เสือโคร่งชวา

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

เสือโคร่งชวา
ช่วงเวลาที่มีชีวิตอยู่: Late Pleistocene–Holocene
ภาพเสือโคร่งชวาโดยAndries Hoogerwerfที่อุทยานแห่งชาติอูจุงกูลน ค.ศ. 1938[1]
สถานะการอนุรักษ์
การจำแนกชั้นทางวิทยาศาสตร์ แก้ไขการจำแนกนี้
โดเมน: ยูแคริโอตา
อาณาจักร: สัตว์
ไฟลัม: สัตว์มีแกนสันหลัง
ชั้น: สัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม
อันดับ: อันดับสัตว์กินเนื้อ
อันดับย่อย: เฟลิฟอเมีย
วงศ์: เสือและแมว
สกุล: สกุลแพนเทอรา
สปีชีส์: P.  tigris
สปีชีส์ย่อย: P.  t. sondaica
Trinomial name
Panthera tigris sondaica
(Temminck, 1844)

เสือโคร่งชวา (อังกฤษ: Javan tiger) เป็นประชากรเสือที่อาศัยอยู่ในเกาะชวา ประเทศอินโดนีเซีย ถึงกลางคริสต์ทศวรรษ 1970[4][5] มันถูกล่าจนสูญพันธุ์ และที่อยู่อาศัยตามธรรมชาติถูกแปลงไปเป็นที่ดินทางเกษตรกรรมและโครงสร้างพื้นฐาน[1] เป็นเสือโคร่ง 1 ใน 3 สายพันธุ์ในหมู่เกาะซุนดา[6]

ในอดีตถือเป็นเสือชนิดย่อยคนละสายพันธุ์ ซึ่งระบุว่าสูญพันธุ์ตามบัญชีแดงไอยูซีเอ็นใน ค.ศ. 2008[5] ใน ค.ศ. 2017 มีการปรับปรุงอนุกรมวิธาน ทำให้เสือโคร่งชวาอยู่ในส่วนย่อยของ P. t. sondaica ร่วมกับเสือโคร่งสุมาตราและเสือโคร่งบาหลี[4]

ผลจากการวิเคราะห์ตัวอย่างดีเอ็นเอของไมโทคอนเดรียเสือ 23 แบบจากชุดสะสมพิพิธภัณฑ์แสดงให้เห็นว่า เสือชนิดนี้เคยอาศัยทั่วหมู่เกาะซุนดาในช่วงยุคน้ำแข็งสุดท้ายเมื่อ 11,000–12,000 ปีก่อน[7]

อนุกรมวิธาน[แก้]

Coenraad Jacob Temminck เป็นผู้เสนอ Felis tigris sondaicus เป็นชื่อวิทยาศาสตร์ของเสือโคร่งชวาใน ค.ศ. 1844[8]

ใน ค.ศ. 1929 เรจินัลด์ อินเนส โพค็อก นักอนุกรมวิธานชาวอังกฤษ จัดให้เสือนี้อยู่ในสกุล Panthera และใช้ชื่อวิทยาศาสตร์เป็น Panthera tigris[9][10][11]

ใน ค.ศ. 2017 ทาง Cat Classification Task Force of the Cat Specialist Group ได้ปรับปรุงอนุกรมวิธานและจัดให้ประชากรเสือทั้งที่ยังมีชีวิตอยู่และสูญพันธุ์แล้วในประเทศอินโดนีเซียอยู่ใน P. t. sondaica[4]

รูปลักษณ์[แก้]

หนังเสือโคร่งชวาในชุดสะสมของTropenmuseum, ค.ศ. 1915
กะโหลกเสือจากชวาในชุดสะสมของพิพิธภัณฑ์วีสบาเดิน

