ฟุตบอลทีมชาติปารากวัย

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
ปารากวัย
Shirt badge/Association crest
ฉายาLos Guaraníes (The Guaraníes)
La Albirroja (ขาว-แดง)
ดาวกากบาท (ฉายาในภาษาไทย)
สมาคมสมาคมฟุตบอลปารากวัย (APF)
สมาพันธ์คอนเมบอล (อเมริกาใต้)
หัวหน้าผู้ฝึกสอนGuillermo Barros Schelotto[1][2]
กัปตันกุสตาโบ โกเมซ
ติดทีมชาติสูงสุดเปาโล ดา ซิลบา (148)
ทำประตูสูงสุดโรเก ซันตา ครูซ (32)
สนามเหย้าเอสตาดิโอ เดเฟนโซเรส เดล ชาโก
รหัสฟีฟ่าPAR
อันดับฟีฟ่า
อันดับปัจจุบัน 56 Steady (4 เมษายน 2024)[3]
อันดับสูงสุด8 (มีนาคม 2001)
อันดับต่ำสุด103 (พฤษภาคม 1995)
เกมระดับนานาชาติครั้งแรก
ธงชาติปารากวัย ปารากวัย 1–5 อาร์เจนตินา ธงชาติอาร์เจนตินา
(อาซุนซีออน ประเทศปารากวัย; 11 พฤษภาคม ค.ศ. 1919)
ชนะสูงสุด
ธงชาติปารากวัย ปารากวัย 7–0 โบลิเวีย ธงชาติโบลิเวีย
(รีโอเดจาเนโร ประเทศบราซิล; 30 เมษายน ค.ศ. 1949)
ธงชาติฮ่องกง ฮ่องกง 0–7 ปารากวัย ธงชาติปารากวัย
(ฮ่องกง; 17 พฤศจิกายน ค.ศ. 2010)
แพ้สูงสุด
ธงชาติอาร์เจนตินา อาร์เจนตินา 8–0 ปารากวัย ธงชาติปารากวัย
(ซานเตียโก ประเทศชิลี; 20 ตุลาคม ค.ศ. 1926)
ฟุตบอลโลก
เข้าร่วม8 (ครั้งแรกใน 1930)
ผลงานดีที่สุดรอบก่อนรองชนะเลิศ (2010)
โกปาอาเมริกา
เข้าร่วม38 (ครั้งแรกใน 1921)
ผลงานดีที่สุดชนะเลิศ (1953, 1979)

ฟุตบอลทีมชาติปารากวัย (สเปน: Selección de fútbol de Paraguay) เป็นทีมฟุตบอลชายตัวแทนของประเทศปารากวัย อยู่ภายใต้การดูแลของสมาคมฟุตบอลปารากวัย (Asociación Paraguaya de Fútbol) และเป็นสมาชิกของคอนเมบอล ปารากวัยผ่านเข้าไปเล่นในฟุตบอลโลกรอบสุดท้ายถึง 8 ครั้ง (1930, 1950, 1958, 1986, 1998, 2002, 2006 และ 2010) โดยผลงานที่ดีที่สุดเกิดขึ้นในปี 2010 ที่พวกเขาผ่านเข้าถึงรอบก่อนรองชนะเลิศได้ ปารากวัยเข้าร่วมแข่งโกปาอาเมริกาเป็นประจำโดยเคยชนะเลิศรายการนี้มาแล้วสองสมัยในปี 1953 และ 1979) อันดับโลกฟีฟ่าที่ดีที่สุดของปารากวัยคืออันดับที่ 8 ในเดือนมีนาคม ค.ศ. 2001 และอันดับที่แย่ที่สุดคืออันดับที่ 103 ในเดือนพฤษภาคม ค.ศ. 1995 พวกเขาเคยได้รับรางวัลอันดับที่สองของทีมชาติที่มีอันดับโลกฟีฟ่าขยับขึ้นมากที่สุดในปี 1996

ช่วงเวลาที่ประสบความสำเร็จมากที่สุดของทีมชาติเกิดขึ้นภายใต้การคุมทีมของหัวหน้าผู้ฝึกสอนชาวอาร์เจนตินา เกราร์โด มาร์ติโน ผู้ได้รับรางวัลผู้ฝึกสอนยอดเยี่ยมแห่งอเมริกาใต้ในปี 2007 และพาปารากวัยเข้าถึงรอบก่อนรองชนะเลิศในฟุตบอลโลกได้เป็นครั้งแรกในปี 2010 นอกจากนี้ ยังพาปารากวัยเข้าชิงชนะเลิศโกปาอาเมริกา 2011 แม้ว่าสุดท้ายจะจบด้วยการเป็นรองแชมป์ก็ตาม ในประวัติการเล่นฟุตบอลโลกของปารากวัย มีเพียงการ์ลอส กามาร์ราและโฆเซ ลุยส์ ชิยาเบร์ตที่ติดทีมออลสตาร์ฟุตบอลโลก โดยเกิดขึ้นในปี 1998 เปาโล ดา ซิลบาครองสถิติลงเล่นให้กับทีมชาติมากที่สุดที่ 148 นัด ในขณะที่โรเก ซันตา ครูซเป็นผู้ทำประตูให้ทีมชาติสูงสุดตลอดกาลที่ 32 ประตู เดนิส คานิซาเป็นผู้เล่นเพียงคนเดียวที่ลงเล่นให้กับทีมชาติปารากวัยในฟุตบอลโลกถึงสี่ครั้ง (1998, 2002, 2006, 2010)

ประวัติ[แก้]

ยุคทอง (1998–2011)[แก้]

