โตรวูลัน

พิกัด: 7°32′30.80″S 112°23′27.54″E / 7.5418889°S 112.3909833°E / -7.5418889; 112.3909833
จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
โตรวูลัน
วิลตาติกตา
บาจังราตู (Bajang Ratu) ซุ้มทางเข้าออกแบบปาดูรักซา ในโตรวูลัน
แผนที่
ข้อมูลทั่วไป
สถาปัตยกรรมจัณฑิ
เมืองตำบลโตรวูลัน อำเภอโมโจเกอร์โต จังหวัดชวาตะวันออก
ประเทศอินโดนีเซีย
พิกัด7°32′30.80″S 112°23′27.54″E / 7.5418889°S 112.3909833°E / -7.5418889; 112.3909833
แล้วเสร็จราวศตวรรษที่ 14-15
ลูกค้ามัชปาหิต

โตรวูลัน (อักษรโรมัน: Trowulan) เป็นแหล่งโบราณคดีในตำบลโตรวูลัน อำเภอโมโจเกร์โต จังหวัดชวาตะวันออก พื้นที่ของแหล่งโบราณคดีโตรวูลันมีขนาดประมาณ 100 ตารางกิโลเมตร และมีการตั้งข้อสันนิษฐานว่าเป็นที่ตั้งของราชธานีแห่งอาณาจักรมัชปาหิตซึ่งปรากฏเขียนถึงว่าใช้ชื่อ "โตรวูลัน" ในวรรณกรรมของมปู ปรปัญจะ ในกวีนิพนธ์จากศตวรรษที่ 14 เรื่อง นาครกเรตาคม และในแหล่งข้อมูลภาษาจีนจากศตวรรษที่ 15 ชื่อของนครโตรวูลันในสมัยที่เป็นราชธานีของมัชปาหิต มีชื่อว่า วิลวาติกกา (อักษรโรมัน: Wilwatikta) เมืองถูกทำลายราบระหว่างการรุกรานคีรินทรวรรธนะในปี 1478 หลังการรุกรานครั้งนี้ มัชปาหิตได้ย้ายราชธานีไปยังนคร(เกอดีรี) ปัจจุบันโบราณวัตถุที่พบในโตรวูลันได้นำไปจัดแสดงบางส่วนที่พิพิธภัณฑ์โตรวูลัน

ผลการค้นคว้าแหล่งโบราณคดีโตรวูลันในยุคแรก ๆ ศึกษาและค้นพบซากของสิ่งปลูกสร้างขนาดมหึมา เช่น วิหาร ที่ไว้ศพ และโรงอาบน้ำ ในขณะที่งานขุดค้นและค้นคว้ายุคถัดมาได้มีการค้นพบหลักฐานที่แสดงให้เห็นถึงกิจกรรมทางอุตสาหกรรม, การค้า และทางศาสนา รวมถึงยังพบพื้นที่อยู่อาศัย, ระบบชลประทานและคูคลองน้ำ ซึ่งบ่งบอกว่าโตรวูลันมีประชากรหนาแน่นในสมัยศตวรรษที่ 14-15[1][2] ในเดือนตุลาคม 2009 กระทรวงวัฒนธรรมและการท่องเที่ยวอินโดนีเซียได้เสนอชื่อโตรวูลันเป็นแหล่งมรดกโลกของยูเนสโก[3]

นครโตรวูลันถูกค้นพบในศตวรรษที่ 19 โดยผู้แทนพระองค์ประจำบริติชชวาเซอร์ธอมัส สตัมเฟิร์ด รัฟเฟิลส์[4] และยังเขียนถึงโตรวูลันว่าเป็น "เกียติยศศักดิ์ศรีแห่งเกาะชวา"[5]

ในปลายปี 2008 รัฐบาลอินโดนีเซียได้สนับสนุนเงินทุนจำนวนมากเพื่อทำขุดค้นซากของพระราชวังแห่งราชวงศ์มัชปาหิต เจอโร วาชิก รัฐมนตรีว่าการกระทรวงวัฒนธรมและการท่องเที่ยว ระบุว่าจะมีการสร้าง "มัชปาหิตปาร์ก" (Majapahit Park) ขึ้นรอบซากกระราชวังนั้น และการก่อสร้างควรจะแล้วเสร็จอย่างเร็วที่สุดในปี 2009 ทั้งนี้ทำไปเพื่อป้องกันความเสียหายที่อาจเกิดขึ้นแก่แหล่งโบราณคดี อันเป็นผลจากอุตสาหกรรมทำอิฐระดับครัวเรือนในบริเวณรอบ ๆ[6] อย่างไรก็ตาม นักประวัติศาสตร์จำนวนหนึ่งไม่เห็นด้วย และมองว่าการจะสร้างอะไรขึ้นในพื้นที่นี้จะทำให้เกิดความเสียหายต่อแหล่งโบราณคดีอยู่ดี อิฐและบ่อน้ำโบราณในพื้นที่นั้นมีมูลค่าทางประวัติศาสตร์มาก สามารถพบกระจัดกระจายไปทั่วบริเวณ รัฐบาลได้โต้กลับโดยอ้างว่าวิธีการที่จะใช้นี้จะทำลายน้อยกว่า เพราะจะใช้การขุดแทนที่การเจาะ[7] นับจากนั้นมา โครงการดังกล่าวได้ถูกเลื่อนออกไปอย่างไม่มีกำหนด

อ้างอิง[แก้]

  1. Millet, Didier (August 2003). John Miksic (บ.ก.). Indonesian Heritage Series: Ancient History. Singapore 169641: Archipelago Press. p. 108. ISBN 981-3018-26-7.{{cite book}}: CS1 maint: location (ลิงก์)
  2. Sita W. Dewi (9 April 2013). "Tracing the glory of Majapahit". The Jakarta Post. สืบค้นเมื่อ 5 February 2015.
  3. "UNESCO Tentative list". 8 November 2009.
  4. "Sir Stamford Raffles | British colonial agent". Encyclopedia Britannica (ภาษาอังกฤษ). สืบค้นเมื่อ 2017-11-15.
  5. Bullough, Nigel (1995). Mujiyono PH (บ.ก.). Historic East Java: Remains in Stone, Indonesian 50th independence day commemorative edition. Jakarta: ADLine Communications. p. 102.
  6. "Taman Majapahit Dibangun di Trowulan". 4 November 2008. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 7 November 2008.
  7. "Situs Majapahit Dirusak Pemerintah". 5 January 2009. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 12 January 2009.

บรรณานุกรม[แก้]

  • Didier Millet, volume editor: John Miksic, Indonesian Heritage Series: Ancient History, Hardcover edition – Aug 2003, Archipelago Press, Singapore 169641, ISBN 981-3018-26-7

แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]