ฟุตบอลชิงแชมป์แห่งชาติยุโรป 2012 นัดชิงชนะเลิศ

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
ฟุตบอลชิงแชมป์แห่งชาติยุโรป 2012 นัดชิงชนะเลิศ
รายการฟุตบอลชิงแชมป์แห่งชาติยุโรป 2012
วันที่1 กรกฎาคม ค.ศ. 2012
สนามสนามกีฬาโอลิมปิก, เคียฟ, ยูเครน
ผู้เล่นยอดเยี่ยม
ประจำนัด
สเปน อันเดรส อีเนียสตา
ผู้ตัดสินโปรตุเกส เปดรู ปรูเองซา
ผู้ชม63,170 คน
สภาพอากาศท้องฟ้าแจ่มใส
อุณหภูมิ 26 °C
ความชื้นสัมพัทธ์ 42%[1]
2008
2016

การแข่งขันฟุตบอลชิงแชมป์แห่งชาติยุโรป 2012 นัดชิงชนะเลิศ กำหนดจัดให้มีขึ้นในวันอาทิตย์ที่ 1 กรกฎาคม ค.ศ. 2012 ที่สนามกีฬาโอลิมปิกแห่งชาติเคียฟ ในเคียฟของยูเครน เพื่อตัดสินหาทีมชนะเลิศของการแข่งขันฟุตบอลชิงแชมป์แห่งชาติยุโรป 2012 (ยูโร 2012)[2] ทีมที่ป้องกันตำแหน่งชนะเลิศคือสเปน ซึ่งชนะการแข่งขันต่อเยอรมนี 1-0 ในนัดชิงชนะเลิศเมื่อปี 2008[3]

สเปนประกบคู่มาแข่งขันกับอิตาลี ในความพยายามรักษาตำแหน่งชนะเลิศของพวกเขาไว้ หากสเปนชนะเลิศในครั้งนี้ พวกเขาจะเป็นทีมแรกที่ชนะเลิศ การแข่งขันฟุตบอลชิงแชมป์แห่งชาติยุโรป สองสมัยติดต่อกัน และจะเป็นฟุตบอลทีมชาติแรก ที่ชนะเลิศการแข่งขันรายการใหญ่ (ฟุตบอลชิงแชมป์แห่งชาติยุโรป และ ฟุตบอลโลก) สามครั้งติดต่อกัน[4][5]

ผู้ชนะเลิศในรายการนี้ จะได้รับสิทธิเข้าแข่งขัน ในรายการคอนเฟเดอเรชันส์คัพของฟีฟ่า ประจำปี ค.ศ. 2013 โดยอัตโนมัติ อย่างไรก็ตาม สเปนได้สิทธิเข้าแข่งขันอยู่ก่อนแล้ว ในสถานะผู้ชนะเลิศฟุตบอลโลก 2010 ดังนั้นอิตาลีจะผ่านการคัดเลือกจากยูฟ่าโดยอัตโนมัติ เมื่อเข้าถึงนัดชิงชนะเลิศนี้ ไม่ว่าจะเป็นผู้ชนะเลิศหรือไม่ก็ตาม[6]

ภูมิหลัง[แก้]

ก่อนการแข่งขันนัดนี้ ทั้งสองทีมพบกันมาแล้ว 30 ครั้ง โดยอิตาลีชนะ 10 นัด ส่วนสเปนชนะ 8 นัด ซึ่งการแข่งขันครั้งหลังสุด เป็นนัดกระชับมิตรเมื่อวันที่ 10 สิงหาคม ค.ศ. 2011 ที่สนามสตาดิโอ ซาน นีโกลา ในเมืองบารี ผลปรากฏว่า อิตาลีเปิดบ้านชนะสเปนไป 2-1[7][8] อิตาลีเคยชนะเลิศฟุตบอลยูโรมาแล้วเมื่อ ค.ศ. 1968 ขณะที่สเปนได้มาสองสมัยด้วยกัน คือในการแข่งขันเมื่อ ค.ศ. 1964 ซึ่งชนะสหภาพโซเวียต และครั้งล่าสุดเมื่อ ค.ศ. 2008 ซึ่งชนะทีมชาติเยอรมนี

โดยทีมชาติฝรั่งเศส เคยเป็นผู้ชนะเลิศเหนือทั้งสองชาติมาก่อนแล้ว โดยในฟุตบอลยูโรเมื่อ ค.ศ. 2000 พวกเขาชนะอิตาลี 2-1 ในช่วงต่อเวลาพิเศษ ด้วยระบบโกลเดนโกล และในการแข่งขันเมื่อ ค.ศ. 1984 ฝรั่งเศสเอาชนะสเปน 2-0 ในเวลาปกติ อนึ่ง เมื่อเริ่มต้นการแข่งขันคราวนี้ สเปนเป็นทีมอันดับหนึ่ง จากการจัดอันดับของฟีฟ่า ขณะที่อิตาลีอยู่ในอันดับที่ 12 ส่วนการจัดอันดับของยูฟ่า พวกเขาอยู่ในอันดับที่ 8 อย่างไรก็ตาม อิตาลีเคยชนะเลิศในฟุตบอลโลกมาถึง 4 สมัย คือเมื่อครั้งที่ 2 (ค.ศ. 1934) ครั้งที่ 3 (ค.ศ. 1938) ครั้งที่ 12 (ค.ศ. 1982) และครั้งที่ 18 (ค.ศ. 2006) ซึ่งมากที่สุดในบรรดาทีมชาติยุโรป แต่ก็พ่ายแพ้ต่อบราซิลไป 2 สมัย จากครั้งที่ 9 (ค.ศ. 1970) และครั้งที่ 15 (ค.ศ. 1994) ส่วนสเปนเพิ่งชนะเลิศในครั้งที่ 19 เมื่อปี ค.ศ. 2010 เท่านั้น

