูบีดีปูร์ตูกาล นักฟุตบอลโปรตุเกสระดับนานาชาติ เช่น ลูอิช ฟีกู และ คริสเตียโน โรนัลโด เจ้าของรางวัลบาลงดอร์ 5 สมัย และสถิติโลกอีกมากมาย ซึ่งได้รับการยกย่องในฐานะหนึ่งในผู้เล่นที่ยิ่งใหญ่ที่สุดตลอดกาล[59][60] ผู้เล่นที่มีชื่อเสียงคนอื่น ๆ ในปัจจุบันได้แก่ บรูนู ฟือร์นังดึช, ดีโยกู ฌอตา, บือร์นาร์ดู ซิลวา, ฌูเวา แฟลิกส์ และ รูแบน ดียัช โปรตุเกสยังมีผู้จัดการทีมฟุตบอลที่โด่งดัง เช่น โชเซ มูรีนโย หนึ่งในผู้จัดการทีมที่ประสบความสำเร็จมากที่สุดตลอดกาล โปรตุเกสได้รับเกียรติเป็นเจ้าภาพฟุตบอลชิงแชมป์แห่งชาติยุโรป 2004

ฟุตบอลทีมชาติโปรตุเกส ชนะเลิศฟุตบอลชิงแชมป์แห่งชาติยุโรปหนึ่งสมัยใน ค.ศ. 2016 เอาชนะฝรั่งเศสเจ้าภาพในรอบชิงชนะเลิศด้วยผลประตู 1–0[61] ตามด้วยการชนะเลิศรายการยูฟ่าเนชันส์ลีก เอาชนะเนเธอร์แลนด์ 1–0 และทีมฟุตบอลระดับเยาวชนของโปรตุเกสยังประสบความสำเร็จหลายรายการ

โปรตุเกสยังมีชื่อเสียงในกีฬารักบี้ ทีมรักบี้ของโปรตุเกสมีส่วนร่วมในการแข่งขันชิงแชมป์โลก 2007 รวมถึงในด้านกรีฑา ซึ่งนักกรีฑาโปรตุเกสคว้าเหรียญรางวัลมากมายในการแข่งขันชิงแชมป์ทวีปและกีฬาโอลิมปิก โปรตุเกสยังมีชื่อเสียงในกีฬาอื่น ๆ เช่น ฟันดาบ ยูโด ไคท์เซิร์ฟ พายเรือ แล่นเรือใบ ยิงปืน เทควันโด ไตรกีฬา และวินด์เซิร์ฟ ซึ่งเป็นเจ้าของตำแหน่งในยุโรปและระดับโลกหลายรายการ นักกีฬาพาราลิมปิกยังได้รับเหรียญรางวัลมากมายในด้านกีฬา เช่น ว่ายน้ำ บอคเซีย กรีฑา ศิลปะการต่อสู้แบบผสมผสาน และมวยปล้ำ

วัฒนธรรม

[แก้]

โปรตุเกสได้รับอิทธิพลจากหลากหลายอารยธรรมที่เข้ามาปกครองดินแดนโปรตุเกสทำให้เกิดเอกลักษณ์เฉพาะตัวขึ้น โปรตุเกสมีแหล่งมรดกโลกโดยยูเนสโกจำนวน 17 แห่ง มากที่สุดเป็นอันดับ 9 ในยุโรป และเป็นอันดับที่ 18 ของโลก

ศิลปะ

[แก้]
พระเยซูในบ้านมาร์ธา ผลงานของ Grão Vasco

โปรตุเกสมีประวัติศาสตร์อันยาวนานในการวาดภาพ[62] จิตรกรชื่อดังคนแรกที่มีอายุย้อนไปถึงศตวรรษที่ 15 เช่น นูโน กอนซาลวึส และ วาสโก ฟือร์นังดึช เป็นส่วนหนึ่งของช่วงปลายยุคจิตรกรรมกอทิก ในช่วงยุคฟื้นฟูศิลปวิทยา ภาพวาดของโปรตุเกสได้รับอิทธิพลอย่างมากจากภาพวาดยุโรปเหนือ ในสมัยบาโรก โจเซฟา เดอ โอบิดอส และ วีไยรา ลูซีตานู เป็นจิตรกรที่มีผลงานมากที่สุด ฌูแซ มัลโยวา เป็นที่รู้จักจากผลงาน Fado และ กูลุงบานู โบร์ดาลู ปีไญรู (ผู้วาดภาพเหมือนของ Teófilo Braga และ Antero de Quental) เป็นข้อมูลอ้างอิงในภาพวาดนักธรรมชาติวิทยา

