เบลฟาสต์

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เบลฟาสต์

ภาพทิวทัศน์และสิ่งก่อสร้างในนครเบลฟาสต์

ตราสัญลักษณ์พร้อมคำขวัญ "Pro Tanto Quid Retribuamus" (ละติน: "What shall we give in return for so much")
พื้นที่51.16 ตารางไมล์ (132.5 ตารางกิโลเมตร) [1]
ประชากรนครเบลฟาสต์:
341,877 (2019)[2] 
เขตมหานคร:
671,559 (2011)[3]
ไอริชกริดJ338740
อำเภอ
  • นครเบลฟาสต์
เคาน์ที
ประเทศไอร์แลนด์เหนือ
รัฐเอกราชสหราชอาณาจักร
โพสท์ทาวน์BELFAST
เขตรหัสไปรษณีย์BT1–BT17, BT29 (part), BT36 (part), BT58
รหัสโทรศัพท์028
ตำรวจไอร์แลนด์เหนือ
ดับเพลิงไอร์แลนด์เหนือ
รถพยาบาลไอร์แลนด์เหนือ
รัฐสภาสหราชอาณาจักร
สมัชชาไอร์แลนด์เหนือ
เว็บไซต์www.belfastcity.gov.uk
รายชื่อสถานที่
สหราชอาณาจักร
ไอร์แลนด์เหนือ
แอนทริม
54°35′47″N 05°55′48″W / 54.59639°N 5.93000°W / 54.59639; -5.93000พิกัดภูมิศาสตร์: 54°35′47″N 05°55′48″W / 54.59639°N 5.93000°W / 54.59639; -5.93000

เบลฟาสต์ (อังกฤษ: Belfast; ไอริช: Béal Feirste; แปลว่า ปากสันดอนทรายซึ่งเป็นทางข้ามลำน้ำ)[4] เป็นเมืองหลวงและเมืองใหญ่สุดของไอร์แลนด์เหนือ ตั้งอยู่ริมฝั่งแม่น้ำแลกันบนชายฝั่งทางภาคตะวันออกของไอร์แลนด์เหนือ ถือเป็นเป็นนครที่มีขนาดใหญ่เป็นอันดับที่ 12 ของสหราชอาณาจักร[5] และเป็นนครที่ใหญ่เป็นอันดับที่สองของเกาะไอร์แลนด์ เบลฟาสต์มีประชากร 333,871 คน (ข้อมูลเมื่อปี 2015)[2] ในช่วงทศวรรษ 1970 และ 1980 เบลฟาสต์เคยถูกรายงานว่า เป็นหนึ่งในเมืองที่อันตรายที่สุดในโลก[6] ด้วยอัตราการถูกฆาตกรรมที่ 31 ต่อ 100,000 คน[7]

ในช่วงต้นศตวรรษที่ 19 เบลฟาสต์กลายเป็นเมืองท่าที่มีบทบาทสำคัญในการปฏิวัติอุตสาหกรรม เพราะเป็นเมืองที่ผลิตผ้าลินินมากที่สุดในโลก จนได้รับสมญาว่า "ลิเนโนโพลิส"[8] ต่อมาใน ค.ศ. 1888 เบลฟาสต์ได้รับการจัดตั้งเป็นนครและเป็นศูนย์กลางด้านการผลิตลินิน การแปรรูปยาสูบ และการผลิตเชือกของชาวไอริช การต่อเรือก็เป็นหนึ่งในอุตสาหกรรมที่สำคัญเช่นกัน โดยอู่เรือฮาร์ลันและวอล์ฟ ซึ่งต่อเรือ อาร์เอ็มเอส ไททานิก เคยเป็นอู่ต่อเรือที่ใหญ่ที่สุดในโลก[9] เนื่องด้วยการพัฒนาทางอุตสาหกรรมและการอพยพเข้าของประชากรนี้เอง[10] ทำให้เบลฟาสต์กลายเป็นเมืองหลวงและเมืองใหญ่สุดของไอร์แลนด์เหนือหลังจากที่มีการแบ่งไอร์แลนด์ใน ค.ศ. 1922 อย่างไรก็ตาม การเป็นศูนย์กลางด้านอุตสาหกรรมของโลกได้สิ้นสุดลงเมื่อเกิดสงครามโลกครั้งที่สองในช่วง ค.ศ. 1939–1945