เส้นทางสู่นัดชิงชนะเลิศ[แก้]

สเปน รอบ อิตาลี
คู่แข่งขัน ผลการแข่งขัน รอบแบ่งกลุ่ม คู่แข่งขัน ผลการแข่งขัน
ธงชาติอิตาลี อิตาลี 1 – 1 นัดที่ 1 ธงชาติสเปน สเปน 1 – 1
สาธารณรัฐไอร์แลนด์ ไอร์แลนด์ 4 – 0 นัดที่ 2 ธงชาติโครเอเชีย โครเอเชีย 1 – 1
ธงชาติโครเอเชีย โครเอเชีย 1 – 0 นัดที่ 3 สาธารณรัฐไอร์แลนด์ ไอร์แลนด์ 2 – 0
กลุ่ม ซี แข่ง ชนะ เสมอ แพ้ ได้ เสีย +/- คะแนน
ธงชาติสเปน สเปน 3 2 1 0 6 1 +5 7
ธงชาติอิตาลี อิตาลี 3 1 2 0 4 2 +2 5
ธงชาติโครเอเชีย โครเอเชีย 3 1 1 1 4 3 +1 4
สาธารณรัฐไอร์แลนด์ ไอร์แลนด์ 3 0 0 3 1 9 −8 0
ตารางคะแนนสิ้นสุด
กลุ่ม ซี แข่ง ชนะ เสมอ แพ้ ได้ เสีย +/- คะแนน
ธงชาติสเปน สเปน 3 2 1 0 6 1 +5 7
ธงชาติอิตาลี อิตาลี 3 1 2 0 4 2 +2 5
ธงชาติโครเอเชีย โครเอเชีย 3 1 1 1 4 3 +1 4
สาธารณรัฐไอร์แลนด์ ไอร์แลนด์ 3 0 0 3 1 9 −8 0
คู่แข่งขัน ผลการแข่งขัน รอบแพ้คัดออก คู่แข่งขัน ผลการแข่งขัน
ธงชาติฝรั่งเศส ฝรั่งเศส 2 – 0 รอบก่อนรองชนะเลิศ ธงชาติอังกฤษ อังกฤษ 0 – 0 (หลังต่อเวลาพิเศษ) (4 – 2 ยิงลูกโทษ)
ธงชาติโปรตุเกส โปรตุเกส 0 – 0 (หลังต่อเวลาพิเศษ) (4 – 2 ยิงลูกโทษ) รอบรองชนะเลิศ ธงชาติเยอรมนี เยอรมนี 2 – 1

การแข่งขัน[แก้]

รายละเอียด[แก้]

สเปน[1]
อิตาลี[1]
สเปน
สเปน:
GK 1 อีเกร์ กาซียัส
RB 17 อัลบาโร อาร์เบโลอา
CB 3 ฌาราร์ต ปิเก โดนใบเหลือง ใน 25 นาที 25'
CB 15 เซร์คีโอ ราโมส
LB 18 ฌอร์ดี อัลบา
CM 8 ชาบี
CM 16 เซร์คีโอ บุสเกตส์
CM 14 ชาบี อาลอนโซ
AM 10 เซสก์ ฟาเบรกัส Substituted off in the 75 นาที 75'
RF 21 ดาบิด ซิลบา Substituted off in the 59 นาที 59'
LF 6 อันเดรส อีเนียสตา Substituted off in the 87 นาที 87'
ผู้เล่นสำรอง:
FW 7 เปโดร โรดรีเกซ เลเดสมา Substituted on in the 59 minute 59'
FW 9 เฟร์นันโด ตอร์เรส Substituted on in the 75 minute 75'
MF 13 ควน มาตา Substituted on in the 87 minute 87'
หัวหน้าผู้ฝึกสอน:
สเปน บีเซนเต เดล โบสเก
อิตาลี
อิตาลี:
GK 1 จันลุยจี บุฟฟอน
RB 7 อิญญาซีโอ อาบาเต
CB 15 อันเดรอา บาร์ซาลยี โดนใบเหลือง ใน 45 นาที 45'
CB 19 เลโอนาร์โด โบนุชชี
LB 3 จอร์โจ กีเอลลีนี Substituted off in the 21 นาที 21'
DM 21 อันเดรอา ปีร์โล
RW 8 เกลาดีโอ มาร์กีซีโอ
AM 18 ริกการ์โด มอนโตลีโว Substituted off in the 57 นาที 57'
LW 16 ดานีเอเล เด รอสซี
CF 9 มารีโอ บาโลเตลลี
CF 10 อันโตนีโอ กัสซาโน Substituted off in the 46 นาที 46'
ผู้เล่นสำรอง:
DF 6 เฟเดรีโก บัลซาเรตตี Substituted on in the 21 minute 21'
FW 11 อันโตนีโอ ดี นาตาเล Substituted on in the 46 minute 46'
MF 5 ตีอาโก มอตตา Substituted on in the 57 minute 57' Substituted off in the 60 นาที 60' (เจ็บ)
หัวหน้าผู้ฝึกสอน:
อิตาลี เชซาเร ปรันเดลลี