ศตวรรษที่ 20 ได้เห็นการมาถึงของลัทธิสมัยใหม่ และตามมาด้วยจิตรกรชาวโปรตุเกสที่โด่งดังที่สุด ได้แก่ อามาเดว ดึ โซซา-การ์โดซู ผู้ซึ่งได้รับอิทธิพลอย่างมากจากจิตรกรชาวฝรั่งเศส โดยเฉพาะชาว Delaunays (Robert and Sonia) ผลงานที่โด่งดังที่สุดของเขาคือ Canção Popular a Russa e o Fígaro จิตรกร/นักเขียนสมัยใหม่ผู้ยิ่งใหญ่อีกคนหนึ่งคือ การ์ลุช บูเตลยู และ อัลมาดา นึไกรรุช เพื่อนของกวี ฟือร์นังดู ปึโซวา ผู้วาดภาพเหมือนของ Pessoa เขาได้รับอิทธิพลอย่างมากจากทั้ง Cubist และ Futurist

บุคคลสำคัญระดับนานาชาติในด้านทัศนศิลป์ในปัจจุบัน ได้แก่ จิตรกร วีไยรา ดา ซิลวา, ฌูลียู ปูมาร์, เอเลนา อัลไมดา, ฌูวานา วัชกงแซลุช, ฌูลีเยา ซาร์เม็งตู และ Paula Rego

อาหาร

[แก้]
ทาร์ตไข่โปรตุเกส หรือ ปัชแตลดึนาตา

อาหารโปรตุเกสมีหลากหลายชนิดและจากเนื้อสัตว์เกือบทุกประเภท นิยมรับประทานซุป และจานหลักที่มีข้าวและมันฝรั่งเป็นส่วนประกอบ นอกจากนี้ยังนำปลาค๊อดตากแห้งมาประกอบอาหารหลากหลายเมนู ทั้งนี้ขนมหวานโปรตุเกสยังมื่อเสียงด้วย โดยเฉพาะ ทาร์ตไข่ และขนมที่ทำจากไข่แดงและน้ำตาล ซึ่งนิยมรับประทานร่วมกับกาแฟ และชาวโปรตุเกสยังดื่มกาแฟมากถึง 5 - 8 แก้วเล็กต่อวัน

หมายเหตุ

[แก้]
  1. ภาษามีรังดาที่มีผู้ใช้งานในภูมิภาค Terra de Miranda ได้รับการยอมรับอย่างเป็นทางการใน ค.ศ. 1999 (Lei n.° 7/99 de 29 de Janeiro),[1] ในการให้สิทธิ์ในการใช้งานอย่างเป็นทางการ[2] ภาษามือโปรตุเกสก็ได้รับการยอมรับเช่นกัน
  2. ตามประเทศที่ถือสัญชาติ
  3. รัฐธรรมนูญของโปรตุเกสที่นำมาใช้ในปี 1976 มีการแก้ไขย่อย ๆ หลายครั้ง ใน ค.ศ. 1982 และ 2005

