อรุณี นันทิวาส

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
อรุณี นันทิวาส
เกิด21 มิถุนายน พ.ศ. 2499 (67 ปี)
อำเภอหนองจอก จังหวัดพระนคร ประเทศไทย
อาชีพนักพากย์
ปีที่แสดงพ.ศ. 2525–ปัจจุบัน
ผลงานเด่น
โทรทัศน์ทองคำผู้บรรยายหญิงดีเด่นฮาเงมารุ เจ้าหนูจอมแก่น (2538)
ผู้พากย์ดีเด่นเซเลอร์มูน คริสตัล (2559)

อรุณี นันทิวาส (เกิด 21 มิถุนายน พ.ศ. 2499) ชื่อเล่น ตุ๊ก เป็นนักพากย์หญิงชาวไทย เคยพากย์เสียงตัวละครอนิเมะแก่บริษัทหลายแห่ง เช่น โมเดิร์นไนน์ทีวี, ไทก้า, เด็กซ์ และอามีโก้ เป็นอาทิ เธอได้รับรางวัลโทรทัศน์ทองคำ สาขาผู้บรรยายหญิงดีเด่นจากอนิเมะเรื่อง ฮาเงมารุ เจ้าหนูจอมแก่น[1] และผู้พากย์ดีเด่น จากอนิเมะเรื่อง เซเลอร์มูน คริสตัล[2] และมีชื่อเสียงจากการพากย์ตัวละครอนิเมะชั้นนำ เช่น โฮเนะกาว่า ซึเนะโอะ จาก โดราเอมอน, เอโดงาว่า โคนัน จาก ยอดนักสืบจิ๋วโคนัน, โทนี่ โทนี่ ช็อปเปอร์ และนิโค โรบิน จาก วันพีซ เป็นต้น[3][4]

อรุณียุติบทบาทการพากย์ด้วยเหตุผลส่วนตัว เมื่อวันที่ 27 สิงหาคม พ.ศ. 2564[3][5] ในเดือนสิงหาคม พ.ศ. 2565 อรุณีได้กลับมาพากย์อีกครั้งในเรื่อง วันพีซ ฟิล์ม เรด และ โดราเอมอน ตอน สงครามอวกาศจิ๋วของโนบิตะ 2021

ประวัติ[แก้]

อรุณีเกิดเมื่อวันที่ 21 มิถุนายน พ.ศ. 2499[6] เป็นชาวเขตหนองจอก กรุงเทพมหานครมาโดยกำเนิด สำเร็จการศึกษาจากสถาบันเทคโนโลยีราชมงคล วิทยาเขตเทคนิคกรุงเทพฯ

แรกเริ่มอรุณีเข้าทำงานที่แผนกฝ่ายผลิตรายการโทรทัศน์ของช่อง 9 อ.ส.ม.ท. ใน พ.ศ. 2523 และเข้าเป็นผู้ประกาศของสถานี ทำหน้าที่อ่านสไลด์ ครั้น พ.ศ. 2525 จึงมีโอกาสเข้าไปทำงานในฝ่ายพากย์การ์ตูน เธอได้ร่วมงานกับสมจินต์ ธรรมทัต กำธร สุวรรณปิยะศิริ ศุภมิตร ศาตะจันทร์ และดาเรศ ศาตะจันทร์ ซึ่งล้วนเป็นนักพากย์ผู้มีชื่อเสียง[4] โดยในขณะนั้นทางช่องมีฝ่ายพากย์การ์ตูนอยู่แล้ว ได้แก่ นิรันดร์ บุณยรัตพันธุ์ (หรือน้าต๋อยเซมเบ้) ฉันทนา ธาราจันทร์ และศันสนีย์ วัฒนานุกูล โดยนิรันดร์เป็นผู้สอนและให้คำแนะนำในการพากย์ เพราะอรุณีมีเสียงใหญ่กว้างและไม่หวานแบบนางเอก แต่เหมาะกับบทเด็กผู้ชายแก่นแก้ว[4] และมีชื่อเสียงจากการรวมทีมพากย์เรื่อง โดราเอมอน โดยมีฉันทนา ธาราจันทร์ พากย์เป็นโดราเอมอน ศันสนีย์ วัฒนานุกูล พากย์เป็นโนบิตะ ศรีอาภา เรือนนาค พากย์เป็นชิซูกะ นิรันดร์ บุณยรัตพันธุ์ พากย์เป็นไจแอนท์ และอรุณี นันทิวาส พากย์เป็นซึเนะโอะ จนเป็นภาพจำ[4] ระหว่างนั้นก็ศึกษาต่อในระดับปริญญาตรี สาขานิเทศศาสตร์ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช เมื่อสำเร็จการศึกษาใน พ.ศ. 2530 จึงย้ายไปอยู่ฝ่ายเซนเซอร์ของสถานี และทำงานพากย์ควบคู่ไปด้วย แม้หลังเกษียณไปแล้วเธอก็ยังพากย์ให้กับช่อง 9 หรือปัจจุบันคือช่องเอ็มคอตเอชดี[4]

