ข้ามไปเนื้อหา

รายชื่อแหล่งมรดกโลกในประเทศอินโดนีเซีย

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

องค์การการศึกษา วิทยาศาสตร์ และวัฒนธรรมแห่งสหประชาชาติ (ยูเนสโก) ได้ขึ้นทะเบียนแหล่งมรดกโลกของประเทศอินโดนีเซียทั้งสิ้น 10 แหล่ง ประกอบด้วยแหล่งมรดกโลกทางวัฒนธรรม 6 แหล่ง และแหล่งมรดกโลกทางธรรมชาติ 4 แหล่ง[1]

ที่ตั้ง

[แก้]

สถานที่ที่ได้ขึ้นทะเบียนเป็นแหล่งมรดกโลก

[แก้]

แหล่งมรดกโลกทางวัฒนธรรม

[แก้]
*หมายเหตุ: ระบุชื่อสถานที่ตามที่ขึ้นทะเบียนในบัญชีแหล่งมรดกโลก
สถานที่ ภาพ ที่ตั้ง ประเภท พื้นที่
(เฮกตาร์)
ปีขึ้นทะเบียน
(พ.ศ./ค.ศ.)
คำบรรยาย อ้างอิง
กลุ่มวัดโบโรบูดูร์ A terraced pyramid like structure with a stupa on top. จังหวัดชวากลาง
7°36′28.6″S 110°12′14.6″E / 7.607944°S 110.204056°E / -7.607944; 110.204056 (Borobudur Temple Compounds)
วัฒนธรรม:
(i), (ii), (vi)
25.51;
พื้นที่กันชน 64.31
2534/1991 กลุ่มศาสนสถานของศาสนาพุทธนิกายมหายาน ประกอบด้วยจันดีโบโรบูดูร์ จันดีเมินดุต และจันดีปาวน สร้างขึ้นในสมัยราชวงศ์ไศเลนทร์หรือราวคริสต์ศตวรรษที่ 8 ถึง 9 ด้วยหินภูเขาไฟ และแกะสลักเป็นลวดลายต่าง ๆ 592[2]
กลุ่มวัดปรัมบานัน Symmetrically arranged stone buildings. The steep roofs are decorated with a large number of small stupas. จังหวัดชวากลางและเขตพิเศษยกยาการ์ตา
7°45′07.3″S 110°29′29.3″E / 7.752028°S 110.491472°E / -7.752028; 110.491472 (Prambanan Temple Compounds)
วัฒนธรรม:
(i), (iv)
2534/1991 กลุ่มเทวสถานในศาสนาฮินดู สร้างขึ้นในสมัยราชวงศ์สัญชัยหรือราวคริสต์ศตวรรษที่ 8 เพื่ออุทิศแด่พระตรีมูรติ ประกอบไปด้วยปรางค์จำนวนกว่า 150 องค์ แสดงถึงความยิ่งใหญ่ของศิลปะและสถาปัตยกรรมฮินดูในชวาโบราณ 642[3]
แหล่งมนุษย์ยุคเริ่มแรก
ซางีรัน
Upper part of a petrified skull including some teeth. จังหวัดชวากลาง
7°27′20.5″S 110°50′03.2″E / 7.455694°S 110.834222°E / -7.455694; 110.834222 (Sangiran Early Man Site)
วัฒนธรรม:
(iii), (vi)