ในปัจจุบัน เบลฟาสต์ยังคงเป็นเมืองท่าที่สำคัญ เป็นแหล่งอุตสาหกรรมการบินอวกาศและขีปนาวุธ มีอู่ต่อเรือเชิงอุตสาหกรรมและเชิงพาณิชยกรรม ซึ่งรวมถึงอู่เรือฮาร์ลันและวอล์ฟที่ดูแลชายฝั่งทะเลสาบเบลฟาสต์ ท่าอากาศยานในนครมีสองแห่ง ได้แก่ ท่าอากาศยานจอร์จ เบสต์ และท่าอากาศยานนานาชาติเบลฟาสต์ ซึ่งตั้งอยู่ห่างจากนครไปทางทิศตะวันตก 15 ไมล์ (24 กิโลเมตร) โครงข่ายการวิจัยโลกาภิวัตน์และนครโลก (GaWC) ได้จัดอันดับให้เบลฟาสต์เป็นนครสำคัญของโลกประเภทแกมมาใน ค.ศ. 2018[11]

วัฒนธรรม[แก้]

กีฬา[แก้]

เบลฟาสต์มีทีมกีฬาที่มีชื่อเสียงที่ลงแข่งขันในกีฬาหลายประเภท ได้แก่ ฟุตบอล แกลิกเกม รักบี้ คริกเก็ต และฮอกกี้น้ำแข็ง การแข่งขันเบลฟาสต์มาราธอนถูกจัดขึ้นในวันเมย์เดย์ของทุกปี ซึ่งใน ค.ศ. 2011 มีผู้เข้าร่วมงานถึงสองหมื่นคน[12]

ฟุตบอลทีมชาตินอร์เทิร์นไอร์แลนด์ซึ่งรั้งอันดับที่ 23 จากการจัดอันดับโลกฟีฟ่าในเดือนสิงหาคม ค.ศ. 2017[13] ลงเล่นนัดเหย้าของพวกเขาที่วินด์เซอร์พาร์ก แชมป์ไอริชลีกฤดูกาล 2017–18 อย่างครูแซเดอส์ ก็เล่นเกมเหย้าที่สนามซีวิว ซึ่งตั้งอยู่ทางตอนเหนือของนคร

เบลฟาสต์เป็นบ้านเกิดของตำนานแมนเชสเตอร์ยูไนเต็ดอย่างจอร์จ เบสต์ ซึ่งเสียชีวิตในเดือนพฤษภาคม ค.ศ. 2005 ในวันที่ที่ฝังศพของเขาที่เบลฟาสต์ มีประชาชนกว่า 100,000 คนยืนเรียงแถวจากหน้าบ้านของเขาบนถนนเครกัจไปยังสุสายโรสลอว์น[14] ท่าอากาศยานประจำนคร ได้นำชื่อของเขามาตั้ง เพื่อเป็นเกียรติแก่ตัวเขา นอกจากนี้ ยังมีแผนสร้างอนุสรณ์ของจอร์จ เบสต์ ในย่านใจกลางเมือง[15]

เมืองพี่น้อง[แก้]

อ้างอิง[แก้]