อรุณีมีชื่อเสียงจากการพากย์อนิเมะเรื่องต่าง ๆ เช่น ฮาเงมารุ เจ้าหนูจอมแก่น จนได้รับรางวัลโทรทัศน์ทองคำ, กอร์น จากเรื่อง ฮันเตอร์ x ฮันเตอร์, เคโรโระ จากเรื่อง เคโรโระ ขบวนการอ๊บอ๊บป่วนโลก (ปี 1–5), เอโดงาว่า โคนัน และซึซึกิ โซโนโกะ จากเรื่อง ยอดนักสืบจิ๋วโคนัน, โทนี่ โทนี่ ช็อปเปอร์ และนิโค โรบิน จากเรื่อง วันพีซ[3][4] โดยเฉพาะโคนัน นับเป็นผลงานสร้างชื่อของเธอ เธอกล่าวเกี่ยวกับการพากย์โคนันไว้ว่า "เราได้รับโอกาสให้ได้พากย์ตัวละครตัวนี้ตั้งแต่ตัวที่ 1 เลย เราจะได้พากย์ตั้งแต่ตอนแรกเลย ก็เป็นปีที่ 14 แล้ว และยังไม่จบสักที พระเอกก็ยังตัวเล็กเหมือนเดิม [...] ซึ่งโคนันเป็นการ์ตูนที่พากย์ค่อนข้างยากหน่อย [...] น้าตุ๊กได้มีโอกาสได้คุยกับคนแปลเอง ยังบอกเลยว่า แปลยาก มันไม่เหมือนการ์ตูนรื่นเริงทั่วไป เล่นอะไรก็ได้สนุกสนาน ให้มันเป็นเหตุเป็นผล" และ "...แต่นี่บทพูดจะเยอะมาก แล้วคนพากย์ก็ต้องพากย์ให้เป็นเหตุเป็นผลตามบทด้วย แล้วคนแปลก็แปลยาก"[4] โดยทีมพากย์ เซเลอร์มูน คริสตัล ได้แก่ นิรันดร์ บุณยรัตพันธุ์ วิภาดา จตุยศพร ศรีอาภา เรือนนาค อรุณี นันทิวาส ฉันทนา ธาราจันทร์ และศันสนีย์ วัฒนานุกูล ได้รับรางวัลโทรทัศน์ทองคำ ผู้พากย์ดีเด่น เมื่อวันที่ 18 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2560[2] นอกจากงานพากย์อนิเมะและโทกูซัตสึแล้ว ยังมีงานพากย์ภาพยนตร์เรื่อง แฮร์รี่ พอตเตอร์กับภาคีนกฟีนิกซ์ (2550) และ แฮร์รี่ พอตเตอร์กับเครื่องรางยมทูต ภาค 1 (2553) รับบทโดโลเรส อัมบริดจ์[7]

อรุณีให้สัมภาษณ์กับ ผู้จัดการออนไลน์ เมื่อ พ.ศ. 2558 ว่าส่วนใหญ่ใช้ชีวิตอยู่ต่างจังหวัด อาทิตย์หนึ่งมาพากย์ราว 2-3 วัน และจะรับงานพากย์ให้น้อยลง[4] ต่อมา พ.ศ. 2561 อรุณีลดงานพากย์อนิเมะลง เหลือการพากย์อนิเมะเพียงสามเรื่อง คือ โดราเอมอน, ยอดนักสืบจิ๋วโคนัน และ วันพีซ[5] และวันที่ 27 สิงหาคม พ.ศ. 2564 อรุณียุติบทบาทการพากย์ตัวละครอนิเมะทุกตัว เนื่องด้วยเหตุผลส่วนตัว[3]

พ.ศ. 2565 อรุณีกลับมาให้เสียงซึเนะโอะใน โดราเอมอน ตอน สงครามอวกาศจิ๋วของโนบิตะ 2021[8]

ผู้ที่พากย์เสียงแทน[แก้]

