คณะรัฐมนตรีไทย คณะที่ 28

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
คณะรัฐมนตรีถนอม
คณะรัฐมนตรีคณะที่ 28 แห่งราชอาณาจักรไทย
มกราคม - ตุลาคม พ.ศ. 2501
วันแต่งตั้ง1 มกราคม พ.ศ.​ 2501
วันสิ้นสุด20 ตุลาคม พ.ศ.​ 2501
(0 ปี 292 วัน)
บุคคลและองค์กร
ประมุขแห่งรัฐพระบาทสมเด็จพระมหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร
หัวหน้ารัฐบาลถนอม กิตติขจร
ประวัติ
ก่อนหน้าคณะรัฐมนตรีไทย คณะที่ 27
ถัดไปคณะรัฐมนตรีไทย คณะที่ 29

คณะรัฐมนตรี คณะที่ 28 ของไทย (1 มกราคม พ.ศ. 2501 - 20 ตุลาคม พ.ศ. 2501)

พลโท ถนอม กิตติขจร เป็นนายกรัฐมนตรี ประกาศพระบรมราชโองการ เมื่อวันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2501

พระบาทสมเด็จพระมหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร ทรงลงพระปรมาภิไธยในประกาศ

พลเอก พระประจนปัจจนึก ประธานสภาผู้แทนราษฎรเป็นผู้ลงนามรับสนองพระบรมราชโองการ

รายชื่อคณะรัฐมนตรีคณะที่ 28 ของไทย[แก้]

คณะรัฐมนตรีไทย คณะที่ 28

ในวันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2501 มีการแต่งตั้ง คณะรัฐมนตรี ดังนี้

  1. พลตรี พระเจ้าวรวงศ์เธอ กรมหมื่นนราธิปพงศ์ประพันธ์ เป็นรองนายกรัฐมนตรี
  2. พลโท ประภาส จารุเสถียร เป็นรองนายกรัฐมนตรี
  3. นายสุกิจ นิมมานเหมินท์ เป็นรองนายกรัฐมนตรี
  4. พลโท ถนอม กิตติขจร เป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม
  5. นายเสริม วินิจฉัยกุล เป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง
  6. พลตรี พระเจ้าวรวงศ์เธอ กรมหมื่นนราธิปพงศ์ประพันธ์ เป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ
  7. นายวิบูลย์ ธรรมบุตร เป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตร
  8. พลตรี พงษ์ ปุณณกันต์ เป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม
  9. พลโท ประภาส จารุเสถียร เป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย
  10. พระยาอรรถการีย์นิพนธ์ (สิทธิ จุณณานนท์) เป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรม
  11. หม่อมหลวงปิ่น มาลากุล เป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงวัฒนธรรม
  12. หม่อมหลวงปิ่น มาลากุล เป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ
  13. นายสุกิจ นิมมานเหมินท์ เป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงเศรษฐการ
  14. พระประกาศสหกรณ์ (สดับ วีรเธียร) เป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสหกรณ์
  15. นายเฉลิม พรมมาส เป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข
  16. พลตรี กฤช ปุณณกันต์ เป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม
  17. พลอากาศโท บุญชู จันทรุเบกษา เป็นรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงกลาโหม
  18. พลเรือโท สนอง ธนศักดิ์ เป็นรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงกลาโหม
  19. พลโท เจียม ญาโณทัย เป็นรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการคลัง
  20. นายวิสูตร อรรถยุกติ เป็นรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการต่างประเทศ
  21. พลเรือตรี จรูญ เฉลิมเตียรณ เป็นรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงคมนาคม
  22. พลโท หลวงกัมปนาทแสนยากร (กำปั่น อุตระวณิชย์) เป็นรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงมหาดไทย
  23. นายทวี แรงขำ เป็นรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงมหาดไทย
  24. พลตรี อัมพร จินตกานนท์ เป็นรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงยุติธรรม
  25. พลตรี เผชิญ นิมิบุตร เป็นรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงวัฒนธรรม
  26. พลตรี เผชิญ นิมิบุตร เป็นรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงศึกษาธิการ
  27. พลโท จิตติ นาวีเสถียร เป็นรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงเศรษฐการ
  28. นายเจ๊ะอับดุลลาห์ หลังปูเต๊ะ เป็นรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงสาธารณสุข
  29. นายสงวน จันทรสาขา เป็นรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม
  30. นายเสวตร เปี่ยมพงศ์สานต์ เป็นรัฐมนตรี
  31. นายชื่น ระวิวรรณ เป็นรัฐมนตรี
  32. พลตรี เนตร เขมะโยธิน เป็นรัฐมนตรี
  33. นายทิม ภูริพัฒน์ เป็นรัฐมนตรี
  34. นายอารีย์ ตันติเวชกุล เป็นรัฐมนตรี

ต่อมาได้มีประกาศสำนักคณะรัฐมนตรี แต่งตั้งรัฐมนตรีสั่งราชการ ดังนี้[1]