แมนออฟเดอะแมตช์:
อันเดรส อีเนียสตา (สเปน)[9]

ผู้ช่วยผู้ตัดสิน:
โปรตุเกส เบร์ตีนู มีรังดา
โปรตุเกส รีการ์ดู ซังตุช
ผู้ตัดสินที่สี่:
ตุรกี จือเนย์ต ชากือร์
ผู้ช่วยผู้ตัดสินเพิ่มเติม:
โปรตุเกส ชอร์ชี โซซา
โปรตุเกส ดูอาร์ตี โกมิช

สถิติ[แก้]

ตลอดเกม[10]
รายการสถิติ สเปน อิตาลี
ประตู 4 0
การยิงรวม 14 11
เข้ากรอบ 9 6
การครอบครองบอล 52% 48%
การเตะมุม 3 3
การทำฟาวล์ 17 10
การล้ำหน้า 3 3
ใบเหลือง 1 1
ใบแดง 0 0

หลังเกมการแข่งขัน[แก้]

มีแชล ปลาตีนี ประธานสมาคมฟุตบอลยุโรป (ยูฟ่า) เป็นผู้มอบถ้วยรางวัลอ็องรี เดอโลแน แก่อีเกร์ กาซียัส หัวหน้าทีมชาติสเปน ทั้งนี้ หัวหน้าผู้ฝึกสอน บีเซนเต เดล โบสเก เป็นบุคคลที่สองที่นำทีมชาติขึ้นรับถ้วยรางวัลในการแข่งขันฟุตบอลยูโรและฟุตบอลโลก ต่อจากเฮลมุท เชิน หัวหน้าผู้ฝึกสอนทีมชาติเยอรมนี (ค.ศ. 19371941)[11] และเป็นชาติแรกที่สโมสรฟุตบอลของตนชนะเลิศการแข่งขันยูฟ่าแชมเปียนส์ลีกด้วย[12]

อ้างอิง[แก้]

  1. 1.0 1.1 1.2 "Tactical Line-up – Final – Spain-Italy" (PDF). UEFA.com. Union of European Football Associations. 1 July 2012. สืบค้นเมื่อ 1 July 2012.
  2. "Fixture plan brings EURO dream closer". Union of European Football Associations. 4 October 2010. สืบค้นเมื่อ 3 January 2012.
  3. McNulty, Phil (29 June 2008). "Germany 0–1 Spain". BBC Sport. British Broadcasting Corporation. สืบค้นเมื่อ 22 June 2012.
  4. Logothetis, Paul (27 June 2012). "Euro 2012: Spain won't change game plan for Portugal's Cristiano Ronaldo". National Post. สืบค้นเมื่อ 28 June 2012.
  5. Evans, Simon (27 June 2012). "Spot-on Fabregas sends Spain into Euro 2012 final". Chicago Tribune. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2012-06-28. สืบค้นเมื่อ 28 June 2012.
  6. "Italy qualify for Confederations Cup". Soccerway. 29 June 2012.
  7. "Match Press kit – Final – Spain-Italy" (PDF). UEFA.com. Union of European Football Associations. 1 July 2012. สืบค้นเมื่อ 1 July 2012.
  8. "Aquilani leaves it late". ESPN Soccernet. ESPN. 10 August 2011. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2011-12-23. สืบค้นเมื่อ 1 July 2012.
  9. 9.0 9.1 "Full-time report Spain-Italy" (PDF). UEFA.com. Union of European Football Associations. 1 July 2012. สืบค้นเมื่อ 1 July 2012.
  10. "Team statistics: Full time" (PDF). www.UEFA.com. สมาคมฟุตบอลยุโรป. 1 July 2012. สืบค้นเมื่อ 2 July 2012.
  11. Atkin, John (1 July 2012). "Double-winning Del Bosque matches Schön feat". UEFA.com. Kiev: Union of European Football Associations. สืบค้นเมื่อ 1 July 2012.
  12. Atkin, John (2 July 2012). "Del Bosque reflects on 'historic win' for Spain". UEFA.com. Union of European Football Associations. สืบค้นเมื่อ 2 July 2012.