นักพากย์ บทพากย์ เรื่อง หมายเหตุ
วิภาดา จตุยศพร ซง โกคู (วัยเด็ก) ดราก้อนบอล เวอร์ชันลิขสิทธิ์ใหม่ พากย์เฉพาะภาพยนตร์, ตอนพิเศษ, ฉากแฟลชแบ็ค, ดราก้อนบอล GT
แพตรี ปราณีตพลกรัง เคโรโระ เคโรโระ ขบวนการอ๊บอ๊บป่วนโลก พากย์ตั้งแต่ฤดูกาลที่ 5 เป็นต้นไป
สังวาลย์ เทพหัสดิน ณ อยุธยา ลักกี้ทามะ เทพจิ๋วฝึกหัด แก๊งป่วนโคโคทามะ พากย์ช่วงครึ่งหลัง
ศันสนีย์ ติณห์กีรดีศ โทนี่ โทนี่ ช็อปเปอร์
นิโค โรบิน
บิ๊กมัม
วันพีซ เฉพาะในทีวีซีรีส์
พากย์แทนตั้งแต่บทเกาะโฮลเค้ก (บิ๊กมัม)
พากย์เสียงในช่วงบทวาโนะคุนิตั้งแต่ตอนที่ 980 เป็นต้นไป (ช็อปเปอร์ และ โรบิน)
นภัสวรรณ์ วัชรีวงศ์ ณ อยุธยา โทนี่ โทนี่ ช็อปเปอร์
นิโค โรบิน
พากย์เสียงในช่วงบทวาโนะคุนิตั้งแต่ตอนที่ 892 - 979 (เวอร์ชัน IQIYi)
เอโดกาวะ โคนัน
ซึซึกิ โซโนโกะ
คิซากิ เอริ
มิอิเกะ นาเอโกะ
มิซึนาชิ เรย์นะ
โอวกะ โมมิจิ
ยอดนักสืบจิ๋วโคนัน พากย์เฉพาะทีวีซีรีส์ปีที่ 20 ตั้งแต่ตอนที่ 1019 เป็นต้นไป[3] และภาพยนตร์ ยอดนักสืบจิ๋วโคนัน: เจ้าสาวฮาโลวีน

ผลงาน[แก้]

การ์ตูนญี่ปุ่น[แก้]