หลังจากที่ปารากวัยพบกับช่วงตกต่ำที่ไม่สามารถผ่านเข้าไปเล่นในรอบสุดท้ายของฟุตบอลโลก 1990 และ 1994 พวกเขาสามารถชนะเลิศปรีโอลิมปิกทัวร์นาเมนต์ระดับทวีปได้ในปี 1992 ซึ่งทำให้ปารากวัยได้เข้าร่วมแข่งขันฟุตบอลในโอลิมปิกฤดูร้อน 1992 โดยในการแข่งขันรายการนั้น ปารากวัยจบอันดับที่สองของกลุ่ม ก่อนที่จะตกรอบก่อนรองชนะเลิศจากการพ่ายแพ้ต่อกานา[4] ความสำเร็จของทีมชาติในครั้งนั้นเริ่มต้นจากการผลักดันผู้เล่นดาวรุ่งหน้าใหม่ ไม่ว่าจะเป็นการ์ลอส กามาร์รา, เกลโซ อายาลา, โฆเซ ลุยส์ ชิลาเบร์ต, ฟรานซิสโก อาร์เซ และโฆเซ การ์โดโซ ซึ่งผู้เล่นชุดนี้ได้กลายเป็น "โกลเดนเจเนเรชัน" (golden generation) ที่ช่วยให้ปารากวัยกลายเป็นอีกหนึ่งทีมชั้นนำของทวีปและเข้ารอบสุดท้ายฟุตบอลโลกได้สามครั้งติดต่อกัน

ฟุตบอลโลก 1998[แก้]

ปารากวัยผ่านเข้าไปเล่นในรอบสุดท้ายของฟุตบอลโลก 1998 ด้วยการจบอันดับที่สองและมีคะแนนน้อยกว่าอาร์เจนตินาเพียงคะแนนเดียว

ปารากวัยภายใต้การคุมทีมของผู้ฝึกสอนชาวบราซิลอย่าง Paulo César Carpegiani ผ่านเข้ารอบสุดท้ายฟุตบอลโลกเป็นครั้งแรกนับตั้งแต่ ค.ศ. 1986 โดยทีมชุดนั้นประกอบด้วยผู้เล่นที่มีประสบการณ์สูงหลายคน ปารากวัยถูกจับสลากอยู่ในกลุ่มดีร่วมกับบัลแกเรีย, ไนจีเรีย และสเปน

ปารากวัยเริ่มต้นการเสมอกับปารากวัยและสเปน 0–0 ทั้งสองนัด[5] ก่อนที่ในนัดสุดท้ายของกลุ่ม พวกเขาจะต้องพบกับไนจีเรีย ทีมที่การันตีผ่านเข้ารอบถัดไปหลังจากที่ชนะในสองนัดแรก สุดท้ายแล้ว ปารากวัยเอาชนะไปได้ 3–1 ผ่านเข้าสู่รอบถัดไปด้วยการเป็นอันดับที่สองของกลุ่ม

ปารากวัยต้องพบกับฝรั่งเศสในรอบ 16 ทีมสุดท้ายเมื่อวันที่ 28 มิถุนายน พวกเขายื้อเสมอแบบไร้ประตูกับฝรั่งเศสที่ไม่มีซีเนดีน ซีดานได้ในเวลา 90 นาที ก่อนที่ในช่วงต่อเวลาพิเศษ นาทีที่ 114 ปารากวัยจะต้องตกรอบด้วยประตูชัยที่เป็นโกลเดนโกลของโลร็องต์ บล็องก์[6] กองหลัง การ์ลอส กามาร์รา และผู้รักษาประตูและกัปตัน โฆเซ ลุยส์ ชิลาเบร์ต ถูกเลือกติดทีมออลสตาร์ในฟุตบอลโลกครั้งนั้น

โกปาอาเมริกา 1999 และ 2001[แก้]

ปารากวัยเป็นเจ้าภาพจัดการแข่งขันโกปาอาเมริกา 1999 ซึ่งจัดขึ้นในสี่เมืองทั่วประเทศ หัวหน้าผู้ฝึกสอนทีมชาติ Ever Hugo Almeida ได้เลือกผู้เล่นที่มีประสบการณ์ ซึ่งส่วนใหญ่เป็นผู้เล่นจากชุดลุยศึกฟุตบอลโลก 1998 ปารากวัยอยู่ในกลุ่มเดียวกับโบลิเวีย, ญี่ปุ่น และเปรู พวกเขาประเดิมสนามด้วยการเสมอกับโบลิเวีย 0–0 ต่อมาในวันที่ 2 กรกฎาคม พวกเขาถล่มเอาชนะญี่ปุ่นไปได้ 4–0 ก่อนที่ในนัดสุดท้ายของกลุ่ม จะเฉือนเอาชนะเปรูไปได้ 1–0 ปารากวัยผ่านเข้าสู่รอบก่อนรองชนะเลิศด้วยการเป็นจ่าฝูงที่มี 7 คะแนน ปารากวัยเสมอกับอุรุกวัยในรอบก่อนรองชนะเลิศ ทำให้ต้องตัดสินด้วยการยิงลูกโทษ ซึ่งอุรุกวัยเอาชนะไปได้ 5–3 หลังจบการแข่งขัน กองหน้า โรเก ซันตา ครูซ ได้รับรางวัลนักฟุตบอลปารากวัยยอดเยี่ยมแห่งปี[7]

ในโกปาอาเมริกา 2001 หัวหน้าผู้ฝึกสอน Sergio Markarián เลือกชุดผู้เล่นที่ลงเล่นในประเทศเป็นส่วนใหญ่ พวกเขาถูกจับสลากอยู่ในกลุ่มเดียวกับเปรู, เม็กซิโก และบราซิล ปารากวัยประเดิมสนามด้วยการเสมอกับเปรู 3–3 ต่อมาพวกเขาเสมอกับเม็กซิโก 0–0 ในนัดที่สอง ก่อนที่จะแพ้บราซิล 3–1 ในนัดสุดท้าย ทำให้ปารากวัยตกรอบแบ่งกลุ่มด้วยการมีเพียงสองคะแนน

ฟุตบอลโลก 2002[แก้]

