ข้ามไปเนื้อหา

สถานีวัดพระศรีมหาธาตุ

พิกัด: 13°52′31″N 100°35′48″E / 13.8752°N 100.5967°E / 13.8752; 100.5967
จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
วัดพระศรีมหาธาตุ
N17 PK16

Wat Phra Sri Mahathat
อาคารสถานีรถไฟฟ้าบีทีเอสด้านทิศเหนือ มองจากสะพานลอยไปสถานีตำรวจนครบาลบางเขน
ข้อมูลทั่วไป
ที่ตั้งวงเวียนอนุสาวรีย์พิทักษ์รัฐธรรมนูญ เขตบางเขน กรุงเทพมหานคร
พิกัด13°52′31″N 100°35′48″E / 13.8752°N 100.5967°E / 13.8752; 100.5967
เจ้าของกรุงเทพมหานคร (สายสุขุมวิท)
การรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย (สายสีชมพู)
ผู้ให้บริการระบบขนส่งมวลชนกรุงเทพ (บีทีเอสซี; สายสุขุมวิท)
นอร์ทเทิร์น บางกอกโมโนเรล (เอ็นบีเอ็ม; สายสีชมพู)
สาย     สายสุขุมวิท
     สายสีชมพู
ชานชาลาสายสุขุมวิท: 1 ชานชาลาเกาะกลาง
สายสีชมพู: 2 ชานชาลาด้านข้าง
โครงสร้าง
ประเภทโครงสร้างยกระดับ
ข้อมูลอื่น
รหัสสถานีสายสุขุมวิท: N17
สายสีชมพู: PK16
ประวัติ
เริ่มเปิดให้บริการ5 มิถุนายน พ.ศ. 2563; 4 ปีก่อน (2563-06-05)[1]
ชื่อเดิมอนุสาวรีย์พิทักษ์รัฐธรรมนูญ
วงเวียนหลักสี่
ผู้โดยสาร
25641,320,765
การเชื่อมต่อ
สถานีก่อนหน้า รถไฟฟ้าบีทีเอส สถานีต่อไป
พหลโยธิน 59
มุ่งหน้า คูคต
สายสุขุมวิท กรมทหารราบที่ 11
มุ่งหน้า เคหะฯ
สถานีก่อนหน้า รถไฟฟ้ามหานคร สถานีต่อไป
ราชภัฏพระนคร สายสีชมพู รามอินทรา 3
มุ่งหน้า มีนบุรี

สถานีวัดพระศรีมหาธาตุ (อังกฤษ: Wat Phra Sri Mahathat station; รหัส: N17 (สายสุขุมวิท), PK16 (สายสีชมพู)) เป็นสถานีรถไฟฟ้าบีทีเอสและรถไฟฟ้ามหานครแบบยกระดับในเส้นทางสายสุขุมวิทและสายสีชมพูในพื้นที่เขตบางเขน กรุงเทพมหานคร สถานีของรถไฟฟ้าบีทีเอสวางตัวขนานกับอุโมงค์ลอดใต้วงเวียนอนุสาวรีย์พิทักษ์รัฐธรรมนูญหรือวงเวียนหลักสี่ ขณะที่สถานีของรถไฟฟ้ามหานครวางตัวขนาบข้างสะพานข้ามทางแยกแนวถนนแจ้งวัฒนะ–ถนนรามอินทรา นับเป็นสถานีเปลี่ยนสายที่สำคัญในย่านกรุงเทพมหานครตอนเหนือ

สถานีแห่งนี้อยู่ใกล้กับสถานที่สำคัญหลายแห่ง ได้แก่ วัดพระศรีมหาธาตุวรมหาวิหาร มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนคร และสถานีตำรวจนครบาลบางเขน สถานีของส่วนสายสุขุมวิทเปิดใช้งานเมื่อวันที่ 5 มิถุนายน พ.ศ. 2563 โดยเคยเป็นสถานีสุดท้ายของการเปิดให้บริการส่วนต่อขยายรถไฟฟ้าสายสีเขียวเหนือ ช่วงหมอชิต–คูคต ระยะที่ 3 จำนวน 4 สถานี[1] ขณะที่สถานีของสายสีชมพู เปิดใช้งานเมื่อวันที่ 21 พฤศจิกายน พ.ศ. 2566