  • ไยบะ ซามูไรรุ่นจิ๋ว (ช่อง 9) รับบทเป็น คุโรงาเนะ ไยบะ , คางุยะ (ตั้งแต่ตอนที่ 34-38 [อวสาน] แทน พิชยา บุญสม) อีพงษ์นี
  • กันดั้มวิง (ไทก้า) รับบทเป็น ดูโอ แม็กซ์เวลล์, โดโรธี, เลดี้ อัน
  • กันดั้มซี้ด (เด็กซ์) รับบทเป็น นาทาล บาจิรูล, เฟรย์ ออล์สตาร์, อิซาค จูล, เอริกา ซิมมอนส์
  • กันดั้มซี้ดเดสทินี (เด็กซ์) รับบทเป็น ลูน่ามาเรีย ฮอว์ค, ทาเรีย กราดีส, เอริกา ซิมมอนส์, ฮีลด้า ฮาร์เคน, มายุ อาสึกะ
  • กัชเบล (ช่อง 9) รับบทเป็น กัชเบล, โซฟิส
  • ดิจิมอนเซฟเวอร์ส (ช่อง 9) รับบทเป็น คุโรซะกิ มิกิ, ไดมง ชิกะ, คุณย่าของโทม่า, โกลึมอน, กาโอมอน, ยูคิดารุมอน, ดุ๊กมอน, อิกดราชิล
  • โปเกมอน (ช่อง 9) รับบทเป็น ฮารุกะ, คุณจุนซ่า, คุณแม่ของซาโตชิ, ไอริส, และเสียงโปเกม่อนบางตัว
  • แฟรี่เทล ศึกจอมเวทอภินิหาร (ช่อง 9) รับบทเป็น เอลซ่า สการ์เล็ต, เรวี่ แม็คการ์เด้น,โรมิโอ, อะควอเรียส, คาน่า อัลเบโรน่า, บิสก้า มูแลง, นัตสึ ดรากูเนลล์ (ตอนเด็ก), คาเรน ลินลิก้า, ชิมอน (ตอนเด็ก)
  • ร็อคแมนเอ็กเซ่ (ช่อง 9) รับบทเป็น โรล, อายาโนะโคจิ ไยโตะ, อากิจัง, เจ้าหญิงไพรด์
  • แขนกล คนแปรธาตุ (ไทก้า) รับบทเป็น ริซ่า ฮอว์คอาย, พีนาโกะ ร็อกเบล, โรเซ่ โทมัส, เชสก้า, อิสึมิ เคอร์ติส, เอนวี่
  • แขนกล คนแปรธาตุ บราเธอร์ฮู้ด (โรส) รับบทเป็น ริซ่า ฮอว์คอาย, พีนาโกะ ร็อกเบล, โรเซ่ โทมัส, เชสก้า, โอลิเวียร์ มิร่า อาร์มสตรอง, อิสึมิ เคอร์ติส, เอนวี่
  • ดิจิมอนเซฟเวอร์ส (ไทก้า) รับบทเป็น ชิโรคาวะ เมงุมิ, ปิโยมอน, ลาลามอน และร่างพัฒนาต่อเนื่อง, ไดมง ซายูริ, นานามิ / ไบโอโคลท์มอน / ไบโอโลตัสมอน, ดุ๊กมอน, อิกดราชิล
  • มิโกะ คนทรงหุ่นเทวะ (ไทก้า) รับบทเป็น ซิสเตอร์ มิยาโกะ (โอโรจิ เศียรที่ 2), ซาโอโตเมะ มาโกโตะ, โองามิ โซมะ (วัยเด็ก)
  • อีวานเกเลียน (ไทก้า) รับบทเป็น โซริว อาสึกะ แลงลีย์ , อากางิ ริตสึโกะ
  • ดราก้อนบอล (เด็กซ์) รับบทเป็น ซุน โกคูตอนเด็ก, ตัวประกอบหลักทุกตอน
  • Girl und Panzer (เด็กซ์) รับบทเป็น เรเซ มาโกะ, อามิ โจโนะ
  • วันพีซ (เด็กซ์) รับบทเป็น โทนี่ ช็อปเปอร์, นิโค โรบิน, ตัวประกอบหลัก
  • โค้ด กีอัส ภาคการปฏิวัติของลูลูช (เด็กซ์) รับบทเป็น คาลเลน สแทดท์เฟลด์ ,โคเนเลีย ลี บริทานเนีย, ลูลูช(เด็ก),โจว เซียงหลิน, ชิโนซากิ ซาโยโกะ, มิเร แอชฟอร์ด, โรโล่ แลมเพรูจ, พระนาง มารีแอน
  • โกดันนาร์ (ไทก้า) รับบทเป็น ลู รูซ์, ตัวประกอบในเรื่อง
  • ชินมาชินก้า Z (เด็กซ์) รับบทเป็น บารอนอาชูร่า (ซีกหญิง), คาบุโตะ ชิโร่, คิคุโนสึเกะ
  • คินนิคุแมน ภาค 2 (เด็กซ์) รับบทเป็น อเล็กซานเดรีย มีต, เคย์โกะ (เพื่อนของ ริงโกะ)
  • เซนต์เซย่า (เด็กซ์) รับบทเป็น ไชน่า, กิกิ, คาเมเลี่ยน จูเน่
  • XXX โฮลิค (ไทก้า) รับบทเป็น คุโนงิ ฮิมาวาริ
  • กินทามะ (ไทก้า) รับบทเป็น ชิมูระ ทาเอะ, โอโทเซะ, ซารุโทบิ อายาเมะ
  • Gurren Lagann (เด็กซ์) รับบทเป็น เนีย
  • บ้านพักอลเวง (อามีโก้) รับบทเป็น อาโอยามะ โมโตโกะ, อุราชิมะ ฮารุกะ
  • นานะ (ไทก้า) รับบทเป็น โอซากิ นานะ
  • ชาแมนคิง (อามีโก้) รับบทเป็น โฮโรโฮโร่, เต๋า เร็น, เต๋า จุน, อาซาคุระ ฮาโอ
  • Tiger & Bunny (เด็กซ์) รับบทเป็น โปรดิวเซอร์อานีส
  • Eden of the East (เด็กซ์) รับบทเป็น มิตจอง, ชิระโทริ ไดอาน่า คุโรฮะ
  • ชินจังจอมแก่น (EVS) รับบทเป็น ชินโนะสุเกะ, เคย์โกะ, ครูมัตสึซากะ อุเมะ, โนะฮาร่า ซึรุ และซากุระดะ โมเอโกะ
  • High School of the Dead (DEX) รับบทเป็น บุสึจิม่า ซาเอโกะ, มินามิ ริกะ, ทาคากิ ยูริโกะ (คุณแม่ของซายะ)
  • โทริโกะ (ช่อง 9) รับบทเป็น ทีน่า, เซ็ตสึโนะ

การ์ตูนต่างประเทศ[แก้]

ภาพยนตร์แนวโทคุซัทสึ[แก้]