  1. นายเสวตร เปี่ยมพงศ์สานต์ เป็นรัฐมนตรี เป็นรัฐมนตรีสั่งการกระทรวงการคลัง
  2. นายชื่น ระวิวรรณ เป็นรัฐมนตรี เป็นรัฐมนตรีสั่งการกระทรวงเกษตร
  3. พลตรี เนตร เขมะโยธิน เป็นรัฐมนตรี เป็นรัฐมนตรีสั่งการกระทรวงคมนาคม
  4. นายทิม ภูริพัฒน์ เป็นรัฐมนตรี เป็นรัฐมนตรีสั่งการกระทรวงศึกษาธิการ
  5. นายอารีย์ ตันติเวชกุล เป็นรัฐมนตรี เป็นรัฐมนตรีสั่งการกระทรวงสหกรณ์

การแถลงนโยบายของคณะรัฐมนตรีคณะที่ 28 ของไทย[แก้]

รัฐบาลแถลงนโยบายต่อสภาผู้แทนราษฎรเมื่อวันที่ 9 มกราคม พ.ศ. 2501 และได้รับความไว้วางใจ ในวันเดียวกัน นโยบายของรัฐบาลคณะนี้ ปรากฏในหนังสือราชกิจจานุเบกษา พ.ศ. 2501 เล่ม 75 ตอน 4 หน้า พ. 3

การปรับคณะรัฐมนตรี[แก้]

คณะรัฐมนตรีมีการเปลี่ยนแปลง คือ

  • วันที่ 31 มกราคม พ.ศ. 2501 พระยาอรรถการีย์นิพนธ์ กราบถวายบังคมลาออกจากตำแหน่ง รัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรม
  • วันที่ 4 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2501 พระดุลยพากย์สุวมันต์ (บิณฑ์ ปัทมัษฐาน) เป็น รัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรม
  • วันที่ 8 เมษายน พ.ศ. 2501 มีการปรับคณะรัฐมนตรีดังนี้
  1. นายเสวตร เปี่ยมพงศ์สานต์ รัฐมนตรี เป็นรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการคลัง
  2. นายชื่น ระวิวรรณ รัฐมนตรี เป็นรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงเกษตร
  3. พลตรี เนตร เขมะโยธิน รัฐมนตรี เป็นรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงคมนาคม
  4. นายทิม ภูริพัฒน์ รัฐมนตรี เป็นรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงศึกษาธิการ
  5. นายอารีย์ ตันติเวชกุล รัฐมนตรี เป็นรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงสหกรณ์
  • วันที่ 11 กรกฎาคม พ.ศ. 2501 นายสงวน จันทรสาขา รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม ได้กราบถวายบังคมลาออกจากตำแหน่ง
  • วันที่ 7 สิงหาคม พ.ศ. 2501 มีการปรับคณะรัฐมนตรีครั้งใหญ่ดังนี้
  1. นายทิม ภูริพัฒน์ พ้นจากตำแหน่งรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงศึกษาธิการ
  2. พลโท เจียม ญาโนทัย พ้นจากตำแหน่งรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการคลัง
  3. นายเสวตร เปี่ยมพงศ์สานต์ พ้นจากตำแหน่งรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการคลัง
  4. พลโท จิตติ นาวีเสถียร พ้นจากตำแหน่งรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงเศรษฐการ
  5. นายอารีย์ ตันติเวชกุล พ้นจากตำแหน่งรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงสหกรณ์
  6. นายเจ๊ะ อับดุลลา หลังปูเต๊ะ พ้นจากตำแหน่งรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงสาธารณสุข
  7. พลตรี อัมพร จินตกานนท์ พ้นจากตำแหน่งรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงยุติธรรมไปดำรงตำแหน่ง รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการคลัง
  8. หม่อมราชวงศ์ทองแท่ง ทองแถม เป็นรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการคลัง
  9. หลวงอรรถพรพิศาล (อัมพร สูตะบุตร) เป็นรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงยุติธรรม
  10. นายน้อม อุปรมัย เป็นรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงศึกษาธิการ
  11. พลตรี เนตร เขมะโยธิน พ้นจากตำแหน่งรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงคมนาคมไปดำรงตำแหน่ง รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงเศรษฐการ
  12. นายประสิทธิ์ กาญจนวัฒน์ เป็นรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงสหกรณ์
  13. นายสวัสดิ์ คำประกอบ เป็นรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงสาธารณสุข
  14. นายปฐม โพธ์แก้ว เป็นรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม

การสิ้นสุดของคณะรัฐมนตรีคณะที่ 28 ของไทย[แก้]

คณะรัฐมนตรีคณะนี้สิ้นสุดลง เพราะนายกรัฐมนตรีกราบถวายบังคมลาออก เมื่อวันที่ 20 ตุลาคม พ.ศ. 2501 และในวันนั้นเองได้มีคณะปฏิวัติอันมี จอมพล สฤษดิ์ ธนะรัชต์ ผู้บัญชาการทหารสูงสุด เป็นหัวหน้า ทำการยึดอำนาจการปกครองประเทศ และสถาบันทั้งหลายอยู่ในความควบคุมของคณะปฏิวัติตั้งแต่บัดนั้นเป็นต้นไป

อ้างอิง[แก้]

  1. ประกาศสำนักคณะรัฐมนตรี เรื่อง แต่งตั้งรัฐมนตรีสั่งราชการ