เสือโคร่งชวาเป็นเสือโคร่งที่มีขนาดเล็ก เช่นเดียวกับเสือโคร่งสุมาตรา แต่ใหญ่กว่าเสือโคร่งบาหลี[11] มักมีลายแถบยาวและบาง ซึ่งค่อนข้างมากกว่าเสือสุมาตรา มีจมูกยาวและแคบ กระดูกท้ายทอยแคบ และcarnassialยาว เมื่อเทียบกับความแตกต่างของกะโหลกศรีษะ เสือโคร่งชวาจึงเคยถูกจัดเป็นสายพันธุ์ที่แตกต่างกัน ซึ่งมีชื่ออนุกรมวิธานเป็น Panthera sondaica.[6]

เพศผู้มีความยาวร่างกายเฉลี่ย 248 เซนติเมตร (98 นิ้ว) และน้ำหนักระหว่าง 100 และ 141 กิโลกรัม (220 และ 311 ปอนด์) ส่วนเพศเมียมีขนาดเล็กกว่าเพศผู้และมีน้ำหนักระหว่าง 75 และ 115 กิโลกรัม (165 และ 254 ปอนด์)[11]

ร่ายกายที่เล็กกว่าของเสือโคร่งชวาและขนาดของสายพันธุ์เหยื่อบนเกาะชวา ซึ่งมีขนาดเล็กกว่าสายพันธุ์กวางและวงศ์วัวและควายบนเอเชียแผ่นดินใหญ่ เป็นไปตามกฎของเบิร์กมันน์ อย่างไรก็ตาม เส้นผ่านศูนย์กลางของร่องรอยมีขนาดใหญ่กว่าเสือโคร่งเบงกอลในประเทศบังกลาเทศ, อินเดีย และเนปาล[12]

กล่าวกันว่าเสือโคร่งชวาแข็งแรงมากพอที่จะใช้อุ้งเท้าหักขาม้าหรือควายได้[13]

ที่อยู่อาศัยและนิเวศวิทยา[แก้]

วัวแดง วัวชนิดย่อยชวา Bos javanicus javanicus มีผิวสีดำ
กวางรูซาชวาจากริมชายฝั่งเกาะอูจงกูลนย้ายถิ่นฐานใหม่ไปที่เมอรูเบอตีรี[12]

เสือโคร่งชวาเคยอาศัยอยู่ในพื้นที่ส่วนใหญ่ของเกาะชวา แต่ต้องอพยพไปยังพื้นที่ภูเขาและป่าไม้ห่างไกลใน ค.ศ. 1940 ในช่วง ค.ศ. 1970 บริเวณที่มีเสืออยู่เหลือแค่เมอรูเบอตีรี ภูเขาที่สูงที่สุดในเกาะชวาตะวันออกเฉียงใต้ ด้วยภูมิประเทศที่ชันทำให้ไม่มีใครอาศัยอยู่ พื้นที่ขนาด 500 ตารางกิโลเมตร (190 ตารางไมล์) ถูกประกาศเป็นเขตอนุรักษ์สัตว์ป่าใน ค.ศ. 1972 มีผู้เห็นเสือครั้งสุดท้ายที่นี่ใน ค.ศ. 1976[1][14]

เสือโคร่งชวาล่าเหยื่อที่เป็นกวางรูซาชวา (Rusa timorensis), วัวแดง (Bos javanicus) และหมูป่า (Sus scrofa) และไม่บ่อยครั้งที่จะล่านกน้ำและสัตว์เลี้อยคลาน ไม่มีข้อมูลเกี่ยวกับช่วงชีวิตและระยะเวลาตั้งครรภ์ของเสือทั้งในป่าหรือที่ถูกกักเก็บ เสือโคร่งชวาบางส่วนถูกเก็บในสวนสัตว์อินโดนีเซียบางแห่งที่ปิดในช่วงสงครามจนถึงสงครามโลกครั้งที่สองทำให้ถือครองเสือสุมาตราง่ายกว่าในช่วงหลังสงคราม[12]

อ้างว่าพบเห็น[แก้]

ในบางครั้ง มีรายงานการเห็นเสือโคร่งชวาอย่างไม่เป็นทางการจากผู้ที่ชื่นชอบซึ่งเชื่อว่ายังมีเสือสายพันธุ์นี้ในเกาะชวา[15]