ปารากวัยเริ่มต้นฟุตบอลโลก 2002 รอบคัดเลือกด้วยบุกเอาชนะเปรู 2–0 ในเดือนมีนาคม ค.ศ. 2000 เดือนถัดมา พวกเขาเอาชนะอุรุกวัย 1–0 ต่อมาในวันที่ 3 มิถุนายน ค.ศ. 2000, ปารากวัยเปิดบ้านเอาชนะเอกวาดอร์ไปได้ 3–1 ก่อนที่จะบุกไปแพ้ชิลี 3–1 ต่อมาวันที่ 18 กรกฎาคม ค.ศ. 2000 ปารากวัยเปิดบ้านเอาชนะบราซิลไปได้ 2–1 ก่อนที่จะเสมอในอีกสองนัดและชนะอีกสี่นัดรวดเหนือเวเนซุเอลา, โคลอมเบีย (2–0), เปรู (5–1) และอุรุกวัย (1–0) ทำให้ทีมขึ้นสู่อันดับที่สองของตารางคะแนนรอบคัดเลือก

ชิลาเบร์ตเป็นผู้เล่นคนสำคัญที่ทำให้ปารากวัยผ่านเข้าไปเล่นในรอบสุดท้ายของฟุตบอลโลก 2002

นัดถัดมา ปารากวัยบุกแพ้เอกวาดอร์ 2–1 ก่อนที่จะกลับมาเปิดบ้านเอาชนะชิลี 1–0, บุกแพ้บราซิล 2–0 และเปิดบ้านเอาชนะโบลิเวีย 5–1 หนึ่งเดือนถัดมา ปารากวัยยันเสมอกับอาร์เจนตินา 2–2 ทำให้ยังคงรักษาอันดับที่สองของตารางได้ อย่างไรก็ตาม ความพ่ายแพ้ต่อเวเนซุเอลา 3–1 และโคลอมเบีย 4–0 ทำให้หลังจบนัดที่ 18 ปารากวัยตกลงมาอยู่อันดับที่ 4 มี 30 คะแนน แต่ก็ยังเพียงพอในการเข้ารอบสุดท้ายของฟุตบอลโลก

ปารากวัยเข้าร่วมแข่งขันฟุตบอลโลก 2002 ผู้เล่นส่วนใหญ่มาจากชุดลุยศึกฟุตบอลโลกเมื่อสี่ปีที่แล้ว โดยโฆเซ ลุยส์ ชิลาเบร์ตทำหน้าที่เป็นกัปตันทีมชาติประจำทัวร์นาเมนต์ อย่างไรก็ตาม การเข้ารับตำแหน่งผู้ฝึกสอนของเชซาเร มัลดีนีในเดือนมกราคม ค.ศ. 2002 ทำให้เกิดเสียงวิพากย์วิจารณ์กรณีที่ไม่เลือกผู้ฝึกสอนในประเทศมาทำหน้าที่ (ส่งผลให้สหภาพผู้จัดการทีมพยายามปลดเขาออกจากตำแหน่งด้วยเหตุผลด้านการย้ายถิ่นฐานที่ไม่ถูกต้อง แต่ความพยายามครั้งนี้ไม่สำเร็จ)[8][9]

ปารากวัยถูกจับสลากให้อยู่ในกลุ่มบีร่วมกับสเปน, แอฟริกาใต้ และสโลวีเนีย พวกเขาประเดิมสนามด้วยการเสมอกับแอฟริกาใต้ 2–2 เมื่อวันที่ 2 มิถุนายน ต่อมา พวกเขาพ่ายแพ้ต่อสเปน 3–1 ในวันที่ 7 มิถุนายน และในนัดสุดท้ายของกลุ่ม พวกเขาเอาชนะสโลวีเนียไปได้ 3–1 แม้ว่าปารากวัยและแอฟริกาใต้จะมีสี่คะแนนเท่ากัน แต่ปารากวัยได้ผ่านเข้ารอบด้วยผลต่างประตูได้เสียที่ดีกว่า[10] ในรอบ 16 ทีมสุดท้าย ปารากวัยต้องพบกับเยอรมนี โดยเยอรมนีทำผลงานได้ดีกว่าตลอดทั้งเกมและได้ประตูชัยในนาทีที่ 88 ทำให้ปารากวัยสิ้นสุดเส้นทางในทัวร์นาเมนต์นี้แต่เพียงเท่านี้[11]

โกปาอาเมริกา 2004[แก้]

เนลซอน ฮาเอโดในโกปาอาเมริกา 2004

ผู้ฝึกสอน การ์ลอส ฆารา ซากิเอร์ ได้เรียกผู้เล่นดาวรุ่งหลายคนจากสโมสรในปริเมราดิบิซิออนปารากวายาติดทีมชาติเพื่อลุยศึกโกปาอาเมริกา 2004 ปารากวัยอยู่ในกลุ่มซี ร่วมสายกับบราซิล, คอสตาริกา และชิลี พวกเขาประเดิมนัดแรกด้วยการชนะคอสตาริกา 1–0 โดยได้ประตูชัยจากลูกโทษ นัดถัดมา พวกเขาเสมอกับชิลี 1–1 ก่อนที่ในนัดสุดท้าย พวกเขาจะเอาชนะบราซิลอย่างเหนือความคาดหมายไปได้ 2–1 ทำให้ปารากวัยจบอันดับที่หนึ่งของกลุ่ม มี 7 คะแนนและไม่แพ้ใคร อย่างไรก็ตาม ในรอบก่อนรองชนะเลิศ ปารากวัยพ่ายแพ้ต่ออุรุกวัย 3–1 ทำให้สิ้นสุดเส้นทางในทัวร์นาเมนต์เพียงเท่านี้

ฟุตบอลโลก 2006[แก้]

