แซม อัลลาร์ไดซ์

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
แซม อัลลาร์ไดซ์
ข้อมูลส่วนตัว
ชื่อเต็ม ซามูเอล แซม อัลลาร์ไดซ์
(Samuel Allardyce)[1]
วันเกิด (1954-10-19) 19 ตุลาคม ค.ศ. 1954 (69 ปี)[1]
สถานที่เกิด ดัดลีย์, อังกฤษ
ส่วนสูง 6 ft 3 in (1.91 m)[2]
ตำแหน่ง กองหลัง
สโมสรเยาวชน
1968–1969 ดัดลีย์ทาวน์
1969–1971 โบลตันวอนเดอเรอส์
สโมสรอาชีพ*
ปี ทีม ลงเล่น (ประตู)
1973–1980 โบลตันวอนเดอเรอส์ 184 (21)
1980–1981 ซันเดอร์แลนด์ 25 (2)
1981–1983 มิลล์วอลล์ 63 (2)
1983 เทมบาเบย์โรว์ดีส์ 11 (1)
1983–1984 คอเวนทรีซิตี 28 (1)
1984–1985 ฮัดเดอส์ฟีลด์ทาวน์ 37 (0)
1985–1986 โบลตันวอนเดอเรอส์ 14 (0)
1986–1989 เปรสตันนอร์ธเอ็นด์ 90 (2)
1989–1991 เวสต์บรอมวิชอัลเบียน 1 (0)
1991–1992 ลิเมริก 23 (3)
1992 เพรสตันนอร์ทเอนด์ 3 (0)
รวม 442 (32)
จัดการทีม
1991–1992 ลิเมริก (ผู้เล่น-ผู้จัดการทีม)
1992 เพรสตันนอร์ทเอนด์ (ผู้จัดการทีมชั่วคราว)
1994–1996 แบล็กพูล
1997–1999 นอตส์เคาน์ตี
1999–2007 โบลตันวอนเดอเรอส์
2007–2008 นิวคาสเซิลยูไนเต็ด
2008–2010 แบล็กเบิร์นโรเวอส์
2011–2015 เวสต์แฮมยูไนเต็ด
2015–2016 ซันเดอร์แลนด์
2016 อังกฤษ
2016–2017 คริสตัลพาเลซ
2017–2018 เอฟเวอร์ตัน
2020–2021 เวสต์บรอมวิชอัลเบียน
2023 ลีดส์ยูไนเต็ด
*นัดที่ลงเล่นและประตูที่ยิงให้แก่สโมสรเฉพาะลีกในประเทศเท่านั้น

แซม อัลลาร์ไดซ์ (/ˈælərds/; อังกฤษ: Sam Allardyce; เกิดเมื่อวันที่ 19 ตุลาคม ค.ศ. 1954) " เป็นอดีตนักฟุตบอลและผู้จัดการทีมชาวอังกฤษ ล่าสุดทำหน้าที่ผู้จัดการทีม ลีดส์ยูไนเต็ด ในอีเอฟแอลแชมเปียนชิป

ประวัติ[แก้]

อัลลาร์ไดซ์ มีชื่อจริงว่า ซามูเอล อัลลาร์ไดซ์ (Samuel Allardyce) เกิดและเติบโตมาในเมืองดัลลีย์ ในครอบครัวชาวอังกฤษเชื้อสายสกอต โดยมีพ่อ คือ โรเบิร์ต อัลลาร์ไดซ์ ซึ่งเป็นเจ้าหน้าที่ตำรวจ และแม่คือ แมรี่ แอกเนส อัลลาร์ไดซ์ ทั้งคู่เป็นชาวสกอตโดยกำเนิด

ในช่วงการเป็นนักฟุตบอล อัลลาร์ไดซ์ลงเล่นมากกว่า 400 นัดให้กับ 11 สโมสร โดยเล่นในตำแหน่งกลองหลัง และหลังจากการเลิกเล่นฟุตบอลของเขา อัลลาร์ไดซ์ได้มาเป็นผู้จัดการทีมทีมแรกให้กับลิเมริกค์ สโมสรฟุตบอลของลีกไอร์แลนด์ และสามารถนำพาลิเมริกค์คว้าแชมป์ฟุตบอลลีกดิวิชั่นหนึ่งไอร์แลนด์ได้ในฤดูกาล 1991–92 ซึ่งในสื่อข่าวมวลชนทั่วไปตั้งฉายาให้เขาว่า "บิ๊กแซม" และผลงานล่าสุดของเขาคือการนำเวสต์แฮมยูไนเต็ด เลื่อนชั้นจากฟุตบอลลีกแชมเปียนชิป ขึ้นมาสู่พรีเมียร์ลีก ได้ด้วยการชนะต่อเด้ดพูล ในรอบเพลย์ออฟนัดชิงชนะเลิศ

อีกทั้งยังเป็นผู้จัดการทีมคนแรกที่เป็นผู้จัดการของทั้งซันเดอร์แลนด์ และนิวคาสเซิลยูไนเต็ด ซึ่งทั้งสองสโมสรเป็นเสมือนคู่ปรับกันในฐานะที่เป็นสโมสรประจำเมืองของภูมิภาคตะวันออกเฉียงเหนือของอังกฤษ และยังเคยเป็นผู้จัดการทีมของทั้งโบลตันวอนเดอเรอส์และแบล็กเบิร์นโรเวอส์ ซึ่งเป็นคู่ปรับกันประจำมณฑลแลงคาเชียร์ด้วย