ในเดือนพฤศจิกายน ค.ศ. 2008 มีผู้พบร่างนักปีนเขาหญิงไม่ทราบสัญชาติที่อุทยานแห่งชาติเขาเมอร์บาบู จังหวัดชวากลาง ซึ่งอ้างว่าเสียชีวิตจากการถูกเสือโจมตี ชาวบ้านที่พบร่างกายก็อ้างว่าเห็นเสือในบริเวณใกล้เคียง[16]

ในเดือนมกราคม ค.ศ. 2009 ชาวบ้านบางส่วนอ้างว่าเห็นเสือเพศเมียกับลูกสองตัวใกล้เดินใกล้หมู่บ้านที่ติดกับเขาลาวู เจ้าหน้าที่ท้องถิ่นพบร่องรอยสดในพื้นที่นี้ อย่างไรก็ตาม ในเวลานั้น สัตว์เหล่านี้ได้หายไปหมดแล้ว[17]

หลังการปะทุของเขาเมอราปีในเดือนตุลาคม ค.ศ. 2010 ชาวบ้านในอินโดนีเซียสองคนอ้างว่าเห็นรอยเท่าแมวขนาดใหญ่บนเถ้าที่เหลือ ทำให้มีข่าวลือว่ามีเสือหรือเสือดาวในฟาร์มร้างเพื่อหาอาหาร พนักงานในอุทยานแห่งชาติใหล้เคียงไม่คิดว่ารอยเท้านี้เป็นของเสือ[18]

ใน ค.ศ. 2016 มีภาพถ่ายที่อ้างว่าเป็นเสือโคร่งชวาในเขาอาร์จูโนในจังหวัดชวาตะวันออก[19]

ใน ค.ศ. 2017 เจ้าหน้าที่พิทักษ์สัตว์ป่าที่ทำงานในอุทยานแห่งชาติอูจุงกูลนถ่ายภาพที่อ้างว่าเป็นเสือโคร่งชวาขณะกินวัวที่ตายแล้ว ในเวลาต่อมามีทีมนักวิจัยไปสำรวจเป็นเวลา 10 วันเพื่อยืนยันการมีตัวตนของเสือ ผู้เชี่ยวชาญที่ด้านเสือระบุสัตว์ชนิดนี้เป็นเสือดาวชวา[20]

ดูเพิ่ม[แก้]

อ้างอิง[แก้]