ที่ตั้ง

[แก้]

สถานีวัดพระศรีมหาธาตุตั้งอยู่บริเวณกลางวงเวียนอนุสาวรีย์พิทักษ์รัฐธรรมนูญ (จุดตัดระหว่างถนนพหลโยธิน ถนนแจ้งวัฒนะ และถนนรามอินทรา) ในพื้นที่แขวงอนุสาวรีย์ เขตบางเขน กรุงเทพมหานคร

ในแผนงานเดิมของสำนักงานนโยบายและแผนการขนส่งและจราจร (สถานะก่อนกรมการขนส่งทางราง) สถานีแห่งนี้ในสายสีชมพูใช้ชื่อว่า สถานีวงเวียนหลักสี่ ตามชื่อทางแยก และ สถานีอนุสาวรีย์พิทักษ์รัฐธรรมนูญ ตามชื่ออนุสาวรีย์พิทักษ์รัฐธรรมนูญอันเป็นสัญลักษณ์ใหญ่ในพื้นที่ตั้ง แต่ในแผนการดำเนินการจริงของการรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทยได้มีการขยับตำแหน่งของทั้งสถานีวัดพระศรีมหาธาตุแห่งนี้ จากตำแหน่งเดิมคือด้านหน้าวัดพระศรีมหาธาตุ และสถานีวงเวียนหลักสี่ของสายสีชมพูที่อยู่ด้านหน้ามหาวิทยาลัยเกริก ให้มาอยู่บริเวณกลางวงเวียนอนุสาวรีย์หลักสี่ และขยับตำแหน่งสถานีวงเวียนหลักสี่ของสายสุขุมวิท ให้ไปอยู่บริเวณด้านหน้าหมู่บ้านราชตฤณมัย เขตบางเขนแทน ทำให้ที่สุดแล้ว สถานีวงเวียนหลักสี่ในสายสีชมพู ใช้ชื่อสุดท้ายว่าสถานีวัดพระศรีมหาธาตุเหมือนกับสายสุขุมวิท ทั้งนี้สถานีวงเวียนหลักสี่ของสายสุขุมวิทในปัจจุบันคือสถานีพหลโยธิน 59

การสูญหายของอนุสาวรีย์พิทักษ์รัฐธรรมนูญ

[แก้]

ในคราวก่อสร้างสถานีวัดพระศรีมหาธาตุได้มีการปรับตำแหน่งสถานีอยู่บ่อยครั้ง จนในที่สุดได้ข้อสรุปให้สถานีมาตั้งอยู่กลางวงเวียนหลักสี่ ซึ่งการย้ายตำแหน่งที่ตั้งสถานีทำให้ต้องมีการรื้อย้ายอนุสาวรีย์พิทักษ์รัฐธรรมนูญจากตำแหน่งเดิมออกไป 45 องศาทางทิศตะวันตกเฉียงเหนือ เพื่อไม่ให้บดบังทัศนียภาพของฌาปณสถานกองทัพอากาศ แต่หลังจากที่การรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทยได้รื้อย้ายสำเร็จแล้วครั้งหนึ่ง ได้มี กลุ่มคนไม่ระบุหน่วยงาน เข้ามารื้อย้ายอนุสาวรีย์พิทักษ์รัฐธรรมนูญออกไปจากพื้นที่ เพื่อเป็นการเตรียมพื้นที่ให้การรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทยและกิจการร่วมค้าบีเอสอาร์ดำเนินการเข้าพื้นที่เพื่อก่อสร้างสถานี การบังคับสูญหายของอนุสาวรีย์พิทักษ์รัฐธรรมนูญทำให้กลุ่มการเมืองฝ่ายซ้ายมองว่าการกระทำดังกล่าวเป็นการลบสัญลักษณ์ทางการเมือง และได้มีการเรียกร้องให้นำอนุสาวรีย์ฯ กลับมาตั้งที่เดิม[2] อนึ่งทั้งกรุงเทพมหานคร และรฟม. ได้ปฏิเสธว่าไม่ทราบเรื่องการย้ายอนุสาวรีย์ออกไปจากพื้นที่และหลักฐานการรื้อย้ายก็ไม่สามารถหาได้พบ ภายหลังได้มีการทุบฐานอนุสาวรีย์ทิ้งทั้งหมด[3]และปรับปรุงใหม่เป็นสวนหย่อมเพื่อเพิ่มทัศนียภาพ และอีกส่วนหนึ่งได้ปรับปรุงเป็นห้องเครื่องของสถานีรถไฟฟ้าซึ่งเป็นพื้นที่หวงห้ามของ รฟม. และบีทีเอสซี