การ์โดโซทำ 7 ประตูในฟุตบอลโลก 2006 รอบคัดเลือก

ปารากวัยเริ่มต้นการแข่งขันฟุตบอลโลก 2006 รอบคัดเลือกด้วยการชนะ 3 จาก 4 นัดแรกใน ค.ศ. 2003 โดยหลังจากที่พวกเขาแพ้เปรู 4–1 พวกเขาสามารถเอาชนะอุรุกวัย (4–1) และชิลี (1–0) ทำให้ทีมขึ้นอันดับที่หนึ่งของตารางคะแนน ต่อมาใน ค.ศ. 2004 ปารากวัยเสมอกับบราซิล 0–0, แพ้โบลิเวีย 2–1, ชนะเวเนซุเอลา 1–0 (เป็นชัยชนะเพียงนัดเดียวในรอบคัดเลือกในปี 2004) และแพ้อุรุกวัย 1–0 ต่อมาใน ค.ศ. 2005 ปารากวัยแพ้เอกวาดอร์และเอาชนะชิลี 2–1 นัดถัดมา พวกเขาแพ้บราซิล 4–1 ก่อนที่จะเอาชนะโบลิเวีย 4–1, ชนะอาร์เจนตินา 1–0 และชนะเวเนซุเอลา 1–0 ก่อนที่จะเปิดบ้านแพ้โคลอมเบีย 1–0 ในนัดสุดท้าย ปารากวัยจบอันดับที่สี่ของตาราง ได้สิทธิ์เข้าไปเล่นในฟุตบอลโลกรอบสุดท้ายเป็นครั้งที่สามติดต่อกัน

ปารากวัยพบกับอังกฤษในฟุตบอลโลก 2006

หัวหน้าผู้ฝึกสอน อานิบัล รุยซ์ เรียกผู้เล่น 8 คนจากสโมสรในยุโรปและผู้เล่น 11 คนจากสโมสรในอเมริกาใต้ (ซึ่งรวมถึงกัปตัน การ์ลอส กามาร์รา) เพื่อเตรียมทีมสำหรับการแข่งขันฟุตบอลโลก 2006 ที่เยอรมนี โดยมีผู้เล่นที่มีประสบการณ์สูงภายในทีมด้วย

ปารากวัยอยู่ในกลุ่มบี ร่วมสายกับอังกฤษ, สวีเดน และตรินิแดดและโตเบโก พวกเขาประเดิมสนามในการพบกับอังกฤษเมื่อวันที่ 10 มิถุนายน โดยอังกฤษเป็นฝ่ายเอาชนะไปได้ 1–0 ต่อมาในวันที่ 15 มิถุนายน ปารากวัยตกรอบแบ่งกลุ่มทันทีหลังจากที่แพ้สวีเดนและยังทำประตูไม่ได้ อย่างไรก็ตาม ในนัดสุดท้ายของกลุ่มที่พบกับตรินิแดดและโตเบโกเมื่อวันที่ 20 มิถุนายน ปารากวัยเอาชนะไปได้ 2–0 แต่ก็จบเพียงอันดับที่สามของกลุ่มเท่านั้น หลังจบทัวร์นาเมนต์ อานิบัล รุยซ์ประกาศลาออกจากตำแหน่งผู้ฝึกสอน โดยมีราอุล บิเซนเต อามาริยาเข้ารับตำแหน่งผู้ฝึกสอนชั่วคราว

เฆราร์โด มาร์ติโน เข้ารับตำแหน่งผู้ฝึกสอนคนใหม่ในปี 2007[12]

ทีมชาติปารากวัยเกิดการเปลี่ยนถ่ายผู้เล่นครั้งใหญ่ เมื่อผู้เล่นสำคัญหลายคนประกาศเลิกเล่นฟุตบอล หนึ่งในนั้นได้แก่ โฆเซ ลุยส์ ชิลาเบร์ต ต่อมาใน ค.ศ. 2007 เฆราร์โด "ตาตา" มาร์ติโนจากอาร์เจนตินา เข้ารับตำแหน่งหัวหน้าผู้ฝึกสอนคนใหม่

โกปาอาเมริกา 2007[แก้]

ในโกปาอาเมริกา 2007 ที่เวเนซุเอลา เฆราร์โด มาร์ติโนเรียกผู้เล่นที่มีประสบการณ์สูงติดทีมชาติ อาทิ ดาริโอ เบรอน, เกลาดิโอ โมเรล โรเริเกซ, การ์ลอส โบเน็ต, ฆูลิโอ มันซูร์, เปาโล ดา ซิลบา, ออเรเลียโน ตอร์เรส, โรเก ซันตา ครูซ และกัปตัน ฆูลิโอ เซซาร์ กาเซเรส นอกจากนี้ ยังเรียกผู้เล่นหน้าใหม่อย่าง เอ็นริเก เบรา, โอสการ์ การ์โดโซ และผู้เล่นที่เกิดในอาร์เจนตินา โจนาทาน ซันตานา ติดทีมชาติปารากวัยสำหรับการแข่งขันในทัวร์นาเมนต์หลักเป็นครั้งแรก โกปาอาเมริกาครั้งนี้ยังเป็นทัวร์นาเมนต์สุดท้ายที่อดีตทหารผ่านศึก เนลซอน กูเอบัส จะได้ลงเล่น ปารากวัยอยู่ในกลุ่มซีร่วมกับอาร์เจนตินา, โคลอมเบีย และสหรัฐ พวกเขาประเดิมสนามด้วยการเอาชนะโคลอมเบีย 5–0 จากการทำแฮตทริกของโรเก ซันตา ครูซ และการทำสองประตูของซัลวาดอร์ กาบานัส[13] ต่อมาในนัดที่สองที่พบกับสหรัฐ เอ็ดการ์ บาร์เรโตทำประตูขึ้นนำให้กับปารากวัยในนาทีที่ 29 ก่อนที่ริคาร์โด คลาร์กจะทำประตูตีเสมอให้สหรัฐในนาทีที่ 35 สุดท้าย ปารากวัยเอาชนะไปได้ 3–1 โดยได้ประตูขึ้นนำจากโอสการ์ การ์โดโซ และฟรีคิกในนาทีที่ 92 จากซัลวาดอร์ กาบานัส[14] หลังจบนัดที่สอง ทั้งปารากวัยและอาร์เจนตินามี 6 คะแนนเท่ากันและการันตีผ่านเข้าสู่รอบถัดไปแล้ว ในนัดสุดท้ายของกลุ่ม โรเก ซันตา ครูซ, เอ็ดการ์ บาร์เรโต, กริสเตียน ริเบรอส และเปาโล ดา ซิลบาถูกพักเป็นตัวสำรอง ในขณะที่เนลซอน กูเอบัสได้ลงเล่นเป็นนัดแรกในรายการ และอัลโด โบบาดิลยาได้ลงเล่นครบ 90 นาที นัดนั้น อาร์เจนตินาเป็นฝ่ายเบียดเอาชนะไปได้ 1–0 โดยได้ประตูชัยจากฆาบิเอร์ มัสเชราโนในนาทีที่ 79[15] ในรอบแพ้คัดออก ปารากวัยต้องพบกับเม็กซิโกที่เพิ่งเอาชนะบราซิลในรอบแบ่งกลุ่มและจบเป็นอันดับที่หนึ่งของกลุ่มบี ผู้รักษาประตูปารากวัย อัลโด โบบาดิลยา ได้รับใบแดงโดยตรงในนาทีที่ 3 จนทำให้ปารากวัยเสียลูกโทษในนาทีที่ 5 ก่อนที่จะเป็นฝ่ายตามหลังถึง 3–0 ในครึ่งแรก เม็กซิโกทำเพิ่มอีกสามประตูในครึ่งหลัง ทำให้เอาชนะปารากวัยไปได้ถึง 6–0[16]