5,600 2539/1996 แหล่งขุดค้นมนุษย์โบราณแห่งเกาะชวาซึ่งได้รับการค้นพบเมื่อ ค.ศ. 1891 จัดเป็นมนุษย์วานรที่เป็นบรรพบุรุษของมนุษย์ มีชีวิตอยู่ในยุคน้ำแข็งตอนต้น 593[4]
ภูมิทัศน์วัฒนธรรมจังหวัดบาหลี : ระบบซูบัก หลักการตามปรัชญาไตรหิตกรณะ Rice terrace at entrance to Gunung Kawi temple demonstrate the traditional Subak irrigation system, Tampaksiring, Bali. จังหวัดบาหลี
8°15′25.8″S 115°24′27.9″E / 8.257167°S 115.407750°E / -8.257167; 115.407750 (Cultural Landscape of Bali Province)
วัฒนธรรม:
(ii), (iii), (v), (vi)
19,519.9;
พื้นที่กันชน 1,454.8
2555/2012 ระบบชลประทานเพื่อจัดสรรน้ำในการปลูกข้าวแบบนาขั้นบันไดบนเกาะบาหลี เป็นระบบที่ยั่งยืนตามธรรมชาติซึ่งผูกสังคมเกษตรกรรมบาหลีเข้าด้วยกันภายในศูนย์ชุมชนของหมู่บ้านและวัดอันเป็นที่พึ่งจิตวิญญาณของชาวฮินดูบาหลีเป็นเวลานานกว่า 1,000 ปี 1194[5]
มรดก
การทำเหมืองถ่านหินอมบีลิน
แห่งซาวะฮ์ลุนโต
จังหวัดสุมาตราตะวันตก
0°40′48.06″S 100°46′34.2″E / 0.6800167°S 100.776167°E / -0.6800167; 100.776167 (Cultural Landscape of Bali Province)
วัฒนธรรม:
(ii), (iv)
268.18;
พื้นที่กันชน 7,356.92
2562/2019 เหมืองถ่านหินที่เก่าแก่ที่สุดในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ จากการค้นพบถ่านหินในพื้นที่นี้เมื่อ ค.ศ. 1863 และเริ่มทำเหมืองใน ค.ศ. 1892 และกลายมาเป็นเหมืองถ่านหินที่สำคัญที่สุดของอินโดนีเซียจากการผลิตถ่านหินส่งออก 1610[6]
แกนจักรวาลวิทยา
แห่งยกยาการ์ตา
และภูมิสัญลักษณ์
ทางประวัติศาสตร์
เขตพิเศษยกยาการ์ตา
7°48′05.0″S 110°21′53.2″E / 7.801389°S 110.364778°E / -7.801389; 110.364778 (The Cosmological Axis of Yogyakarta and its Historic Landmarks)
วัฒนธรรม:
(ii), (iii)
42.22;
พื้นที่กันชน 291.17
2566/2023 ศูนย์กลางวัฒนธรรมชวาโบราณทั้งด้านวัฒนธรรม ภาษา ศิลปะ และระบอบสุลต่านที่ยังหลงเหลืออยู่ที่เดียวในอินโดนีเซีย ซึ่งยังยึดถือธรรมเนียมดั้งเดิมที่ปฎิบัติสืบทอดมาเป็นเวลาช้านาน 1671[7]