รายละเอียด

[แก้]

สีสัญลักษณ์

[แก้]

สถานีรถไฟฟ้าบีทีเอส สายสุขุมวิท จะใช้สีเขียวเข้มตกแต่งรั้วและเสาชานชาลา ป้ายทางเข้าและทางขึ้นสถานี เพื่อบ่งบอกว่าเป็นสถานีฝั่งพหลโยธินเหนือ สถานีรถไฟฟ้าสายสีชมพู จะใช้สีชมพูตกแต่งสถานีเพื่อสื่อให้เห็นว่าเป็นสถานีของโครงการรถไฟฟ้าสายสีชมพู

รูปแบบ

[แก้]

เป็นสถานียกระดับ โดยสถานีของสายสุขุมวิทจะวางคร่อมอยู่เหนือสะพานข้ามวงเวียนอนุสาวรีย์พิทักษ์รัฐธรรมนูญ การก่อสร้างสถานีจึงต้องเว้นพื้นที่ชั้นขายบัตรโดยสารตรงกลางสถานีในลักษณะเดียวกันกับสถานีแยกนนทบุรี 1 ของรถไฟฟ้ามหานคร สายฉลองรัชธรรม ตามความกว้างของสะพานโดยรวมพื้นที่ของรางรถไฟฟ้าสายสีชมพูเข้าไปด้วย[4][5] ส่วนสถานีของสายสีชมพูจะวางขนาบข้างสะพานดังกล่าวทางทิศตะวันออกเฉียงใต้ของวงเวียนอนุสาวรีย์พิทักษ์รัฐธรรมนูญ โดยมีสะพานเชื่อมชานชาลาทั้งสองเข้าด้วยกัน

พื้นที่ชั้นขายบัตรโดยสารแบ่งออกเป็นสองส่วน และยังทำหน้าที่เป็นชั้นชานชาลาของรถไฟฟ้าสายสีชมพูซึ่งเป็นชานชาลาด้านข้างตามแนวของถนนรามอินทรา ส่วนชานชาลาของรถไฟฟ้าบีทีเอสจะอยู่ชั้นบนสุดที่ความสูง 17–18 เมตร เป็นชานชาลาแบบกลางตามแนวถนนพหลโยธิน

การจัดพื้นที่ในตัวสถานี

[แก้]

แบ่งเป็น 3 ชั้น ประกอบด้วย

  • G ชั้นพื้นถนน
  • 2 ชั้นจำหน่ายบัตรโดยสารของทั้งรถไฟฟ้าบีทีเอส สายสุขุมวิท และรถไฟฟ้าสายสีชมพู รวมถึงยังเป็นชานชาลา สำหรับรถไฟฟ้าสายสีชมพู ในทิศทางตั้งฉากกันกับรถไฟฟ้าบีทีเอส สายสุขุมวิท ตามแนวของถนนรามอินทรา
  • 3 ชั้นชานชาลา สำหรับรถไฟฟ้าบีทีเอส สายสุขุมวิท

ทางเข้า–ออก

[แก้]

