ธงชาติตูนิเซีย

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

ธงชาติตูนิเซีย
การใช้ ธงชาติและธงชาติประจำเรือ
สัดส่วนธง 2:3
ประกาศใช้ พ.ศ. 2374 หรือ 2378
ลักษณะ ธงพื้นแดง มีรูป จันทร์เสี้ยวกับดาวห้าแฉกสีแดงในวงกลมสีขาวที่กลางธง
ธงชาติฯในรูปแบบอื่น
ลักษณะ ธงประจำตำแหน่งประธานาธิบดี

ธงชาติตูนิเซีย (อาหรับ: علم تونس) มีลักษณะเด่นคือ เป็นธงสี่เหลี่ยมผืนผ้าสีแดง มีรูปจันทร์เสี้ยวและดาวสีแดงในวงกลมสีขาวที่กลางธง เจ้าอัลฮุสเซนที่ 2 อิบน์ มาห์มุต (Al-Husayn II ibn Mahmud) เจ้าผู้ครองนครตูนิส ทรงตัดสินพระทัยกำหนดแบบธงนี้ขึ้นครั้งแรกเมื่อวันที่ 20 ตุลาคม พ.ศ. 2370 หลังสิ้นศึกแห่งนาวาริโน (Battle of Navarino) และต่อมาได้กำหนดเป็นธงชาติในช่วงปี พ.ศ. 2374 หรือ พ.ศ. 2378 แม้ในสมัยที่ตูนิเซียตกเป็นอาณานิคมของฝรั่งเศสก็ตาม แต่ธงนี้ก็ยังธงชาติอย่างเป็นทางการของประเทศนี้มาโดยตลอด และได้รับการยืนยันว่าเป็นธงชาติสาธารณรัฐตูนิเซีย เมื่อมีการลงนามในรัฐธรรมนูญแห่งสาธารณรัฐในวันที่ 1 มิถุนายน พ.ศ. 2502 อย่างไรก็ตาม ขนาดและสัดส่วนธงนั้นก็ไม่ได้มีแบบที่เป็นมาตรฐาน จนกระทั่งในวันที่ 30 มิถุนายน พ.ศ. 2542 จึงได้มีการระบุข้อมูลเหล่านี้ไว้ในกฎหมายอย่างชัดเจน

รูปจันทร์เสี้ยวและดาวนั้นเป็นสัญลักษณ์ของศาสนาอิสลามตามธรรมเนียมในศาสนานั้น และถือกันว่าเป็นสัญลักษณ์แห่งโชคลาภด้วย นอกจากนี้ยังเป็นสิ่งที่ทำให้นึกถึงธงจักรวรรดิออตโตมัน และเป็นเครื่องหมายทางประวัติศาสตร์เตือนให้รู้ว่า ในอตีตตูนิเซียเคยเป็นส่วนหนึ่งของจักรวรรดิออตโตมัน

ประวัติ[แก้]

ต้นกำเนิดธงชาติ[แก้]

รายละเอียด[แก้]

แบบการสร้างธงชาติตูนิเซีย ก่อน พ.ศ. 2542.
แบบการสร้างธงชาติตูนิเซีย.

การปฏิบัติ[แก้]

วัน ชื่อ ความสำคัญ
18 มกราคม วันแห่งการปฏิวัติ[1] Beginning of tensions between French authorities and Bourguiba-led nationalists (1952)[2]
20 มีนาคม วันประกาศเอกราช[3] Declaration of independence (1956); also known as Remembrance Day
21 มีนาคม วันเยาวชน[3]
9 เมษายน Martyr's Day[4] Suppression of nationalist demonstrations by French troops (1938)
1 มิถุนายน วันแห่งชัยชนะ[5] Adoption of Constitution of Tunisia (1959)
25 กรกฎาคม วันสาธาณรัฐ[6] Proclamation of the republic (1957)
15 ตุลาคม Evacuation Day[7] Evacuation of the last French military base in Tunisia (1963)

ดูเพิ่ม[แก้]

เชิงอรรถ[แก้]

  1. Raeside, Rob (ed.) (2007-01-13). "Flag Days of January". Flags of the World. สืบค้นเมื่อ 2008-07-26. {{cite web}}: |first= มีชื่อเรียกทั่วไป (help)
  2. (ฝรั่งเศส) Martel, Pierre-Albin (2000-04-11). "Un homme dans le siècle". Jeune Afrique. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2008-10-17. สืบค้นเมื่อ 2008-07-26.
  3. 3.0 3.1 Raeside, Rob (ed.) (2005-07-30). "Flag Days of March". Flags of the World. สืบค้นเมื่อ 2008-07-26. {{cite web}}: |first= มีชื่อเรียกทั่วไป (help)
  4. Raeside, Rob (ed.) (2006-08-26). "Flag Days of April". Flags of the World. สืบค้นเมื่อ 2008-07-26. {{cite web}}: |first= มีชื่อเรียกทั่วไป (help)
  5. Raeside, Rob (ed.) (2008-02-23). "Flag Days of June". Flags of the World. สืบค้นเมื่อ 2008-07-26. {{cite web}}: |first= มีชื่อเรียกทั่วไป (help)
  6. Raeside, Rob (ed.) (2008-02-23). "Flag Days of July". Flags of the World. สืบค้นเมื่อ 2008-07-26. {{cite web}}: |first= มีชื่อเรียกทั่วไป (help)
  7. Raeside, Rob (ed.) (2005-07-30). "Flag Days of October". Flags of the World. สืบค้นเมื่อ 2008-07-26. {{cite web}}: |first= มีชื่อเรียกทั่วไป (help)

อ้างอิง[แก้]

  • (ฝรั่งเศส) Hugon, Henri (1913). Les Emblèmes des beys de Tunis: Étude sur les Signes de l'autonomie Husseinite. Paris: Leroux. p. 64. OCLC 962103.
  • (ฝรั่งเศส) Lux-Wurm, Pierre C. (2001). Les drapeaux de l'islam: de Mahomet à nos jours. Paris: Buchet-Chastel. ISBN 2-283-01813-7. OCLC 48449213. {{cite book}}: ไม่รู้จักพารามิเตอร์ |coauthors= ถูกละเว้น แนะนำ (|author=) (help)
  • แม่แบบ:Translation/Ref

แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]