อ้างอิง

[แก้]
  1. 1.0 1.1 "Reconhecimento oficial de direitos linguísticos da comunidade mirandesa (Official recognition of linguistic rights of the Mirandese community)". Centro de Linguística da Universidade de Lisboa (UdL). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 18 March 2002. สืบค้นเมื่อ 2 December 2015.
  2. 2.0 2.1 The Euromosaic study, Mirandese in Portugal, europa.eu – European Commission website. Retrieved January 2007. Link updated December 2015
  3. "661 mil imigrantes, mais 71 mil do que antes da pandemia" (ภาษาโปรตุเกส). Diário de Notícias. สืบค้นเมื่อ 12 June 2021.
  4. Constitution of Portugal, Preamble:
  5. (ในภาษาโปรตุเกส)"Superfície Que municípios têm maior e menor área?". Pordata. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2022-04-02. สืบค้นเมื่อ 17 November 2020.
  6. "Surface water and surface water change". Organisation for Economic Co-operation and Development (OECD). สืบค้นเมื่อ 11 October 2020.
  7. "Censos 2021 - Divulgação dos Resultados Provisórios". Statistics Portugal - Web Portal. 16 December 2021. สืบค้นเมื่อ 16 December 2021.
  8. "PORDATA - Population density, according to Census". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2020-11-30. สืบค้นเมื่อ 2021-07-22.
  9. 9.0 9.1 9.2 9.3 "Report for Selected Countries and Subjects – Portugal". International Monetary Fund. 2022. สืบค้นเมื่อ 19 April 2022.
  10. "Gini coefficient". Portugal: PORDATA. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2020-05-24. สืบค้นเมื่อ 8 June 2019.
  11. "Human Development Report 2020" (PDF) (ภาษาอังกฤษ). United Nations Development Programme. 15 December 2020. สืบค้นเมื่อ 15 December 2020.
  12. "The History of Portugal". Portugal.com (ภาษาอังกฤษแบบอเมริกัน). 2021-11-23.
  13. Jenkins, Brian; Sofos, Spyros A. (2004-01-14). Nation and Identity in Contemporary Europe (ภาษาอังกฤษ). Taylor & Francis. ISBN 978-0-203-20891-5.
  14. Melvin Eugene Page, Penny M. Sonnenburg, p. 481
  15. "Portugal", The World Factbook (ภาษาอังกฤษ), Central Intelligence Agency, 2022-05-15, สืบค้นเมื่อ 2022-05-24
  16. "Portuguese Speaking Countries 2022". worldpopulationreview.com.
  17. "Countries IN Profile: Portugal". www.incontext.indiana.edu.
  18. "Wayback Machine" (PDF). web.archive.org. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2014-04-08. สืบค้นเมื่อ 2022-05-24.{{cite web}}: CS1 maint: bot: original URL status unknown (ลิงก์)
  19. "สำเนาที่เก็บถาวร" (PDF). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2015-07-23. สืบค้นเมื่อ 2022-05-24.
  20. "Quality of Life Index by Country 2022". www.numbeo.com.
  21. Mineral Commodity Summaries 2022 - Lithium, Brian W. Jaskula, U.S. Geological Survey, Mineral Commodity Summaries, January 2022, Retrieved 20.10.2022.
  22. Lithium Reserves: Top 4 Countries (Updated 2022), Melissa Pistilli, Investing News Network (INN), Retrieved 20.10.2022.
  23. Exports will represent 49% of GDP at the end of year, SAPO 24, Portugal's main search engine besides Google, in Portuguese, Retrieved 27.10.2022
  24. "EF EPI 2021 – EF English Proficiency Index – Portugal". www.ef.com (ภาษาอังกฤษ).
  25. Landscapes and landforms of Portugal. Gonçalo Vieira, José Luís. Zêzere, Carla Mora. Cham: Springer. 2020. ISBN 978-3-319-03641-0. OCLC 1156020287.{{cite book}}: CS1 maint: others (ลิงก์)
  26. "Portugal tenta duplicar território marítimo". www.dn.pt (ภาษาโปรตุเกสแบบยุโรป).
  27. "Portugal weather". Met Office (ภาษาอังกฤษ).
  28. "Lisbon, Portugal Weather Conditions | Weather Underground". www.wunderground.com.
  29. dre.pt https://dre.pt/dre/detalhe/resolucao-conselho-ministros/55-2018-115226936. {{cite web}}: |title= ไม่มีหรือว่างเปล่า (help)
  30. "Portugal tem quase 500 espécies em perigo de extinção". www.sabado.pt (ภาษาโปรตุเกสแบบยุโรป).
  31. Digital, Bismuto Labs-Web Design e Marketing (2020-12-18). "Portugal é o 2.º país da Europa com mais espécies de mamíferos e plantas em perigo". Comunidade Cultura e Arte (ภาษาโปรตุเกส).
  32. "- HeinOnline.org". heinonline.org.
  33. "Constituição da República Portuguesa - D.R.E." web.archive.org. 2008-12-21. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2008-12-21. สืบค้นเมื่อ 2022-05-24.{{cite web}}: CS1 maint: bot: original URL status unknown (ลิงก์)