ฟุตบอลโลก 2010[แก้]

ซัลบาดอร์ กาบานัส ได้รับการยกย่องให้เป็นผู้เล่นที่ดีที่สุดของทีมชาติปารากวัยโดยหัวหน้าผู้ฝึกสอน เฆราร์โด มาร์ติโน[17] เขาเปรียบเสมือนลิโอเนล เมสซิแห่งปารากวัย[18][19]

ปารากวัยประเดิมการแข่งขันรอบคัดเลือกของฟุตบอลโลก 2010 ด้วยการบุกไปเสมอกับเปรูแบบไร้ประตู[20] หลังจากนั้น ปารากวัยชนะอีกสี่นัดรวดเหนืออุรุกวัย (1–0), เอกวาดอร์ (5–1), ชิลี (3–0) และบราซิล (2–0) ทำให้ปารากวัยขึ้นเป็นอันดับที่หนึ่งของตารางคะแนนรอบคัดเลือก[21][22] และยังคงรักษาอันดับที่หนึ่งไว้ได้ถึง 9 นัดติดต่อกัน (ตั้งแต่นัดที่ 4 ถึงนัดที่ 12) ปารากวัยแพ้นัดแรกในรอบคัดเลือกในนัดที่ออกไปเยือนโบลิเวีย ซึ่งพวกเขาแพ้ 4–2[23]

ปารากวัยบุกไปเสมอกับอาร์เจนตินา 1–1[24] นัดถัดมา พวกเขากลับมาเปิดบ้านเอาชนะเวเนซุเอลา 2–0 ทำให้ปารากวัยยังคงอยู่อันดับที่หนึ่งของตาราง[25] หลังจากนั้น ปารากวัยเอาชนะโคลอมเบียและเปรูด้วย 1–0 ทั้งสองนัด[26][27] ทำให้หลังจบปี 2008 ปารากวัยยังคงอยู่อันดับที่หนึ่งของตาราง อย่างไรก็ตาม ปารากวัยประเดิมปี 2009 ด้วยการบุกไปแพ้อุรุกวัย 2–0[28] และเสมอกับเอกวาดอร์ 1–1[29] และในเดือนมิถุนายน พวกเขาเปิดบ้านแพ้ชิลี 2–0[30] และบุกไปแพ้บราซิล 2–1[31] ในสี่นัดสุดท้ายของรอบคัดเลือก ซึ่งสามจากสี่นัดเป็นเกมเหย้า ปารากวัยกลับมาเปิดบ้านเอาชนะโบลิเวีย 1–0[32] ก่อนที่จะเอาชนะอาร์เจนตินา 1–0 เมื่อวันที่ 9 กันยายน[33] สองนัดสุดท้ายของรอบคัดเลือก ปารากวัยบุกชนะเวเนซุเอลา 2–1 และเปิดบ้านแพ้โคลอมเบีย 2–0[34][35] ปารากวัยจบรอบคัดเลือกด้วยการมี 33 คะแนน

ปารากวัยในนัดที่พบกับอิตาลีเมื่อวันที่ 14 มิถุนายน ค.ศ. 2010

ปารากวัยผ่านเข้าไปเล่นในรอบสุดท้ายของฟุตบอลโลก 2010 นับเป็นครั้งที่สี่ติดต่อกันที่พวกเขาได้เข้าร่วมแข่งขันรายการนี้ ทีมชาติยังคงมีผู้เล่นประสบการณ์สูงหลายคน ไม่ว่าจะเป็นโรเก ซันตา ครูซ, เอ็ดการ์ บาร์เรโต, การ์ลอส โบเน็ต, เอ็นริเก เบรา, กริสตีอัน ริเบรอส, เนลซอน บัลเดซ และเปาโล ดา ซิลบา ทีมชาติชุดนั้นมีผู้เล่นที่เล่นให้กับสโมสรในยุโรปถึง 9 คน[36]

ปารากวัยอยู่ในกลุ่มเอฟร่วมกับอิตาลี, สโลวาเกีย และนิวซีแลนด์ พวกเขาประเดิมสนามด้วยการเสมอกับแชมป์เก่าอย่างอิตาลี 1–1 ซึ่งพวกเขาขึ้นนำได้ก่อนในนาทีที่ 39[37] นัดถัดมาพวกเขาเอาชนะสโลวาเกีย 2–0[38] ก่อนที่จะเสมอกับนิวซีแลนด์ 0–0 ในนัดสุดท้าย[39] ปารากวัยจบอันดับที่หนึ่งของกลุ่ม ผ่านเข้าสู่รอบแพ้คัดออกได้สำเร็จ