ประกอบด้วยทางขึ้น–ลงปกติและทางเดินใต้รางรถไฟฟ้า (สกายวอล์ก) โดยสถานีทั้งสองส่วนจะนับทางเข้า–ออกแยกจากกัน ดังนี้

สายสีเขียว

[แก้]
  • 1 วัดพระศรีมหาธาตุวรมหาวิหาร, มหาวิทยาลัยราชภัฎพระนคร, สำนักงานประปาสาขาบางเขน การประปานครหลวง, ศูนย์บริการลูกค้าโทรคมนาคมแห่งชาติ หลักสี่ (ลิฟต์, บันไดเลื่อน)
  • 2 สำนักงานเขตบางเขน, สถาบันพัฒนาสุขภาวะเมือง, ห้องสมุดประชาชน เขตบางเขน, โรงเรียนประชาภิบาล (ลิฟต์, บันไดเลื่อน)
  • 3 ซอยแจ้งวัฒนะ 2, สถานธนานุเคราะห์ สาขา 15, ซิลค์เพลส พหลโยธิน–หลักสี่ (ลิฟต์, บันไดเลื่อน)
  • 4 สถานีตำรวจนครบาลบางเขน, สวนรักษ์ธรรมชาติ, ที่ทำการไปรษณีย์รามอินทรา (ลิฟต์, บันไดเลื่อน)
  • สกายวอล์กทิศเหนือ โรงเรียนไทยนิยมสงเคราะห์, โลตัส สาขาหลักสี่, ซอยพหลโยธิน 57
  • สกายวอล์กทิศใต้ วัดพระศรีมหาธาตุวรมหาวิหาร, ฌาปณสถานกองทัพอากาศ, ซอยพหลโยธิน 55, สถาบันป้องกันควบคุมโรคเขตเมือง, สถานีดับเพลิงบางเขน, การไฟฟ้านครหลวง เขตบางเขน (ลิฟต์, บันไดเลื่อน)

จุดรวมพลอยู่ที่ทางออก 2 บริเวณด้านหน้าสำนักงานเขตบางเขน และทางออก 4 บริเวณสวนรักษ์ธรรมชาติ

สายสีชมพู

[แก้]
  • 1 สถานีตำรวจนครบาลบางเขน, สวนรักษ์ธรรมชาติ
  • 2 ที่ทำการไปรษณีย์รามอินทรา, มหาวิทยาลัยเกริก (ลิฟต์, บันไดเลื่อน)
  • 3 สำนักงานเขตบางเขน, สถาบันพัฒนาสุขภาวะเมือง, ห้องสมุดประชาชน เขตบางเขน, โรงเรียนประชาภิบาล (ลิฟต์, บันไดเลื่อน)