  34. "Districts of Portugal". Distritosdeportugal.com. สืบค้นเมื่อ 22 August 2010.
  35. Vastag, Brian. "5 Years After: Portugal's Drug Decriminalization Policy Shows Positive Results". Scientific American (ภาษาอังกฤษ).
  36. "Drugs in Portugal: Did Decriminalization Work? - TIME". web.archive.org. 2009-04-27. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2013-08-26. สืบค้นเมื่อ 2022-05-24. {{cite web}}: ระบุ |accessdate= และ |access-date= มากกว่าหนึ่งรายการ (help); ระบุ |archivedate= และ |archive-date= มากกว่าหนึ่งรายการ (help); ระบุ |archiveurl= และ |archive-url= มากกว่าหนึ่งรายการ (help)
  37. www.cato.org https://www.cato.org/white-paper/drug-decriminalization-portugal-lessons-creating-fair-successful-drug-policies. {{cite web}}: |title= ไม่มีหรือว่างเปล่า (help)
  38. https://files.dre.pt/1s/2010/05/10500/0185301853.pdf
  39. "Military expenditure (% of GDP) | Data". data.worldbank.org.
  40. "Portuguese troops in 'large' UN operation in Central African Republic". www.theportugalnews.com (ภาษาอังกฤษ). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2022-09-28. สืบค้นเมื่อ 2022-05-24.
  41. "Europe's Leading Golf Destination 2013". World Travel Awards (ภาษาอังกฤษแบบบริติช).
  42. "Algarve Elected Europe's Best Golf Destination Of 2014" (ภาษาอังกฤษ). 2022-03-12.
  43. "Portugal follows Ireland out of bailout programme | Europe Sun". web.archive.org. 2014-05-18. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2014-05-18. สืบค้นเมื่อ 2022-05-24.{{cite web}}: CS1 maint: bot: original URL status unknown (ลิงก์)
  44. "Portal do INE". www.ine.pt.
  45. "Costa highlights minimum wage hike". www.theportugalnews.com (ภาษาอังกฤษ).
  46. "Portugal's government ups minimum pay by 6% before election". Reuters (ภาษาอังกฤษ). 2021-12-02. สืบค้นเมื่อ 2022-05-24.
  47. "Portugal já exportou mais electricidade este ano que em 2009 | agência financeira". web.archive.org. 2010-06-19. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2010-06-19. สืบค้นเมื่อ 2022-05-24.{{cite web}}: CS1 maint: bot: original URL status unknown (ลิงก์)
  48. "Portal do INE". www.ine.pt.
  49. "Foreign population that acquired portuguese nationality: total and by sex". www.pordata.pt. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2021-10-20. สืบค้นเมื่อ 2022-05-24.
  50. https://censos.ine.pt/xportal/xmain?xpid=CENSOS&xpgid=ine_censos_indicador&contexto=ind&indOcorrCod=0006396&selTab=tab10
  51. Lewis, M. Paul, Gary F. Simons, and Charles D. Fennig (eds.). 2014. Ethnologue: Languages of the World, Seventeenth edition. Dallas, Texas: SIL International. Online version: http://www.ethnologue.com.
  52. "Brazilian Portuguese language | Britannica". www.britannica.com (ภาษาอังกฤษ).
  53. "EF English Proficiency Index - A comprehensive ranking of countries by English skills". web.archive.org. 2017-08-02. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2017-08-02. สืบค้นเมื่อ 2022-05-24.{{cite web}}: CS1 maint: bot: original URL status unknown (ลิงก์)
  54. "Portugal - Life expectancy at birth 2021". countryeconomy.com (ภาษาอังกฤษ).
  55. "Portugal in numbers - ZonZeeWerk - Werken in het buitenland". web.archive.org. 2020-06-13. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2020-06-13. สืบค้นเมื่อ 2022-05-24. {{cite web}}: ระบุ |accessdate= และ |access-date= มากกว่าหนึ่งรายการ (help); ระบุ |archivedate= และ |archive-date= มากกว่าหนึ่งรายการ (help); ระบุ |archiveurl= และ |archive-url= มากกว่าหนึ่งรายการ (help)
  56. "Portugal - Life expectancy at birth 2021". countryeconomy.com (ภาษาอังกฤษ).
  57. "The education system in Portugal". Expat Guide to Portugal | Expatica (ภาษาอังกฤษแบบอเมริกัน).
  58. "Cristiano Ronaldo wins FIFA best player award for fourth time after Portugal, Real Madrid triumphs". Abc.net.au. สืบค้นเมื่อ 13 May 2017.
  59. "Oxford maths professor proves Cristiano Ronaldo is best EVER... ahead of Messi". The Sun (ภาษาอังกฤษแบบบริติช). 2021-09-07.
  60. "'Ronaldo is the greatest player of all time' - Neville details reasons for siding with Man Utd star over Messi | Goal.com". www.goal.com.
  61. UEFA.com. "Portugal-France | UEFA EURO 2016". UEFA.com (ภาษาอังกฤษ).
  62. "Arts and Culture in Portugal | Portugal Arts and Culture". www.portugalproperty.com (ภาษาอังกฤษ).