  • เจ็ทแมน (ช่อง 9, TIGA , วิดีโอสแควร์ ) พากย์เป็น โอดะงิริ อายะ ,ฮายาซากะ อาโกะ/บลู สวอโลว์ (วีดีโอสแควร์) อาโออิ ริเอะ หรือ มาเรีย
  • ไฟว์แมน (วีดีโอสแควร์) พากย์เป็น โฮชิคาวะ เรมิ/ไฟว์เยลโล่
  • จูเรนเจอร์ (ช่อง 9 , วิดีโอสแควร์) พากย์เป็น บอย / ไทเกอร์เรนเจอร์, บันโดร่า
  • ไดเรนเจอร์ (TIGA ,วิดีโอสแควร์) พากย์เป็น กาล่า, คุจาคุ ,แม่ของโก, คาเมโอะ (ร่างเต่า,ไทก้า)
  • โอเรนเจอร์ vs คาคุเรนเจอร์ (TIGA) พากย์เป็น นิโจ จูริ/โอเยลโล่
  • โอเรนเจอร์ (วิดิโอสแควร์,TIGA) พากย์เป็น นิโจ จูริ/โอเยลโล่
  • คาร์เรนเจอร์ vs โอเรนเจอร์ (TIGA) พากย์เป็น นิโจ จูริ/โอเยลโล่, ดัมพ์ และ ซอนเน็ท
  • เมกะเรนเจอร์ vs คาร์เรนเจอร์ (TIGA) พากย์เป็น จิซาโตะ / เมกะเยลโล่, ดัมพ์ และ ชิโบเรน่า
  • กิงกะแมน vs เมกะเรนเจอร์ (TIGA) พากย์เป็น จิซาโตะ / เมกะเยลโล่ และ ฮิซมีน่า

ภาพยนตร์ต่างประเทศ[แก้]

รายการโทรทัศน์[แก้]

เกมส์[แก้]

แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]

อ้างอิง[แก้]

  1. Retro Anime on Thai Free TV - ฮาเงะมารุ
  2. 2.0 2.1 Sailor Moon Thailand Fanclub (19 กุมภาพันธ์ 2560). "ทีมพากย์เซเลอร์มูน คริสตัล - งานโทรทัศน์ทองคำ ครั้งที่ 31". ยูทูบ. สืบค้นเมื่อ 28 สิงหาคม 2564. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  3. 3.0 3.1 3.2 3.3 3.4 สุพัฒน์ ศิวะพรพันธ์ (27 สิงหาคม 2564). "น้าตุ๊ก อรุณี จะหยุดให้เสียงพากย์ตัวละคร โคนัน ตั้งแต่ตอนที่ 1019 เป็นต้นไป เนื่องจากเหตุผลส่วนตัว". The Standard. สืบค้นเมื่อ 28 สิงหาคม 2564. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  4. 4.0 4.1 4.2 4.3 4.4 4.5 4.6 4.7 สรวัจน์ ศิลปโรจนพาณิช (27 กรกฎาคม 2558). "ศิษย์ก้นกุฏิน้าต๋อย เซมเบ้ "น้าตุ๊ก-อรุณี" นักพากย์การ์ตูนเจ้าของเสียงซูเนโอะและโคนัน". ผู้จัดการออนไลน์. สืบค้นเมื่อ 28 สิงหาคม 2564. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  5. 5.0 5.1 "TIGA ประกาศเปลี่ยนเสียงนักพากย์ 'โคนัน' หลัง 'น้าตุ๊ก' ยกเลิกงานพากย์ มีผลตอนที่ 1019 เป็นต้นไป". มติชนออนไลน์. 27 สิงหาคม 2564. สืบค้นเมื่อ 28 สิงหาคม 2564. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  6. "โฉมหน้านักพากย์การ์ตูน (ของไทย)". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2012-03-02. สืบค้นเมื่อ 2012-01-21.
  7. "แฟน 'โคนัน' ใจหาย! เปลี่ยนเสียงนักพากย์ หลัง 'น้าตุ๊ก' ยกเลิกงานด้วยเหตุผลส่วนตัว". เดลินิวส์. 27 สิงหาคม 2564. สืบค้นเมื่อ 28 สิงหาคม 2564. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  8. "โดราเอมอน: สงครามอวกาศจิ๋วของโนบิตะ... สามารถติดตามต่อได้ที่ : https://www.dailynews.co.th/articles/1543368/". เดลินิวส์. 4 ตุลาคม 2565. สืบค้นเมื่อ 26 มิถุนายน 2566. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help); แหล่งข้อมูลอื่นใน |title= (help)