แผนผัง

[แก้]
U3
ชานชาลา (สายสุขุมวิท)
ชานชาลา 1 สายสุขุมวิท มุ่งหน้า เคหะฯ (กรมทหารราบที่ 11)
ชานชาลา 1–2 ชานชาลาเกาะกลาง, สายสุขุมวิท ประตูรถจะเปิดทางด้านขวา
ชานชาลา 2 สายสุขุมวิท มุ่งหน้า คูคต (พหลโยธิน 59)
U2
ชานชาลา (สายสีชมพู)
พื้นที่ขายบัตรโดยสาร
อาคารฝั่งเหนือ ทางออก 3–4 (สายสีเขียว), ทางออก 1–2 (สายสีชมพู), สกายวอล์กไปโลตัส สาขาหลักสี่, ศูนย์บริการผู้โดยสาร, ห้องขายบัตรโดยสาร, เครื่องขายบัตรโดยสาร, ร้านค้า
ชานชาลา 1 ชานชาลาด้านข้าง, สายสีชมพู ประตูรถจะเปิดทางด้านซ้าย
ชานชาลา 1 สายสีชมพู มุ่งหน้า มีนบุรี
สะพานข้ามแยกวงเวียนอนุสาวรีย์พิทักษ์รัฐธรรมนูญ
ชานชาลา 2 สายสีชมพู มุ่งหน้า ศูนย์ราชการนนทบุรี
ชานชาลา 2 ชานชาลาด้านข้าง, สายสีชมพู ประตูรถจะเปิดทางด้านซ้าย
อาคารฝั่งใต้ ทางออก 1–2 (สายสีเขียว), ทางออก 3 (สายสีชมพู), สกายวอลก์ไปฌาปณสถานกองทัพอากาศ, ศูนย์บริการผู้โดยสาร, ห้องขายบัตรโดยสาร, เครื่องขายบัตรโดยสาร, ร้านค้า
G
ระดับถนน
พื้นที่ขายบัตรโดยสาร ทางออก, ศูนย์บริการผู้โดยสาร, ห้องขายบัตรโดยสาร, เครื่องขายบัตรโดยสาร, ร้านค้า
ป้ายรถประจำทาง, วัดพระศรีมหาธาตุวรมหาวิหาร, สถานีตำรวจนครบาลบางเขน, ถนนแจ้งวัฒนะ, ถนนรามอินทรา, ถนนพหลโยธิน
จุดสังเกต
  • ชั้น U3 จะเป็นพื้นที่ของสายสุขุมวิททั้งหมด
  • ชั้น U2 จะเป็นพื้นที่ร่วมของทั้งสายสุขุมวิทและสายสีชมพู โดยที่
    • พื้นที่สถานีสายสุขุมวิท ฝั่งสถานีตำรวจนครบาลบางเขน (มุ่งหน้าไปสถานีพหลโยธิน 59) จะเป็นทั้งสถานีและชานชาลาสายสีชมพู มุ่งหน้าไปสถานีรามอินทรา 3
    • พื้นที่สถานีสายสุขุมวิท ฝั่งสำนักงานเขตบางเขน (มุ่งหน้าไปสถานีกรมทหารราบที่ 11) จะเป็นทั้งสถานีและชานชาลาสายสีชมพู มุ่งหน้าไปสถานีราชภัฏพระนคร

เวลาให้บริการ

[แก้]
ปลายทาง เชื่อมต่อ ขบวนแรก ขบวนสุดท้าย
สายสุขุมวิท[6]
ชานชาลาที่ 1
E23 เคหะฯ เต็มระยะ 05.28 23.28
E15 สำโรง 23.43
N9 ห้าแยกลาดพร้าว 00.13
ชานชาลาที่ 2
N24 คูคต เต็มระยะ 05.28 00.33
สายสีชมพู[7][8]
ชานชาลาที่ 1
PK30 มีนบุรี เต็มระยะ 05.35 00.36
ชานชาลาที่ 2
PK01 ศูนย์ราชการนนทบุรี เต็มระยะ 05.42 00.32
PK01 สายสีม่วง (คลองบางไผ่) 23.02
PK01 สายสีม่วง (เตาปูน) 22.32
PK14 สายสีแดงเข้ม 23.52

สถานที่ใกล้เคียง

[แก้]

รถโดยสารประจำทาง

[แก้]

ป้ายฝั่งสถานีตำรวจนครบาลบางเขน

[แก้]

องค์การขนส่งมวลชนกรุงเทพ

[แก้]
  • Handicapped/disabled access เส้นทางที่มีรถรองรับวีลแชร์
สายที่ จุดเริ่มต้น จุดสิ้นสุด ประเภทของรถที่ให้บริการ ผู้ให้บริการ หมายเหตุ
26 (1-36) (1) รถโดยสารประจำทาง อู่มีนบุรี อนุสาวรีย์ชัยสมรภูมิ 1.รถโดยสารประจำทางสีครีม–แดง

2.รถโดยสารประจำทางปรับอากาศสีฟ้า (ใช้แก๊สธรรมชาติ)