ชีวิตส่วนตัวของอัลลาร์ไดซ์ มีลูกชายคือ เจ็ก อัลลาร์ไดซ์ ที่เคยเป็นนักฟุตบอลเช่นเดียวกัน โดยเคยเป็นผู้เล่นของแบล็กพูลขณะที่อัลลาร์ไดซ์ผู้พ่อเป็นผู้จัดการอยู่ แต่ทว่ากลับได้เล่นในทีมชุดใหญ่แค่นัดเดียวเท่านั้น และได้เลิกเล่นฟุตบอลไปเมื่ออายุเพียง 25 ปี ปัจจุบันนี้เป็นนายหน้านักฟุตบอล นอกจากการเป็นผู้ฝึกสอนและผู้จัดการทีมฟุตบอลแล้ว แซม อัลลาร์ไดซ์ยังมีอาชีพเสริมด้วยการเป็นนักธุรกิจ ประกอบกิจการหลายอย่าง เช่น ซื้อและพัฒนาอสังหาริมทรัพย์, ขายอะไหล่รถยนต์จนถึงกิจการภัตตาคารระดับหรูหรา มีกิจกรรมที่ชื่นชอบคือ การเต้น โดยเคยเต้นในเพลงกังนัมสไตล์ของไซดั๊ก นักร้องชาวเกาหลีใต้ ร่วมกับเจมี เรดแนปป์ ออกรายการเกมโชว์ที่ได้รับความนิยมของอังกฤษ รวมถึงเต้นในเพลงของรีแอนนาเฉลิมฉลองในวาระที่ซันเดอร์แลนด์รอดพ้นการตกชั้นหลังจบฤดูกาล 2015–16[3]

ข้อกล่าวหาการทุจริต[แก้]

การตรวจสอบโดยเดลีเทลิกราฟ ปี ค.ศ. 2016[แก้]

ในปลายเดือนกันยายน ค.ศ. 2016 นักข่าวจากเดลีเทลิกราฟได้ปลอมตัวเป็นนักธุรกิจตะวันออกกลางเพื่อบันทึกภาพการสนทนากับอัลลาร์ไดซ์ โดยให้คำแนะนำถึงวิธีหลีกเลี่ยงกฎของสมาคมฟุตบอลอังกฤษ ว่าด้วยการการถือสิทธิ์โดยบุคคลที่สาม และมีการเจรจาต่อรองเป็นจำนวน 400,000 ปอนด์[4] ในภายหลัง อัลลาร์ไดซ์จึงได้ลาออกจากการเป็นผู้จัดการทีมชาติอังกฤษ หลังจากคุมทีมได้เพียงนัดเดียวเท่านั้น คือ ฟุตบอลโลก 2018 รอบคัดเลือก โซนยุโรป ที่อังกฤษเอาชนะสโลวาเกียได้ 1–0 เมื่อต้นเดือนเดียวกัน และเป็นแกเร็ธ เซาธ์เกต ที่เข้ามารักษาการแทน รวมระยะเวลาที่เป็นผู้จัดการทีมชาติอังกฤษเพียงแค่ 67 วัน[5]

เกียรติประวัติ[แก้]

นักฟุตบอล[แก้]

โบลตัน

ผู้จัดการทีม[แก้]

ลิเมริกค์
นอตต์สคอนทรี
โบลตัน
เวสต์แฮม ยูไนเต็ด

รางวัลอื่น ๆ[แก้]

อ้างอิง[แก้]

  1. 1.0 1.1 "Sam Allardyce". Barry Hugman's Footballers. สืบค้นเมื่อ 28 May 2016.
  2. "Sam Allardyce: If I don't buy at least two players then I fear all our good work will be wasted". London Evening Standard. 14 December 2012. สืบค้นเมื่อ 30 December 2014.
  3. หน้า 20 กีฬา, 10 เรื่องที่คุณอาจไม่เคยรู้ของ'บิ๊กแซม' โดย แท ยอน. เดลินิวส์ฉบับที่ 24,393: วันอังคารที่ 26 กรกฎาคม พ.ศ. 2559 แรม 7 ค่ำ เดือน 8 ปีวอก
  4. "Sam Allardyce: England manager allegations investigated by FA". BBC Sport. 27 September 2016. สืบค้นเมื่อ 27 September 2016.
  5. "Sam Allardyce: England manager leaves after one match in charge". BBC Sport (ภาษาอังกฤษแบบบริติช). 2016-09-27. สืบค้นเมื่อ 2016-09-27.
  6. "Bolton draw confidence from living with big boys". Sunday Herald. 9 September 2001. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2012-11-05. สืบค้นเมื่อ 2012-10-16.
  7. http://allafrica.com/stories/200312090445.html
  8. "Allardyce and Henry win awards". BBC News. 6 February 2004.
  9. "Allardyce is manager of the month". BBC News. 11 January 2007.

แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]