ในรอบ 16 ทีมสุดท้าย ปารากวัยต้องพบกับญี่ปุ่น ซึ่งปารากวัยเอาชนะการยิงลูกโทษไปได้ 5–3 หลังจากที่เสมอกันในเวลาแบบไร้ประตู[40] ต่อมาในรอบก่อนรองชนะเลิศ พวกเขาต้องพบกับสเปน ผู้รักษาประตูปารากวัย ยุสโต บิยาร์ เซฟลูกโทษของสเปนได้ แต่สุดท้ายก็ปารากวัยก็พ่ายแพ้ 1–0 จากประตูชัยของสเปนในนาทีที่ 83[41] หลังจบการแข่งขัน เฆราร์โด มาร์ติโน ประกาศว่าจะอำลาทีมหลังจากหมดสัญญาผู้ฝึกสอน

โกปาอาเมริกา 2011[แก้]

ยุสโต บิยาร์ ได้รับการลงคะแนนให้เป็นผู้รักษาประตูยอดเยี่ยมในโกปาอาเมริกา 2011

ในโกปาอาเมริกา 2011 ปารากวัยถูกจับสลากให้อยู่ในกลุ่มบีร่วมกับบราซิล, เวเนซุเอลา และเอกวาดอร์ ปารากวัยประเดิมสนามด้วยการเสมอกับเอกวาดอร์แบบไร้ประตู ก่อนที่ในนัดถัดมาจะเสมอกับบราซิล 2–2 และในนัดสุดท้าย พวกเขาเสมอกับเวเนซุเอลา 3–3 ปารากวัยจบอันดับที่สามของกลุ่มด้วยการมี 3 คะแนนจากการเสมอทั้ง 3 นัด แต่ก็ยังผ่านเข้ารอบถัดไปด้วยเป็นอันดับสองของทีมอันดับที่สามที่ดีที่สุดจากทุกกลุ่ม

ปารากวัยต้องพบกับบราซิลอีกครั้งในรอบก่อนรองชนะเลิศ การแข่งขันยืดเยื้อจนถึงการยิงลูกโทษ ซึ่งเป็นปารากวัยที่สามารถเอาชนะการยิงลูกโทษไปได้ 2–0 ต่อมาในรอบรองชนะเลิศ ปารากวัยเอาชนะการยิงลูกโทษเหนือเวเนซุเอลา 5–3 ส่งผลให้ปารากวัยได้เข้าชิงชนะเลิศกับอุรุกวัย ปารากวัยเข้าชิงชนะเลิศรายการนี้เป็นครั้งแรกนับตั้งแต่ปี 1979 อย่างไรก็ตาม ปารากวัยเป็นฝ่ายพ่ายแพ้ไป 3–0 ผู้รักษาประตู ยุสโต บิยาร์ ได้รับรางวัลผู้รักษาประตูยอดเยี่ยมประจำทัวร์นาเมนต์ เฆราร์โด มาร์ติโนลาออกจากตำแหน่งผู้ฝึกสอนหลังจบทัวร์นาเมนต์

ฟุตบอลโลก 2014 รอบคัดเลือก[แก้]

ฟรานซิสโก อาร์เซ เข้ารับตำแหน่งผู้ฝึกสอนต่อจากมาร์ติโนในปี 2011

ฟรานซิสโก อาร์เซเข้ารับตำแหน่งผู้ฝึกสอนทีมชาติปารากวัยในการแข่งขันฟุตบอลโลก 2014 รอบคัดเลือก ในนัดแรกและนัดที่สองที่แข่งขันกันในเดือนตุลาคม ค.ศ. 2011 ปารากวัยแพ้ 2–0 ทั้งสองนัด[42] สี่วันถัดมา พวกเขาเสมอกับอุรุกวัย 1–1 ก่อนที่จะชนะนัดแรกในรอบคัดเลือกเหนือเอกวาดอร์ 2–1[43]

ปารากวัยพ่ายแพ้ 2–0 ต่อชิลีและแพ้ 3–1 ต่อโบลิเวีย[44] ซึ่งนั่นทำให้อาร์เซลาออกจากตำแหน่งผู้ฝึกสอนใน ค.ศ. 2012 โดยมีเฆราร์โด เปลุสโซเข้ารับตำแหน่งแทน อย่างไรก็ตาม ผลงานของปารากวัยยังคงไม่ดีขึ้น ปารากวัยแพ้อาร์เจนตินา 3–1, แพ้เวเนซุเอลา 2–0 และแพ้โคลอมเบีย 2–0[45] ความพ่ายแพ้อย่างต่อเนื่องทำให้ปารากวัยจมอยู่อันดับสุดท้ายของตาราง

โรเก ซันตา ครูซ กลายเป็นผู้ทำประตูสูงสุดของทีมชาติปารากวัยหลังจากที่เขาทำประตูที่ 26 ในนามทีมชาติ

ปารากวัยยุติความพ่ายแพ้ต่อเนื่องด้วยการเอาชนะเปรู 1–0 แต่นั่นก็เป็นเพียงชัยชนะนัดที่สองในรอบคัดเลือกเท่านั้น[46] นัดถัดมา ปารากวัยเสมอกับอุรุกวัย 1–1[47] และแพ้เอกวาดอร์ 4–1[48] ในนัดที่ 13 ที่ปารากวัยแพ้ชิลี 2–1 โรเก ซันตา ครูซทำประตูที่ 26 ในนามทีมชาติ ทำให้เขากลายเป็นผู้ทำประตูสูงสุดของทีมชาติปารากวัย[49] อย่างไรก็ตาม เฆราร์โด เปลุสโซลาออกจากตำแหน่ง โดยมีบิกตอร์ เฆเนสเข้ารับตำแหน่งผู้ฝึกสอนจนจบรอบคัดเลือก แม้ว่าเขาจะประเดิมคุมทีมเอาชนะโบลิเวีย 4–0[50] แต่ความพ่ายแพ้ในนัดถัดมาต่ออาร์เจนตินา 5–2 ทำให้พวกเขาหมดสิทธิ์เข้ารอบสุดท้ายฟุตบอลโลก