แหล่งมรดกโลกทางธรรมชาติ

[แก้]
*หมายเหตุ: ระบุชื่อสถานที่ตามที่ขึ้นทะเบียนในบัญชีแหล่งมรดกโลก
สถานที่ ภาพ ที่ตั้ง ประเภท พื้นที่
(เฮกตาร์)
ปีขึ้นทะเบียน
(พ.ศ./ค.ศ.)
คำบรรยาย อ้างอิง
อุทยานแห่งชาติโกโมโด Waran lying on its belly in a dry grass area. จังหวัดนูซาเติงการาตะวันออก
8°36′00.1″S 119°25′16.3″E / 8.600028°S 119.421194°E / -8.600028; 119.421194 (Komodo National Park)
ธรรมชาติ:
(vii), (x)
219,322 2534/1991 เขตหมู่เกาะที่มีการอนุรักษ์มังกรโกโมโดซึ่งถือเป็นสัตว์ประจำชาติของอินโดนีเซียและมีความเสี่ยงใกล้สูญพันธุ์ รวมไปถึงระบบนิเวศในท้องทะเลซึ่งอุดมไปด้วยปะการังและสัตว์น้ำหลากหลายสายพันธุ์ 609[8]
อุทยานแห่งชาติอูจุงกูลน Rocky ground within a tropical forest. จังหวัดบันเตินและจังหวัดลัมปุง
6°45′27.0″S 105°20′36.0″E / 6.757500°S 105.343333°E / -6.757500; 105.343333 (Ujung Kulon National Park)
ธรรมชาติ:
(vii), (x)
78,525 2534/1991 เขตอนุรักษ์ป่าใบกว้างชื้นที่มีพื้นที่มากที่สุดบนเกาะชวา ประกอบไปด้วยพืชและสัตว์หายากหลายชนิด เช่น กระจงชวา แรดชวา รวมไปถึงเป็นแหล่งที่อยู่อาศัยสุดท้ายของสัตว์ที่สูญพันธุ์แล้ว เช่น เสือโคร่งชวา 608[9]
อุทยานแห่งชาติโลเรินตส์ A rocky mountain ridge. จังหวัดปาปัวกลาง,
จังหวัดปาปัวใต้
และจังหวัดปาปัวที่สูง
4°37′17.6″S 137°29′22.1″E / 4.621556°S 137.489472°E / -4.621556; 137.489472 (Lorentz National Park)
ธรรมชาติ:
(vii), (ix), (x)
2,350,000 2542/1999 พื้นที่อนุรักษ์ที่มีสภาพแวดล้อมหลากหลายมากที่สุดในโลกตั้งแต่แหล่งชุ่มน้ำริมทะเล ป่าฝนเขตร้อนจนถึงภูเขาหิมะซึ่งมียอดเขาที่สูงที่สุดในอินโดนีเซียชื่อว่าปุนจักจายา และยังเป็นที่อยู่ของนกกว่า 630 ชนิด ซึ่งนับเป็นร้อยละ 95 ของสายพันธุ์นกในปาปัว 955[10]
มรดกป่าฝนเขตร้อน
แห่งสุมาตรา
จังหวัดอาเจะฮ์, จังหวัดสุมาตราเหนือ, จังหวัดสุมาตราตะวันตก, จังหวัดจัมบี, จังหวัดเบิงกูลู, จังหวัดสุมาตราใต้ และจังหวัดลัมปุง
3°45′22.8″N 97°10′24.7″E / 3.756333°N 97.173528°E / 3.756333; 97.173528 (Tropical Rainforest Heritage of Sumatra)
ธรรมชาติ:
(vii), (ix), (x)
2,595,124 2547/2004 ประกอบด้วยเขตอุทยานแห่งชาติ 3 แห่งได้แก่ อุทยานแห่งชาติกูนุงเลอเซอร์, อุทยานแห่งชาติเกอรินจีเซอบลัต และอุทยานแห่งชาติบูกิตบารีซันเซอลาตัน เป็นแหล่งที่อยู่อาศัยของสัตว์ป่าที่หายากหลายชนิด เช่น กระซู่ เสือโคร่งสุมาตรา นกกาเหว่าสุมาตรา ปัจจุบันเป็นแหล่งมรดกโลกที่กำลังตกอยู่ในภาวะอันตรายตั้งแต่ ค.ศ. 2011 1167[11][12]

สถานที่ที่ได้ขึ้นบัญชีรายชื่อเบื้องต้น

[แก้]

ประเทศอินโดนีเซียมีสถานที่ที่ได้ขึ้นบัญชีรายชื่อเบื้องต้น (Tentative List) เพื่อพิจารณาเป็นแหล่งมรดกโลกในอนาคตทั้งสิ้น 18 แห่ง ได้แก่[1]

ปี พ.ศ./ค.ศ. ในวงเล็บ หมายถึงปีที่สถานที่นั้น ๆ ได้ขึ้นบัญชีรายชื่อเบื้องต้น

อ้างอิง

[แก้]
  1. 1.0 1.1 "World Heritage Properties in Indonesia". UNESCO. สืบค้นเมื่อ 18 กันยายน 2023.
  2. "Borobudur Temple Compounds". UNESCO. สืบค้นเมื่อ 28 May 2010.
  3. "Prambanan Temple Compounds". UNESCO. สืบค้นเมื่อ 28 May 2010.
  4. "Sangiran Early Man Site". UNESCO. สืบค้นเมื่อ 28 May 2010.
  5. "Cultural Landscape of Bali Province". UNESCO. สืบค้นเมื่อ 1 July 2012.
  6. "Ombilin Coal Mining Heritage of Sawahlunto". UNESCO. สืบค้นเมื่อ 7 July 2019.
  7. "The Cosmological Axis of Yogyakarta and its Historic Landmarks". UNESCO. สืบค้นเมื่อ 18 กันยายน 2023.
  8. "Komodo National Park". UNESCO. สืบค้นเมื่อ 28 May 2010.
  9. "Ujung Kulon National Park". UNESCO. สืบค้นเมื่อ 28 May 2010.
  10. "Lorentz National Park". UNESCO. สืบค้นเมื่อ 28 May 2010.
  11. "Tropical Rainforest Heritage of Sumatra". UNESCO. สืบค้นเมื่อ 25 June 2011.
  12. "Danger listing for Indonesia's Tropical Rainforest Heritage of Sumatra". UNESCO. สืบค้นเมื่อ 26 July 2011.