ข้อมูล

[แก้]
  • Bliss, Christopher; Macedo, Jorge Braga de (1990). Unity with Diversity in the European Economy: the Community's Southern Frontier. London, England: Centre for Economic Policy Research. ISBN 978-0-521-39520-5.
  • Juang, Richard M.; Morrissette, Noelle Anne (2008). Africa and the Americas: Culture, Politics, and History: A Multidisciplinary Encyclopedia. Vol. 2. ISBN 978-1-85109-441-7.
  • Page, Melvin Eugene; Sonnenburg, Penny M. (2003). Colonialism: An International, Social, Cultural, and Political Encyclopedia. Vol. 2. ISBN 978-1-57607-335-3.
  • Brockey, Liam Matthew (2008). Portuguese Colonial Cities in the Early Modern World. ISBN 978-0-7546-6313-3.
  • Ribeiro, Ângelo; José Hermano (2004). História de Portugal I — A Formação do Território [History of Portugal: The Formation of the Territory] (ภาษาโปรตุเกส). QuidNovi. ISBN 989-554-106-6.
  • Ribeiro, Ângelo; Saraiva, José Hermano (2004). História de Portugal II — A Afirmação do País [History of Portugal II: An Affirmation of Nation] (ภาษาโปรตุเกส). QuidNovi. ISBN 989-554-107-4.
  • de Macedo, Newton; Saraiva, José Hermano (2004). História de Portugal III — A Epopeia dos Descobrimentos [History of Portugal III: The Epoch of Discoveries] (ภาษาโปรตุเกส). QuidNovi. ISBN 989-554-108-2.
  • de Macedo, Newton; Saraiva, José Hermano (2004). História de Portugal IV — Glória e Declínio do Império [History of Portugal IV: Glory and Decline of Empire] (ภาษาโปรตุเกส). QuidNovi. ISBN 989-554-109-0.
  • de Macedo, Newton; Saraiva, José Hermano (2004). História de Portugal V — A Restauração da Indepêndencia [History of Portugal IV: The Restoration of Independence] (ภาษาโปรตุเกส). QuidNovi. ISBN 989-554-110-4.
  • Saraiva, José Hermano (2004). História de Portugal X — A Terceira República [History of Portugal X: The Third Republic] (ภาษาโปรตุเกส). QuidNovi. ISBN 989-554-115-5.
  • Loução, Paulo Alexandre (2000). Portugal, Terra de Mistérios [Portugal: Land of Mysteries] (ภาษาโปรตุเกส) (3rd ed.). Ésquilo. ISBN 972-8605-04-8.
  • Muñoz, Mauricio Pasto (2003). Viriato, A Luta pela Liberdade [Viriato: The Struggle for Liberty] (ภาษาโปรตุเกส) (3rd ed.). Ésquilo. ISBN 972-8605-23-4.
  • Grande Enciclopédia Universal. Durclub. 2004.
  • Constituição da República Portuguesa [Constitution of the Portuguese Republic] (ภาษาโปรตุเกส) (VI Revisão Constitucional ed.). 2004.
  • สุธาชัย ยิ้มประเสริฐ. กาลครั้งหนึ่งของโปรตุเกส: ประวัติศาสตร์โปรตุเกสจากจักรวรรดิทางทะเลสู่สาธารณรัฐประชาธิปไตย. กรุงเทพฯ: ศูนย์ยุโรปศึกษาแห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2561.

แหล่งข้อมูลอื่น

[แก้]
รัฐบาล
การค้า
การท่องเที่ยว