ในเดือนตุลาคม ค.ศ. 2013 ปารากวัยเสมอกับเวเนซุเอลา 1–1 และแพ้โคลอมเบีย 2–1 ปารากวัยจบอันดับที่ 9 ของตาราง มีเพียง 12 คะแนน พวกเขาชนะเพียง 3 นัดและแพ้ไปถึง 10 นัดด้วยกัน[51] ผลงานในรอบคัดเลือกฟุตบอลโลก 2014 นับว่าล้มเหลว โดยในรอบคัดเลือก ทีมมีการเปลี่ยนผู้ฝึกสอนถึงสามครั้งด้วยกัน

โกปาอาเมริกา 2015[แก้]

ปารากวัยทำผลงานในโกปาอาเมริกา 2015 ด้วยการเข้ารอบรองชนะเลิศหลังจากที่ชนะการยิงลูกโทษเหนือบราซิล อย่างไรก็ตาม พวกเขาต้องพ่ายแพ้ต่ออาร์เจนตินาไปถึง 6–1[52]

เกียรติประวัติ[แก้]

ทางการ[แก้]

กระชับมิตร[แก้]

การแข่งขัน 1 2 3 ทั้งหมด
ฟุตบอลโลก 0 0 0 0
โกปาอาเมริกา 2 6 7 15
ทั้งหมด 2 6 7 15

อดีตผู้เล่นคนสำคัญ[แก้]

ดูเพิ่ม[แก้]

อ้างอิง[แก้]