ขสมก.
95 (1) รถโดยสารประจำทาง อู่บางเขน รถโดยสารประจำทาง บางกะปิ 1.รถโดยสารประจำทางสีครีม–แดง
รถโดยสารประจำทาง มหาวิทยาลัยรามคำแหง
95ก. (3) รถโดยสารประจำทาง อู่รังสิต บางกะปิ 1.รถโดยสารประจำทางสีครีม–แดง
520 (1) รถโดยสารประจำทาง อู่มีนบุรี ตลาดไท 1.รถโดยสารประจำทางสีครีม-แดง

ถนนพหลโยธิน

[แก้]

องค์การขนส่งมวลชนกรุงเทพ

[แก้]
  • Handicapped/disabled access เส้นทางที่มีรถรองรับวีลแชร์
สายที่ เขตการเดินรถที่ จุดเริ่มต้น จุดสิ้นสุด ประเภทของรถที่ให้บริการ ผู้ให้บริการ หมายเหตุ
26 (1-36) (1) รถโดยสารประจำทาง อู่มีนบุรี อนุสาวรีย์ชัยสมรภูมิ 1.รถโดยสารประจำทางสีครีม-แดง

2.รถโดยสารประจำทางปรับอากาศสีฟ้า (ใช้แก๊สธรรมชาติ)

ขสมก.
34 (3) รถโดยสารประจำทาง อู่รังสิต สถานีรถไฟกรุงเทพ (หัวลำโพง) 1.รถโดยสารประจำทางสีครีม-แดง
39 (2) รถโดยสารประจำทาง อู่ธรรมศาสตร์รังสิต อนุสาวรีย์ชัยสมรภูมิ
59 (1-8) (3) รถโดยสารประจำทาง อู่รังสิต สนามหลวง 1.รถโดยสารประจำทางสีครีม-แดง

2.รถโดยสารประจำทางปรับอากาศสีส้ม (ยูโรทู)

สวนหลวงพระราม 8
107 (1) รถโดยสารประจำทาง อู่บางเขน รถโดยสารประจำทาง อู่คลองเตย 1.รถโดยสารประจำทางสีครีม-แดง

2.รถโดยสารประจำทางปรับอากาศสีส้ม (ยูโรทู) 2.รถโดยสารประจำทางปรับอากาศสีครีม–น้ำเงิน

114 (1) รถโดยสารประจำทาง อู่บางเขน/แยกลำลูกกา ท่านํ้านนทบุรี 1.รถโดยสารประจำทางสีครีม-แดง

2.รถโดยสารประจำทางปรับอากาศสีส้ม (ยูโรทู)

แยกลำลูกกา เอ็มอาร์ทีสะพานพระนั่งเกล้า
129 (1-14E) (1) รถโดยสารประจำทาง อู่บางเขน สำโรง 1.รถโดยสารประจำทางสีครีม-แดง

2.รถโดยสารประจำทางปรับอากาศสีส้ม (ยูโรทู)

185 (3) รถโดยสารประจำทาง อู่รังสิต รถโดยสารประจำทาง อู่คลองเตย 1.รถโดยสารประจำทางสีครีม-แดง
503 (3) รถโดยสารประจำทาง อู่รังสิต สนามหลวง 1.รถโดยสารประจำทางปรับอากาศสีส้ม (ยูโรทู)
522 (1-22E) (3) รถโดยสารประจำทาง อู่รังสิต อนุสาวรีย์ชัยสมรภูมิ 1.รถโดยสารประจำทางปรับอากาศสีส้ม (ยูโรทู)

2.รถโดยสารประจำทางปรับอากาศสีฟ้า (ใช้แก๊สธรรมชาติ)

543 (1) รถโดยสารประจำทาง อู่บางเขน ตลาดใหญ่ลำลูกกา คลอง 7 1.รถโดยสารประจำทางปรับอากาศสีฟ้า (ใช้แก๊สธรรมชาติ)

