ฮุมาตุลฮิมา
حماة الحمى | |
เพลงชาติของ ตูนิเซีย | |
เนื้อร้อง | มุศเฏาะฟา ศอดิก อัรรอฟิอี / อะบูลกอซิม อัชชาบี |
---|---|
ทำนอง | มุฮัมมัด อับดุลวะฮาบ (หรืออาจเป็น Ahmed Kheireddine ) |
รับไปใช้ | 25 กรกฎาคม พ.ศ. 2500 |
รับไปใช้ใหม่ | 7 พฤศจิกายน พ.ศ. 2530 |
เลิกใช้ | 20 มีนาคม พ.ศ. 2501 |
ก่อนหน้า | "อะลาค็อลลิดี" (2530) |
ตัวอย่างเสียง | |
ฮุมาตุลฮิมา (บรรเลงบทประสานเสียงและบทที่ 3) |
ฮุมาตุลฮิมา (อาหรับ: حماة الحمى) มีความหมายว่า "ผู้พิทักษ์แห่งมาตุภูมิ" เป็นชื่อของเพลงชาติตูนีเซียในปัจจุบันที่เริ่มใช้มาตั้งแต่ พ.ศ. 2530 โดยก่อนหน้านั้น เพลงนี้เป็นที่รู้จักกันดีในฐานะเพลงปฏิวัติที่นิยมขับร้องในการประชุมของพรรคเนโอเดสตูร์ ซึ่งเป็นพรรคการเมืองที่เคลื่อนไหวเพื่อการเรียกร้องเอกราชของตูนีเซียจากฝรั่งเศส
ประวัติ
[แก้]เพลงนี้ประพันธ์ขึ้นในลักษณะบทกวีในช่วงคริสต์ทศวรรษที่ 1930 โดยมุศเฏาะฟา ศอดิก อัรรอฟิอี กวีชาวอียิปต์ผู้เกิดในประเทศเลบานอน ส่วนทำนองเพลงนั้น แหล่งข้อมูลบางแห่งกล่าวว่าผลงานนี้เป็นงานประพันธ์ของมุฮัมมัด อับดุลวะฮาบ [1] แต่ผู้เชี่ยวชาญด้านดนตรีของตูนีเซียกล่าวว่า ทำนองของเพลงนี้เป็นผลงานของอาห์เหม็ด เคียเรดดีน (Ahmed Kheireddine) และเรียบเรียงโดยซะกะริยา อะห์มัด (ทั้งสองสองคนที่กล่าวถึงล้วนเป็นชาวอียิปต์)[2][3]
ในตอนท้ายของเพลงนี้ได้มีการเพิ่มบทกวี 2 ตอน จากบทกวีชื่อ La volonté de vivre ("ความปรารถนาจะมีชีวิต") อันเป็นผลงานของและอาบู เอล กาเซ็ม เช็บบี (Abou el Kacem Chebbi) (นับตั้งแต่ตอนที่แปลความไว้ว่า "ยามเมื่อผองชนต้องการมีชีวิตอยู่...") [4] สันนิษฐานว่าเนื้อหาส่วนนี้เพิ่มเข้ามาในเดือนกรกฎาคม พ.ศ. 2498
เพลงฮุมาตุลฮิมาได้ใช้เป็นเพลงชาติชั่วคราวหลังการโค่นล้มรัฐบาลระบอบกษัตริย์ของตูนีเซียลงเมื่อวันที่ 25 กรกฎาคม พ.ศ. 2500 จนกระทั่งมีการรับรองเพลง "อะลาค็อลลิดี" เป็นเพลงชาติตูนีเซียในวันที่ 20 มีนาคม พ.ศ. 2501 ต่อมาหลังเกิดการรัฐประหารในวันที่ 7 พฤศจิกายน พ.ศ. 2530 จึงได้มีการนำเอาเพลงนี้กลับมาใช้เป็นเพลงชาติตูนีเซียอีกครั้ง โดยมีการรับรองเมื่อวันที่ 12 พฤศจิกายน พ.ศ. 2530
เนื้อร้อง
[แก้]เพื่อให้กระชับกับเวลา จะมีการร้องเพลงชาติแบบสั้น โดยประกอวด้วยบทประสานเสียง บทที่ 3 (ไม่ร้องซ้ำ) และบทประสานเสียงอีกครั้ง[5][6]
ฉบับราชการ
[แก้]ภาษาอาหรับ[7][8] | อักษรละติน | สัทอักษรสากล (IPA) | คำแปล |
كورال: |
Kūrāl: |
[kuː.rɑːl] |
บทประสานเสียง: |
ฉบับดั้งเดิม
[แก้]ภาษาอาหรับ | อักษรละติน | สัทอักษรสากล (IPA) | คำแปล |
::كورال; ::حماة الحمى يا حماة الحمى ::هلموا هلموا لمجد الزمن ::لقد صرخت في العروق الدما ::نموت نموت و يحيا الوطن :لتدو السماوات في رعدها :لترم الصواعق نيرانها :إلى عز مصر إلى مجدها :رجال البلاد و فتيانها :فلا عاش من ليس من جندها :ولا عاش في مصر من خانها :نموت ونحيا على عهدها :حياة الكرام وموت الكرام ::كورال; :بلادي احكمي واملكي واسعدي :فلا عاش من لم يعش سيدا :بحر دمي وبما في يدي :أنا لبلادي وروحي فدا :لك المجد يا مصر فاستمجدي :بعزة شعبك طول المدى :ونحن أسود الوغى فاشهدي :وثوب أسودك يوم الصدام ::كورال; :ورثنا سواعد باني الهرم :صخورا صخورا كهذا البنا :سواعد يعتز فيها العلم :نباهي به ويباهي بنا :وفيها كفاء العلى والهمم :وفيها ضمان لنيل المنى :وفيها لأعداء مصر النقم :وفيها لمن سالمونا السلام |
|
อ้างอิง
[แก้]- ↑ "national-anthems.org - Sheet music". www.national-anthems.org. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2018-07-04. สืบค้นเมื่อ 2022-03-26.
- ↑ (ในภาษาฝรั่งเศส) Students of the World
- ↑ Darwich, Hasan (2005). Alhan Zaman. Cairo: Culture Palaces Corporation. pp. 343–344.
- ↑ Cheraït, Abderrazak (2002). Abou el Kacem Chebbi. Tunis: Appolonia. p. 19.
- ↑ عماد كورة (2021-12-18). "النشيد الوطني التونسي نهائي كاس ألعرب 2021 جنون الجمهور التونسي 🇹🇳😍🔥🇶🇦". YouTube. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2022-05-03. สืบค้นเมื่อ 2022-05-03.
{{cite web}}
: CS1 maint: bot: original URL status unknown (ลิงก์) - ↑ Simon Andersson (2018-12-03). "Anthem of Tunisia vs Belgium World Cup 2018". YouTube. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2022-05-03. สืบค้นเมื่อ 2022-05-03.
{{cite web}}
: CS1 maint: bot: original URL status unknown (ลิงก์) - ↑ "وتجدّد النشيد الوطني توزيعا وأداء عانقا الإبداع". RadioMosaiqueFM (ภาษาอาหรับ). สืบค้นเมื่อ 2022-03-26.
- ↑ الدين, دراجي، نور (2005). الحلفاوين قلعة النضال: الحياة الجمعياتية بالحلفاوين وباب سويقة (ภาษาอาหรับ). .s.n،. p. 91. ISBN 978-9973-51-770-8.
แหล่งข้อมูลอื่น
[แก้]- Tunisia: Humat al-Hima – Audio of the national anthem of Tunisia, with information and lyrics (archive link)