  1. 1.0 1.1 1.2 Seidensticker, J. (1987). "Bearing witness: observations on the extinction of Panthera tigris balica and Panthera tigris sondaica". ใน Tilson, R. L.; Seal, U. S. (บ.ก.). Tigers of the world: the biology, biopolitics, management, and conservation of an endangered species. New Jersey: Noyes Publications. pp. 1–8. ISBN 9780815511335.
  2. Jackson, P. & Kemf, E. (1994). Wanted alive! Tigers in the wild: 1994 WWF species status report (Report). Gland: WWF.
  3. Goodrich, J.; Lynam, A.; Miquelle, D.; Wibisono, H.; Kawanishi, K.; Pattanavibool, A.; Htun, S.; Tempa, T.; Karki, J.; Jhala, Y. & Karanth, U. (2015). "Panthera tigris". IUCN Red List of Threatened Species. 2015: e.T15955A50659951.
  4. 4.0 4.1 4.2 Kitchener, A. C.; Breitenmoser-Würsten, C.; Eizirik, E.; Gentry, A.; Werdelin, L.; Wilting, A.; Yamaguchi, N.; Abramov, A. V.; Christiansen, P.; Driscoll, C.; Duckworth, J. W.; Johnson, W.; Luo, S.-J.; Meijaard, E.; O'Donoghue, P.; Sanderson, J.; Seymour, K.; Bruford, M.; Groves, C.; Hoffmann, M.; Nowell, K.; Timmons, Z.; Tobe, S. (2017). "A revised taxonomy of the Felidae: The final report of the Cat Classification Task Force of the IUCN Cat Specialist Group" (PDF). Cat News. Special Issue 11: 66–68.
  5. 5.0 5.1 Jackson, P. & Nowell, K. (2008). "Panthera tigris ssp. sondaica". IUCN Red List of Threatened Species. 2008: e.T41681A10509194.
  6. 6.0 6.1 Mazák, J. H. & Groves, C. P. (2006). "A taxonomic revision of the tigers (Panthera tigris)" (PDF). Mammalian Biology. 71 (5): 268–287. doi:10.1016/j.mambio.2006.02.007.
  7. Xue, H.R.; Yamaguchi, N.; Driscoll, C.A.; Han, Y.; Bar-Gal, G.K.; Zhuang, Y.; Mazak, J.H.; Macdonald, D.W.; O’Brien, S.J. & Luo, S.J. (2015). "Genetic ancestry of the extinct Javan and Bali tigers". Journal of Heredity. 106 (3): 247–257. doi:10.1093/jhered/esv002. PMC 4406268. PMID 25754539.
  8. Temminck, C. J. (1844). "Aperçu général et spécifique sur les mammifères qui habitent le Japon et les iles qui en dépendent". ใน von Siebold, F.; Temminck, C. J.; Schlegel, H; de Haan, W.; Kiichi Nakazawa; Shigeho Tanaka; Nagamichi Kuroda; Yaichirō Okada (บ.ก.). Fauna Japonica sive Descriptio animalium, quae in itinere per Japoniam, jussu et auspiciis superiorum, qui summum in India Batava imperium tenent, suscepto, annis 1825 - 1830 collegit, notis, observationibus et adumbrationibus illustravit Ph. Fr. de Siebold. Mammalia. Lugduni Batavorum: Arnz et Socius. pp. 1–59.
  9. Pocock, R. I. (1929). "Tigers". Journal of the Bombay Natural History Society. 33: 505–541.
  10. Pocock, R. I. (1939). "Panthera tigris". The Fauna of British India, Including Ceylon and Burma. Mammalia: Volume 1. London: T. Taylor and Francis, Ltd. pp. 197–210.
  11. 11.0 11.1 11.2 Mazák, V. (1981). "Panthera tigris" (PDF). Mammalian Species. 152 (152): 1–8. doi:10.2307/3504004. JSTOR 3504004.
  12. 12.0 12.1 12.2 Seidensticker, J. (1986). "Large Carnivores and the Consequences of Habitat Insularization: ecology and conservation of Tigers in Indonesia and Bangladesh" (PDF). ใน Miller, S. D.; Everett, D. D. (บ.ก.). Cats of the world: biology, conservation and management. Washington DC: National Wildlife Federation. pp. 1−41.
  13. Partington, C. F. (1835). "Felis, the cat tribe". The British cyclopæedia of natural history. Orr & Smith.
  14. Treep, L. (1973). On the Tiger in Indonesia (with special reference to its status and conservation. Report no. 164 (Report). Wageningen, The Netherlands: Department of Nature Conservation and Nature Management.
  15. Bambang M. (2002). In search of 'extinct' Javan tiger. เก็บถาวร 2011-06-07 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน The Jakarta Post, October 30, 2002.
  16. DetikNews Nov 17, 2008: Pendaki Wanita Tewas di Gunung Merbabu, Diduga Diterkam Harimau
  17. JawaPos 24 Januari 2009: Harimau Teror Warga Ringin Agung เก็บถาวร 2009-02-18 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน
  18. The Sydney Morning Herald (2010) Tiger rumors swirl below Indon volcano The Sydney Morning Herald, 2 November 2010.
  19. "Sight of Javan Tiger in Mount Arjuno Went Viral".
  20. "Tiger Species Thought Extinct Is Possibly Spotted in Indonesia". NY Times. 1017. สืบค้นเมื่อ September 15, 2017.

แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]