  1. "Barros Schelotto, nuevo técnico de la selección de Paraguay" (ภาษาสเปน). Olé. 19 October 2021. สืบค้นเมื่อ 20 October 2021.
  2. "Barros Schelotto, asumen el desafío albirrojo" (ภาษาสเปน). ABC Color. 20 October 2021. สืบค้นเมื่อ 20 October 2021.
  3. "The FIFA/Coca-Cola World Ranking". FIFA. 4 เมษายน 2024. สืบค้นเมื่อ 4 เมษายน 2024.
  4. นับตั้งแต่ ค.ศ. 1992 ทีมชาติที่ลงแข่งขันกีฬาฟุตบอลในโอลิมปิกฤดูร้อนต้องมีผู้เล่นที่มีอายุเกิน 23 ปีเพียงสามคนเท่านั้น ความสำเร็จของทีมชุดโอลิมปิกจะไม่ถูกรวมในผลงานของทีมชาติชุดหลัก
  5. "FIFA World Cup™ Archive". FIFA.com. 10 June 2015. สืบค้นเมื่อ 14 June 2015.
  6. "FIFA World Cup™ Archive". FIFA.com. 10 June 2015. สืบค้นเมื่อ 14 June 2015.
  7. "El historial del galardon". Archivo.abc.com.py. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (JPG)เมื่อ 2011-10-08. สืบค้นเมื่อ 14 June 2015.
  8. "BBC SPORT | WORLD CUP | Paraguay | Chilavert backs Maldini". BBC News. 26 April 2002. สืบค้นเมื่อ 14 June 2015.
  9. "BBC SPORT | WORLD CUP | Squad | Cesare Maldini". BBC News. 10 April 2002. สืบค้นเมื่อ 14 June 2015.
  10. "BBC SPORT | WORLD CUP | Slovenia v Paraguay | Paraguay snatch vital win". BBC News. 12 June 2002. สืบค้นเมื่อ 14 June 2015.
  11. "BBC SPORT | WORLD CUP | Germany v Paraguay | Germany edge out Paraguay". BBC News. 15 June 2002. สืบค้นเมื่อ 14 June 2015.
  12. "Gerardo Martino asumirá como técnico de la selección paraguaya". Emol.com. 30 June 2006. สืบค้นเมื่อ 14 June 2015.
  13. "Copa America – Paraguay vs Colombia – Soccer – Soccerway – Results, fixtures, tables and statistics". Soccerway. 29 June 2007. สืบค้นเมื่อ 14 June 2015.
  14. "Copa America – United States vs Paraguay – Soccer – Soccerway – Results, fixtures, tables and statistics". Soccerway. 3 July 2007. สืบค้นเมื่อ 14 June 2015.
  15. "Copa America – Argentina vs Paraguay – Soccer – Soccerway – Results, fixtures, tables and statistics". Soccerway. 6 July 2007. สืบค้นเมื่อ 14 June 2015.
  16. "Copa America – Mexico vs Paraguay – Soccer – Soccerway – Results, fixtures, tables and statistics". Soccerway. 8 July 2007. สืบค้นเมื่อ 14 June 2015.
  17. "CONMEBOL coaches have their say — FIFA.com". M.fifa.com. 10 June 2015. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2016-01-08. สืบค้นเมื่อ 14 June 2015.
  18. "Martino: Si el equipo juega como yo quiero, a la gente le va a gustar". Diarioregistrado.com. 29 December 2014. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 23 September 2015. สืบค้นเมื่อ 14 June 2015.
  19. "Tata Martino: Mi orgullo, la selección de Paraguay | Fútbol Internacional, Selección Paraguaya, Gerardo Martino, Paraguay, Albirroja, Barcelona". D10.paraguay.com. สืบค้นเมื่อ 14 June 2015.
  20. "WC Qualification South America – Peru vs Paraguay – Soccer – Soccerway – Results, fixtures, tables and statistics". Soccerway. 14 October 2007. สืบค้นเมื่อ 14 June 2015.
  21. "2014 FIFA World Cup Brazil™: Paraguay-Brazil – Report". FIFA.com. 10 June 2015. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2014-04-24. สืบค้นเมื่อ 14 June 2015.
  22. "WC Qualification South America – Paraguay vs Brazil – Soccer – Soccerway – Results, fixtures, tables and statistics". Soccerway. 15 June 2008. สืบค้นเมื่อ 14 June 2015.
  23. "WC Qualification South America – Bolivia vs Paraguay – Soccer – Soccerway – Results, fixtures, tables and statistics". Soccerway. 18 June 2008. สืบค้นเมื่อ 14 June 2015.
  24. "WC Qualification South America – Argentina vs Paraguay – Soccer – Soccerway – Results, fixtures, tables and statistics". Soccerway. 6 September 2008. สืบค้นเมื่อ 14 June 2015.
  25. "WC Qualification South America – Paraguay vs Venezuela – Soccer – Soccerway – Results, fixtures, tables and statistics". Soccerway. 10 September 2008. สืบค้นเมื่อ 14 June 2015.
  26. "WC Qualification South America – Colombia vs Paraguay – Soccer – Soccerway – Results, fixtures, tables and statistics". Soccerway. 12 October 2008. สืบค้นเมื่อ 14 June 2015.
  27. "WC Qualification South America – Paraguay vs Peru – Soccer – Soccerway – Results, fixtures, tables and statistics". Soccerway. 15 October 2008. สืบค้นเมื่อ 14 June 2015.
  28. "WC Qualification South America – Uruguay vs Paraguay – Soccer – Soccerway – Results, fixtures, tables and statistics". Soccerway. 28 March 2009. สืบค้นเมื่อ 14 June 2015.
  29. "WC Qualification South America – Ecuador vs Paraguay – Soccer – Soccerway – Results, fixtures, tables and statistics". Soccerway. 1 April 2009. สืบค้นเมื่อ 14 June 2015.
  30. "WC Qualification South America – Paraguay vs Chile – Soccer – Soccerway – Results, fixtures, tables and statistics". Soccerway. 7 June 2009. สืบค้นเมื่อ 14 June 2015.
  31. "WC Qualification South America – Brazil vs Paraguay – Soccer – Soccerway – Results, fixtures, tables and statistics". Soccerway. 11 June 2009. สืบค้นเมื่อ 14 June 2015.
  32. "WC Qualification South America – Paraguay vs Bolivia – Soccer – Soccerway – Results, fixtures, tables and statistics". Soccerway. 6 September 2009. สืบค้นเมื่อ 14 June 2015.
  33. "WC Qualification South America – Paraguay vs Argentina – Soccer – Soccerway – Results, fixtures, tables and statistics". Soccerway. 10 September 2009. สืบค้นเมื่อ 14 June 2015.
  34. "WC Qualification South America – Venezuela vs Paraguay – Soccer – Soccerway – Results, fixtures, tables and statistics". Soccerway. 11 October 2009. สืบค้นเมื่อ 14 June 2015.
  35. "WC Qualification South America – Paraguay vs Colombia – Soccer – Soccerway – Results, fixtures, tables and statistics". Soccerway. 15 October 2009. สืบค้นเมื่อ 14 June 2015.
  36. "FIFA World Cup™ Archive". FIFA.com. 10 June 2015. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2014-04-24. สืบค้นเมื่อ 14 June 2015.
  37. "World Cup – Italy vs Paraguay – Soccer – Soccerway – Results, fixtures, tables and statistics". Soccerway. 14 June 2010. สืบค้นเมื่อ 14 June 2015.
  38. "World Cup – Slovakia vs Paraguay – Soccer – Soccerway – Results, fixtures, tables and statistics". Soccerway. 20 June 2010. สืบค้นเมื่อ 14 June 2015.
  39. "World Cup – Paraguay vs New Zealand – Soccer – Soccerway – Results, fixtures, tables and statistics". Soccerway. 24 June 2010. สืบค้นเมื่อ 14 June 2015.
  40. "World Cup – Paraguay vs Japan – Soccer – Soccerway – Results, fixtures, tables and statistics". Soccerway. 29 June 2010. สืบค้นเมื่อ 14 June 2015.
  41. Fletcher, Paul (1 January 1970). "Paraguay 0–1 Spain". BBC News. สืบค้นเมื่อ 14 June 2015.
  42. "2014 FIFA World Cup Brazil™: Peru-Paraguay – Report". FIFA.com. 10 June 2015. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2015-06-23. สืบค้นเมื่อ 14 June 2015.
  43. Change to local timeChange to your time (10 June 2015). "2014 FIFA World Cup Brazil™: Paraguay-Ecuador – Report". FIFA.com. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2015-06-23. สืบค้นเมื่อ 14 June 2015.
  44. "2014 FIFA World Cup Brazil™: Bolivia-Paraguay – Report". FIFA.com. 10 June 2015. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2015-06-23. สืบค้นเมื่อ 14 June 2015.
  45. "2014 FIFA World Cup Brazil™: Colombia-Paraguay – Report". FIFA.com. 10 June 2015. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2015-06-23. สืบค้นเมื่อ 14 June 2015.
  46. "2014 FIFA World Cup Brazil™: Paraguay-Peru – Report". FIFA.com. 10 June 2015. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2015-06-23. สืบค้นเมื่อ 14 June 2015.
  47. "2014 FIFA World Cup Brazil™: Uruguay-Paraguay – Report". FIFA.com. 10 June 2015. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2015-06-23. สืบค้นเมื่อ 14 June 2015.
  48. "2014 FIFA World Cup Brazil™: Ecuador-Paraguay – Report". FIFA.com. 10 June 2015. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2018-06-17. สืบค้นเมื่อ 14 June 2015.
  49. "Paraguay – Chile 1:2 (0:1)". FIFA.com. 7 June 2013. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2013-10-21. สืบค้นเมื่อ 20 February 2014.
  50. "2014 FIFA World Cup Brazil™: Paraguay-Bolivia – Report". FIFA.com. 10 June 2015. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2015-06-23. สืบค้นเมื่อ 14 June 2015.
  51. "2014 FIFA World Cup Brazil™: Paraguay-Colombia – Report". FIFA.com. 10 June 2015. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2015-06-23. สืบค้นเมื่อ 14 June 2015.
  52. "Copa América. History". conmebol.com. CONMEBOL. 1 July 2015. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2018-06-25. สืบค้นเมื่อ 2021-08-04.
  53. Lunar New Year Cup at the RSSSF

แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]