  1. "Standard Area Measurements (2016) for Administrative Areas in the United Kingdom". Office for National Statistics. 1 February 2017. สืบค้นเมื่อ 9 February 2017.
  2. 2.0 2.1 "Population Estimates for UK, England and Wales, Scotland and Northern Ireland, Mid-2019". Office for National Statistics. 6 May 2020. สืบค้นเมื่อ 6 May 2020.
  3. "Belfast Metropolitan Area Plan" (PDF). Planningni.gov. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 7 November 2017. สืบค้นเมื่อ 11 April 2018.
  4. "Place Names NI – Home". www.placenamesni.org. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 5 March 2016. สืบค้นเมื่อ 2019-09-25.
  5. "Where are the largest cities in Britain? – CityMetric". Citymetric.com. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 30 October 2015. สืบค้นเมื่อ 11 April 2018.
  6. Mankind's Great Divides by George R. Mitchell, 2017. (ISBN 9781910745779)
  7. "CAIN: Violence: List of Significant Violent Incidents". cain.ulster.ac.uk. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 23 July 2019. สืบค้นเมื่อ 2019-10-16.
  8. ConnollyCove (2019-08-12). "Linenopolis: The Linen Quarter of Belfast | Connolly Cove |". Connolly Cove (ภาษาอังกฤษแบบบริติช). สืบค้นเมื่อ 2019-11-06.
  9. "BBC – History – Belfast's golden age of shipbuilding". Bbc.co.uk. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 26 March 2018. สืบค้นเมื่อ 11 April 2018.
  10. Kelly, Mary (April 2013). "Historical Internal Migration in Ireland" (PDF). GIS Research UK. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 17 August 2018. สืบค้นเมื่อ 17 August 2018.
  11. "The World According to GaWC 2018". Globalization and World Cities (GaWC) Study Group and Network. Loughborough University. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 3 May 2017. สืบค้นเมื่อ 25 January 2019.
  12. "Belfast Marathon breaks 20,000 barrier". Belfast City Council. 18 April 2011. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 24 September 2011. สืบค้นเมื่อ 9 July 2011.
  13. "FIFA/Coca-Cola World Rankings". FIFA. August 2017. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 17 September 2017. สืบค้นเมื่อ 4 September 2017.
  14. McCann, Nuala (3 December 2005). "A city mourns for the Belfast Boy". BBC News Northern Ireland. BBC. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 19 December 2006. สืบค้นเมื่อ 18 May 2005.
  15. "George Best Memorial Trust". George Best Trust. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 29 September 2007. สืบค้นเมื่อ 18 May 2007.
  16. 16.0 16.1 16.2 "Belfast signs Sister Cities accord with Boston". News. Belfast City Council. 12 May 2014. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 31 December 2015. สืบค้นเมื่อ 15 January 2016.
  17. "Belfast signs Sister City Agreement with Shenyang, China today to collaborate in number of areas". News. Belfast City Council. 16 May 2016. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 3 June 2017. สืบค้นเมื่อ 26 May 2017.

อ่านเพิ่มเติม[แก้]

  • Beesley, S. and Wilde, J. 1997. Urban Flora of Belfast. Institute of Irish Studies & The Queen's University of Belfast.ISBN 0 85389 695 X
  • Deane, C. Douglas. 1983. The Ulster Countryside. Century Books. ISBN 0-903152-17-7
  • Gillespie, R. 2007. Early Belfast. Belfast Natural History & Philosophical Society in Association with Ulster Historical Foundation. ISBN 978-1-903688-72-4.
  • Nesbitt, Noel. 1982. The Changing Face of Belfast. Ulster Museum, Belfast. Publication no. 183.
  • Pollock, V. and Parkhill, T. 1997. Belfast. National Museums of Northern Ireland. ISBN 978-0-7509-1754-4
  • Scott, Robert. 2004. Wild Belfast: On Safari in the City. Blackstaff Press. ISBN 0-85640-762-3.
  • Walker, B.M. and Dixon, H. 1984. Early Photographs from the Lawrence Collection in Belfast Town 1864–1880. The Friar's Bush Press, ISBN 978-0-946872-01-5
  • Walker, B.M. and Dixon, H. 1983. No Mean City: Belfast 1880–1914. ISBN 0-946872-00-7.
  • Connolly, S.J. Ed. 2012. Belfast 400 People Places and History. Liverpool University Press. ISBN 978-1-84631-635-7
  • McCracken, E. 1971. The Palm House and Botanic Garden, Belfast. Ulster Architectural Heritage Society.
  • McMahon, Sean. 2011. A Brief History of Belfast. The Brehon Press. Belfast. ISBN 978-1-905474-24-0
  • Fulton, C. 2011. Coalbricks and Prefabs, Glimpses of Belfast in the 1950s. Thedoc Press. ISBN 978-0-9570762-0-4
  • O'Reilly, D. 2010. " Rivers of Belfast". Colourpoint Books. ISBN 978-1-906578-75-6
  • Weatherall, Norman (text) and Evans, David (paintings) 2002 South Belfast Terrace and Villa. Cottage Publications ISBN 1900935287

แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]