2.รถโดยสารประจำทางปรับอากาศสีครีม-น้ำเงิน

กรมการปกครอง คลอง 9 1.รถโดยสารประจำทางปรับอากาศสีครีม-น้ำเงิน

รถเอกชน

[แก้]
สายที่ จุดเริ่มต้น จุดสิ้นสุด ประเภทของรถที่ให้บริการ ผู้ให้บริการ หมายเหตุ
29 (1-1) Handicapped/disabled access บางเขน สถานีรถไฟกรุงเทพ (หัวลำโพง) 1.รถโดยสารประจำทางปรับอากาศสีน้ำเงิน (ใช้พลังงานไฟฟ้า) บจก.สมาร์ทบัส
34 (1-3) Handicapped/disabled access รังสิต บางเขน บจก.ไทยสมายล์บัส
39 (1-4) Handicapped/disabled access มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ศูนย์รังสิต บางเขน
39 (1-5) Handicapped/disabled access รังสิต อนุสาวรีย์ชัยสมรภูมิ
51 (2-8) Handicapped/disabled access วัดปรางค์หลวง บางเขน บจก.สมารท์บัส
51 (2-8) 1.รถโดยสารประจำทางสีส้ม (ใช้พลังงานไฟฟ้า)

126 Handicapped/disabled access

ศูนย์ราชการเฉลิมพระเกียรติ 80 พรรษา 5 ธันวาคม 2550 คลองตัน 1.รถโดยสารประจำทางปรับอากาศสีน้ำเงิน (ใช้พลังงานไฟฟ้า)
524 (1-23) Handicapped/disabled access หลักสี่ สถานีขนส่งผู้โดยสารสายใต้ใหม่ (ตลิ่งชัน)
1-32E Handicapped/disabled access บางเขน ตลาดพลู บจก.ไทยสมายล์บัส
1-33 Handicapped/disabled access สถานีบางซื่อ บางเขน

อ้างอิง

[แก้]
  1. 1.0 1.1 "บีทีเอส" เตรียมเปิดให้บริการถึง "สถานีวัดพระศรีมหาธาตุ" มิ.ย.นี้
  2. "สัญลักษณ์ประชาธิปไตยล่องหน จากหมุดคณะราษฎรสู่อนุสาวรีย์พิทักษ์รัฐธรรมนูญ". บีบีซีไทย. 2018-12-31. สืบค้นเมื่อ 2020-05-17.
  3. "ฐานอนุสาวรีย์ปราบกบฏบวรเดช ถูกทุบแล้ว หลังตัวอนุสาวรีย์หายไปปีกว่า". ประชาไท. 2020-02-23. สืบค้นเมื่อ 2020-05-17.
  4. "รายงานการเปลี่ยนแปลงรายละเอียด โครงการระบบขนส่งมวลชนกรุงเทพมหานครส่วนต่อขยายพหลโยธิน (หมอชิต–สะพานใหม่–ลำลูกกา) ของกรุงเทพมหานคร เฉพาะช่วงสะพานใหม่–ลำลูกกา (ปัจจุบัน รฟม. เป็นผู้ดำเนินการ) กรณียกเลิกการติดตั้งแผงบังสายตาบริเวณพิพิธภัณฑ์กองทัพอากาศ". บทที่ 1 บทนำ. โครงการระบบขนส่งมวลชนกรุงเทพมหานครส่วนต่อขยายพหลโยธิน. กรุงเทพมหานคร: สำนักงานนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม. 2019-02-28. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2020-06-05. สืบค้นเมื่อ 2020-04-22.
  5. "โครงการระบบขนส่งมวลชนสายสีชมพู". รายงานฉบับหลัก. โครงการระบบขนส่งมวลชนสายสีชมพู. กรุงเทพมหานคร: สำนักงานนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม. 2011-08-22. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2020-06-05. สืบค้นเมื่อ 2020-04-22.
  6. "เวลาให้บริการของรถไฟฟ้าบีทีเอส" (PDF). 2021-11-01. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2023-08-25.
  7. "เวลาให้บริการของรถไฟฟ้ามหานคร สายสีชมพู". 2023-12-28.
  8. "เวลาให้บริการของรถไฟฟ้ามหานคร สายสีชมพูขบวนสุดท้าย - ข่าวรถไฟ". 2023-12-28.